Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

ทำให้เว็บน่าสนใจ

“กฎ 23 ข้อ” ทำให้เว็บน่าสนใจ
 
1. ตัวอักษรดึงดูดความสนใจได้เร็วกว่าภาพหรือกราฟฟิค
2. จุดแรกที่สายตามองคือ มุมซ้ายบนของหน้าเว็บ
3. ผู้ใช้จะมองไปที่มุมซ้ายบนของเว็บไซต์ ก่อนที่จะเลื่อนสายตาลงมาด้านล่างขวาเรื่อยๆ
4. ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่สนใจมองแบนเนอร์โฆษณา
5. รูปแบบเว็บไซต์และตัวอักษรที่มีสีสันสะดุดตา มักไม่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้
6. แสดงข้อมูลเป็นตัวเลข จะดึงดูดสายตามากกว่าเขียนเป็นตัวอักษร
7. ขนาดตัวอักษรมีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บ โดยตัวอักษรเล็กๆ จะทำให้คนอ่านอย่างละเอียด ขณะที่ตัวอักษรใหญ่ ทำให้คนมองเป็นอันดับแรก
8. คนส่วนใหญ่อ่านพาดหัวรอง ในกรณีที่น่าสนใจจริงๆ
9. คนมักจะอ่านส่วนล่างของหน้าเว็บแบบผ่านๆ
10. ประโยคหรือย่อหน้าสั้นๆ ดึงดูดความสนใจของคนอ่านมากกว่า
11. รูปแบบเว็บไซต์ที่มีแถวแนวตั้งแถวเดียว ดึงดูดสายตามากกว่าหลายแถว
12. แบนเนอร์โฆษณาที่อยู่บริเวณบนสุดและซ้ายสุด จะดึงดูดสายตามากที่สุด
13. การวางโฆษณาใกล้กับคอนเทนท์ที่ดีที่สุด จะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ค่อนข้างมาก
14. โฆษณาแบบตัวอักษรได้รับความสนใจมากกว่าโฆษณาแบบภาพหรือกราฟฟิค
15. ภาพยิ่งใหญ่ ยิ่งดึงดูดความสนใจได้มาก
16. ภาพที่ชัด ดูง่าย และถ่ายบุคคลจริงๆ จะได้รับความสนใจจากคนดู มากกว่าภาพประเภทดีไซน์จัดๆ ภาพนามธรรม (abstract) หรือภาพนายแบบ-นางแบบ
17. หน้าเว็บไซต์ก็เหมือนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ เพราะฉะนั้น พาดหัวจะได้รับความสนใจมากที่สุด
18. คนส่วนใหญ่มักจะสนใจหัวข้อและเมนูต่างๆ ในเว็บไซต์
19. ถ้ามีบทความยาวๆ ในเว็บไซต์หรือบล็อก หากแยกเนื้อหาออกเป็นข้อๆ จะได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากขึ้น
20. ผู้ใช้มักจะไม่อ่านบทความที่ติดกันยาวๆ หลายบรรทัด ดังนั้น ถ้าบทความยาวมาก ควรแตกเป็นย่อหน้าย่อยๆ
21. การดึงความสนใจของคนให้อ่านบทความให้มากและนานที่สุด คือการใช้รูปแบบตัวอักษรที่แตกต่างกันไป เช่น ตัวหนา ตัวใหญ่ ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ หรือตัวอักษรสีต่างๆ แต่ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะทำให้ผู้อ่านหมดความสนใจเช่นกัน
22. เว้นที่ว่างบนหน้าเว็บบ้างก็ดี ไม่ต้องใส่ข้อมูลหรือภาพบนทุกอณูของเว็บก็ได้
23. ปุ่ม navigation ควรวางไว้บนสุดของหน้าเว็บ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้ง่ายที่สุด

SMCR

แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล
บอร์โล   (Berlo)
        เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง SMCR Model (ดังรูป) (Berlo1960:40-71)อันประกอบด้วย
        1. ผู้ส่ง (Source) ้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (encode) เนื้อหา ข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับ ความรู้ของผู้รับตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
        2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
        3. ช่องทางในการส่ง (Channel) มายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสารข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
        4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน                 "การถอดรหัส" (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้ การสื่อความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล 


หรือ

    ตามลักษณะของ S M C R Model นี้ มีปัจจัยสำคัญที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและผู้รับที่จะทำให้การสื่อความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่
        1.ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง
        2. ทัศนคติ (Attiudes) เป็น ทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีทัศนคติที่ดีต่อกันก็จะทำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่ง ละผู้รับด้วย
        3. ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ถ้า ผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้ที่เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้น ลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องมีการปรับความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในด้านของความยากง่ายของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่ใช้
        4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนใน ชาตินั้น ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกันไป
 

รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ                                                                         
     1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์
       2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์       การประชุม  เป็นต้น

วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์

เหตุผลที่ทำให้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดอยู่ในกระแสนิยมในปัจจุบันนั้น มีสาเหตุสำคัญพื้นฐานดังต่อไปนี้

1. ค่าสื่อโฆษณามีราคาสูงขึ้น (Media rates increasing ahead of inflation) ทำให้นักการตลาดแสวงหาเครื่องมือ ที่ประหยัดงบประมาณ ซึ่งเอ็มพีอาร์ช่วยในเรื่องนี้ด้วย
2. ทั้งตลาดและสื่อต่างก็แยกย่อยมากขึ้น (Markets and media becoming increasingly fragmented) จะเห็นได้ว่ามีสื่อใหม่เกิดขึ้นมากมายอย่างนิตยสาร ได้แก่ คนรักบ้าน รถยนต์ เดินทางและท่องเที่ยว เป็นต้น
3. นักการตลาดพยายามใช้เครื่องมือการสื่อสารอย่างผสมผสานมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่สมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ
4. ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Changing consumer attitudes)
5. เพื่อให้บรรลุผลทั้งความน่าเชื่อถือและการใช้เงินอย่างคุ้มค่า (Credibility and cost effectiveness) อันเป็นผลนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีและเกิดการขายสินค้านั่นเอง
การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุก (Proactive MPR) เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาด มากกว่าคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ
2. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรับ (Reactive MPR) เป็นการมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้า หรือบริษัทที่ทำลายต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัท โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขและควบคุมการเกิดข่าวลือ (Rumor Control) การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) เป็นต้น
สำหรับประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดนั้น มีดังนี้
-ทำให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อถือ และศรัทธาในตราสินค้าและองค์กรมากขึ้น
-ช่วยสร้างทัศนคติในเชิงบวกอันเป็นผลประโยชน์ต่อการขายสินค้า
-ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและขจัดความรู้สึกเชิงลบให้กับสินค้าและองค์กร
-ช่วยให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ลดการสูญเปล่าและความสับสน (Waste and lutter) จากการโฆษณา
-สามารถสร้างการรับรู้และมีอิทธิพลเหนือความคิดของกลุ่มเป้าหมาย และผู้นำทางความคิดโดยอาศัยจุดยืน และบุคลิกภาพ ของตราสินค้าเป็นหลักในการสื่อสารเนื้อหาไปยังกลุ่มเป้าหมาย
-สินค้าบางประเภทไม่สามารถทำโฆษณาได้ ก็สามารถใช้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแทน ซึ่งให้ผลกระทบต่อสินค้าและองค์กรได้ไม่แตกต่างกัน
จะเห็นว่าแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่พยายามนำทั้งกลยุทธ์การตลาด และประชาสัมพันธ์มาใช้ร่วมกันอย่างลงตัว (Pulling together) เพื่อให้กลยุทธ์นั้นสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือที่เรียกว่า " One Look-One Voice " นั่นเอง


การประชาสัมพันธ์มีความหมายได้ 4ประเด็น คือ
1. มีการวางแผน: การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่เป็นการกระทำที่จะทำเมื่อมีงานเกิดขึ้นแล้วจึงต้องทำ หรือจะกระทำการประชาสัมพันธ์เมื่อมีความต้องการจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำแต่ที่ถูกนั้นการประชาสัมพันธ์เป็นการทำงานที่มีแผน เตรียมไว้อย่างรอบคอบตรงตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้อย่างชัดเจน มีลำดับขั้นตอนในการทำงาน โดยประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ประสานและสอดคล้องกันเพื่อบรรลุจดมุ่งหมายนั้น
2. เป็นการทำงานที่ต่อเนื่องและหวังผลระยะยาว: การประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องไม่มีวันจบสิ้น ทั้งนี้เพราะประชาชนจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องอยู่อย่างสม่ำเสมอและ ต่อเนื่อง การขาดการรับรู้เกี่ยวกับข่าวสารและกิจกรรมนาน ๆ จะเป็นสาเหตุของการเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและจะเป็นบ่อเกิดของความ รู้สึกที่ไม่ดี ซึ่งยังผลต่อปฏิกิริยาในทิศทางที่เป็นผลเสียต่อหน่วยงานได้ นอกจากนี้แล้วการประชาสัมพันธ์จะให้ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมได้ จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการประชาสัมพันธ์และกลวิธี ในการ
ประชาสัมพันธ์ด้วย
3. มีอิทธิพลต่อความคิดและทัศนคติ: จุดมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์ คือ การโน้มน้าวจิตใจของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน กิจกรรมและการบริการหรือสินค้าของหน่วยงาน การที่จะมีทัศนคติที่ดีนั้นหมายถึงการมีความรู้การเข้าใจที่ถูกต้องที่จะส่ง ผลให้มีความรู้สึกที่ดี และมีพฤติกรรมที่เป็นการสนับสนุนหรือร่วมมือ
4. มีความสัมพันธ์กับประชาชน: ถ้าหากไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับประชาชนแล้ว ก็จะไม่มีการประชาสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ ความสัมพันธ์นี้จะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องและมีคุณค่าแก่ประชาชน และขณะเดียวกันหน่วยงานก็ยินดีที่จะรับฟังความคิดเห็น และให้ความสำคัญต่อปฏิกิริยาโต้ตอบของประชาชนด้วย
 

วัตถุประสงค์การโฆษณา

วัตถุประสงคหลักของการโฆษณา
       
1. เพื่อแนะนำสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จัก พร้อม ทั้งให้ผู้บริโภคหันมาสนใจใช้สินค้าหรือบริการที่โฆษณา  สิ้นค้าหรือบริการใดก็ตาม ถ้าไม่โฆษณาก็จะมีคนรู้จักหรือสนใจน้อย ไม่ส่งผลดีสู่การขายเท่าที่ควร แต่ถ้าการโฆษณาดีมีประสิทธิภาพ ประกอบกับได้มีสินค้าหรือบริการที่ดีก็จะได้รับความสนใจ เชื่อถือหรืออาจจะได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ซื้อจนเป็นลูกค้าประจำกันต่อไป

2. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมการซื้อการใช้สินค้าหรือบริการให้มากยิ่งขึ้น  การโฆษณานอกจากจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รู้จัก ได้สนใจสินค้าหรือบริการแล้ว ในกรณีที่จำเป็นต้องการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการขาย หรือต้องการทำเป้าหมายของยอดขายให้สูงขึ้น เช่น ต้องการต่อสู้กับคู่แข่งขัน สามารถทุ่มงบประมาณ ดำเนินการโฆษณาโดยใช้สื่อต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลตามต้องเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. เพื่อรักษาค่านิยมในการใช้สินค้าหรือบริการให้มั่นคง อยู่เสมอ สินค้าที่ลูกค้าเคยรู้จักเคยนิยมใช้ ยังคงจำเป็นต้องโฆษณาเพื่อรักษาชื่อเสียงรักษาค่านิยมให้คงอยู่เสมอ  เพราะถ้าหยุดโฆษณา ลูกค้าจะรู้สึกว่าสินค้าที่กำลังใช้อยู่หมดยุคหมดสมัยไปแล้ว การที่สินค้าหรือบริการที่ใช้ยังคงโฆษณาอยู่ ยังมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมกันอยู่เสมอ จึงเป็นการป้องการกันมิให้ลูกค้าหรือบริการของคู่แข่งขัน


วัตถุประสงคทั่วไปของการโฆษณา
 
 
     1. เพื่อเพิ่มการใช้ให้บ่อยขึ้น (to increase the often of use)  สินค้าหรือบริการบางอย่างไม่มีความจำเป็นจะต้องซื้อต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เท่าใดนัก หรือจำเป็นต้องใช้แต่จำเป็นต้องใช้บ่อย ๆ  ไม่จำเป็นต้องใช้มาก ๆ ก็ได้  ผู้โฆษณาจึงจำเป็นต้องกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคนึกถึง  และใช้สินค้าหรือบริการบ่อย ๆ หรือใช้ให้มากขึ้นเพื่อให้สิ้นค้าหรือบริการนั้นกลายเป็นสิ่งคุ้นเคยในชีวิต ประจำวัน  ให้ผู้บริโภคได้อุดหนุนสินค้าหรือบริการนั้นมากขึ้น
เช่น เพื่อสุขภาพปากและฟัน ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร ด้วยยาสีฟัน
  
2. เพื่อเพิ่มการใช้ได้หลายทาง (to increase the variety of use) สินค้าใดที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง การโฆษณามักจะพยายามเน้นให้เห็นประโยชน์หลาย ๆ  ด้านเพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่าแก่การซื้อการใช้ และตลาดการจำหน่ายก็สามารถแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ยาหม่อง ............  ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ แก้หวัด คัดจมูก ปวด เมื่อย เคล็ด ขัด ยอก ทาถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

     3. เพื่อเพิ่มการสับเปลี่ยน (to increase the frequency) เป็นการโฆษณาโดยวัตถุประสงค์จะให้ผู้บริโภคเปลี่ยนจากสินค้ายี่ห้ออื่นมาใช้ ยี่ห้อที่โฆษณา  หรือให้ผู้บริโภคที่ใช้สินค้ายี่ห้อที่โฆษณาอยู่  ให้เปลี่ยนมาใช้รุ่นใหม่ที่ปรับปรุงหรือพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อให้การขายสินค้าให้มากยิ่งขึ้น เช่น  นำโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่ามาแลกซื้อรุ่นใหม่  ด้วยข้อเสนอที่ให้ประโยชน์น่าสนใจหลายประการ
  
4. เพื่อเพิ่มปริมาณการซื้อ (to increase the quantity purchased) สินค้าหรือบริการโดยทั่วไปมักต้องการให้ผู้บริโภคซื้อหรือใช้บริการในปริมาณ มากโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ให้สะสมบัตรหรือคูปองสำหรับลดราคาพิเศษเมื่อครบจำนวน ใช้แลกซื้อของแถมในราคาพิเศษ
เช่น ...ซื้อ2 แถม 1 
     5. เพื่อยืดฤดูกาลซื้อให้ยาวออกไป (to increase the length of the buying season)  สินค้าหรือบริการบางอย่าง นิยมซื้อหรือใช้ในฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่ง  หรือระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเมือหมดฤดูกาลซื้อจะทำให้ยอดขายตก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการโฆษณาสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการขาย เช่น เสื้อกันหนาว ชุดอาบน้ำ โรงแรม สถานที่พักตากอากาศ หรือชุดนักเรียน ที่ 1 ปี จะมีช่วงเวลาซื้อขายในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ฯลฯ โดยการให้ส่วนลดหรือจักรายการพิเศษต่าง ๆขึ้น



คำขอขมากรรม อธิษฐาน


                                                            คำขอขมากรรม อธิษฐานอโหสิกรรม
กรรมอันใด ที่ข้าพเจ้าทำไว้ด้วย กาย วาจา ใจ ในพระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์
คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์  เพราะไม่รู้  เพราะความหลง  เพราะความงมงาย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ขอพระพุทธ  พระธรรม  พระอริยสงฆ์  และคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ จงยกโทษ
โปรดให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยาก ลำบากเข็ญใจ ความทุกข์ขออย่าได้ ความใคร่ขออย่ามี
ขอให้มีความสุข สวัสดีมีชัย หายทุกข์ หายโศก หายโรค หายภัย หายอุบาทว์
เสนียดจัญไร  อันตรายจงเสื่อมสิ้นไปหายไป และกรรมใดที่ข้าพเจ้าเคยมีเวรกรรมกับท่านผู้ใด
ในชาติใดก็ตามขอให้ท่านจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย
แม้กรรมที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ ยกถวาย พระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน
ด้วยอานิสงฆ์อภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคนาญาติ ผู้มีอุปการะคุณ
มีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่ในสิ่งดีงามด้วยเทอญ (นิพพานนะ ปัจจะโย โหตุ)
อธิษฐานด้วยจิตที่สดใสบริสุทธิ์ ตามท่านหวังปรารถนาเทอญ...

คำอธิษฐาน อัญเชิญเทพเทวดา และขอพรพระ
          ข้าแต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้า...ขอน้อมอัญเชิญ เทพยดาเจ้าทั้งหลาย
โปรดได้เสด็จมาฟังการสวดมนต์ภาวนาของข้าพเข้า... ขออนุโมทนาและประสิทธิ์ประสาทพรให้ข้าพเจ้า...
ขอพระองค์ทั้งหลายโปรดประทานพรให้ข้าพเจ้า พ้นทุกข์ โศก โรคภัย เสนียดจัญไร จงพ้นจากตัวของข้าพเจ้า
และขอให้ข้าพเจ้า...ได้ตาทิพย์ หูทิพย์ และ เจโตปริยญาณ พร้อมเกิดดวงตาเห็นธรรม
ได้สำเร็จมรรคผล ด้วยเทอญ

(กราบ 3 ครั้ง)
 
คำบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา  สักกาเรนะ  พุทธัง  ปูเชมิ
อิมินา  สักกาเรนะ  ธัมมัง  ปูเชมิ
อิมินา  สักกาเรนะ  สังฆัง  ปูเชมิ
คำนมัสการพระรัตนตรัย 
                                อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา  พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิฯ  (กราบ)
                                สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  ธัมมัง  นะมัสสามิฯ  (กราบ)
                                สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิฯ  (กราบ)
คำอาราธณาศีล 
มะยัง  ภัณเต  วิสุง วิสุง   รักขะณัตถายะ
       ติสะระเณนะ  สะหะ   ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ ฯ
  ทุติยัมปิ  ภัณเต  วิสุง วิสุง   รักขะณัตถายะ
       ติสะระเณนะ  สะหะ   ปัญจะ  สีลานิยา  จามะ ฯ
     ตะติยัมปิ  ภัณเต   วิสุง  วิสุง   รักขะณัตถายะ
      ติสะระเณนะ  สะหะ   ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ ฯ
คำนมัสการพระพุทธเจ้า 
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะฯ

คำนมัสการไตรสรณคมน์ 
                                                                 พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ                                                                 ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                                 สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ฯ

                                                      ทุติยัมปิ   พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                      ทุติยัมปิ   ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                      ทุติยัมปิ   สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ฯ
                                                     ตะติยัมปิ    พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                    
ตะติยัมปิ    ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                     ตะติยัมปิ    สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ฯ
คำสมาทานศีล ๕ 
                               ปาณาติปาตา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า
                              
อะทินนาทานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ
                               ที่เจ้าของไม่ได้ให้

                           
    กาเมสุมิจฉาจารา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม                               มุสาวามา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ                               สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
                               อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
 คำถวายพรพระ(อิติปิโสฯ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (พุทธคุณ)
 สวากขาโต ภะคะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ
วิญญูหีติ(อ่านว่าวิญญูฮีติ) (ธรรมคุณ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะกิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ
ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย
ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง
ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (สังฆคุณ)
 ชัยมงคลคาถา(พาหุงฯ)
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
กัตวานะ กิฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง** วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ
 
  *  ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า  เม  เป็น  เต
**  อ่านว่า  พรัมมัง
 อิติปิโส (เท่าอายุ)
(ให้สวดเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๕ ต้องสวด ๒๖ จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ 
 
พระคาถาขอพรเทวดา 
                  อิเมสังเทวตานังอานุภาเวน  อิเมสังอิน์ทานังอานุภาเวน  อิเมสังพ์รห์มานังอานุภาเวน  
                     พุท์ธานังอานุภาเวน   ธัมมานังอานุภาเวน   สังฆานังอานุภาเวน   
                     เชย์ยมังคลัง   อิเมสุสวาหายฯ
                     พุทธาย  ธัมมายะ  สังฆาย  สหัสสโกฏิเทวานัง 
                     พรหมเทวตามัง รักขันตุสัพพทา  จิตตัง  ปิยังมะมะ  นะโมพุทธายะ
 
(ข้าพเจ้ากราบขอพรต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ คุณพระศรีรัตนตรัย
องค์เทพเทวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ องค์ในตัวของข้าพเจ้า ครูบาอาจารย์
ขอได้ทรงโปรดเมตตาช่วยคุ้มครองรักษา และบันดาลให้เกิดสิริมงคลแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ)
อธิษฐานจิตตามที่ปรารถนา 
แผ่เมตตาให้ตัวเอง
                            อะหัง สุขิโต โหมิ                  ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
                   อะหัง นิททุกโข โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
                   อะหัง อะเวโร โหมิ                 ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
                   อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ           ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
                   อะหัง อะนีโฆ โหมิ                 ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
                   สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ           ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ
                                                       รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
                        สัพเพ สัตตา                 สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
                                                 ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
                   อะเวรา โหนตุ               จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
                   อัพยาปัชฌา โหนตุ          จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
                   อะนีฆา โหนตุ                จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
                   สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ     จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด             
พระคาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนา ชินปัญชร ตั้งนะโม 3 จบ
แล้วระลึกบูชา เจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า

     ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
     อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
     อิติปิโสภะคะวา ยมราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
     มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

1. ชยาสะรากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา.

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะ คุณากะโร.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

6. เกเลนเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภัง กะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.

7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละถา มะมะ.

9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา
    สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10.ระตะนัง ปุระโต อาสี ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

11.ขันธะโมระปะริตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

12.ชินานานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

13.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะ ชินะ เตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

14.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

15. อัจเจวะมันโต     สุคุตโต สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ     ชิตุปัททะโว
      ธัมมานุภาเวนะ     ชิตาริสังโฆ
      สังฆานุภาเวนะ     ชิตันตะราโย
      สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ

บทกรวดน้ำ
(
สามารถนำไปแผ่เมตตาได้เช่นกัน ขึ้นอยู่ที่ท่านจะนำไปใช้)

นะโม ๓ จบ
อิทังเม  ญาตินัง  โหนตุ  สุขิตา โหนตุ  ญาตะโย    
ิมินา  ปุญญะกัมเมนะ   ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้สร้างและสวดมนต์นี้ ขอให้ผลบุญนี้ไปถึงพระจตุโลกบาล พระยมกทั้งสี่ ขอส่งน้ำอุทิศนี้เข้าไป
ในลังกาทวีป  ในห้องพระสมาธิ  เป็นที่ประชุมการใหญ่ของพระแม่ธรณี  ขอให้พระแม่ธรณีจงมาเป็นทิพยญาณ เป็นผู้ว่าการ
ในโลกอุดร  ขอให้พระแม่ธรณีจงนำเอากุศลผลบุญของข้าพเจ้า ที่ได้กระทำในวันนี้นำส่งแก่ข้าพเจ้าในกาลบัดนี้เดี๋ยวนี้เทอญ 
  นิพานพานะ  ปัจจะโยโหนตุ  พุทธังอนันตัง ธัมมังจักรวาลัง  สังฆังนิพพานัง   ข้าพเจ้าขอแผ่เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา  แก่สรรพสัตว์ที่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ  และขอถวายเป็นปฏิบัติบูชาแด่องค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า พระอรหันต์เจ้า  ข้าพเจ้าขอนำส่งให้บิดา มารดา
ตระกูลพ่อ ตระกูลแม่  พี่ น้อง ปู่  ย่า  ตา  ยาย ญาติพี่น้องทั้งหลาย เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย จงได้รับส่วนบุญกุศล
ที่ข้าพเจ้าได้พึงกระทำในครั้งนี้ ขอให้บุคคลที่ข้าพเจ้าเคยล่วงเกินด้วยกายวาจาใจในภพนี้ในภพที่ผ่านมาจงได้รับส่วนกุศล
ที่ข้าพเจ้าได้สร้างนี้ จงปลดปล่อยกรรม  ด้วยกายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม  ให้แก่ข้าพเจ้า และครอบครัว  และข้าพเจ้า
ขอนำส่งให้จตุสดมภ์ทั้ง ๔  ขุนเวียง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา ท่านแม่ทัพ นายกอง หัวหมู่ ขุนพล ทหารหาญทั้งหลาย ข้าทาส
บริวาร ครูหมัด ครูมวย ครูหอก ครูดาบ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศทุกกรมกอง  และขอนำส่งให้  สัตโลหะ นวโลหะ
รัตนชาติ  แร่ธาตุทั้งหลาย  ช้างศึก  ม้าศึก  ม้าเสบียง  วัวควาย ทั้งหลาย หมู เห็ด เป็ด ไก่ กุ้ง หอย ปู ปลา ทั้งสัตว์น้ำจืด
น้ำเค็ม  สัตว์ปีนป่าย  สัตว์เลื้อยคลาน  สัตว์ในครรภ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าเคยเข่นฆ่าก็ดี  บริโภคก็ดี อยู่ในเนื้อ หนัง กระดูก
ตับ ไต ไส้ พุง 
อยู่ในทั้งหมด ๓๒ ประการของข้าพเจ้า  
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้  พระอินทร์ พระพรหม พระยายม พระยายักษ์ 
พระสยามเทวาธิราช
ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔  พญาครุฑ พญานาค พญาอนันตนาคราช ปู่ฤาษี ๑๐๘ พระองค์  ปู่อินตา  ครูยา
ครูหมอยา เจ้าป่า  เจ้าเขา  เจ้าทุ่ง  เจ้าท่า  เจ้าที่บ้าน  เจ้าที่ทำงาน  รุกขเทวดา  กรรมใดที่ข้าพเจ้ามีกรรมต่อทรัพย์แผ่นดิน
คนของแผ่นดิน  ทำผิดให้เป็นถูก  ทำถูกให้เป็นผิด  และกรรมใดที่ข้าพเจ้าเคยสร้างกรรมกับผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นอดีต  ปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์  ข้าพเจ้าขอให้ท่านมารับอานิสงค์ผลบุญของข้าพเจ้า  เมื่อได้รับผลบุญของข้าพเจ้าแล้ว
จงปลดปล่อยกรรม ปลดเปลื้องกรรม งดเว้นการจองเวรของดวงจิตที่เกิดขึ้นในภพนี้ชาตินี้ ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
ด้วยกุศลในคราวนี้ด้วยเทอญ
นิพพานะ ปัจจะโย โหนตุ (อธิษฐานตามจิตที่ท่านหวังปรารถนา)