Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

• อัตตา

ลดพลัง "อัตตา" ในตัว
เพื่อเสริมสร้างความเก่งและความสุขใน ช่วงสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ของการทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือ ผมมีความรู้สึกว่าตนเองได้พูดหรือสร้างความเข้าใจกับนิสิตต่าง ๆ กลุ่มกันเกี่ยวกับคำว่า "อัตตา" อยู่หลายครั้งพอสมควร โดยเฉพาะการเชื่อมโยงไปถึงบทเรียนเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการ ความรู้ ในความเข้าใจของผมนั้นคำว่า "อัตตา" นั้นหมายถึงความยึดติดในตัวตน และถ้าจะเอ่ยคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั้นก็น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า "ego" มากที่สุดเห็นจะเป็นได้ และไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ว่า ยิ่งท่านอยู่ในสังคมชนชั้นปัญญาชน กล่าวคือประกอบไปด้วยหมู่คนที่มีความรู้ความสามารถสูง ยิ่งทำให้เห็นการแสดงพลังอัตตาออกมาของแต่ละบุคคลมากขึ้นในทางตรงกันข้าม ในสังคมของผู้ที่มีความรู้น้อย และเมื่อบางครั้งผมได้ไปสัมผัสผมรู้สึกว่า กลุ่มคนเหล่านั้นมิใคร่ที่จะแสดงพลังอัตตาออกมาให้เป็นที่ประจักษ์เสีย เท่าใดนัก และรู้สึกได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นมีความสามารถสร้างความสุขทางใจได้ดีกว่า กลุ่มคนเก่ง หรือปัญญาชนทั้งหลายเสียอีกจากข้อสังเกตของผมจึงเกิดเป็นคำถามขึ้นในใจว่า พลังอัตตานั้นแปรผันไปตามระดับความรู้ความสามารถของคนหรือไม่ ซึ่งจริง ๆ แล้วผมก็เคยนำสิ่งที่เป็นคำถามนี้มาพิจารณาวิเคราะห์ แล้วก็เห็นว่าน่าจะเป็นจริงตามที่ได้ตั้งคำถามไว้ เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์เรามีค่านิยมในความเป็นคนเก่ง แม้กระทั่งวิชาที่ผมสอนอย่างองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้นั้น ผมสอนไปให้ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านเข้าใจในแนวคิดของวิชาดังกล่าว ก็เพื่อให้พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อ เสริมสร้างให้พนักงานในองค์กรมีความเก่งในเรื่องของงานที่มากขึ้น เพื่อนำพาองค์กรให้สามารถอยู่รอดไปได้ และก็เพราะว่าความที่เรามีค่านิยมในความเป็นคนเก่งนี่เอง ทำให้คนอื่น ๆ ในสังคมเห็นว่าเป็นคนเก่ง ถูกยอมรับ ถูกให้เกียรติเป็นที่นับหน้าถือตาสิ่งนี้เองหล่อหลอมให้คนเก่งหลาย ๆ คนหลงไปในความเก่งของตนเอง จนทำให้ลืมไปว่าตนเองนั้นก็สามารถทำผิดพลาดได้เหมือนกับคนอื่นทั่ว ๆ ไป ตนเองนั้นก็มิได้ว่าจะเก่งหรือสมบูรณ์แบบไปทุกด้าน ตนเองนั้นก็มิได้จะเป็นคนที่เก่งที่สุด หาไม่มีคนอีกหลายต่อหลายคนที่เก่งกว่า ซึ่งตัวอย่างการลืมความคิดทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ต่างก็เป็นตัวอย่างการนำ มาซึ่งพลังของอัตตาคนที่มีพลังอัตตาในตัวตนเยอะ มักจะเป็นคนที่กลายเป็นที่ไม่พึงประสงค์ของคนในสังคมอย่างไม่รู้ตัว เพราะเมื่อคนเก่งเหล่านี้ไร้สติและแสดงพลังอัตตาในตัวตนออกมาให้คนอื่น ๆ ในสังคมประจักษ์เห็นมากจนเกินไป พฤติกรรมต่าง ๆ อันไม่พึงประสงค์ต่อ ผู้อื่นก็จะถูกแสดงออกมา อาทิ การไม่รู้จักกล่าวคำว่า "ขอโทษ" เพราะความที่ไม่ยอมรับความผิดพลาดในตนเอง หรือการโยนความผิดให้ผู้อื่น เพราะความไม่ยอมรับความผิดพลาดในตนเองอีกเช่นกัน หรือการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะคิดว่าความคิดของตนเองนั้นดีที่สุด หรือการสำคัญตนเองผิด คิดว่าคนอื่น ๆ ทุกคนจะต้องยอมรับในตนเอง ก็เพราะว่าคิดว่าตนเป็นที่ยอมรับของคนอื่น ๆ อยู่เพียงผู้เดียว ซึ่งในที่สุดสังคมรอบข้างก็จะไม่สามารถทัดทานพฤติกรรมดังกล่าวได้ ซึ่งก็เหมือนกับเป็นการเตือนสติให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ลดพลังอัตตาในตัวตนให้น้อยลงแต่ถ้าคนเหล่านั้นมีพลังอัตตาในตนเองสูงมากเกินกว่าที่จะมีสติรับรู้ว่าได้ แสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อคนอื่น ๆ ก็นับว่าเป็นความโชคร้ายของเขาเหล่านั้น และยิ่งโชคร้ายไปกว่านั้น ยังมีกลุ่มคนที่มีอำนาจอยู่ในมือ เนื่องจากมีตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูง และมีพลังอัตตาในตัวตนสูง ผมเห็นว่าคนกลุ่มนี้ช่างน่าสงสารยิ่งนัก เพราะเป็นการยากสำหรับพวกเขาเหล่านี้ในการที่จะรับรู้ได้ว่า มีพลังอัตตาในตัวตนสูง เพราะคนรอบข้าง อาทิ ผู้ใต้บังคับบัญชา ต่างก็เกรงกลัวในอำนาจของเขา และ ไม่กล้าแสดงออกถึงความคิดเห็นหรือความรู้สึก เพื่อที่จะเป็นการบ่งว่าไม่สามารถทัดทานพฤติกรรมของเจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชาของตนเองได้เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะท่านที่เป็นนักบริหาร หรือบุคคลที่ได้ชื่อหรือเป็นที่ยอมรับโดยบุคคลทั่วไปว่าเป็นคนเก่งนั้น เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว อยากให้ท่านลองพิจารณาตนเองว่ามีพลังอัตตาในตัวตนมากน้อยเพียงใด ซึ่งจริง ๆ แล้วในการเขียนบทความนี้ ผมมิได้ต้องการจะสื่อว่า การมีอัตตาในตัวตนนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป ผมกลับคิดว่าในความเป็นจริงนั้น คนเราก็ควรจะต้องมีอัตตาในตัวตนบ้าง เพื่อจุดประสงค์ของการเสริมสร้างความภูมิใจในตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะถ้าท่านไม่มีอัตตาในตัวตนเลย ก็จะกลายเป็นคนที่กลัวหรือ หวาดระแวงอย่างไร้เหตุผล เพราะมีความเชื่อว่าตนเองจะไม่มีความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่จะเกิด ขึ้นได้ หรือเป็นคนที่ขาดความมั่นใจในตนเอง หรือเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือเป็นคนที่ต้องตกเป็นผู้แพ้หรือเบี้ยล่างให้คนอื่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคนที่มีพลังอัตตาในตนเองน้อยจนเกินไป ผมมองว่ามักจะเป็นกลุ่มบุคคลที่สังคมมองว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนที่ไม่เก่ง หรือเป็นคนที่ไม่มีความสามารถ ซึ่งถ้าท่านเป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านี้ ก็ต้องขอบอกให้ลองเรียกสติของตนเองกลับคืนมา ด้วยการรู้คุณค่าของความเป็นคน ด้วยความคิดที่ว่า "คนเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครหรือเป็นอย่างไร ต่างก็มีคุณค่าและความสามารถในตนเองด้วยกันทั้งนั้น"และเมื่อย้อนกลับไปกล่าวถึงบรรดากลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าเป็นคนเก่งและมีพลัง อัตตาในตนเองสูง ที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถลดพลังอัตตาในตนเองให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมได้ ผมมองว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถพัฒนาความสามารถของตนเองให้เก่งขึ้นได้เลย เพราะการที่เป็นคนเก่งนั้นมิได้หมายความว่าท่านจะเป็นคนเก่งได้อยู่ตลอดเวลา คนที่เก่งก็จำเป็นจะต้อง "เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง" เพื่อรักษาความเก่งในตัวตน แต่ถ้าท่านมีพลังอัตตาในตัวตนมากจนเกินไป หรืออีกนัยหนึ่งคือท่านเชื่อมั่นในความคิดของท่านมากจนเกินไป ท่านก็จะไม่รู้สึกว่าต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม หรือไม่จำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น แต่กลับยึดหลักความคิดเดิม ๆ หรือยึดแบบแผนในการทำงานเดิม ๆ ที่ท่านคิดว่าดีที่สุดแล้ว ซึ่งถ้าจะยึดตามหลักการของการจัดการความรู้ กล่าวคือการที่ท่านจะเป็นคนที่เก่งที่รักษาความเก่งโดยพัฒนาความสามารถของตน เองอยู่เรื่อย ๆ นั้น ย่อมมาจากการที่ท่านได้เห็นมุมมองของคนอื่น ๆ เพราะคนเรานั้นมีความคิดความอ่านที่ต่างกัน มุมมองในการมองสิ่งต่าง ๆ ก็มักจะต่างกัน หลากคนก็หลากมุมมอง แต่ความเห็นในหลากมุมมองนี่เองที่จะทำให้ท่านมีความสามารถในการคิดต่อยอดใน เรื่องต่าง ๆ ได้ และในทางตรงกันข้ามจะเป็นการยากเสียเหลือเกินสำหรับท่าน ในการที่จะคิดพัฒนาต่อยอดในเรื่องต่าง ๆ ถ้าท่านจะคิดบนพื้นฐานของมุมมองของท่านแต่เพียงมุมมองเดียวนอกจากเรื่องความเก่งและความสามารถแล้ว การลดปริมาณพลังอัตตาของท่านให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมนั้น ยังช่วยสร้างความสุขในใจของท่านด้วย ก็เพราะว่าท่านจะเป็นคนที่เก่ง มีความเชื่อมั่นในตนเอง และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่ไม่ หยิ่งผยองในความสามารถของตนเอง และยอมรับฟังความคิดเห็นหรือมุมมองของคนอื่น ๆ ท่านจะเป็นคนที่ผู้อื่นรู้สึกดีด้วย รู้สึกให้เกียรติให้ความเคารพอย่างจริงใจและอย่างยั่งยืน สิ่งนี้เองจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีหรือความสุขในใจท่าน ในขณะที่บางท่านไม่รู้จักที่จะบริหารพลังอัตตาในตนเอง กลับมีความทุกข์ ทุกข์อันเกิดจากการที่ผู้อื่นหยุดให้การยอมรับ ทุกข์เนื่องจากคนอื่น ไม่ได้มองว่าตนเองเป็นผู้ที่เก่งที่สุด ซึ่งสรุปแล้วทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือ ความไม่ยึดติดในตัวตนของตนเองมากจนเกินไปที่มา : วันที่ 03 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4163 ประชาชาติธุรกิจ, คอลัมน์ องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดย ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพินิจ Mongkolchai@acc.chula.ac.th
เพื่อเสริมสร้างความเก่งและความสุขใน ช่วงสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ของการทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือ ผมมีความรู้สึกว่าตนเองได้พูดหรือสร้างความเข้าใจกับนิสิตต่าง ๆ กลุ่มกันเกี่ยวกับคำว่า "อัตตา" อยู่หลายครั้งพอสมควร โดยเฉพาะการเชื่อมโยงไปถึงบทเรียนเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการ ความรู้ ในความเข้าใจของผมนั้นคำว่า "อัตตา" นั้นหมายถึงความยึดติดในตัวตน และถ้าจะเอ่ยคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั้นก็น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า "ego" มากที่สุดเห็นจะเป็นได้ และไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ว่า ยิ่งท่านอยู่ในสังคมชนชั้นปัญญาชน กล่าวคือประกอบไปด้วยหมู่คนที่มีความรู้ความสามารถสูง ยิ่งทำให้เห็นการแสดงพลังอัตตาออกมาของแต่ละบุคคลมากขึ้นในทางตรงกันข้าม ในสังคมของผู้ที่มีความรู้น้อย และเมื่อบางครั้งผมได้ไปสัมผัสผมรู้สึกว่า กลุ่มคนเหล่านั้นมิใคร่ที่จะแสดงพลังอัตตาออกมาให้เป็นที่ประจักษ์เสีย เท่าใดนัก และรู้สึกได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นมีความสามารถสร้างความสุขทางใจได้ดีกว่า กลุ่มคนเก่ง หรือปัญญาชนทั้งหลายเสียอีกจากข้อสังเกตของผมจึงเกิดเป็นคำถามขึ้นในใจว่า พลังอัตตานั้นแปรผันไปตามระดับความรู้ความสามารถของคนหรือไม่ ซึ่งจริง ๆ แล้วผมก็เคยนำสิ่งที่เป็นคำถามนี้มาพิจารณาวิเคราะห์ แล้วก็เห็นว่าน่าจะเป็นจริงตามที่ได้ตั้งคำถามไว้ เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์เรามีค่านิยมในความเป็นคนเก่ง แม้กระทั่งวิชาที่ผมสอนอย่างองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้นั้น ผมสอนไปให้ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านเข้าใจในแนวคิดของวิชาดังกล่าว ก็เพื่อให้พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อ เสริมสร้างให้พนักงานในองค์กรมีความเก่งในเรื่องของงานที่มากขึ้น เพื่อนำพาองค์กรให้สามารถอยู่รอดไปได้ และก็เพราะว่าความที่เรามีค่านิยมในความเป็นคนเก่งนี่เอง ทำให้คนอื่น ๆ ในสังคมเห็นว่าเป็นคนเก่ง ถูกยอมรับ ถูกให้เกียรติเป็นที่นับหน้าถือตาสิ่งนี้เองหล่อหลอมให้คนเก่งหลาย ๆ คนหลงไปในความเก่งของตนเอง จนทำให้ลืมไปว่าตนเองนั้นก็สามารถทำผิดพลาดได้เหมือนกับคนอื่นทั่ว ๆ ไป ตนเองนั้นก็มิได้ว่าจะเก่งหรือสมบูรณ์แบบไปทุกด้าน ตนเองนั้นก็มิได้จะเป็นคนที่เก่งที่สุด หาไม่มีคนอีกหลายต่อหลายคนที่เก่งกว่า ซึ่งตัวอย่างการลืมความคิดทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ต่างก็เป็นตัวอย่างการนำ มาซึ่งพลังของอัตตาคนที่มีพลังอัตตาในตัวตนเยอะ มักจะเป็นคนที่กลายเป็นที่ไม่พึงประสงค์ของคนในสังคมอย่างไม่รู้ตัว เพราะเมื่อคนเก่งเหล่านี้ไร้สติและแสดงพลังอัตตาในตัวตนออกมาให้คนอื่น ๆ ในสังคมประจักษ์เห็นมากจนเกินไป พฤติกรรมต่าง ๆ อันไม่พึงประสงค์ต่อ ผู้อื่นก็จะถูกแสดงออกมา อาทิ การไม่รู้จักกล่าวคำว่า "ขอโทษ" เพราะความที่ไม่ยอมรับความผิดพลาดในตนเอง หรือการโยนความผิดให้ผู้อื่น เพราะความไม่ยอมรับความผิดพลาดในตนเองอีกเช่นกัน หรือการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะคิดว่าความคิดของตนเองนั้นดีที่สุด หรือการสำคัญตนเองผิด คิดว่าคนอื่น ๆ ทุกคนจะต้องยอมรับในตนเอง ก็เพราะว่าคิดว่าตนเป็นที่ยอมรับของคนอื่น ๆ อยู่เพียงผู้เดียว ซึ่งในที่สุดสังคมรอบข้างก็จะไม่สามารถทัดทานพฤติกรรมดังกล่าวได้ ซึ่งก็เหมือนกับเป็นการเตือนสติให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ลดพลังอัตตาในตัวตนให้น้อยลงแต่ถ้าคนเหล่านั้นมีพลังอัตตาในตนเองสูงมากเกินกว่าที่จะมีสติรับรู้ว่าได้ แสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อคนอื่น ๆ ก็นับว่าเป็นความโชคร้ายของเขาเหล่านั้น และยิ่งโชคร้ายไปกว่านั้น ยังมีกลุ่มคนที่มีอำนาจอยู่ในมือ เนื่องจากมีตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูง และมีพลังอัตตาในตัวตนสูง ผมเห็นว่าคนกลุ่มนี้ช่างน่าสงสารยิ่งนัก เพราะเป็นการยากสำหรับพวกเขาเหล่านี้ในการที่จะรับรู้ได้ว่า มีพลังอัตตาในตัวตนสูง เพราะคนรอบข้าง อาทิ ผู้ใต้บังคับบัญชา ต่างก็เกรงกลัวในอำนาจของเขา และ ไม่กล้าแสดงออกถึงความคิดเห็นหรือความรู้สึก เพื่อที่จะเป็นการบ่งว่าไม่สามารถทัดทานพฤติกรรมของเจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชาของตนเองได้เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะท่านที่เป็นนักบริหาร หรือบุคคลที่ได้ชื่อหรือเป็นที่ยอมรับโดยบุคคลทั่วไปว่าเป็นคนเก่งนั้น เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว อยากให้ท่านลองพิจารณาตนเองว่ามีพลังอัตตาในตัวตนมากน้อยเพียงใด ซึ่งจริง ๆ แล้วในการเขียนบทความนี้ ผมมิได้ต้องการจะสื่อว่า การมีอัตตาในตัวตนนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป ผมกลับคิดว่าในความเป็นจริงนั้น คนเราก็ควรจะต้องมีอัตตาในตัวตนบ้าง เพื่อจุดประสงค์ของการเสริมสร้างความภูมิใจในตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะถ้าท่านไม่มีอัตตาในตัวตนเลย ก็จะกลายเป็นคนที่กลัวหรือ หวาดระแวงอย่างไร้เหตุผล เพราะมีความเชื่อว่าตนเองจะไม่มีความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่จะเกิด ขึ้นได้ หรือเป็นคนที่ขาดความมั่นใจในตนเอง หรือเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือเป็นคนที่ต้องตกเป็นผู้แพ้หรือเบี้ยล่างให้คนอื่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคนที่มีพลังอัตตาในตนเองน้อยจนเกินไป ผมมองว่ามักจะเป็นกลุ่มบุคคลที่สังคมมองว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนที่ไม่เก่ง หรือเป็นคนที่ไม่มีความสามารถ ซึ่งถ้าท่านเป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านี้ ก็ต้องขอบอกให้ลองเรียกสติของตนเองกลับคืนมา ด้วยการรู้คุณค่าของความเป็นคน ด้วยความคิดที่ว่า "คนเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครหรือเป็นอย่างไร ต่างก็มีคุณค่าและความสามารถในตนเองด้วยกันทั้งนั้น"และเมื่อย้อนกลับไปกล่าวถึงบรรดากลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าเป็นคนเก่งและมีพลัง อัตตาในตนเองสูง ที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถลดพลังอัตตาในตนเองให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมได้ ผมมองว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่สามารถพัฒนาความสามารถของตนเองให้เก่งขึ้นได้เลย เพราะการที่เป็นคนเก่งนั้นมิได้หมายความว่าท่านจะเป็นคนเก่งได้อยู่ตลอดเวลา คนที่เก่งก็จำเป็นจะต้อง "เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง" เพื่อรักษาความเก่งในตัวตน แต่ถ้าท่านมีพลังอัตตาในตัวตนมากจนเกินไป หรืออีกนัยหนึ่งคือท่านเชื่อมั่นในความคิดของท่านมากจนเกินไป ท่านก็จะไม่รู้สึกว่าต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม หรือไม่จำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น แต่กลับยึดหลักความคิดเดิม ๆ หรือยึดแบบแผนในการทำงานเดิม ๆ ที่ท่านคิดว่าดีที่สุดแล้ว ซึ่งถ้าจะยึดตามหลักการของการจัดการความรู้ กล่าวคือการที่ท่านจะเป็นคนที่เก่งที่รักษาความเก่งโดยพัฒนาความสามารถของตน เองอยู่เรื่อย ๆ นั้น ย่อมมาจากการที่ท่านได้เห็นมุมมองของคนอื่น ๆ เพราะคนเรานั้นมีความคิดความอ่านที่ต่างกัน มุมมองในการมองสิ่งต่าง ๆ ก็มักจะต่างกัน หลากคนก็หลากมุมมอง แต่ความเห็นในหลากมุมมองนี่เองที่จะทำให้ท่านมีความสามารถในการคิดต่อยอดใน เรื่องต่าง ๆ ได้ และในทางตรงกันข้ามจะเป็นการยากเสียเหลือเกินสำหรับท่าน ในการที่จะคิดพัฒนาต่อยอดในเรื่องต่าง ๆ ถ้าท่านจะคิดบนพื้นฐานของมุมมองของท่านแต่เพียงมุมมองเดียวนอกจากเรื่องความเก่งและความสามารถแล้ว การลดปริมาณพลังอัตตาของท่านให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมนั้น ยังช่วยสร้างความสุขในใจของท่านด้วย ก็เพราะว่าท่านจะเป็นคนที่เก่ง มีความเชื่อมั่นในตนเอง และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่ไม่ หยิ่งผยองในความสามารถของตนเอง และยอมรับฟังความคิดเห็นหรือมุมมองของคนอื่น ๆ ท่านจะเป็นคนที่ผู้อื่นรู้สึกดีด้วย รู้สึกให้เกียรติให้ความเคารพอย่างจริงใจและอย่างยั่งยืน สิ่งนี้เองจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีหรือความสุขในใจท่าน ในขณะที่บางท่านไม่รู้จักที่จะบริหารพลังอัตตาในตนเอง กลับมีความทุกข์ ทุกข์อันเกิดจากการที่ผู้อื่นหยุดให้การยอมรับ ทุกข์เนื่องจากคนอื่น ไม่ได้มองว่าตนเองเป็นผู้ที่เก่งที่สุด ซึ่งสรุปแล้วทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือ ความไม่ยึดติดในตัวตนของตนเองมากจนเกินไป


ที่มา : วันที่ 03 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4163 ประชาชาติธุรกิจ, คอลัมน์ องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดย ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพินิจ Mongkolchai@acc.chula.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น