Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

การทำนามบัตรที่ดีเพื่อนักธุรกิจ

ลักษณะนามบัตรที่ดีเพื่อประกอบธุระกิจ


นามบัตร ถือเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในระดับมืออาชีพที่เหล่าบรรดาผู้ประกอบการ นักบริหาร หรือแม้แต่กระทั่งพนักงานทุกคนที่ถือเป็นหน่วยปฏิบัติที่เล็กที่สุดของบริษัทจำเป็นต้องมีพกติดตัวเอาไว้ เนื่องจากในความเป็นจริงนามบัตรธุรกิจเป็นอะไรที่มีคุณค่ามากกว่าแค่กระดาษแผ่นเล็กๆแผ่นหนึ่ง เพราะนามบัตรธุรกิจเป็นการแสดงและแนะนำตัวตนของผู้ประกอบการ บริษัท หรือพนักงานผู้ถือบัตรให้บุคคลอื่นได้รู้จักเปรียบเสมือนเป็นบัตรประชาชนทางธุรกิจเลยก็เทียบได้ ซึ่งหลายวัฒนธรรมของการทำธุรกิจในการพบปะพูดคุยกันครั้งแรกๆของบริษัทผู้ค้ามักจะมีการแลกเปลี่ยนนามบัตรกันก่อนที่จะเริ่มลงมือพูดคุยเจรจาธุรกิจด้วยซ้ำไป นามบัตรจึงเป็นสิ่งสำคัญและกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆธุรกิจจะต้องมี ซึ่งโดยปกติแล้วนามบัตรไม่ได้มีรูปแบบตายตัวเหมือนสูตรทางคณิตศาสตร์แต่มันก็มีหลักการสากลที่ผู้ประกอบการควรจะต้องยึดเอาไว้เป็นหลักในการพิจารณาออกแบบอยู่บ้างพอสมควรเพื่อความเป็นมืออาชีพและได้รับการยอมรับจากภายนอกนามบัตรที่ดีควรมีลักษณะดัง องค์ประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังต่อไปนี้


ชื่อนามสกุลต้องชัดเจน

ชื่อและนามสกุลถือเป็นส่วนสำคัญอันดับแรกสุดเลยของนามบัตร เพราะวัตถุประสงค์หลักของนามบัตรคือมันถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแนะนำชื่อเสียงเรียงนามของผู้ถือเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบการห้ามสะกดตัวอักษรผิดเป็นอันขาดซึ่งเรื่องนี้อันตรายมาก เพราะการสะกดผิดแม้แต่ตัวเดียวก็ทำให้ความหมายของชื่อและการอ่านออกเสียงเปลี่ยนไปได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดความผิดพลาดในด้านอื่นๆอีกหากคู่ค้าทางธุรกิจของท่านนำชื่อที่ได้จากนามบัตรที่สะกดผิดไปเขียนอ้างอิงลงในสัญญาที่มีผลทางกฎหมายหรือเช็คธนาคารซึ่งมันจะกลายเป็นโมฆะทันทีและต้องเสียเวลามาร่างเอกสารใหม่ทั้งหมดซึ่งมันไม่คุ้มค่าและยังหน้าอับอายมากอีกด้วย

นอกจากนี้แล้วชื่อของผู้เป็นเจ้าของนามบัตรต้องมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษวางอยู่อย่างโดดเด่นและสามารถสังเกตได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ตำแหน่งที่วาง เป็นต้น

ตำแหน่งหน้าที่

ตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าของบัตรคือองค์ประกอบในส่วนที่ 2 ที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสนใจ เพราะมันจะบ่งบอกถึงตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าของนามบัตรใบนั้นโดยตรงเพื่อเป็นการสะดวกในการขอติดต่อ ซึ่งสำหรับบริษัทที่มีลักษณะองค์กรขนาดใหญ่มักไม่ค่อยมีปัญหาเพราะพนักงานแต่ละคนมีตำแหน่งที่ตายตัวอยู่แล้ว แต่ปัญหามักจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่มีขนาดเล็กที่บางคนยังไม่รู้ว่าตนเองทำงานในตำแหน่งอะไรเลยด้วยซ้ำเพราะทำแทบจะทุกอย่างเลย ดังนั้นก่อนที่จะทำนามบัตรต้องกำหนดให้ได้เสียก่อนว่าเจ้าของนามบัตรทำงานในตำแหน่งอะไรจึงจะสามารถดำเนินการในทำนามบัตรได้ นอกจากนี้หากในอนาคตมีพนักงานคนใดมีตำแหน่งเปลี่ยนแปลง ต้องรีบทำการเปลี่ยนนามบัตรให้พนักงานคนคนั้นโดยทันทีด้วย

ที่อยู่บริษัทและช่องทางการติดต่อ

ส่วนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างสูง โดยผู้ประกอบการต้องระบุชื่อที่อยู่ของบริษัทลงไปอย่างชัดเจนว่าบริษัทชื่ออะไรตั้งอยู่เลขที่เท่าไหร่ แขวง/เขตไหน จังหวัดอะไร รหัสไปรษณีย์รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ติดต่อของทางบริษัท ซึ่งนอกจากนี้ในปัจจุบันยังควรต้องใส่เบอร์โทรศัพท์มือถือ อีเมลล์ รวมถึงทวิตเตอร์และช่องทางการสื่อสารอื่นๆที่เจ้าของบัตรมีเพื่อความสะดวกมากขึ้นในการติดต่อสื่อสารและเป็นการตามเทรนด์ของสังคมที่พัฒนามากขึ้นในแต่ละวัน

โลโก้บริษัท

ตามหลักที่ถูกต้องแล้วโลโก้บริษัทต้องมีขนาดที่ใหญ่โตและโดดเด่นมากที่สุดในนามบัตร โดยมีสีสันตามโลโก้จริงทั้งหมดและต้องตั้งอยู่ในที่ที่โดดเด่นแยกออกมาเป็นการเฉพาะในมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นซ้ายหรือขวา และต้องไม่มีรายละเอียดในส่วนอื่นเข้าไปเกี่ยวข้องหรือจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน

ขนาด

โดยปกติขนาดของนามบัตรค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้วคือ มีความกว้าง 90 มิลลิเมตรและยาว 54 มิลลิเมตร ตามรูปแบบสากล ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบกอบการสามารถแก้ไขขนาดได้นิดหน่อยทั้งความกว้างและความยาวโดยบวกลบได้ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร และสามารถเหลามุมของนามบัตรให้มีลักษณะที่โค้งมนได้ แต่ไม่ควรออกแบบรูปทรงให้มีลักษณะที่แปลกประหลาดมากไป เพราะเก็บใส่กระเป๋าได้ค่อนข้างลำบาก


สามารถเลือกได้ตามใจชอบแต่อยากจะขอแนะนำให้ใช้สีที่เป็นพื้นๆและอ่อนแทน เพราะสามารถอ่านตัวหนังสือได้สะดวกกว่าพวกที่มีสีเข้มๆมาก

สีพื้นหลัง

จัดทุกองค์ประกอบอย่างสมดุลและลงตัว ส่วนสุดท้ายที่ต้องทำก็คือผู้ประกอบการต้องมาจัดองค์ประกอบก่อนหน้านี้ให้ทุกส่วนสามารถเข้ากันได้อย่างลงตัวมากที่สุดไม่น้อยหรือมากเกินไป โดยลักษณะที่ขอแนะนำคือให้เลือกเขียนสิ่งต่างๆลงในนามบัตรอย่างตรงตัวกระชับและต้องไม่ยาวจนเกินไปแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องครอบคลุมจนทำให้รู้ว่าเจ้าของนามบัตรเป็นใครมีหน้าที่ตำแหน่งการงานอยู่ที่บริษัทอะไร สาเหตุก็เพราะหากเขียนอธิบายมากจนเกินไปนามบัตรธุรกิจก็จะทำให้จับใจความไม่ได้ แต่หากท่านเขียนน้อยเกินไปก็จะดูไม่น่าเชื่อถืออีกเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบการต้องพยายามจัดสรรเนื้อที่ในนามบัตรอย่างลงตัวให้มากที่สุด อย่าลืมว่านามบัตรธุรกิจที่ดีสามารถสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจมานับไม่ถ้วนแล้ว

เครดิต:http://incquity.com/articles/office-operation/business-namecard

1 ความคิดเห็น:

  1. อยากรู้กระแสธุรกิจในยุคหน้า ติมตามได้เลย
    http://www.jaiharn.com/trends/

    ตอบลบ