Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

ช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่องทางการจัดจำหน่าย


การบริหารจัดการเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายมีอะไรบ้าง ?
กลยุทธ์การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (Place Strategy) 

ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1) ทางเลือกของช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution) ว่าเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้มีช่องทางใดบ้าง


2) ประเภทของร้านค้า (Outlets) ในปัจจุบันประเภทของร้านค้ามีให้เลือกมากมายหลายประเภท เช่น

2.1) ร้านค้าส่ง (Wholesale Store) ที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง
2.2) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store)
2.3) ห้างสรรพสินค้า (Department Store)
2.4) แหล่งช้อปปิ้งชุมชน (Community Mall)
2.5) MiniMart
2.6) ร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store)
2.7) ซุ้มขายของ (Kiosk) ครอบคลุมทั้งร้านที่เป็นซุ้มขายของและจัดเป็นบูธ
2.8) เครื่องขายอัตโนมัติ (Vending Machine)
2.9) การขายทางไปรษณีย์ (Mail Order) ซึ่งเป็นการขายโดยการส่งจดหมายไปยังลูกค้า หรือการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์/นิตยสาร และถ้าลูกค้าสนใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
2.10) การขายทางแคตตาล็อก (Catalog Sales)
2.11) การขายทางโทรทัศน์ (TV Sales)
2.12) การขายตรง (Direct Sales)
2.13) ร้านค้าสวัสดิการ
2.14) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นต้น



3) จำนวนคนกลางในช่องทางจัดจำหน่าย (Number of Intermediaries) โดยพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มลูกค้าเป็นใคร มีพฤติกรรมการซื้ออย่างไร และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของลูกค้าอยู่ที่ใด เป็นต้น



4) การสนับสนุนการกระจายตัวของสินค้าเข้าสู่ตลาด (Market logistic) โดยพิจารณาถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และตัวสินค้าจากแหล่งปัจจัยการผลิตผ่านโรงงานผลิต แล้วกระจายตัวไปยังผู้บริโภคกลยุทธ์การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (Place Strategy) ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้


4.1) ทางเลือกของช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution) ว่าเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้มีช่องทางใดบ้าง
4.2) ประเภทของร้านค้า (Outlets) ในปัจจุบันประเภทของร้านค้ามีให้เลือกมากมายหลายประเภท เช่น
4.2.1) ร้านค้าส่ง (Wholesale Store) ที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง
4.2.2) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store)
4.2.3) ห้างสรรพสินค้า (Department Store)
4.2.4) แหล่งช้อปปิ้งชุมชน (Community Mall)
4.2.5) MiniMart
4.2.6) ร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store)
4.2.7) ซุ้มขายของ (Kiosk) ครอบคลุมทั้งร้านที่เป็นซุ้มขายของและจัดเป็นบูธ
4.2.8) เครื่องขายอัตโนมัติ (Vending Machine)
4.2.9) การขายทางไปรษณีย์ (Mail Order) ซึ่งเป็นการขายโดยการส่งจดหมายไปยังลูกค้า หรือการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์/นิตยสาร และถ้าลูกค้าสนใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
4.2.10) การขายทางแคตตาล็อก (Catalog Sales)
4.2.11) การขายทางโทรทัศน์ (TV Sales)
4.2.12) การขายตรง (Direct Sales)
4.2.13) ร้านค้าสวัสดิการ
4.2.14) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นต้น

4.3) จำนวนคนกลางในช่องทางจัดจำหน่าย (Number of Intermediaries) โดยพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มลูกค้าเป็นใคร มีพฤติกรรมการซื้ออย่างไร และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของลูกค้าอยู่ที่ใด เป็นต้น

4.4) การสนับสนุนการกระจายตัวของสินค้าเข้าสู่ตลาด (Market logistic) โดยพิจารณาถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และตัวสินค้าจากแหล่งปัจจัยการผลิตผ่านโรงงานผลิต แล้วกระจายตัวไปยังผู้บริโภค


เครดิต:http://boc.dip.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=263&Itemid=20



ปรัชญาในการบริหารการตลาด

การเรียนรู้หลักการบริหารการตลาด ควรทำความเข้าใจถึงปรัชญาหรือแนวความคิดในการบริหารการตลาด ที่ได้มีการจัดแบ่งออกเป็น 5 แนวความคิด ดังนี้
  1. แนวคิดเน้นผลิตภัณฑ์ เป็นช่วงต่อเนื่องจากแนวคิดเน้นการผลิต เพราะเกิดผู้ผลิตหรือคู่แข่งขันในตลาดจำนวนมาก ทั้งยังสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ในขณะที่สินค้าจากผู้ผลิตแต่ละรายไม่มีข้อแตกต่างด้านราคาจำหน่ายมากนัก ผู้บริโภคจึงเริ่มตระหนักถึงคุณภาพมากกว่าเดิม เช่น รถยนต์จะต้องมีความทนทาน และเร็วขึ้น หรือวิทยุ ที่จะต้องรับสัญญาณได้ มีคุณภาพเสียงชัดเจนขึ้น เหล่านี้เป็นต้น ผู้ผลิตจึงหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามความคาดหวังของผู้บริโภค เพื่อสร้างข้อแตกต่างให้กับสินค้าของตนในตลาด 
  2. แนวคิดเน้นการขาย เป็นแนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นต่อเนื่องจากแนวคิดที่เน้นผลิตภัณฑ์ เพื่อแก้ปัญหายอดขายตกต่ำ ทั้งๆ ที่สินค้ามีคุณภาพ จึงเน้นที่การขายโดยพนักงานขายเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าที่เสนอขายนั้นๆ และสามารถเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ผลิตได้อย่างมาก การขายจึงเฟื่องฟูในยุคดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ตาม การขายได้เริ่มตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วตามสัดส่วนความเชื่อถือที่ผู้บริโภคมีต่อพนักงานขาย ซึ่งเป็นเพราะความต้องการขายของพนักงานขายในอันที่จะพยายามขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้มากกว่าคู่แข่งขัน โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพและปัจจัยอื่นๆ ของสินค้ากับความจำเป็นและต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง จึงสร้างความไม่พอใจและเป็นทัศนคติในด้านลบที่ผู้บริโภคมีต่อพนักงานขายอย่างมาก 
  3. แนวคิดเน้นการตลาด แนวคิดนี้เกิดขึ้นภายหลังแนวคิดด้านการขายตกต่ำลง และถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ กล่าวคือ ไม่ได้เริ่มต้นที่การผลิตสินค้าแล้วจึงคิดหาช่องทางจัดจำหน่ายออกไปดังเช่นยุคต่างๆ ที่ผ่านมา แต่จะเริ่มต้นจากการศึกษาและวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้รับมาดำเนินการผลิตสินค้า เพื่อสร้างความพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภคภายใต้ผลตอบแทนในรูปของกำไรสูงสุดที่องค์กรจะได้รับและในปัจจุบันแนวคิดดังกล่าว ยังคงถือเป็นแนวคิดหลักของการดำเนินธุรกิจทั่วไป 
  4. แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม เป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นจากความเห็นว่าการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและผลกำไรสูงสุดขององค์กรเท่านั้น ไม่ถือเป็นแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพราะการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด สามารถที่จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสังคมโดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น กระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างไร้เหตุผล เกิดการแบ่งชนชั้นภายในสังคม เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นผลร้ายต่อสังคมในระยะยาวอย่างยิ่ง ผู้บริหารการตลาดในปัจจุบัน จึงควรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมโดยรวมควบคู่ไปกับการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และวัตถุประสงค์ขององค์กร 


ส่วนประสมทางการตลาด

1. ผลิตภัณฑ์ (Production)
ผลิตภัณฑ์ หมายถึง “สิ่งที่เสนอขายโดยธุรกิจ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจ” ผลิตภัณฑ์รวมถึงสินค้า บริการ ความคิด ผลิตภัณฑ์เป็นส่วนประสมทางการตลาดที่สำคัญที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ยังมีความหมายนอกเหนือจากรูปร่างลักษณะที่มองเห็นได้ กล่าวคือ เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าใด ๆ เขากำลังมองหาประโยชน์จากสินค้าหรือบริการนั้น ดังที่บริษัทแห่งหนึ่งทำการโฆษณาว่า “ในโรงงานเราผลิตเครื่องสำอางค์ แต่ในร้านเราจำหน่ายความหวัง (ของลูกค้าที่จะสวยขึ้น)” แม้ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าซึ่งเป็นสิ่งมองเห็นจับต้องได้ แต่ลูกค้าซื้อสินค้าโดยคาดหวังถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้สินค้านั้น
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์มี 5 ระยะด้วยกัน คือ
1. ขั้นแนะนำ ( Introduction ) เป็นระยะที่สินค้าเข้าสู่ตลาดในระยะแรก มีเพียงหนึ่งหรือสองยี่ห้อช่วงนี้บริษัทพยายามสร้างการรับรู้ในตัวสินค้า เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ระยะนี้บริษัทมียอดขายและกำไรต่ำ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ทำจากหัวบุก เช่น คอนยักกี้ กิฟเฟอร์รีน
2. ขั้นเจริญเติบโต ( Growth ) เป็นระยะที่มียี่ห้อหลากหลาย มีการแข่งขันระหว่างยี่ห้อต่าง ๆ ผู้ผลิตพยายามความภักดีในตราสินค้า และสร้างส่วนครองตลาด (Market Share) เริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น ในระยะนี้สินค้าจะมียอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีกำไรสูงขึ้น เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องออกกำลังกาย

3. ขั้นโตเต็มที่ (Maturity) เป็นระยะที่ยอดขายเพิ่มขึ้นสู่จุดสูงสุด กล่าวคือมียอดขายที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงและเริ่มมีกำไรลดต่ำลง ในระยะนี้สินค้ามีคู่แข่งจำนวนมากและมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นผู้ผลิตพยายามปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากยี่ห้ออื่นในสายตาของผู้บริโภค และพยายามรักษาส่วนครองการตลาดของตนไว้ เช่น กาแฟกระป๋อง โทรศัพท์มือถือระบบอนาลอค
4. ขั้นตกต่ำ (Decline) เป็นระยะที่มียอดขายและกำไรลดลง การแข่งขันเริ่มเบาบางเพราะมีคู่แข่งขันบางรายเริ่มออกจากตลาด รูปแบบผลิตภัณฑ์ลดลง มีการโฆษณาลดน้อยลงเพื่อประหยัดต้นทุน
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หลังจากบริษัทกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทแล้ว บริษัทจะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 การสร้างความคิด (Idea Generation) เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการค้นหาความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งเป็นความคิดที่มองเห็นลู่ทางที่จะขายผลิตภัณฑ์นั้น ในขั้นนี้จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้นหาแหล่งความคิดและวิธีการในการค้นหาความคิด
ขั้นที่ 2 การกลั่นกรองและการประเมินความคิด (Screening and Evaluation of Idea) เป็นการพิจาณาว่าความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างขึ้นจากขั้นที่หนึ่งแล้วนำมากลั่นกรองและประเมินว่าความคิดใดที่จะนำมาวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในขั้นต่อไป

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ทางธุรกิจ (Business Analysis) เป็นการพิจารณาว่าความคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คัดเลือกในขั้นที่ 2 จะมีความเป็นไปได้เพียงใดในทางธุรกิจ งานในขั้นนี้ประกอบด้วย กำหนดลักษณะผลิตภัณฑ์ , คาดคะเนความต้องการซื้อของตลาด ต้นทุนและกำไรที่จะเกิดจากผลิตภัณฑ์ , กำหนดโปรแกรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโปรแกรมการตลาด , กำหนดภาระความรับผิดชอบเพื่อการศึกษาความเป็นได้สำหรับผลิตภัณฑ์
ขั้นที่ 4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) เป็นการเปลี่ยนความคิดที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว
เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปร่าง (Physical Product) ขึ้นมาประกอบด้วย การพัฒนาด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Product Prototype) และการพัฒนาหน้าที่การทำงานของผลิตภัณฑ์
ขั้นที่ 5 การทดสอบตลาด (Test Marketing) เป็นการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจริงตามแผนการตลาดที่กำหนดไว้ ขั้นนี้จึงถือว่าเป็นขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ (Introduction Stage) ซึ่งเป็นขั้นแรกของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
ขั้นที่ 6 การดำเนินธุรกิจ (Commercialization) เป็นนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจริงตามแผนการตลาดที่กำหนดไว้ ขั้นนี้จึงถือว่าเป็นขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ (Introduction Stage) ซึ่งเป็นขั้นแรกของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์


2. ราคา ( Price ) หมายถึง สิ่งที่แสดงของค่าที่บุคคลจ่ายสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้มาในการแลกเปลี่ยนราคาจากผู้ขายและผู้ซื้อ
วัตถุประสงค์ของการกำหนดราคา
1. วัตถุประสงค์มุ่งกำไร (Profit Oriented Objectives) ธุรกิจกำหนดวัตถุประสงค์ คือกำไรที่เกิดขึ้นจากการตั้งราคาที่สูงจากการขายเป้าหมายที่แต่ละธุรกิจต้องการจะมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
1.1 เพื่อกำไรสูงสุด
1.2 เพื่อกำไรตามเป้าหมาย
1.3 เพื่อกำไร ณ ระดับที่พอใจ
2. วัตถุประสงค์มุ่งยอดขาย (Sales Oriented Objectives) การตั้งราคาขายที่ธุรกิจมุ่งปริมาณยอดขายซึ่งจะทำให้มีกำไรตามปริมาณการขายวัตถุประสงค์ของธุรกิจ คือ ความต้องการขยายส่วนครองตลาด เพื่อให้สินค้าเป็นที่สนใจของตลาดและมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เพื่อเอาชนะคู่แข่งขันและเพิ่มยอดขายและรายได้
3. วัตถุประสงค์มุ่งรักษาสถานภาพ (Status quo objectives) ธุรกิจพยายามรักษาระดับราคาในตลาดให้คงที่ โดยไม่เปลี่ยนแปลงหรือขึ้นลงบ่อย ๆ เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อสินค้าของคู่แข่งขัน
ปัจจัยการกำหนดราคา
1. ต้นทุน การดำเนินธุรกิจจะมีต้นทุนที่เกิดขึ้น เช่น ต้นทุนคงที่ ต้นทุนแปรผัน และยังมีต้นทุนในการผลิตสินค้า เช่น ค่าโฆษณา ค่าวิจัย ค่าขนส่ง เป็นต้น
2. ผู้บริหารของธุรกิจ การกำหนดราคาของสินค้าเป็นหน้าที่ของผู้บริหารเป็นผู้กำหนดราคาโดยพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของกิจการและวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
3. ตลาดที่แตกต่างกัน ราคาสินค้าที่แตกต่างกันในตลาดเกิดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานที่เกิดขึ้นมากน้อยทำให้การตั้งราคาตามอุปสงค์ของตลาด ถ้าตลาดต้องการมาก ราคาจะสูง แต่ถ้าต้องการน้อยราคาก็จะต่ำ
นโยบายการกำหนดราคา
1. นโยบายระดับราคา (Price Levee Polcy)
1.1 ระดับราคาตามราคาตลาด (Meet the market price) เป็นการตั้งราคาในกรณีที่ไม่สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันในตลาดขณะนั้นเป็นการหลีกเลี่ยงภาวการณ์แข่งขัน ลดราคาหรือการตัดราคากัน เช่น ยาสีฟัน บะหมี่สำเร็จ น้ำอัดลม เป็นต้น
1.2 ระดับราคาสูงกว่าราคาตลาด (Above the market price) เป็นการใช้ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์มีคุณลักษณะพิเศษหรือผู้ขายมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ลูกค้ามีความจงรักภักดีกับตราสินค้า ราคาที่ตั้งสูงกว่าคู่แข่งขันได้ เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อ ผลิตภัณฑ์ตามห้างสรรพสินค้า
1.3 ระดับราคาต่ำกว่าราคาตลาด (Under the market price) เป็นการใช้ในระดับผู้ค้าปลีก บริษัทไม่มีข้อได้เปรียบคู่แข่งขันโดยคำนึงถึงกำไรต่อหน่วยต่ำ แต่ต้องการจำหน่ายในปริมาณมาก ในขณะเดียวกันการลดบริการที่ไม่จำเป็นเสีย ต้นทุนต่ำลงทำให้ราคาจำหน่ายต่ำกว่าราคาท้องตลาด
2. นโยบายราคาเดียวหรือหลายราคา
2.1 นโยบายราคาเดียว (One price policy) บริษัทจะพิจารณากับลูกค้ารายที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าชนิดเดียวกันในปริมาณเท่ากัน และภายใต้เงื่อนไขการขายที่เหมือนกัน
2.2 นโยบายหลายราคา (Variable price policy) บริษัทจะคิดราคาสินค้ากับลูกค้าแต่ละรายในราคาที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการต่อรองของลูกค้า หรือความสันพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ฉะนั้นราคาขายจึงแตกต่างกัน


3. ช่องทางการจัดจำหน่าย
การจัดจำหน่าย (Distribution) หมายถึง “โครงสร้างของช่องทาง (สถาบัน และกิจกรรม) ที่ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากองค์การไปยังตลาด”
จำนวนระดับของช่องทางการจัดจำหน่าย
จำนวนระดับของช่องทางการจัดจำหน่าย หมายถึง จำนวนระดับคนกลางภายในเส้นทางที่ผลิตภัณฑ์และ (หรือ) กรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์เคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปตลาด ในการขายอาจไม่ต้องผ่านคนกลางถ้าไม่ผ่านคนกลาง เราเรียกว่า ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง หรือช่องทางศูนย์ระดับ ถ้าต้องผ่านคนกลาง เราเรียกว่า ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม ช่องทางอ้อมประกอบด้วยหลายวิธี เช่น ถ้าผ่านเฉพาะพ่อค้าปลีก เราเรียกว่า ผ่านคนกลางหนึ่งระดับ ถ้าผ่านผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกด้วย เราเรียกว่าผ่านคนกลางสองระดับ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง (Direct Channel) หรือการขายทางตรง (Direct Selling) ซึ่งหมายถึง การขายผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมโดยไม่มีคนกลาง ช่องทางนี้ผู้ผลิตต้องทำหน้าที่การตลาดเอง ถือว่าเป็นช่องทางที่สั้นที่สุด นิยมใช้สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามมีการนำไปใช้สำหรับสินค้าบริโภคที่ย้ายยาก ช่องทางนี้จะมุ่งความสำคัญที่การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) กล่าวคือ ใช้พนักงานขายติดต่อโดยตรงกับลูกค้า ช่องทางนี้จะรวมถึงการขายทางไปรษณีย์ (Direct Mail Selling) และการขายตามบ้าน(House to House Selling) ดังรูปที่ 1






ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม (Indirect Channel) หมายถึง เส้นทางที่สินค้าที่เคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตโดยต้องผ่านคนกลางไปยังลูกค้า ซึ่งคนกลางช่วยทำหน้าที่ขายและหน้าที่การตลาดอื่นๆ ทำให้ขายสิ้นค้าได้จำนวนมากขึ้น และช่วยขยายตลาดได้กว้างขวาง
จากความหมายคนกลางและช่องทางการจัดจำหน่ายจะเห็นว่าคนกลางเป็นสถาบันในช่องทางการจัดจำหน่ายที่ช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์และ (หรือ) กรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์เคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ดังรูปที่ 2 ถ้าผ่านระดับผู้ค้าปลีกเรียกว่า ช่องทางการจัดจำหน่ายหนึ่งระดับ ถ้าผ่านผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกเรียกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายสองระดับ และถ้าผ่านตัวแทน ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกเรียกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายสามระดับ


ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผ่านน้อยระดับเรียกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายค่อนข้างสั้น ถ้าผ่านหลายระดับเรียกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายยาว และถ้าไม่ผ่านคนกลางเลยเรียกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง หรือช่องทางการจัดจำหน่ายที่สั้น
การกระจายตัวสินค้า
หมายถึง “กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม” หรืออาจหมายถึง “การขนส่งและการเก็บรักษาตัวสินค้าภายในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งและระบบช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจนั้น” จากความหมายนี้จะเห็นว่างานที่เกี่ยวข้องกับการกระจายตัวองค์

ประกอบของการกระจายตัวสินค้ามี 5 ระบบย่อย
1. ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าและการคลังสินค้า (Inventory Location and Warehousing) ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าเป็นงานที่เกี่ยวข้องการเลือกสถานที่ตั้งของคลังสินค้าว่าควรจะเก็บสินค้าไว้ที่ไหน ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการคลังสินค้า เป็นกิจกรรมของการกระจายตัวสินค้าที่ประกอบด้วยการเก็บรักษา การจัดหมวดหมู่ การแบ่งแยกและการเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อการขนส่ง” ธุรกิจมีทางเลือกที่จะดำเนินงานโดยมีคลังสินค้าของตนเอง หรือไปใช้บริการของคลังสินค้าสาธารณะ
2. การจัดการวัสดุ (Material Handing) เป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดการสูญเสียที่เกิดจากการแตกหัก เน่าเสียและขโมยน้อยที่สุด อุปกรณ์เครื่องมือมีประสิทธิภาพสามารถทำให้ลดต้นทุนและเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการดังกล่าว อุปกรณ์เครื่องมือในการจัดการวัสดุได้แก่ สายพาน รถยก ล้อเลื่อน ลิฟท์ ตู้เก็บสินค้า เป็นต้น

3.การควบคุมสินค้าคงเหลือ (Inventory Control) หมายถึง กิจกรรมในการเก็บรักษาสินค้าคงเหลือให้มีขนาดและประเภทของสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม สินค้าคงเหลือสำหรับหลายบริษัทจะแสดงถึงขนาดของการลงทุน เป้าหมายของการควบคุมสิ้นค้าคงเหลือคือ การควบคุมการลงทุนและการขึ้นลงของสิ้นค้าให้เกิดน้อยที่สุดโดยสามารถรับคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ทันทีและถูกต้อง
4. การดำเนินงานเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ (Order Processing) เป็นขั้นตอนในการจัดการตามใบสั่งซื้อของลูกค้า” ประกอบด้วยการจัดทำเอกสารการขาย การให้สินเชื่อ การจัดเตรียมในการเก็บสินค้า การเก็บหนี้ที่ต้องชำระ
5. การขนส่ง (Transportation) เป็นหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายสินค้าไปยังลูกคา ฝ่ายบริหารต้องตัดสินใจถึงประเภทของการขนส่งและพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง วิธีการขนส่งหลักที่นิยมในปัจจุบันมี 5 ประเภท ดังนี้
5.1 การขนส่งโดยรถบรรทุก (Truck) เป็นการขนส่งทางบกที่นิยมใช้มาก โดยเฉพาะการขนส่งภายในประเทศเพราะสะดวก รวดเร็ว มีเวลาให้เลือกมาก
5.2 การขนส่งโดยรถไฟ (Railroads) เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ขนาดใหญ่มีปริมาณมาก และต้องมีการขนส่งระยะทางไกล เพราะค่าใช้จ่ายถูก ความปลอดภัยสูง สินค้าที่นิยมใช้บริการรถไฟได้แก่ ปูนซีเมนต์ หินทราย น้ำมัน เป็นต้น
5.3 การขนส่งทางเครื่องบิน (Airlines) เป็นการขนส่งทางอากาศที่ถือว่ารวดเร็วที่สุดและค่าขนส่งสูงที่สุด เหมาะสำหรับสินค้าที่เสียง่าย หรือมีราคาแพง เช่น ดอกไม้ เพชร ฯลฯ
5.4 การขนส่งทางเรือ (Water Way) เป็นการขนส่งทางน้ำที่ประหยัดค่าขนส่ง เหมาะสำหรับสินค้าที่คนกลางในช่องทางการจัดจำหน่ายหรือคลังสินค้าที่อยู่ใกล้ทางน้ำ เช่น ซุง ข้าวเปลือก แร่ ถ่าน ฯลฯ
5.5 การขนส่งทางท่อ (Pipelines) เป็นการขนส่งสินค้าที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส เช่น น้ำมัน น้ำ แก๊ส

4. การส่งเสริมการตลาดและส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด
การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (MarketingMix) ตัวหนึ่งขององค์การที่ใช้เพื่อแจ้งข่าวสารและจูงใจตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการขององค์การ” หรือ อาจหมายถึง “ข้อมูลการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อสร้างทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ”
ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix) หมายถึง เครื่องมือการติดต่อสื่อสารทางการตลาดเพื่อแจ้งข่าวสาร จูงใจ สร้างทัศนคติ และพฤติกรรมกาซื้อของตลาด ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดประกอบด้วย 4 ประการ คือ (4) การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์เครื่องมือทั้ง 4 ประการ นี้ธุรกิจอาจเลือกใช้หนึ่งเครื่องมือหรือหลายเครื่องมือประสมกันก็ได้

1) การโฆษณา การโฆษณา (Adverting) เป็นรูปแบบการเสนอขาย ความคิด สินค้าหรือบริการ โดยไม่ใช้พนักงานขายที่ต้องมีการจ่ายเงินโดย ผู้อุปถัมภ์รายการ” การโฆษณาจึงมีลักษณะคือ เป็นการเสนอขายสินค้าบริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ และต้องการจ่ายเงินค่าสื่อโดยผู้อุปถัมภ์รายการ

2) การขายโดยใช้พนักงานขายการขายโดยใช้พนักงาน (Personal Selling) เป็นการติดต่อสื่อสารทางตรงแบบเผชิญหน้าระหว่างผู้ขายและลูกค้าที่คาดหวัง” การขายโดยใช้พนักงานขาย ถือเป็นการติดสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)

3) การส่งเสริมการขาย และการส่องเสริมการขาย (Sales Promotion) หมายถึง “กิจกรรมการส่งเสริมที่นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขายและการประชาสัมพันธ์ซึ่งสามารถกระตุ้นความสนใจ การทดลองใช้หรือการซื้อ ของลูกค้าขั้นสุดท้ายหรือบุคคล อื่นในช่องทาง” หรืออาจหมายถึง “กิจกรรมซึ่งใช้ช่วยและเสริมการขายโดยใช้พนักงาน และการโฆษณา” การส่งเสริมการขายต้องใช้ร่วมกับการโฆษณา หรือการขายโดยพนักงานขาย

4) การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and Public Relation) การให้ข่าวเป็นการส่งเสริมการขายโดยไม่ใช้บุคคลที่ไม่มีการจ่ายเงินจากองค์การที่ได้รับผลประโยชน์ทั่วไป แรงงาน ผู้ถือหุ้น และหน่วยราชการ” หรืออาจหมายถึง “ความพยายามที่มีการวางแผนโดยองค์การหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง” การให้ข่าวจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าใจเครื่องมือส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดแต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น

เครดิต:http://marketingmixs.tripod.com/Untitled-4.html

2 ความคิดเห็น:

  1. ใช้งานระบบโฆษณาทำ seo v.7.0
    $รับ Hit. 250. Hit แนะนำบอกต่อแปลงเงินสด.วงเงิน 187,000 บาท.- 11,250,000 บาท
    (1 Hit = 750-45,000 บาท)

    ท่านสามารถแนะและขายโฆษณาแปลงเงินสดได้จากระบบ
    www.seomediamarketing.ws

    ตอบลบ