Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การตลาด แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การตลาด แสดงบทความทั้งหมด

เข้าใจลูกค้า มัดใจด้วยการตลาด 5 จ.

 


จากสภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ การทำให้ลูกค้านั้นยอมที่จะหยิบเงินในกระเป๋าของตัวเองออกมาใช้จ่ายก็คงเป็นเรื่องยาก รวมถึงพฤติกรรมลูกค้าในตอนนี้ก็ให้ความสำคัญต่อความคุ้มค่ามากกว่าการมองเห็นคุณค่าและบริการที่ได้รับมา

.
และในรูปแบบของ New Normal นี้เองที่ทำให้พฤติกรรมของคนนั้นเปลี่ยนไป หลาย ๆ ธุรกิจจึงต้องสร้างการมองเห็น สร้างการรับรู้ และพูดคุยกับลูกค้าของตนเองเพิ่มมากขึ้น ต้องมีความสม่ำเสมอ ใส่ใจ และรวดเร็วเท่าทันต่อเหตุการณ์
.
หลักการ 5 จ จึงเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาประยุกต์ได้ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีแนวคิดดังนี้
.
.
การจับกระแสใหม่ และสร้างเรื่องราวแบบใหม่ ในแบบของตนเอง สามารถสร้างอิทธิพลของแบรนด์ได้ในระยะยาว แม้ชื่อเสียงจะหาย แต่จะยังเป็นที่จับตามองของลูกค้าอยู่เสมอ
.
.
ต้องทำการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าให้ถูกต้อง เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้า
.
.
การเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้า ทำให้เรามองเห็นและเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น เช่น เข้าไปอยู่ในกลุ่ม facebook เกี่ยวกับกล้วยไม้ เพื่อจะเข้าใจลูกค้ากล้วยไม้ที่เราจะขาย
.
.
เมื่อการเข้าถึงข้อมูลในปัจจุบันมีมากมายและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การแสดงถึงความจริงใจและถูกต้องต่อลูกค้าในเรื่องราวที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้โดยผ่านการแต่งเติมน้อยที่สุด เช่น โพสต์ IG Story , TikTok ให้เห็นถึงสินค้าของจริงและวัตถุดิบในการทำสินค้า
.
.
ความใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันของคนไทยนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่ดี และสามารถต่อยอดจากสิ่งนี้ในการพัฒนาธุรกิจกิจขนาดเล็กไปควบคู่กับสังคม เช่น เราเปิดร้านขายกาแฟ เราสามารถนำเมล็ดกาแฟท้องถิ่นใกล้บ้านมาขายที่ร้านพร้อมเผยแพร่วิธีการใหม่ ๆ ในการนำเสนอ
.
การปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับยุคสมัยจะช่วยเพิ่มโอกาสในช่วงวิกฤตให้มีกำไรและเอาตัวรอดไปได้ การเรียนรู้จากลูกค้าเหมือนลูกค้านั้นเป็นครูของเรา เขาจะคอยเตือนเราเสมอในข้อผิดพลาดที่ทำให้ติดขัด ซึ่งเราก็ควรที่จะจริงใจและมีน้ำใจต่อลูกค้าจากสิ่งที่ได้รับเหล่านี้เช่นกัน
.
เครดิต

การวิเคราะห์ STP ผลิตภัณฑ์บริษัท



การวิเคราะห์ STP ผลิตภัณฑ์บริษัท

         กลยุทธ์ STP เป็นการกำหนดตลาดเป้าหมายของกิจการ ซึ่งจะประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ

3 ขั้นตอน ดังนี้ 

                             1. การแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation) - S

                             2. การเลือกตลาดเป้าหมาย (Target market selection) - T

                             3. การกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ (Product position) - P

ช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่องทางการจัดจำหน่าย


การบริหารจัดการเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายมีอะไรบ้าง ?
กลยุทธ์การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (Place Strategy) 

ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1) ทางเลือกของช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution) ว่าเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้มีช่องทางใดบ้าง


2) ประเภทของร้านค้า (Outlets) ในปัจจุบันประเภทของร้านค้ามีให้เลือกมากมายหลายประเภท เช่น

2.1) ร้านค้าส่ง (Wholesale Store) ที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง
2.2) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store)
2.3) ห้างสรรพสินค้า (Department Store)
2.4) แหล่งช้อปปิ้งชุมชน (Community Mall)
2.5) MiniMart
2.6) ร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store)
2.7) ซุ้มขายของ (Kiosk) ครอบคลุมทั้งร้านที่เป็นซุ้มขายของและจัดเป็นบูธ
2.8) เครื่องขายอัตโนมัติ (Vending Machine)
2.9) การขายทางไปรษณีย์ (Mail Order) ซึ่งเป็นการขายโดยการส่งจดหมายไปยังลูกค้า หรือการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์/นิตยสาร และถ้าลูกค้าสนใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
2.10) การขายทางแคตตาล็อก (Catalog Sales)
2.11) การขายทางโทรทัศน์ (TV Sales)
2.12) การขายตรง (Direct Sales)
2.13) ร้านค้าสวัสดิการ
2.14) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นต้น

กลยุทธ์การตลาด 8P 4P

กลยุทธ์ด้านการตลาดหัวใจในการหาขุมทรัพย์ทองคำ


กลยุทธ์ การตลาด แบบ 8 P และ 4P

อธิบายกลยุทธ์แบบ 8 P

กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix) หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s   ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)  โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย
 เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้

SWOT 7-Eleven

ตัวอย่างการวิเคราะห์swot 

บริษัท ซี.พี. เซเวนอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)





ภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัท ซี.พี. เซเวนอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท ซี.พี. คอนวีเนียนสโตร์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้เป็นบริษัทของคนไทยที่ประกอบธุรกิจหลักด้านค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” โดยบริษัทได้รับสิทธิ์การใช้เครื่องหมายดังการจาก 7-Eleven,Inc . สหรัฐอเมริกา และได้เปิดสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ เมื่อปี 2532
ณ สิ้นปี 2549 บริษัทมีร้านสาขา 7-Eleven ทั่วประเทศรวม 3,784 สาขา ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีสาขา มากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจาก ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐไต้หวัน ทั้งนี้แบ่งเป็นร้านในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล 1,960 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 52) เป็นร้านในต่างจังหวัด 1,824 สาขา ( คิดเป็นร้อยละ 48) เมื่อแบ่งตามประเภทของร้านพบว่า มีร้านสาขาบริษัท 2,119 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 56 ) ส่วนที่เหลือเป็นร้านเฟรนไชส์ 1,449 สาขา ( คิดเป็นร้อยละ 38 ) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิรับช่วงอาณาเขต 216 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 6 ) ปัจจุบันมีลูกค้าเข้าร้าน 7-Eleven เฉลี่ยวันละ 4.0 ล้านคน

ทั้งนี้ในปี 2550 ทางบริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาร้าน 7-Eleven อย่างต่อเนื่องอีกประมาณ 400-450 สาขา ทั้งในรูปแบบของร้านในทำเลปกติ และร้านในสถานีบริการน้ำมันของ บริษัท ปตท.(มหาชน) เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด โดย ณ สิ้นปี 2549 บริษัทมีร้านในทำเลปกติ 3,279 สาขา ( คิดเป็นร้อยละ 87 ) และร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 505 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 13 )

นอกจากนั้น บริษัทได้ขยายการลงทุนไปธุรกิจที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2537 เริ่มลงทุนในบริษัท เคาท์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ( CS ) เพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ในปี 2539 ลงทุนในบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ( CPRAM ) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี่ ในปี 2542 ลงทุนในบริษัท รีเทลลิ้งค์ ( ประเทศไทย ) จำกัด (RTL) เพื่อประกอบธุรกิจการจำหน่ายและซ่อมแซมอุปกรณ์ค้าปลีก

บริษัทยังได้มีการขยายการลงทุนในธุรกิจเสริมอื่น ๆ อีก เช่น ในปี 2544 ได้จัดจั้งบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (TSC) ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเติมเงินอิเล็คทรินิกส์ (Smart Purse) และในปี 25446 ได้จัดตั้ง บริษัท โกซอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (GOSOFT) เพื่อให้บริการออกแบบและพัฒนาด้านสารสนเทศ จัดตั้งบริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด (MAM) เพื่อให้บริการปรึกษาวางแผนกิจกรรมทางการตลาดและบริษัท ไดนามิค แมเนจเม้นท์ จำกัด (DM) เพื่อให้บริการบริหารงานกิจกรรมการขนส่งและกระจายสินค้า ในปี 2547 บริษัทได้จัดตั้ง บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด เพื่อให้บริการด้านการศึกษาโดยดำเนินโครงการสถาบันการศึกษาในชื่อว่า ปํญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาของภาครัฐ โดยเฉพาะส่วนของการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถผลิตบุคลากรได้ตรงกับความต้องการและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจค้าปลีก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศในอนาคต

ในปี 2548 บริษัทได้เปิดคำเนินการ โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ อย่างเป็นทางการ และได้เริ่มเปิดดำเนินการบริการโอนเงินผ่านบัตร “เชื่อมรัก” และการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ด้วยบัตร Smart Purse ซึ่งเป็นบัตรเงินสดดิจิตอล สำหรับปี 2549 บริษัทได้ดำเนินก่อตั้งบริษัท ปํญญธารา จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจการจัดการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาทางวิชาการ

นอกจากการขยายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่น ๆ โดยการจัดตั้งบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเพิ่มเติมแล้ว บริษัทยังมีการขยายช่องทางธุรกิจภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทเองอีก โดยในปี 2541 ได้เปิดตัวธุรกิจ 7 Catalog Order เพื่อเป็นการขยายช่องทางธุรกิจ เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น โดยพัฒนาจาก Mail Order จัดทำเป็นแผ่นพับไปสู่ “วารสารแคตตาล็อค” และในปี 2544 ได้เปิดตัวธุรกิจ Book Smile (เดิมชื่อ 7 Today) เพื่อเป็นช่องการขยายช่องทางธุรกิจด้านการจำหน่ายหนังสือและวารสาร


ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 283 อาคารสีบุญเรือง 1 ถนน สีลม เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2677-9000 โทรสาร 0-238-1767

ปรัชญาองค์กร (Philosophy)


“เรา ปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข”

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เรา คือผู้ให้บริการความสะดวกซื้อ กับลูกค้าทุกชุมชน”


พันธกิจ (Mission)
1. มุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งในการสรรหาและส่งมอบ สินค้า และบริการที่ลูกค้าสะดวกซื้อต้องการ
2. สรรหาทำเลร้านสาขาที่เข้าถึงลูกค้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
3. สร้างภาวะผู้นำทุกระดับและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่ดี
4. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับสังคมและชุมชน
5. สร้างองค์กรคุณภาพและมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
6. บริหารกิจการให้มีผลตอบแทนการลงทุนที่ดีและบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาล

ภาวะการตลาดและการแข่งขัน


ธุรกิจค้าปลีกในปี 2549 ชะลอตัวลงจากหลากหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบ กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทั้งราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมือง ภาวะน้ำท่วม ไข้หวัดนก รวมถึงความไม่สงบทางภาคใต้ที่ยังไม่คลี่คลาย เป็นผลให้คาดว่าทั้งปี 2549 มูลค่าค้าปลีกในระบบภาษีในภาพรวมจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาวการณ์แข่งขันสูง โดยเฉพาะในส่วนของค้าปลีกสมัยใหม่ในลักษณะ Chain Store ทั้งในรูปแบบการขยายสาขาและการนำกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้เพื่อดึงดูดผู้บริโภคซึ่งในปัจจุบันจะยิ่งมีการไตร่ตรองในการซื้อและคำนึงถึงความคุ้มค่ามากขึ้น

จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อรูปแบบพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยส่วนหนึ่งมีการลดความถี่ในการซื้อลงและอาจจะมีการซื้อครั้งเดียว ในปริมาณที่มากขึ้น รวมไปถึงการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกใกล้บ้านหรือที่ทำงานมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับมาตรการควบคุมผังเมือง ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เริ่มมีการปรับรูปแบบไปสู่ร้านค้าปลีกขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น ร้านสะดวกซื้อจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจเข้ามาลงทุนทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิม และผู้ค้าปลีกในตลาดอื่น ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่ประกอบการเองและขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนความสำเร็จของ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) พอสรุปได้ ดังนี้
1.วิสัยทัศน์และการตัดสินใจของผู้บริหาร
การที่บริษัทสามารถขยายกิจการร้านสาขา 7-Eleven ได้อย่างรวดเร็วและสามารถบริหารร้านสาขาให้อยู่รอด และเจริญเติบโต เป็นผลมาจากความกล้าในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง และการเลือกทำเลในการเปิดร้านสาขาที่เหมาะสม การตัดสินใจที่แม่นยำและทันเวลานี้ เกิดจากการสร้างสมประสบการณ์ ของผู้บริหาร ทำให้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีความสามารถในการมองโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
2.ทีมงานที่มีคุณภาพ
การมีทีมงานที่มีพลังและมีคุณภาพ ช่วยสานต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารให้เกิดเป็นรูปธรรมและนำองค์กรสู่ความสำเร็จ นั้นเป็นผลมาจากการสรรหาบุคคลที่มีคุณภาพ แลความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการให้ความสำคัญในการพัฒนาพนักงานในรูปแบบต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการนำไปสู่ความสำเร็จ
3. การยอมรับและความพึงพอใจของลูกค้า
ร้านสาขาทุกแห่งของ 7-Eleven เป็นที่นิยมของลูกค้า เนื่องจากมีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและมีความสะดวก เนื่องจากมีสาขากระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งชุมชน ตลอดจนความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญในการคัดเลือกและตรวจสอบสินค้าที่มีคุณภาพที่จะนำมาวางขายในร้านสาขา

ปัจจัยความเสี่ยง


1.ความเสี่ยงจากการถูกยกเลิกเครื่องหมายการค้า 7-Eleven

บริษัทดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยภายสัญญาให้ใช้สิทธิ์ที่บริษัททำกับ 7-Eleven, Inc. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 โดยสัญญาให้ใช้สิทธิ์เป็นสัญญาที่ไมมีกำหนดอายุ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ที่จะเลิกสัญญา หากเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือในกรณีที่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญาตามสัญญาให้ความยินยอมซึ่งจะมี ผลเป็นการเลิกสัญญาให้ใช้สิทธิ์ด้วย ซึ่งจากความสัมพันธ์อันดีตลอดระยะเวลา 17 ปี บริษัทยังไม่เคยมีกรณีพิพาทใด ๆ ที่สำคัญกับ 7-Eleven, Inc. รวมทั้งได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาดังกล่าวมาโดยตลอด ทำให้บริษัทเชื่อว่า บริษัท และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับ 7-Eleven, Inc. และในขณะนี้ไม่มีเหตุอันใดที่จะส่งผลกระทบในทางลบกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ กับ 7-Eleven, Inc. ในกรณีสัญญาการใช้สิทธิ์ถูกยกเลิก บริษัทจะสูญเสียสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมาก

2.ความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือข้อขัดข้องของศูนย์กระจายสินค้า

สินค้าส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในร้าน 7-Eleven จะถูกส่งผ่านมาจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท ดังนั้น การดำเนินการของศูนย์กระจายสินค้ามีความสำคัญต่อธุรกิจของ 7-Eleven อย่างมาก 2.ความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือข้อขัดข้องของศูนย์กระจายสินค้า ๆ ซึ่งย่อมมีผลเสียต่อความสามารถในการจัดส่งสินค้าไปยังร้าน 7-Eleven ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบกับผลประกอบการได้

3. ความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือขัดข้องของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการบริหารการหมุนเวียนของสินค้า การจัดซื้อ การจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการพัฒนาความสามารถในการดำเนินการ ดังนั้นความผิดพลาดหรือขัดข้องของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศย่อมส่งผลเสียต่อความสามารถของบริษัทในการบริหารร้าน 7-Eleven ให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบกับผลประกอบการของบริษัทได้

4.ความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ

เนื่องจากบริษัทมีการลงทุนใน Shanghai Lotus Supermarket Chain Store Co.,Ltd. (SLS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) อันอาจจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางการเมือง กฎหมาย หรือภาวะเศรษฐกิจของ PRC ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีผลกระทบให้รายได้จากธุรกิจเหล่านั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
นอกจากนี้ ตามที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ลงนามในข้อตกลงการค้ากับ World Trade Organization (WTO) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกาขยายตัวของธุรกิจต่าง ๆ ภายในประเทศ สำหรับธุรกิจค้าปลีกนั้น นับตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป รัฐบาล PRC ได้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์ได้เพิ่มขึ้น จากเดิมถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 48 เป็นผู้ถือหุ้นได้มากกว่าร้อยละ 50

5.ความเสี่ยงจากอิทธิพลการควบคุมของเครือเจริญโภคภัณฑ์

เครือเจริญโภคภัณฑ์มีอำนาจในการควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัท และในสัญญาให้ความยินยอม เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตกลงจะดำรงสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำ ตลอดจนอำนาจในการแต่งตั้งและอำนาจควบคุมจำนวนกรรมการข้างมากของบริษัท ดังนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงสามารถแต่งตั้งกรรมการบริษัทส่วนใหญ่ และสามารถมีอิทธิพลในการบริหารจัดการบริษัท รวมถึงพิจารณาหรือผลักดันเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นของบริษัท
ปัจจุบันนี้ไม่มีข้อจำกัดทางสัญญาใด ๆ ระหว่างบริษัทปละบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ห้ามบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ขยายธุรกิจหรือลงทุนในธุรกิจค้าปลีกอื่น ๆ จึงอาจมีความเสี่ยงว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์จะไม่พิจารณาจัดสรรโอกาสและทรัพยากรไปในทางที่เป็นประโยชน์สูงสุด กับบริษัท และผู้ถือหุ้น

เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ

บริษัทมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเน้นจุดเด่นของการนำเสนอ “ความสะดวก” ให้กับลูกค้าสำหรับการซื้อสินค้าและใช้บริการต่าง ๆ ด้วยทำเลร้าน 7-Eleven ที่กระจายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางและส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะเปิดร้าน 7-Eleven ในปี 2550-2551 ปีละประมาณ 400-450 สาขาโดยบริษัทยังวางตำแหน่งร้าน 7-Eleven ให้เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มที่ครบวงจร โดยเน้นการขายสินค้าบริโภคมากกว่าสินค้าอุปโภค เนื่องจากสินค้าบริโภคโดยทั่วไปมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าสินค้าประเภทอุปโภค และเป็นการวางตำแหน่งร้าน 7-Eleven ให้แตกต่างจากร้านค้าปลีกประเภท ในขณะเดียวกันบริษัทจะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายร้าน 7-Eleven ในการให้บริการเสริมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ลูกค้า อาทิเช่น การเป็นตัวแทนชำระค่าสินค้าและบริการของ เคาน์เตอร์เซอร์วิส การสสั่งซื้อสินค้าทาง 7-Cattalog เป็นต้น
วิเคราะห์สถานะภาพของ บ. เซเว่นอีเลฟเว่น

เซเว่นอีเลฟเว่น เป็นร้านสะดวกซื้อที่มุ่งมั่นที่จะแสวงหาสินค้าและบริการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมุ่งเน้นที่จะให้ลูกค้ามาถึงร้าน แล้วสามารถได้ครบทุกอย่างไม่ว่าจะซื้อสินค้า หรือ โอนเงิน หรือชำระค่าสาธารณูปโภค ซึ่งย่อมจะได้เปรียบในเชิงการแข่งขันสูง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ด้วย The 5 Force’ s Model พบว่า

1.การแข่งขันในอุตสาหกรรม ( Existing & Competitor)

ปัจจุบันธุรกิจโดยทั่วไปของร้านสะดวกซื้อมีการแข่งขันกันสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกขนาดเดียวกัน เช่น โลตัส เอ็กซ์เพรส หรือ Jiffy Shop หรือ ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Big C, Tesco Lotus หรือ คาร์ฟูร์ ต่างแข่งขันช่วงชิงลูกค้าด้วยกลวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดรายการโปรโมชั่นต่าง ๆ เช่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือ ซื้อ 2 ชิ้นประหยัดกว่า หรือจัดรายการลดแลก แจกแถม ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ หากไม่มีกลยุทธ์ในการต่อสู้แย่งชิงลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการจัดรายการ หรือ สร้างบริการให้ลูกค้าประทับใจ หรือ ขายสินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย แตกต่างจากร้านค้าปลีกทั่วไป ซึ่งล้วนสามารถจูงใจให้ลูกค้าเลือกใช้บริการได้

2.คู่แข่งรายใหม่ ( New Entrants)

สำหรับคู่แข่งรายใหม่ของ 7-Eleven ขณะนี้มีเพิ่มจำนวนมาก สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย ไว้ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็ก เช่น 108 shop , โลตัส เอ็กซ์เพรส หรือ Jiffy ฯลฯ และยังมีร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่น Big C , Tesco Lotus ซึ่งแม้ว่าร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ จะเข้ามากระจายเปิดกิจการตามเขตชุมชนใหญ่ ๆ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะเป็น เคาท์เตอร์รับชำระค่าบริการต่าง ๆ มีโรงภาพยนตร์ คาราโอเกะ และมีธนาคารสาขาย่อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นร้านค้าปลีกที่เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดไปได้มากพอสมควร ซึ่งทาง 7–Eleven อาจจะได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นในแง่ที่ว่า เปิดบริการ 24 ชั่วโมง และมีสาขาที่เป็นทั้งร้านสาขาบริษัท ร้านค้าเฟรนไชส์ และผู้ประกอบการรับสิทธิช่วงในอาณาเขต ซึ่งเป็นร้านที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ในชุมชนทั่วประเทศ

3. อำนาจต่อรองของตัวแทนจำหน่าย ( Supplier Power)

ในแง่ Supplier นั้นไม่มีผลกระทบต่อ 7–Eleven เลย เนื่องจากว่า 7-Eleven เป็นบริษัทที่มีสาขาจำนวนมาก กว่า 3,700 สาขา และมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งทำให้มีอำนาจต่อรองกับ Supplier สูงมาก เพราะย่อมจะมี Supplier จำนวนมากรายที่อยากจะติดต่อขายสินค้าให้กับ 7–Eleven เพราะเมื่อสมารถขายสินค้าให้ กับ 7–Eleven ได้ ก็เท่ากับว่าสามารถกระจายสินค้าของตนไปได้ทั่วประเทศง่ายขึ้น อีกทั้งยังมี Supplier จำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าไปในเสนอขายสิค้าได้ใน ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ จึงทำให้ 7-Eleven มีอำนาจการต่อรองในเรื่องราคา และสามารถกำหนดกติกากับ Supplier ได้เช่น หากทาง Supplier ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ เพื่อชดเชยความเสียหายของ 7–Eleven ที่ไม่มีสินค้าไว้สำหรับให้บริการกับลูกค้าได้ อีกทั้งหากสินค้าที่นำมาขายในร้านสาขาใดไม่มีคุณภาพ ทาง 7-Eleven ก็จะคัดสินค้าออก ไม่ให้ขายในร้านสาขา

4.อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Buyer Power)

ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองกับ 7–Eleven น้อย ถึงแม้ว่าจะมีร้านค้าปลีกเกิดขึ้นมากมาย และมีกรจัดรายการที่น่าสนใจไว้ แต่ 7-Eleven ก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้า เพราะ 7–Eleven มีสาขากระจายอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่อยู่ใกล้บ้านมากกว่าร้านค้าปลีกอื่น ๆ จึงสามารถสนองตอบความต้องการได้ง่าย ประกอบกับในภาวะที่ค่าน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันนี้จึงทำให้ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ ไม่ว่าจะซื้อจากร้านค้าใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน ซึ่งการกระจายสาขาของ 7-Eleven นี้สามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ของลูกค้าได้มาก อีกทั้งการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีพร้อม สะอาด สะดวก การเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ล้วนเป็นสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้

5.สิ่งทดแทน (Substitutes)

มีร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั้งที่เป็นร้านค้าปลีกตั้งเดิม และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางตรง ที่สามารถมาทดแทน สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้ เหมือน ๆ กัน ซึ่งในปัจจุบัน พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าได้เปลี่ยนไปตามสภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคลดความถี่ในการซื้อลง และมีการซื้อครั้งเดียวในปริมาณที่มากขึ้น รวมไปถึงการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกที่ใกล้บ้านหรือใกล้ที่ทำงาน มากขึ้น หรือตามร้านค้าปลีกที่สามารพตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการได้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการจับจ่าย และเป็นการประหยัดเวลาในการจับจ่ายด้วย จึงทำให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ แข่งขันหาจุดบริการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเลือกมาใช้บริการและจับจ่ายที่ร้านของตน
Scenario Analysis

การวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis) เป็นกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์ในภาพรวมซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ทิศทางที่จะดำเนินต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งสามารถวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวม และปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อองค์กรคือ

1.การเมือง

ในสภาวะการเมืองที่ไม่ชัดเจน แม้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการเลือกตั้งที่แน่นอน จะมีรัฐบาลใหม่ แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนเท่าใดนัก ต่างหยุดรอดูสถานการณ์หลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ เพื่อดูทิศทางที่แน่นอน จึงค่อยตัดสินใจลงทุน
อีกทั้งร่างกฎหมายค้าปลีกยังไม่ผ่านร่าง จึงทำให้ค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่อาศัยช่องว่างที่กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ขยายสาขาไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก่อนที่จะถูกควบคุม ซึ่งเหล่าร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านสะดวกซื้อต่างหวังว่ารัฐบาลใหม่ จะได้ข้อสรุปกฎหมายค้าปลีกให้มีผลบังคับใช้กับร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่

2.เศรษฐกิจ

ในสภาวะทีเศรษฐกิจทั่วประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว การลงทุนด้านต่าง ๆ ต่างเลื่อนการลงทุนออกไปก่อน อีกทั้งปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้กระทบต่อต้นทุนสินค้าจำนวนมาก ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยภาวะสองปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย มีการคิดถึงเรื่องความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปมากขึ้น และใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น และเน้นการซื้อของทีละมาก ๆ ไม่ออกไปซื้อบ่อย ๆ ซื้อจากร้านที่สามารถสนองความต้องการได้ครบถ้วน หรือ ไปที่เดียวได้ครบทุกอย่างที่ต้องการ

3.สังคมและวัฒนธรรม

ในสังคมปัจจุบันนี้ ในการประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตามล้วนต้องมีการกระทำใด ๆ เพื่อตอบแทนกลับสู่สังคมและชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับรู้ว่าธุรกิจนั้นไม่ได้หวังแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ซึ่งทาง 7-Eleven เองก็มีโครงการหลาย ๆ โครงการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อประโยชน์แก่สังคม ดังเช่น
1. ด้านภาษาไทย การอ่าน และการเขียน เช่น
- โครงการโรงเรียนรักการอ่านยอดเยี่ยม
- โครงการประกวดหนังสือดีเด่น รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด
- “กล้าวรรณกรรม” และ “นักเขียนการ์ตูนรุ่นเยาว์
2. ด้านพัฒนาทักษะทางปัญญา
- การเผยแพร่ “หมากล้อม” (เกมโกะ)
3. ด้านการศึกษาผ่านประสบการณ์ตรง
4. ด้านคุณธรรมจริยธรรม
- โครงการพัฒนาครูผู้สอนพระพุทธศาสนา วิถีพุทธกัลยาณมิตร
- โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ
5. การบริการสาธารณประโยชน์
- โครงการบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อมอบแก่ผู้ประสบภัย “สึนามิ” และผู้ประสบภัย “น้ำท่วม”
- โครงการขาดหลอดประหยัดไฟ
- โครงการบริการน้ำดื่มแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ

4. เทคโนโลยี

ปัจจุบันนี้เป็นโลกของข่าวสาร และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถหลบเลี่ยงไปได้ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีนั้นมีคุณอนันต์และโทษมหันต์ ขึ้นอยู่กับการรู้จักนำมาใช้ให้เป็น ซึ่ง ในบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น นั้นได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือใช้เพื่อตรวจสอบควบคุมคุณภาพของสินค้า ปริมาณสินค้าคงคลัง คิดค้นและพัฒนาคุณภาพสินค้า ซึ่งบริษัทนั้นมีเป้าหมายในการมุ่งไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และจุดเรียนรู้ในการทำงาน

การวิเคราะห์แนวโน้ม

แนวโน้มที่แน่นอน (Certainty Trends)
C1 ในปีนี้มีการเลือกตั้งที่แน่นอนและมีโอกาสที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่แน่นอน
C2 ลูกค้าเริ่มสนใจใส่ในเรื่องความคุ้มค่าของสินค้ากับปริมาณเงินที่จ่ายออกไป ในภาวะที่เศรศฐกิจของประเทศชะลอตัว
C3 คู่แข่งขัน เริ่มมีการทำตลาดและการจัดรายการที่ดึงดูดลูกค้า
C4 การแข่งขันเรื่องสินค้าและบริการเน้นที่คุณภาพของสินค้าและบริการเป็นสำคัญ

แนวโน้มที่ไม่แน่นอน (Uncertainty Trends)
U1 ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อต้นทุนของสินค้าในด้านการขนส่ง
U2 เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
U3 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
U4 ความไม่แน่นอนของกฎหมายค้าปลีกว่าจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด ซึ่งส่งผลให้ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ต่างเร่งขยายสาขาใหญ่บ้างเล็กบ้าง
U5 การแข็งค่าของค่าเงินบาท ส่งผลกระทบต่อรายได้ของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ได้ลงทุนในต่างประเทศ

SWOT Analysis การวิเคราะห์ภายในองค์กร

ในการวิเคราะห์ SWOT ของ 7-Eleven ในครั้งนี้ดัวย 5’Ms โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ

1. Man (คน)

จุดแข็ง (Strengths)

บริษัทประกอบด้วยพนักงานและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจาก 7-Eleven ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการขยายสาขา และรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ 7-Eleven ประสบความสำเร็จได้ สามารถมีสาขาร้านค้ามากมาย

จุดอ่อน (Weakness)

การที่พนักงานและบุคลากร ของ 7-Eleven มีความรู้ความสามารถ อาจเป็นช่องทางให้บริษัทคู่แข่งธุรกิจเดียวกันเข้ามาซื้อตัวพนักงาน โดยอาจเสนออัตราเงินเดือน และผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อดึงดูดพนักงานของ 7-Eleven ได้ เพราะปัจจุบันนี้การแข่งขันที่สูง หากมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาองค์กร จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว

โอกาส (Opportunity)

ผู้บริหารของบริษัทให้ความสำคัญต่อการสรรหาพนักงานมากพอ ๆ กับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกคนดีมากกว่าคนเก่ง ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ยังไม่มีความรู้ ความสามารถในระดับที่เรียกว่า “คนเก่ง” ก็สามารถพัฒนาภายหลังได้ แต่การสร้างคนให้เป็นคนดีต้องใช้เวลานาน วิธีการสรรหาของบริษัท ใช้วิธีการหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นการประกาศรับสมัครทางสื่อต่าง ๆ การคัดเลือกนักศึกษาที่จบใหม่จากมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมงานนัดพบแรงงาน และการรับสมัครใน Internet เป็นต้น ซึ่งทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีโอกาสที่จะคัดเลือกพนักงานได้มาก

อุปสรรค (Threat)

เนื่องจาก 7-Eleven มีคณะกรรมการที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เรื่องนโยบายต่าง ๆ หลายท่าน ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้มาจากการแต่งตั้งโดยใช้เสียงข้างมาก จากการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถถอดถอนได้โดยใช้มติที่ประชุม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนคณะกรรมการบ่อย จะทำให้การตัดสินใจล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ได้

2. Money (เงิน)

จุดแข็ง (Strengths)

ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 104,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 คิดเป็น ร้อยละ 6 ซึ่งเป็นรายได้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ สัดส่วนร้อยละ 64 รายได้จากธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในประเทศจีน สัดส่วนร้อยละ 30 และรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ ในประเทศ สัดส่วนร้อยละ 6
กลุ่มธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อมียอดขายสุทธิรวม 65,055 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 14,975 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 29 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายสุทธิมีสาเหตุมาจากการขยายสาขา และยอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเพิ่มขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 7-eleven มีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุนและมีศักยภาพในการขยายสาขา และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เป็นอย่างมาก

จุดอ่อน (Weakness)

บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ ซึ่งนโยบายนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการขยายสาขาเพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนทำให้กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการชายและบริหารที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้อาจทำให้การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้นได้

โอกาส (Opportunity)

7-Eleven เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หากมีความจำเป็นในการระดมทุนเพิ่ม ก็มีความสามารถในการระดมทุนได้ง่าย อีกทั้งการขยายเพิ่มของแฟรนไชส์ จะช่วยให้บริษัทไม่ต้องลงทุนในการเพิ่มสาขามากนัก แต่สามารถมีสาขาเพิ่มขึ้นได้

อุปสรรค (Threat)

ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าเช่าร้านสูงขึ้นมาก อีกทั้งแหล่งทำเลที่ตั้งร้านตามชุมชนต่าง ๆ มีราคาแพง ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของร้านโดยรวมสูงขึ้น และจะส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทลดน้อยลง

3. Materials (วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ)

จุดแข็ง (Strengths)

บริษัทมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก มีกระบวนการคัดสรรและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งบริษัทได้จัดกระบวนการพัฒนาสินค้า ร่วมกับผู้ผลิต โดยมีการตรวจสอบสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การจัดส่ง การเก็บรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ

จุดอ่อน (Weakness)

เนื่องจากบริษัท 7-Eleven มีสาขากระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ การติดต่อสื่อสารมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสำคัญ หากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหา ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารงาน

โอกาส (Opportunity)

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสินค้า การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และพัฒนาสินที่ที่มีคุณภาพ อีกทั้งมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า และตรงความต้องการของลูกค้า อีกทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการผลิต ควบคุม และการวางแผน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภค

อุปสรรค (Threat)

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการวางแผนด้านต่าง ๆ ต้องกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และสภาวะ การณ์ที่เปลี่ยนไป

4. Management (การจัดการ)

จุดแข็ง (Strengths)

โครงสร้างการจัดการของบริษัทประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้บริหาร มีการแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน ซึ่งคณะกรรมการบริษัทประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานจากหลากหลายสาขาที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดี และมีวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทคือการทำงานเป็นทีม โดยมีค่านิยม 7 Values เป็นค่านิยมพื้นฐานสำหรับพนักงานทุกคนในองค์กร และ 11 Leadership เป็นค่านิยมสำหรับผู้บริหารทุกคนยึดถือและนำไปปฏิบัติในการดูแลเอา ใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรม

จุดอ่อน (Weakness)

การที่บริษัทมีคณะกรรมการบริษัท มากถึง 13 คน อาจส่งผลให้การตัดสินใจในบางเรื่องล่าช้ากว่าที่ควร อำนาจการตัดสินใจมีน้อย ต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของผู้ถือหุ้น ซึ่งในการดำเนินงานปัจจุบันต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

โอกาส (Opportunity)

ตามโครงสร้างของคณะกรรมการ ล้วนเป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงานที่หลากหลาย และเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ย่อมสามารถนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันรายใหญ่ ๆ ได้

อุปสรรค (Threat)

ในภาวะตลาดปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศ หรือในตลาดต่างประเทศ ล้วนเป็นแรงผลักดันให้บริษัทต้องแสดงความสามารถในการบริหารจัดการ สร้างความแข่งแกร่ง และมีความพร้อมสำหรับการฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ได้

5.Marketing (การตลาด)

จุดแข็ง (Strengths)


บริษัทมีทำเลที่ตั้งที่ค่อนข้างได้เปรียบเนื่องจากได้เลือกทำเลที่ตั้งในแหล่งชุมชนมีผู้คนสัญจรผ่านไปมาตลอด จึงสามารถเข้าถึงผู้บริโภค ได้ง่าย อีกทั้ง มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าไว้อย่างชัดเจน และมีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีการสรรหาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายแตกต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอ โดยมีเป้าหมายหลักคือการตอบสนองตรงต่อความต้องการของลูกค้า

จุดอ่อน (Weakness)


ปัจจุบันร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่มีการแข่งขันทางการตลาดสูงมาก ต่างนำกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้เช่น การขายสินค้าราคาพิเศษ การมีของสมนาคุณพิเศษ การแจกคูปองเงินสดเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ซึ่งการแข่งขันเช่นนี้สามารถดึงดูดผู้ซื้อได้มาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ผู้ซื้อมักมองถึงความคุ้มค่า ประหยัด ซึ่งทางบริษัทเองต้องหาวิธีการจัดรายการโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดใจผู้ แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่มีผลกระทบต่อบริษัทในระยะยาว

โอกาส (Opportunity)


7-Eleven มีโอกาสที่เข้าถึงชุมชนได้มากกว่าร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ เนื่องจากการมีสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย อีกทั้งเป็นร้านสะดวกซื้อที่อยู่ในชุมชน และไม่ถูกต่อต้านจากชุมชนเนื่องจากว่าเป็นร้านค้าของคนไทยไม่ใช่ต่างชาติ ซึ่งจากข้อได้เปรียบนี้ทำให้ 7-Eleven สามารถขยายสาขาครอบคลุมได้มากขึ้น

อุปสรรค (Threat)


ในปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าค่อนข้างสูง การที่ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ได้ขยายสาขาไปตามเมืองใหญ่ และพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการขยายสาขาที่มีขนาดเล็กลง และเริ่มเข้าไปในชุมชน ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งทางการค้าของ 7-Eleven ได้

ข้อเสนอแนะ

1. การที่ทาง 7-Eleven มีการฝึกบุคลากร โดยเปิกการเรียนการสอนและเปิดให้มีการปฏิบัติงานจริง ทำให้บุคคลากรที่สำเร็จออกมามีความสามารถ และเป็นที่ต้องการของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เพราะการที่ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ย่อมช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ซึ่งทาง 7-Eleven ควรมีมาตรการรองรับปัญหาเรื่องสมองไหล เพื่อป้องกันการซื้อตัวบุคลากรจากบริษัทคู่แข่ง
2. 7-Eleven ต้องเร่งสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อไม่ต้องเหนื่อยในการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งนโยบายที่ทาง 7-Eleven เน้นด้านสินค้าบริโภค นั้นหากสามารถ มีอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เชื่อว่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกค้าได้เป็นอย่างดี
3. ควรเน้นพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
4. ควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของร้านสาขา เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว มีคนว่างงานจำนวนมาก และยาบ้าเริ่มระบาดมากขึ้น ในขณะที่ร้านเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง หากบริษัทมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดีแล้ว จะทำให้ลูกค้ากล้าที่จะมาใช้บริการในยามดึกดื่นเพิ่มขึ้น


การจัดทำกรณีศึกษาของ นศ. MBA ม.ธนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "งานวิเคราะห์ธุรกิจ "
เอกสารนี้เป็นเอกสารที่ใช้ในการประกอบการเรียน ซึงความเห็นหรือแนวทางในการวิเคราะห์เป็นแค่เพียงหลักการและการแสดงความคิดเห็นเพื่อใช้ในการประกอบการเรียนเท่านั้น
ที่มา :http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dnt&month=24-08-2008&group=40&gblog=38

9 เทรนด์การตลาดดิจิทัลปี 2020 ที่นักการตลาดต้องปรับ

-ตลาดในยุคถัดจากนี้คือยุค Data Marketing ที่จะเข้ามาแทนที่ Digital Marketing ซึ่งคาดว่าจะเข้ามามีผลต่อการวางแผนการตลาดในปีหน้า
  • -แนวคิด Experience First จะกลับมาเป็นเทรนด์หลัก ในการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าในทุกๆ Touch Point ของสินค้าและบริการ 
  • -Group & Sub-culture จะมีบทบาทมากขึ้น จากการประกาศอย่างชัดเจนของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ที่จะสนับสนุนฟังก์ชัน Facebook Groups โดยพบว่าผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กันในกรุ๊ปมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 
  • -และการสื่อสารแบบ One to One จะกลายมาเป็นหัวใจสำคัญในการทำการสื่อสารกับลูกค้าในอนาคต
  • -Creative Data หรือการนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาสร้างความต่างให้ Data Marketing จะเป็นกลยุทธ์หลักที่ช่วยให้เราสามารถนำ Data มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นประจำทุกปี ที่ผมจะรวบรวมเอาแนวโน้มการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆ ในยุคดิจิทัล และผลกระทบที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทั้งที่มาจากเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์ม การสร้างแบรนด์และทำการตลาด ประเด็นร้อนๆ ในสังคมโลก ที่ทำให้เราต้องกลับมาพิจารณาแผนการตลาดในปีหน้าว่า จะอาศัยโอกาสและแนวโน้มของการตลาดในยุคดิจิทัลปี 2020 อย่างไร 

ในปี 2019 ผมได้วิเคราะห์ไว้ใน THE STANDARD ปลายปี 2018 เรื่องเทรนด์การตลาด ซึ่งแต่ละเทรนด์ที่เขียนไปมีหลายอย่างที่เกิดขึ้นจริงตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำการตลาดโดยใช้ข้อมูลมากขึ้น มีการทำการตลาดกับ Influencers ในรูปแบบใหม่ๆ การกำเนิดขึ้นของแพลตฟอร์มอย่าง TikTok ความร้อนแรงของ Twitter การทำการตลาดที่เน้นความสมดุลระหว่าง Offline กับ Online มากขึ้น การใช้หลักของ Print Ads มาทำโพสต์ใน Facebook จนเกิดกระแสไวรัล เป็นการปรับตัวแนวคิดสื่อเก่าเข้าสื่อใหม่ได้อย่างลงตัว โฆษณาสุดน่ารำคาญอย่าง Rise of Kingdom ที่ทำให้ Ad Blocker น่าจะเติบโตขึ้นไปอีก รวมไปถึงการเปิดตัวของหลายๆ แพลตฟอร์ม รวมถึง Ecosystem ของแต่ละแบรนด์ใหญ่ที่แน่นอนว่าการตลาดในยุคถัดจากนี้คือยุค Data Marketing แทนที่ Digital Marketing และนี่คือ 9 Trends ของ Digital Marketing ที่คาดว่าจะเข้ามามีผลต่อการวางแผนการตลาดต่อไปในปีหน้า

1. Experience First เมื่อแนวคิดประสบการณ์ของผู้บริโภค มาก่อนการแบ่ง Online-Offline อย่างเต็มตัว

Digital Marketing Trends 2020

การพัฒนาแนวคิดในการวางแผนการตลาดเพื่อเอาชนะใจผู้บริโภค และเพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกเรียนรู้โดยนักการตลาดมาตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัย Mobile Marketing, Online Marketing, Search Marketing, Social Media Marketing ฯลฯ 

มาถึงปี 2019 เราเริ่มเห็นได้ชัดว่า ปัจจุบันแบรนด์หลายๆ แบรนด์เริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับสื่อ Offline และ Online เท่าๆ กัน จนกระทั่งเกิดแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการวางแผนการตลาด นั่นคือ ‘Experience First’ หรือการวางแผนประสบการณ์ลูกค้าในทุกๆ Touch Point ของสินค้าและบริการ 

แนวคิดนี้ต่อยอดมาจากแนวคิดการวางแผน Ux หรือ User Experience ที่ปกติใช้กับการออกแบบเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือบริการออนไลน์ต่างๆ ที่กลับเข้ามาสู่การส่งมอบประสบการณ์ในทุกๆ ช่องทางที่แบรนด์และผู้บริโภคจะติดต่อซึ่งกันและกัน 

Digital Marketing Trends 2020

ซึ่งแนวคิดนี้จะคล้ายกับแนวคิด Omni-Channel หรือการทำให้ประสบการณ์ในช่องทางต่างๆ เชื่อมต่อกัน แต่การทำ Experience First จะต่างกันตรงที่การมุ่งเน้นไปยังพฤติกรรมและทัศนคติ รวมไปถึงความรู้สึกก่อน ระหว่าง และหลัง การซื้อหรือใช้บริการ มากกว่าจะมองไปที่ช่องทางที่เรามีมาก่อน แล้วจึงคิดหาต่อไปว่าเรายังขาดเหลืออะไร และจะเสริมประสบการณ์เพิ่มเติมให้มากกว่าช่องทางที่เรามีอยู่ได้อย่างไร

แนวคิด Experience First จะกลับมาเป็นเทรนด์หลัก โดยมีหลายๆ แบรนด์เริ่มวางแผนครอบคลุมประสบการณ์เหล่านี้มากขึ้น เช่น แบรนด์โรงภาพยนตร์ ที่วางแผนประสบการณ์ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนดูภาพยนตร์ที่เริ่มตั้งแต่การเดินทางมาชมภาพยนตร์ การจองตั๋วชมภาพยนตร์ผ่านทางแอปพลิเคชัน ระหว่างการรอชมภาพยนตร์ การใช้บัตรสะสมแต้ม การซื้อเครื่องดื่ม ระหว่างชมภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่งออกแบบประสบการณ์หลังจากชมภาพยนตร์โดยเปิดชุมชนคนรักหนังภายใต้ช่องทางของตัวเอง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากการชมภาพยนตร์ 

โดยทั้งหมดไม่ได้เริ่มต้นจากช่องทางการรับรู้ก่อน แต่เป็นประสบการณ์ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับการบริการทั้งหมด ซึ่งแนวคิดนี้จะเริ่มแผ่ขยายไปมากขึ้นในปีหน้า

2. Group & Sub-culture Marketing การทำการตลาดกับกลุ่มตลาด ‘วัฒนธรรมย่อย’ จะจริงจังขึ้นในปีหน้า
เราได้ยินคำว่า Sub-culture หรือวัฒนธรรมย่อย ซึ่งแปลความหมายได้ถึง กลุ่มคนหรือชุมชนที่มีความชอบ กฎระเบียบ วิถีปฏิบัติ และคุณค่าบางอย่างที่แชร์ร่วมกันอยู่

อันที่จริงการทำการตลาดโดยใช้ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ไม่เวิร์กอีกต่อไป เพราะเทคโนโลยีที่เชื่อมมนุษย์เข้าด้วยกันต่างยึด ‘ความสนใจและความชอบ’ เป็นหัวใจ

ลองนึกภาพผู้ชาย Generation X ไปกระโดดเย้วๆ อยู่ที่งานคอนเสิร์ต EDM หรือ เด็กอายุ 14 ปี เริ่มสนใจการเทรดหุ้น ซึ่งถ้าเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว Sub-culture เหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปแบบของเว็บบอร์ด พันทิป หรือเพจ Facebook ที่รวมคนเข้าด้วยกันตามความชอบ 

Digital Marketing Trends 2020

แต่หลังจากที่ Facebook ปรับเปลี่ยน UX/UI ของแพลตฟอร์มไปให้การพูดคุย คอมเมนต์ของผู้บริโภค ไม่สามารถโต้ตอบกันใน Wall ของเพจได้ ทำให้หน้าที่ของเพจ กลายเป็นการพูดคุยระหว่างตัวเพจเองกับลูกเพจผ่านทาง Comment Box มากกว่า จึงทำให้วัฒนธรรมย่อยถูกสร้างขึ้นมาในอีกมุมหนึ่งที่เรียกว่า Facebook Groups ซึ่งมีกรุ๊ปที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย ที่อาศัยกันเป็นชุมชนออนไลน์ โดยแบ่งเป็นทั้งความชอบ ความสนใจ อาชีพ ตำแหน่ง ที่อยู่ ความเชื่อ หรือกลุ่มแฟนๆ ของสินค้า บริการ ดารา นักร้อง เช่น กลุ่มซื้อขายเครื่องสำอาง กลุ่มคนรักก๋วยเตี๋ยว กลุ่มแม่ค้าจตุจักร กลุ่มแม่ค้าขายของออนไลน์ กลุ่มคนรักหมาขอนแก่น ฯลฯ

แต่สิ่งที่เป็นตัวทำให้ปีหน้า Group & Sub-culture จะมีบทบาทมากขึ้น คือการประกาศอย่างชัดเจนของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ว่าในปีหน้าจะสนับสนุนฟังก์ชัน Facebook Group มากขึ้น โดยจากสถิติของ Facebook ที่พบว่าผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กันในกรุ๊ปมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงตั้งใจที่จะผลักดัน Facebook Groups ให้ปรากฏบนหน้าฟีดก่อนโพสต์ของเพจและเพื่อน 

ในปัจจุบันเราเห็นได้ชัดว่า Facebook Groups มีผู้ใช้อยู่ในกรุ๊ปต่างๆ มากขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงความสนใจ การซื้อขาย การแลกเปลี่ยนความเห็นมากขึ้น ทำให้เจ้าของสินค้าและบริการต่างๆ ต่างจับจ้อง และเตรียมทำการตลาดเฉพาะกลุ่มเหล่านี้เพิ่มขึ้น โดยมีทั้งการเข้าไปปฏิสัมพันธ์เพื่อเก็บข้อมูล การสร้างกลุ่มความสนใจและให้ข้อมูลแก่สมาชิกกลุ่ม รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าผ่านในกลุ่มเฉพาะจะเป็นเทรนด์ที่นักการตลาดจะสนใจมากขึ้น

3. One to One Communication-Age of Personalization การสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ผ่านคอนเทนต์ ‘เฉพาะบุคคล’
เมื่อเราเข้าสู่ยุคข้อมูลมหาศาลหลั่งไหลเข้ามา ทุกคนเก็บ Data และเริ่มนำ Data มาใช้งาน การที่มนุษย์เรามีเพียง 24 ชั่วโมงในการใช้ชีวิตในแต่ละวันเท่าเดิม แต่ข้อมูลที่ต้องรับมากขึ้น เราเข้าสู่ยุคเข้าถึงคนยากขึ้น ความต้องการแตกย่อยมากขึ้น ใครที่พูดได้ถูกคนที่สุด พูดได้เข้าใจความต้องการที่สุด ในเวลาที่เหมาะสมที่สุด 

การสื่อสารแบบเฉพาะบุคคลจึงเข้ามามีบทบาทมากสำหรับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งองค์ประกอบที่ทำให้เทรนด์นี้เกิดขึ้น คือมีช่องทางการสื่อสารแบบ “เฉพาะบุคคล” ที่มากขึ้น และคนใช้งานกันหลากหลายขึ้น อย่าง LINE และ Facebook Messenger ที่ปฏิวัติรูปแบบของแพลตฟอร์มให้เน้น Data และการสื่อสารแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น หรือบรรดาองค์กรที่ทำธุรกิจสื่อสารอย่าง AIS, True, dtac ที่สามารถเข้าถึงคนทุกคนโดยใช้ Personalized SMS ที่ไม่ใช่การยิงข้อความมั่วๆ อีกแล้ว

ในสมัยก่อนยุคดิจิทัล เราเรียกการสื่อสารแบบนี้ว่า Direct Marketing หรือการสื่อสารทางตรงที่คุยกับผู้บริโภคในระดับบุคคล สื่อสารแบบตัวต่อตัว (ให้นึกถึงภาพเซลแมนเคาะประตูบ้าน) แต่วันนี้เรามีเทคโนโลยีมาทำแบบนั้นแทนเราแล้ว ซึ่งการสื่อสารแบบนี้จะแตกต่างจากการสื่อสารแบบเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมย่อย ตรงที่การสื่อสารเฉพาะบุคคลจะเป็นแนวโน้มการตลาดของสินค้าและบริการที่มีองค์ประกอบสำคัญสามอย่าง คือ ข้อมูล คอนเทนต์จำนวนมาก และระบบ Automation ดังนั้นหากสินค้าและบริการใดที่มีสามข้อนี้ การทำการสื่อสารแบบ One to One จะกลายมาเป็นหัวใจสำคัญในการทำการสื่อสารกับลูกค้าในอนาคตอย่างแน่นอน

4. Collaboration to unlock potential: การร่วมมือกันระหว่างแบรนด์เพื่อปลดล็อกศักยภาพ เมื่อโลกไปไวเกินกว่าจะทำคนเดียวแล้ว
ในรอบปีที่ผ่านมาเราเห็นการจับมือกันระหว่างแบรนด์หลายแบรนด์มากขึ้น อันที่จริงแล้วนี่จะเป็นเทรนด์การตลาดที่เกิดขึ้นในยุคถัดไป เพราะว่าปัจจุบันโลกไปไวขึ้น การที่เราพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ของเราด้วยตัวเองอาจช้าเกินไป การสื่อสารและสร้างแบรนด์เพื่อดึงความสนใจของลูกค้าหลากหลายมีมากขึ้น เราเข้าถึงคนได้ยากขึ้น และสร้าง Big Impact ในการสื่อสารได้น้อยกว่าเดิม

Digital Marketing Trends 2020
Digital Marketing Trends 2020

การทำ Collaboration จึงเข้ามาเป็นแนวโน้มที่จะมีขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งการทำ Collaboration มีจุดประสงค์และวิธีการทำ 4 รูปแบบด้วยกันคือ 

1. ร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนกลุ่มลูกค้ากัน เช่น แบรนด์อยากขยายกลุ่มลูกค้าให้เด็กลงก็จับมือกับแบรนด์ที่เด็กๆ ชอบ 

2. ร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและข้อมูล (Intelligence) ซึ่งกันและกัน เช่น การจับมือระหว่างแบรนด์กับสตาร์ทอัพ เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานร่วมกับแบรนด์ได้ทันที หรือจับมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อต่างคนต่างนำไปใช้ได้เลย 

3. ร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสินค้า และสร้างอิมแพ็กในเชิง PR เช่นการจับมือระหว่างแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ IKEA กับแฟชั่นไอคอน เวอร์จิล อาเบลาะห์ เพื่อทำให้แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ธรรมดา ดูมีความทันสมัยและมีความขบถ 

และ 4. จับมือเพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่าง เช่น การจับมือกันของแบรนด์กับ Greenpeace เพื่อชูเรื่องของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

5. Cause Driven Brand Building: สร้างแบรนด์ปีหน้าต้องหาจุดยืน และจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้โลกของเราดีขึ้น

Digital Marketing Trends 2020

เหตุการณ์สำคัญหลายๆ เหตุการณ์ที่ถูกทำให้อยู่ในกระแสเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากมาย ปลุกการเรียกร้องจากผู้บริโภคมากขึ้นให้แบรนด์หันมาสนใจโลกที่เราอยู่มากขึ้น และผลักดันประเด็นสังคมต่างๆ ให้เจ้าของธุรกิจและแบรนด์ซึ่งผู้บริโภคมองว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลทั้งกำลังเงิน และกำลังการเข้าถึง ให้เป็นตัวแทนในการทำอะไรสักอย่างมากขึ้น เราจะเห็นได้จากดราม่าในโซเชียลเมื่อเราเห็นแบรนด์ใช้ถุงพลาสติกมากเกินจำเป็นจนถูกกระแสสังคมต่อต้านกลับไป

Digital Marketing Trends 2020

และไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ประเด็นทางสังคมไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำ การเหยียดชาติพันธุ์ LGBTQ Cyber Bullying การให้โอกาสแก่ผู้พิการอย่างเท่าเทียม ข่าวปลอม กลายเป็นประเด็นที่ผู้บริโภคคาดหวังให้แบรนด์แสดงจุดยืนที่จะทำอะไรบางอย่าง นั่นทำให้การสร้างแบรนด์ในปีหน้า หลายๆ แบรนด์จะหยิบเอาเรื่องเหล่านี้มาประกอบกับการสร้างแบรนด์เพื่อให้ชนะใจผู้บริโภคมากขึ้น และสร้างด้วยการลงมือทำมากขึ้น เช่น การประกาศลดแจกถุงพลาสติก การประกาศสนับสนุนกฎหมายแต่งงานคนเพศเดียวกัน แม้จะโดนต่อต้าน สิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวโน้มของแบรนด์ต่างๆ ในการทำการสื่อสารมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

6. The Game Era: ยุคแห่งเกมที่ไปไกลกว่า E-Sports
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสหลักไปแล้ว แต่รูปแบบที่เราอาจจะรู้จักกันในช่วงที่ผ่านมา คือ E-Sports แต่ในปีหน้าสิ่งที่ผมอยากจะชี้ให้ทุกคนเห็น คือ ตลาดเกมไม่ได้มีแค่ E-Sports และเกมได้กลายเป็น New Entertainment สำหรับคนรุ่นใหม่อย่างเต็มตัว ข้อมูลที่น่าสนใจจาก We Are Social 2019 พบว่า เด็กไทย อายุ 16-24 ปี และคนรุ่น Gen Y อายุ 25-34 ปี ดู E-Sports ใกล้เคียงกับการดูกีฬาทั่วไปแบบฟุตบอลเป็นที่เรียบร้อย และข้อมูลยังชี้ชัดอีกว่า คนไทยไม่ได้ดูแค่ E-Sports แต่ดูการ Cast Game สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยเรานั้นอยู่ที่อันดับ 5 ของโลก จึงนับได้ว่าเกมกลายเป็นหนึ่งในกระแสหลักของคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ที่กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ใช้เวลาและให้ความสนใจมากทีเดียว

Digital Marketing Trends 2020

นั่นทำให้หลายๆ แบรนด์ที่จับกับ Entertainment Content อยู่แล้วกระโดดเข้ามาให้ความสนใจกับตลาดนี้มากขึ้น เราจะได้เห็นการจับมือกับ Influencers สาย Cast Game การสปอนเซอร์ทีมกีฬา และการทำการตลาดกับกลุ่มเกมเมอร์มากขึ้นในปีที่จะถึงนี้

Digital Marketing Trends 2020
Digital Marketing Trends 2020
Digital Marketing Trends 2020
(ข้อมูลจาก We Are Social 2019)

7. Creative Data: จับความคิดสร้างสรรค์สร้างความต่างให้ Data Marketing
สองปีที่ผ่านมา Data กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรู้ต้องทำเป็นที่เรียบร้อย หลายๆ องค์กรปรับตัวเตรียมสำหรับการเก็บ วิเคราะห์ และใช้ข้อมูลในการทำการตลาด หลายคนก็ได้เริ่มต้นทำ Personalized Marketing อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว อันที่จริง เวลาคิดถึง Data ไม่ต้องคิดอะไร Fancy และ Buzzword เช่น Big Data, Machine Learning แต่มันคือเรื่องง่ายๆ อย่างเช่นการเก็บข้อมูลลูกค้าปัจจุบันที่จำเป็น และนำไปใช้ให้ได้ก็พอ 

Digital Marketing Trends 2020

ทั้งนี้เรื่องของ Data Marketing ถ้าแบ่งซอยย่อยเป็นขั้นตอนต่างๆ จะประกอบไปด้วย การเก็บข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งอันที่จริงแล้วความคิดสร้างสรรค์มันสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในทุกอณูของการทำ Data Marketing ให้แตกต่างและได้ผล อย่างปัจจุบันบริษัท เอเจนซีก็มักมีการทำงานร่วมกันระหว่างทีม Data Marketing และครีเอทีฟ อย่าง Alchemist (www.data-alchemist.com) ที่ร่วมกับ Rabbit’s Tale บริษัทในเครือ Rabbit Digital Group เองก็ใช้แนวคิดนี้ทำงานเป็นที่เรียบร้อย

แนวโน้มด้าน Data ที่จะเกิดขึ้น คือจะมีหลายๆ แบรนด์ที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์มาทำงานกับข้อมูลมากขึ้น หลังจากที่พบปัจจัยหลักที่มีผลกระทบใหญ่สามอย่างด้วยกัน คือ 

  1. แบรนด์ค้นพบว่า วิธีการสื่อสารเพื่อเก็บข้อมูล หรือวิธีใช้ข้อมูลสร้างการสื่อสารการตลาด มันน่าเบื่อและเป็นแพตเทิร์นมากเกินไป เพราะทุกคนต่างใช้รูปแบบในการเก็บเหมือนๆ กัน 

  1. เทคโนโลยีเกี่ยวกับ Data สมัยนี้ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะยักษ์ใหญ่อย่าง Google และ Microsoft ทำให้เทคโนโลยีพร้อมใช้งานได้ทันที (บางอย่างเป็น Pay per use บางอย่างฟรี) ทำให้ไม่ว่าองค์กรจะเล็กจะใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและถูกกว่าเดิม 

และ 3. คือกฎหมาย GDPR ที่เราต้อง Consent ข้อมูลจากลูกค้า (การขอความยินยอมที่เข้าใจง่ายและแจ้งให้ชัดว่าจะเอาไปทำอะไร) ทุกครั้ง รวมไปถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA) ที่จะบังคับใช้ปีหน้า ซึ่งได้ต้นแบบมาจาก GDPR ของยุโรป รวมไปถึงการประกาศตัวของหลายๆ แพลตฟอร์มที่จะให้ความสำคัญในเรื่องของความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ทำให้เราต้องพยายามมากขึ้นในการเก็บข้อมูลของลูกค้ามาใช้ เราเรียกความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้เก็บข้อมูลลูกค้าว่า Creative Consent เช่น การเก็บข้อมูลโดยการสร้าง Entertainment Value คืนกลับไปที่ลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ดวงจากเบอร์โทรศัพท์ โปรแกรมช่วยเลือกรถคันแรกให้กับลูกค้าสำหรับธุรกิจรถยนต์ Chatbot ที่ช่วยแจกแจงและทำบัญชีจากการถ่ายรูปใบเสร็จ 

โดยเรามีวิธีการเก็บข้อมูลที่น่าสนใจด้วยเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น เช่น Facial Recognition, OCR Services (การอ่านใบเสร็จแล้วเก็บข้อมูลเป็นตัวหนังสือเข้ามา), Voice Recognition ผ่านทาง Voice Services ต่างๆ ซึ่งเหล่านี้ดีกว่าการใช้ Form ให้ลูกค้ากรอกทั้งสิ้น 

รวมไปถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการหาให้ได้ว่าจะเอา Data นั้นไปทำอะไรดี ซึ่งเรื่องนี้จะเริ่มเกิดกับแบรนด์ที่ได้ลองใช้งาน และทำงานกับ Data มาตลอดปี 2019 แล้ว และพบว่าหากปราศจากความคิดสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพและการสร้างความแตกต่างอาจจะไม่เกิด เพราะธุรกิจที่ใช้ Data ทุกคนเก็บข้อมูลได้เหมือนๆ กันหมด

8. Shoppertainment: เมื่อการขายของต้องมาคู่กับความบันเทิง
เทรนด์นี้เริ่มมาจากการที่ Live Commerce หรือการขายของผ่าน Live กลายมาเป็น เทรนด์ที่โด่งดังเป็นพลุแตกหลังจาก ฮาซัน พ่อค้าออนไลน์แสดงลีลาเด็ดดวงในการขายจนเป็นแรงบันดาลใจให้พ่อค้าแม่ค้าอีกหลายคน เริ่มหันมาสร้างจุดต่างและความสนุกสนานให้ตัวเองมากขึ้น อันที่จริงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสำหรับคนไทยนั้น บางทีตัวพ่อค้าแม่ค้าคือปัจจัยที่สำคัญมาก ในการซื้อของ ยิ่งลีลาดี มีเอกลักษณ์คนก็มักจะตั้งฉายาและติดตามไปซื้อ กลายเป็น Influencer ไปโดยปริยาย ซึ่งปัจจุบันมีหลายๆ แบรนด์ที่หันมาจับช่องทาง Live มากขึ้น โดยอาศัยการใช้ตัวผู้ขายเพื่อสร้าง Entertainment Value และปิดการขายได้มากกว่าเดิม

นอกเหนือจาก Live Commerce คือการเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารการทำการขายแบบขายตรงๆ โต้งๆ หรือโฆษณาโปรโมชัน ทำเป็นรายการบันเทิงเลย มีการจับเอาดาราหรือยูทูเบอร์มาช้อปปิ้งให้ดูจนสร้างยอดติดตามได้จำนวนมาก สองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนไทยชอบอยู่แล้ว คือการดูคนซื้อของ จับจ่ายใช้สอย กับดูความบันเทิง เมื่อ Shopping มารวมกับ Entertainment จึงกลายเป็นการขายรูปแบบใหม่ที่น่าจะเข้ามาเป็นเทรนด์ในการทำการตลาดแนวนี้มากขึ้นนั่นเอง

9. Creative work as Experimental & Testing (When More is More) การทำงานครีเอทีฟยุคหน้าจะเป็นยุคลองผิดลองถูก ยิ่งทำเยอะยิ่งได้เยอะ
เทรนด์นี้มาจากปัจจัยผลักดันหลักๆ คือการที่เรามี Off the Shelf Marketing Tool หรือซอฟต์แวร์เครื่องมือที่ช่วยให้เราผลิตงานการตลาดได้มากขึ้น และราคาถูกลง เช่น Canva.com ที่ใช้ทำเทมเพลตและงานรูปภาพ Wix.com ที่ใช้ทำเว็บไซต์ง่ายๆ มี Tools ที่ใช้ Optimized Advertising ได้เองราคาถูก รวมไปถึงครีเอทีฟ หรือครีเอเตอร์รุ่นใหม่ๆ ที่พร้อมด้วยเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ทำได้เร็วกว่า ถูกกว่า 

Digital Marketing Trends 2020
Digital Marketing Trends 2020

จากเดิมเราอาจจะต้องใช้คน 4-6 คนในการทำโฆษณาหนึ่งตัว วันนี้ครีเอเตอร์ที่มีกล้องหนึ่งคนอาจทำทุกอย่างเสร็จได้ด้วยตัวคนเดียว (ลองนึกภาพ TikTok วิดีโอแพลตฟอร์มที่เด็กประถมฯ ก็สามารถทำคลิป ใส่เอฟเฟกต์ มีเพลงประกอบเพื่อเกาะกระแส Clip Challenge ดังๆ ได้เองแล้ว) และเมื่อต้นทุนในการทำถูกลง ในขณะที่เทรนด์เรื่องของ One to One และ Subculture มาพร้อมกัน ทำให้ต่อไปการทำงานสร้างสรรค์ จะเป็นการทดลองมากขึ้น เพราะต้นทุนโฆษณาทางดิจิทัล ที่เมื่อผิดก็สามารถลองทำใหม่ได้ แตกต่างจากการขึ้นบิลบอร์ด หรือซื้อโฆษณาทีวีที่ลองไม่ได้ และจำเป็นต้องทำเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มมากๆ

ดังนั้น งานครีเอทีฟที่เป็นงานทำโฆษณาสมัยใหม่ในปีหน้า จะยึดเอาความหลากหลาย ความเร็วในการทำงาน และการทำให้โดนใจคนในวงเล็กมากขึ้น ซึ่งเราจะเริ่มเห็นได้จากแบรนด์บางแบรนด์ที่มีทีมทำโฆษณา และคอนเทนต์เป็นของตัวเอง และทำโฆษณามากว่า 10 รูปแบบในการโปรโมตสินค้าแค่ตัวเดียว 

ถ้าให้ยกตัวอย่างในระดับโลกคงหนีไม่พ้นอดีตแคมเปญหาเสียงของทรัมป์ ที่ทำชิ้นงานโฆษณากว่า 200 รูปแบบ เพื่อหารูปแบบที่ได้ผลดีที่สุดเลยทีเดียว ซึ่งต่อไปเราจะได้เห็นการทำงานโฆษณาที่สร้างงานใหญ่ 1 งานเป็นส่วนกลาง และงานชิ้นย่อยๆ กว่า 100 รูปแบบเพื่อสื่อสารหารูปแบบที่ดีที่สุดมากขึ้นนั่นเอง

นี่คือ 9 Digital Marketing Trends ประจำปี 2020 ที่นักการตลาดควรต้องรู้และติดตามไว้ ซึ่งผมได้รวบรวมและวิเคราะห์จากการทำงานร่วมกับหลากหลายแบรนด์ตลอดปีที่ผ่านมา 

สำหรับเทรนด์ปีหน้าจะเป็นอย่างที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ เรามาติดตามกันต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เทรนด์เป็นเพียงแค่แนวทางที่จะเกิด แต่การนำไปใช้ การมองให้ออกว่าเหมาะกับเรา และการลองทำดูก่อน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์