Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

การตั้งราคาขายเทียบคู่แข่งทางธุรกิจ



การตั้งราคาโดยคำนึงถึงการแข่งขัน
 เช่น การตั้งราคาโดยเทียบกับคู่แข่ง (Going-Rate Pricing)
วิธีนี้ธุรกิจจะตั้งราคาตามคู่แข่งที่อยู่ในตลาด ส่วนใหญ่มักใช้ในตลาดผู้ขายน้อยรายจะมีการขายราคาตามผู้นำตลาด วิธีนี้เป็นที่นิยม ในกรณีที่การคาดประมาณต้นทุนทำได้ยาก หรือคาดประมาณการตอบโต้จากคู่แข่งขันยาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า การประกวดราคา (Sealed-Bid Pricy) มักใช้ในกรณีที่มีการประมูลงานที่ต้องแข่งขัน ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้


1. การตั้งราคาให้เท่ากับคู่แข่งขันหรือการตั้งราคาเพื่อเผชิญกับการแข่งขัน (Pricing to Meet
Competition or going Rate Pricing) ข้อดีของการตั้งราคาแบบนี้คือ เป็นการป้องกันสงครามราคา ซึ่งเป็น
วิธีที่สะดวกเพราะถือว่าราคาที่คู่แข่งขันตั้งเหมาะสมดีอยู่แล้ว การตั้งราคาให้เท่ากับคู่แข่งขันใช้ในกรณีต่อไปนี้
1.1 ผลิตภัณฑ์มีลักษณะคล้ายคลึงกันและใช้ทดแทนกันได ้ เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำตาล น้ำดื่ม เป็นต้น
1.2 ราคาของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นที่รู้จักและยอมรับกันอยู่แล้ว เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน ฉบับละ 8 บาท
อัตราค่าชมภาพยนตร์ของโรงภาพยนตร์ชั้นหนึ่ง อัตราค่าโดยสารรถประจำทาง เป็นต้น
1.3 จำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขายมีมากราย โดยเฉพาะในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งราคาสินค้า
นั้นเป็นราคาตลาดที่ผู้ขายแต่ละรายจะต้องยอมรับและขายในราคานั้นอยู่แล้ว เช่น ข้าวเปลือก 100% 
เกวียนละ 5,500 บาท เป็นต้น
1.4 ในตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย ผู้ขายมักจะตกลงราคาร่วมกันเพื่อป้องกันสงครามราคา เช่น ราคา
น้ำมันที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันโอเปคกำหนดราคาน้ำมันดิบไว้ ณ ระดับหนึ่ง ซึ่งสมาชิกของโอเปคจะต้อง
ปฏิบัติตาม 
1.5 ในกรณีที่ผู้ผลิตกำหนดราคาขายปลีกให้กับผู้บริโภคไว้ที่ตัวสินค้าหรือตัวบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีผลทำให้
พ่อค้าปลีกต้องขายสินค้าตามที่กำหนดไว้ แต่อาจขายให้ต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ก็ได้แต่จะตั้งสูงกว่า
นั้นไม่ได้

2. การตั้งราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน (Pricing Below the Competition) วิธีนี้ธุรกิจจะตั้งราคาได้โดยอยู่
ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
2.1 ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจด้อยกว่าคู่แข่งขัน
2.2 ในกรณีการลดราคาให้ต่ำกว่าปกติ
2.3 ในกรณีที่ธุรกิจมีวัตถุประสงค์ต้องการเจาะตลาด กล่าวคือ เมื่อลดราคาจะทำให้ปริมาณความ
ต้องการซื้อของลูกค้าเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าที่มีดีมานต์ มีความยืดหยุ่นมาก (Elastic)
2.4 ในกรณีที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของกิจการเป็นลูกค้าระดับล่าง ซึ่งมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง
ราคาสูง
2.5 ใช้ในกรณีที่ธุรกิจพยายามลดต้นทุนต่าง ๆ เพื่อลดราคาให้ต่ำ เช่น ลดต้นทุนด้านสถานที่ การตกแต่ง
ร้านค้า ลดการบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจก่อให้เกิดสงครามราคาได้ ถ้าธุรกิจนั้น ๆ ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง

3. การตั้งราคาให้สูงกว่าคู่แข่งขัน (Pricing Above the Competition) วิธีนี้ธุรกิจจะตั้งราคาได้ก็ต่อเมื่อ
อยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
3.1 ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจมีลักษณะเด่นเหนือคู่แข่งขัน และมีลักษณะเป็น เอกลักษณ์
3.2 เป็นการตั้งราคาที่มุ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้สูง (Upper Class)
3.3 ในกรณีที่สินค้าของธุรกิจเป็นสินค้าที่ลูกค้ามีความภักดีต่อตรายี่ห้อของธุรกิจค่อนข้างสูง เช่น สินค้า
เจาะจงซื้อบางชนิด
3.4 ในกรณีที่สินค้าของธุรกิจมีลักษณะดีมานด์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย (Inelastic)
3.5 ในกรณีที่ธุรกิจต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้กับกิจการว่าสินค้าของกิจการมีคุณภาพสูง

4. การตั้งราคาแบบประมูล (Sealed-bid Pricing) เป็นวิธีการตั้งราคาโดยวิธีเปิดซองประมูลราคาผลิตภัณฑ์
มักจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่มีการซื้อปริมาณมากหรือจำนวนเงินมากหรือเป็นการซื้อแบบทำสัญญาการเสนอ

ราคาแบบประมูลขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ ต้นทุนทั้งสิ้นของผลิตภัณฑ์และการคาดคะเนการตั้งราคาของคู่แข่งขัน วัตถุประสงค์ในการเสนอราคา เพื่อต้องการเป็นกิจการที่ประมูลได้โดยให้ราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน


ราคา (Price) หมายถึง จำนวนเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ (สินค้าและ/หรือบริการ)โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน ราคาเป็นปัจจัยหนึ่งของส่วนประสมการตลาดที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้บริโภค หากประเมินว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีมูลค่า (Value) และก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ (Utility) เหมาะสมกับราคาหรือจำนวนเงินที่จ่ายไป

มูลค่า (Value) หมายถึง ผลของการประเมินที่กำหนดในรูปของเงินตราที่สามารถสร้างความพอใจให้แก่
ผู้ประเมินซึ่งในที่นี้หมายถึงลูกค้า เช่น แหวนพลอยราคา 200 บาท แต่เป็นแหวนที่คนรักมอบให้ผู้สวมใส่อาจจะประเมินมูลค่าของแหวนวงนี้มากกว่า 200 บาทก็ได้ หรือเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม เป็นต้น

อรรถประโยชน์ (Utility) หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่านำไปทำอะไรได้บ้าง
เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างไรบ้าง เช่น การได้สวมแหวนก่อให้เกิดการยอมรับในสังคม หรือจัดเป็นเครื่อง
ประดับอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดความภูมิใจหรือคนอื่นมองว่าเป็นคนดีมีฐานะดี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นอรรถประโยชน์ของแหวน

ดังนั้น นักการตลาดจึงต้องคำนึงถึงมูลค่าและอรรถประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ในสายตาของ ผู้บริโภคใน
การกำหนดราคาเพื่อยึดหลักความพึงพอใจของผู้บริโภค เพราะมิได้หมายความว่า ผู้บริโภคจะต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีราคาต่ำเสมอไป ผลิตภัณฑ์บางชนิดหากขายราคาต่ำมาก ๆ อาจขายไม่ออกก็ได้เพราะผู้บริโภคประเมินมูลค่าและอรรถประโยชน์ต่ำ หรือหากขายราคาสูง มาก ๆ ก็อาจขายไม่ได้เช่นกัน หากผู้บริโภคประเมินแล้วรู้สึกว่าแพง เป็นต้น ราคาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน เพราะราคาเป็นปัจจัยตัวเดียวในส่วนประสมการตลาดที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อกิจการ ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นราคาจึงมีความสำคัญดังต่อไปนี้

1. ราคามีความสำคัญต่อกิจการ ทั้งนี้เพราะราคาเป็นตัวกำหนดความต้องการของตลาดเป้าหมาย
และจะส่งผลต่อรายได้และกำไรของกิจการได้ จึงทำให้กิจการต้องให้ความสนใจต่อการกำหนดราคาเพราะมีความสำคัญต่อการอยู่รอด การเจริญเติบโตของกิจการ นอกจากนี้กิจการยังใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการแข่งขันหรือการสร้างส่วนครองตลาดของกิจการได้
2. ราคามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะเป็นพื้นฐานในการจัดสรรทรัพยากรและปัจจัยการ
ผลิต จึงใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางของการลงทุนและการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ปีไหนพืชผลทางเกษตรมีราคาดี ก็จะส่งผลให้สินค้าอื่น ๆ ขายดีไปด้วย เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรมีอำนาจซื้อจึงทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีตาม ในทำนองตรงข้ามหากพืชผลทางการเกษตรขายไม่ได้
ราคาหรือราคาต่ำก็จะทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศยากจนเพราะไม่มีรายได้จึงไม่มีกำลังซื้อ

   ราคาเป็นองค์ประกอบของส่วนประสมการตลาดที่นำรายได้ให้กับกิจการ   ขณะที่องค์ประกอบอื่น ๆ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย    ดังนั้น   การกำหนดราคาที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อกำไรของกิจการ       แต่การกำหนดราคาต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลายประกา   โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลูกค้า    พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้ามีความยุ่งยากซับซ้อน   ลูกค้าบางรายเลือกซื้อสินค้าที่ราคาสูงแทนการเลือกสินค้าที่ราคาต่ำ    ทั้งนี้เพราะลูกค้าตัดสินใจซื้อจากคุณค่าของสินค้าไม่ใช่ราคา     ดังนั้น     การกำหนดราคาต้องสอดคล้องกับผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับและคุ้มค่ามากที่สุด
     

     ธุรกิจต้องมีกำหนดราคาเมื่อมีการแนะนำสินค้าเข้าสู่ตลาด     ดังนั้น   ธุรกิจต้องมีการกำหนดเปรียบเทียบตำแหน่งของคุณภาพและราคา   เช่น   ราคาของรถยนต์ที่มีคุณภาพดีมาก    ราคาสูงมาก    การกำหนดกลยุทธ์เปรียบเทียบระหว่างราคาและคุณภาพอธิบายได้โดยภาพที่ 9.1 ดังนี้



          กลยุทธ์ที่อยู่ในช่อง 1, 5 และ 9 ตามเส้นทแยงมุมสอดคล้องกันและสามารถใช้ได้ในตลาดเดียวกันโดยกลุ่มลูกค้าอาจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพดีราคาสูง  ผลิตภัณฑ์คุณภาพปานกลาง  ราคาปานกลาง และผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำกว่าในราคาต่ำได้    ขึ้นอยู่กับว่า   ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับใดช่อง 2, 3 และ 6 เป็นกลยุทธ์ที่ให้ความคุ้มค่ากับผู้ซื้อ      เนื่องจากตั้งราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น    หรือคุณภาพสินค้าดีกว่าราคาที่จ่ายไปนั่นเอง
          ตำแหน่งราคาในช่อง 4, 7 และ 8 เป็นการตั้งราคาแบบหลอกลวง  หรือเอาเปรียบผู้บริโภคโดยตั้งราคาเกินคุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์   กรณีนี้เมื่อผู้บริโภคทราบก็จะไม่กลับมาซื้ออีกและอาจจะบอกต่อผู้บริโภคอื่น ๆไม่ให้มาซื้ออีกด้วย
          นอกเหนือจากการกำหนดตำแหน่งของราคาและคุณภาพผลิตภัณฑ์แล้ว     การกำหนด    ราคามีขั้นตอนดังต่อไปนี้
          1.  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา
          2.  การพิจารณาอุปสงค์
          3.  การคาดคะเนต้นทุน
          4.  การวิเคราะห์ต้นทุน ราคา และผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน
          5.  การเลือกวิธีการกำหนดราคา
          6.  การตัดสินใจเลือกราคาขั้นสุดท้าย

1.  การเลือกวัตถุประสงค์การกำหนดราคา (Selecting the Pricing Objective)
          การกำหนดวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคานั้น      ต้องศึกษาถึงตลาดเป้าหมายและพฤติกรรมของกลุ่ม
ดังกล่าวและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมไว้ก่อน  จึงเลือกวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา  การกำหนด
วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา   เพื่อความอยู่รอดของกิจการ   เพื่อกำไรสูงสุด   เพื่อส่วนครองตลาดหรือเพื่อ
เป็นผู้นำด้านคุณภาพ ฯลฯ   ซึ่งจะขอกล่าวในรายละเอียดในเรื่องที่ 9.1.3


   ปัจจัยที่ผู้บริหารทางการตลาดต้องศึกษาก่อนการกำหนดนโยบาย   กลยุทธ์    และยุทธวิธีในการกำหนด
ราคาจำแนกได้  2  ประเภท  คือ
          1.  ปัจจัยภายในกิจการ (Internal Factors)   เป็นปัจจัยที่กิจการสามารถกำหนด    และควบคุมได้    ได้แก่วัตถุประสงค์ทางการตลาด  กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด  ต้นทุนและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับราคา
     

    2.  ปัจจัยภายนอกกิจการ (External Factors)   เป็นปัจจัยที่กิจการไม่สามารถควบคุมได้   แต่ต้องคำนึงถึงในการจัดการราคา   ได้แก่   ตลาด   อุปสงค์ของตลาด   การแข่งขัน   ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ   ผู้จัดจำหน่าย   สภาพเศรษฐกิจ   รัฐบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ

1 ปัจจัยภายในกิจการ   มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
          1.1 วัตถุประสงค์ทางการตลาด (Marketing Objectives)    ก่อนการกำหนดราคา     ผู้บริหารจะทำการกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ทางการตลาดไว้แล้ว    จะเริ่มจากการกำหนดกลุ่มลูกค้า    เป้าหมาย    การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์   การกำหนดส่วนประสมการตลาดอื่น ๆ        จากนั้นจึงทำการกำหนดราคาให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ดังกล่าว    การกำหนดวัตถุประสงค์เป็นแนวทางในการกำหนดราคาให้ง่ายขึ้น และนำไปสู่ความสำเร็จทางการตลาดได้ในที่สุด     การกำหนดวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา    เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายราคากลยุทธ์ราคา   และวิธีการในการกำหนดราคา    วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา แบ่งได้ดังนี้
        

       
1.1.1   วัตถุประสงค์เพื่อความอยู่รอดของกิจการ (Survival)     ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ   อำนาจการซื้อลดลงส่งผลให้ยอดขายกิจการลดลง   การแข่งขันสูง  ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน   หากเกิด
 สถานการณ์ดังกล่าว     วัตถุประสงค์ในการตั้งราคาพอครอบคลุมต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่บางส่วนทำให้ราคาสินค้าลดลงอาจมีกำไรเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย   เพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ในระยะเวลานั้น ๆ จนกว่าจะพ้นวิกฤตการณ์   จึงค่อยปรับราคากันใหม่
               

1.1.2   วัตถุประสงค์เพื่อกำไรสูงสุด (Current Profit Maximization)  วัตถุประสงค์นี้ต้องการกำไรสูงสุด สภาพคล่องทางการเงินหรือผลตอบแทนในการลงทุนในระยะสั้น ๆ แต่มีข้อจำกัดที่ต้องทราบถึง  ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และต้นทุน  ณ  ระดับราคาต่าง ๆ      เพื่อเลือกกำหนดราคาที่ให้ได้ผล ตอบแทนที่สูงสุดอย่างไรก็ตามการกำหนดวัตถุประสงค์นี้อาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจระยะยาว
               

1.1.3   วัตถุประสงค์เพื่อส่วนครองตลาด(Market Share Leadership)วัตถุประสงค์นี้จะเป็นวัตถุประสงค์ในระยะยาว การกำหนดราคาสินค้าไว้ต่ำจะส่งผลให้ได้ส่วนครองตลาดสูงสุด  และสามารถลดต้นทุนลงได้ต่ำสุดด้วย
               

1.1.4   วัตถุประสงค์เพื่อเป็นผู้นำด้านคุณภาพ (Product Quality Leadership)       การกำหนดราคาสูงแสดงถึงคุณภาพของสินค้าในระดับสูง  ซึ่งจะทำให้ได้รับกำไรต่อหน่วยสูงด้วย  โดยเฉพาะสินค้าที่กิจการต้องลงทุนในการวิจัยและพัฒนาไปมาก
               

1.1.5   วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาลักษณะอื่น ๆ เช่น การกำหนดราคาเพื่อป้องกันการเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งขัน      การรักษาเสถียรภาพของราคา     นอกจากนี้องค์การที่ไม่ได้หวังผลกำไร     ยังมี วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาที่แตกต่างออกไป   เช่น   โรงพยาบาล     สถานศึกษา    กิจการ
สาธารณูปโภคซึ่งแสดงถึงวัตถุประสงค์การกำหนดราคาเพื่อสังคมคือทุกคนต้องมีการรับบริการ
 จึงกำหนดราคาต่ำแต่พออยู่ได้    รัฐอาจต้องสนับสนุนบ้างเพื่อความผาสุขของประชาชนก็ต้องทำ
          

1.2  กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix Strategy)การกำหนดราคาต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของส่วนประสมการตลาดอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์   ช่องทางการจัดจำหน่าย    และการส่งเสริมการตลาด    การกำหนดราคาสูงก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีกับผลิตภัณฑ์         ขณะเดียวกันการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ใหม่สูงเป็นการชักจูงคู่แข่งให้เข้ามาสู่ตลาดได้เร็วขึ้น  และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาจต้องเปลี่ยนแปลงราคาหรือการส่งเสริมการตลาด
ให้สอดคล้องกันด้วย   การเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายต้องสอดคล้องกับการกำหนดราคาสูงหรือต่ำด้วยสินค้าสะดวกซื้อ   โดยทั่วไปการกำหนดราคาต่ำจะมีการจัดจำหน่ายอย่างกว้างขวางขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดราคาสูงต้องเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายเฉพาะ     คือไม่ต้องขายหลายแห่งก็ได้        การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย         ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาดและส่งผลต่อการกำหนดราคาด้วย
       

  1.3  ต้นทุน (Cost)  ต้นทุนเป็นปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดราคา   โดยการรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องบวกกำไรเป็นราคาขายแต่ต้นทุนที่ต่ำกว่าย่อมได้เปรียบ      ดังนั้น      การศึกษาถึงโครงสร้างของต้นทุนนอกเหนือจากการกำหนดต้นทุนรวมมาจากต้นทุนคงที่   ต้นทุนผันแปร   และต้นทุนกึ่งผันแปรแล้วยังต้องคำนึงถึงปริมาณการผลิต
ที่ก่อให้เกิดต้นทุนต่ำสุดอันอาจจะเกิดจากประสบการณ์ของกิจการ   หรือทำเลที่ตั้ง   เป็นต้น
          

1.4  ผู้มีอำนาจในการกำหนดราคามีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับราคา    การกำหนดราคามีฝ่ายต่าง ๆเข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น   ฝ่ายผลิต  ฝ่ายการเงิน   ฝ่ายขาย   และฝ่ายการตลาด   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับราคา        สำหรับกิจการขนาดเล็กผู้บริหารเพียงคนเดียวจะทำการตัดสินใจแต่กิจการขนาดใหญ่อาจมีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง        โดยกำหนดผู้รับผิดชอบเป็นผู้บริหารระดับกลาง    เช่นผู้จัดการผลิตภัณฑ์หรือผู้จัดการฝ่ายการตลาด    สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมอาจกำหนดให้พนักงานขายเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดราคาด้วยก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น