Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

ลักษณะ ของผู้นำคุณภาพ

ลักษณะของผู้นำคุณภาพ
         
         
           อลิสโตเติล กล่าวว่า "Quality is not an action ,it is a habit"
           คุณภาพไม่ใช่สิ่งที่เป็นเพียงการ ปฏิบัติในครั้งหนึ่งครั้งใดเท่านั้น แต่ต้องทำจนเป็นนิสัยต่อเนื่องในการปฏิรูปการศึกษาของไทย  จะ สังเกตุเห็นว่าปัจจุบันทุกคนตื่นตัวกันมาก ทั้งผู้บริหาร ครู อาจารย์   ผู้ปกครอง  ตลอดจนประชาชนและสังคมโดยมาก จะมุ่งเน้นในเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างทางการบริหาร  การ ปฏิรูปหลักสูตร  การปฏิรูปครู และลงไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ของนักเรียน   เพื่อ ไปสู่เป้าหมายด้านคุณภาพการศึกษา   รวมทั้งยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับสากล     แต่ในส่วนที่เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาและนับว่า สำคัญ ซึ่งได้แก่ คุณภาพของผู้นำ ยังมิได้นำมาพิจารณากันสักเท่าใดนัก ส่วนใหญ่มุ่งเน้นในการจัดการอบรมและหาวิธีการคัดเลือก  เพื่อ จัดบุคลากรรองรับตำแหน่งบริหารในโครงสร้างใหม่     ผู้ บริหารบางคนก็กังวลใจเกี่ยวกับการถูกยุบโอนไปในตำแหน่งที่ตนไม่ถนัด   โดยมิได้ใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพของตน เอง   เพื่อให้เป็นเพชรที่ส่องประกายแวววาวเพื่อให้ คนนำไปใช้อย่างทรงคุณค่า  ซึ่งในการปฏิรูปการศึกษานั้นผู้นำนับว่ามีความสำคัญที่นำพาองค์กรไปสู่เป้า หมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพการศึกษา   ผู้นำยุคใหม่ที่เน้นการปฏิรูปจึงต้องเป็นผู้นำคุณภาพเพราะผู้นำที่ไม่มีความ รู้ความสามารถ   ขาดความเข้าใจในด้านคุณภาพแล้วอาจ จะนำองค์กรสู่ความล้มเหลวและหลงทางได้    ซึ่งลักษณะ ของผู้นำคุณภาพมีดังต่อไปนี้
Ø                  เป็นผู้นำวิสัยทัศน์ (visionary Leadership) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคลต่าง ๆ ได้

                  
ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าว ว่า " Without vision the people perished" โดยให้ความสำคัญของวิสัยทัศน์ว่า " ถ้าผู้นำขาดวิสัยทัศน์ ประชาชนก็สาบสูญ " ซึ่งนับว่าวิสัยทัศน์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหาร  ผู้ นำที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องมีความรู้และประการณ์ในการบริหารเป็นอย่างดี  ต้องรู้จักสะสมความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ  มั่นศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ   รวมทั้งต้องมองการณ์ไกล  สามารถวางแผน ระยะยาว  ( Long term plan ning )  สามารถแก้ปัญหา ได้อย่างชาญฉลาด   เปลี่ยนวิกฤติสู่โอกาสได้อย่าง เหมาะสม และที่สำคัญ  สามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อปรับ ปรุงองค์การให้เจริญก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย สามารถต้านทานต่อวิกฤติการณ์ที่มากระทบได้อย่างมั่นคง  ผู้นำ วิสัยทัศน์จึงมีลักษณะดังนี้


          1. ผู้นำต้องกำหนดวิสัยทัศน์ได้อย่างชัดเจน  และสามารถ กระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคลากรอื่นเพื่อให้เกิดการยอมรับ
          2. ผู้นำสามารถกำหนดเป้าหมายร่วมกับบุคคลากรได้อย่างชัดเจน

          3. ผู้นำร่วมกับบุคคลากรกำหนดพันธกิจร่วมกัน  เพื่อ เป็นทิศทางในการดำเนินงาน
          4. ผู้นำร่วมกับบุคคลากร กำหนดยุทธศาสตร์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
Ø                  ใช้หลักการกระจายอำนาจ ( Empowerment ) และ การมีส่วนร่วม
(
Participation )

          
ผู้นำ คุณภาพ  คงมิใช่ผู้นำแบบอัศวินที่มีลักษณะเก่งคน เดียว  ทำงานคนเดียว  ผู้นำ จึงถือคติที่ว่า " Two   heads  are  better  than  one." รู้จักทำงานเป็นทีม   ซึ่งที่จริงแล้วการ ทำงานเป็นทีมเป็นจุดแข็งของคนไทยทีเดียว  เพราะได้ รับการสั่งสมจากวัฒนธรรมประเพณีแต่ดั้งเดิม   สังเกต การทำงานจะช่วยเหลือกันอุปถัมภ์ค้ำจุนกัน   รวม ทั้งประเพณีไทยต่าง ๆ เน้นความสามัคคี  และทำงาน เป็นกลุ่มทั้งสิ้น   แต่เมื่อ เรารับอารยธรรมตะวันตกมามาก    ทำให้คนไทย เป็นปัจเจกชนมากขึ้น  ทำงานแบบตัวใครตัวมัน  ผู้นำ จึงสมควรส่งเสริมให้บุคคลากรทำงานเป็นทีม   โดย เฉพาะผู้นำคุณภาพจะต้องเป็นผู้จุดประกายในด้านนี้  ใน ขณะเดียวกันผู้นำต้องหยั่งรู้ลักษณะบุคคลากรว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ความคิด   ความเชื่อ   ความสามารถในด้านใด     เพื่อมอบหมายงานให้ตรงกับความถนัดของ แต่ละคนได้อย่างเหมาะสม   สามารถกระจายงาน   กระจายอำนาจให้ทั่วถึงและเป็นธรรมรวม   ทั้งมีหลักเกณฑ์การพิจารณา    เพื่อให้ ทุกคนยอมรับและที่สำคัญการเปิดโอกาศให้บุคคลากรมีส่วนร่วมในการทำงาน   ก็นับว่าเป็นการผูกมัดใจให้ทุกคนทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อ พัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย   โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้บทบาทของ นักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนนั้น    ถือว่าเป็นลูกค้าที่สำคัญ  ผู้นำ คุณภาพจึงต้องให้ความสำคัญของลูกค้าเป็นพิเศษ (Customer Focus) ทั้งในด้านการฟังเสียง  การฟังความคิด เห็น  รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ พัฒนาโรงเรียน แต่ขณะเดียวกันผู้นำพึงตระหนักในงานและควรจัดลำดับความสำคัญไว้ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ    หรือในเรื่องคอขาดบาด ตายก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำ  ในการตัดสินใจชี้ขาด และคงไม่โยนภาระหน้าที่ไปให้บุคคลากรทุกเรื่อง

Ø                  เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร

          
การ สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อหน่วยงานเป็นผลทางด้านจิตวิทยา   ทำให้ทุกคนเกิดการยอมรับ ศรัทธา   การ สร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรในโรงเรียน ทั้งครูและนักเรียน  ทำให้ทราบถึงความรู้สึก  ความคิด  ความเชื่อ  ของแต่ละคน  ช่วยลดช่องว่างและความขัดแย้งในการ บริหารการจัดการ    การใช้เทคนิคแบบ MBWA (Managing by Wandering Around)  นับว่าสามารถนำไป ใช้ได้เป็นอย่างดี    ซึ่งผู้บริหารจะต้องไม่ยึดติด กับห้องแอร์   ต้องหมั่นเดินดูการปฏิบัติงานของ บุคลากร    รวมทั้งคอยให้คำชี้แนะและให้กำลังใจอย่าง ใกล้ชิด    ซึ่งเป็นการเดินอย่างมีจุดหมาย เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า โดยมิได้มุ่งจับผิดแต่ประการใด
           นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ช่วยทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนดีขึ้น เพราะสามารถวางแผนส่งเสริมและแก้ปัญหานักเรียนได้เป็นอย่างดี   ขณะเดียวกัน ถ้าผู้บริหารสามารถสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชุมชน  ก็ จะช่วยระดมทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร  สื่ออุปกรณ์  งบประมาณ ฯลฯ  มาสร้างสรรค์พัฒนา โรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ  และทัดเทียมกับโรงเรียน อื่นๆ โดยไม่ต้องรองบประมาณจากต้นสังกัด

Ø                  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

           
ขงจื้อ กล่าวว่า " แม่ทัพที่มีความสามารถอาจถูกแย่งไปด้วยกำลัง แต่ความมุ่งมั่นไม่สามารถแย่งชิงไปได้ "   ผู้นำคุณภาพ จึงต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงาน   ขณะเดียวกันต้อง ตั้งความหวังไว้สูง (High   Expectation) เพื่อ ให้เกิดผลงานที่ดีที่สุด   นอกจากนี้การทำงานต้อง เน้นที่ผลงานเป็นหลัก (Result Oriented)  สังเกต จากผู้นำที่ประสบความสำเร็จ   จะ ต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย    ความ มุ่งมั่นจะประกอบด้วยความวิริยะ  อุตสาหะ  เพราะในการทำงานย่อมมีอุปสรรคและปัญหาคอยทำลายความตั้งใจ และ สมาธิ  ขนาดพระพุทธองค์ยังมีมารมาผจญ   นับประสาอะไรกับปุถุชน   ย่อมมีอุปสรรค อย่างแน่นอน    โดยเฉพาะสังคมไทยที่ได้รับ การปลูกฝังจากนวนิยายหรือละครน้ำเน่าที่มีแต่ความอิจฉาริษยา  เพลิงแค้น  หรือใครได้ดีเป็นไม่ได้ต้องคอย จ้องทำลายกันอยู่ตลอด    แต่ผู้นำคงไม่ย่อท้อต่อขวาก หนามที่มาขวางกั้น   พึงระลึกถึงคำกล่าวของหลวง วิจิตรวาทการที่ว่า " ชีวิตคือการต่อสู้  ศัตรู คือยากำลัง  อุปสรรค  และ ปัญหาคือหนทางแห่งความสำเร็จ "  ซึ่งต้อง เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรเราต้องมองว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรานั้น เป็นไม้บรรทัดวัดความอดทนและความมุ่งมั่นในการทำงานของเรา นอกจากนี้ลองสังเกตง่ายๆ ว่า ถ้าว่าวจะขึ้นได้ต้องมีลมต้าน ปลา เป็นย่อมว่ายทวนน้ำ    มีแต่ปลาตายเท่านั้น ที่ลอยตามน้ำ    ถ้าผู้นำใช้ความมุ่งมั่นและทุ่มเท โดยดำเนินงานไปสู่เป้าหมายได้ก็นับว่าเป็นผู้นำคุณภาพอย่างภาคภูมิใจ
        
Ø                  ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติในการวิเคราะห์และตัดสินใจ

           
ซึ่งมี ลักษณะเป็นผู้นำนวัตกรรม (Innovation leader ship) มีความสามารถในการจัดการกับความรู้  (Knowedge Mangement) และใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ   รวมทั้งใช้ข้อมูลทางสถิติและงานวิจัยมาประกอบในการ ตัดสินใจ    ผู้นำต้องใช้การบริหารที่ยึดความจริงเป็น หลัก   โดยไม่ใช้ความรู้สึก  (Leading by fact, not leading by feeling) ต้องกล้าพูดความจริง เกี่ยวกับปัญหาไม่ปิดปัญหาการบริหาร   แบบ ปัดฝุ่นไว้ใต้พรมต้องหมดไป   ผู้นำต้องนำปัญหามาวาง แผนแก้ไขโดยใช้งานวิจัยเป็นตัวตั้ง   การแก้ไขแบบ สร้างวิมานในอากาศคงจะช่วยอะไรไม่ได้มาก   การใช้คำขวัญและคติพจน์  สุภาษิต  เป็นเพียงแรงเสริมกระตุ้นให้เกิด   ความรู้สึก และกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สามารถบ่งบอกทิศทางในการบริหารได้อย่างแม่นยำ  แต่สิ่งที่นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการ จัดการ คือ  การเก็บข้อมูลอย่างครบถ้วนตามระยะเวลา ที่เหมาะสม  และนำมาวิเคราะห์อย่างชาญฉลาดด้วย เครื่องมือที่น่าเชื่อถือและเที่ยงตรง   เพื่อใช้ เป็นข้อมูลในการพยากรณ์   ด้วย อาศัยหลักแห่งความน่าจะเป็น นับว่ามีประโยชน์ต่อการบริหารอย่างแท้จริง และเพียงระลึกเสมอว่า "คุณภาพมิใช่เรื่องบังเอิญ   แต่คุณภาพเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ "

Ø                  ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง

          
ลักษณะ ของผู้นำคุณภาพที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ  ต้องสนับ สนุนและช่วยเหลือลูกน้องทั้งในด้านส่วนตัวและส่วนรวม    ในด้านส่วนตัวผู้นำต้องให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ ลูกน้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ    ผู้นำต้องหาความ ช่วยเหลืออย่างทันที   ในกรณีที่ไม่สามารถช่วยเหลือ ด้วยตนเอง   ก็ควรแนะนำและชี้ทางให้ ไม่ควรปฏิเสธอย่างขาดเยื่อใย    เพราะการที่คนเราจะขอความช่วยเหลือจากใคร มิใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะนิสัยของคนไทยเป็นคนที่เกรงใจผู้อื่นการที่เขาขอ ความช่วยเหลือจากเรา   แสดง ว่าผู้นำได้รับความไว้วางใจจากลูกน้องเป็นอย่างดี    นอกจากนี้ในด้านหน้าที่การงานผู้นำต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องทำงาน และสนับสนุนให้ความก้าวหน้าเป็นลำดับ  และต้องตัดสิน ด้วยความยุติธรรม   โดยวางมาตรฐานเปรียบเทียบไว้ อย่างชัดเจน (Benchmarking) เพื่อให้ทุกคนไป สู่มาตรฐานนั้น   ถ้าใครไปถึงก็สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าตามลำดับ    ซึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคน    โดยไม่ให้อภิสิทธิ์ เฉพาะกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งและที่สำคัญ   มาตรฐานการเปรียบเทียบนั้นต้องได้รับการยอมรับอย่างทั่วถึง   มิใช่เป็นการสร้างเกณฑ์เพื่อกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ 

มีความสามารถในการสื่อสาร

           
ผู้นำจะต้องสามารถสื่อสารกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ  การทำงานต้องอาศัยหลักการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สำนวนที่ว่า " ตีฆ้องร้องป่าว" นับว่าเป็นสิ่งที่ดี   เพราะนอกจากจะเป็นการประชา สัมพันธ์งานแล้ว   ยังแสดงถึงความโปร่งใส (Transparency) ของการทำงานที่มิได้งุบงิบกันทำ    นอก จากนี้ยังช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและหน่วยงาน   เพื่อ ให้ทุกคนยอมรับศรัทธาหน่วยงาน   และพร้อมที่จะทำงานด้วยความสุขและปราศจากความกลัว   การสื่อสารที่ดีที่สุด คือ การพูดคุยเจรจาแบบปากต่อปากเพื่อให้เห็นถึงบุคลิกภาพ  ความ รู้สึกที่จริงใจต่อกัน    การใช้หนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษรในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น   การใช้อวัจนภาษานับว่าเป็นประโยชน์ต่อการ สื่อสารเป็นอย่างดี   ผู้นำจึงต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีการพูดจาที่น่าเชื่อถือ   มีวาทศิลป์สามารถพูดจูง ใจได้ขณะเดียวกัน   ควรมีลักษณะอ่อนน้อมอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ   ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่ดีต่อการบริหาร และการจัดการ   ซึ่งผู้นำที่เข้มแข็งมิได้หมายถึงผู้ นำที่แข็งกระด้าง

Ø                  มีความสามารถในการใช้แรงจูงใจ

           การใช้แรงจูงใจในการทำงานนับว่ามีความสำคัญต่อการบริหารและการ จัดการเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย    ซึ่ง แรงจูงใจนั้นมีทั้งแรงจูงใจภายในและภายนอก   แรงจูง ใจภายในจะเกี่ยวกับเรื่องของ    จิตวิญญาณ ของแต่ละคน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด   ซึ่งไม่สามารถ หยั่งรู้ได้อย่างชัดเจน  แต่แรงจูงใจภายนอก    พอจะสามารถแยกแยะได้ว่า บุคคลใดมีความสนใจในเรื่องใด   ซึ่งผู้นำจะต้องศึกษาครูอาจารย์ในฐานะที่เป็นผู้ใต้ บังคับบัญชา   ว่าเขามีความต้องการสิ่งใดและตอบสนอง ความต้องการในเรื่องนั้น   เพราะการที่คนจะทำงานเต็ม ศักยภาพนั้นต้องมีแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ทำ    บาง คนต้องมีสิ่งของรางวัลมายั่วยุจึงจะเกิด   บางคนต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่ง   บาง คนต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ แต่บางคนต้องการลาภ ยศสรรเสริญ และได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไป  
ผู้นำจึงต้องวิเคราะห์แยกแยะบุคลากร  และใช้ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ  เพื่อ ผลักดันให้บุคคลทำงานอย่างเต็มกำลังสามารถ           
Ø                  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Chang Leadership )

           ผู้นำคุณภาพจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  โดย เฉพาะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่ความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่   ความคิดที่ออกนอกกรอบหรือกฏเกณฑ์เดิม   เพื่อ ประยุกต์งานให้เกิดความก้าวหน้า  อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  กล่าวว่า
" การแก้ปัญหาในเรื่องเดิม จะต้องใช้วิธีการใหมเท่านั้นจึงจะประสบผลสำเร็จ " ถ้าเรายังมัวย่ำอยู่กับปัญหาเดิม ๆ   โดยไม่เปลี่ยน แปลงวิธีการมีแต่จะสะสมปัญหาไปเรื่อย ๆ เหมือนดินพอกหางหมู   และในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง     การเปลี่ยนแปลงจึงต้องอาศัยผู้นำที่มีความ กล้าหาญและอาศัยความเสี่ยง   เพราะ ครูอาจารย์และคนที่อยู่รอบข้าง    ย่อมเกิดความกลัวในเรื่องการเปลี่ยนแปลง   บางคนกลัวเสียผลประโยชน์บางคนกลัวว่าจะทำให้การปฏิบัติงานเกิด ความยุ่งยากขึ้น บางคนกลัวผลกระทบกับหน้าที่การงานซึ่งผู้นำจะ ต้องวางแผนระยะยาว   เพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ลงไป    เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
          สุภาษิตจีนกล่าวว่า "เข้าถ้ำเสือ    จึงจะได้ลูกเสือ"  ผู้ นำจึงต้องอาศัยความเสี่ยงในการตัดสินใจต่อความเสี่ยงนั้นจะทำให้งานเกิดความ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น   เพราะการทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ แล้วได้ผลดี    ถือว่าเป็นงานชิ้นโบแดงที่ควรแก่ ความภูมิใจ     ดูตัวอย่างพระเจ้าตากสินที่ ให้แม่ทัพนายกองทุบหม้อข้าวแล้วปลุกใจให้ไพล่พลฮึกเหิมเพื่อตีเมืองจันทบุรี เพื่อจะไปกินข้าวในเมืองเป็นต้น    ซึ่งเป็นการใช้ หลักของการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เกิดชัยชนะเป็นต้น   ดังนั้นในปัจจุบันนี้การบริหารที่รอนโยบายหรือ " การทำงานแบบขุนพลอยพยักหรือนายว่าขี้ข้าพลอย "ควรหมดสมัยได้แล้ว   ผู้นำคุณภาพ (Quality Leadership) ควรมี ลักษณะเป็นผู้นำวิสัยทัศน์ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี    การบริหารยึดถือความจริงมากกว่าความ รู้สึก  มีความสามารถในการสื่อสารใช้แรงจูงใจในการบ ริหาร   รวมทั้งเป็นผู้นำใน การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนา   และที่สำคัญ ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นในการบริหาร    โดยเน้นผลงานเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปฏิรูปการศึกษา   ผู้นำคุณภาพจำเป็นต้องยึดลูกค้าเป็นสำคัญ    เพื่อ ตอบสนองความต้องการ  ความจำเป็น    ตลอด จนสร้างความประทับใจเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ    โดย เฉพาะผู้เรียนเป็นลูกค้าคนสำคัญ   ผู้นำคุณภาพจึงต้องมีเป้าหมายในการพัฒนา  โดย ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (Learner centred) โดยมีการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง    โดยใช้หลักการทางสถิติและข้อมูลในการดำเนินงานเพื่อให้เกิด คุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง    และสามารถทัดเทียมกับสากลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติฉบับปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น