Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

หลักการขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

หลักการขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น จะเห็นว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมา จดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมี ตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการจดทะเบียน
สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
 

กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ (www.dbd.go.th/edirectory) นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่อง หมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความ น่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนด เท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ (www.trustmarkthai.com)
 
การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้     -  ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)     - ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)            - บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน

คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ )‏
สำเนาบัตรประจำตัว  กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)
 
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์:
ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)‏
ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)‏
บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (e-Marketplace)‏
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข่าข่ายต้องจดทะเบียน

มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ
มีระบบการชําระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชําระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น
มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ)
มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็้นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ (ถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต)
เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค้าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download เพลง โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ ไม่ต้องจดทะเบียน

มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทําการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ …
การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
การประชาสัมพันธหรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือ บริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ
สถานที่จดทะเบียน
ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย็ต่อสํานักงานเขตต่าง ๆ และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ผู้ประกอบการที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ หรือ เมืองพัทยา แล้วแต่กรณี



ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ และนำเครื่องหมาย Registered ติดที่หน้าเว็บไซต์
Trustmark เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ เรียกสั้นๆว่า "Trustmark" นั้น เป็นเครื่องหมายรับรองซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้า/บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ว่า เว็บไซต์นั้น ได้ผ่านหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด และกรมฯ ให้การรับรองว่า เว็บไซต์นั้นเชื่อถือได้
ประโยชน์ที่ได้จาก Trustmark
แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ของท่าน มีความน่าเชื่อถือ มีแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจที่ดี ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว
เว็บไซต์ของท่าน มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
สร้างความแตกต่างและสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับเว็บไซต์ของท่าน
ขยายโอกาสในการสร้างตลาดใหม่ๆ ให้กับสินค้า/บริการของท่าน
 เป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ให้กับเว็บไซต์ของท่าน
เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้กับเว็บไซต์ของท่านโดยกรมฯจะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องหมายรับรองฯ ตลอดจนมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ได้รับเครื่องหมายรับรองฯ โดยจัดแบ่งตามประเภท หมวดหมู่สินค้า/บริการ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาผ่านเว็บไซต์กรมฯ ได้โดยสะดวก
คุณสมบัติผู้ขอ Trustmark
เป็นนิติบุคคล
จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
เป็นเจ้าของชื่อโดเมนนั้น
มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับการขอใช้เครื่องหมายรับรองฯ
หลักเกณฑ์ข้อบังคับการขอใช้เครื่องหมายรับรองฯ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 8 ข้อ ได้แก่
1. ความโปร่งใสของผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Operational Transparency)
        - เว็บไซต์ของท่านต้องมีข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็น เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ วิธีการติดต่อ ฯลฯ เพื่อแสดงความมีตัวตนของท่านและเพื่อให้ผู้บริโภค สามารถติดต่อหรือสอบถามได้
2. การตลาดและประชาสัมพันธ์ (Advertising and Marketing Practices)
    - การโฆษณา การเสนอซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ ในเว็บไซต์ต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี
    - จะต้องไม่กระทำการหลอกลวงหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้า/บริการ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีอื่นใดที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้า/บริการ
3. การให้ข้อมูลของสินค้าและบริการที่ชัดเจนและเพียงพอ (Adequate and Timely Information About Offers)‏
    - เว็บไซต์ของท่านจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องของ
         + ข้อมูลของสินค้า / บริการ
        + ราคาสินค้าหรือบริการ (หากมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภาษี ,ค่าบริการจัดส่ง ฯลฯ ต้องระบุให้ชัดเจน)
       
        + วิธีการและระยะเวลาในการชำระราคาค่าสินค้า/บริการ
        + ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น เงื่อนไขการรับประกันสินค้า เงื่อนไขการคืนหรือเปลี่ยนสินค้า ฯลฯ
4. การยืนยันการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าและบริการ (Acknowledgement of Order and Fulfillment)‏
    - เว็บไซต์ของท่านจะต้องมีระบบทบทวนและยืนยันการสั่งซื้อ และมีทางเลือกในการยกเลิกหรือยืนยันการทำธุรกรรม
    - เว็บไซต์ของท่านควรมีจัดเตรียมแบบฟอร์มการสั่งซื้อและวิธีการกรอกข้อมูลที่ชัดเจน และควรมีใบยืนยันการสั่งซื้อเพื่อให้บริโภคเข้าไปตรวจสอบหรือติดต่อได้    
    - การจัดส่งสินค้า/บริการจะต้องระบุวิธีการและระยะเวลาที่ชัดเจน และดำเนินการจัดส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
5. ระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรม (Transactional Security)‏
    - เว็บไซต์ของท่านต้องจัดให้มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในการทําธุรกรรมของผู้ซื้อหรือผู้ขาย โดยมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เหมาะสมกับข้อมูลที่มีการจัดเก็บและส่งผ่าน
6. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (Consumer Privacy)‏
    - เว็บไซต์ของท่าน จะต้องแสดงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy policy) ในที่ที่ผู้บริโภคสามารถค้นหาได้สะดวก

    - ดูตัวอย่าง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
7. ช่องทางในการติดต่อสื่อสารและรับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภค (Consumer Inquiries and Complaints)‏
    - เว็บไซต์ของท่าน ต้องจัดเตรียมช่องทางการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการตอบข้อสงสัย และมีกระบวนการในการจัดการข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น และจะ ต้องมีการตอบสนองข้อร้องเรียน หรือข้อสอบถาม ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียนหรือข้อสอบถาม


8. การคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ( Protection of Children)‏
    - กรณีเว็บไซต์ของท่านมีสินค้าหรือบริการอาจมีผลกระทบต่อเด็กหรือเยาวชนจะต้องจัดให้มีข้อความเตือนบนเว็บไซต์ เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนเช่น การห้ามจําหน่ายสุราและบุหรี่ ให้แก่เด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี เด็กและเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่จะซื้อสินค้าหรือบริการต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อน ห้ามเด็กและเยาวชนออกไปพบกับคนแปลกหน้าตามลําพังโดยไม่มีผู้ปกครองไปด้วย เป็นต้น
ขั้นตอนการสมัคร




ยื่นสมัครสมาชิก
โดยคลิ๊กที่เมนู สมัคร Trustmark > ยื่นสมัคร Trustmark


กรอกเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กำหนดโดเมนเนม แล้วกดปุ่มตกลง
ระบบจะยืนยัน Email ที่จะจัดส่ง Username และ Password โดยระบบจะจัดส่งไปยัง Email ที่ผู้ประกอบการได้ให้ไว้เมื่อ ตอนจดเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


นำ Username และ Password ที่ได้รับมาใช้ในการลงทะเบียน โดยคลิ๊กที่เมนู สมัคร Trustmark > ลงทะเบียน แล้วทำการ Login
กรอกแบบฟอร์มเพื่อใช้ในการพิจารณาหลักเกณฑ์ ในขั้นตอนที่ 1 ถึง 8 ให้ครบทุกหลักเกณฑ์
เมื่อกรอกข้อมูลหลักเกณฑ์ครบแล้วทางกรมฯ จะรีบดำเนินการโดยเร็วซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 21 วันทำการ ทั้งนี้ท่านสามารถทราบผลการสมัครขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ ได้ที่เมนู ผู้ประกอบการ > ตรวจสอบ / ปรับปรุงสถานะ / รับ Code Trustmark โดยใช้ Username และ Password ที่ท่านยื่นสมัครไว้ในครั้งแรก
กรณีผลการพิจารณาคือ ไม่ผ่าน ให้ทำการปรับปรุงการลงทะเบียนภายใน 30 วัน
กรณีผลการพิจารณาคือ ผ่าน ให้ใช้ Username และ Password ที่ท่านยื่นสมัครไว้ในครั้งแรกใช้ในการ Login ที่เมนู ผู้ประกอบการ > ตรวจสอบ / ปรับปรุงสถานะเพื่อรับ code trustmark ไปวางในเว็บไซต์ของตนเพื่อแสดงรูปเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ                                            
ข้อมูลจาก www.trustmarkthai.com



ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ และนำเครื่องหมาย Verified ติดที่หน้าเว็บไซต์
ขอบคุณ : คุณบุรินทร์ เกล็ดมณี www.ReadyPlanet.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น