Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

เทคนิคบริหารเวลาให้ทรงประสิทธิภาพ !!

"เวลามีค่ายิ่งกว่าทอง ทองใช่ว่าจะซื้อเวลาได้" เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่าของทุกคน ยิ่งคนที่รู้คุณค่าของเวลามากเท่าใด ย่อมสามารถเก็บเกี่ยวคุณประโยชน์จากการใช้เวลาให้มีคุณค่าได้มากเพียงนั้น


เทคนิคการบริหารเวลาจึง เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ต้องการเรียนรู้การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ อย่างสูง ทำให้สามารถดำเนินภาระกิจต่างๆได้อย่างราบรื่น ง่าย และมีเวลาเพียงพอที่จะบริหารจัดการสิ่งต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และยังมีเวลาส่วนตัวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ตามอัธยาศัย


ปัญหาที่ทำให้เกิดการสูญเสียเวลา
(ม.อึ้ง อรุณ,2537และ (Albert Stackmore อ้างถึงในชาญชัย อาจินสมาจาร, 2535)
มี หลายประการ ควรมีการประเมินผลตัวทำลายเวลาและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งปัญหาที่ทำให้สูญเสียเวลา ได้แก่

1.
ปัญหาที่เกิดจากขาดการวางแผน ว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ให้ชัดเจน การใช้เวลาอันยาวนานในการทำงานหรือ แก้ปัญหาใดๆ เป็นเหตุให้ผลตอบแทนของความขยันได้กลับมาลดน้อยลง แม้ว่าขยันแต่งานที่ได้ขาดประสิทธิภาพ
2.
ปัญหาที่เกิดจากการผลัดวันประกันพรุ่ง เช่นนอนตื่นสาย ขาดการเตรียมงานวันรุ่งขึ้น อ่านหนังสือพิมพ์ หรือคุยกับเพื่อน หรือดื่มน้ำชากาแฟก่อนทำงาน
3.
ปัญหาที่เกิดจากความวุ่นวาย ทำงานโดยไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ไม่ไว้วางใจผู้อื่นจึงขาดการมอบหมายงาน ทำงานหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน หรือการสื่อความหมายที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ความชักช้า ความไม่คงที่ ยุ่งเหยิง ระบบเอกสารที่ไม่ดี
4.
ปัญหาที่เกิดจากการเล่นมากเกินไป ได้แก่ การใช้เวลามากเกินไปแก่ผู้มาเยือน โทรศัพท์นานหรือบ่อยครั้งเกินไป หรือหลบไปซื้อสิ่งของ ดื่มน้ำชากาแฟ หรือทำอะไรที่ไร้สาระ
5.
ปัญหาซึ่งเกิดจากการมีส่วนเข้าร่วมมากเกินไป ได้แก่การเข้าร่วมในการตรวจสอบ ติดตามข้อปลีกย่อยมากเกินไป หรือใช้เวลายาวนานในการแก้ไขปัญหาแต่ละอย่างมากเกินไป
6.
ปัญหาซึ่งเกิดจากการทำงานบนกระดาษ เช่น ใช้เวลาในการอ่านหนังสือนานแต่จับประเด็นไม่ได้ บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ไร้ประโยชน์


การ บริหารเวลา เป็นการจัดการสิ่งต่างๆ ในเวลาที่มีอยู่ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ใช้เวลาน้อยที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(จุฬาภรณ์ โสตะ และอมรรัตน์ ภูกาบขาว ,2543.)


ความสำคัญของการบริหารเวลา

1.
มี เวลาเหลือมากขึ้น สำหรับทำกิจกรรมที่น่าพอใจหรือเพื่อหย่อนใจ
2.
ทำ ให้พบความสำเร็จที่ต้องการได้มากขึ้นในทุกๆ ด้าน
3.
ลด ความเครียดและวิตกกังวล
4.
รู้สึกผิดน้อยลง


หัวใจสำคัญของการบริหารเวลา

1.
เรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญ โดยการเอางานทั้งหลาย มาจัดลำดับความสำคัญแล้วลงมือทำงานที่สำคัญที่สุด
2.
เรียนรู้ที่จะมอบหมายงาน โดยพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมทำงานแทนในกิจกรรมต่างๆ และให้ความไว้วางใจกับงานที่เขาทำได้


หลักการเบื้องต้นในการบริหารเวลา
(บุญ ชัย ปัญจรัตนากร ,2540)

การบริหารเวลาที่ดี นอกจากสามารถทำงานของตนเองให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีแล้ว ยังสามารถทำงานเพื่อผู้อื่นได้ด้วยและยังได้รับความสุขจากการมีเวลาว่างของ ตน

1.
การเริ่มต้นที่ดีมีความสำเร็จ เกินกว่าครึ่ง ถ้าการเริ่มต้นของวันใหม่มีความสดชื่นแจ่มใสจึงควรค้นหาสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ สักอย่าง
2.
พิจารณาให้แน่นอน ว่าอะไรสำคัญที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นปล้นเวลา หรือปล้นสิ่งสำคัญๆในชีวิตไป และจงกล้าที่จะตอบปฏิเสธ เพียงกล่าวว่า "ไม่" สั้นๆ และง่ายๆ
3.
ตั้งเป้า หมาย การมีเป้าหมายอาจมีได้หลายเป้าหมาย ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน การเขียนเป้าหมายเหล่านั้นออกมาจะช่วยให้จุดประสงค์ของมันชัดเจนขึ้น และช่วยกำหนดทิศทางการใช้เวลาในแต่ละสัปดาห์ เดือน ปี ทศวรรษ และชั่วชีวิตได้
4.
กำหนดเกณฑ์ ในการใช้เวลาในการทำกิจกรรมแต่ละอย่าง เช่น การโทรศัพท์ การคุยกับแขก การรับประทานอาหาร ตลอดจนเรื่องใช้จ่ายต่างๆ ควรกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้เวลาเท่าไร
5.
วางแผนประจำวัน ควรเขียนกิจกรรมต่างๆออกมาอย่างชัดเจน แล้ววางแผนการจัดทำเพื่อให้บรรลุผล โดยจัดลำดับความสำคัญ
6.
ใช้ ชีวิตอย่างสมดุล ทั้งในการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ มีเวลาหย่อนใจพอควร เวลาให้กับตนเอง และ การพัฒนาจิตวิญญาณ ตลอดจนเรื่องที่สนใจ
7.
จัด ลำดับความสำคัญของงานให้ชัดเจน โดยพิจารณาว่างานใดเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการโดยด่วน งานใดที่สามารถทำภายหลังได้ ไม่ต้องใช้สมองและเวลามากนัก ก็ทำภายหลังได้
8.
ลงมือทำงานที่ยากที่สุด เมื่อทำงานที่ยากสำเร็จจะช่วยให้เกิดความโล่งใจ และช่วยให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน
9.
มอบหมายงาน โดยพิจารณาว่าใครที่พอจะช่วยได้ เพื่อช่วยให้มีเวลาเพิ่มขึ้น
10.
ทำงานให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน อย่าทำงานด้วยความยืดยาด
11.
ออก กำลังกาย เพื่อให้ร่างกายกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ประหยัดที่สุดและง่ายที่สุด
12.
ตรวจสอบสิ่งที่ทำ ว่ามีความสำคัญหรือจำเป็นเพียงใดหรือเป็นเพียงความเคยชิน สำรวจดูว่าถ้าตัดออกจะช่วยให้มีเวลามากยิ่งขึ้นหรือไม่
13.
วางแผนฉลองความสำเร็จ เช่น ถ้างานชิ้นนี้เสร็จแล้วควรจะให้อะไรเป็นรางวัลให้สำหรับตัวเอง ซึ่งอาจเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจตัวเอง
14.
ใช้ความจำช่วยประหยัดเวลาในการทำงานสูง จงควรฝึกการจดจำสิ่งต่างๆ


เทคนิคการบริหารเวลา

(บุญชัย ปัญจรัตนากร ,2540 และม.อึ้งอรุณ, 2537)

*
ไปถึงที่ทำงานแต่เช้า การไปถึงที่ทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ จะได้เวลาซึ่งปราศจากการขัดจังหวะ จากสิ่งใดๆ สามารถใช้เวลานั้นเพื่อใช้เวลาคิดในการวางแผน หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้
*
จัดชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ หาชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ที่ปราศจากการบกวน โดยงดรับโทรศัพท์ ปิดห้องทำงาน เพื่อได้ทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
*
เขียนสิ่งที่ต้องทำในบันทึก พร้อมจัดสรรเวลาและจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมไปได้ด้วย พร้อมกับระบุวันเวลา ในลงบันทึก เพื่อจัดการงานแต่ละชิ้นออกไป
*
จัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ จัดโต๊ะให้เป็นระเบียบทุกเย็น ถ้าโต๊ะสะอาดจะช่วยให้การทำงานในตอนเช้าง่ายขึ้น
*
ลดจำนวนครั้งและเวลาในการประชุม ต้องคำนึงถึงเสมอถึงผลที่ได้จากการประชุมอย่างถี่ถ้วน คุ้มค่ากับเวลา โดยมีการกำหนดวาระประชุม รักษาเวลาการประชุม และวาระการประชุมอย่างเคร่งครัด
*
แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ โดยแปรรูปงานหรือโครงการที่สำคัญให้เป็นกิจกรรมย่อยๆ ที่สามารถจัดการได้สะดวก และใช้เวลาไม่นานนักในแต่ละกิจกรรม จะทำงานให้สำเร็จไปได้ในแต่ละช่วง เพราะเป็นการยากมากที่จะหาเวลาติดต่อกันในช่วงยาวๆ
*
เริ่มลงมือทำทันที อย่ามัวรีรอในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างงว่าจะเริ่มต้นตรงไหนก่อนการรีบตัดสินใจทำทันที แล้วค่อยเพิ่มเติมทีหลัง จะให้งานเสร็จเร็วขึ้น
*
พิจารณาใช้เทคโนโลยีช่วย การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นเป็นหลายเท่า เช่นโทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ บัตรเครดิต
*
เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ใกล้มือ เช่นโทรศัพท์ คลิบหนีบกระดาษ สมุดโน้ต กรรไกร ปากกา ยางลบ เทปใส ตะกร้าขยะ ซองจดหมาย ฯลฯ
*
ใช้หูแทนตาเพื่อประหยัด เวลา เช่นฟังวิทยุแทนดูโทรทัศน์
*
ใช้เวลารอคอยให้เกิดประโยชน์ ถ้าต้องรอคอยอะไรซักอย่างหนึ่ง ต้องหากิจกรรมสำรองที่ง่ายๆ ไปด้วย จะได้ไม่มีความกระวนกระวายใจ ในการรอคอย และยังได้งานเพิ่มขึ้นอีก
*
ประหยัดเวลาในการจับจ่าย โดยการซื้อของเป็นจำนวนมาก ไม่ตองไปซื้อบ่อย ซื้อของเวลาที่คนไม่มาก วานคนอื่นให้คนทำงานแทน ตัดสินใจโดยไม่ลังเลและผนวกการจ่ายตลาดกับธุระประจำเข้าด้วยกันเพื่อประหยัด เวลา
*
การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ ดี ช่วยให้ประหยัดเวลาได้ ทั้งในด้านการช่วยเหลือเกื้อกูล และ การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาด้วยมิตรภาพที่ดี การสื่อสารที่ชัดเจน นุ่มนวล และช่วยให้ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือด้วยดี และประหยัดเวลาทำงาน
*
ใช้เวลาปลีกย่อยให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลา 10 นาที หรือ 15 นาที ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องคอยอะไรสักอย่างใช้ให้คุ้มค่า อย่างทิ้งไป
*
ใช้เวลาของแต่ละวันให้เต็มที่ สมเหตุสมผล มีประโยชน์ เช่น ฟังข่าววิทยุ หรือฝึกฟังภาษาอังกฤษขณะขับรถไปทำงาน วางแผนการใช้เวลาแต่ละช่วงให้เหมาะสม หรือทำงานเพิ่มนอกเหนือจากที่จัดระเบียบไว้ในแต่ละวันแล้วจะได้งานอื่นๆ เพิ่มอีกด้วย
*
ทำงานด้วยความ สบายใจ ความสุขและความสนุกสนานเป็นการเสริมสร้างพลังจิตใจให้ทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ จิตใจที่สบายเป็นทุนของประสิทธิภาพการทำงาน ควรเพาะเลี้ยงให้มีความสนุกสนานกับการทำงานและเอาใจใส่
*
ในการทำงาน ควรกำหนดเวลาในการพักผ่อนไปด้วย หรือเปลี่ยนงานซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกัน จะช่วยให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
*
ทำงานสองสิ่งในเวลาเดียวกัน ถึงแม้โบราณจะสอนว่า ทำงานสิ่งใด ก็ให้ตั้งใจทำงานในสิ่งนั้น มิเช่นนั้นจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพต่ำลง แต่การตั้งใจทำงานนับเป็นสิ่งที่ดี แต่เราสามารถตั้งใจทำงานควบคู่กันได้
*
การเพิ่มพูนความรู้และข้อมูลข่าวสารต่างๆ อ่านหนังสือให้ได้ผลโดยเพิ่มเวลาอ่านหนังสือให้มากขึ้น อ่านทุกวันและสม่ำเสมอ เลือกหนังสือที่จะอ่านด้วยความระมัดระวัง มีประโยชน์ และมีคุณค่า ตลอดจน เพิ่มความเร็วของการอ่าน


ปรัชญาการบริหารเวลา
(Albert Stackmore อ้างถึงในชาญชัย อาจินสมาจาร, 2535)

"ทำงานให้ฉลาดขึ้น ไม่ใช่ให้หนักขึ้น"

เทคนิคบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ

เทคนิคบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ

บ่อยครั้งรู้สึกมีเวลาไม่พอทำงานเสร็จไม่ทันเวลาบ่อยๆต้องทำงานรีบเร่งแข่ง กับเวลาอยู่เป็นประจำหรือรู้สึกว่างานมาก จนไม่มีเวลาสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจไม่มีเวลาให้กับครอบครัวล้วนเป็นสาเหตุ ให้เกิดความเครียดนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องหาวิธีบริหารเวลา เพื่อจัดเวลาการทำงานให้มี ประสิทธิภาพขึ้น และเพื่อจะสามารถทำงานได้เสร็จทันเวลาอย่างที่ไม่ต้องรีบเร่งมากนัก รวมทั้งยังมีเวลาเหลือพอที่จะพักผ่อนหย่อนใจส่วนตัว มีเวลาให้กับเพื่อนฝูงและครอบครัวอีกด้วย

เห็นทีจะคล้อยตามคำคมของเบนจามิน แฟลงคิน นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลก ที่กล่าวเอาไว้ว่า “ เวลาคือเงิน ” ถึงใครจะเถียงว่าเงินซื้อควาสุขไม่ได้ แต่เงินก็เป็นปัจจัยหลักที่เอื้อให้เราอยู่ได้อย่างมี ความสุขเช่นเดียวกับเวลาถ้าเราใช้ไม่เป็น ก็เหมือนกับทำของมีค่าหล่นหาย บางคนคิดว่าเก็บไว้อย่างดีแล้ว ก็ยังถูกขโมยเวลาไปจนได้ มีบางคนพูดไว้อย่างน่าคิดว่า เวลาคือของขวัญ เพราะเหตุนี้จึงเรียกปัจจุบันว่า “ Present ” ทุกคนรู้ดีว่าเวลามีค่าแค่ไหน แต่ก็ยังเผลอทำหายอยู่บ่อยๆที่ว่า” โอ๊ย ไม่มีเวลาหรอกงานเยอะ จะตาย…ไม่ว่างหรอก ไม่มีเวลา ต้องเคลียร์งานก่อน ” คนส่วนมากมักรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเวลา แม้จริงแล้วเคล็ดลับอยู่ที่การบริหารเวลานั่นเอง ฟังดูเหมือนยาก แต่ถ้ารู้จักบริหารเวลาให้ดีก็สามารถที่จะหาเวลา เพิ่มได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างและเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง คุณจะมีเวลาเพิ่มขึ้น ลองเริ่มด้วย

1. จดบันทึกการใช้เวลาในแต่ละวัน การบริหารเวลาควรเริ่มต้นจากการสำรวจตัวเองก่อนว่าในแต่ละวันนั้นได้ใช้เวลา ในการทำกิจกรรมอะไรบ้าง โดยการจดบันทึกเวลาและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันติดต่อกันประมาณ 3 วัน แล้วลองคำนวณดูว่าได้ใช้เวลาไปกี่ ชั่วโมงกับการนอน การกิน การทำงาน การเดินทาง การออกกำลังกาย การอยู่คนเดียวเงียบๆ การใช้เวลาสังสรรค์กับเพื่อนฝูง และการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ลองพิจารณาดูว่าเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมเหล่านี้สมดุลแล้วหรือยังได้เสีย เวลาไปกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมากน้อย แค่ไหน และบ่อยแค่ไหนที่คิดจะทำอะไรแล้วก็รีรอผัดผ่อนไปทำอย่างอื่นก่อนงานที่ควรจะ เสร็จจึงไม่เสร็จเสียที ควรจะต้องปรับปรุงเวลาในเรื่องใดให้มากขึ้นหรือน้อยลง

2. วางแผนงานล่วงหน้า ในแต่ละวัน จะมีเวลาสำหรับการทำงานประมาณ 6-8 ชั่วโมง จึงควรตั้งใจทำงานให้เต็มที่ โดยวางแผนการทำงานล่วงหน้าว่าในวันนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง แล้วพรุ่งนี้จะต้องทำอะไรจัดลำดับความสำคัญของงาน เลือกทำงานที่สำคัญและเร่งด่วนก่อน ทำงานที่คิดว่ายากก่อนในช่วงเช้าเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายยังสดชื่น รู้จักแบ่งงานชิ้นใหญ่ให้เป็นชิ้นย่อยๆถ้าเป็นหัวหน้างานควรแบ่งงานให้ลูก น้องหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับไปทำอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อความยุติธรรม และอย่างหวงงาน อย่าคิดว่าคนอื่นจะทำไม่ได้ ค่อยๆ สอนและค่อยๆ ฝึก เขาย่อมทำได้ในวันหนึ่งและเราก็จะสบายขึ้นด้วย เมื่อทำงานติดต่อกันประมาณ 2 ชั่วโมงควรพักสมองโดยการเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง และควรพยายามทำงานให้เสร็จที่ที่ทำงาน ไม่จำเป็นอย่าเอางานกลับไปทำที่บ้านเพราะจะรบกวนเวลาสำหรับตนเองและครอบครัว

3. เพิ่มเวลา ถ้ารู้สึกว่าเวลามีไม่พอ ควรหาเวลามาเพิ่ม เช่น ตื่นให้เช้าขึ้น หรือย้ายมาพักใกล้ที่ทำงานเพื่อประหยัดเวลาในการเดินทาง เป็นต้น ลองสังเกตผู้ร่วมงานดูบ้างว่าแต่ละคนมีวิธีการบริหารเวลาอย่างไร ลองเรียนรู้จากผู้ที่บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเครียดน้อย ลงก็ได้

4. ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ว่าคุณจะทำอะไร เพื่ออะไร ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนที่ประสบความสำเร็จ คือการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน จดไว้กันลืม แล้วลงมือทำทันที จำไว้ว่าถ้าจะยิงปืนให้เข้าเป้าก็จำเป็นต้องเล็งให้ดีซะก่อน เมื่อโฟกัสถูกจุดแล้ว ก็ต้องรู้ว่าทำอะไรบ้างจึงจะไปถึง เคล็ดลับการอยู่ที่การมี “แผน” ที่ดีอยู่ กับตัว ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ว่าคุณต้องทำอะไรบ้างตั้งแต่วันนี้ สัปดาห์นี้ จนถึงตลอดทั้งปีนี้ แผนที่ดีคือต้องรู้ปัญหาของงานแต่เนิ่นๆเพื่อที่จะหาทางแก้ได้ทันท่วงที

5. สร้าง To-Do-List เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่งเรียงลำดับก่อนหลังของงานที่จะทำเอาไว้ก่อน แล้วเชื่อและบังคับตัวเองให้ทำตามนั้น เป็นการไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เสียเวลาเที่ยวเล่นไปกับเรื่องหยุมหยิมทั้งหลายแหล่ ว่ากันว่า คนที่ประสบความสำเร็จน่ะเขาโน๊ตไว้ทั้งนั้น ว่าอะไรที่ควรทำก่อนหลัง แต่ถ้ามีเรื่องด่วนแทรกเข้ามา ก็สามารถปรับให้ยืดหยุ่นได้

6. มีแฟ้มงาน อย่าปล่อยให้ความคิดกระจัดกระจาย รีบเก็บๆๆๆเข้ามาใส่ในแฟ้มซะ เอกสารก็เหมือนกันถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง ก็จับมันมาเก็บใส่แฟ้มงานเดียวกัน เพื่อไม่ให้ความคิดของคุณเตลิดเปิดเปิงไปไหนต่อไหน โต๊ะรกๆไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่ามาอ้างว่าโต๊ะรกๆทำให้ ไอเดียคุณบรรเจิด มุกนี้ใช้ได้ก็ต่อเมื่อคุณมีความจำดีเยี่ยมเท่านั้น ว่ากระดาษและสิ่งของที่เกลื่อนอยู่บนโต๊ะน่ะ มีเรื่องอะไร อยู่ตรงไหนบ้าง แต่ถ้าคุณเป็นคนธรรมดาจัดของให้เข้าที่เข้าทางจะดีกว่านะ

7. ใช้โทรศัพท์ให้เป็น เสียงกริ๊งทุกสิบห้านาทีติดโผสาเหตุอันดับต้นๆ ที่มารบกวนเวลาทำงานของคุณ อย่าตกเป็นโรคโฟนลิซึ่ม ด้วยการเม้าท์สนุกปากในเวลางาน เพราะนอกจากจะขโมยเวลาไปจากคุณแล้ว มันยังทำให้คุณดูไม่ดีอีกด้วย ธนาคารและโรงแรมใหญ่ๆในต่างประเทศเริ่มขอความร่วมมือให้พนักงานหน้า เคาน์เตอร์งดใช้โทรศัพท์มือถือขณะปฏิบัติงาน เพราะเกรงว่าลูกค้าจะรู้สึกไม่ประทับใจเมื่อเห็นพนักงานรับโทรศัพท์มือถือ อยู่บ่อยๆจนเสียงานและรับรองลูกค้าได้ไม่เต็มที่

8. ทุกคนมี “ เวลาของตัวเอง ” สังเกตให้ดีว่าช่วงเวลาใดที่สมองคุณรู้สึกปลอดโปร่ง ไอเดียกระฉูดถ้าคุณถูกชะตากับเวลาเช้าตรู่ ก็รีบเรียงลำดับความคิด ทำ list สิ่งที่จะทำในวันนั้น ก่อนที่เมฆดำจะเลื่อนมาบดบังความคิดเจ๋งๆของคุณ

9. มีความรับผิดชอบ บริหารเวลาต้องเริ่มจากการจัดการตัวเองซะก่อน ก็จะมีประโยชน์อะไรล่ะ ถ้าทำ list ขึ้นมา แล้วทำตามนั้นไม่ได้ จะบอกให้ก็ได้ว่าสาเหตุหลักของความล้มเหลว เกิดจากโรคความรับผิดชอบบกพร่องของคนเรานี่แหละ ไม่มียารักษาแต่หายได้ด้วยวินัยในตัวคุณเอง

คุณลองใช้เวลาไม่กี่นาทีอ่านเคล็ดบริหารเวลาเหล่านี้ ใช้เวลาอีกนิดหน่อยลองลงมือทำดู แล้วคุณจะค้นพบเวลาอีกหลายชั่วโมงที่หายไป ทีนี้ไม่ว่าคุณจะงานยุ่งแค่ไหน ก็จัดการมันได้ไม่ยากด้วยสองมือของคุณเอง เวลาเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของคุณ ที่สามารถนำไปแลกเป็นอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะจัดการกับมันได้ดีแค่ไหน…

การจัดตารางเวลา

จัดตารางเวลาทำอย่างไรดี

เอาละ แล้วถ้าจะจัดตารางเวลาอ่านหนังสือ จะทำยังไงดี พี่ขอว่าเป็นข้อๆ เลยดีกว่าครับ
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
เวลา ที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะครับ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครับ วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบนะครับ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำ
ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่พี่เคยเขียนไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะครับ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้น้องๆ “ทำอะไร ทำจริง” แล้วกันนะครับ ทำให้ได้จริงๆ
4. ตรวจสอบผลงาน
ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ พี่ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ

อยากจะบอกว่าช่วงนี้ยังมีเวลาเพียงพอสำหรับ การเริ่มต้นที่ดี ยังไม่สายเกินไปหากคิดจะเริ่มอย่างจริงจัง อย่าอ่านเพียงแค่ได้เปิดหนังสือ อย่าโกหกตัวเองว่าได้อ่านแล้ว อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลอกคนอื่น ความรู้ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ หลอกคนอื่นอาจหลอกได้ หลอกตัวเองไม่ได้แน่นอน คนที่รู้จักเรามากที่สุดก็คือ ตัวเราเองนี่แหละ ตั้งใจทำ ทำเพื่ออนาคตของตัวเองนะครับ ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จครับ

เคล็ดลับการพัฒนาสมอง

เคล็ดลับการพัฒนาสมอง

1. จิบน้ำบ่อย ๆ สมองประกอบด้วยน้ำ 85 %
เชลล์ สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2. กินไขมันดี
คน ไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
หลัง จากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4. ใส่ความตั้งใจในทุกๆสิ่ง
เหมือน การโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็น เสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ
ทุก ครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไป เรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
สิ่ง ใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน
ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal
ฝึก เขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดีขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึกๆ
สมอง ใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมองควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่สามารถหายใจเอาออกชิ เจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %
* การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดี ตามที่คุณวนิษา เรซ กล่าวว่า
"คนทั่วไปมักมองว่าคนที่เป็น อัจฉริยะมักจะหมกมุ่นอยู่กับตำรากองโต ใส่แว่นหนาเตอะและไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมักเกิดกับคนในวงแคบ เช่น คนที่เก่งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์หรือดนตรี แต่ความจริงแล้ว อัจฉริยภาพมีมากกว่านั้น ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา เสนอว่ามนุษย์มีอัจฉริยภาพอย่างน้อย 8 ด้าน เพียงแต่บางด้านอาจเด่นกว่าด้านอื่นและขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก"
อัจฉริยภาพ 8 ด้านที่ว่า ได้แก่
- อัจฉริยภาพด้านภาษาและการสื่อสาร
- อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
- อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์
- อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
- อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจในตนเอง
- อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์
- อัจฉริยภาพด้านธรรมชาติ
- อัจฉริยภาพด้านดนตรี
สมองของคนเรามีน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 2 ของน้ำหนักร่างกายโดยสมองใช้ออกซิเจนร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของการใช้ออกซิเจนในร่างกายทั้งหมด

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้หลายคนอาจแปลกใจ และลบความเชื่อหรือความรู้เก่าเกี่ยวกับสมองไปได้เลย เพราะอัจฉริยภาพของคนไม่ได้อยู่ที่เซลล์สมอง ไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักสมองและไม่ได้อยู่ที่รอยหยักของสมอง แต่อยู่ที่เส้นใยสมองและไมยีลินหรือไขมันสมองมาห่อหุ้มเนื่องจากเซลล์สมอง ตายไปทุกวัน แต่จะมีการสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยการทำซ้ำๆ กันดังนั้น อัจฉริยภาพสร้างได้โดยการทำซ้ำๆ กันนั่นเอง เช่น หากเล่นเปียโนไม่เป็น แต่ถ้าฝึกทุกวันเป็นเวลา 2 ปี ก็จะเป็นคนใหม่ที่เป็นอัจฉริยภาพด้านเปียโนได้เช่นกัน

+ “อย่าหวังรวยลัดจากตลาดหุ้น”

ปี 2546 คงจะต้องถูกจารึกว่าเป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีที่สุดปีหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นเพราะดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 100% จากดัชนีประมาณ 356 จุดเป็นประมาณ 772 จุดในวันสิ้นปี

นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ บางคนกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จากเงินที่นำมาลงทุนในหุ้น บางคนกำไรเพียงหลักสิบเปอร์เซ็นต์ ความดีใจและความภาคภูมิใจของนักลงทุนก็ลดหลั่นกันไปตามผลกำไรที่ได้รับเช่น เดียวกับความมั่นใจที่เกิดขึ้นจากการเล่นหุ้น

หลายๆ คนอาจจะเริ่มฝันว่าได้พบหนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างง่ายดายและรวดเร็ว บางคนเริ่มคิดถึงวันที่ตนเองจะมีอิสรภาพทางการเงินในไม่ช้าทั้งๆ ที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

สิ่งที่คนจำนวนมากในตลาดหุ้นคิดและเชื่อกันในขณะนี้ก็คือหุ้นเป็น ทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และถ้าทำโพลถามนักลงทุนว่าเขาคิดว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเท่าไรในระยะยาว คำตอบคงเป็น 30 – 40% ต่อปีขึ้นไป โดยเฉพาะในปี 2547 นั้น หุ้นคงจะวิ่งกระฉูดไม่แพ้ปี 2546 เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เอื้ออำนวยต่อตลาดหุ้นก็ยังคงอยู่ และน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจที่เขาบอกกันว่าจะดี ยิ่งขึ้นไปอีก

แต่ถ้าถามว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นกี่คนที่ร่ำรวย หรือมีอิสระทางการเงินแล้วจากการลงทุนในตลาดหุ้น คำตอบก็คือน้อยมาก แม้ว่าจะไม่มีใครทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่รวยจากการลงทุนหรือเล่นหุ้นจริงๆ นั้นมีไม่เกิน 1 ใน 100 คนที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุน ผมคิดว่าคงมีพอสมควรหลังจากที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปีสอง ปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือไม่ต่ำกว่า 70 – 80% ของนักลงทุนนั้น ผมเชื่อว่ายังไม่ได้กำไรจากหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ ยกเว้นปี 2546 ที่ได้กำไรชดเชยมาบ้าง

เพราะข้อเท็จของหุ้นก็คือ ในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 10% เท่านั้น โดยเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของดัชนีประมาณ 7 – 8% และผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 2 – 3% ต่อปี และข้อมูลนี้ก็บังเอิญใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐที่ให้ผลตอบ แทนประมาณ 10 – 11% ต่อปี โดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 50 – 60 ปีขึ้นไป

ข้อเท็จจริงต่อมาของตลาดหุ้นก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนมีการขึ้น ลงผันผวนไปเรื่อยๆ แม้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปีโดย ที่มีน้อยครั้งมากที่เศรษฐกิจจะติดลบและเกิดวิกฤติ นานๆครั้งดัชนีตลาดก็จะตกต่ำลงอย่างหนักเป็นเวลา 2 – 3 ปี เช่นเดียวกับที่บางครั้งดัชนีก็ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงเป็นภาวะกระทิง เปลี่ยวอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ข้อสรุปที่ชัดเจนก็คือ ในระยะยาวตลาดไม่สามารถเติบโตเกิน 10 – 15% ต่อปี โดยเฉลี่ยได้

ด้วยเหตุดังกล่าว นักลงทุนที่คิดว่าตนเองจะสามารถลงทุนทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ปีละ 30 – 40% หรือบาง คนคิดว่าจะสามารถกำไรเป็นเท่าตัวในปีเดียวจึงเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีมากเกิน ไปหรือไม่ก็คงประมาณการฝีมือการลงทุนของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งโอกาสที่จะไม่เป็นเช่นนั้นคงมีอยู่สูง ความผิดหวังจะตามมา และเมื่อถึงเวลานั้น ความคิดและภาพพจน์เกี่ยวกับตลาดหุ้นก็จะเปลี่ยนไป คนจะเลิกคิดว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งที่จะสามารถสร้างความมั่งคั่งที่รวด เร็วได้ และคนจำนวนมากก็จะออกจากตลาดหลักทรัพย์กลับไป “ทำมาหากิน” ตามเดิม

นอกจากผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้สูงลิ่วอย่างที่หลายคนคิดแล้ว การจัดสรรเงินมาลงทุนในหุ้นสำหรับคนส่วนมากก็มักจะเป็นจำนวนน้อยเมื่อเปรียบ เทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงลงทุนในหุ้นไม่เกิน 20 – 30% ของเม็ดเงินที่มี เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากำไรจากหุ้นจะเป็น 100% ในปีใดปีหนึ่ง แต่ถ้าเงินส่วนใหญ่อีก 70 – 80% กลับฝากอยู่ในธนาคารได้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ผลตอบแทนรวมก็จะได้เพียงประมาณ 21 – 31% เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้ใครรวยได้อย่างรวดเร็ว

ข้อสรุปของผมก็คือ เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะร่ำ รวยจากตลาดหุ้นแม้ว่าในช่วงนี้หลายๆ คนจะคิดว่าเป็นไปได้ไม่ยาก คนมักจะเอาสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้มาเป็นฐานในการมองไปข้างหน้า สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงปีหรือสองปีมักจะมีอิทธิพลมากกว่าประวัติศาสตร์ เกือบ 30 ปีที่ผ่านมาของไทยและประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นนับเป็น 100 ปีของตลาดหุ้นที่เจริญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา

Value Investor ที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวย และเป็นอิสระทางการเงินจากตลาดหุ้นได้นั้น ผมคิดว่าจะต้องมองตลาดหุ้นด้วยความเป็นจริง คาดหวังผลตอบแทนปีละไม่เกิน 15% โดยเฉลี่ยจากการลงทุนไม่ว่าภาวะแวดล้อมจะสดใสเพียงใด ไม่ควรลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไรสูงแต่ควรซื้อหุ้นที่มีความปลอดภัยมากด้วยเม็ด เงินในสัดส่วนที่สูง นั่นคืออย่าฝากเงินในธนาคารซึ่งให้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปีมากนัก และสุดท้ายซึ่งหนีไม่พ้นก็คือจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นยาวนานไม่ออกไปไหนถ้าไม่ จำเป็นจริง ๆ ไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร

การลงทุนให้ประสบความสำเร็จจริง ๆ นั้น ไม่มีทางลัด และมันต้องการเวลา วอ เร็น บัฟเฟตต์เคยพูดว่าคุณไม่สามารถผลิตเด็กภายใน 1 เดือนโดยใช้ผู้ชาย 9 คนได้ เช่นเดียวกันการลงทุนนั้นอย่าหวังรวยเร็ว ควรหวังรวยช้าแต่แน่นอนจะดีกว่า

“อย่าหวังรวยลัดจากตลาดหุ้น”

ที่มา : http://www.sarut-homesite.net