Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

เกล็ดความรู้สำหรับนักขาย

เกล็ดความรู้สำหรับนักขาย

ปัญหาอย่างหนึ่งที่นักขายพบเจอเป็นประจำคือ เวลาเข้าพบลูกค้า หลังจากการนำเสนอ ลูกค้าจะบอกว่าขอคิดดูก่อน และเงียบหายไป แม้ว่าพนักงานขายจะพูดโน้มน้าวหลายครั้ง แต่มักไม่ค่อยสำเร็จ เมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้งเข้าก็รู้สึกหมดกำลังใจในงานขาย ยิ่งทำยอดขายไม่ได้ก็รู้สึกกดดันไปกันใหญ่ วิธีโน้มน้าวให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าเร็วขึ้น มาแนะนำดังนี้

การที่ลูกค้า “ขอคิดดูก่อน” นั้น หากมองว่าเป็นการปฏิเสธอย่างนุ่มนวลก็ยังไม่ถูกทั้งหมด เพราะนักขายยังไม่หมดความหวังเสียทีเดียว เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าเมื่อไร ลูกค้าจึงจะตัดสินใจได้ ก็ต้องกลับมาพิจารณาดูว่าในการนำเสนอขายครั้งนี้ มีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
  • มุ่งเน้นการปิดการขายมากเกินไป
  • การรวบรัดอาจทำได้ ถ้าลูกค้ามีใจโอนเอียงมาที่สินค้าเรามาก แต่อาจไม่ได้ผลในทุกกรณี เพราะบางครั้งลูกค้าอาจมี คำถามคาใจด้วยซ้ำว่าทำไมนักขายถึงเร่งมากที่จะปิดการขาย ภาพจึงออกมาเป็นลบ นักขายจึงต้องใจเย็นลงเล็กน้อย นำเอาผลประโยชน์และความรู้สึก ของลูกค้าเป็นที่ตั้ง โดยมองผลของการขายเป็นการสร้างฐานลูกค้าระยะยาว ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้สนับสนุนนักขายในที่สุด มากกว่าเพียงปิดการขาย เพื่อได้ออร์เดอร์เท่านั้น
  • ไม่ศึกษาความต้องการของลูกค้าเสียก่อน
  • นักขายจำนวนไม่น้อยที่ชอบบอกราคา หรือแสดงสิ่งซึ่งตนเองมีอยู่ให้ลูกค้าได้ทราบ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับลูกค้า เลยว่า มีความต้องการอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร นำไปใช้อย่างไร ก่อนการนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ที่นักขายเตรียมตัวมาให้ลูกค้า ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งยอดขาย และที่สำคัญคือสูญเสียฐานลูกค้า ยิ่งถ้าลูกค้าหันไปชอบสินค้าของคู่แข่งเสียแล้ว ลูกค้ามักไม่กลับมาใช้สินค้าของเราอีก หรือเรียกได้ว่ากลับมาก็ยาก ถึงแม้เราจะนำเสนอภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่า
  • ถามคำถามที่ลูกค้าไม่อยากตอบ
  • นักขายที่ไม่ประสบความสำเร็จอาจเกิดจากการตั้งคำถามกับลูกค้า คำถามที่สร้างความอึดอัด และลำบากใจ หรือเป็นคำถาม ที่จู่โจมลูกค้ามากเกินไป ทำให้ลูกค้าเกิดความระแวง ไม่เชื่อมั่นในตัวคุณ จึงไม่ตัดสินใจใช้สินค้าหรือบริการของคุณ

ด้วยเหตุนี้ การสร้างประเด็นคำถามเป็นอีกประเด็นที่นักขายต้องผึกหัดและนำมาใช้ เข้าใจลักษณะคำถามที่ทำให้ลูกค้าอยากเปิดเผย ซึ่งสามารถสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้
  1. ไม่ศึกษาความต้องการของลูกค้าเสียก่อน การถามภาพรวม (Overview Question) แสดงถึงความสนใจในลูกค้า เป็นการลดแรงกดดันที่มีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
  2. ถามเกี่ยวกับเรื่องของแนวโน้มการตัดสินใจ (Trend) ทำให้มีความเข้าใจถึงปริมาณการใช้และช่วงเวลาที่จะสั่งซื้อ
  3. ถามถึงผู้ที่มีอิทธพลในการตัดสินใจซื้อ (Influencing Question) เป็นคำถามที่จะพยายามค้นหาว่าผู้ใดหรือกระบวนการใดที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อ การมีอิทธิพลบางครั้งอาจไม่ใช่ผู้บริหาร แต่เป็นการอ้างถึง (Reference) หมายถึงผู้ที่เคยใช้แล้วประทับใจจึงบอกต่อ
  4. คำถามเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริง ทำให้ทราบถึงจุดประสงค์หลักในการซื้อสินค้า ทำให้นักขายสามารถค้นหาวิธีการในตอบสนองต่อความต้องการ ที่แท้จริงของลูกค้า ก่อนการถามทุกครั้งต้องมีกริยาท่าทางที่แสดงถึงความอ่อนน้อม และถามความจริงเพื่อได้ข้อมูลที่แท้จริงจากลูกค้า
งานขายไม่มีสูตรสำเร็จ เป็นเพียงแนวทางที่นักขายต้องฝึกมาก ๆ เพื่อความชำนาญ นักขายต้องเรียนรู้ให้มาก เพื่อเมื่อถึงเวลาจำเป็นสามารถนำมาใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้มีโอกาสในการปิดการขายมากกว่า นักขายที่ไม่ได้เรียนรู้และปรับปรุงตัวเอง

เครดิต: http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/sales54.htm?ID=240

5 ปัญหายอดฮิตในธุรกิจ

5 ปัญหายอดฮิตในธุรกิจ และวิธีแก้ไขเบื้องต้น

การที่นักธุรกิจเริ่มต้นหลายคนต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาจนทำให้รู้สึกหมดกำลังใจ อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่ได้วางแผนในการ เตรียมรับมือกับปัญหาเหล่านี้ไว้ล่วงหน้า หรือแผนที่เตรียมไว้เก่าเกินกว่าที่จะนำมาใช้ในปัจจุบันที่ได้กลายเป็นยุคออนไลน์ไปแล้ว ทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้จึงเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักต้องเผชิญอยู่บ่อยๆ พร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหา ว่าถ้าเกิดขึ้นมากับเราจะมีวิธีเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง เพื่อป้องกันความเสียหายจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอนาคต

 

 ภาพจาก: waterwelljournal.org

  • เงินหมุนเวียน 


ปัญหายอดฮิตที่สามารถเกิดขึ้นกับธุรกิจทุกชนิดทุกประเภทที่เพิ่งเปิดใหม่หากไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า แต่สำหรับธุรกิจที่มีประสบการณ์เองถึงแม้ว่าจะวางแผนมาดีสักแค่ไหนก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้จากการขาดแคลนเงินหมุนเวียนในระบบถ้าหากประมาทและไม่ดูแลต่อเนื่อง จนทำให้รายได้ไม่เพียงพอที่จะนำไปชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน

ซึ่งถ้าเราบริหารปริมาณเงินที่เข้า-ออกไม่ดีก็มักเกิดปัญหานี้อยู่เสมอ โดยส่วนมากมักเป็นเพราะบรรดาลูกหนี้หรือลูกค้าของเราจ่ายเงินเราล่าช้า แต่แน่นอนว่านั่นไม่ใช่ปัญหาที่ซัพพลายเออร์หรือเจ้าหนี้ของเราจะมาสนใจ ทำให้เราอาจต้องเจอความยากลำบากในการชำระหนี้ให้ได้ตรงกำหนดอย่างที่เราตั้งใจ

วิธีแก้ไข: ลองค้นหามุมมองวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ให้มากที่สุดโดยสังเกตข้อมูลจากบัญชีงบดุล และบัญชีรายได้ เพื่อดูว่าเรามีช่องโหว่อะไรบ้าง ในด้านการเงินและความคล่องตัวของกระแสเงินสด เช่นอาจจะมีช่วงเวลาที่เราต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้น้อยกว่าเวลาที่เราได้รับเงินจากลูกหนี้มาแค่ไหน ลองตั้งกรอบของปัญหาขึ้นมาแล้วค่อยๆ แก้ไปทีละขั้นอย่างเป็นระบบ เช่น ถ้าเราพบว่าปัญหานั้นเกิดจากลูกหนี้ที่ชำระเงินช้าก็ควรเข้าไปแก้ในจุดนั้น ด้วยวิธีการควบคุมเงินหมุนเวียนในระบบดังนี้

• ถ้าหากจำเป็นต้องใช้เงินในขณะนั้น อาจยื่นขอเสนอส่วนลดให้กับลูกหนี้ ถ้าหากพวกเขาสามารถชำระหนี้ได้ก่อนเวลาที่กำหนด
• ใช้ระบบเดียวกับธนาคารที่กำหนดวงเงินการกู้-ยืม ซึ่งสำหรับในธุรกิจเราก็สามารถกำหนดวงเงินสูงสุดที่จะสามารถให้ลูกค้าเป็นหนี้กับเราได้ หากเกินจากนี้ต้องชำระของเก่าที่ค้างไว้ก่อนจึง จะสามารถเปิดออเดอร์เพิ่มเติมได้ เป็นต้น
• เสนอรูปแบบของการทำธุรกรรมการเงินใหม่ๆ ที่สะดวกมากยิ่งขึ้นให้กับลูกหนี้ เช่น การโอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระบบ ibanking หรือใช้บริการอย่าง paypal เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และติดตามได้ง่ายไม่ลืม
• มีกระบวนการจัดการใบแจ้งหนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อที่สามารถติดตามลูกหนี้และกำหนดการการจ่ายหนี้เมื่อถึงกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนมากมักเป็นเพราะบรรดาลูกหนี้หรือลูกค้าของเราจ่ายเงินเราล่าช้า แต่แน่นอนว่านั่นไม่ใช่ปัญหาที่ซัพพลายเออร์หรือเจ้าหนี้ของเราจะมาสนใจ



ภาพจาก: www.cido.co.uk

  • ไม่ระบุกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน


ยังมีบริษัทอีกมากที่ไม่สามารถบอกกลุ่มเป้าหมายของตัวเองได้ เขาเหล่านั้นทำตัวเองให้เหมือนเรือที่ลอยค้างอยู่กลางทะเลแบบไม่มีจุดหมาย จะวางแผนอะไรก็ได้ไม่ชัดเจน ทำการตลาดก็ลำบาก เพราะไม่รู้ว่าใครที่เป็นลูกค้าของเราจริงๆ ทำให้พัฒนาสินค้าหรือบริการได้ลำบาก

นักธุรกิจเริ่มต้นสายไอทีมักใช้วิธีคาดหวังกับกลุ่มลูกค้าใน Niche Market (นีช) หมายถึงธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเล็ก แคบ แต่ชัดเจน เป็นกลุ่มคนที่มีรสนิยมและความชอบเฉพาะตัวสูงมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะแบ่งปันข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่พวกเขาคลั่งไคล้เหมือนๆ กัน เช่น กลุ่มคนที่หลงใหลใน Figure ตัวการ์ตูน กลุ่มคนที่รักในการเย็บปักถักร้อย เป็นชีวิตจิตใจ เป็นต้น ธุรกิจที่สร้างขึ้นแล้วบอกว่าตัวเองเป็นธุรกิจแบบ Niche นั้นดูเหมือนจะปลุกปั้นได้ง่ายกว่า ทว่าผลสุดท้ายเมื่อโปรแกรมของบริษัทเหล่านี้เป็นที่ชื่นชอบ “ทุกคน” จะกลายเป็นลูกค้าของเราไปเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ App ที่มีชื่อเสียงอย่าง Facebook หรือ Instagram ที่ตอนเริ่มต้นนั้นตั้งเป้าไว้กับกลุ่มเป้าหมายเล็กมาก ทำให้เขารู้ทิศทางที่จะไป และอ่านใจเฉพาะคน กลุ่มนี้ได้อย่างเด็ดขาด และลงมือได้อย่างมั่นใจและเต็มที่

วิธีแก้ไข: การสร้างธุรกิจแบบ Niche ขึ้นมานั้นก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าลูกค้าในอุดมคติของเรานั้นเป็นใคร และเราจะหาหรือไปพบพวกเขาได้จากที่ไหน เช่น ถ้าเราทำธุรกิจเป็นที่ปรึกษาด้านพฤติกรรมของวัยรุ่นแล้ว คิดให้ดีว่าแท้จริงแล้วกลุ่มเป้าหมายของเราคือใครหลายคนอาจมองว่าเป็นวัยรุ่นทั้งที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูก เพราะกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ของเราควรจะเป็นพ่อ แม่ที่จะพาวัยรุ่นเข้ามารับคำปรึกษามากกว่า ดังนั้นการจะทำการตลาดก็ต้องมองถึงสิ่งที่ผู้ใหญ่จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายเช่น การลงโฆษณาในนิตรสารที่พ่อ แม่ ชอบอ่าน หรือตามโรงเรียนต่างๆ รวมถึงการเข้าร่วมสมาคมผู้ปกครองหลายๆ แห่ง เพื่อทำการโปรโมทถึงบริการของเราด้วย

2 วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เรารู้ว่าที่จริงแล้วลูกค้าเราเป็นใครกันแน่

• ในการโฆษณาต้องบอกรายละเอียดให้ชัดเจนว่าสินค้าและการบริการของเราเกี่ยวกับอะไร เพื่อที่จะได้ดึงคนที่สนใจเข้ามาจริงๆ

• ลองยิงโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยอาจลองใช้คำค้นหาและภาษาเฉพาะกลุ่มที่น่าจะทำให้เราแบ่งแยกเพศ วัย ความสนใจ หรือตำแหน่งที่อยู่ของลูกค้าที่มีความต้องการตรงกับการบริการของเราได้มากขึ้น


ยังมีคนอีกมากที่ตั้งลูกค้าเป้าหมายของเขาเป็น “ทุกคนบนโลกนี้” ซึ่งมันผิดนะ


 
 ภาพจาก: www.doitmarketing.com

  • ไม่รู้จักการตลาดแบบบอกต่อ (Referral Marketing)


ถ้ายังจำกันได้ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมามีการใช้การตลาดที่เราเรียกกันว่า “Cold Calling” หรือการใช้เซลล์เดินเคาะประตูขายของตามบ้านกันอย่างแพร่หลาย แต่ถ้าในปัจจุบันยังดึงดันที่จะเอามาใช้ อาจจะมีผลให้ธุรกิจเราถูกมองในแง่ลบเลยก็เป็นไปได้ ยิ่งเมื่อนำไปเปรียบกับการตลาดแบบบอกต่อแล้ว ยิ่งมีประสิทธิภาพต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว

ถ้าเปรียบว่าการใช้แผนการตลาดเหมือนการปลูกหญ้าแล้ว การใช้วิธีทางการตลาดแบบบอกต่อก็เหมือนการหว่านพืชจำนวนมากๆ บนพื้นที่สัก แปลงหนึ่ง ย่อมง่ายกว่าการไปปลูกหญ้าทีละต้นบนพื้นสนามที่มีลักษณะเหมือนการใช้วิธี “Cold Calling” แน่ๆ ถึงแม้ว่าการปลูกแบบหว่าน อาจมีบางจุดที่หญ้าอาจไม่ขึ้น แต่เมื่อนึกถึงผลลัพธ์สุดท้ายแล้ว ก็เป็นการกระจายผลได้ในปริมาณที่มากกว่าด้วยการลงทุนลงแรงที่น้อยกว่าอยู่ดี


วิธีแก้ไข: สร้างเครือข่ายจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เพื่อให้มีคนรู้จักเราในวงกว้างมากขึ้น เช่น ถ้าเราเปิดอู่ซ่อมรถ ก็อาจจะไปทำข้อตกลงกับโชว์รูมรถ ว่าถ้าซื้อรถจากโชว์รูมแห่งนี้ จะได้สิทธิพิเศษ (เช่น เติมน้ำมันเครื่องฟรี 3 เดือน) วิธีนี้จะทำให้ทั้งอู่ของเราและโชว์รูมรถกลายเป็นที่พูดถึงในกลุ่มคนที่ต้องการจะซื้อรถในวงกว้าง รวมทั้ง อาจใช้วิธีติดต่อกับนิตยสารรถยนต์เพื่อลงโฆษณาให้คนรู้จักเรามากขึ้น ด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดประโยชน์กับเราและธุรกิจที่เราสร้างเครือข่ายไว้ด้วย

การตลาดแบบบอกต่อก็เหมือนการหว่านพืชจำนวนมากๆ บนพื้นที่สักแปลงหนึ่ง 
ย่อมง่ายกว่าการไปปลูกหญ้าทีละต้นบนพื้น


 
 ภาพจาก: www.designdecoy.com

  • ไม่มีแผนการทำ Social Media


การทำ Social Media ของธุรกิจถือเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้อีกต่อไปแล้วในปัจจุบัน เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลถึงเป้าหมายธุรกิจและการสร้างแบรนด์ให้เป็นรู้จักเป็นอย่างมาก การใช้ social media อย่างไม่มีแบบแผน เช่น การโพสต์ข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบ่อยๆ หรือการโพสต์เนื้อหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเป้าหมายหรือแบบแผนที่ชัดเจน นอกจากจะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพแล้วยังเป็นการใช้เวลาและทรัพยากรโดยไม่เกิดประโยชน์อีกด้วย

วิธีแก้ไข: ลองเริ่มต้นใหม่จากการลิสต์สิ่งที่เราต้องการจากการทำ Social Media มาก่อนว่าเราต้องการอะไร อยากให้มีคนรู้จักเรามากๆ หรืออยากสร้างภาพลักษณ์ที่ดี จากนั้นดูต่อว่า Social Media ไหนที่เหมาะกับเรา ถ้าอยากได้วงกว้างๆ ใช้ Facebook หรือ Twitter ดีไหม ถ้าอยากให้คนวงการแฟชั่นหรืองานศิลปะสนใจใช้ Instragram หรือ Pinterest แทนดีหรือเปล่า มีแผนการตลาด Social Media ของเจ้าไหนบ้างที่เราอยากนำมาลองปรับใช้ให้เข้ากับเราดู ซึ่งเมื่อได้คำตอบเหล่านี้จะช่วยบีบวงลูกค้าของเราให้แคบลงจนเหลือแต่กลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ ซึ่งเราควรให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณคนเข้าชมเสมอ

การโพสต์เนื้อหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเป้าหมายหรือแบบแผนที่ชัดเจน นอกจากจะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพแล้วยังเป็นการใช้เวลาและทรัพยากรโดยไม่เกิดประโยชน์อีกด้วย


 
 ภาพจาก: www.ehow.com

  • ไม่มีการวางแผนในระยะยาว


การดำเนินธุรกิจไปโดยไม่ได้วางแผน สักวันหนึ่งธุรกิจคงติดอยู่กับที่เพราะไม่รู้ว่าเราจะต้องทำอะไรต่อไปในอนาคตที่ไม่มีจุดหมายที่แน่นอน แตกต่างกับธุรกิจส่วนมากที่ประสบความสำเร็จที่จะมีการวางแผนตลอดเวลาและไม่มีทาหยุดนิ่ง เนื่องจากสังคมและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนอยู่ตลอดทำให้แผนต่างๆ ที่มีต้องคอยปรับเปลี่ยนตามไปด้วย

การแก้ไข: การวางแผนที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถควบคุมอนาคตของบริษัทได้ และถ้าดำเนินตามแผนที่ตั้งไว้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะพาเราไปสู่จุดหมายและความสำเร็จได้ไม่ยาก และนี่คือ 6 คำแนะนำที่จะช่วยให้เราวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น

• มีการประเมินสภาพธุรกิจอยู่บ่อยๆ ว่าตอนนี้ได้กำไร ขาดทุน หรือมีสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง
• ให้ความสำคัญกับการทำ SWOT: Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส), Threat (ความเสี่ยง)
• มีการกำหนดเป้าหมายของการทำธุรกิจให้แน่ชัด และต้องนำมาวิเคราะห์ใหม่อยู่ตลอด ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร
• เริ่มต้นจากการวาดภาพรวมคร่าวๆ ในหัวตั้งแต่ต้นจนจบว่าธุรกิจเราจะดำเนินไปในทางใด ก่อนที่จะลงรายละเอียดในเวลาต่อมา
• ควรกำหนดเป้าหมายย่อยๆ ไว้ระหว่างดำเนินไปถึงเป้าหมายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถวัดได้ว่าตอนนี้เรามาได้กี่เปอร์เซ็นแล้ว และมีอะไรที่ยังต้องปรับปรุงอยู่บ้าง
• วางแผนต่อๆ ไป และพยายามทำให้ได้ตามแผนนั้น
ควรกำหนดเป้าหมายย่อยๆ ไว้ระหว่างดำเนินไปถึงเป้าหมายใหญ่

• • • • • • • • • • • • • • •

อุปสรรคและปัญหาต่างๆ ในการทำธุรกิจเราไม่อาจเลี่ยงได้ แต่การวางแผนแล้วคิดถึงปัญหาที่อาจจะเกิด พร้อมเตรียมแผนรับมือไว้ล่วงหน้า ก็จะ ช่วยให้ผลของความเสียหายที่เกิดจากปัญหาเหล่านี้มีน้อยลง หรืออาจไม่เกิดเลยก็ได้ ดังนั้น เมื่อไรที่เกิดปัญหาจึงควรใช้สติและคิดให้รอบคอบก่อนทำการตัดสินอะไรลงไป จากนั้นปรับตามแผนที่เตรียมไว้ดูว่าผลสุดท้ายจะมีทิศทางไปอย่างไร


ที่มา : INCquity
incquity.com

สิงห์ส่ง ’“Sunvo” บุกตลาดนอน-แอลกอฮอล์






ตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ เมืองไทยถือเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ มีการเติบโตที่ดี ปัจจุบันมีมูลค่า


ซีพี ออลล์ ซื้อกิจการ แม็คโคร




"ซีพี ออลล์" เตรียมพร้อมรับ AEC ซื้อกิจการ"แม็คโคร"หวังใช้เป็นช่องทางนำสินค้าSMEs และสินค้าเกษตรไทยลุยตลาดอาเซียน


ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย ประกาศความพร้อมเตรียมรับมือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือเออีซีซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ด้วยการลงทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (“แม็คโคร”) ผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศไทยด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs และสินค้าผลิตผลทางการเกษตรของไทย รวมถึงสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งและอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ฯลฯ ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อหวังนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ และช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง และเกษตรกรไทยมีช่องทางจำหน่ายสินค้าที่มีศักยภาพสูง สามารถแข่งขันได้



นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในอีก 20 เดือนข้างหน้า ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ในฐานะผู้นำในธุรกิจค้าปลีกของคนไทย เล็งเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตสินค้าชาวไทยที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายในตลาดอาเซียนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรถึง 600 ล้านคน เนื่องจากสินค้าของไทยเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพสูง ปัจจุบันยังขาดอยู่แต่เพียงช่องทางจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ซีพี ออลล์ จึงอาสาที่จะมาทำหน้าที่นี้เพราะมีความมั่นใจในศักยภาพของบริษัทเองที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจค้าปลีกมา 25ปี รวมกับศักยภาพของ สยามแม็คโคร ซึ่งก็เป็นผู้นำในธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสดและแช่แข็ง ของใช้ประจำวันที่ประสบความสำเร็จมาโดยตลอดเช่นกัน เห็นได้จากยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา



“นอกเหนือจากการจะใช้ สยามแม็คโคร เป็นทัพหน้าในการกระจายสินค้าสู่ตลาด AEC แล้ว ซีพี ออลล์จะนำจุดเด่นของ สยามแม็คโคร ด้านการช่วยเหลือร้านโชห่วย โดยทำหน้าที่ "มิตรแท้โชห่วย" ด้วยการเป็นแหล่งป้อนสินค้าให้กับร้านโชห่วยทั่วประเทศ มารวมพลังกับภารกิจประจำของเซเว่น อีเลฟเว่น คือการตระเวนจัดอบรมสัมนาให้ความรู้ด้านการบริหารร้านค้าปลีก ให้กับร้านโชห่วยทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งจะช่วยให้ภารกิจด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยแบบดั้งเดิมหรือโชห่วย สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น”



สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับเพิ่มเติมจากการลงทุนครั้งสำคัญนี้ คือ การเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของกลุ่ม ซีพี ออลล์ ในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านการผนึกกำลังแสวงหาสินค้าและบริการใหม่ๆ และหลากหลาย มาอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค และการได้ประโยชน์จากการประหยัดเชิงขนาด (Economy of Scale) นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายโอกาสให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมของ ซีพี ออลล์ จะได้มีสถานที่สำหรับฝึกภาคปฏิบัติได้กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น



ขณะเดียวกันพนักงานของทั้งสองบริษัทก็มีโอกาสพัฒนาตนเองด้วยการเข้ามาศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งมากขึ้นด้วย สอดคล้องกับนโยบายหลักของซีพี ออลล์ ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และการพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง



การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ บริษัทได้แต่งตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินแต่เพียงผู้เดียว (Sole Financial Advisor) และเป็นหนึ่งในผู้จัดการวงเงินสินเชื่อร่วม (Joint Mandated Lead Arranger and Underwriter) กับธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงค์กิ้งคอร์ปอเรชั่น (เอชเอสบีซี) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ธนาคารยูบีเอส เอจี และ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้เข้าร่วมในการจัดเตรียมวงเงินสินเชื่อร่วม โดยมี Baker & McKenzie เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น กับ ผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ซึ่งบริษัทคาดว่าจะจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 มิถุนายน 2556 และหากได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น บริษัทจะเข้าทำการชำระค่าซื้อหุ้นแม็คโครทั้งหมดตามสัญญา รวมทั้งจะดำเนินการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดต่อผู้ถือหุ้นรายอื่นทุกรายของแม็คโคร ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2556 โดยราคาเสนอซื้อ (Tender offer price) จะเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่บริษัทจะได้มาที่ 787 บาทต่อหุ้น

คุณสมบัติผู้กู้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)


ขยายระยะเวลาดำเนินการ “โครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก (0% 3 ปี)”
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้กู้เงินของโครงการนี้
  1. คุณสมบัติผู้กู้
    • มีความต้องการที่อยู่อาศัยแห่งแรกเป็นของตนเอง และผู้กู้ต้องย้ายชื่อเข้าเป็น "เจ้าบ้าน" และอยู่อาศัยจริงในที่อยู่อาศัยที่ขอกู้ตามโครงการนี้
    • ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
    • ไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้านที่นํามาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคาร และต้องมีชื่อเป็น "ผู้อาศัย" ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้นถ้าพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น
      หมายเหตุ : พนักงาน/พนักงานสัญญาจ้าง/ลูกจ้างของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ไม่มีสิทธิกู้เงินตามโครงการนี้
    • เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
    • เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
    นิยามคําว่า "อาคาร" หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย
  2. วงเงินให้กู้
    • ที่ดินและสิ่งก่อสร้างในวงเงินไม่เกินในวงเงินไม่เกินรายละ 1,000,000 บาท
    • ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคารหรืออาคารหรือห้องชุด และไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาก่อสร้าง ทั้งนี้ ไม่เกินเกณฑ์หลักประกันตามระเบียบปกติของธนาคาร

  3. ระยะเวลากู้
    • ไม่เกิน 30 ปี และอายุผู้กู้หลักที่ใช้สิทธิรวมกับจํานวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี

  4. อัตราดอกเบี้ย
    • ปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 = 0.00% ต่อปี
    • ปีที่ 3 ถึงปีที่ 7
      - กรณีสวัสดิการ = MRR - 0.50% ต่อปี
      - กรณีรายย่อย = MRR
    • ปีที่ 8 เป็นต้นไป
      - กรณีสวัสดิการ = MRR - 1.00% ต่อปี
      - กรณีรายย่อย = MRR - 0.50% ต่อปี

  5. หลักประกัน ที่ดินพร้อมอาคารที่มีเอกสารเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3ก. หรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด
     
  6. การหมดสิทธิอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0% ตามโครงการ
    • กรณีผู้กู้ชําระหนี้ปิดบัญชีหรือไถ่ถอนจํานองภายในระยะเวลา 7 ปี นับจากวันทําสัญญากู้เงิน
      จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใน 3 ปีแรก เป็นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารย้อนหลัง
      นับแต่วันทําสัญญากู้เงิน
    • กรณีตรวจสอบพบภายหลังว่า หลักประกันที่ขอกู้ตามโครงการนี้ ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยแห่งแรก
      ของผู้กู้ จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใน 3 ปีแรก เป็นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร
      ย้อนหลังนับแต่วันทําสัญญากู้เงิน
       
  7. เงื่อนไขอื่น 
    • กำหนดวงเงินปล่อยกู้ตามโครงการไม่เกิน 20,000 ล้านบาท
    • การพิจารณาให้กู้เงินและเงื่อนไขอื่นๆ  รวมถึงผิดนัดชำระหนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติ และระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร
       
  8. กำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ 
    • ผู้ยื่นกู้ติดต่อคำขอกู้เงินได้ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2554 จนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2556 และต้องทำทํานิติกรรมกับธนาคารให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2556
    • ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกําหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว
หมายเหตุ   ธนาคารขอสงวนสิทธิ์สำหรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า อัตราดอกเบี้ย MRR เป็นไปตามระเบียบธนาคาร ณ วันทำนิติกรรม