Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

การทำนามบัตรที่ดีเพื่อนักธุรกิจ

ลักษณะนามบัตรที่ดีเพื่อประกอบธุระกิจ


นามบัตร ถือเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในระดับมืออาชีพที่เหล่าบรรดาผู้ประกอบการ นักบริหาร หรือแม้แต่กระทั่งพนักงานทุกคนที่ถือเป็นหน่วยปฏิบัติที่เล็กที่สุดของบริษัทจำเป็นต้องมีพกติดตัวเอาไว้ เนื่องจากในความเป็นจริงนามบัตรธุรกิจเป็นอะไรที่มีคุณค่ามากกว่าแค่กระดาษแผ่นเล็กๆแผ่นหนึ่ง เพราะนามบัตรธุรกิจเป็นการแสดงและแนะนำตัวตนของผู้ประกอบการ บริษัท หรือพนักงานผู้ถือบัตรให้บุคคลอื่นได้รู้จักเปรียบเสมือนเป็นบัตรประชาชนทางธุรกิจเลยก็เทียบได้ ซึ่งหลายวัฒนธรรมของการทำธุรกิจในการพบปะพูดคุยกันครั้งแรกๆของบริษัทผู้ค้ามักจะมีการแลกเปลี่ยนนามบัตรกันก่อนที่จะเริ่มลงมือพูดคุยเจรจาธุรกิจด้วยซ้ำไป นามบัตรจึงเป็นสิ่งสำคัญและกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆธุรกิจจะต้องมี ซึ่งโดยปกติแล้วนามบัตรไม่ได้มีรูปแบบตายตัวเหมือนสูตรทางคณิตศาสตร์แต่มันก็มีหลักการสากลที่ผู้ประกอบการควรจะต้องยึดเอาไว้เป็นหลักในการพิจารณาออกแบบอยู่บ้างพอสมควรเพื่อความเป็นมืออาชีพและได้รับการยอมรับจากภายนอกนามบัตรที่ดีควรมีลักษณะดัง องค์ประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังต่อไปนี้

เทคนิคการเจรจาต่อรองให้ประสบความสำเร็จ

การเจรจาต่อรอง




การเจรจาต่อรองนั้นไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับลูกค้า หรือแม้แต่บุคลากรในหน่วยงานเดียวกันต้อง
มีเทคนิคที่ดี เพื่อให้การเจรจานำไปสู่ข้อตกลงที่พึงพอใจกันทั้งสองฝ่ายจึงจะถือว่าการเจรจาต่อรองนั้นประสบความสำเร็จ โดยมีเทคนิคในการเจรจาต่อรองดังนี้

การเลือกสื่อโฆษณา Media selection

การวัดประสิทธิผลของการโฆษณา

 (Measuring Advertinsing Effectiveness)



การวัดประสิทธิผลของการโฆษณา มักเกี่ยวกับการโฆษณาที่เจาะจง แคมเปญการโฆษณาโดยส่วนมาก บริษัทโฆษณามักจะทำการทดสอบการโฆษณาก่อนที่จะออกโฆษณานั้นแก่สาธารณะมากว่าที่จะทำการทดสอบการโฆษณาหลังจากได้เผยแพร่โฆษณาทางสื่อต่าง ๆ แล้ว
เทคนิคการวิจัยที่ใช้ในการวัดประสิทธิผลการโฆษณาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้โฆษณาว่าต้องการจะวัดผลอะไร โดยทั่วไปการวัดประสิทธิผลการโฆษณามักจะวัดประสิทธิผลทางการสื่อสาร (Communication effect)การวัดประสิทธิผลการสื่อสารเป็นความพยายามที่จะค้นหาว่าการโฆษณามีผลได้ในด้านการสื่อสารอย่างที่ต้องการหรือไม่ การประเมินผลทำได้โดยการทดสอบบทโฆษณา (Copy testing) ซึ่งอาจทำก่อนหรือหลังการออกสื่อโฆษณาก็ได้ สำหรับการทดสอบการโฆษณาก่อนว่า การออกสื่อนั้น มีจุดประสงค์ที่จะปรับปรุงการโฆษณาให้ดีที่สุดก่อนะเผยแพร่ การทดสอบขั้นต้นทำได้ 3 วิธี


1.การให้คะแนนโดยตรง คือ การให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เลือกมา หรือผู้เชี่ยวชาญทางการโฆษณาพิจารณาการโฆษณานั้น แล้วให้คะแนนตามความเหมาะสม หัวข้อที่จำมาพิจารณาได้แก่ ความสามารถในการเรียกร้องความสนใจ ความชัดเจนของข้องความโฆษณา ความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ วิธีการนี้มีกฎเกณฑ์ว่า บทโฆษณาที่มีประสิทธิภาพควรจะคะแนนสูงในทุกหัวข้อที่พิจารณา อย่างไรก็ตามวิธีการนี้เชื่อถือได้น้อย แต่วิธีนี้ก็สามารถช่วยคัดเลือกโฆษณาที่ไม่ดีออกไป


2.การทดสอบความจำ คือ การให้ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ดูภาพโฆษณาเป็นจำนวนมาก และให้เวลาพิจารณาอย่างเพียงพอแก่ความต้องกร หลังจากนั้นก็จะวางภาพโฆษณานั้นลง และผู้สัมภาษณ์จะถามถึงภาพโฆษณาที่เขาจำได้ ซึ่งผลที่ได้ช่วยให้ทราบได้ว่า โฆษณาใดเด่นและทำให้คนจำได้ตลอดจนเข้าใจเนื่อหาโฆษณาที่ผู้โฆษณาต้องการจะบอก


3.การทดสอบความจำในห้องทดสอบ ผู้วิจัยบางคนวัดประสิทธิผลของการโฆษณา โดยการวัดปฏิกิริยาทางร่างกายของผู้ดูโฆษณา เช่น หัวใจเต้น ความดันของเลือด การหายใจ เป็นต้น การทดสอบทางจิตวิทยานี้ใช้ได้เพื่อวัดความสนใจที่ได้ และวัดความสามารถของโฆษณาที่กระตุ้นผู้ดู


1.การทดสอบความระลึกได้ คือ การหาบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและเป็นผู้ที่ดูสื่อโฆษณาหนึ่งที่ผู้โฆษณาใช้ เช่น โทรทัศน์ นิตยสาร หรือวิทยุ เป็นต้น และให้เขาอธิบายถึงโฆษณาที่เรากำลังทดสอบอยู่ ซึ่งผลที่ได้นั้น จะช่วยชี้ให้เห็นว่าการโฆษณานี้เป็นที่สังเกตเห็นและอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคหรือไม่


2.การทดสอบความระลึกได้ วิธีนี้หาผุ้ที่ดูสื่อโฆษณาที่ใช้และให้เขาอธิบายว่าจำอะไรได้บ้าง สิ่งที่ควรจำไว้คือ วิธีการวัดนี้เป็นการวัดความสนใจและประสิทธิผลการสื่อสารของโฆษณา มิใช่การวัดผลกระทบต่อทัศนคติหรือพฤติกรรมการเลือกสื่อโฆษณา (Media Selection)

การเลือกสื่อโฆษณา (Media Selection)


หน้าที่ที่สำคัญของโฆษณาก็คือการตัดสินใจเลือกสื่อที่ดีที่สุด ที่จะนำสารโฆษณาไปสู่ตลาดเป้าหมาย สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้โฆษณาอย่างได้มากที่สุด คือ การเข้าถึง (Reach) ความถี่ (Frequency) ผลกระทบ (impact)และความต่อเนื่อง (continuity) ในงบประมาณโฆษณาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ผู้โฆษณาควรจะต้องทราบถึงอุปนิสัยการใช้สื่อของตลาดเป้าหมายคุณภาพและต้นทุนของสื่อต่าง ๆ

การเลือกสื่อหลัก

บริษัทจะเลือกสื่อโฆษณา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1.อุปนิสัยการใช้สื่อของตลาดเป้าหมาย เป็นปัจจัยแรกที่ควรจะพิจารณา โดยดูว่าตลาดเป้าหมายของเรามีอุปนิสัยในการใช้สื่ออย่างไรบ้าง เช่น บริษัทผลิตของเล่นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเชื่อว่าเด็กควรจะเป็นผู้ที่บริษัทควรพยายามเข้าให้ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะเป็นผู้มีอำนาจซื้อ ดังนั้นการเลือกสื่อก็ควรจะหลีกเลี่ยง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวิทยุ สื่อที่จะเข้าถึงเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ โทรทัศน์ เป็นต้น


2.สินค้า เนื่องจากสื่อหลักต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่โม่เหมือนกัน ในด้านการแสดงด้วยภาพ การอธิบายความน่าเชื่อถือ และสีสัน เช่นกล้องถ่ายรูปเหมาะที่จะใช้การโฆษณาทางโทรทัศน์ เพราะสามารถสาธิตวิธีการถ่ายรูปได้ และเห็นสีสัน ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ สินค้าแระเภทเสื้อผ้า สีก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงเหมาะสมที่จะโฆษณาทางนิตยสาร เป็นต้น

3.ต้นทุนของสื่อเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีราคาแพงที่สุด ในขณะเดียวกันวิทยุเป็นสื่อที่ถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ราคาของสื่อแต่ละประเภทไม่สามารถเปรียบเทียบกันโดยตรง เพราะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน และเข้ากลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันด้วย

การเลือกสื่อเฉพาะเจาะจง


ขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์ควรตัดสินใจก่อนว่าจะใช้จ่ายสำหรับสื่อแต่ละประเภท เป็นจำนวนเท่าใด เช่นการตัดสินใจเพื่อที่จะใช้จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท ในการโฆษณาทางนิตยสารจากงบประมาณ500,000 บาท แต่จะเลือกนิตยสารฉบับใด และจะลงโฆษณากี่ครั้ง อัตราค่าโฆษณาขึ้นอยู่กับขนาด สี และตำแหน่ง นิตยสารโดยทั่วไปจะเสนอลดราคาได้ ถ้าการลงโฆษณามีจำนวนครั้งมากพอ

การคิดค่าโฆษณาใช้เกณฑ์ต้นทุนต่อพัน (The cost-per-thonsand criterion)

ผู้วางแผนสื่อโฆษณาพยายามคำนวณหาต้นทุนต่อพันคนของแต่ละสื่อ สมมุติว่าถ้าลงโฆษณาในนิตยสารดิฉัน เต็มหน้าสี่สี ราคา 60,000 บาท และประมาณว่ามีจำนวนผู้อ่าน 240,000 คน ดังนั้นตันทุน ของการเข้าถึงคนต่อหนึ่งพันคนเท่ากับ 250 บาท ในขณะที่นิตยสารเปรียวอัตราค่าโฆษณาสี่สี่เต็มหน้าราคา 60,000บาท และสามารถเข้าถึงผู้อ่านได้จำนวน 180,000 คน ตันทุนของการเข้าถึงคนต่อหนึ่งพันคนเท่ากับ 333บาท ผู้วางแผนสื่อโฆษณาอาจจะจัดลำดับนิตยสารต่าง ๆ ตามอัตราของต้นทุนต่อพันคน เพื่อพิจารณาการเลือกว่านิตยสารฉบับใดมีต้นทุนต่อพันคนต่ำ


การใช้เกณฑ์ต้นทุนต่อพัน มีจุดอ่อนอยู่หลายประการ1.วิธีการนี้ใช้วัดตัวเลขจำนวนผู้อ่านทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้อ่านเป้าหมายเป็นกลุ่มใด และจะมีคุณค่ากับผู้อ่านกลุ่มใดมากที่สุด เช่น นิตยสารฉบับหนึ่งมีจำนวนผู้อ่านมาก ต้นทุนต่อพันต่ำ แต่ ถ้ากลุ่มผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านที่มีอายุมาก และสินค้าที่โฆษราเป็นสินค้าสำหรับวัยรุ่น การโฆษณาโดยใช้เกณฑ์นี้เป็นตัววัดก็จะไม่ได้ผล


2.โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่าโฆษณาที่ลงในสื่อ เช่น นิตยสารจะประกฎแต่ผู้อ่านนิตยสารนั้นทุกคน แต่ความจริงแล้วมีคนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะอ่านโฆษณาและมีบางคนเท่านั้นที่จะประทับใจ ดังนั้นการใช้วิธีต้นทุนต่อพันจะทำให้ไม่ได้ตัวเลขที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะอ่านหรือเห็นโฆษณา เพราะจะเป็นตัวเลขรวม


3.คุณภาพของนิตยสาร วิธีการนี้ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพที่แตกต่างกันของนิตยสาร ถึงแม้นิตยสารหลาย ๆ ฉบับจะเข้าถึงผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมายเหมือนกัน ผู้โฆษณาก็ยังมีความเห็นว่าความเชื่อถือ คุณภาพอื่น ๆ ของนิตยสารแต่ละฉบับไม่เท่ากัน

การกำหนดเวลาของค่าใช้จ่ายการโฆษณา

 (Timing of Advertising Expenditures)



ปัญหาของการกำหนดเวลาสำหรับค่าใช่จ่ายการโฆษณา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การกำหนดเวลามหภาค และจุลภาค


กำหนดเวลามหภาค เกี่ยวข้องกับวิธีการที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายการโฆษณา ตลอดทั้งปีเพื่อให้สอดคล้องกับยอดขายของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไปตามฤดูการ สมมุติว่ายอดขายของอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งสูงสุดในเดือนธันวาคม และตกต่ำในเดือนมีนาคม ผู้ขายมีทางเลือกในการจัดสรรค่าใช้จ่ายการโฆษณาอยู่ 3 ทาง คือ


1.จ่ายค่าโฆษณาตามยอดขายที่เปลี่ยนแปลง2.จ่ายค่าโฆษณาตรงกันข้ามกับยอดขายที่เปลี่ยนแปลง3.จ่ายค่าโฆษณาเท่ากันตลอดทั้งปี


มีทฤษฏี 2 แบบ ที่ถูกพัฒนาเพื่อแนะนำการกำหนดเวลาแบบมหภาค
ก.ทฤษฏีของ Jay Forrester เขากล่าวว่าควรจะศึกษาและวิเคราะห์สินค้าแต่ละชนิดว่า ช่วงระยะเวลาระหว่างโฆษณา ความตระหนักใจ และการซื้อยาวเพียงใด ถ้าตามปกติผู้ซื้อจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนที่จะเกิดความตระหนักใน และใช้เวลาอีก 1 เดือนก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ก็หมายความว่าจะต้องโฆษณา 2 เดือน ก่อนที่จะมีการซื้อสินค้า ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ถึงช่วงระยะระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ เราก็จะสามารถปรับการโฆษณาให้เข้ากับระบบการผลิตของเราได้ เพื่อให้มีการผลิตสม่ำเสมอตลอดปี


ข.ทฤษฏีของ Alfred Kuehn เขากล่าวว่า การกำหนดระยะของการโฆษณาขึ้นอยู่กับระยะของความทรงจำ และอุปนิสัยของพฤติกรรมการเลือกตราสินค้า
ระดับของความทรงจำหมายถึงระดับของการโฆษณาที่ยังเหลืออยู่ในความทรงจำของผู้รับ ถ้าระดับของความทรงจำ = .75/เดือน หมายความว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของการโฆษณาในเดือนที่แล้วยังอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ถ้าระดับควาททรงจำ = .10/เดือน หมายความว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของการโฆษณาในเดือนที่แล้วยังอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ถ้าอัตรานี้สูงมากเท่าใด ความถี่ของการโฆษณาก็ลดน้อยลงได้


อุปนิสัยของพฤติกรรมการเลือกตราสินค้า หมายถึงอัตราที่ผู้ซื้อจะเลือกตราสินค้านี้โดยไม่มีการส่งเสริมสินค้า ถ้าอัตราอุปนิสัย = .90 หมายความว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ซื้อสินค้านี้โดยไม่มีการส่งเสริมสินค้า เพราะอุปนิสัยหรือมีความภักดีในตราสินค้า ซึ่งไม่ต้องมีแรงกระตุ้นทางการตลาด


การกำหนดเวลาจุลภาค เกี่ยวข้องกับวิธีการที่จะจัดสรรงบค่าใช้จ่ายการโฆษณาในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ได้ผลสูงสุด สมมุติว่า บริษัทจะซื้อเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุจำนวน 30 ครั้ง ในเดือนกันยายน ทางเลือกที่จะทำได้คือ1.โฆษณาในช่างในช่วงหนึ่งเป็นช่วงสั้นแต่โฆษณาให้ถี่มาก2.โฆษณาต่อเนื่องทั้งเดือน3.โฆษณาต่อเนื่องเป็นช่วง ๆ ทั้งเดือน


การกำหนดวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า ลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจำหน่าย และปัจจัยการตลาดอื่น ๆ


หลักการกำหนดเวลาสำหรับค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้1.อัตราการหมุนเวียนของผู้ซื้อ คือ อัตราที่ผู้ซื้อใหม่เข้ามาในตลาด ถ้าอัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ยิ่งจำเป็นที่จะเข้าถึงลูกค้าใหม่2.ความถี่ของการซื้อ คือจำนวนครั้งที่ซื้อสินค้าในงวดหนึ่ง ๆ อัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ต้องมีความสำคัญมากที่จะรักษาความซื่อสัตย์ต่อตราสินค้าให้มากขึ้น3.อัตราการลืม คืออัตราที่ผู้บริโภคลืมสินค้านี้ ถ้าไม่มีแรงกระตุ้น ยิ่งอัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ยิ่งจำเป็นมาก เพื่อให้ผู้บริโภคจำสินค้านี้อยู่ได้
การพัฒนาข้อความ (Message Development)


ผลของการโฆษณาต่อยอดขายไม่ใช่ฟังก์ชันของจำนวนการจ่ายเงินโฆษณาเพียงใดเท่านั้น สิ่งที่สำคัญของผลการโฆษณาต่อยอดขายหรือทัศนคติ มีแนวโน้ม คือ ใช้จ่ายเงินนั้นอย่างไรโดยเฉพาะในด้านข้อความที่ให้ไปว่า พูดอะไร พูดอย่างไร และพูดบ่อยเพียงใด การศึกษาทางด้านสถิติส่วนใหญ่ละเลยปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ ทำให้แต่ละแคมเปญการโฆษณาไม่แตกต่างกันหรือไม่มีอันใดเด่น มีผลให้ไม่สามารถอธิบายถึงการเคลื่อนไหวของส่วนครองตลาดได้ จากการศึกษาเกี่ยวกับการโฆษณาไดผลสรุปออกมาว่ากลยุทธ์การสร้างสรรค์ที่ดีและมีความแตกต่างกัน มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการโฆษณา


การกล่าวถึงสินค้าชนิดหนึ่งอาจทำได้หลายแบบ แต่ผู้ซื้อจะไม่เชื่อ หรือไม่สามารถจำข้อมูลในสิ่งที่โฆษณาอ้างถึงหลาย ๆ อย่างได้ ข้อความควรเน้นแต่สิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อจะสามารถเรียนรู้ลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นเกี่ยวกับสินค้า การพัฒนาข้อความแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การสร้างข้อความ การประเมินข้อความและการเลือกข้อความ
การสร้างข้อความ (Message Generation)

ปัญหาของการสร้างข้อความคือ การสรรหาคำพูดที่ทำให้มีประสิทธิผลต่อสินค้าหรือตลาดเป้าหมาย กล่าวโดยทั่วไป กลยุทธ์การสร้างข้อความควรจะต้องตัดสินใจก่อนเกี่ยวกับแนวความคิดสินค้า การวางตำแหน่งสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านกลยุทธ์การตลาดและวัตถุประสงค์ ถ้าได้มีการกำหนดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกี่ยวกับสินค้าแล้ว การกำหนดกลยุทธ์ข้อความโฆษณาเป็นสิ่งไม่ยาก

ในขณะเดียวกัน สินค้าเมื่อเป็นไปตามวัฏจักรสินค้าจะพบคู่แข่งขันมากมายซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนคุณลักษณะและประโยชน์ของสินค้าที่ตลาดต้องการ ซึ่งมีผลให้ต้องเปลี่ยนข้อความโฆษณาใหม่ตามความต้องการของตลาดหรือเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขัน นักสร้างสรรค์พยายามหาวิธีจะสร้างข้อความโฆษณาให้น่าสนใจและดึงดูดตลาดเป้าหมาย หลายความคิดจากบุคคลเหล่านี้ ลูกค้าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้ได้ความคิดที่ดี ความรู้สึกต่อตราสินค้าของบริษัทเป็นแนวทางสำหรับกลยุทธ์การสร้าวสรรค์

ปัจจุบันการใช้วิธีการสรุปจากหลักเกณฑ์ (dedective) ในการสร้างความสนใจต่อโฆษณาได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้คือการได้มาจากทฤษฏีการวางตำแหน่งสินค้า (Product positioning theory) ผู้โฆษณาจะดูว่าตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ของเขามีตำแหน่งอย่างไรในความคิดของผู้บริโภค ซึ่งวิธีนี้จะให้โอกาสที่จะสร้างข้อความโฆษณาสำหรับการสื่อสารที่เหมาะสม

การประเมินและการเลือกข้อความ

 (Message evaluation and selection)


การเลือกข้อความที่ดีที่สุด จำเป็นต้องมีกำหนดกฏเกณฑ์การเลือกข้อความโฆษณาต่าง ๆ Twedt ได้แนะนำการพิจารณานั้นควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้เป็นสำคัญ คือความปรารถนา (Desirabilty) ความเฉพาะเจาะจง(Exclusiveness) และความเชื่อถือ (Believability) เขาเชื่อว่าการจะดึงดูดความสนใจของตลาดเป้าหมายได้ควรคำนึงถึง 3 แฟกเตอร์ นั่นคือ ข้อความควรพูดถึ่งสิ่งที่น่าปรารถนาในตัวสินค้า ซึ่งยังไม่เป็นการเพียงพอเพราะสินค้าหลาย ๆ ตรา ก็จะกล่าวในทำนองเดียวกัน ดังนั้นข้อควาทที่ใช้ควรจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับสินค้าของบริษัทเท่านั้นและข้อความนั้นต้องน่าเชื่อถือและสามารถพิสูจน์ได้

การจัดอันดับความดึงดูดใจของการโฆษณาโดยการสอบถามผู้บริโภคอาจจะสะท้อนถึงความคิดเห็น แต่ไม่ใช่สะท้องถึงพฤติกรรม ดังนั้นผู้โฆษณาควรต้องทำการทดสอบขั้นต้นเพื่อพิจารณาข้อความใดดึงดูดมากที่สุด


การทำข้อความโฆษณา (Message execution)

ผลกระทบของการโฆษณาไม่ใช่จะขึ้นอยู่กับว่าควรจะพูดอะไร แต่ยังขึ้นอยู่กับว่าควรจะพูดอย่างไร


ขั้นตอนของการทำข้อความ ประกอบด้วย1.โครงสร้างข้อความ (Message structure) คือวิธีที่จะวางข้อความให้เหมาะสมเพื่อจะได้ผลมากที่สุด เรื่องนี้ได้อธิบายแล้วในบทก่อน


2.การพัฒนาบทโฆษณา (Copy development) คือการค้นหาถ้อยคำ รูปภาพ สัญลักษณ์ สี และแนวที่จะใช้ในการสร้างบทโฆษณา บริษัทโฆษณากำหนดกฏเกณฑ์อย่างกว้างในการสร้างข้อความไว้ดังนี้
ก.ออกแบบข้อความโฆษณาที่จะเรียกความสนใจ
ข.ปรับข้อความให้เหมาะสมกับสื่อโฆษณา
ค.ทำข้อความให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้
ง.ใช้คำพูดหรือสิ่งที่ผู้รับสื่อคุ้นเคย


ส่วนประกอบของบทโฆษณา เช่น สี ขนาด พาดหัว และอื่น ๆ อาจจะมีผลกระทบที่แตกต่างกัน อย่างมากต่อบทโฆษณา เช่นเดียวกับต้นทุน การวิเคราะห์ธุรกิจโฆษณา แฟกเตอร์สำคัญที่จะมีผลต่อการวัดจำนวนของผู้อ่านคือ สี และขนาด โฆษณาสี่สี จะดึงดูดความสนใจมากกวาโฆษณาขาว-ดำ โฆษณาขนาดเต็มหน้าจะเรียกร้องความสนใจมากกว่าขนาด ¼ หน้า เป็นตัน


ลูกค้าของบริษัทโฆษณามักต้องการให้บริษัทโฆษราสร้างแนวความคิดโฆษณามาหลาย ๆ แบบเพื่อจะได้ทดสอบดูว่าแนวความคิดแบบใดดีที่สุด แต่ยิ่งสร้างแนวคิดโฆษณามากเท่าไร ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากเท่านั้น ถ้าบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์จ่ายค่าใช้จ่ายในการสร้างแนวคิดโฆษณาได้บริษัทโฆษณาก็จะสร้างออกมาหลาย ๆ แบบ แต่จากผลตอบแทนที่ได้เป็นเปอร์เซนต์นั้น อาจจะไม่กระตุ้นให้บริษัทโฆษณาอยากทำ แนวคิดโฆษณาหลายแบบเพื่อมาใช้ทำการทดสอบก่อนออกสื่อโฆษณา อย่างไรก็ตามการสร้างแนวคิดโฆษณาออกมาหลาย ๆ แบบเพื่อทดสอบขั้นต้นนั้นเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูง บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์มักไม่ยินดีจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้


เกล็ดความรู้สำหรับนักขาย

เกล็ดความรู้สำหรับนักขาย

ปัญหาอย่างหนึ่งที่นักขายพบเจอเป็นประจำคือ เวลาเข้าพบลูกค้า หลังจากการนำเสนอ ลูกค้าจะบอกว่าขอคิดดูก่อน และเงียบหายไป แม้ว่าพนักงานขายจะพูดโน้มน้าวหลายครั้ง แต่มักไม่ค่อยสำเร็จ เมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้งเข้าก็รู้สึกหมดกำลังใจในงานขาย ยิ่งทำยอดขายไม่ได้ก็รู้สึกกดดันไปกันใหญ่ วิธีโน้มน้าวให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าเร็วขึ้น มาแนะนำดังนี้

การที่ลูกค้า “ขอคิดดูก่อน” นั้น หากมองว่าเป็นการปฏิเสธอย่างนุ่มนวลก็ยังไม่ถูกทั้งหมด เพราะนักขายยังไม่หมดความหวังเสียทีเดียว เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าเมื่อไร ลูกค้าจึงจะตัดสินใจได้ ก็ต้องกลับมาพิจารณาดูว่าในการนำเสนอขายครั้งนี้ มีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
  • มุ่งเน้นการปิดการขายมากเกินไป
  • การรวบรัดอาจทำได้ ถ้าลูกค้ามีใจโอนเอียงมาที่สินค้าเรามาก แต่อาจไม่ได้ผลในทุกกรณี เพราะบางครั้งลูกค้าอาจมี คำถามคาใจด้วยซ้ำว่าทำไมนักขายถึงเร่งมากที่จะปิดการขาย ภาพจึงออกมาเป็นลบ นักขายจึงต้องใจเย็นลงเล็กน้อย นำเอาผลประโยชน์และความรู้สึก ของลูกค้าเป็นที่ตั้ง โดยมองผลของการขายเป็นการสร้างฐานลูกค้าระยะยาว ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้สนับสนุนนักขายในที่สุด มากกว่าเพียงปิดการขาย เพื่อได้ออร์เดอร์เท่านั้น
  • ไม่ศึกษาความต้องการของลูกค้าเสียก่อน
  • นักขายจำนวนไม่น้อยที่ชอบบอกราคา หรือแสดงสิ่งซึ่งตนเองมีอยู่ให้ลูกค้าได้ทราบ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับลูกค้า เลยว่า มีความต้องการอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร นำไปใช้อย่างไร ก่อนการนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ที่นักขายเตรียมตัวมาให้ลูกค้า ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งยอดขาย และที่สำคัญคือสูญเสียฐานลูกค้า ยิ่งถ้าลูกค้าหันไปชอบสินค้าของคู่แข่งเสียแล้ว ลูกค้ามักไม่กลับมาใช้สินค้าของเราอีก หรือเรียกได้ว่ากลับมาก็ยาก ถึงแม้เราจะนำเสนอภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่า
  • ถามคำถามที่ลูกค้าไม่อยากตอบ
  • นักขายที่ไม่ประสบความสำเร็จอาจเกิดจากการตั้งคำถามกับลูกค้า คำถามที่สร้างความอึดอัด และลำบากใจ หรือเป็นคำถาม ที่จู่โจมลูกค้ามากเกินไป ทำให้ลูกค้าเกิดความระแวง ไม่เชื่อมั่นในตัวคุณ จึงไม่ตัดสินใจใช้สินค้าหรือบริการของคุณ

ด้วยเหตุนี้ การสร้างประเด็นคำถามเป็นอีกประเด็นที่นักขายต้องผึกหัดและนำมาใช้ เข้าใจลักษณะคำถามที่ทำให้ลูกค้าอยากเปิดเผย ซึ่งสามารถสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้
  1. ไม่ศึกษาความต้องการของลูกค้าเสียก่อน การถามภาพรวม (Overview Question) แสดงถึงความสนใจในลูกค้า เป็นการลดแรงกดดันที่มีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
  2. ถามเกี่ยวกับเรื่องของแนวโน้มการตัดสินใจ (Trend) ทำให้มีความเข้าใจถึงปริมาณการใช้และช่วงเวลาที่จะสั่งซื้อ
  3. ถามถึงผู้ที่มีอิทธพลในการตัดสินใจซื้อ (Influencing Question) เป็นคำถามที่จะพยายามค้นหาว่าผู้ใดหรือกระบวนการใดที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อ การมีอิทธิพลบางครั้งอาจไม่ใช่ผู้บริหาร แต่เป็นการอ้างถึง (Reference) หมายถึงผู้ที่เคยใช้แล้วประทับใจจึงบอกต่อ
  4. คำถามเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริง ทำให้ทราบถึงจุดประสงค์หลักในการซื้อสินค้า ทำให้นักขายสามารถค้นหาวิธีการในตอบสนองต่อความต้องการ ที่แท้จริงของลูกค้า ก่อนการถามทุกครั้งต้องมีกริยาท่าทางที่แสดงถึงความอ่อนน้อม และถามความจริงเพื่อได้ข้อมูลที่แท้จริงจากลูกค้า
งานขายไม่มีสูตรสำเร็จ เป็นเพียงแนวทางที่นักขายต้องฝึกมาก ๆ เพื่อความชำนาญ นักขายต้องเรียนรู้ให้มาก เพื่อเมื่อถึงเวลาจำเป็นสามารถนำมาใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้มีโอกาสในการปิดการขายมากกว่า นักขายที่ไม่ได้เรียนรู้และปรับปรุงตัวเอง

เครดิต: http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/sales54.htm?ID=240

5 ปัญหายอดฮิตในธุรกิจ

5 ปัญหายอดฮิตในธุรกิจ และวิธีแก้ไขเบื้องต้น

การที่นักธุรกิจเริ่มต้นหลายคนต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาจนทำให้รู้สึกหมดกำลังใจ อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่ได้วางแผนในการ เตรียมรับมือกับปัญหาเหล่านี้ไว้ล่วงหน้า หรือแผนที่เตรียมไว้เก่าเกินกว่าที่จะนำมาใช้ในปัจจุบันที่ได้กลายเป็นยุคออนไลน์ไปแล้ว ทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้จึงเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักต้องเผชิญอยู่บ่อยๆ พร้อมทั้งวิธีแก้ปัญหา ว่าถ้าเกิดขึ้นมากับเราจะมีวิธีเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง เพื่อป้องกันความเสียหายจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอนาคต

 

 ภาพจาก: waterwelljournal.org

  • เงินหมุนเวียน 


ปัญหายอดฮิตที่สามารถเกิดขึ้นกับธุรกิจทุกชนิดทุกประเภทที่เพิ่งเปิดใหม่หากไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า แต่สำหรับธุรกิจที่มีประสบการณ์เองถึงแม้ว่าจะวางแผนมาดีสักแค่ไหนก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้จากการขาดแคลนเงินหมุนเวียนในระบบถ้าหากประมาทและไม่ดูแลต่อเนื่อง จนทำให้รายได้ไม่เพียงพอที่จะนำไปชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน

ซึ่งถ้าเราบริหารปริมาณเงินที่เข้า-ออกไม่ดีก็มักเกิดปัญหานี้อยู่เสมอ โดยส่วนมากมักเป็นเพราะบรรดาลูกหนี้หรือลูกค้าของเราจ่ายเงินเราล่าช้า แต่แน่นอนว่านั่นไม่ใช่ปัญหาที่ซัพพลายเออร์หรือเจ้าหนี้ของเราจะมาสนใจ ทำให้เราอาจต้องเจอความยากลำบากในการชำระหนี้ให้ได้ตรงกำหนดอย่างที่เราตั้งใจ

วิธีแก้ไข: ลองค้นหามุมมองวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ให้มากที่สุดโดยสังเกตข้อมูลจากบัญชีงบดุล และบัญชีรายได้ เพื่อดูว่าเรามีช่องโหว่อะไรบ้าง ในด้านการเงินและความคล่องตัวของกระแสเงินสด เช่นอาจจะมีช่วงเวลาที่เราต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้น้อยกว่าเวลาที่เราได้รับเงินจากลูกหนี้มาแค่ไหน ลองตั้งกรอบของปัญหาขึ้นมาแล้วค่อยๆ แก้ไปทีละขั้นอย่างเป็นระบบ เช่น ถ้าเราพบว่าปัญหานั้นเกิดจากลูกหนี้ที่ชำระเงินช้าก็ควรเข้าไปแก้ในจุดนั้น ด้วยวิธีการควบคุมเงินหมุนเวียนในระบบดังนี้

• ถ้าหากจำเป็นต้องใช้เงินในขณะนั้น อาจยื่นขอเสนอส่วนลดให้กับลูกหนี้ ถ้าหากพวกเขาสามารถชำระหนี้ได้ก่อนเวลาที่กำหนด
• ใช้ระบบเดียวกับธนาคารที่กำหนดวงเงินการกู้-ยืม ซึ่งสำหรับในธุรกิจเราก็สามารถกำหนดวงเงินสูงสุดที่จะสามารถให้ลูกค้าเป็นหนี้กับเราได้ หากเกินจากนี้ต้องชำระของเก่าที่ค้างไว้ก่อนจึง จะสามารถเปิดออเดอร์เพิ่มเติมได้ เป็นต้น
• เสนอรูปแบบของการทำธุรกรรมการเงินใหม่ๆ ที่สะดวกมากยิ่งขึ้นให้กับลูกหนี้ เช่น การโอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระบบ ibanking หรือใช้บริการอย่าง paypal เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และติดตามได้ง่ายไม่ลืม
• มีกระบวนการจัดการใบแจ้งหนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อที่สามารถติดตามลูกหนี้และกำหนดการการจ่ายหนี้เมื่อถึงกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนมากมักเป็นเพราะบรรดาลูกหนี้หรือลูกค้าของเราจ่ายเงินเราล่าช้า แต่แน่นอนว่านั่นไม่ใช่ปัญหาที่ซัพพลายเออร์หรือเจ้าหนี้ของเราจะมาสนใจ



ภาพจาก: www.cido.co.uk

  • ไม่ระบุกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน


ยังมีบริษัทอีกมากที่ไม่สามารถบอกกลุ่มเป้าหมายของตัวเองได้ เขาเหล่านั้นทำตัวเองให้เหมือนเรือที่ลอยค้างอยู่กลางทะเลแบบไม่มีจุดหมาย จะวางแผนอะไรก็ได้ไม่ชัดเจน ทำการตลาดก็ลำบาก เพราะไม่รู้ว่าใครที่เป็นลูกค้าของเราจริงๆ ทำให้พัฒนาสินค้าหรือบริการได้ลำบาก

นักธุรกิจเริ่มต้นสายไอทีมักใช้วิธีคาดหวังกับกลุ่มลูกค้าใน Niche Market (นีช) หมายถึงธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเล็ก แคบ แต่ชัดเจน เป็นกลุ่มคนที่มีรสนิยมและความชอบเฉพาะตัวสูงมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะแบ่งปันข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่พวกเขาคลั่งไคล้เหมือนๆ กัน เช่น กลุ่มคนที่หลงใหลใน Figure ตัวการ์ตูน กลุ่มคนที่รักในการเย็บปักถักร้อย เป็นชีวิตจิตใจ เป็นต้น ธุรกิจที่สร้างขึ้นแล้วบอกว่าตัวเองเป็นธุรกิจแบบ Niche นั้นดูเหมือนจะปลุกปั้นได้ง่ายกว่า ทว่าผลสุดท้ายเมื่อโปรแกรมของบริษัทเหล่านี้เป็นที่ชื่นชอบ “ทุกคน” จะกลายเป็นลูกค้าของเราไปเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ App ที่มีชื่อเสียงอย่าง Facebook หรือ Instagram ที่ตอนเริ่มต้นนั้นตั้งเป้าไว้กับกลุ่มเป้าหมายเล็กมาก ทำให้เขารู้ทิศทางที่จะไป และอ่านใจเฉพาะคน กลุ่มนี้ได้อย่างเด็ดขาด และลงมือได้อย่างมั่นใจและเต็มที่

วิธีแก้ไข: การสร้างธุรกิจแบบ Niche ขึ้นมานั้นก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าลูกค้าในอุดมคติของเรานั้นเป็นใคร และเราจะหาหรือไปพบพวกเขาได้จากที่ไหน เช่น ถ้าเราทำธุรกิจเป็นที่ปรึกษาด้านพฤติกรรมของวัยรุ่นแล้ว คิดให้ดีว่าแท้จริงแล้วกลุ่มเป้าหมายของเราคือใครหลายคนอาจมองว่าเป็นวัยรุ่นทั้งที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูก เพราะกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ของเราควรจะเป็นพ่อ แม่ที่จะพาวัยรุ่นเข้ามารับคำปรึกษามากกว่า ดังนั้นการจะทำการตลาดก็ต้องมองถึงสิ่งที่ผู้ใหญ่จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายเช่น การลงโฆษณาในนิตรสารที่พ่อ แม่ ชอบอ่าน หรือตามโรงเรียนต่างๆ รวมถึงการเข้าร่วมสมาคมผู้ปกครองหลายๆ แห่ง เพื่อทำการโปรโมทถึงบริการของเราด้วย

2 วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เรารู้ว่าที่จริงแล้วลูกค้าเราเป็นใครกันแน่

• ในการโฆษณาต้องบอกรายละเอียดให้ชัดเจนว่าสินค้าและการบริการของเราเกี่ยวกับอะไร เพื่อที่จะได้ดึงคนที่สนใจเข้ามาจริงๆ

• ลองยิงโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยอาจลองใช้คำค้นหาและภาษาเฉพาะกลุ่มที่น่าจะทำให้เราแบ่งแยกเพศ วัย ความสนใจ หรือตำแหน่งที่อยู่ของลูกค้าที่มีความต้องการตรงกับการบริการของเราได้มากขึ้น


ยังมีคนอีกมากที่ตั้งลูกค้าเป้าหมายของเขาเป็น “ทุกคนบนโลกนี้” ซึ่งมันผิดนะ


 
 ภาพจาก: www.doitmarketing.com

  • ไม่รู้จักการตลาดแบบบอกต่อ (Referral Marketing)


ถ้ายังจำกันได้ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมามีการใช้การตลาดที่เราเรียกกันว่า “Cold Calling” หรือการใช้เซลล์เดินเคาะประตูขายของตามบ้านกันอย่างแพร่หลาย แต่ถ้าในปัจจุบันยังดึงดันที่จะเอามาใช้ อาจจะมีผลให้ธุรกิจเราถูกมองในแง่ลบเลยก็เป็นไปได้ ยิ่งเมื่อนำไปเปรียบกับการตลาดแบบบอกต่อแล้ว ยิ่งมีประสิทธิภาพต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว

ถ้าเปรียบว่าการใช้แผนการตลาดเหมือนการปลูกหญ้าแล้ว การใช้วิธีทางการตลาดแบบบอกต่อก็เหมือนการหว่านพืชจำนวนมากๆ บนพื้นที่สัก แปลงหนึ่ง ย่อมง่ายกว่าการไปปลูกหญ้าทีละต้นบนพื้นสนามที่มีลักษณะเหมือนการใช้วิธี “Cold Calling” แน่ๆ ถึงแม้ว่าการปลูกแบบหว่าน อาจมีบางจุดที่หญ้าอาจไม่ขึ้น แต่เมื่อนึกถึงผลลัพธ์สุดท้ายแล้ว ก็เป็นการกระจายผลได้ในปริมาณที่มากกว่าด้วยการลงทุนลงแรงที่น้อยกว่าอยู่ดี


วิธีแก้ไข: สร้างเครือข่ายจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เพื่อให้มีคนรู้จักเราในวงกว้างมากขึ้น เช่น ถ้าเราเปิดอู่ซ่อมรถ ก็อาจจะไปทำข้อตกลงกับโชว์รูมรถ ว่าถ้าซื้อรถจากโชว์รูมแห่งนี้ จะได้สิทธิพิเศษ (เช่น เติมน้ำมันเครื่องฟรี 3 เดือน) วิธีนี้จะทำให้ทั้งอู่ของเราและโชว์รูมรถกลายเป็นที่พูดถึงในกลุ่มคนที่ต้องการจะซื้อรถในวงกว้าง รวมทั้ง อาจใช้วิธีติดต่อกับนิตยสารรถยนต์เพื่อลงโฆษณาให้คนรู้จักเรามากขึ้น ด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดประโยชน์กับเราและธุรกิจที่เราสร้างเครือข่ายไว้ด้วย

การตลาดแบบบอกต่อก็เหมือนการหว่านพืชจำนวนมากๆ บนพื้นที่สักแปลงหนึ่ง 
ย่อมง่ายกว่าการไปปลูกหญ้าทีละต้นบนพื้น


 
 ภาพจาก: www.designdecoy.com

  • ไม่มีแผนการทำ Social Media


การทำ Social Media ของธุรกิจถือเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้อีกต่อไปแล้วในปัจจุบัน เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลถึงเป้าหมายธุรกิจและการสร้างแบรนด์ให้เป็นรู้จักเป็นอย่างมาก การใช้ social media อย่างไม่มีแบบแผน เช่น การโพสต์ข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบ่อยๆ หรือการโพสต์เนื้อหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเป้าหมายหรือแบบแผนที่ชัดเจน นอกจากจะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพแล้วยังเป็นการใช้เวลาและทรัพยากรโดยไม่เกิดประโยชน์อีกด้วย

วิธีแก้ไข: ลองเริ่มต้นใหม่จากการลิสต์สิ่งที่เราต้องการจากการทำ Social Media มาก่อนว่าเราต้องการอะไร อยากให้มีคนรู้จักเรามากๆ หรืออยากสร้างภาพลักษณ์ที่ดี จากนั้นดูต่อว่า Social Media ไหนที่เหมาะกับเรา ถ้าอยากได้วงกว้างๆ ใช้ Facebook หรือ Twitter ดีไหม ถ้าอยากให้คนวงการแฟชั่นหรืองานศิลปะสนใจใช้ Instragram หรือ Pinterest แทนดีหรือเปล่า มีแผนการตลาด Social Media ของเจ้าไหนบ้างที่เราอยากนำมาลองปรับใช้ให้เข้ากับเราดู ซึ่งเมื่อได้คำตอบเหล่านี้จะช่วยบีบวงลูกค้าของเราให้แคบลงจนเหลือแต่กลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ ซึ่งเราควรให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณคนเข้าชมเสมอ

การโพสต์เนื้อหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเป้าหมายหรือแบบแผนที่ชัดเจน นอกจากจะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพแล้วยังเป็นการใช้เวลาและทรัพยากรโดยไม่เกิดประโยชน์อีกด้วย


 
 ภาพจาก: www.ehow.com

  • ไม่มีการวางแผนในระยะยาว


การดำเนินธุรกิจไปโดยไม่ได้วางแผน สักวันหนึ่งธุรกิจคงติดอยู่กับที่เพราะไม่รู้ว่าเราจะต้องทำอะไรต่อไปในอนาคตที่ไม่มีจุดหมายที่แน่นอน แตกต่างกับธุรกิจส่วนมากที่ประสบความสำเร็จที่จะมีการวางแผนตลอดเวลาและไม่มีทาหยุดนิ่ง เนื่องจากสังคมและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนอยู่ตลอดทำให้แผนต่างๆ ที่มีต้องคอยปรับเปลี่ยนตามไปด้วย

การแก้ไข: การวางแผนที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถควบคุมอนาคตของบริษัทได้ และถ้าดำเนินตามแผนที่ตั้งไว้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะพาเราไปสู่จุดหมายและความสำเร็จได้ไม่ยาก และนี่คือ 6 คำแนะนำที่จะช่วยให้เราวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น

• มีการประเมินสภาพธุรกิจอยู่บ่อยๆ ว่าตอนนี้ได้กำไร ขาดทุน หรือมีสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง
• ให้ความสำคัญกับการทำ SWOT: Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส), Threat (ความเสี่ยง)
• มีการกำหนดเป้าหมายของการทำธุรกิจให้แน่ชัด และต้องนำมาวิเคราะห์ใหม่อยู่ตลอด ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร
• เริ่มต้นจากการวาดภาพรวมคร่าวๆ ในหัวตั้งแต่ต้นจนจบว่าธุรกิจเราจะดำเนินไปในทางใด ก่อนที่จะลงรายละเอียดในเวลาต่อมา
• ควรกำหนดเป้าหมายย่อยๆ ไว้ระหว่างดำเนินไปถึงเป้าหมายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถวัดได้ว่าตอนนี้เรามาได้กี่เปอร์เซ็นแล้ว และมีอะไรที่ยังต้องปรับปรุงอยู่บ้าง
• วางแผนต่อๆ ไป และพยายามทำให้ได้ตามแผนนั้น
ควรกำหนดเป้าหมายย่อยๆ ไว้ระหว่างดำเนินไปถึงเป้าหมายใหญ่

• • • • • • • • • • • • • • •

อุปสรรคและปัญหาต่างๆ ในการทำธุรกิจเราไม่อาจเลี่ยงได้ แต่การวางแผนแล้วคิดถึงปัญหาที่อาจจะเกิด พร้อมเตรียมแผนรับมือไว้ล่วงหน้า ก็จะ ช่วยให้ผลของความเสียหายที่เกิดจากปัญหาเหล่านี้มีน้อยลง หรืออาจไม่เกิดเลยก็ได้ ดังนั้น เมื่อไรที่เกิดปัญหาจึงควรใช้สติและคิดให้รอบคอบก่อนทำการตัดสินอะไรลงไป จากนั้นปรับตามแผนที่เตรียมไว้ดูว่าผลสุดท้ายจะมีทิศทางไปอย่างไร


ที่มา : INCquity
incquity.com