Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

องค์ประกอบสีและความหมาย


ก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับคุณสมบัติของแล้วแล้วว่าประกอบไปด้วย เนื้อสี Hue,
น้ำหนักสี Value และความสดของสี Intensity ขั้นต่อไปเราจะมารู้จักกับการน้ำคุณ
สมบัติเหล่านี้มาใช้งาน ซึ่งการเลือกใช้สีสามารถแบ่งออกตามคุณสมบัติของสี ได้แก่

1. การเลือกเนื้อสี Choose Hue

ในการเลือกเนื้อสีมาใช้งานเราจะเลือกจาก
1. ความหมายของเนื้อสีแต่ละสีที่มี
2. เลือกเนื้อหาที่อยู่ด้วยกันแล้วดูดีเหมาะสม หรือเลือกสีในโครงสร้างสี


สีและความหมาย Colour Meaning

องค์ประกอบสียังมีคุณสมบัุติที่เด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ การมีความหมายในตัวเอง
ซึ่งความหมายเหล่านี้ใช้การอ้างอิงจากประสบการณ์ในการเห็นสีสันของสิ่งของต่าง ๆ
เ่ช่น สีเงินจากอะลูมิเนียม เป็นต้น หรือบางสีที่ถือกันว่ามีความหมายอย่างนั้นอย่างนี้
โดยหาหลักฐานอ้างอิง ไม่ได้ก็มี ความหมายของสีนั้นจึงไม่ใช่หลักตายตัว สามารถ
เปลี่ยนแปลงความหมายได้ตามกาลเวลาที่ผ่านไปแต่ก็ควรที่จะรู้ความหมายของสี
หลัก ๆ ซึ่งเป็นความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจตรงกัน เพื่อประโยชน์ ในการออกแบบ
ภาพงานกราฟิก ให้สื่อความหมายได้ในระดับหนึ่ง






สีแดง อ้างอิงมาจากดวงอาทิตย์ และไฟ ซึ่งให้ความสว่าง ความร้อน ทำให้เมื่อเห็น
สีแดง เราจะรับรู้ไ้ดว่าสีแดงคือ ความร้อน พลัง พลังงาน ความแรงที่มีอยู่ อีกทั้งใน
ความเชื่อของชาวจีน สีแดงยังเป็นสีมงคล นักออกแบบไม่น้อยเลยก็หยิบจุดนี้มาออกแบบ
เอาใจลูกค้า

สีน้ำเงิน ให้ความหมายของความสงบเงียบ ความสุขุม ความมีราคา ให้อารมณ์หรูหรา
มีระดับ บางครั้งก็สื่อถึงความสุภาพ ความหนักแน่น ผู้ชาย

สีเหลือง ให้อารมณ์ของความสดใส ปลอดโปร่ง สีเหลืองดึงดูดสายตาได้ดีและมองเห็น
ได้แต่ไกล ดังนั้นเราจะเป็นได้ว่าป้ายร้านอาหาร จึงมักมีสีเหลืองไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือหรือ
แผ่นพื้น เพื่อดึงดูดสายตาลูกค้าที่เดินผ่านไปผ่านมา

สีส้ม ให้ความรู้สึกดึงดูด ทันสมัย สดใส กระฉับกระเฉง มีพลัง

สีเขียว สีเขียวมาจากสีของต้นไม้ ซึ่งมาหลากหลายโทนสี แต่ด้วยความที่เรารับรู้ว่า
ต้นไม้ให้ความสดชื่น เราเลยอนุมานความหมายสีเขียวว่าเป็นสีที่หมายถึงธรรมชาติ
ความเย็นสบาย ความชุ่มชื้น ความสบายตา

สีม่วง เป็นสีที่ให้อารมณ์หนักแน่น มีเสน่ห์ ความลับ สิ่งที่ปกปิด

สีชมพู ให้ความรู้สึกถึงความอ่อนหวาน นุ่มนวล ความรัก วัยรุ่น ผู้่หญิง

สีน้ำตาล ให้ความหมายถึงความสงบ ความเรียบ ความเป็นผู้ใหญ่ ความเก่าแก่
โบราณ บางครั้งเราก็สื่อถึงไม้ แผ่นไม้

สีฟ้า ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบายตา สือเนื่องมาจากท้องฟ้าที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน
ในบางครั้งก็หมายถึงความนุ่มนวล ความสุขสบาย

สีเงิน สีเงินนั้นมาจากวัสดุประเภทมันวาว เช่นอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นวัสดุใหม่ที่นิยม
นำมาใช้ในช่วงหลัง ๆ มีราคาแพง ดังนั้นมันจึงแทนความรู้สึก ทันสมัย และมีคุณค่า

สีทอง อ้างอิงมาจากแร่ทองคำ จึงเป็นตัวแทนของความหมายว่าความมีคุณค่า
ความมีราคาแพง ความหรูหรา

สีขาว สือถึงความบริสุทธิ์ ความสะอาด ความเรียบง่าย ความโล่ง ความไม่มี

สีเทา ให้อารมณ์เศร้า หม่นหมอง ไร้ชีวิตชีวา บางครั้งสือถึงคามเป็นกลาง

สีดำ มาจากความมืด ความไม่เห็น ซึ่งซ่อนความไ่ม่รู้ ความน่ากลัวเอาไว้

ตัวอย่างของสีและความหมาย



งานออกแบบนี้เลือกสีแดง ที่บ่งบอกถึง ความมีพลัง ความแรง ความเร็ว
เป็นงานที่ชวนให้เรารับรู้ว่ารถคันนี้ต้อง มีคุณสมบัตเด่นด้านความเร็ว



2. การเลือกน้ำหนักสึ Choose Value


การเลือกน้ำหนักสีจะเป็นขั้นตอนถัดมาหลังจากเราเลือกสีได้แล้ว น้ำหนักของสีมี


อิทธิพลต่อความมืดสว่างในภาพ ซึ่งให้อารมณ์ของภาพที่แตกต่าง กันไป



เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า




งานออกแบบนี้เลือกใช้ สีฟ้าที่บ่งบอกถึงความโล่ง ความสบาย ความสุข
ประกอบกับรูปแผ่นเสียง และปุ่มควบคุมเสียงที่เป็นสีฟ้า ต่างน้ำหนัก
ทำให้รู้สึกได้ว่า เราคงเป็นเพลงที่น่าฟัง ฟังแล้วมีความสุข





3. การเลือกความสดของสี Choose Saturation


การเลือกความสดของสีเป็นเรืองสุดท้ายในการเลือกสีเพื่อการออกแบบงานสีที่มีความสดสูง
จะให้ความรู้สึกรุนแรง ตื่นตัว สะดุดตา ในขณะที่สีที่มีความสดน้อยหรือสีหม่น จะหใ้ความรู้สึกสงบ
ไม่โดดเด่น หม่นหมอง เศร้า ถ้าสีที่มีความสดอยู่ในระดับกลางจะให้ความรู้สึกพักผ่อน สบายตา



การวางโครงสี

Colour Schematic

คราวนี้มาถึงเรื่องสำคัญที่สุดของการใช้สีคือ การนำเอาสีไปใช้ในงานออกแบบ หลายคนไม่รู้จะ
ใช้สีอย่างไรดี เลือกเอาสีที่ตัวเองชอบปะเข้าไปในงาน ผลก็คือ ทำให้งานดี ๆ ของเขาออกมาเสียหมด
ดังนั้นจึงมีทฤษฎีของการใช้สี หรือการเลือกสีมาใช้ร่วมกันในภาพ เพื่อให้ภาพออกมาดูดี ดูน่าพึงพอใจ
เรียกว่า Colour Schematic หรือการวางโครงสี (ซึ่งบางคนก็คุ้นกับคำว่า การจับคู่สี การเลือกคู่สี)


Monochrome

Monochrome หรือโครงสีเอกรงค์ คือมีเนื้อสี Hue เดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสี
Value สีเอกรงค์นี้ ให้อารมณ์ ความรู้สึก สุขุม เรียบร้อยเป็นสากล ไม่ฉูดฉาดสะดุดตา และในด้าน
การออกแบบเป็นการใช้คู่สีที่ง่ายที่สุด แล้วออกมาดูดี (เลือกแค่สีเดียวแล้วนำ้มาผสมขาว ผสมดำ หรือ
ปรับค่าความสว่าง Brightmess เพื่อเปลี่ยนน้ำหนักสี Analogus



ตัวอย่างงาน



สีเอกรงค์เป็นสีให้ความรู้สึก สุขุม ไม่ฉูดฉาด สบายตา

Analogus

Analogus หรือโครงสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน อยู่ข้างเคียงกัน ในวงจรสี จะเป็น
ที่ละ 2 หรือ 3 หรือ 4 สีก็ได้ แต่ไม่ควรมากกว่านี้เพราสีอาจจะหลุดจากความข้างเคียง หรือ
หลุดออกจากโครงสีนี้ได้



ลองมาดูตัวอย่างภาพแบบโครงสีข้างเคียงกันดีกว่้า



รูปนี้ใข้คู่สี Analogus โดยเลือกสีแถว ๆ กลุ่มสีเขียว

Dyads

Dyads หรือโครงสีคู่ตรงข้าม Complementary Colour คือสีที่อยู่ตรงกันข้ามกันใน
วงจรสี การเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมองแต่ก็ต้องระวังการ
ใช้สีคู่ตรงข้าม เพราะการเลือกใช้สึคู่ตรงข้ามด้วยกันนั้นถ้าเราหยิบสี 2 สีที่ตรงข้ามกันมาใช้
ในพื้นที่พอ ๆ กัน งานนั้นจะดูไม่มีเอกภาพ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการทำงานศิลปะทางที่ดีเรา
ควรแบ่งพื้นที่ของสีในภาพของการใช้สีใดสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่งโดยประมาณมักจะใช้สีหนึ่ง
70 % อีกสีหนึ่ง 30 % ภาพที่ได้ก็จะคงความมีเอกภาพอยู่ และยังมีความเด่นสะดุดตาไปได้
ในตัว



ตัวอย่างงาน Dyads



ภาพนี้เป็นการเลือกใช้สีคู่ตรงข้าม ส้ม-เขียว 70:30

Triads

Triads หรือโครงสี 3 สี คือ
1. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 เท่ากัน ถ้าเราลากเส้นระหว่างสีทั้ง 3 สี
เราจะได้สามเหลี่ยมด้านเท่า
2. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 ไม่เท่ากันคือมีช่วงห่าง 2 ช่วงเท่ากัน แต่
กับอีกอันหนึ่งช่วงห่างจะยาวกว่า ถ้าลากเส้นระหว่างสีแล้วจะได้สามเหลี่ยมหน้าจั่ว

Tetrads

Tetrads หรือโครงสี 4 สี คือ
1. การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีเท่ากันหมดกล่าวคือ ถ้าเราลาก
เส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัส
2. การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีไม่เท่ากันโดยช่วงห่างของ 2 สี
เป็นช่วงสั้นและอีก 2 สีเป็นช่วงยาว กล่าวคือถ้าเราลากเส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยม
ผืนผ้า


เมื่อพูดถึงเรื่องการจัดองค์ประกอบ เราจะต้องซึมซับหลักการอยู่ 2 ข้อ ซึ่งเป็นหัวใจของการจัด
องค์ประกอบในงานศิลปะ คือ

1. การสร้างเอกภาพ (Unity)
2. การสร้างจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ (Emphasize)

เอกภาพ

Unity

เอกภาพถือได้ว่าเป็นกฎเหล็กของศิลปะ และเป็นหลักสำคัญในการจัดองค์ประกอบ ความมีเอกภาพ
หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นจุดเริ่มแรกในการจัดองค์ประกอบให้กับงานออกแบบของเรา
วิธีสร้างเอกภาพ หรือสร้างความกลมกลืนให้กับงานออกแบบมีหลักอยู่ 3 ข้อคือ

1. การสร้าง ความใกล้ิชิด ให้กับองค์ประกอบ

วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างเอกภาพให้กับงานคือ การจัดองค์ประกอบที่มีอยู่ในสอดคล้องกัน แต่ละ
องค์ประกอบจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ การวางองค์ประกอบให้ใกล้ชิดกันจะทำให้ผู้ชมงานรู้สึกได้
ว่า องค์ประกอบต่าง ๆ เป็นพวกเดียวกัน เกิดภาพรวมที่มีเอกภาพ

จากภาพนี้ เห็นว่า คนที่อยู่เดี่ยว ๆ ไม่ใช่พวกเดียวกัน และสื่อให้เห็นว่่า
แต่ละกลุ่มเป็นพวกเป็นหมู่เดียวกัน

2. สร้างความซ้ำกันขององค์ประกอบ (Repetition)

การจัดวางองค์ประกอบให้มีการซ้ำกันไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้น จุด สี หรือ ลักษณะ ของผิวสัมผัส
ฯลฯ ทำให้ผู้ชมงานรู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องเดียวกันเกิดเอกภาพขึ้นในงาน

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า



ภาพนี้ที่จริงแล้วไม่ได้มีความหมายทีีสื่อถึงสิ่งใดเลยแต่เมื่อม่การนำภาพ
มาวางซ้ำไปซ้ำมาทำให้ผู้ดูงานเกิดความเคยชินจนรู้ึสึกถึงความเป็น
พวกพ้องเดียวกัน

3. สร้างความต่อเนื่องขององค์ประกอบ (Continuation)

ความต่อเนื่องจะมาจากเส้น หรือทิศทางขององค์ประกอบที่อยู่ภายในภาพ ซี่งนำสวยตา
ของผู้ชมให้เดินทางตามที่ผู้่ออกแบบกำหนดไว้ เมื่อได้มองภาพที่มีองค์ประกอบไหลต่อเนื่อง
กัน ทำให้กระบวนการรับรู้ของคนเราสร้างเรื่องราว ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันและอย่างเป็น
ลำดับขั้น ซึ่งทั้งหมดทำให้เกิดภาพรวมที่มีเอกภาพขึ้นในใจ

ตัีวอย่างภาพความต่อเนื่อง



ภาพนี้นำเส้นมาสร้างเป็นระหว่างเพื่อนำสวยตาให้มองตามไป และ
ให้ความรู้สึกว่าเราจะต้องมองจากมุมซ้ายบน ลงมุมซ้ายล่าง เป็นการ
เอาเส้นมาสร้างความต่อเนื่องเพื่อนำสวยตาผู้ชมทั้งที่ภาพนี้ไม่สื่ออะไร





เสริมจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ

Emphasize

หลังจากผ่านด่านแรกในการจัดองค์ประกอบคือ การสร้างเอกภาพให้กับงานของเราแล้ว
ในด่านต่อไปคือการสร้างหรือเน้นจุดเด่นให้กับงาน (Emphasize) ในการสร้างจุดเด่นนั้นนอก
จากจะสร้างความน่าสนใจให้งานแล้ว จุดเด่นจะทำให้ผู้ชมจับประเด็นความหมายของงาน และ
สามารถเข้าใจในความหมายที่เราตั้งใจออกแบบไว้ หรือเราอาจเรียกได้ว่า จุดเด่นแฝงการสื่อ
ความหมายที่ผู้ออกแบบพยายามสื่อออกมา หลักการสร้างจุดสนใจมี 3 วิธีด้วยกันคือ

1. วางตำแหน่งจุดสนใจในงาน (Focus Point)
2. การสร้างความแตกต่างในงาน (Contrast)
3. การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น (Isolation)

1. การวางจุดสนใจในงาน (Focus Point)

ข้อแรก เราจะต้องรู้ว่า จะเน้นอะไรในงาน คิดถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอสิ่งที่ต้องการสร้างให้
เด่นที่สุด หรือบางทีเราอาจจะเรียงลำดับตามความมากน้อยขององค์ประกอบนั้น ๆ
ข้อสอง มองงานที่เรากำลังจะออกแบบเป็นตาราง 9 ช่องดังรูป



ตารางนี้เป็นตารางแสดงจุดสนใจของคนส่วนใหญ่ที่มองภาพโดยแบ่งเป็น ตำแหน่ง
1,3,2 และ 4 เป็นหลัก เรามาดูกันว่ากันว่าเมื่อเราวางองค์ประกอบลงไปในแต่ละตำแหน่ง
องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อภาพ และการให้ความสำคัญอย่างไร

ตำแหน่งหมายเลข 0
เป็นตำแหน่งที่ไม่ควรวางองค์ประกอบที่เราต้องการเน้น เพราะเป็นตำแหน่งที่สายตาคนเรา
มักจะไม่ให้ความสำคัญ

ตำแหน่งหมายเลข 1
เรามักจะชินกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือที่ต้องกวาดสายตาจากมุมบนซ้ายลงไปมุมขวาล่าง
ตำแหน่งหมายเลย 1 จึงเป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่เห็นเป็นอันดับแรกในหน้าหนังสือ หรือภาพ

ตำแหน่งหมายเลข 2
เป็นตำแหน่งที่มีพลังในการดึงดูดสายตา มีความเฉียบ จึงเหมาะกับการจัดวางองค์ประกอบที่
ต้องการเน้นเนื่องจากตำแหน่งมุมของภาพนั้นเรียกร้องความสนใจจากสายตาของผู้ชมได้ดี

ตำแหน่งหมายเลข 3
เป็นตำแหน่งที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งสืบเนื่องมาจากตำแหน่งที่ 1 เพราะเป็นตำแหน่งสุดท้าย
ที่คนส่วนใหญ่กวาดสายตามอง

ตำแหน่งหมายเลข 4
ความรู้สึกโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่ มักให้ตำแหน่งกลางภาพเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุด
ในงาน ถึงจะไม่เป็นจุดเรียกร้องสายตามากเท่ากับจุด 1, 2, 3, แต่ก็เป็นจุดรวมสายตาของผู้ชม
ที่มีต่องาน

เรามาดูตัวอย่างการวางตำแหน่งภาพให้น่าสนใจ



เนื่องจากมุมบนซ้ายเป็นมุมที่คนมักจะมองเป็นจุดแรกเนื่องจาก
ความเคยชินในการอ่านหนังสือจากมุมบนซ้าย ลงมา จึงอาศัยจุด
นี้ลากเส้นนำสายตา่มายังกลางภาพทำให้ภาพมีจุดน่าสนใจที่เด่น
มากขึ้น

2. การสร้างความแตกต่างในงาน

ความแตกต่างเป็นตัวกำหนดความน่าสนใจหรือความโดดเด่นในงานได้ดีที่สุด แต่ใน
การออกแบบงานโดยใช้การสร้างความแตกต่างนั้น ต้องระวังให้ดีเพราะการสร้าง ให้องค์
ประกอบมีความแตกต่างมากเกินไป จะทำให้องค์ประกอบของภาพหลุดออกจากกรอบของ
งาน ทำให้งานที่ได้ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขาดความมีเอกภาพ วิธีอีกมากมายที่ทำให้
การจัดวางภาพเกิดความแตกต่างสะดุดตาได้แก่

การสร้างขนาดที่แตกต่างขององค์ประกอบภายในภาพ
รูปร่างที่แตกต่างกันขององค์ประกอบภายในภาพ
รูปลักษณ์หรือลักษณ์ที่แตกต่างขององค์ประกอบภายในภาพ

ตัวอย่าง



ในกรอบสี่เหลี่ยมแต่อัน มีความแตกต่างของรูปข้างใน ทำให้งาน
ออกแบบนี้มีเอกภาพในด้านความแตกต่าง

3. การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น (Isolation)

การวางองค์ประกอบให้โดดเด่น หรือการวางองค์ประกอบที่ต้องการให้แยกออกมาห่าง
จากองค์ประกอบอื่น ๆ เป็นวิธีที่ทำให้ผู้ชมงานสังเกตเห็นองค์ประกอบนั้นได้ง่าย

ตัวอย่าง


ภาพที่จะที่มีการออกแบบให้มีเอกภาพแบบแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น
ทำให้บ่งบอกว่า รถคันนี้ มีความสามารถ หรือมีอะไรที่น่าสนใจกว่ารถ
คันเล็ก ๆ ที่อยู่ข้างหลัง










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น