Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธุระกิจ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธุระกิจ แสดงบทความทั้งหมด

เริ่มต้นแผนธุระกิจ



จาก
ผังด้านบนแสดงให้เห็นถึง การที่เราต้องการทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
จะต้องมีความรู้ ความสามารถ และ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลของเราให้รู้ว่า
เราเหมาะหรือไม่เหมาะ มันมีโอกาสของความเป็นไปได้มากน้อยเท่าใด ก่อนลงมือทำ
ไม่อย่างนั้น การที่เราเอาเงินไปลง ก็อาจจะเสียเงินทั้งหมด หรือ
อาจจะเป็นหนี้เป็นสินได้ หรือ แม้นแต่จะพยายามขอกู้เงินใคร นายธนาคาร
ก็คงต้องการความมั่นใจว่า งานที่คุณเสนอมา
ประกอบกับหลักทรัพย์ที่นำเข้ามาค้ำประกันนั้น มีความเป็นไปได้
และรายได้ต้องสามารถมีพอที่จะจ่ายธนาคาร
พร้อมทั้งมีพอที่จะดำเนินธุรกิจอย่างสบายๆ ด้วย...

ดังนั้น
การปูพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจของผู้ประกอบการใหม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญว่า
คุณควรจะรู้อะไร และ ทำอย่างไร แต่เหนือสิ่งอื่นใด นั่นคือ
คุณต้องเลือกสิ่งที่คุณจะทำให้เหมาะสมกับตัวคุณ และ
สภาพแวดล้อมของคุณให้ได้ก่อนที่จะให้ใครเข้าไปช่วยเหลือ...

การทำ
ธุรกิจใดๆนั้น ตราบใดที่คุณยังไม่รู้ตัวตนของตนเองเลยว่า คุณอยากทำอะไร
หรือ อยากทำอย่างนี้ อยากทำอย่างนั้น แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงจุดใด
ผมแนะนำว่า ให้คุณลองเขียนโครงร่างของธุรกิจของคุณเสียก่อน
เพื่อจะได้มองภาพโดยรวม และ ภาพอย่างละเอียดได้ว่า สิ่งที่คุณอยากจะทำนั้น
มีความเป็นไปได้ในการทำมากน้อยเพียงใด

ถ้าพูดภาษาที่เลิศหรูอลังการ
ก็คือ ให้คุณ เขียนแผนการประกอบธุรกิจ แต่สิ่งที่ผมอยากให้คุณทำนั้น
มันคงไม่ใช่เอาหลักการณ์ต่างๆ มาลงไว้ซะทุกอย่าง เพียงขอแค่
ผู้ที่จะเริ่มธุรกิจใหม่นั้น ควรจะจัดลำดับความคิด และ
เรียบเรียงสิ่งที่ต้องการทำให้เป็นรูปเป็นร่างที่สามารถสื่อให้คนอื่นรู้ว่า
คุณจะทำอะไร ให้ได้เสียก่อน

สิ่งต่อไปนี้
ผมแค่สมมติให้เห็นถึงการทำธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมก่อนว่า วิธีการคิด และ
ทำอย่างมีเหตุผลนั้น ควรจะทำกันอย่างไร

ยกอย่างเช่น
ถ้าคุณจะขายบะหมี่เกี๋ยว คุณก็ต้องเข้าใจองค์ประกอบต่างๆของบะหมี่เกี้ยวว่า
มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของบะหมี่เกี้ยว 1
ชามประกอบด้วยอะไร - เส้นบะหมี่ เกี้ยว ผักกวางตุ้ง หมูแดง น้ำมัน
ผักชีต้นหอม น้ำซุป เป็นต้น

วิธีการทำบะหมี่เกี้ยวก็เป็นอีกองค์
ประกอบหนึ่งด้วยที่ต้องรู้ขั้นตอนการทำ ตั้งแต่การห่อเกี้ยว การลวกเส้น
การกำหนดส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆ การใส่น้ำมัน การใส่น้ำ เป็นต้น

จาก
นั้น คุณก็ต้องมองว่า
คุณจะต้องมีอะไรอีกที่เป็นสิ่งประกอบการเปิดร้านบะหมี่เกี้ยว เช่น พวงพริก
โต๊ะ เก้าอี้ รถเข็น ช้อน ตะเกียบ แก้วน้ำ ถังน้ำแข็ง อาจจะมีกระดาษทิชชู่
ฯลฯ ตามแต่ที่คุณคิดได้

ถ้ามีวัสดุพร้อมแล้ว ก็ลองหาราคาสินค้าต่างๆ
ว่าราคาเท่าใด จะหามาจากไหนได้บ้างถ้าเปิดร้านค้าจริงๆ คุณก็จะรู้ว่า
เงินที่คุณจะต้องลงทุนกับสิ่งของต่างๆ นั้นราคาเท่าใด

ไม่เพียงเท่า
นี้ ราคาของที่เอามาทำบะหมี่เกี้ยว แต่ละชิ้น แต่ละอย่างนั้นราคาเท่าใด

เมื่อ
คุณได้ราคาต่างๆ ก็มาพิจารณาว่า คุณน่าจะขายบะหมี่เกี้ยวชามนึงราคากี่บาท
อาจจะหาจากต้นทุนทั้งหมดที่คุณมีก็ได้ หรือ
คุณมีเงินพอเพียงต่อการประกอบอาชีพนี้หรือเปล่า มีเงินทุนสำรองเพียงใด และ
คุณมีความรู้เรื่องการทำบะหมี่เกี้ยวมากเพียงใด สิ่งเหล่านี้จะบอกคุณเองว่า
คุณพร้อมที่จะทำธุรกิจในเบื้องต้นได้แล้วหรือยัง...

ถ้าคุณมั่นใจ
ว่าเรื่องเงิน เรื่องการผลิตสินค้านั้น คุณรู้ครบและไม่มีอุปสรรคแล้ว
ก็ค่อยมามองว่า คุณจะขายใคร ราคาขายของคุณเป็นที่ยอมรับของคนซื้อหรือเปล่า
คุณจะขายที่ไหน สถานที่นั้นมีค่าใช้จ่ายหรือเปล่า เหล่านี้เป็นต้น
เพื่อทำให้คุณได้พยายามมองหาจุดขายว่าจะขายที่ไหนก่อน

และ
ถ้าคุณพร้อม และคิดว่า ธุรกิจน่าจะไปรอดแล้ว ก็ค่อยเริ่มธุรกิจ
แต่ถ้าข้อมูลที่คุณคิดบอกว่า คุณยังไม่พร้อม หรือ มันอาจจะไปไม่รอด
ก็อย่าดันทุรังจะเปิดร้านเลยครับ เจ๊งไปเสียเงิน เป็นหนี้
มันไม่มีความสุขหรอก

ไม่ใช่ว่าธุรกิจแต่ละธุรกิจจะคิดเหมือนกัน
มันมีข้อแตกต่างในรายละเอียดอยู่มากขึ้นอยู่กับธุรกิจ
ขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการ
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรวมทั้งตัวตนของผู้จะเปิดร้านค้าว่าเป็นอย่างไร
ดังนั้น คุณต้องค่อยๆคิด และ
วิเคราะห์โดยให้มีความคิดเห็นเป็นกลางมากที่สุด
คุณก็จะสามารถทำสิ่งที่คุณคิดออกมาเป็นกระดาษเพื่อวิเคราะห์ และ
ถ้าผลออกมาคือไม่ควรทำ หรือ ไม่เหมาะที่จะทำ ก็ยกเลิกโครงการไป
แล้วหาโครงการใหม่ขึ้นมาทดแทน ถ้าทำอย่างนี้
คุณก็จะไม่เสียเงินกับการจัดตั้งธุรกิจที่ไม่มีโอกาสหาผลกำไร
แต่ถ้าคุณคิดว่า เรื่องเงินไม่ใช่ประเด็นแต่คุณต้องการเพียงประสบการณ์
ก็แล้วแต่ คุณก็ยังสามารถทำได้

สรุป:
การจะทำธุรกิจนั้น คุณต้องเข้าใจสิ่งที่คุณจะทำ เข้าใจวิธีการทำ
เข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบธุรกิจของคุณ อีกทั้ง
คุณต้องประเมิณความเป็นไปได้ว่า มันสามารถเกิดได้จริงหรือไม่ก่อน
ก่อนที่จะลงเงินลงแรงไปจริงๆ

"รบในกระดาษให้ชนะก่อนออก
สงครามจริง"