Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เชิง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เชิง แสดงบทความทั้งหมด

หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)


หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
 จัดและรวบรวมโดย.อาจารย์พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์






การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์


การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย

•ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ(สถานการณ์)ขององค์กร
•การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
•การนำสิ่งที่ได้(ข้อมูลที่รวบรวมได้) ไปใช้ในการวางทิศทางขององค์กร
•จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร (เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้)


การวางแผนกลยุทธ์ ต้องตอบโจทย์คำถาม 3 ประการให้ได้

1.ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
2.ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3.จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องให้ความสำคัญกับ

1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2.จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พัธกิจ(ภารกิจ) และวัตถุประสงค์ขององกรค์อย่างชัดเจน
3.กำหนดกลยุทธ์โดยพิจารณาความเหมาะสม และการสามารถไปปฎิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4.ปฎิบัติตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5.ความคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฎิบัติงาน ประเมินผลกระบวนการและผระเมินผลสำเร็จขององค์กร

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เมื่อเราต้องการ

1.เปลี่ยนทิศทางและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
2.สร้างกรอบการทำงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในองค์กร
3.กำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณและการประเมินผลการดำเนินงาน
4.ฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
5.เพิ่มความมั่นใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจ

เกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์ (การวางแผน)

1.เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
2.เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3.เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในะยะยาว
4.เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
5.เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้


หลักการ ที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนเชิงกลยุทธ์

1.ลักษณะธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ (What business you are in?)
2.ลักษณะธุรกิจในอนาคต (Where do you want to go?)
3.สภาพแวดล้อม (Environment)
4.การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation)
5.การปฎิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ (Achievement)


กฎของการวางแผนเชิงยุทธ์

1.การแปลงกลยุทธ์ไปสู่ทีมปฎิบัติการต่าง ๆ โดยสร้างให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งทุกคนจะรู้เป้าหมายของตนเองอย่างชัดเจน ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้าง
2.ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพราะแต่ละหน่วยงานย่อมมีบทบาทหน้าที่ มีองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การจะทำให้กลยุทธ์ได้รับการปฎิบัติและดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพื่อสร้างให้องค์กรมีเอกภาพและเข้มแข็ง
3.ทำให้กลยุทธ์เป็นเสมือนงานประจำวันของทุกคน ต้องทำให้ทุก ๆ คนเข้าใจกลยุทธ์ และสามารถทำงานประจำวันของตนไปในทิศทางที่สอดคล้อง สนับสนุนความสำเร็จของกลยุทธ์ ซึ่งไม่ใช่การสั่งการจากบนลงล่าง แต่เป็นการสื่อสารระหว่างทั้งสองระดับ
4.ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง


ปัญหามักเกิดขึ้นในการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ

1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ(ภารกิจ) ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์
2.การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
3.สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
4.หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้
5.การพัฒนาความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

การวางแผนเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ

1.จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนทุกขั้นตอน สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และกระบวนการมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามวงจร
Plan – Do – Check – Act (PDCA)
2.จัดทำแผนที่มีทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฎิบัติ การนำแผนไปปฎิบัติ และระบบปฎิบัติการ
3.กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสมดุลตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ค่านิยมด้านลูกค้า ค่านิยมด้านพนักงาน ค่านิยมด้านธุรกิจ ค่านิยมด้านชุมชน

การคิด เชิงกลยุทธ์ คืออะไร ?...



การคิด เชิงกลยุทธ์ คืออะไร ?... 


การคิด เชิงกลยุทธ์เป็นการ คิดที่ว่า ผู้อื่นคิดอย่างไร แล้วเราจะต้องคิดนำหน้าเขาไปให้ได้อีกหนึ่งก้าวเสมอ นี้คือ การคิดในการจัดการเชิงกลยุทธ์

หากเรารู้จัก คิด จัดการเชิงกลยุทธ์ มันจะมีผลดี ต่อเราอย่างไรบ้าง... ?
• ทำให้เรารู้และมีทิศทางของตนเอง มีวิสัยทัศน์ มีวัตถุประสงค์ อย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
• เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ( รู้เขารู้เรา ) เป็นการได้เปรียบในลักษณะเชิงป้องปราม เป็นการสร้างสรรค์และประยุกต์สิ่งใหม่ที่ดีสำหรับองค์กร


การจัดการเชิงกลยุทธ์ สำหรับในทางธุรกิจ ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ CEO ต้อง คิด และ หา เครื่องมือ มาทำการวิเคราะห์ธุรกิจของตนเอง เพื่อเลือกหนทางที่ดีที่สุด ที่จะเป็นแนวทางบริหารและกำหนดทิศทางของธุรกิจตน โดยอาจจะใช้
หลักการ SWOT วิเคราะห์สถานการณ์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจเข้าช่วยจัดการ
• การวิเคราะห์จุดแข็งขององค์กรธุรกิจ (Strength – S)
• การวิเคราะห์จุดอ่อนขององค์กรธุรกิจ (Weakness – W)
• การวิเคราะห์โอกาสที่องค์กรธุรกิจอาจได้รับ (Opportunity – O)
• การวิเคราะห์อุปสรรค,วิกฤต,ภัยคุกคามที่องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ (Threat –T)

หรืออาจจะใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (General Environment) PEST Environment เป็นแบบในการวิเคราะห์พิจารณาธุรกิจ
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political – P)
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic – E)
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Social – S)
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology – T)

หรืออาจจะใช้ตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน ที่ชื่อว่า Five Force Model ของ Micchael E. Poter เป็นตัวช่วยวิเคราะห์วงการธุรกิจ ที่องค์กรดำรงก็ได้
• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance)
• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer)
• การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier)
• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute)
• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival)

ทั้ง SWOT , PEST Environment , และ Five Force Model เป็นเครื่องมือที่ผู้บริหาร คิด ที่จะนำมาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจของตน
ผลจากการวิเคาระห์ออกเป็นอย่างมาอย่างไร ก็ประเมินเพื่อเลือกทางเดินที่ดีที่สุด เพื่อเป็นแนวทางเดินทางปฏิบัติของธุรกิจของตนต่อไป
แล้วแนวทางการปฏิบัติของการจัดการเชิงกลยุทธ์ล่ะ ! เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เป็นไปตามแผนการที่วางไว้หรือไม่ ถ้าไม่...?...จะทำอย่างไร ?

คราวนี้ลองมาฟังแนวทางของ “ซุนวู” ดูบ้าง โหดดีครับ...
แล้วเราจะรู้ว่า ทหาร ทำไมผู้บังคับบัญชา จึงสั่งหันซ้ายหันขวาได้
ซูนวู เป็นนักการทหารและนักปกครองของจีน ในสมัยของ พระเจ้าเฮอหลู เมื่อซุนวูได้นำตาราพิชัยสงครามที่เขียนขึ้น ทั้ง 13 บทถวายต่อพระเจ้า
เฮอหลู พระเจ้าเฮอหลูได้กล่าวกับซุนวูดังนี้


“ตำราพิชัยสงครามของท่าน 13 บท ข้าฯได้อ่านจบเรียบร้อยแล้ว แต่ท่านจะทดลองปฏิบัติ และแปรขบวนการรบให้ข้าฯดูเป็นขวัญตาจะได้หรือไม่ แล้วการทดลองนี้จะใช้กับอิสตรีจะเป็นไปได้หรือไม่ ?”
ซุนวูตอบว่า “ได้”
พระเข้าเฮอหลู ได้นำนางสนม รวม 108 คนมาให้ซุนวูทำการทดสอบแปรขบวนการรบ ซุนวูได้แบ่งนางสนมออกเป็นทหารหญิง 2 หน่วย และให้ นางสนมเอกคนโปรดของพระเจ้าเฮอหลู 2 คนทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วย โดยให้ทุกคนถืออาวุธและเข้าแถวประจำหน้าที่ แล้วซุนวูก็ได้ออกคำสั่งว่า
“ท่านทั้งหลายทราบดีแล้วหรือยังว่า หลังหัน หน้าหัน ซ้ายหัน ขวาหัน เป็นอย่างไร”
ทหารหญิงทั้งหลายได้ยิน ก็ตอบพร้อมเพียงกันว่า
“ทราบดีแล้ว”
เมื่อสักซ้อมกำหนดเครื่องหมาย และประกาศให้ทุกคนทราบถึงระเบียบวินัยทางทหารแล้ว ซุนวูก็นำขวานอาญาสิทธิ์มาตั้งเรียงรายต่อหน้าทหารหญิง และประกาศอาญาสิทธิ์ในการลงโทษตามวินัยของทหาร จนทุกคนทราบดีแล้ว ก็ลั่นกลองรบ ให้ทหารหญิงทุกคนเคลื่อนย้ายแปรขบวนไปทางขวา ทางซ้าย ทหารหญิงทั้งหลายก็พากันหัวเราะกิ๊กกั๊กด้วยความสนุกสนาน ซุนซูจึงกล่าวว่า
“การกำหนดคำสั่งยังไม่แจ่มชัด ระเบียบวินัยทหารยังไม่เข้าใจกันดี ย่อมเป็นความผิดของผู้เป็นแม่ทัพ”
แล้วซุนวูก็ให้สัญญาณลั่นกลอง และออกคำสั่งต่อไป โดยให้ทหารหญิงเคลื่อนไปทางซ้าย และทางขวา เหล่าทหารหญิงก็ต่างหัวเราะและสนุกสนานกันยกใหญ่ ซุนวูจึงกล่าวขึ้นว่า
“การกำหนดคำสั่งยังไม่แจ่มชัด ระเบียบและวินัยทหารยังไม่เข้าใจดี ย่อมเป็นความผิดของแม่ทัพ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการซักซ้อมและอธิบายหลายครั้งแล้ว ก็ยังไม่อาจรักษาระเบียบวินัยได้ ย่อมถือว่าเป็นความผิดของทหาร”
ซุนวู จึงสั่งให้นำทหารที่เป็นหัวหน้าหน่วยซึ่งเป็นสนมเอกของพระเจ้าเฮอหลู ไปประหารชีวิต (ตัดหัว) พระเจ้าเฮอหลูเห็นซุนวูทำเช่นนั้นก็ตกใจเป็นอย่างมาก รีบลงมาจากพลับพลาที่ประทับและร้องขอชีวิตนางสนมทั้ง 2
ซุนวูจึงกล่าวตอบไปว่า
“เมื่อข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพ อาญาสิทธิ์ในการคุมกองทัพย่อมอยู่ที่ข้าพเจ้า ซึ่งราชโองการของพระประมุขย่อมไม่อาจจะมาลบล้างได้”
ในที่สุดซุนวูก็ได้ให้ทหารนำนางสนมที่เป็นทหารหญิง ไปประหารชีวิตต่อหน้าทหารหญิงทั้งหมด ครั้นแล้วก็ให้นางสนมที่ยื่นถัดไปขึ้นมาเป็นหัวหน้าหน่วยแทนผู้ถูกประหารชีวิต แล้วก็เริ่มให้สัญาณและลั่นกลองรบต่อไป คราวนี้จะให้ทหารหญิง หันซ้าย หันขวา หันหน้า หันหลัง ลุกนั่ง ทหารหญิงก็จะปฏิบัติอย่างพร้อมเพียงตามคำสั่ง ไม่มีใครกล้าออกเสียง หรือหัวเราะอีกเลย
ซุนวูจึงรายงานพระเจ้าเฮอหลูว่า
“บัดนี้ ทหารได้รับการฝึกซ้อมที่ถูกต้องตามกระบวนการรบเรียบร้อยแล้ว จึงขอให้พระองค์ลงมาชมได้ และไม่ว่าพระองค์จะมีพระประสงค์ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ไหน อย่างไรก็ได้ทั้งนั้น แม้แต่จะลุยไฟ ฝ่าคมดาบ ทหารหญิงเหล่านี้ก็ไม่มีความย่นระย่อกลัวความตายแม้แต่น้อย”
พระเจ้าเฮอหลูทรงตรัสว่า
“ข้าไม่ต้องการที่จะลงไปชมแล้ว ท่านกลับไปพักผ่อนได้”
ซุนวูจึงกล่าวต่อไปว่า
“พระองค์ทรงชอบแต่สำนวนในตำราพิชัยสงคราม แต่แท้ที่จริงพระองค์ยังเข้าไม่ถึง หลักการของกลยุทธและยุทธศาสตร์ เลย”

สรุป ทั้ง SWOT , PEST Environment , และ Five Force Model ก็เปรียบได้กับตำราพิชัยสงคราม แต่ละบท (กลยุทธแต่ละบทที่ใช้ในการทำสงคราม) แม่ทัพ ก็คือ CEO ( CEO ย่อมาจากคำเต็มว่า Chief Executive Officer หรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ) คำสั่งก็คือแนวทางปฏิบัติที่ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากท่านเป็นหัวหน้าแล้วสั่งการ สั่งงานไป ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่ง ท่านจะทำเช่นไร ? ก็คงต้องเชือดไก่ให้ลิงดูแล้วในยุคนี้.... ( โหดเหมือนกันนี้ครับ ! )