Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

HTML (ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language)


HTML, XML,  XHTML, DHTML, CSS  เป็นคำศัพท์ที่ได้ยินกันบ่อยๆ ในการสร้างเว็บไซต์  แต่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจนักว่ามันคืออะไรกันแน่ มีความแตกต่าง  และเกี่ยวข้องกันอย่างไร    หาคำตอบได้ในบทความต่อไปนี้ค่ะ
ก่อนที่จะลงรายละเอียดของแต่ละคำ ขอให้ความหมายแบบสรุปก่อน ดังนี้ค่ะ

การออกแบบเว็บเพจ (Page Design)


การออกแบบเว็บไซต์ (Site Design) ซึ่งเป็นภาพรวมไปแล้ว ได้แก่
3.1 การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure Design)
3.2 การออกแบบระบบเนวิเกชั่น (Site Navigation Design)
.

ออกแบบเว็บไซต์


3. ออกแบบเว็บไซต์

ปัจจุบันมีเว็บไซต์อยู่มากมาย และก็มีเว็บไซต์ใหม่เกิดขึ้นทุกวันในอินเตอร์เน็ต นั่นทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้นที่จะเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์ใดก็ได้ ถ้าเว็บไซต์ไหนใช้งานยาก ข้อมูลมากแต่ก็หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ ใช้เวลาโหลดหน้าเว็บนานเกินไป เราก็คงไม่อดทนต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ปิดมันไปซะ แล้วก็เปลี่ยนไปดูเว็บไซต์อื่นๆ แทน
ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจาก การขาดการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีนั่นเองค่ะ
เว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบที่ดี ดูเรียบง่าย สวยงาม ข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่ ใช้งานง่าย ย่อมได้รับความสนใจจากผู้ใช้มากกว่า
การออกแบบเว็บไซต์จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ใช้ และทำให้อยากกลับเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ของเราอีกในครั้งต่อไป 
ถ้าเราคิดไม่ออกว่าจะออกแบบเว็บไซต์อย่างไรดี ให้ลองศึกษาจากเว็บไซต์อื่นๆ เป็นแนวทาง หรือว่าจะประยุกต์จากรูปแบบในสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นิตยสาร หนังสือ แผ่นพับ ที่มีรูปแบบน่าสนใจ

กลยุทธ์คลื่นใต้น้ำ (Below-the-line Strategy)


กลยุทธ์คลื่นใต้น้ำ (Below-the-line Strategy)

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ กลยุทธ์คลื่นใต้น้ำ’ ที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับทางการเมืองเลยนะครับ (โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง!) แต่มันหมายถึงกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอานุภาพสูงประดุจคลื่นยักษ์สึนามิที่ วิ่งผ่านใต้น้ำอย่างรวดเร็ว และพุ่งตรงเข้าสู่เป้าหมายอย่างทรงประสิทธิภาพชนิดที่ใครๆก็ไม่ทันตั้งตัว
ใช่แล้วครับ กลยุทธ์คลื่นใต้น้ำ’ ที่ว่านี้หมายถึง Below-the-line Strategy ที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะแห่งความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้ หลายคนถามผมว่าแล้วนักการตลาดควรจะปรับตัวอย่างไร?
ในยุคที่เศรษฐกิจ เฟื่องฟู ไม่ว่าธุรกิจอะไรก็ขายได้ดีโดยไม่ต้องออกแรงมากนัก นักการตลาดจึงมุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์มูลค่า (Value Creation) ให้กับผลิตภัณฑ์ (Brand) ของตนเองในระยะยาว กลยุทธ์การตลาดแบบ Above-the-line หรือการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆจึงถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง จนทำให้ธุรกิจสื่อและโฆษณาพลอยเติบโตไปด้วย

Below-the-Line



Below-the-Line


เครื่องมือทางการตลาดกลุ่มหนึ่ง ที่มีผู้กล่าวถึงบ่อยครั้งและมีแนวโน้มว่าจะสำคัญและถูกนำมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือเครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดที่เรียกว่า “Below-the-Line” หรือการใช้  “Below-the-Line Campaign” เครื่องมือในกลุ่มนี้แม้ไม่ใช่ของใหม่อะไร แต่เมื่อเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวเน้นโดยกูรูการตลาดระดับโลกอย่างศาสตราจารย์  ดร. Philip Kotler ในการบรรยายแนวคิดในด้านกลยุทธ์ธุรกิจ ให้นักการตลาดไทยได้ฟังไปเมื่อวันที่ 19 .ที่ผ่านมา ที่ในตอนหนึ่งได้พูดถึงการทำ Marketing Promotion ว่า การใช้โฆษณาแบบ Mass เป็นสิ่งที่ได้ผลต่ำในการเพิ่มยอดขาย แต่จะต้องใช้ “Below-the-Line”เท่านั้น ทำให้คำๆ นี้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ในฉบับนี้จึงขอเรียนเสนอถึงคำสำคัญคำนี้

“Below-the-Line”  คืออะไร
                “Below-the-Line : BTL” เป็นคำเฉพาะทางการตลาดที่ใช้กันโดยทั่วไป ใช้ด้วยความคุ้นเคยจนแทบไม่มีใครสนใจที่มาของคำ โดยในปัจจุบันนักการตลาดและนักโฆษณาสื่อสารเข้าใจกันได้ทันทีว่าหมายถึง เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาด ที่มุ่งไปยังผู้กลุ่มเป้าหมายโดยไม่ผ่านสื่อโฆษณา ตัวอย่างเช่น