Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

ความเครียด (Stress)


ความเครียด (Stress)

ความเครียด (Stress) เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายถูกกระตุ้น และมีปฏิกิริยา ตอบโต้เป็น ปฏิกิริยา ทางสรีรวิทยา และจิตวิทยา โดยระบบต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมน และ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลง ไปทั่วร่างกาย เมื่อเกิด ความเครียดภายในจิตใจ มักส่งผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น
  • ทางกาย : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่อิ่มหัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออก ตามมือตามเท้า หายใจตื้นและเร็วขึ้น ใจสั่น ถอนหายใจบ่อยๆ กัดขากรรไกร ขมวดคิ้ว ตึงที่คอ ประสาทรับ ความรู้สึกหูไวตาไวขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น รู้สึกเพลีย ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือ ท้องผูก นอนไม่หลับ หรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจําเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อยๆ แพ้อากาศง่าย
  • ทางจิตใจ : หงุดหงิด สับสน คิดอะไรไม่ออก เบื่อหน่าย โมโหง่าย ซึมเศร้าสมองทํางานมากขึ้น ความคิดอ่านระยะสั้นดีขึ้น การตัดสินใจเร็ว ขึ้น ความจําดีขึ้น สมาธิดีขึ้น วิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจ น้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน
  • ทางสังคม : บางครั้งทะเลาะวิวาทกับคนใกล้ชิด หรือไม่พูดจากับใคร จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ
คงมีหลายคน ที่อยากจะถามว่า เราจะต้องคลายเครียดกันทำไม ความเครียด คืออะไรกันแน่ เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีผลอย่างไรบ้าง ต่อบุคคล 

เส้นประสาทสมอง (cranial nerve )





เส้นประสาทสมอง (cranial nerve )


เรียกกันทั่วไปว่า เส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง ในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีจำนวน 
10 คู่ ส่วน พวกในสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 12 คู่ 
สำหรับคนเรามี 12 คู่ คือ คู่ที่ 1 – 12

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เส้นประสาท ออลแฟกทอรี (olfactory nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับ
กลิ่น เยื่อหุ้มจมูก เข้าสู่ทอรีบัลล์ แล้วเข้าสู่ออลแฟกทอรีโลบของสมอง
ส่วนซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 เส้นประสาทออพติก (optic nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น
จากเรตินาของลูกตาเข้าสู่ออพติกโลบ แล้วส่งไปยังออพซิพิทัลโลบ
ของซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 เส้นประสาทออคิวโลมอเตอร์ (oculomotor nerve ) เส้นประสาท
สั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4 มัด ทำให้ลูกตา
เคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้ และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตา
ทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 เส้นประสาททอเคลีย (trochlea nerve ) เป็นเส้นประสาทสั่งการ
ไปยังกล้ามเนื้อลูกตา มองลงและมองไปทางหางตา

สมอง การทำงานของสมอง


สมอง
สมอง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำการคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง ออกเป็น 3 ส่วน ตามวิวัฒนาการของสมอง

สมอง ส่วนแรก อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน หรือ สมอง สัตว์ชั้นต่ำ ซึ่ง ดร.ไพรบรัม แนะนำว่า เราควรจะเรียก เรปทิเลียนเบรน หรือ สมอง ของ สัตว์เลื้อยคลาน ว่า คอร์เบรน (Core brain) หรือแกนหลัก ของ สมอง คือ สมอง ที่อยู่ที่ แกนสมอง หรือ ก้านสมอง นั่นเอง มีหน้าที่ ขั้นพื้นฐาน ที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทําหน้าที่ เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้ กล้ามเนื้อ มีการเคลื่อนไหว สมอง ส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ การเรียนรู้ จาก สมอง หรือ ระบบประสาท ส่วนถัดไป และทําให้เกิดเป็น ระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึ้นทําให้เรามี ปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจาก อารมณ์ ปราศจาก เหตุผล เช่น สัญชาตญาณ การมีชีวิตอยู่เพื่อ ความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พักอาศัย

การคิดและกระบวนการคิด

การคิดและกระบวนการคิด

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
“การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่างจะคิดให้วัฒนะคือคิดแล้วทำให้เจริญงอกงามก็ได้จะคิดให้หายนะคือคิดแล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้การคิดให้เจริญจึงต้องมีหลักอาศัยหมายความว่าเมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลางไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำให้มีแต่ความจริงใจตรงตามเหตุตามผลที่ถูกแท้และเป็นธรรม”
ความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ล้วนเกิดจากความคิด ของมนุษย์ที่ต้องการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อความต้องการที่ จะมีชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการพัฒนาทางด้านความคิดได้เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน เราจึงควรทราบเกี่ยวกับการคิดและกระบวนการคิด และหาวิธีการต่างๆ เพื่อฝึกตนเองให้เป็นคน ที่คิดเป็นระบบ คิดถูกต้อง เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
 

เลซิติน (Lecithin)



เลซิติน (Lecithin)



เลซิติน (Lecithin)  เลซิตินเป็นสารธรรมชาติที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสกับไขมันบางชนิด และวิตามินในกลุ่มวิตามินบี ไม่สำคัญว่าเลซิตินประกอบด้วยสารใดบ้างแต่สิ่งสำคัญคือเลซิตินเป็นหน่วยพื้นฐานในทุกๆเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ที่สำคัญไปกว่านี้ก็คือเลซิตินนั้นช่วยจับไขมันและคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ด้วยคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของเลซิติน คือ การที่เลซิตินสามารถละลายในได้ทั้งน้ำและไขมัน เลซิตินจึงละลายอยู่ในกระแสเลือดแล้วคอยจับเอาไขมัน หรือคอเลสเตอรอลที่ล่องลอยอิสระในกระแสเลือดและไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดไว้ ด้วยวิธีนี้ของเลซิตินจึงทำความสะอาดระบบหมุนเวียนโลหิตได้ ส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิตินคือ สารฟอสฟาติดิลโคลีน (phosphatidylcholine)  ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอันอุดมไปด้วยสารโคลีน โคลีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มของวิตามินบี ที่มีความสำคัญคือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสื่อประสาทในสมองของเราสารดังกล่าวคือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine)


แหล่งอาหาร


เลซิตินสามารถพบได้ในอาหารหลากชนิดจากผลิตภัณฑ์ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ซอสถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย เรพสีด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ รวมทั้งไข่แดง นม สมอง ตับ ไตและกล้ามเนื้อ  เลซิตินยังพบขายอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบได้ทั่วไปในท้องตลาดมากที่สุด


ส่วนประกอบ


ฟอสฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นสารสำคัญที่พบในเลซิติน ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อรประสาท อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาติดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ


อาการเมื่อขาด


เมื่อกล่าวถึงเลซิตินนั่นหมายถึงสารฟอสฟาติดิลโคลีนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเลซิติน แม้จะยังไม่เคยมีรายงานถึงการขาดเลซิติน แต่งานศึกษาบางชิ้นพบว่า ถ้าร่างกายมีระดับของโคลีนที่ต่ำจะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงชนิดถาวรและมีปัญหาเกี่ยวกับไตด้วย

ประโยชน์


          1. ช่วยป้องกันและสลายโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด
          2. Phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
          3. ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          4. ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones)
          5. ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
          6. การใช้เพื่อป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer's disease) ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา

ขนาดที่ควรรับประทาน


ขนาดรับประทานที่แนะนำเพื่อบำรุงสมองคือ 1,200 -2,400 มิลลิกรัม ถ้ารับประทานเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอสในกระแสเลือดต้องได้รับวันละ 2,400 -3,600 มิลลิกรัม และตามรายงานนั้นจะต้องเพิ่มขนาดรับประทานเป็นวันละ 10 กรัมทีเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณของเลซิตินในน้ำดีและรักษาอาการนิ่ว


ผลข้างเคียง


จากประสบการณ์ของหลายๆท่านที่รับประทานเลซิตินปริมาณหลายกรัมต่อวันพบว่า มีปัญหาบ้างเกี่ยวกับความอึดอัดในช่องท้อง หรือคลื่นไส้ และปัญหาที่พบในกรณีบริโภคโคลีนมากจนเกินไปคือ การมีกลิ่นตัวคล้ายกลิ่นคาวปลาได้