Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

ลักษณะ ของผู้นำคุณภาพ

ลักษณะของผู้นำคุณภาพ
         
         
           อลิสโตเติล กล่าวว่า "Quality is not an action ,it is a habit"
           คุณภาพไม่ใช่สิ่งที่เป็นเพียงการ ปฏิบัติในครั้งหนึ่งครั้งใดเท่านั้น แต่ต้องทำจนเป็นนิสัยต่อเนื่องในการปฏิรูปการศึกษาของไทย  จะ สังเกตุเห็นว่าปัจจุบันทุกคนตื่นตัวกันมาก ทั้งผู้บริหาร ครู อาจารย์   ผู้ปกครอง  ตลอดจนประชาชนและสังคมโดยมาก จะมุ่งเน้นในเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างทางการบริหาร  การ ปฏิรูปหลักสูตร  การปฏิรูปครู และลงไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ของนักเรียน   เพื่อ ไปสู่เป้าหมายด้านคุณภาพการศึกษา   รวมทั้งยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับสากล     แต่ในส่วนที่เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาและนับว่า สำคัญ ซึ่งได้แก่ คุณภาพของผู้นำ ยังมิได้นำมาพิจารณากันสักเท่าใดนัก ส่วนใหญ่มุ่งเน้นในการจัดการอบรมและหาวิธีการคัดเลือก  เพื่อ จัดบุคลากรรองรับตำแหน่งบริหารในโครงสร้างใหม่     ผู้ บริหารบางคนก็กังวลใจเกี่ยวกับการถูกยุบโอนไปในตำแหน่งที่ตนไม่ถนัด   โดยมิได้ใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพของตน เอง   เพื่อให้เป็นเพชรที่ส่องประกายแวววาวเพื่อให้ คนนำไปใช้อย่างทรงคุณค่า  ซึ่งในการปฏิรูปการศึกษานั้นผู้นำนับว่ามีความสำคัญที่นำพาองค์กรไปสู่เป้า หมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพการศึกษา   ผู้นำยุคใหม่ที่เน้นการปฏิรูปจึงต้องเป็นผู้นำคุณภาพเพราะผู้นำที่ไม่มีความ รู้ความสามารถ   ขาดความเข้าใจในด้านคุณภาพแล้วอาจ จะนำองค์กรสู่ความล้มเหลวและหลงทางได้    ซึ่งลักษณะ ของผู้นำคุณภาพมีดังต่อไปนี้
Ø                  เป็นผู้นำวิสัยทัศน์ (visionary Leadership) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคลต่าง ๆ ได้

                  
ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าว ว่า " Without vision the people perished" โดยให้ความสำคัญของวิสัยทัศน์ว่า " ถ้าผู้นำขาดวิสัยทัศน์ ประชาชนก็สาบสูญ " ซึ่งนับว่าวิสัยทัศน์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหาร  ผู้ นำที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องมีความรู้และประการณ์ในการบริหารเป็นอย่างดี  ต้องรู้จักสะสมความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ  มั่นศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ   รวมทั้งต้องมองการณ์ไกล  สามารถวางแผน ระยะยาว  ( Long term plan ning )  สามารถแก้ปัญหา ได้อย่างชาญฉลาด   เปลี่ยนวิกฤติสู่โอกาสได้อย่าง เหมาะสม และที่สำคัญ  สามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อปรับ ปรุงองค์การให้เจริญก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย สามารถต้านทานต่อวิกฤติการณ์ที่มากระทบได้อย่างมั่นคง  ผู้นำ วิสัยทัศน์จึงมีลักษณะดังนี้


          1. ผู้นำต้องกำหนดวิสัยทัศน์ได้อย่างชัดเจน  และสามารถ กระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคลากรอื่นเพื่อให้เกิดการยอมรับ
          2. ผู้นำสามารถกำหนดเป้าหมายร่วมกับบุคคลากรได้อย่างชัดเจน

          3. ผู้นำร่วมกับบุคคลากรกำหนดพันธกิจร่วมกัน  เพื่อ เป็นทิศทางในการดำเนินงาน
          4. ผู้นำร่วมกับบุคคลากร กำหนดยุทธศาสตร์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
Ø                  ใช้หลักการกระจายอำนาจ ( Empowerment ) และ การมีส่วนร่วม
(
Participation )

          
ผู้นำ คุณภาพ  คงมิใช่ผู้นำแบบอัศวินที่มีลักษณะเก่งคน เดียว  ทำงานคนเดียว  ผู้นำ จึงถือคติที่ว่า " Two   heads  are  better  than  one." รู้จักทำงานเป็นทีม   ซึ่งที่จริงแล้วการ ทำงานเป็นทีมเป็นจุดแข็งของคนไทยทีเดียว  เพราะได้ รับการสั่งสมจากวัฒนธรรมประเพณีแต่ดั้งเดิม   สังเกต การทำงานจะช่วยเหลือกันอุปถัมภ์ค้ำจุนกัน   รวม ทั้งประเพณีไทยต่าง ๆ เน้นความสามัคคี  และทำงาน เป็นกลุ่มทั้งสิ้น   แต่เมื่อ เรารับอารยธรรมตะวันตกมามาก    ทำให้คนไทย เป็นปัจเจกชนมากขึ้น  ทำงานแบบตัวใครตัวมัน  ผู้นำ จึงสมควรส่งเสริมให้บุคคลากรทำงานเป็นทีม   โดย เฉพาะผู้นำคุณภาพจะต้องเป็นผู้จุดประกายในด้านนี้  ใน ขณะเดียวกันผู้นำต้องหยั่งรู้ลักษณะบุคคลากรว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ความคิด   ความเชื่อ   ความสามารถในด้านใด     เพื่อมอบหมายงานให้ตรงกับความถนัดของ แต่ละคนได้อย่างเหมาะสม   สามารถกระจายงาน   กระจายอำนาจให้ทั่วถึงและเป็นธรรมรวม   ทั้งมีหลักเกณฑ์การพิจารณา    เพื่อให้ ทุกคนยอมรับและที่สำคัญการเปิดโอกาศให้บุคคลากรมีส่วนร่วมในการทำงาน   ก็นับว่าเป็นการผูกมัดใจให้ทุกคนทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อ พัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย   โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้บทบาทของ นักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนนั้น    ถือว่าเป็นลูกค้าที่สำคัญ  ผู้นำ คุณภาพจึงต้องให้ความสำคัญของลูกค้าเป็นพิเศษ (Customer Focus) ทั้งในด้านการฟังเสียง  การฟังความคิด เห็น  รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ พัฒนาโรงเรียน แต่ขณะเดียวกันผู้นำพึงตระหนักในงานและควรจัดลำดับความสำคัญไว้ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ    หรือในเรื่องคอขาดบาด ตายก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำ  ในการตัดสินใจชี้ขาด และคงไม่โยนภาระหน้าที่ไปให้บุคคลากรทุกเรื่อง

Ø                  เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร

          
การ สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อหน่วยงานเป็นผลทางด้านจิตวิทยา   ทำให้ทุกคนเกิดการยอมรับ ศรัทธา   การ สร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรในโรงเรียน ทั้งครูและนักเรียน  ทำให้ทราบถึงความรู้สึก  ความคิด  ความเชื่อ  ของแต่ละคน  ช่วยลดช่องว่างและความขัดแย้งในการ บริหารการจัดการ    การใช้เทคนิคแบบ MBWA (Managing by Wandering Around)  นับว่าสามารถนำไป ใช้ได้เป็นอย่างดี    ซึ่งผู้บริหารจะต้องไม่ยึดติด กับห้องแอร์   ต้องหมั่นเดินดูการปฏิบัติงานของ บุคลากร    รวมทั้งคอยให้คำชี้แนะและให้กำลังใจอย่าง ใกล้ชิด    ซึ่งเป็นการเดินอย่างมีจุดหมาย เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า โดยมิได้มุ่งจับผิดแต่ประการใด
           นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ช่วยทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนดีขึ้น เพราะสามารถวางแผนส่งเสริมและแก้ปัญหานักเรียนได้เป็นอย่างดี   ขณะเดียวกัน ถ้าผู้บริหารสามารถสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชุมชน  ก็ จะช่วยระดมทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร  สื่ออุปกรณ์  งบประมาณ ฯลฯ  มาสร้างสรรค์พัฒนา โรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ  และทัดเทียมกับโรงเรียน อื่นๆ โดยไม่ต้องรองบประมาณจากต้นสังกัด

Ø                  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

           
ขงจื้อ กล่าวว่า " แม่ทัพที่มีความสามารถอาจถูกแย่งไปด้วยกำลัง แต่ความมุ่งมั่นไม่สามารถแย่งชิงไปได้ "   ผู้นำคุณภาพ จึงต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงาน   ขณะเดียวกันต้อง ตั้งความหวังไว้สูง (High   Expectation) เพื่อ ให้เกิดผลงานที่ดีที่สุด   นอกจากนี้การทำงานต้อง เน้นที่ผลงานเป็นหลัก (Result Oriented)  สังเกต จากผู้นำที่ประสบความสำเร็จ   จะ ต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย    ความ มุ่งมั่นจะประกอบด้วยความวิริยะ  อุตสาหะ  เพราะในการทำงานย่อมมีอุปสรรคและปัญหาคอยทำลายความตั้งใจ และ สมาธิ  ขนาดพระพุทธองค์ยังมีมารมาผจญ   นับประสาอะไรกับปุถุชน   ย่อมมีอุปสรรค อย่างแน่นอน    โดยเฉพาะสังคมไทยที่ได้รับ การปลูกฝังจากนวนิยายหรือละครน้ำเน่าที่มีแต่ความอิจฉาริษยา  เพลิงแค้น  หรือใครได้ดีเป็นไม่ได้ต้องคอย จ้องทำลายกันอยู่ตลอด    แต่ผู้นำคงไม่ย่อท้อต่อขวาก หนามที่มาขวางกั้น   พึงระลึกถึงคำกล่าวของหลวง วิจิตรวาทการที่ว่า " ชีวิตคือการต่อสู้  ศัตรู คือยากำลัง  อุปสรรค  และ ปัญหาคือหนทางแห่งความสำเร็จ "  ซึ่งต้อง เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรเราต้องมองว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรานั้น เป็นไม้บรรทัดวัดความอดทนและความมุ่งมั่นในการทำงานของเรา นอกจากนี้ลองสังเกตง่ายๆ ว่า ถ้าว่าวจะขึ้นได้ต้องมีลมต้าน ปลา เป็นย่อมว่ายทวนน้ำ    มีแต่ปลาตายเท่านั้น ที่ลอยตามน้ำ    ถ้าผู้นำใช้ความมุ่งมั่นและทุ่มเท โดยดำเนินงานไปสู่เป้าหมายได้ก็นับว่าเป็นผู้นำคุณภาพอย่างภาคภูมิใจ
        
Ø                  ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติในการวิเคราะห์และตัดสินใจ

           
ซึ่งมี ลักษณะเป็นผู้นำนวัตกรรม (Innovation leader ship) มีความสามารถในการจัดการกับความรู้  (Knowedge Mangement) และใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ   รวมทั้งใช้ข้อมูลทางสถิติและงานวิจัยมาประกอบในการ ตัดสินใจ    ผู้นำต้องใช้การบริหารที่ยึดความจริงเป็น หลัก   โดยไม่ใช้ความรู้สึก  (Leading by fact, not leading by feeling) ต้องกล้าพูดความจริง เกี่ยวกับปัญหาไม่ปิดปัญหาการบริหาร   แบบ ปัดฝุ่นไว้ใต้พรมต้องหมดไป   ผู้นำต้องนำปัญหามาวาง แผนแก้ไขโดยใช้งานวิจัยเป็นตัวตั้ง   การแก้ไขแบบ สร้างวิมานในอากาศคงจะช่วยอะไรไม่ได้มาก   การใช้คำขวัญและคติพจน์  สุภาษิต  เป็นเพียงแรงเสริมกระตุ้นให้เกิด   ความรู้สึก และกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สามารถบ่งบอกทิศทางในการบริหารได้อย่างแม่นยำ  แต่สิ่งที่นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการ จัดการ คือ  การเก็บข้อมูลอย่างครบถ้วนตามระยะเวลา ที่เหมาะสม  และนำมาวิเคราะห์อย่างชาญฉลาดด้วย เครื่องมือที่น่าเชื่อถือและเที่ยงตรง   เพื่อใช้ เป็นข้อมูลในการพยากรณ์   ด้วย อาศัยหลักแห่งความน่าจะเป็น นับว่ามีประโยชน์ต่อการบริหารอย่างแท้จริง และเพียงระลึกเสมอว่า "คุณภาพมิใช่เรื่องบังเอิญ   แต่คุณภาพเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ "

Ø                  ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง

          
ลักษณะ ของผู้นำคุณภาพที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ  ต้องสนับ สนุนและช่วยเหลือลูกน้องทั้งในด้านส่วนตัวและส่วนรวม    ในด้านส่วนตัวผู้นำต้องให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ ลูกน้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ    ผู้นำต้องหาความ ช่วยเหลืออย่างทันที   ในกรณีที่ไม่สามารถช่วยเหลือ ด้วยตนเอง   ก็ควรแนะนำและชี้ทางให้ ไม่ควรปฏิเสธอย่างขาดเยื่อใย    เพราะการที่คนเราจะขอความช่วยเหลือจากใคร มิใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะนิสัยของคนไทยเป็นคนที่เกรงใจผู้อื่นการที่เขาขอ ความช่วยเหลือจากเรา   แสดง ว่าผู้นำได้รับความไว้วางใจจากลูกน้องเป็นอย่างดี    นอกจากนี้ในด้านหน้าที่การงานผู้นำต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องทำงาน และสนับสนุนให้ความก้าวหน้าเป็นลำดับ  และต้องตัดสิน ด้วยความยุติธรรม   โดยวางมาตรฐานเปรียบเทียบไว้ อย่างชัดเจน (Benchmarking) เพื่อให้ทุกคนไป สู่มาตรฐานนั้น   ถ้าใครไปถึงก็สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าตามลำดับ    ซึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคน    โดยไม่ให้อภิสิทธิ์ เฉพาะกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งและที่สำคัญ   มาตรฐานการเปรียบเทียบนั้นต้องได้รับการยอมรับอย่างทั่วถึง   มิใช่เป็นการสร้างเกณฑ์เพื่อกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ 

มีความสามารถในการสื่อสาร

           
ผู้นำจะต้องสามารถสื่อสารกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ  การทำงานต้องอาศัยหลักการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สำนวนที่ว่า " ตีฆ้องร้องป่าว" นับว่าเป็นสิ่งที่ดี   เพราะนอกจากจะเป็นการประชา สัมพันธ์งานแล้ว   ยังแสดงถึงความโปร่งใส (Transparency) ของการทำงานที่มิได้งุบงิบกันทำ    นอก จากนี้ยังช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและหน่วยงาน   เพื่อ ให้ทุกคนยอมรับศรัทธาหน่วยงาน   และพร้อมที่จะทำงานด้วยความสุขและปราศจากความกลัว   การสื่อสารที่ดีที่สุด คือ การพูดคุยเจรจาแบบปากต่อปากเพื่อให้เห็นถึงบุคลิกภาพ  ความ รู้สึกที่จริงใจต่อกัน    การใช้หนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษรในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น   การใช้อวัจนภาษานับว่าเป็นประโยชน์ต่อการ สื่อสารเป็นอย่างดี   ผู้นำจึงต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีการพูดจาที่น่าเชื่อถือ   มีวาทศิลป์สามารถพูดจูง ใจได้ขณะเดียวกัน   ควรมีลักษณะอ่อนน้อมอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ   ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่ดีต่อการบริหาร และการจัดการ   ซึ่งผู้นำที่เข้มแข็งมิได้หมายถึงผู้ นำที่แข็งกระด้าง

Ø                  มีความสามารถในการใช้แรงจูงใจ

           การใช้แรงจูงใจในการทำงานนับว่ามีความสำคัญต่อการบริหารและการ จัดการเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย    ซึ่ง แรงจูงใจนั้นมีทั้งแรงจูงใจภายในและภายนอก   แรงจูง ใจภายในจะเกี่ยวกับเรื่องของ    จิตวิญญาณ ของแต่ละคน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด   ซึ่งไม่สามารถ หยั่งรู้ได้อย่างชัดเจน  แต่แรงจูงใจภายนอก    พอจะสามารถแยกแยะได้ว่า บุคคลใดมีความสนใจในเรื่องใด   ซึ่งผู้นำจะต้องศึกษาครูอาจารย์ในฐานะที่เป็นผู้ใต้ บังคับบัญชา   ว่าเขามีความต้องการสิ่งใดและตอบสนอง ความต้องการในเรื่องนั้น   เพราะการที่คนจะทำงานเต็ม ศักยภาพนั้นต้องมีแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ทำ    บาง คนต้องมีสิ่งของรางวัลมายั่วยุจึงจะเกิด   บางคนต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่ง   บาง คนต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ แต่บางคนต้องการลาภ ยศสรรเสริญ และได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไป  
ผู้นำจึงต้องวิเคราะห์แยกแยะบุคลากร  และใช้ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ  เพื่อ ผลักดันให้บุคคลทำงานอย่างเต็มกำลังสามารถ           
Ø                  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Chang Leadership )

           ผู้นำคุณภาพจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  โดย เฉพาะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่ความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่   ความคิดที่ออกนอกกรอบหรือกฏเกณฑ์เดิม   เพื่อ ประยุกต์งานให้เกิดความก้าวหน้า  อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  กล่าวว่า
" การแก้ปัญหาในเรื่องเดิม จะต้องใช้วิธีการใหมเท่านั้นจึงจะประสบผลสำเร็จ " ถ้าเรายังมัวย่ำอยู่กับปัญหาเดิม ๆ   โดยไม่เปลี่ยน แปลงวิธีการมีแต่จะสะสมปัญหาไปเรื่อย ๆ เหมือนดินพอกหางหมู   และในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง     การเปลี่ยนแปลงจึงต้องอาศัยผู้นำที่มีความ กล้าหาญและอาศัยความเสี่ยง   เพราะ ครูอาจารย์และคนที่อยู่รอบข้าง    ย่อมเกิดความกลัวในเรื่องการเปลี่ยนแปลง   บางคนกลัวเสียผลประโยชน์บางคนกลัวว่าจะทำให้การปฏิบัติงานเกิด ความยุ่งยากขึ้น บางคนกลัวผลกระทบกับหน้าที่การงานซึ่งผู้นำจะ ต้องวางแผนระยะยาว   เพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ลงไป    เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
          สุภาษิตจีนกล่าวว่า "เข้าถ้ำเสือ    จึงจะได้ลูกเสือ"  ผู้ นำจึงต้องอาศัยความเสี่ยงในการตัดสินใจต่อความเสี่ยงนั้นจะทำให้งานเกิดความ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น   เพราะการทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ แล้วได้ผลดี    ถือว่าเป็นงานชิ้นโบแดงที่ควรแก่ ความภูมิใจ     ดูตัวอย่างพระเจ้าตากสินที่ ให้แม่ทัพนายกองทุบหม้อข้าวแล้วปลุกใจให้ไพล่พลฮึกเหิมเพื่อตีเมืองจันทบุรี เพื่อจะไปกินข้าวในเมืองเป็นต้น    ซึ่งเป็นการใช้ หลักของการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เกิดชัยชนะเป็นต้น   ดังนั้นในปัจจุบันนี้การบริหารที่รอนโยบายหรือ " การทำงานแบบขุนพลอยพยักหรือนายว่าขี้ข้าพลอย "ควรหมดสมัยได้แล้ว   ผู้นำคุณภาพ (Quality Leadership) ควรมี ลักษณะเป็นผู้นำวิสัยทัศน์ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี    การบริหารยึดถือความจริงมากกว่าความ รู้สึก  มีความสามารถในการสื่อสารใช้แรงจูงใจในการบ ริหาร   รวมทั้งเป็นผู้นำใน การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนา   และที่สำคัญ ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นในการบริหาร    โดยเน้นผลงานเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปฏิรูปการศึกษา   ผู้นำคุณภาพจำเป็นต้องยึดลูกค้าเป็นสำคัญ    เพื่อ ตอบสนองความต้องการ  ความจำเป็น    ตลอด จนสร้างความประทับใจเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ    โดย เฉพาะผู้เรียนเป็นลูกค้าคนสำคัญ   ผู้นำคุณภาพจึงต้องมีเป้าหมายในการพัฒนา  โดย ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (Learner centred) โดยมีการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง    โดยใช้หลักการทางสถิติและข้อมูลในการดำเนินงานเพื่อให้เกิด คุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง    และสามารถทัดเทียมกับสากลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติฉบับปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารความขัดแย้ง(Conflict Management)

การบริหารความขัดแย้ง(Conflict Management) article
 
      เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้อง สร้างการถกเถียงหรือความขัดแย้งในลักษณะที่เป็นบวก (Functional Conflict) หากมีความรู้สึกว่ามีความคล้อยตามหรือด่วนสรุปเร็วเกินไป ก็ขอให้ความขัดแย้งนั้นสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น และได้รับความเห็นชอบจากทุกคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
 
     ในอดีตตั้งแต่มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก็เริ่มมีความขัดแย้งกันขึ้นในสังคม มีผู้กล่าวว่าความขัดแย้งเริ่มมีขึ้นเมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันตั้งแต่สองคน ขึ้นไป ระดับความซับซ้อนของความขัดแย้งมีตั้งแต่น้อยจนถึงซับซ้อนมาก ความขัดแย้งในสัตว์ก็มีแต่เป็นลักษณะที่ไม่ซับซ้อน(simple or instinct conflict) เช่น การแย่งอาหาร การแย่งตัวเมียเป็นต้น แต่ในมนุษย์ซึ่งมีความคิด มีอารมณ์ มีการวางแผนซับซ้อน ความขัดแย้งในสังคมยิ่งทวีความซับซ้อนยุ่งมากขึ้นเท่านั้น            
         ความ ขัดแย้งในสังคมมีตั้งแต่หน่วยเล็กคือครอบครัว หน่วยงาน ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับระหว่างประเทศ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อบรรเทาความขัดแย้งให้เบาบางลงจนถึงหมดไปได้          
         ความขัดแย้งในสังคมหรือองค์กรนั้นเป็น สิ่งที่ต้องมีในสังคมและองค์กรที่บริหารงานในระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งในด้านความคิดก่อให้เกิดความเจริญกับองค์กรและประเทศชาติอย่าง มาก ความขัดแย้งเมื่อถึงจุดสรุปก็จะนำไปสู่ความสร้างสรรค์ให้กับองค์กรได้อย่าง เหลือเชื่อ          
        ผู้นำ องค์กรที่มี Competency ที่เรียกว่า Team Leadership จะสามารถกระตุ้นการระดมสมองและบริหารความขัดแย้ง ในการสร้างการทำงานเป็นทีม โดยสมาชิกของทีมทุกคนจะต้องมีความรู้สึกว่าได้รับแรงจูงใจและโอกาสที่จะ แสดงออกมาซึ่งความคิดริเริ่ม และสามารถถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมา เพื่อการหาข้อสรุปหรือข้อยุติ โดยการคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ
         ผู้ นำดังกล่าวต้องมีวิธีที่จะดึงทุกคนออกมาจาก Comfort Zone เพื่อ ให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางและทุกแง่ทุกมุม ก่อนที่จะร่วมกันตัดสินใจ เพื่อให้เป็นฉันทามติของทีม และหลังจากได้ร่วมกันตัดสินใจแล้ว ผู้นำจะต้องให้ทุกคนยึดกฎแห่งการประชุมอันหนึ่งที่เรียกกันว่า Cabinet Rule ที่จะต้องยอมรับและปฏิบัติตามมติของทีมอย่างเคร่งครัด และไม่นำไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เห็นด้วยหลังการประชุม
          ผู้ นำจะต้องเข้าใจด้วยว่า "การตัดสินใจที่ยากที่สุดใน กระบวนการตัดสินใจแต่ละครั้งของสมาชิกของทีมแต่ละคน ก็คือการตัดสินใจในการเข้าร่วมทำการตัดสินใจนั่นเอง" ซึ่งทำให้คนโดยทั่วไปแล้ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเรา) มักจะดำรงสถานะของตนอยู่ใน Comfort Zone แทนที่จะเข้าร่วมใน การถกเถียง ทำให้ต้องมีภาระในการชักแม่น้ำทั้งห้าเพื่อจูงใจให้คนอื่นคล้อยตาม
          สำหรับบางคน แล้วอาจไม่สนุกกับการที่จะต้องพร่ำอธิบายในประเด็นที่ตนเองเห็นว่าไม่น่าที่ จะต้องอธิบายอะไรกันมากนัก
          ดัง นั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องสร้างการถกเถียงหรือความขัด แย้งในลักษณะที่เป็นบวก (Functional Conflict) หากมีความ รู้สึกว่ามีความคล้อยตามหรือด่วนสรุปเร็วเกินไป ก็ขอให้ความขัดแย้งนั้นสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น และได้รับความเห็นชอบจากทุกคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
          แต่ใน อีกกรณีหนึ่งที่ความขัดแย้งได้เกินขอบเขตของประเด็นเชิงธุรกิจและเข้าสู่ ความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัว หรือการชิงดีชิงเด่นกันในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน เกิดเป็นความขัดแย้งในเชิงลบ (Dysfunctional Conflict) แล้ว อาจจะทำความเสียหายให้กับองค์กรมากกว่าผลดี ซึ่งในกรณีนี้ผู้นำจะต้องหาหนทางที่จะขจัดความขัดแย้งดังกล่าวให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะมีการเล่นเกมการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตนเองต่อไป
            ใน การบริหารความขัดแย้งให้เกิดสมดุลนั้น สิ่งแรกที่ผู้นำจะต้องต้องดำเนินการก็คือ การสร้างค่านิยมร่วม (Core Values) ให้แก่ทีมในเรื่องของ ความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันของสมาชิกทุกคนในทีม (Respect for Individuals) ต้องสร้างให้เป็นมาตรฐานของพฤติกรรม (Norms) ที่ทุกคนใช้ในการทำงานประจำวัน
          ผู้นำจะ ต้องสามารถวิเคราะห์ Motives ของสมาชิกของทีมแต่ละคนโดยการ หมั่นสังเกตและโน้มน้าวให้ยอมรับและประพฤติตาม Norms ที่ได้ กำหนดร่วมกันไว้ นั่นหมายความว่า Competency ตัวสำคัญต่อมาที่ ผู้นำจะต้องมีก็คือ Impact and Influence
          จะ เห็นได้ว่าภาวะผู้นำเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดหรือ ขจัดความขัดแย้งใดๆในองค์กร โดยจะต้องสามารถวิเคราะห์ให้ได้ว่ามีความขัดแย้งในองค์กรเพียงพอแล้วหรือยัง และความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นกำลังนำผลดีหรือผลเสียมาสู่องค์กร ซึ่งระดับของความขัดแย้งนี้เอง ที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของตัวผู้นำคนนั้นว่าจะสามารถทำการบริหารงานต่อไปได้ หรือไม่?
           ประเด็น ที่สำคัญที่ผู้เขียนอยากเน้นในที่นี้คือ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และเป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดที่จะหลีกเลี่ยงเลย แต่จะต้องทำการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้องค์กร

10 กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ

10 กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ articleหลายต่อหลายคน ที่ต้องการและแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ
หลายคนที่ล้ม หลายคนที่พลาด
คนที่แข็งแรงคือคนที่สามารถยืนอยู่และแข่งขันในเกมได้ต่อ ไป
แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ล้มจะเป็นผู้แพ้ตลอดไป ยังสามารถที่จะกลับเข้ามาเป็นผู้ชนะได้ 10กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ คือคำตอบของผู้ชนะ


กฎข้อที่1 จงเชื่อมั่นในธุรกิจของตัวเอง และเชื่อให้มากกว่าใครทั้งหมด
ว่ามันต้อง สำเร็จ อุปสรรค์ทุกอย่างสามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยความมุ่งมั่น
และพยายาม ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้


กฎข้อที่2 แบ่งผลกำไรให้กับผู้มีส่วนร่วมในบริษัทฯของคุณทุกคน
แล้วทั้ง 2 ฝ่ายจะกลายเป็นพันธมิตรกันโดยสัญชาติญาณรักษา
ความเป็นองค์กรไว้ และรู้จักใช้อำนาจให้เป็น


กฎข้อที่3 วิธีจูงใจพนักงาน คิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ ที่น่าสนใจในทุกๆวัน
เพื่อท้าทาย พนักงาน ตั้งเป้าหมายของบริษัทฯให้สูงเข้าไว้
จูงใจให้เกิดการแข่งขัน แล้วรักษาระดับนั้นไว้ให้ได้
จากนั้นก็ต้องให้รางวัลตอนแทนที่สมน้ำสม เนื้อด้วย


กฎข้อที่4 สื่อสารทุกอย่างให้พนักงานรู้เท่าที่จะทำได้
เพราะยิ่งพวกเขารู้มากเท่า ไหร่ ก็ยิ่งจะเข้าใจและห่วงใยองค์กรมากขึ้น
และเป็นการสร้างความเคารพใน ตัวของเขาว่าคุณให้ความไว้วางใจ


กฎข้อที่5 ตอบแทนพนักงานเมื่อเขาทำดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่
เขาทำให้องค์กร การให้รางวัลเป็นตัวเงินหรือเป็นส่วนแบ่งจากบริษัทฯนั้น
ช่วยเสริมให้ เกิดความจงรักภักดีได้อย่างหนึ่ง
แต่เราทุกคนล้วนต้องการได้รับคำชมจาก สิ่งที่เราได้ทำลงไป
บางครั้งการได้รับคำยกย่องชมเชยจากเจ้านายที่ถูก เวลานั้นคุ้มค่ากว่า
เงินทองเสียอีก


กฎข้อที่6 ชื่นชมความสำเร็จของตนเอง มองความผิดพลาดให้เป็นเรื่องตลก
อย่าให้ตัว เองเครียดจนเกินไป ให้ปล่อยวางแล้วทุกคนรอบข้างจะปล่อยวาง
เช่นเดียวกับ เรา ทำชีวิตให้สนุกและกระตือรือร้นอยู่เสมอ


กฎข้อที่7 รับฟังความคิดเห็นของทุกคน และหาวิธีให้ลูกน้องเปิดใจพูดในสิ่งที่คิด
ยิ่ง พนักงานที่ต้องพบปะรับมือกับลูกค้าเป็นกลุ่มที่รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น
พยายาม ให้เขาเล่าส่งที่เกิดขึ้น เมื่อฟังแล้วต้องสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบ
ต่อ องค์กรมากขึ้น และผลักดันให้เกิดความคิดดีๆเพิ่มขึ้นด้วย


กฎ ข้อที่8 จงทำให้เกินความคาดหวังของลูกค้า ถ้าทำได้
พวกเขา จะกลับมาหาเราเรื่อยๆ แสดงให้ลูกค้ารู้ว่าใส่ใจเขาอยู่เสมอ
เมื่อเกิดข้อ ผิดพลาดจงอย่าแก้ตัว แต่ขอโทษและยอมรับในสิ่งที่ทำทุกอย่าง


กฎ ข้อที่9 ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีกว่าคู่แข่ง แต่ไม่ใช่ประหยัดในสิ่งที่
จำเป็นต้องใช้ในองค์กร


กฎ ข้อที่10 จงว่ายทวนน้ำ เดินทวนกระแส ยึดกับสิ่งที่เป็นรูปแบบเดิมๆ
เป็นโอกาสที่ดีของคุณที่จะหาตลาดเฉพาะของ ตัวเอง โดยมุ่งไปใน
ทางตรงกันข้ามกับคนอื่นอย่างสิ้นเชิง แต่ต้องเตรียมรับมือกับกับ
กระแสที่เข้ามาขวางให้ไขว่เขว

องค์กรจะรักษาคนดีคนเก่ง ให้อยู่นานๆ ได้อย่างไร

องค์กรจะรักษาคนดีคนเก่ง ให้อยู่นานๆ ได้อย่างไร article
เอ่อ ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจกับการเป็นหัวหน้าคนครับ เพื่อในอนาคตต่อไปในภายภาคหน้ากับ Career path ที่ใครบางคนบอกผมไว้ ผมก็เก็บกลับมาคิดหละครับ ว่าการเป็นหัวหน้าคนเนี่ยต้องทำยังไง บังเอิญวันที่ post ข้อมูลนี่อ่านเจอใน หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจครับ เลยขออนุญาตแปะไว้ใน blog ก็แล้วกัน เผื่อใครอยากจะอ่านก็อ่านได้ครับ

เริ่ม เลยละกัน

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3975 (3175) องค์กรจะรักษาคนดีคนเก่ง ให้อยู่นานๆ ได้อย่างไร (1) คอลัมน์ ถามมา-ตอบไปสไตล์คอสซัลต์ โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา apiwut@riverorchid.com

คนเก่งคนดี (talents) หามาพัฒนาแล้วไม่นานก็จากไปทำอย่างไรจึงจะรักษาคนเหล่านี้ไว้ได้ ? คำถามประเภทนี้เป็นคำถามยอดฮิต หรือเรียกได้ว่าเป็นคำถามอมตะ ซึ่งหมายถึงว่า ไม่ว่าผมจะไปพูดที่เวทีไหน หรือทำงานให้องค์กรใดก็แล้วแต่ จะต้องมีคนถามคำถามทำนองนี้เป็นประจำ

ทุกวันนี้คนพูดถึง คนเก่งคนดี (talents) กันเยอะ หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง talent management เรียกได้ว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งสงครามแย่งชิงคนเก่งคนดี (War of Talents) หลายองค์กรหมดเงินหมดทองไปมากมายในการสรรหา และพัฒนาคนเก่งคนดีขององค์กรแต่แล้วก็ไม่สามารถเก็บพวกเขาไว้ได้ ประมาณว่า ใช้ยังไม่ทันคุ้มก็ไปซะแล้ว

ก่อนที่เราจะพูดถึงวิธีการรักษาคนเหล่า นี้ไว้ ลองมาดูกันก่อนว่าแล้วอะไรล่ะ เป็นปัจจัยที่ทำให้คนเหล่านี้หนีหายไปจากองค์กร

ปัจจัยสำคัญที่หลายๆ องค์กรมองข้าม คือเรื่องของหัวหน้างาน ผมขออนุญาตอ้างถึงคำพูดของ Jack Welch อดีต CEO ของ General Electric ที่เคยพูดไว้ว่า...ไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่า การเอาพนักงานดีๆ ไปไว้กับหัวหน้างานที่ไม่ได้เรื่อง (deadwood) เพราะผลที่องค์กรจะได้รับ ไม่ใช่พัฒนาการที่ดีขึ้นของหัวหน้างานที่ไม่ได้เรื่อง แต่กลับเป็นการจากไปของพนักงานดีๆ ต่างหาก ยิ่งในปัจจุบัน คนทำงานยุคใหม่หันมาให้ความสนใจกับผลการทำงานของตนเองมากขึ้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผลการทำงานของเขาออกมาดีได้นั้น คือการได้รับการพัฒนา และการได้รับข้อมูลป้อนกลับจากหัวหน้า

ไม่ว่า จะเป็นคำติ หรือคำชม แต่คนส่วนมาก (โดยเฉพาะคนไทย) ชมไม่ค่อยเป็น เป็นแต่ติ (แถมติแบบรุนแรงด้วย) ทั้งนี้เพราะการยึดติดอยู่กับความคิดที่ว่าชมมากแล้วเหลิง และติเพื่อก่อ ซึ่งจริงๆ แล้ว คนส่วนมากแปลความหมายผิด คำว่าชมมากแล้วเหลิง ไม่ได้แปลว่าไม่ให้ชมเลย แต่หมายถึงการไม่ชมพร่ำเพรื่อ ส่วนติเพื่อก่อ แปลว่าการติอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แบบหักหาญน้ำใจกัน

จากการวิจัยของ 3 องค์กรดัง อย่าง Hay Group ในปี 2005 McKinsey & Co. ในปี 2006 และ Towers Perrin ในปี 2007 ถึงสาเหตุที่ทำให้พนักงานจากองค์กรไป ได้ข้อสรุปตรงกันดังนี้ คือ

1. การได้รับข้อมูลป้อนกลับ และการโค้ชที่ไม่เพียงพอ
2. ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง
3. การให้รางวัล ผลตอบแทน รวมถึงการชมเชยในการทำงานที่น้อยเกินไป
4. ความรู้สึกว่าองค์กรเห็นความสำคัญในตัวเขา ที่แทบจะหาไม่ได้


ซึ่ง จะเห็นได้ว่าสาเหตุทั้ง 4 ประการ มีผลมาจากทักษะ และความสามารถในการบริหารจัดการของหัวหน้างานทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กรจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ และความสามารถของหัวหน้างานให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้รักษาพนักงานที่เก่งๆ ดีๆ ให้อยู่กับองค์กรต่อไปนานๆ

เพราะ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ผมขอยืนยัน นั่งยัน และนอนยัน ในคำพูดที่มักได้ยินกันคุ้นหูว่าคนเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่จากไปเพราะหัวหน้างาน (People join organization but leave their boss)

ทักษะ ที่หัวหน้างานในยุคปัจจุบันควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม แบบเรียกว่าเป็นไฟลต์บังคับ ได้แก่

1.ภาวะผู้นำ (leadership)
เมื่อ พูดถึงภาวะผู้นำ เรามักพบว่าต่างคนต่างให้คำจำกัดความกันไปหลากหลาย สำหรับผม ผมชอบคำจำกัดความที่สั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความของนักคิดตะวันตกอย่าง Steven Covey ซึ่งบอกไว้ว่าผู้นำมีหน้าที่อย่างน้อย 4 อย่างคือ คอยชี้ทาง (pathfinding) จัดสรรแบ่งงาน (aligning) มอบหมายให้อำนาจ (empowering) และสุดท้าย ซึ่งผมคิดว่าสำคัญที่สุดและทำยากที่สุด คือ เป็นตัวอย่างที่ดี (modeling) เพราะสามอย่างแรกนั้นพอสอนกันได้ แต่เรื่องสุดท้ายต้องอาศัยจิตสำนึกของแต่ละคน

2.การสื่อสาร (communication)

การสื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอันหนึ่งที่ หัวหน้างานที่ดีควรมี แต่ปัญหาคือในสภาพความเป็นจริง การสื่อสารมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามไป ถ้าลองมองเข้าไปดูในทุกๆ องค์กรจะพบว่าหลักสูตรการอบรมส่วนใหญ่ที่สอนเกี่ยวกับการสื่อสาร จะสอนแต่พนักงานเด็กๆ เรามักไม่ค่อยเห็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับการสื่อสารที่จัดให้กับหัวหน้างาน หรือผู้บริหารมากนัก

แต่ผมสังเกตว่าปัญหาในเรื่องการสื่อสารส่วน ใหญ่ในองค์กร มักไม่ได้มาจากเด็ก ส่วนมากมาจากผู้ใหญ่ เวลาผมไปทำงานโครงการที่ปรึกษาในหลาย ๆ องค์กร สิ่งแรกๆ ที่มักจะทำคือการเก็บข้อมูลจากพนักงาน และสิ่งที่ไม่ค่อยพลาด มักได้ยินเสียงบ่นด่าจากพนักงานเสมอๆ เรื่องหนึ่งคือการสื่อสารของหัวหน้างาน หรือผู้บริหาร ตั้งแต่ พูดมากไป พูดเยอะไป พูดวกวน พูดไม่รู้เรื่อง พูดแรง พูดเสียดสี พูดให้หมดกำลังใจ ฯลฯ

นอกจากการพูด ทักษะในการสื่อสารอีกเรื่องที่ควรอย่างมากที่จะต้องพัฒนาให้กับหัวหน้างาน และผู้บริหารเพิ่มเติมคือทักษะในการฟัง เพราะหัวหน้าส่วนใหญ่ฟังไม่ค่อยเป็น จึงไม่ค่อยได้ฟัง

3.ทักษะในเรื่องคน (people competency)

คุณ ทราบหรือไม่ว่า 70% ของบุคลากรที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นเพราะความรู้ความสามารถในงาน และผลงานในอดีต ซึ่งเป็นทักษะเรื่องงาน (task) และ 80% ของบุคลากรที่ถูกให้ออกจากงาน หรือถูกปรับลดตำแหน่ง เป็นเพราะขาดความสามารถในการบริหารจัดการคน ซึ่งเป็นทักษะเรื่องคน (People) (บทวิจัยของ James M. Kouzes & Barry Z. Posner, The Leadership Challenge, 3rd Edition, August 7, 2002)

ดังนั้นจึงขอสรุปง่ายๆ ได้ว่าคนส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพราะเก่งงาน แต่ล้มเหลว และต้องลงจากตำแหน่งเพราะไม่เก่งคน

องค์กรจำนวนมาก พัฒนาหัวหน้างานหลังจากที่เขา หรือเธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่บุญกุศลของแต่ละคนว่าจะช้า หรือเร็วแค่ไหน บางคนรอไม่กี่วัน หลังจากโปรโมตก็ได้รับการพัฒนา แต่บางคนต้องรอชั่วชีวิต ส่วนบางองค์กรถึงแม้จะเป็นส่วนน้อย (แต่ก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองไทย) เลือกที่จะพัฒนา (ว่าที่) หัวหน้างานก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่ง แต่ก็ยังมีองค์กรอีกหลายหลายๆ องค์กรไม่เคยแม้แต่คิดว่าต้องพัฒนาหัวหน้างาน (never) ใครที่เผอิญไปอยู่ในองค์กรประเภทนี้ก็ซวยไป

4.การติดตาม งาน (monitoring ability)

ทักษะหนึ่งที่หัวหน้าคนไทยขาดหายไปคือ ทักษะในการติดตามงาน หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการมอบหมายงาน (บางคนอาจมีปัญหามอบหมายงานมากเกินไปด้วยซ้ำ คือ มอบอย่างเดียว ไม่เคยทำเองเลย แบบนี้บางทีเราเรียกว่าโบ้ย) แต่งานส่วนใหญ่ที่มอบหมายไป มักมีปัญหาไม่ค่อยกลับมา หรือกลับมาไม่ทันเวลาที่กำหนด เข้าข่ายมอบหาย ไม่ใช่มอบหมาย

ซึ่งต้นตอของปัญหาอยู่ที่หัวหน้าไม่ได้ติดตามอย่าง ใกล้ชิด การพัฒนา และฝึกอบรมส่วนใหญ่ที่พูดเรื่องการมอบหมายงาน (delegation) ล้วนพูดถึงวิธีการมอบหมายงานที่ดี แต่ไม่เห็นมีหลักสูตรไหนเลยสอนเรื่องการติดตามงานที่ดี

ในภาษา อังกฤษมีคำพูดสอนใจที่มักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า งานอะไรก็ตามที่ถูกติดตามสอบถาม งานนั้นจะเสร็จก่อน (What gets monitored gets done) ดังนั้น จึงมีคำพูดต่อมาทีเล่นทีจริงว่า ดังนั้น ความสามารถของหัวหน้าคือความสามารถในการติดตามงาน (Ability of Manager is Ability to Monitor)

5 นำ และบริหารการเปลี่ยนแปลง (Leading & Managing Change)

ผมมั่นใจว่าทุกๆ ท่านต้องเคยได้ยินคำพูดที่ว่าสิ่งที่แน่นอน คือความไม่แน่นอน อันมีความหมายเป็นนัยว่า การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และทุกเวลา ไม่มีอะไรแน่นอน ดังนั้นทักษะในเรื่องการบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นทักษะที่หัวหน้างานทุกวันนี้ต้องมี ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไหน หรือวงการใด

ล่าสุดพูดไปท่านผู้อ่านอาจไม่เชื่อว่า เมื่อหลายเดือนก่อนผมได้รับการติดต่อจากวัดชื่อดังแห่งหนึ่ง ให้ไปถวายความรู้ใหัก้บพระผู้ใหญ่ในวัดเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management) ตอนแรกคิดว่าฟังผิด แต่พอได้เข้าไปคุยพระอาจารย์จึงทราบว่า วัดก็เปลี่ยนไปเยอะ พระ ปรับตัวไม่ทันเลยต้องเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลง

ก่อนไปถวายความรู้ ก็ต้องไปทำการบ้าน จึงไปค้นคว้าอ่านตำรับตำราที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลายเล่ม และพบว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสสั่งสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงไว้ตั้งแต่สมัยพระ พุทธกาลแล้วเช่นกันว่าสัพเพ สังขารา อนิจจา แปลว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

ดังนั้น ถ้าหากจะตอบคำถามที่จั่วหัวไว้ข้างต้นว่า จะรักษาคนดีคนเก่งอย่างไรให้อยู่กับองค์กรนานๆ ผมขอลองมองต่างมุมว่า บางทีอาจไม่ใช่เงิน ไม่ใช่ตำแหน่งหรอก ที่จะล่อหรือไล่ให้พนักงานเหล่านี้อยู่หรือไป อาจเป็นหัวหน้างานต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญ

ดังนั้น ถ้าเราจะรักษาคนเก่งคนดี ลองพัฒนาหัวหน้าของเขาให้เก่งขึ้นดีขึ้นสักหน่อยจะดีไหม เผื่อจะได้เกาให้ถูกที่คัน

ภาวะผู้นำความเป็นเถ้าแก่

คุณมีลักษณะบ่งบอกความเป็นเถ้าแก่ 7 อย่างในตัวคุณหรือไม่? article 
ถ้าคุณมี ลักษณะเหล่านี้ในตัวคุณ มันจะคอยเป็นแรงผลักดันให้คุณเริ่มทำธุรกิจและจะนำคุณไปสู่ความสำเร็จ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณครอบครองสัญชาติญาณนักธุรกิจ เพราะมันไม่มีทางจะรู้ได้อย่างแน่ชัด แต่อย่างน้อยผมพบปัจจัยพื้นฐานหลายสิ่งหลายอย่างในความเป็นปัจเจกบุคคลและ จากพื้นฐานครอบครัวของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจที่ส่งผลให้เกิด ลักษณะทั้ง 7 ประการ

อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องมีลักษณะผู้ประกอบการครบทั้ง 7 ข้อ เพื่อการจะทำธุรกิจให้สำเร็จ แต่ถ้าคุณมีลักษณะที่ว่านั้นมากเท่าไหร่คุณก็จะใกล้เคียงความเป็นผู้ประกอบ การที่ประสบผลสำเร็จมากเท่านั้น

1. บรรพบุรุษของคุณมีธุรกิจเป็นของตัวเอง บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจมีแนวโน้มที่บรรพบุรุษหรือคนใกล้ ตัวของเขาจะทำอาชีพส่วนตัว เป็นที่ยอมรับกันดีว่า การหางานทำโดยการเป็นพนักงานบริษัทนั้นง่ายกว่าการริเริ่มทำธุรกิจด้วยตัว เอง แต่สำหรับผู้ที่เลือกจะทำธุรกิจส่วนตัว บ่อยครั้งที่เขาเหล่านั้นเห็นตัวอย่างมาจากคนในครอบครัว

2. คุณไม่ใช่พนักงานที่ดีนัก ขออภัยที่ไม่มีคำพูดหวานๆ คนที่ทำธุรกิจส่วนตัวมักจะเคยถูกให้ออกจากงานหรือเคยทำงานมามากกว่าหนึ่งที่ ผมไม่ได้หมายถึงกรณีที่คุณถูกไล่ออกเนื่องจากทำงานไม่มีประสิทธิภาพหรือ เปลี่ยนงานเพราะต้องการค่าจ้างที่สูงขึ้น แต่เป็นเพราะว่าคุณต้องการ
อิสระ และคุณตัดสินใจที่จะลาออกด้วยตัวของคุณเอง เพราะในใจของคุณคิดว่า ไม่มีใครสามารถปกครองและควบคุมให้คุณทำงานได้ดีกว่าตัวของคุณเอง

3. คุณเข้าความหมายของคำว่า "ความมั่นคงในหน้าที่การงาน" ผมรู้สึกอิจฉาคนบางกลุ่มที่ทำงานให้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นเวลากว่า 25 ถึง30 ปี ดูแล้วช่างมีความสุขเสียจริงๆ แต่คุณรู้จักกับคนแบบนั้นสักกี่คนล่ะ คนผู้ซึ่งทำงานให้กับบริษัทเดิมได้นานๆ ในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยน
แปลงอย่าง รวดเร็วอย่างในปัจจุบัน คำว่า "ความมั่นคงในหน้าที่การงาน" ดูเหมือนความฝันที่พร้อมจะสลายไปทุกเมื่อ

ผู้ประกอบการรายหนึ่งพูด ให้ผมฟังว่า "ถ้าผมทำงานให้ลูกค้าแล้วหัวหน้าของผมรู้สึกไม่พอใจ หรือหัวหน้าคิดว่าลูกค้าไม่ชอบผม, หรือผมเป็นตัวการทำให้ธุรกิจที่เขาดูแลอยู่ขาดทุน หรือด้วยเหตุผลใดๆก็แล้วแต่ ผมก็จะลาออก ถ้าความมั่นคงในอาชีพของผมขึ้นอยู่กับคนๆหนึ่ง บริษัทใด
บริษัทหนึ่ง แต่ถ้าลูกค้าสักคนหนึ่งไม่ชอบผม หรือไม่ทำการค้าด้วย หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมก็ยังคงรู้สึกมั่นคง เพราะผมยังมีลูกค้าคนอื่น หรือถ้าจะยืมคำพูดของนักสังเกตการณ์ธุรกิจ(ผมคิดว่าเขาชื่อ Dilbert) "มีลูกค้ามากเรื่องสักร้อยคน ยังดีเสียกว่ามีเจ้านายงี่เง่าเพียงคนเดียว"

4. คุณจะให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้หรือเปล่า หรือ คุณยังอยู่เฉยๆ บางครั้งการจะลงทุนอะไรสักอย่างเป็นผลมาจากความรู้สึกที่คุณคิดว่าคุณประสบ ความสำเร็จแล้ว คุณมาถึงยอดเขา คุณมองไปรอบๆ และเริ่มคิดว่า "ฉันจะทำอะไรต่อไป?" ผมไม่เถียงว่าการประสบความสำเร็จตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นสิ่งที่ วิเศษ แต่นั่นอาจทำให้คนประเภทนั้นคลั่งได้ถ้ารู้ว่าไม่มีอะไรที่ท้าทายความสามารถ อีกต่อไปแล้ว ขณะที่ร่างกายและความคิดยังมีพลังอีกเหลือเฟือ

ในทาง ตรงกันข้ามแรงขับให้ทำสิ่งใหม่ๆ อาจจะมาจากความคิดที่ว่า คุณอยู่ท่ามกลางคนธรรมดาๆทั่วไปแทนที่จะได้ยืนอยู่แถวหน้า เพราะความหวาดกลัวการอยู่เฉยๆ จะเป็นแรงผลักดันที่มหาศาล โดยเฉพาะถ้าคุณคิดว่าคุณมีแนวคิดที่จะทำอะไรสักอย่างที่คุณคิดว่ามันช่างน่า สนใจ
และมีศักยภาพที่จะทำกำไรได้

5. คุณเข้าใจความเป็นไปของตลาด อย่าพูดถึงไอเดียธุรกิจที่คิดว่าเยี่ยมยอดของคุณ ถ้าคุณยังไม่เคยศึกษาตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการที่คุณคิดจะผลิตออกมาถ้าลอง ไปถามผู้อยู่เบื้องหลังธุรกิจดอตคอมช่วงสักสองสามปีก่อนหน้านี้ คำว่า "เยี่ยม" ของเขา อาจไม่ได้หมายถึง "กำไร" ก็ได้เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งคิดทำธุรกิจเลย ถ้าคุณยังมองตลาดไม่ออก

6. คุณมีสมาชิกในครอบครัวให้การสนับสนุน การเริ่มต้นธุรกิจเป็นอะไรที่ตึงเครียด แม้คุณจะอยู่ท่ามกลางคนที่คอยให้กำลังใจก็ตาม ดังนั้นการเริ่มต้นโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากคู่ครองของคุณ, สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนฝูง เป็นอะไรที่ชวนให้อึดอัดมาก

7. คุณรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองดี คุณอาจประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการเก่ง คุณอาจบริหารเงินเก่ง คุณอาจจะมีความคิดสร้างสรรค์อย่างหาตัวจับยาก หรือ คุณมีความรู้เชิงเทคนิคที่ก้าวล้ำกว่าใคร

คุณมีความสามารถที่กล่าวมา บ้างหรือเปล่า คงเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะทำอะไรได้ดีเลิศไปเสียทุกๆอย่าง หรือในทุกเรื่องที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจ ลืม

เสียเถอะคำว่า "กระบี่เดียวดาย" ไม่ว่าปรัชญาการทำงานแบบ "ข้ามาคนเดียว" ของคุณจะหมายถึงอะไรก็แล้วแต่ จงจำไว้ว่าในที่สุดแล้วคุณจำเป็นต้องหาคนมาช่วยงานของคุณ

การมีคนคอย ช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน, พันธมิตรหรือที่ปรึกษา ผู้ซึ่งคอยช่วยเหลือคุณทำสิ่งที่คุณไม่ถนัด ความช่วยเหลือเหล่านี้เป็นสิ่งชี้

วัดความสำเร็จในธุรกิจของคุณ Ernesto Sirolli เขียนไว้ใน "Ripples From The Zamberi" ว่า "ไม่มีเจ้าของกิจการคนไหนประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของตัวเองล้วนๆ คนที่รู้จักบริหารคนอื่นให้ช่วยทำงานให้ต่างหากจึงจะเป็นผู้ชนะ"