Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

แรงจูงใจ

แรงจูงใจ (Motivation) คือ สิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ อันเกิดจากความต้องการ (Needs) พลังกดดัน (Drives) หรือ ความปรารถนา (Desires) ที่จะพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้ แรงจูงใจเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้น ๆ เอง ภายใน ได้แก่ ความรู้สึกต้องการ หรือขาดอะไรบางอย่าง จึงเป็นพลังชักจูง หรือกระตุ้นให้มนุษย์ประกอบกิจกรรมเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหรือต้องการนั้น ส่วนภายนอกได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่มาเร่งเร้า นำช่องทาง และมาเสริมสร้างความปรารถนาในการประกอบกิจกรรมในตัวมนุษย์ ซึ่งแรงจูงใจนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอก แต่เพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ อาจกล่าวได้ว่า แรงจูงใจทำให้เกิดพฤติกรรมซึ่งเกิดจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่งความต้องการเป็นสิ่งเร้าภายในที่สำคัญกับการเกิดพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งเร้าอื่น ๆ เช่น การยอมรับของสังคม สภาพบรรยากาศที่เป็นมิตร การบังคับขู่เข็ญ การให้รางวัลหรือกำลังใจหรือการทำให้เกิดความพอใจ ล้วนเป็นเหตุจูงใจให้เกิดแรงจูงใจได้

[แก้] ทฤษฎี แรงจูงใจ

ทฤษฎีแรงจูงใจแบ่งออกได้เป็นทฤษฎีใหญ่ ๆ คือ
  • ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)
ทฤษฎี นี้ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past Experience) ว่ามีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าได้รับอิทธิพลที่ เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ใน อดีตเป็นส่วนมาก โดยประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มี ความต้อง การแสดงพฤติกรรมในทิศทางนั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสำคัญของสิ่งเร้า ภายนอก (Extrinsic Motivation)
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเอกลักษณ์และการเลียนแบบ (Identification and Imitation) จากบุคคลที่ตนเองชื่นชม หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการแสดงพฤติกรรมของ บุคคล
  • ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการ รับรู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสำคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation) ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้ ้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทำได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน(intrinsic Motivation) นอกจากนั้นทฤษฎีนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และการวางแผน ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับระดับของความคาดหวัง (Level of Aspiration) โดยที่เขากล่าวว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะตั้ง ความคาดหวังของตนเองให้สูงขึ้น เมื่อเขาทำงานหนึ่งสำเร็จ และตรงกัน ข้ามคือจะตั้งความตาดหวังของตนเองต่ำลง เมื่อเขาทำงานหนึ่งแล้วล้มเหลว
  • ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic View of Motivation)
แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

[แก้] องค์ ประกอบของแรงจูงใจ

นักจิตวิทยาปัจจุบันได้ศึกษาและสรุปว่า องค์ประกอบของแรงจูงใจ มี 3 ด้านคือ
  • องค์ประกอบทางด้านกายภาพ (Biological Factor) ในองค์ประกอบด้านนี้จะพิจารณาถึงความต้องการทางกายภาพของมนุษย์ เช่น ความต้องการปัจจัย 4 เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้
  • องค์ประกอบทางด้านการเรียนรู้ (Learned Factor) องค์ประกอบด้านนี้เป็นผลสืบเนื่องต่อจากองค์ประกอบข้อ 1 ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนไม่สามารถได้รับการตอบสนองความต้องการในปริมาณ ชนิด และคุณภาพตามที่ตนเองต้องการ และในหลาย ๆ ครั้ง สิ่งแวดล้อมเป็นตัววางเงื่อนไขในการสร้างแรงจูงใจของมนุษย์
  • องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Factor)

[แก้] ประเภท ของแรงจูงใจ

นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะของแรงจูงใจออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
  • กลุ่มที่1 แรงจูงใจฉับพลัน (Aroused Motive) คือแรงจูงใจที่กระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรม ออกมาทันทีทันใด แรงจูงใจสะสม (Motivational Disposition หรือ Latent Motive) คือแรงจูงใจที่มีอยู่แต่ไม่ได้แสดงออกทันที จะค่อย ๆ เก็บสะสมไว้รอการแสดงออกในเวลา ใดเวลาหนึ่งต่อ
  • กลุ่มที่ 2 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายในตัวของบุคคลผู้นั้น
แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายนอก
  • กลุ่มที่ 3 แรงจูงใจปฐมภูมิ (Primary Motive) คือแรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการที่เห็นพื้นฐานทางร่างกาย เช่น ความหิว, กระหาย แรงจูงใจทุติยภูมิ (Secondary Motive) คือแรงจูงใจที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากแรงจูงใจขั้นปฐมภูมิ
แรงจูงใจภายในและภายนอก (Intrinsic and Extrinsic Motivation) นักจิตวิทยาหลายท่านไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่อธิบายพฤติกรรมด้วย แรงจูงใจทางสรีระแลแรงจูงใจ ทางจิตวิทยาโดยใช้ทฤษฎีการลดแรงขับ เพราะมีความเชื่อว่า พฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์เกิดจากแรงจูงใจภายใน
  • แรงจูงใจภายใน หมายถึง แรงจูงใจที่มาจากภายในตัวบุคคล และเป็นแรงขับที่ทำให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรม
โดยไม่หวังรางวัลหรือแรงเสริมภายนอก
ความมีสมรรถภาพ (Competence) ไวท์ ได้อธิบายว่าความมีสมรรถภาพเป็นแรงจูงใจภายใน ซึ่งหมายถึงความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ไวท์ถือว่า มนุษย์เราต้องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่วัยทารกและพยายามที่ จะปรับปรุงตัวอยู่เสมอความต้องการมีสมรรถภาพจึงเป็นแรงจูงใจภายใน
ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ความอยากรู้อยากเห็นเป็นแรงจูงใจภายในที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่อยากค้นคว้า สำรวจสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากเด็กวัย 2-3 ขวบจะมีพฤติกรรมที่ต้องการจะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
  • แรงจูงใจภายนอก หมายถึง แรงจูงใจที่มาจากภายนอก เป็นต้นว่าคำชมหรือรางวัล
มอว์และมอว์ (MAW&MAW,1964) ได้เสนอแนะเครื่องชี้ (Indicators) ของความกระตือรือร้นของเด็กจากพฤติกรรมต่อไปนี้
  1. เด็กจะมีปฏิกิริยาบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งที่ใหม่ แปลกและตีกลับคือมีการเคลื่อนไหว หาสิ่งเหล่านั้น
  2. เด็กแสดงความอยากรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม
  3. เด็กจะเสาะแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  4. เด็ก จะแสดงความเพียรพยายามอย่างไม่ท้อถอยในการสำรวจค้นพบสิ่งแวดล้อม
มอว์และมอว์ (Maw and Maw, 1964, 1965) ได้เน้นความสำคัญของความกระตือรือร้นว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และสุขภาพจิต ความต้องการพัฒนาตน (Growth Needs) ก็เป็นความต้องการที่ทำให้เกิดแรงจูงใจภายใน ในการเรียนการสอน ครูมีหน้าที่ที่จะสนับสนุนให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นคว้าสำรวจและทดลองความ สามารถของตน โดยจัดสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนหรือจัดประสบการณ์ที่ท้าทายความอยากรู้อยาก เห็นของนักเรียน

[แก้] รูป แบบของแรงจูงใจ

บุคคลแต่ละคนมีรูปแบบแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ซึงนักจิตวิทยาได้แบ่งรูปแบบ แรงจูงใจของมนุษย์ออกเป็นหลายรูปแบบที่สำคัญ มีดังนี้
  1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) หมายถึง แรงจูงใจที่เป็นแรงขับให้บุคคลพยายามที่จะประกอบพฤติกรรมที่จะประสบสัมฤทธิ ผลตามมาตรฐานความเป็นเลิศ (Standard of Excellence) ที่ตนตั้งไว้ บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะไม่ทำงานเพราะหวังรางวัล
แต่ทำเพื่อจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว ้ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
    1. มุ่งหาความสำเร็จ (Hope of Success) และกลัวความล้มเหลว (Fear of Failure)
    2. มีความทะเยอทะยานสูง
    3. ตั้งเป้าหมายสูง
    4. มีความรับผิดชอบในการงานดี
    5. มีความอดทนในการทำงาน
    6. รู้ความสามารถที่แท้จริงของตนเอง
    7. เป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีการวางแผน
    8. เป็นผู้ที่ตั้งระดับความคาดหวังไว้สูง
  1. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive)ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มักจะเป็นผู้ที่โอบอ้อมอารี เป็นที่รักของเพื่อน มีลักษณะเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเมื่อศึกษาจากสภาพครอบครัวแล้วผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์มักจะเป็น ครอบครัวที่อบอุ่น บรรยากาศในบ้านปราศจาก การแข่งขัน พ่อแม่ไม่มีลักษณะข่มขู่ พี่น้องมีความรักสามัคคีกันดี ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
    1. เมื่อทำสิ่งใด เป้าหมายก็เพื่อได้รับการยอมรับจากกล่ม
    2. ไม่มีความทะเยอทะยาน มีความเกรงใจสูง ไม่กล้าแสดงออก
    3. ตั้งเป้าหมายต่ำ
    4. หลีกเลี่ยงการโต้แย้งมักจะคล้อยตามผู้อื่น
  2. แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive) สำหรับผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจนั้น พบว่า ผู้ที่มีแรงจูงใจแบบนี้ส่วนมากมักจะพัฒนามาจากความรู้สึกว่า ตนเอง "ขาด" ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการ อาจจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ทำให้เกิดมีความรู้สึกเป็น "ปมด้อย" เมื่อมีปมด้วยจึงพยายามสร้าง "ปมเด่น" ขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเองขาด ผู้มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
    1. ชอบมีอำนาจเหนือผู้อื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะออกมาในลักษณะการก้าวร้าว
    2. มักจะต่อต้านสังคม
    3. แสวงหาชื่อเสียง
    4. ชอบเสี่ยง ทั้งในด้านของการทำงาน ร่างกาย และอุปสรรคต่าง ๆ
    5. ชอบเป็นผู้นำ
  3. แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (Aggression Motive)ผู้ที่มีลักษณะแรงจูงใจแบบนี้มักเป็นผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้ม งวดมากเกินไป บางครั้งพ่อแม่อาจจะใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรงเกินไป ดังนั้นเด็กจึงหาทางระบายออกกับผู้อื่น หรืออาจจะเนื่องมาจากการเลียนแบบ บุคคลหรือจากสื่อต่าง ๆ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว จะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
    1. ถือความคิดเห็นหรือความสำคัญของตนเป็นใหญ่
    2. ชอบทำร้ายผู้อื่น ทั้งการทำร้ายด้วยกายหรือวาจา
  4. แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (Dependency Motive)สาเหตุของการมีแรงจูงใจแบบนี้ก็เพราะการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ทะนุถนอม มากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่ พึ่งพา จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
    1. ไม่มั่นใจในตนเอง
    2. ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง มักจะลังเล
    3. ไม่กล้าเสี่ยง
    4. ต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจจากผู้อื่น

การตั้งเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจ

การตั้งเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตคนเรามีความก้าวหน้าคือ "การ ตั้งเป้าหมาย" เพราะเป้าหมายเปรียบเสมือนแสงเลเซอร์ที่จะนำทางเราไปสู่สิ่งที่เรา "ต้องการจะเป็น" หรือ "ต้องการจะมีได้" ถ้าใคร คิดว่าเป้าหมายไม่สำคัญ ลองนึกดูนะครับว่าถ้ากีฬาฟุตบอลไม่มีเสาประตูแล้ว เกมส์การแข่งขันจะเป็นอย่างไร พฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นในแต่ละทีมจะเป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าผู้เล่นแต่ละคนคงจะต้องเลี้ยงลูกไปมาหาที่ยิงประตูไม่ได้อย่างแน่ นอน ใครก็ตามที่ยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตคงไม่แตกต่างอะไรไปจากการเล่นฟุตบอลที่ ไม่มีเสาประตู ชีวิตจะลอยไปลอยมาหาเป้าไม่เจอ ชีวิตการทำงานแต่ละวันจะบอกไม่ได้ว่าทำไปทำไม งานที่ทำวันนี้มีประโยชน์อะไรต่อชีวิตในวันข้างหน้า โอกาสที่จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆอาจจะมีน้อยลงกว่าคนที่มีเป้าหมายใน ชีวิต เพราะคนที่มีเป้าหมายในชีวิต เขาจะทราบได้ทันทีว่าการทำงานในแต่ละวันนั้น จะต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์อะไรใส่กระเป๋าบ้าง แน่นอนว่าประสบการณ์ที่จะเก็บใส่กระเป๋าคือประสบการณ์ที่สอดคล้องหรือสนับ สนุนเป้าหมายชีวิตนั่นเอง
          ถึงแม้เราจะมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าขาดแรงขับเคลื่อนหรือที่เราเรียกกันว่า "แรงจูงใจ" แล้วละก้อ ผมคิดว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ก็ไม่มีความหมายอะไรมากมายนัก คนหลายคนมีเป้าหมายจะเก็บเงิน คนบางคนมีเป้าหมายจะเติบก้าวหน้าในอาชีพ คนบางคนมีเป้าหมายจะมีชื่อเสียงทางสังคม คนบางคนมีเป้าหมายในการศึกษาต่อ ฯลฯ แต่ยังตอบตัวเองไม่ได้ว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น ถ้าไปถึงจุดนั้นแล้วจะได้อะไร ไม่มีอะไรมีผูกมัดหรือไม่ว่าทำไมจะต้องไปให้ถึง ถ้าไปไม่ถึงเป้าหมายจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
          ถ้ามีใครมาบอกเราว่าขอให้เรากระโดดข้ามหน้าผาที่สูงชันซึ่งหน้าผานี้มีความ กว้าง 2 เมตร สูงหลายสิบเมตร ถ้าตกลงไปรับรองไม่ต้องนำไปโรงพยาบาล สามารถนำไปวัดได้เลย เขาบอกให้เรากระโดดโดยที่ไม่มีสินจ้างรางวัลใดๆทั้งสิ้น ลองคิดดูซิครับว่าเราจะกล้ากระโดดหรือไม่ ผมคิดว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่คิดในใจว่า "กระโดดไปทำไม" ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมา ถ้าเขาบอกเราต่อไปอีกว่า ถ้าใครกล้ากระโดด เขาจะให้รางวัลเป็นเงินสดจำนวน 1 ล้านบาท ผมเชื่อว่าอาจจะมีคนบางคนกล้าที่จะกระโดด เพราะแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน 1 ล้านบาทอาจจะมีน้ำหนักเพียงพอสำหรับการกระโดดของคนบางคน โดยเฉพาะคนที่เป็นหนี้สินรุงรัง เจ้าหนี้มาทวงทุกวัน แต่คนส่วนใหญ่อาจจะยังคงไม่กล้ากระโดดอยู่ดีเพราะคิดแล้วมันไม่คุ้มค่าถ้า โชคไม่ดีอาจจะตกลงไปเสียชีวิต
          ถ้าเขาบอกเราต่อว่า สมมติว่าคนที่เรารักมากที่สุดในชีวิตนี้ อาจจะเป็น พ่อแม่ คนรัก หรือลูกของเรายืนอยู่อีกฟากหนึ่งของหน้าผา และกำลังตกอยู่ในอันตราย ถ้าเราไม่กระโดดข้ามไปช่วยภายใน 1 นาที คนที่เรารักมากที่สุดคนนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิต และถามเราต่อว่าเรากล้ากระโดดข้ามช่องว่างของหน้าผานี้หรือไม่ ผมเชื่อเหลือเกินว่าคนส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดจะตอบว่า "กล้า" กระโดดข้ามหน้าผานี้
          ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เหตุผลสำคัญก็คือ แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของชีวิตคนต้องประกอบไปด้วยเป้าหมายบวกกับแรงจูงใจ ถ้ามีเป้าหมายเพียงอย่างเดียว คนจะไม่กระตือรือร้นที่จะไปให้ถึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแรงจูงใจ เพราะแรงจูงใจคือเชื้อเพลิงที่จะขับเคลื่อนชีวิต ในขณะที่เป้าหมายคือทิศทางที่เราจะขับเคลื่อนชีวิตของเราไปในทิศทางที่ต้อง การ ถ้าต้องการให้ชีวิตมีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จดีกว่า เร็วกว่าคนอื่นๆ ผมแนะนำให้ลองกำหนดเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจในชีวิตดังนี้

การกำหนดเป้าหมาย


          เราควรจะกำหนดเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจนว่าอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้า เราต้องการจะ "เป็นอะไร" "มีอะไร" "มากน้อยเพียงใด" และ ควรจะมีการทบทวนเป้าหมายเป็นระยะๆ เช่น ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี เพราะเป้าหมายคือจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์และสิ่งที่เราจะ ต้องทำการกำหนดเป้าหมายจะต้องมีความท้าทาย ไม่ใช่ง่ายหรือยากจนเกินไป เพราะเป้าหมายที่ท้าทายนอกจากจะมีความหมายต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรา แล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งความภูมิใจในอนาคตด้วยหลังจากที่เราบรรลุหรือถึงแม้จะไม่ บรรลุเป้าหมายก็ตาม ถ้าเป้าหมายของเราง่ายจนเกินไป เมื่อเราบรรลุเป้าหมายแล้ว เราจะไม่มีความภูมิใจอะไรหลงเหลืออยู่เลย เช่น ถ้ามีใครมาบอกเราว่าถ้ามีเวลาให้เรา 1 ปีในการฝึกซ้อมเพื่อไปวิ่งแข่ง 100 เมตร โดยให้เราเลือกว่าเราจะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกหรือแชมป์นักเรียนอนุบาล เราคิดว่าเราจะเลือกไปวิ่งแข่งกับใคร แน่นอนทุกคนคงจะเลือกที่จะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกอย่างแน่นอน เพราะถึงแม้จะแพ้ก็ยังมีความภาคภูมิใจกว่าชนะเด็กอนุบาล

สร้างแรงจูงใจ


          ในระยะสั้นเราอาจจะสร้างแรงจูงใจโดยใช้ปัจจัยภายนอกก่อนก็ได้ เช่น ขยันทำงานเพราะต้องการเงิน เพราะต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน แรงจูงใจภายนอกจะเป็นแรงจูงใจในระยะสั้นได้ค่อนข้างดี แต่แรงจูงใจนี้จะไม่จีรังยั่งยืน มันจะลดระดับความรุนแรงลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ต้องดูอื่นไกลให้ดูว่าเวลามีการปรับเงินเดือนประจำปี คนจะมีไฟในการทำงานเพียงเดือนสองเดือนที่ได้เงินเดือนใหม่ พอเวลาผ่านไปหลายๆเดือนเงินเดือนใหม่ที่ได้ไม่ถือเป็นแรงจูงใจอีกต่อไป แรงจูงใจที่จะอยู่กับเรานานและพลังงานไม่มีวันหมดคือแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเอง ภายใน เช่น แรงจูงใจที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตที่เกิดจากแรงบันดาลใจบางสิ่ง บางอย่าง คนบางคนแรงจูงใจอยู่ที่ได้ทำงานที่ตัวเองชอบ คนบางคนมีแรงจูงใจที่เกิดจากความยากลำบากในชีวิต
          สรุป การที่เราจะนำพาชีวิตไปขึ้นแท่นแห่งความสำเร็จนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่เราได้กำหนดเป้าหมายชีวิตได้ถูกต้องและชัดเจนมากน้อย เพียงใด เป้าหมายมีความท้าทายหรือไม่ นอกจากนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างพลังงานขับเคลื่อนชีวิตไปสู่เป้า หมายโดยการสร้างแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน ถ้าต้องการเพิ่มระดับความแรงของแรงจูงใจขึ้นไปอีก อาจจะต้องสร้างพันธสัญญาโดยการบอกับคนรอบข้างว่าเป้าหมายในชีวิตเราคืออะไร เพราะพันธสัญญานี้คือแรงจูงใจ(เชิงบังคับ) ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เราลด ละ หรือเลิกล้มความตั้งใจที่จะไปสู่เป้าหมายที่ได้ให้สัญญาไว้ได้นะครับ
" สูตรความสำเร็จของชีวิต = ความท้าทายของเป้าหมาย x ระดับแรงจูงใจ"

6 แนวทางสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน

เมื่อคุณต้องดูแลทรัพยากรบุคคลขององค์กร สิ่งหนึ่งที่เป็นความท้าทายอย่างมากก็คือการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่ พนักงาน หากปล่อยให้พนักงานไม่มีความสุข ไม่รู้สึกสนุกกับการทำงาน จะส่งผลต่อประสิทธิผลของงานที่พวกเขาทำ ทำให้ผลการทำงานตกต่ำ พนักงานมีอัตราการเปลี่ยนหรือย้ายงานสูงขึ้น HR จึงต้องทำงานหนักเพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีแรงจูงใจและทุ่มเทให้กับการทำงาน รวมถึงพยายามหาวิธีการลดอัตราการเปลี่ยนงานของพนักงานไปพร้อม ๆ กัน ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อที่คุณจะสร้างแรง
จูงใจให้แก่พนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ทำให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของธุรกิจ

รับฟังความคิดเห็นของพวกเขา แล้วนำมารวบรวมเข้าเป็นนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานของคุณ การสื่อสารที่ดีระหว่างคุณกับพนักงานอาจให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งกับคุณและ องค์กร

2. เปิดประตูห้องทำงานของคุณไว้เสมอ

เพื่อฟังความคิดเห็น คำถาม และคำร้องทุกข์ของพนักงาน หรือสร้างกล่องรับความคิดเห็นของพนักงานไว้หน้าห้อง เพื่อให้พนักงานสามารถแสดงความรู้สึก หรือระบายความคับข้องใจต่าง ๆ ได้ อย่าปล่อยให้พนักงานคนใดรู้สึกไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์กร เพราะนั่นจะทำให้แรงจูงใจในการทำงานของเขาลดลง

3. ให้รางวัลแก่คนที่ทำงานหนัก 

วิธีหนึ่งในการให้รางวัลคือ การให้โบนัสตามผลงานของพนักงานแต่ละคน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดมาตรฐานขึ้นมา พนักงานคนไหนทำผลงานได้สูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ก็จะได้รับโบนัส ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน วันหยุดพักผ่อน หรือผลตอบแทนอื่น ๆ และควรแน่ใจว่าการให้โบนัสเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง โดยที่พนักงานทุกคนมีโอกาสได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่นกำหนดว่าถ้าใครผ่านมาตรฐานจะได้ไปดูงานต่างประเทศ หากพนักงานทำได้ 30 คน บริษัทต้องสามารถพาทั้ง 30 คน
ไปดูงานต่างประเทศได้จริง ไม่ใช่ว่าพอดูงบประมาณแล้วไม่สามารถทำได้จริง

4. แสดงความภักดีต่อองค์กรเป็นแบบอย่างที่ดีต่อพนักงาน

หากพนักงานเห็นคุณแสดงความภักดีต่อองค์กร พนักงานก็มีแนวโน้มที่จะเกิดความเชื่อมั่นและทำงานหนักตามคุณ ในทางกลับกันหากคุณแสดงออกว่าไม่ภักดีต่อองค์กร กำลังใจของพนักงานก็จะถดถอยลงไปด้วย คุณสามารถสร้างความรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์กรให้แก่พนักงานโดยการเปิดโอกาส พนักงานได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไป ดีกว่าการรับสมัครพนักงานใหม่เพื่อมาเป็นหัวหน้าของพวกเขา รวมถึงหลีกเลี่ยงการปลดพนักงานหรือให้ออกจากงานด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพนักงานที่ยังอยู่ ทำให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่มั่นคง

5. สร้างที่ทำงานให้มีบรรยากาศแบบครอบครัว

ทำให้พนักงานรู้สึกว่าคุณใส่ใจพวกเขาแต่ละคน มิใช่ใส่ใจเฉพาะงานที่พวกเขาทำเท่านั้น คุณจะประหลาดใจว่าคุณสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้แก่พนักงานได้ เพียงแค่รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน จัดปาร์ตี้เล็ก ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันในบรรยากาศแบบเป็นกันเองเป็นประจำ

6. ทำความรู้จักกับพนักงานให้มากขึ้น

ทั้งนี้คุณไม่จำเป็นต้องล้วงลึกถึงเรื่องส่วน ตัวของพวกเขา เพียงแต่รู้วันเกิดของเขา รู้ว่างานอดิเรกเขาชอบทำอะไร เขาสนใจอะไรเป็นพิเศษ เพื่อให้พนักงานรู้สึกถึงความใส่ใจที่คุณมีให้กับพวกเขา
วิธีการสร้างแรงจูงใจที่กล่าวมา ล้วนอยู่บนพื้นฐานของความใส่ใจ เมื่อคุณทำให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาเป็นคนสำคัญขององค์กร พวกเขาก็จะทุ่มเทให้กับองค์กรอย่างที่คุณต้องการ

TOTAL QUALITY MANAGEMENT (TQM)

TOTAL QUALITY MANAGEMENT (TQM)

TQM เป็นเทคนิคการบริหารชั้นสูงที่ใช้ในการเพิ่มผลผลิตในองค์การโดยมีปรัชญาพื้น ฐานที่ว่า "วิธีที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มยอดขายและทำกำไรให้แก่บริษัทคือ การทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการสามารถสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้"
แนวคิด ด้านการบริหารคุณภาพ เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก โดยนำมาใช้ในสายการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เรียกว่า การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (Statistical Quality Control : SQC) หลังจากนั้น แนวคิดด้านการบริหารคุณภาพก็มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งญี่ปุ่นได้พัฒนาขึ้นมาจนเป็นวิธีการที่ได้ผลดี โดยเรียกกันว่า TQC (Total Quality Control) ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น TQM : Total Quality Management ซึ่งเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
แนวคิด TQM ของญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ ต่างจากเดิมตรงที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะสายการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ได้ทุกหน่วยงานในองค์การ และรวมไปถึงภาคการบริการด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ TQM จะต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันโดยพนักงานทุกคนทั่วทั้งองค์การ

ทำ TQM ไปเพื่ออะไร
วัตถุประสงค์หลัก คือ การสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า นอกจากนั้นยังสามารถมีวัตถุประสงค์ทางการจัดการอื่นๆ เช่น การลดต้นทุน การลดเวลาการส่งมอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานจะต้องปรับปรุงคุณภาพของตนโดยตระหนักถึงวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้

คุณภาพ ตามแบบ TQM
ตามแนวคิดของ TQM คุณภาพไม่ใช่แค่คุณภาพตามข้อกำหนด (Specification) แล้วก็จบเพียงแค่นั้น แต่หมายถึงความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction: CS) ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction: ES) และความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีองค์ประกอบทั้ง 6 คือ
- คุณภาพ (Quality) หมายถึง คุณภาพของสินค้า บริการ และคุณภาพของงานประจำ
- ต้นทุน (Cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิตการให้บริการ และการทำงานที่มีผลต่อราคาสินค้าที่ถูกต้อง และตรงเวลาที่นัดหมาย
- การส่งมอบ (Delivery) หมายถึง การส่งมอบสินค้าและบริการในจำนวนที่ถูกต้อง ไปในสถานที่ ที่ถูกต้อง และตรงเวลาที่นัดหมาย
- ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง ความปลอดภัยของผู้ใช้สินค้าและบริการรวมทั้งความปลอดภัยในการทำงานของ พนักงานซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ
- ขวัญกำลังใจของพนักงาน (Morale) หมายถึง การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง
- สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง การดำเนินงานโดยคำนึงถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย
ดังนั้นเมื่อ พูดถึงคำว่า "คุณภาพ" จะหมายถึงคุณภาพโดยรวม ซึ่งประกอบด้วย Q C D S M E
บริหาร หรือทำอย่างไรจึงเรียกว่าทำอย่าง TQM
- ทำอย่างมีหลักการ (Scientific) โดยอาศัยข้อมูล (Data) และเหตุผล (Logic)
- ทำอย่างมีระบบ (Systematic) โดยอาศัยวงจร PDCA
- ทำอย่างทั่วถึง (Total หรือCompany-wide) คือทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงานต้องทำ

การ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

การ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ประกอบขึ้นจากแรงกระตุ้น 2 ด้าน คือ แรงกระตุ้นจากภายใน และแรงกระตุ้นจากภายนอก เราจะใช้แรงกระตุ้นทั้ง 2 ด้านอย่างไร เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

แรงกระตุ้นภายใน Internal inspiration
1. การตั้งเป้าหมายในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อกำหนดอนาคตและความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
2. ความท้าทาย (Challenge) เป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้จะกลายเป็นความท้าทายที่ทำให้เราก้าวไปจนประสบความ สำเร็จ แต่ที่สำคัญเป้าหมายจะต้องไม่ไกลเกินตัว เพราะจะกลายเป็นความเพ้อฝันไม่มีวันจบสิ้น
3. ความมั่นใจ (confident) เราต้องมั่นใจในตัวเอง มั่นใจในความสามารถ ความพยายาม ความพากเพียรและความอดทน ซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จได้
4. คำมั่นสัญญา (Commitment) เราต้องมีคำมั่นสัญญากับตัวเราในการที่จะทำให้เป้าหมายที่วางเอาไว้ประสบ ความสำเร็จให้ได้ คำมั่นสัญญานี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เราสร้างวินัยในตัวเอง เพื่อความสำเร็จที่ตั้งเอาไว้

อาจจะสรุปได้ว่า เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน มิใช่การทำงานแบบวันต่อวัน เพื่อสร้างแรงจูงใจที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

แรงกระตุ้น ภายนอก External inspiration
1. สถานที่ทำงาน บรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
2. เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร
3. กฎ กติกา ระเบียบ และการลงโทษ
4. การให้คำชมเชย หรือของรางวัลในความสำเร็จ
5. คำตำหนิ หรือการสอนสั่งต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เราประสบความสำเร็จ
6. สิทธิ ผลประโยชน์ รายได้ หรือสวัสดิการต่างๆ ที่พอเหมาะพอเพียง (การทำงานไม่จำเป็นที่เราต้องหวังผลตอบแทนจนเกินตัว)

แรงกระตุ้นจาก ภายนอกเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ให้เราพยายามมองให้มุมบวกให้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข