Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

Wireless กับ Wi-Fi คืออะไร ?


Wireless กับ Wi-Fi คืออะไร ?

 
บางคนอาจกำลังสับสนกับคำสองคำนี้ คือคำว่า Wi-Fi ( อ่านว่า วาย-ฟาย ) กับ Wireless ( อ่านว่า วาย-เลส ) มันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร มาดูกันดีกว่าครับ<

Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น
ระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทยุ (Radio) หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้

การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย มีมาตราฐาน IEEE802.11 เป็นมาตราฐานกำหนดรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งมาตราฐานแต่ละตัวจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อสารข้อมูล เช่น 802.11b และ 802.11g ที่ความเร็ว 11 Mbps และ 54 Mbps ตามลำดับ และขอบเขตของสัญญาณคลอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 เมตรในพื้นที่โล่งและประมาณ 30 เมตรในอาคาร ซึ่งระยะทางของสัญญาณมีผลกระทบจากสิ่งรอบข้างหลายๆ อย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ ความหนาของกำแพง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ รวมถึงร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้งานเครือข่ายไร้สายทั้งสิ้น
การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure การใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้บริการทั่วไปจะเป็นแบบ Infrastructure คือมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ของผู้ให้บริการเป็นผู้ติดตั้งและกระจายสัญญาณ ให้ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเรียกว่า "การ์ดแลนไร้สาย" หรือชนิดใหม่จะทำมาเป็นชนิด USB เรียกว่า Wireless USB ( รูปร่างเหมือน ThumDrive ) เป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไป Access Point ของผู้ให้บริการ

สรุปก็คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน ( LAN ) ที่ใช้สายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณและใช้งานได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง

Wi-Fi คืออะไร 

Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก 

Wireless คืออะไร

Wireless คือลักษณะของการใช้งานอุปกรณ์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แปลตรงตัวว่าไร้สาย ฉะนั้นอุปกรณ์อะไรก็ตามที่ติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ใช้สายสัญญาณถือว่่าอุปกรณ์นั้นเป็น Wireless เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเรียกอะไรก็เหมือนๆ กันครับไม่ผิด Wireless ก็ถูกครับ Wi-Fi ก็ถูกครับ 

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )
q

         รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่ 

2 Client/server (Infrastructure mode)
q

         ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น 

3 Multiple access points and roaming
q

         โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง 
|
4 Use of an Extension Point
q

        กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ 

5 The Use of Directional Antennas
q

         ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน


ความ อ้วน-ผอม ของคนไทย



 ความ อ้วน-ผอม ของคนไทย


ความสูง
(เซนติเมตร)
คนไทย
น้ำหนัก(กิโลกรัม)
องค์การ
อนามัยโลก
โครงร่างคนอเมริกัน(พศ.2523)
เล็ก
กลาง
ใหญ่
ชาย
150-154
155-159
160-164
165-169
170-174
175-179
45-51
49-55
52-58
55-63
58-66
59-67
54-57
57-60
60-63
63-66
67-69
70-73
-
56-60
58-62
59-64
61-67
63-70
-
57-63
59-66
61-68
62-71
66-74
-
59-68
62-71
64-74
66-78
68-81
หญิง
140-144
145-149
150-154
155-159
160-164
165-169
39-45
44-50
46-52
49-57
52-60
53-65
45-47
47-50
50-52
53-55
56-59
59-62
-
44-50
46-53
47-55
49-58
52-61
-
48-55
49-58
51-60
54-63
57-66
-
52-60
53-63
56-66
58-70
61-73
ตารางที่1:น้ำหนักเฉลี่ยของผู้ใหญ่ไทยปกติในช่วงความสูงต่างๆ เปรียบเทียบ กับน้ำหนักมาตรฐาน ขององค์การอนามัยโลก และของคนอเมริกัน 

ตารางสำหรับคนไทย
สมการสำหรับคำนวนร่างกายของผู้ใหญ่ไทย จากความสูง (น้ำหนักเป็นกิโลกรัม, ความสูงเป็นเซนติเมตร) 


ชาย
น้ำหนัก=(0.67 x ความสูง)-52.61
(ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าประมาณ = 7.6 กิโลกรัม)



หญิง
น้ำหนัก=(0.69 x ความสูง)-56.67
(ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าประมาณ = 8.2 กิโลกรัม)


คนไทยมีน้ำหนักน้อยกว่าคนฝรั่ง ที่สูงเท่ากัน ดังนั้น ถ้าใชเกณฑ์ มาตรฐานของคนฝรั่ง (รวมทั้งขององค์การอนามัยโลก) คนไทยส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในพวก"ผอม" แต่คนไทยที่ได้รับการสำรวจ ประมาณร้อยละ 90 เป็นผู้ที่มีรูปร่างสันทัด สมส่วน ไม่อ้วนไม่ผอม ถ้าทำให้น้ำหนักร่างกายคนไทย เท่ากับฝรั่ง คนไทยคนนั้นจะอ้วนลงพุงให้เห็นอย่างชัดเจน เกณฑ์มาตรฐานของฝรั่ง จึงนำมาใช้กับคนไทยไม่ได้ 

สูง(ซม)
น้ำหนัก(กิโลกรัม)
ช่วงอายุ 15-19
20-34
35-64
65-68
ชาย
150-154
155-159
160-164
165-169
170-174
175-179
40-44
46-50
49-53
51-57
56-62
57-64
45-51
49-55
51-57
53-61
57-65
57-65
47-55
50-58
53-61
55-66
59-69
59-69
43-51
43-49
49-59
52-58
58-64
-
ช่วงอายุ 15-29
30-54
55-64
65-88
หญิง
140-144
145-149
150-154
155-159
39-45
42-48
43-50
45-55
39-44
45-53
47-55
51-60
36-46
42-48
46-54
50-58
42-45
38-46
44-54
43-53
ตารางที่ 2 :ตารางความสูง-น้ำหนักของคนไทย สำหรับผู้ใหญ่ไทย ในช่วงอายุต่างๆ (ช่วงอายุที่ใช้เป็นช่วงอายุ ที่น้ำหนักของช่วงนั้นต่างจากช่วงอายุอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ) 

จากหนังสือ วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ โดย นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม

Copyright 2008 http://www.LearnLand.net 
System Powed By www.LearnLand.net

โปรแกรมวิ่งมาราธอน


ตารางการฝึกซ้อมวิ่งมาราธอน
สำหรับผู้จนเวลา

( โดย  Jeff  Galloway, Runner's world, August 1990 )

 
สัปดาห์อังคารพฤหัสบดีอาทิตย์
130 นาที30 นาที19  -  22 กม.
230 นาที30 นาที         13 กม.
330 นาที30 นาที 24  - 27  กม.
430 นาที30 นาที         13 กม.
530 นาที30 นาที29 - 32 กม.
630 นาที30 นาที          13 กม.
730 นาที30 นาที34  -  37 กม.
830 นาที30 นาที          16 กม.
930 นาที30 นาที38  -  42 กม.
1030 นาที30 นาที          19 กม.
1130 นาที30 นาที          19 กม.
1230 นาที30 นาทีมาราธอน


            ในประสบการณ์ของผู้เขียน  การวิ่งมาราธอนไม่ใช่ของง่าย  แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือการฝึก  เพราะในระหว่างฝึกซ้อมซึ่งกินเวลา 3-4 เดือนนั้น  แทบจะกระดิกตัวไปไหน ไม่ได้เลย   กินนอนต้องเป็นเวลา  ตื่นแต่เช้าตรู่  ( ตี 4 ตี 5 ) เพื่อมาซ้อมวิ่งยาวนับสิบกิโลเมตรเกือบทุกวัน  ครั้นตกบ่ายก็ง่วงเหงาหาวนอน  อ่อนเพลียอยู่เป็นนิจศีล  พลอยให้การงานบกพร่องแล้วยังมีเรื่องของการเจ็บแข้งขาเข้ามาผสม  บางครั้งก็เป็นหวัด  เพราะซ้อมหนักเกินไป
            ฉะนั้น ผู้เขียนจึงดีใจมากที่เห็นตารางฝึกซ้อมมาราธอน ในหนังสือรันเนอร์  เวิร์ลด์ ซึ่งบอกวิธีการฝึกที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาได้ทั้งหมด
             ตารางฝึกอันนี้บอกให้วิ่งสัปดาห์ละ 3 วัน ( อย่าเพิ่งหัวเราะ   ) คิดเป็นระยะทางไม่เกิน  50 กิโลเมตร ( ต่อสัปดาห์ )  ฟังดูแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้  เราท่านที่เคยซ้อมวิ่งมาราธอนมาแล้ว  คงรู้ว่า  ไม่ว่าเราจะใช้ตารางการฝึกซ้อมของใคร  จะต้องวิ่งอย่างต่ำสัปดาห์ละ 5 วัน ( ส่วนใหญ่จะให้วิ่ง 6 วัน ) คิดเป็นระยะทางราว 80 กิโลเมตรต่อสัปดาห์  จึงจะสามารถวิ่งมาราธอนได้ด้วยความมั่นใจ
            แต่ตารางอันนี้  ชื่อคนคิดตารางนี้ ก็น่าเชื่อถืออยู่ นายเจฟฟ์  กัลโลเวย์  แกเป็นนักวิ่งโอลิมปิค  10,000 เมตร  ตัวแทนทีมชาติอเมริกา  และเปิดแคมป์ฝึกวิ่งอยู่ที่เมือง  เลคตาโฮ  แกใช้ตารางนี้กับลูกศิษย์ที่มาฝึกกับแกร่วมสิบปีแล้ว  ฝึกให้คนวิ่งมาราธอนสำเร็จนับพันคน  ฉะนั้นถ้าเราจะลองดูกับตัวเองบ้าง  ก็ไม่น่าเป็นเรื่องเสียหาย

            เสน่ห์ของโปรแกรมฝึกอันนี้อยู่ที่

            หนึ่ง  ใช้เวลาวิ่งเพียงสัปดาห์ละ 3 วัน  เหมาะสำหรับคนมีเวลา ( ให้การวิ่ง )  น้อย  แถม 2 วันที่วิ่งในช่วงทำงาน  วิ่งเพียงวันละ  30 นาที  เท่านั้น  อย่างนี้ใครๆ ก็ทำได้  และไม่ต้องโดดงานตอนบ่ายหาเวลางีบ
            สอง  เก็บวันวิ่งยาวไว้วันหยุดสุดสัปดาห์เพียงวันเดียว   ก็จะเป็นวันเสาร์หรืออาทิตย์ ก็แล้วแต่สะดวก  แถมไม่ต้องวิ่งยาวมากๆ ทุกอาทิตย์  อย่างนี้เท่ากับว่าให้เวลาร่างกายได้พักเหลือเฟือ  โอกาสเจ็บหรือล้าตลอดจนเกิดอาการโอเวอร์เทรน ( Overtrain )  
            ความเป็นไปได้ของการวิ่งมาราะอนสำเร็จโดยการฝึกตามโปรแกรมนี้ มีมากน้อยแค่ไหน  ส่วนตัวผู้เขียนเอง  คิดว่าน่าจะเป็นไปได้สูง  เพราะผู้เขียนมีความรู้สึกมานานแล้วว่าการซ้อมมาราธอน  ตัวที่สำคัญที่สุดคือวันวิ่งยาวเท่านั้น  วันวิ่งอื่น ๆ เป็นเพียงตัวประกอบโปรแกรมนี้ออกมาจึงถูกใจผู้เขียนเจ๋งเป้ง
             แต่แน่นอน  การฝึกตามโปรแกรมนี้ไม่ใช่เพื่อทำเวลาให้ดีที่สุด  ( สำหรับตัวเอง )  นายเจฟฟ์ก็กล่าวเตือนไว้เช่นนั้น  แต่สำหรับคนที่อยากลงวิ่งมาราธอนให้ถึงในสภาพเรียบร้อยพอสมควร  ( คืออาจมี " ชนกำแพง "  บ้าง แต่ก็ไม่หนักนัก  )  และขัดสนในเรื่องเวลา  ผู้เขียนบอกได้ว่า  ตารางการฝึกซ้อมอันนี้  น่าสนใจ  เป็นอย่างยิ่ง
             ก็ลองดูกัน  แล้วกระซิบบอกผลให้ฟังบ้าง


หมายเหตุ.- 


1. ผู้ที่เริ่มโปรแกรมนี้ควรมีพื้นฐานการวิ่งที่แน่นเพียงพอ  คืออย่างน้อยสามารถวิ่งได้ 16 กิโลเมตรติดต่อกัน
2. วันวิ่งยาวจะเป็นเสาร์หรืออาทิตย์ก็ได้  ตามสะดวก
3. วันวิ่งยาวให้วิ่งยาว ( มาก )  อาทิตย์เว้นอาทิตย์   โดยเพิ่มระยะทางครั้งละ  3-5 กิโลเมตร
     จนถึงระยะทางมาราธอน  ( 42  กิโลเมตร ) ส่วนวันอาทิตย์ที่วิ่ง  " ยาวน้อย "  จะลงแข่งขันบ้างก็ได้

4. ช่วงยากของตารางฝึกนี้  คือวันวิ่งยาว  ซึ่งบางครั้งยาวมากจนเท่าวิ่งมาราธอน  จึงควรมีเพื่อนร่วมวิ่งไปด้วย  เพื่อคลายเหงา  ถ้าหาเพื่อนนักวิ่งฝีเท้าระดับเดียวกัน  จุดมุ่งหมายเดียวกัน มาร่วมฝึกซ้อมจะช่วยได้มาก
5. ในวันธรรมดา  วิ่งวันละ  30 นาที  ไม่กำหนดระยะทางและความเร็ว  ควรวิ่งสบาย ๆ โดยเฉพาะในวันอังคาร  ซึ่งยังอาจเมื่อยขบจาการวิ่งยาวของวันอาทิตย์ก่อน  แต่ถ้ารู้สึกคึกคักดี   อาจใช้เป็นวันฝึกความเร็ว
6. ในวันวิ่งยาว  (มาก )  วิ่งด้วยความเร็วที่ช้ากว่าความเร็วที่จะใช้ในวันแข่งราว  75 วินาที ต่อกิโลเมตร  เช่นถ้าจะวิ่งมาราธอนด้วยเวลา  4  ชั่วโมง 15 นาที  ( ราว 6 นาทีต่อ กิโลเมตร )  ก็วิ่งซ้อมด้วยความเร็ว 7 นาที 15 วินาที  ต่อ กิโลเมตร  เป็นต้น
            นอกจากนี้ในช่วงวิ่งยาว  ไม่ควรวิ่งม้วนเดียวจบแต่สลับกับการเดิน  เช่นวิ่งสัก  10-15 นาที  สลับกับการเดินช่วงสั้น ๆ  15-30 วินาที  เพื่อผ่อนคลายและพักกล้ามเนื้อช่วงพักนี้ควรกินน้ำไปด้วย
7. ในวันที่ ที่ไม่ได้วิ่ง  ( จันทร์, พุธ , ศุกร์ , เสาร์ )  อาจพักเฉยๆ หรืออกกำลังแบบแอโรบิกอื่นๆ  เช่น ว่ายน้ำ , จักรยาน , หรือยกน้ำหนักเบาๆ ซึ่ง นายเจฟฟ์  บอกว่า  ทำแบบนี้จะดีกว่า  เอาเวลาไปวิ่งช้าๆ เบาๆ  ซึ่งนอกจากไม่ช่วยเพิ่มความฟิตแล้ว  ยังไม่ได้พักกล้ามเนื้อที่ใช้ในการวิ่งอย่างเต็มที่ด้วย


( จากนิตยสารเพื่อชีวิตที่ดีกว่า  โดย..นพ.กฤษฎา  บานชื่น )









ทำไมถึงปิดการขายไม่ได้สักที?

ทำไมถึงปิดการขายไม่ได้สักที?



ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับนักขายที่ไม่ประสบความสำเร็จในการขายก็คือ การมีทัศนคติไม่ดีต่อลูกค้า มองลูกค้าเป็นคนที่ คุณต้องเอาชนะให้ได้ จึงไม่ได้ปฏิบัติกับลูกค้าอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย และไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แต่มุ่งความต้องการ ปิดการขายของตนเองมากกว่า หากคุณต้องการประสบความสำเร็จในการขาย จงเปลี่ยนทัศนคติของคุณตั้งแต่วันนี้
  • ลูกค้าชนะ...คุณก็ชนะ
    การขายที่ดีที่สุดคือการขายที่ผู้ขายและผู้ซื้อได้รับประโยชน์เป็นที่พึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย หรือที่เรียกว่า Win-Win ซึ่งหมายความว่า คุณชนะ เพราะลูกค้าชนะ ไม่ใช่การมีชัยชนะเหนือลูกค้า เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าจากคุณ เขาซื้อผลประโยชน์ และผลประโยชน์นั้นอาจอยู่ในรูปของการผลิตที่เร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง ยอดขายสูงขึ้น เป็นต้น คุณต้องเฝ้ามองลูกค้าและเห็นลูกค้าเกิดประโยชน์เหล่านั้นด้วย ไม่ใช่แค่ปิดการขายได้แล้วก็จบ ไม่สนใจลูกค้าอีกต่อไป
  • อย่ามองลูกค้าเป็นศัตรู
    เมื่อคุณมองลูกค้าเป็นศัตรู นั่นหมายความว่าความคิดคุณจะเป็นตัวกำหนดการกระทำของคุณ คุณคิดว่าลูกค้าเป็นศัตรู คุณจึงต้องพยายามเอาชนะลูกค้า หลอกลวงลูกค้าด้วยปัญญาหรือแสดงตัวข่มลูกค้า พฤติกรรมเช่นนี้จะไม่มีวันทำให้คุณประสบความสำเร็จในการเป็นนักขายได้เลย ในทางกลับกันคุณยังจะเสียลูกค้า และอาจเกิดชื่อเสียงที่ไม่ได้กับตัวคุณด้วย

เคล็ดลับการขายพิชิตใจลูกค้า


เคล็ดลับการขายพิชิตใจลูกค้า


เชื่อหรือไม่ว่า เคล็บลับการขายที่จะพิชิตใจลูกค้าได้นั้นไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยุ่งยาก สลับซับซ้อน
หรือชักแม่น้ำทั้งห้า หากแต่เป็นการสื่อสารกับลูกค้าอย่างตรงไปตรงมาเข้าใจง่าย และไม่ทำให้ลูกค้าอึดอัด
ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยให้งานขายของคุณง่ายขึ้นค่ะ
เป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนสนใจ
หนทางสู่ความสำเร็จในการขายมีหลายวิธี แต่หนทางสู่ความล้มเหลวหนทางหนึ่งคือ การพยายาม
ทำให้ทุกคนพอใจ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะมีความต้องการเหมือนกันในเวลาเดียวกัน ไม่มีประโยชน์ที่คุณจะพยายามพูดให้ทุกคนสนใจสิ่งที่คุณขายได้ทั้งหมด

บอกลูกค้าให้ชัดเจนว่าคุณขายอะไร

เสนอขายสินค้าแบบเข้าใจง่ายและตรงประเด็น ไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์
ถ้อยคำสวยหรูแต่ฟังดูคลุมเครือ เพียงบอกลูกค้าว่าคุณชื่ออะไร มาจาก
บริษัทใด ต้องการขายอะไร มีประโยชน์กับเขาอย่างไร โดยเป้าหมายของคุณ
นั้น ไม่จำเป็นต้องขายสินค้าให้ได้ในครั้งแรกก็ได้ แต่สิ่งที่ควรขายให้ได้ คือ
การนัดหมายหรือโอกาสในการพรีเซนต์สินค้าเพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติม

สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า

นักขายที่ดีนอกจากจะมีความมั่นใจในสิ่งที่ขายแล้ว ยังต้องสร้าง
สัมพันธภาพอันดีกับลูกค้า แสดงความจริงใจอย่างเปิดเผย ไม่ใช่คิดแต่จะ
ขายของเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์
กับลูกค้า อธิบายข้อโต้แย้งต่าง ๆ ของลูกค้าอย่างจริงใจ ตลอดจนให้คำ
แนะนำวิธีการใช้สินค้าอย่างปลอดภัย และให้คิดเสมอว่าบริการที่ดีนั้นก็มี
ความสำคัญไม่แพ้เรื่องคุณภาพสินค้าที่ดีเลย

พยายามแต่พอดี

นักขายที่ดีควรรู้ว่าเมื่อไรที่ควรหยุด รู้จักสังเกตปฏิกิริยาของลูกค้า จาก
การปฏิเสธด้วยเหตุผลและท่าทีต่าง ๆ หากพบว่าลูกค้าไม่พร้อมที่จะซื้อ
สินค้าของคุณก็ไม่ควรตื๊อให้เสียลูกค้า จะเป็นการดีกว่าหากคุณเลือกที่จะจบ
การสนทนาด้วยการขอบคุณลูกค้าที่ให้โอกาสคุณได้นำเสนอ และแสดงความ
เข้าใจในเหตุผลของลูกค้า เพื่อรักษาสัมพันธภาพในระยะยาวเอาไว้

ศึกษาจากคนเก่ง

ขอคำแนะนำและศึกษาวิธีการขายจากนักขายที่ประสบความสำเร็จ
ประสบการณ์จากนักขายที่มีชั่วโมงบินสูงนี่แหละที่จะ ให้ประโยชน์กับคุณ
อย่างมาก หาโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับนักขายมืออาชีพ
ในวงการของคุณ คุณจะได้เรียนรู้กลยุทธ์ต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณ
เข้าใกล้เป้าหมายของคุณได้ง่ายขึ้น