Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

หลักการกินสำหรับลดความอ้วน


 การกินสำหรับคนออกกำลังกาย

เรื่องข้อควรรู้ก่อนออกกำลังกาย ว่ามีอะไรบ้างที่ผู้ที่สนใจการออกกำลังกายควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นแรงบันดาลใจ วิธีการเล่นที่ถูกต้อง อาหารที่ควรกิน และการดูแลตัวเอง ที่ทุกเรื่องล้วนมีความสำคัญ และจำเป็นต้องเดินควบคู่กันไปกับการออกกำลังกาย แต่ตอนนี้ เราจะเน้นเรื่องของการกินอาหารที่ถูกต้อง อย่างที่เคยบอกไว้ว่า...

อาหาร หรือ "โภชนาการ" การกินของแต่ละคนนั้นก็แตกต่างออกไป ลดความอ้วน ไม่ได้หมายความว่าต้องอด เพิ่มกล้ามเนื้อก็ไม่ได้ความว่าต้องกินให้เยอะเข้าว่า ควรเพิ่มหรือลดสารอาหารประเภทให้ตรงกับเป้าหมายของการออกกำลังกาย นอกจากนั้นก่อนออกกำลังกายต้องทานอะไร แล้วหลังจากออกกำลังกายต้องทานอะไร ก็เป็นสิ่งที่ควรศึกษาเช่นกัน



หลักๆแล้วการกินอาหารเพื่อการออกกำลังกายนั้น มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

กินเพื่อลดน้ำหนัก ในขณะที่เราโหมออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก รีดไขมันส่วนเกิน ทั้งพุง ทั้งแขน ขาออกไปนั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องออกกำลังกายเยอะๆ หนักๆ แล้วกินให้น้อยที่สุดหรืออด นี่คือความเข้าใจผิดมหันต์!! เพราะในความเป็นจริง เรายังต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่ดี เพราะถ้าอดแล้ว ร่างกายก็จะไม่มีกำลังหรือพลังจากไหนเพื่อใช้ในการออกกำลังกายเลย พาลจะหน้ามืด ตัวสั่น หมดสติเพราะท้องว่างขณะออกกำลังกาย สำหรับที่ต้องการลดน้ำหนัก ควรยึดคติ "เข้าให้น้อย ออกให้มาก" หากเข้า-ออกเท่ากัน ก็จะไม่สามารถลดน้ำหนักได้ หนุ่มๆ  ควรลดไขมันและแป้ง ของทอดของมัน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดไขมัน แต่ยังคงทานได้บ้าง เช่น เคยทานข้าวเย็น มื้อละ 2 จาน ก็ควรจะลดปริมาณลงเรื่อยๆ และที่สำคัญ ควรกินข้าวก่อนออกกำลังกายอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้น หากหิว ให้กินอาหารเบาๆแทน เช่น ขนมปัง สลัดผัด นมถั่วเหลือง เป็นต้น หลายๆคนชอบกินอย่างบ้าคลั่งหลังออกกำลังกาย ซึ่งผิดมหันต์เช่นกัน!!!!

อีกประเภทคือกินเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ หนุ่มๆหลายคนสนใจออกกำลังกายก็เพื่ออยากเพิ่มกล้ามเนื้อ ให้ดูตัวใหญ่ ดูบึกมากขึ้น การกินเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อควรเน้นสารอาหารประเภทโปรตีน เช่น ไข่ขาว เนื้อไก่ นม (ไม่ควรกินไข่แดงมาก เพราะมีคลอเรสเตอรอลสูง) จะได้ผลดีที่สุด อย่าเพิ่งพึ่งตัวช่วยเช่น เวย์โปรตีน เพราะถือเป็นโปรตีนสังเคราะห์ ไม่ดีต่อตับและไตในระยะยาว ควรทานอาหารธรรมชาติให้บ่อยมื้อขึ้น เช่น จากเดิมทานวันละ 3 มื้อ ให้เพิ่มเป็น 4-5 มื้อ แต่ไม่ต้องอัดมาก เพื่อให้ร่างกายนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงได้อยู่ตลอด และนำโปรตีนที่ว่ามาซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย จนทำให้มัดกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น

โดยรวมแล้ว โภชนาการถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด เพราะถือเป็นตัวกำหนดทิศทางของร่างกาย จะผอมลง จะล่ำขึ้่นก็เพราะอาหารนี่แหละครับ หนุ่มๆ MThai อย่างนี้แล้ว อย่าลืมระวังมื้อต่อไปล่ะ ว่าตัวเองจะกินอะไรเข้าไปบ้างเพื่อหุ่นฟิตแอนด์เฟิร์ม

อันดับความร่ำรวยของคนไทยปี 2554

      1. ธนินท์ เจียรวนนท์ (เครือเจริญโภคภัณฑ์)  ทรัพย์สิน 279,000 ล้านบาท

          2. ตระกูลจิราธิวัฒน์ (เครือเซ็นทรัล) ทรัพย์สิน 213,900 ล้านบาท

          3. เจริญ ศิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) ทรัพย์สิน 192,200 ล้านบาท

          4. ตระกูลอยู่วิทยา (กระทิงแดง)  ทรัพย์สิน 167,400 ล้านบาท

          5. กฤษณ์ รัตนารักษ์ (ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปูนซีเมนต์นครหลวง ฯลฯ)  ทรัพย์สิน 96,100 ล้านบาท

          6. จำนงค์ ภิรมย์ภักดี และครอบครัว (บุญรอดบริเวอรี่)  ทรัพย์สิน  74,400 ล้านบาท

          7. วิชัย มาลีนนท์ (ผู้จัดการช่อง 3 และ BEC Tero)  ทรัพย์สิน  55,800 ล้านบาท

          8. Aloke Lohia (CEO กลุ่มบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส)  ทรัพย์สิน  49,600 ล้านบาท

          9. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (บางกอกแอร์เวย์)  ทรัพย์สิน 37,200 ล้านบาท

          10. วาณิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต)  ทรัพย์สิน 35,960 ล้านบาท

          11. ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (บ้านพฤกษา)  ทรัพย์สิน 34,100 ล้านบาท

          12. อิสระ ว่องกุศลกิจ และครอบครัว (น้ำตาลมิตรผล) ทรัพย์สิน 31,000 ล้านบาท

          13. บุญชัย เบญจรงค์กุล (ดีแทค) ทรัพย์สิน 30,690 ล้านบาท

          14. ประณีตศิลป์ วัชรพล และครอบครัว (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)  ทรัพย์สิน 29,450 ล้านบาท

          15. สุรางค์ เปรมปรีด์ (ผู้บริหารช่อง 7)  ทรัพย์สิน 28,830 ล้านบาท

          16. ประยุทธ มหากิจศิริ (PM Group, ไทยน็อกซ์สแตนเลส, ไทยคอปเปอร์, ผู้ถือหุ้นเนสกาแฟ)  ทรัพย์สิน 28,365 ล้านบาท

          17. พรเทพ พรประภา (สยามกลการ)  ทรัพย์สิน 27,900 ล้านบาท

          18. อนันต์ อัศวโภคิน (แลนด์แอนด์เฮ้าส์)  ทรัพย์สิน 26,040 ล้านบาท

          19. คีรี กาญจนพาสน์ (BTS)  ทรัพย์สิน 25,110 ล้านบาท

          20. วิชัย ทองแตง  (กรุงเทพดุสิตเวชการ) ทรัพย์สิน 20,770 ล้านบาท
        

ข้อมูลจากกระปุกครับ

Wireless กับ Wi-Fi คืออะไร ?


Wireless กับ Wi-Fi คืออะไร ?

 
บางคนอาจกำลังสับสนกับคำสองคำนี้ คือคำว่า Wi-Fi ( อ่านว่า วาย-ฟาย ) กับ Wireless ( อ่านว่า วาย-เลส ) มันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร มาดูกันดีกว่าครับ<

Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น
ระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทยุ (Radio) หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้

การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย มีมาตราฐาน IEEE802.11 เป็นมาตราฐานกำหนดรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งมาตราฐานแต่ละตัวจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อสารข้อมูล เช่น 802.11b และ 802.11g ที่ความเร็ว 11 Mbps และ 54 Mbps ตามลำดับ และขอบเขตของสัญญาณคลอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 เมตรในพื้นที่โล่งและประมาณ 30 เมตรในอาคาร ซึ่งระยะทางของสัญญาณมีผลกระทบจากสิ่งรอบข้างหลายๆ อย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ ความหนาของกำแพง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ รวมถึงร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้งานเครือข่ายไร้สายทั้งสิ้น
การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure การใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้บริการทั่วไปจะเป็นแบบ Infrastructure คือมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ของผู้ให้บริการเป็นผู้ติดตั้งและกระจายสัญญาณ ให้ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเรียกว่า "การ์ดแลนไร้สาย" หรือชนิดใหม่จะทำมาเป็นชนิด USB เรียกว่า Wireless USB ( รูปร่างเหมือน ThumDrive ) เป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไป Access Point ของผู้ให้บริการ

สรุปก็คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน ( LAN ) ที่ใช้สายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณและใช้งานได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง

Wi-Fi คืออะไร 

Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก 

Wireless คืออะไร

Wireless คือลักษณะของการใช้งานอุปกรณ์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แปลตรงตัวว่าไร้สาย ฉะนั้นอุปกรณ์อะไรก็ตามที่ติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ใช้สายสัญญาณถือว่่าอุปกรณ์นั้นเป็น Wireless เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเรียกอะไรก็เหมือนๆ กันครับไม่ผิด Wireless ก็ถูกครับ Wi-Fi ก็ถูกครับ 

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )
q

         รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่ 

2 Client/server (Infrastructure mode)
q

         ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น 

3 Multiple access points and roaming
q

         โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง 
|
4 Use of an Extension Point
q

        กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ 

5 The Use of Directional Antennas
q

         ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน


ความ อ้วน-ผอม ของคนไทย



 ความ อ้วน-ผอม ของคนไทย


ความสูง
(เซนติเมตร)
คนไทย
น้ำหนัก(กิโลกรัม)
องค์การ
อนามัยโลก
โครงร่างคนอเมริกัน(พศ.2523)
เล็ก
กลาง
ใหญ่
ชาย
150-154
155-159
160-164
165-169
170-174
175-179
45-51
49-55
52-58
55-63
58-66
59-67
54-57
57-60
60-63
63-66
67-69
70-73
-
56-60
58-62
59-64
61-67
63-70
-
57-63
59-66
61-68
62-71
66-74
-
59-68
62-71
64-74
66-78
68-81
หญิง
140-144
145-149
150-154
155-159
160-164
165-169
39-45
44-50
46-52
49-57
52-60
53-65
45-47
47-50
50-52
53-55
56-59
59-62
-
44-50
46-53
47-55
49-58
52-61
-
48-55
49-58
51-60
54-63
57-66
-
52-60
53-63
56-66
58-70
61-73
ตารางที่1:น้ำหนักเฉลี่ยของผู้ใหญ่ไทยปกติในช่วงความสูงต่างๆ เปรียบเทียบ กับน้ำหนักมาตรฐาน ขององค์การอนามัยโลก และของคนอเมริกัน 

ตารางสำหรับคนไทย
สมการสำหรับคำนวนร่างกายของผู้ใหญ่ไทย จากความสูง (น้ำหนักเป็นกิโลกรัม, ความสูงเป็นเซนติเมตร) 


ชาย
น้ำหนัก=(0.67 x ความสูง)-52.61
(ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าประมาณ = 7.6 กิโลกรัม)



หญิง
น้ำหนัก=(0.69 x ความสูง)-56.67
(ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าประมาณ = 8.2 กิโลกรัม)


คนไทยมีน้ำหนักน้อยกว่าคนฝรั่ง ที่สูงเท่ากัน ดังนั้น ถ้าใชเกณฑ์ มาตรฐานของคนฝรั่ง (รวมทั้งขององค์การอนามัยโลก) คนไทยส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในพวก"ผอม" แต่คนไทยที่ได้รับการสำรวจ ประมาณร้อยละ 90 เป็นผู้ที่มีรูปร่างสันทัด สมส่วน ไม่อ้วนไม่ผอม ถ้าทำให้น้ำหนักร่างกายคนไทย เท่ากับฝรั่ง คนไทยคนนั้นจะอ้วนลงพุงให้เห็นอย่างชัดเจน เกณฑ์มาตรฐานของฝรั่ง จึงนำมาใช้กับคนไทยไม่ได้ 

สูง(ซม)
น้ำหนัก(กิโลกรัม)
ช่วงอายุ 15-19
20-34
35-64
65-68
ชาย
150-154
155-159
160-164
165-169
170-174
175-179
40-44
46-50
49-53
51-57
56-62
57-64
45-51
49-55
51-57
53-61
57-65
57-65
47-55
50-58
53-61
55-66
59-69
59-69
43-51
43-49
49-59
52-58
58-64
-
ช่วงอายุ 15-29
30-54
55-64
65-88
หญิง
140-144
145-149
150-154
155-159
39-45
42-48
43-50
45-55
39-44
45-53
47-55
51-60
36-46
42-48
46-54
50-58
42-45
38-46
44-54
43-53
ตารางที่ 2 :ตารางความสูง-น้ำหนักของคนไทย สำหรับผู้ใหญ่ไทย ในช่วงอายุต่างๆ (ช่วงอายุที่ใช้เป็นช่วงอายุ ที่น้ำหนักของช่วงนั้นต่างจากช่วงอายุอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ) 

จากหนังสือ วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ โดย นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม

Copyright 2008 http://www.LearnLand.net 
System Powed By www.LearnLand.net

โปรแกรมวิ่งมาราธอน


ตารางการฝึกซ้อมวิ่งมาราธอน
สำหรับผู้จนเวลา

( โดย  Jeff  Galloway, Runner's world, August 1990 )

 
สัปดาห์อังคารพฤหัสบดีอาทิตย์
130 นาที30 นาที19  -  22 กม.
230 นาที30 นาที         13 กม.
330 นาที30 นาที 24  - 27  กม.
430 นาที30 นาที         13 กม.
530 นาที30 นาที29 - 32 กม.
630 นาที30 นาที          13 กม.
730 นาที30 นาที34  -  37 กม.
830 นาที30 นาที          16 กม.
930 นาที30 นาที38  -  42 กม.
1030 นาที30 นาที          19 กม.
1130 นาที30 นาที          19 กม.
1230 นาที30 นาทีมาราธอน


            ในประสบการณ์ของผู้เขียน  การวิ่งมาราธอนไม่ใช่ของง่าย  แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือการฝึก  เพราะในระหว่างฝึกซ้อมซึ่งกินเวลา 3-4 เดือนนั้น  แทบจะกระดิกตัวไปไหน ไม่ได้เลย   กินนอนต้องเป็นเวลา  ตื่นแต่เช้าตรู่  ( ตี 4 ตี 5 ) เพื่อมาซ้อมวิ่งยาวนับสิบกิโลเมตรเกือบทุกวัน  ครั้นตกบ่ายก็ง่วงเหงาหาวนอน  อ่อนเพลียอยู่เป็นนิจศีล  พลอยให้การงานบกพร่องแล้วยังมีเรื่องของการเจ็บแข้งขาเข้ามาผสม  บางครั้งก็เป็นหวัด  เพราะซ้อมหนักเกินไป
            ฉะนั้น ผู้เขียนจึงดีใจมากที่เห็นตารางฝึกซ้อมมาราธอน ในหนังสือรันเนอร์  เวิร์ลด์ ซึ่งบอกวิธีการฝึกที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาได้ทั้งหมด
             ตารางฝึกอันนี้บอกให้วิ่งสัปดาห์ละ 3 วัน ( อย่าเพิ่งหัวเราะ   ) คิดเป็นระยะทางไม่เกิน  50 กิโลเมตร ( ต่อสัปดาห์ )  ฟังดูแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้  เราท่านที่เคยซ้อมวิ่งมาราธอนมาแล้ว  คงรู้ว่า  ไม่ว่าเราจะใช้ตารางการฝึกซ้อมของใคร  จะต้องวิ่งอย่างต่ำสัปดาห์ละ 5 วัน ( ส่วนใหญ่จะให้วิ่ง 6 วัน ) คิดเป็นระยะทางราว 80 กิโลเมตรต่อสัปดาห์  จึงจะสามารถวิ่งมาราธอนได้ด้วยความมั่นใจ
            แต่ตารางอันนี้  ชื่อคนคิดตารางนี้ ก็น่าเชื่อถืออยู่ นายเจฟฟ์  กัลโลเวย์  แกเป็นนักวิ่งโอลิมปิค  10,000 เมตร  ตัวแทนทีมชาติอเมริกา  และเปิดแคมป์ฝึกวิ่งอยู่ที่เมือง  เลคตาโฮ  แกใช้ตารางนี้กับลูกศิษย์ที่มาฝึกกับแกร่วมสิบปีแล้ว  ฝึกให้คนวิ่งมาราธอนสำเร็จนับพันคน  ฉะนั้นถ้าเราจะลองดูกับตัวเองบ้าง  ก็ไม่น่าเป็นเรื่องเสียหาย

            เสน่ห์ของโปรแกรมฝึกอันนี้อยู่ที่

            หนึ่ง  ใช้เวลาวิ่งเพียงสัปดาห์ละ 3 วัน  เหมาะสำหรับคนมีเวลา ( ให้การวิ่ง )  น้อย  แถม 2 วันที่วิ่งในช่วงทำงาน  วิ่งเพียงวันละ  30 นาที  เท่านั้น  อย่างนี้ใครๆ ก็ทำได้  และไม่ต้องโดดงานตอนบ่ายหาเวลางีบ
            สอง  เก็บวันวิ่งยาวไว้วันหยุดสุดสัปดาห์เพียงวันเดียว   ก็จะเป็นวันเสาร์หรืออาทิตย์ ก็แล้วแต่สะดวก  แถมไม่ต้องวิ่งยาวมากๆ ทุกอาทิตย์  อย่างนี้เท่ากับว่าให้เวลาร่างกายได้พักเหลือเฟือ  โอกาสเจ็บหรือล้าตลอดจนเกิดอาการโอเวอร์เทรน ( Overtrain )  
            ความเป็นไปได้ของการวิ่งมาราะอนสำเร็จโดยการฝึกตามโปรแกรมนี้ มีมากน้อยแค่ไหน  ส่วนตัวผู้เขียนเอง  คิดว่าน่าจะเป็นไปได้สูง  เพราะผู้เขียนมีความรู้สึกมานานแล้วว่าการซ้อมมาราธอน  ตัวที่สำคัญที่สุดคือวันวิ่งยาวเท่านั้น  วันวิ่งอื่น ๆ เป็นเพียงตัวประกอบโปรแกรมนี้ออกมาจึงถูกใจผู้เขียนเจ๋งเป้ง
             แต่แน่นอน  การฝึกตามโปรแกรมนี้ไม่ใช่เพื่อทำเวลาให้ดีที่สุด  ( สำหรับตัวเอง )  นายเจฟฟ์ก็กล่าวเตือนไว้เช่นนั้น  แต่สำหรับคนที่อยากลงวิ่งมาราธอนให้ถึงในสภาพเรียบร้อยพอสมควร  ( คืออาจมี " ชนกำแพง "  บ้าง แต่ก็ไม่หนักนัก  )  และขัดสนในเรื่องเวลา  ผู้เขียนบอกได้ว่า  ตารางการฝึกซ้อมอันนี้  น่าสนใจ  เป็นอย่างยิ่ง
             ก็ลองดูกัน  แล้วกระซิบบอกผลให้ฟังบ้าง


หมายเหตุ.- 


1. ผู้ที่เริ่มโปรแกรมนี้ควรมีพื้นฐานการวิ่งที่แน่นเพียงพอ  คืออย่างน้อยสามารถวิ่งได้ 16 กิโลเมตรติดต่อกัน
2. วันวิ่งยาวจะเป็นเสาร์หรืออาทิตย์ก็ได้  ตามสะดวก
3. วันวิ่งยาวให้วิ่งยาว ( มาก )  อาทิตย์เว้นอาทิตย์   โดยเพิ่มระยะทางครั้งละ  3-5 กิโลเมตร
     จนถึงระยะทางมาราธอน  ( 42  กิโลเมตร ) ส่วนวันอาทิตย์ที่วิ่ง  " ยาวน้อย "  จะลงแข่งขันบ้างก็ได้

4. ช่วงยากของตารางฝึกนี้  คือวันวิ่งยาว  ซึ่งบางครั้งยาวมากจนเท่าวิ่งมาราธอน  จึงควรมีเพื่อนร่วมวิ่งไปด้วย  เพื่อคลายเหงา  ถ้าหาเพื่อนนักวิ่งฝีเท้าระดับเดียวกัน  จุดมุ่งหมายเดียวกัน มาร่วมฝึกซ้อมจะช่วยได้มาก
5. ในวันธรรมดา  วิ่งวันละ  30 นาที  ไม่กำหนดระยะทางและความเร็ว  ควรวิ่งสบาย ๆ โดยเฉพาะในวันอังคาร  ซึ่งยังอาจเมื่อยขบจาการวิ่งยาวของวันอาทิตย์ก่อน  แต่ถ้ารู้สึกคึกคักดี   อาจใช้เป็นวันฝึกความเร็ว
6. ในวันวิ่งยาว  (มาก )  วิ่งด้วยความเร็วที่ช้ากว่าความเร็วที่จะใช้ในวันแข่งราว  75 วินาที ต่อกิโลเมตร  เช่นถ้าจะวิ่งมาราธอนด้วยเวลา  4  ชั่วโมง 15 นาที  ( ราว 6 นาทีต่อ กิโลเมตร )  ก็วิ่งซ้อมด้วยความเร็ว 7 นาที 15 วินาที  ต่อ กิโลเมตร  เป็นต้น
            นอกจากนี้ในช่วงวิ่งยาว  ไม่ควรวิ่งม้วนเดียวจบแต่สลับกับการเดิน  เช่นวิ่งสัก  10-15 นาที  สลับกับการเดินช่วงสั้น ๆ  15-30 วินาที  เพื่อผ่อนคลายและพักกล้ามเนื้อช่วงพักนี้ควรกินน้ำไปด้วย
7. ในวันที่ ที่ไม่ได้วิ่ง  ( จันทร์, พุธ , ศุกร์ , เสาร์ )  อาจพักเฉยๆ หรืออกกำลังแบบแอโรบิกอื่นๆ  เช่น ว่ายน้ำ , จักรยาน , หรือยกน้ำหนักเบาๆ ซึ่ง นายเจฟฟ์  บอกว่า  ทำแบบนี้จะดีกว่า  เอาเวลาไปวิ่งช้าๆ เบาๆ  ซึ่งนอกจากไม่ช่วยเพิ่มความฟิตแล้ว  ยังไม่ได้พักกล้ามเนื้อที่ใช้ในการวิ่งอย่างเต็มที่ด้วย


( จากนิตยสารเพื่อชีวิตที่ดีกว่า  โดย..นพ.กฤษฎา  บานชื่น )