"ล็อบบี้ยิสต์" (lobbyist) คำนี้คุ้นหูมาตั้งแต่ปีก่อน
และได้ยินหนาหูมากขึ้นในทุกวันนี้
ป้าเสลาจึงอยากค้นหาว่ามันเป็นอย่างไร
และก็ได้เรื่องมาจากคอลัมน์ ในไทยโพสท์ 1 พฤษภาคม 2548
ดังนี้...
... | "ล็อบบี้ยิสต์" ในพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เมษายน 2544 ไม่ปรากฏว่ามีความหมาย แต่ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การล็อบบี้ คืออาการพยายามโน้มน้าวให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมาย หรือเปลี่ยนสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งได้ คนที่ทำอาการล็อบบี้นี้เรียกว่า "ล็อบบี้ยิสต์"(lobbyist) |
หรือ "นายหน้า" ในพจนานุกรรม ให้ความหมายไว้ว่า
เป็นบุคคลผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคล 2 ฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน
มิสเตอร์ที นายหน้าคนหนึ่งในเมืองไทย
ที่เคยสัมผัสประสบการณ์ทั้งในเมืองไทย และอเมริกาบอกเล่า
"ในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา "ล็อบบี้ยิสต์"
ถือเป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องมีการเรียนการสอน และถูกกฎหมาย
มีการลงทะเบียน บอกชื่อบุคคลชัดเจนว่า
"ล็อบบี้ยิสต์" ที่สหรัฐอเมริกามีใครบ้าง
เปิดเผยแม้กระทั่งค้นในเว็บไซต์ก็เจออย่างง่ายดาย
แต่ถ้าในเมืองไทยพอบอกว่าเป็น "ล็อบบี้ยิสต์" ดูเหมือนว่าน่ารังเกียจ"
ทำไมอเมริกาถึงทำให้เป็นที่ยอมรับและถูกกฎหมาย
มิสเตอร์ทีบอกว่าเพราะอเมริกาเห็นว่า "ล็อบบี้ยิสต์"
เป็นคนที่ช่วยแก้ปัญหาให้คุณ ถ้ามีปัญหาติดขัด
ในอเมริกามีล็อบบี้ยิสต์มากที่สุด เพราะคนอเมริกาไม่ชอบเสียเวลา
หาคนมาช่วยเซฟเวลา เซฟตังค์ งานเดินราบเรียบ
ดีขึ้นก็ดี เขาทำงานให้งานเดิน
แต่ในเมืองไทยช่วยกิน ช่วยโกง
คนฝรั่งเข้าใจความหมายของการไม่เสียเวลา
บางทีเขายอมเสียเงินเพื่อรักษาเวลา
ดีกว่าเสียเวลา และเสียเงินข้างหน้า
คนไทยไม่ชอบจ่ายค่านายหน้า
ฝรั่งเข้าใจว่าเสียตรงนี้ดีกว่าเพื่อรักษาข้างหน้า
"ฝรั่งบอกล็อบบี้ยิสต์ช่วยป้องกันปัญหา
แต่คนไทยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น"
สภาพที่เกิดขึ้นคือส่วนใหญ่ที่อเมริกา
จะล็อบบี้สำหรับการเจรจาระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ
ถ้าหากต้องล็อบบี้กับรัฐบาล ต้องไปลงทะเบียนเพื่อแสดงตน
พาเจ้าหน้าที่รัฐไปเลี้ยง ให้ของขวัญ ก็ต้องแจ้ง มีใบเสร็จชัดเจน
สำหรับระบบนายหน้าที่เกิดขึ้นในโครงการสุวรรณภูมิ
ร้อยทั้งร้อยที่คุยกับผู้ที่มีอาชีพล็อบบี้ยิสต์ในเมืองไทย
เชื่อว่ามีจ่ายเงินใต้โต๊ะอย่างแน่นอน
เพราะค่าอุปกรณ์ถูกกว่าค่าดำเนินการอย่างชัดเจน
แม้ว่าค่าดำเนินการจะรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ
แต่เมื่อหักลบแล้วเหลือค่านายหน้าจำนวนมาก
"ความจริงการมีบริษัทตัวกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
อย่างในสุวรรณภูมิถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
เพราะผู้ผลิตอุปกรณ์ซึ่งอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
หากไม่มีบริษัทนายหน้าในเมืองไทย
ก็ต้องตั้งสำนักงานในเมืองไทยใหม่ เพื่อประสานงาน
มีต้นทุน มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้เอง
ที่ผู้ผลิตจะนำมาบวกในข้อเสนอด้านราคา
แต่ถ้าให้เลือกได้การมีนายหน้าในเมืองไทยคอยประสานงาน
จะทำให้ต้นทุนถูกกว่า" มิสเตอร์ทีระบุ
แม้ในอเมริกาจะเป็นระบบที่ถูกกฎหมาย
แต่ในทางปฏิบัติก็มีรูปแบบการให้ของขวัญแบบส่วนตั้วส่วนตัวกัน
เรื่องกันว่าเป็นใต้โต๊ะ ประเภทหนึ่ง
เช่น พวกล็อบบี้ในธุรกิจยา มีการเสนอให้ใช้เครื่องบินส่วนตัว
บินไปจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง การนัดกินข้าว
หรือแม้กระทั่งการให้ตั๋วดูอเมริกันฟุตบอล "ซูเปอร์โบลว์"
กีฬาในสายเลือดของอเมริกันชน เพราะตั๋วเหล่านี้ไม่ใช่หาได้ง่ายๆ
โดยเฉพาะระดับวีไอพี เพราะบริษัทที่ทำธุรกิจ
ต่างไปกว้านซื้อตั๋วมาเก็บไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ
มิสเตอร์ทียังไม่อยากแฉมากนักว่าในเมืองไทยรูปแบบเป็นอย่างไร
บอกแต่เพียงว่าดีขึ้นกว่าสมัยก่อนเยอะมาก
แต่ที่แน่ๆ คือเมืองไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่มีการคอรัปชั่น
และความจริงคอรัปชั่นมีทุกระดับ เช่น ระดับแม่กับลูก
เหมือนแม่บอกลูกว่าถ้าเรียนได้เกรดดีจะให้ตังค์
ก็เหมือนกับว่าการเสนอให้อะไรบางอย่างเพื่อให้ผลประโยชน์กลับมา
รวมไปถึงการเลี้ยงดูปูเสื่อเพื่อหวังผล
เข้าโรงเรียนต้องจ่ายแป๊ะเจี๊ยะ ในระดับรัฐบาล
การให้ตำแหน่งคนเพื่อแลกกับการทำอะไรบางอย่างก็ถือว่าคอรัปชั่น
มิสเตอร์ทีย้ำว่า "ไม่ใช่ล็อบบี้ยิสต์เลวหมด
ถือเป็นหมอทางธุรกิจ ช่วยแก้ปัญหา
เมืองนอกมีไว้เพื่อป้องกันปัญหา แต่เมืองไทยมีไว้แก้ปัญหา"
ขณะที่มิสเตอร์เอ็ม ล็อบบี้ยิสต์ที่เพิ่งเข้าสู่สังเวียนนี้
ในเมืองไทยได้ไม่นาน บอกเล่าว่า
การติดต่อประสานงานกับคนของทางการ
จะต้องเริ่มด้วยสัมพันธภาพส่วนตัวก่อน
เข้าไปแล้วพยายามให้เขาไว้ใจเรา
เมื่อไว้วางใจแล้วทุกอย่างก็จบ ถ้าไม่ไว้วางใจทุกอย่างก็จบเช่นกัน
ทำอย่างไรให้คนไว้วางใจเป็นโจทย์ข้อแรกสำหรับการเริ่มทำงานชิ้นหนึ่งๆ
เพราะการสร้างความไว้วางเป็นสิ่งที่ยาก
ยิ่งไปกว่านั้นเจ้าหน้าที่รัฐคนนั้นๆ ก็ต้องรู้อยู่แล้วว่า
การที่เราต้องการไปหา ไปเจอเขา
ก็เพราะเราหวังประโยชน์จากเขา
เพราะฉะนั้นคนที่เหมาะสมในการเข้าไปติดต่อ
ก็ต้องหาตัวคนที่มีบุคลิกภาพพิเศษ แบบน่าเชื่อถือ และมีความจริงใจ
จะเรียกได้ว่าเหมือนพวกต้มตุ๋นก็ได้
ที่ดูดี พูดแล้วคนเชื่อ แต่ล็อบบี้ยิสต์ไม่ได้มีจุดประสงค์ต้มตุ๋น
พอรู้จักกันแล้ว ก็ต้องมีการคุยกันต่อเนื่อง
เพราะบางทีก็มีเรื่องที่เราต้องตามอย่างต่อเนื่อง
สิ่งของตอบแทน หรือของขวัญจึงอาจไม่สำคัญในช่วงนี้
แต่อาจมีนัดไปกินข้าวกันบ้าง บางคนก็อยากไปที่แพงๆ
"อาบอบนวด" ยังเป็นกิจกรรมการที่ล็อบบี้ยิสต์อาจเสนอให้เจ้าหน้าที่รัฐ
หรือบางทีเจ้าหน้าที่รัฐบางคนก็บอกความต้องการมาเอง
มีบ้างบางคนอยากไป แต่เราไม่ไป
หรือบางคนเราเสนอแล้วแต่เขาไม่ไป
การชักชวนก็อยู่ที่จังหวะ เช่น บางคนกินข้าวเที่ยงด้วยกันเสร็จแล้ว
ถ้าเราชวน แต่เจ้าหน้าที่คนนั้นไม่ชอบ เขาก็จะปฏิเสธทันทีว่าไม่ค่อยสะดวก
หรือว่าบอกว่ากินข้าวกันธรรมดาดีกว่า
แต่บางคนที่อยากไป ก็จะถามเรามาว่าพรุ่งนี้ว่างมั้ย?
ไปเจอกันที่อาบน้ำ...นะ หรือบางคนพอเสนอปุ๊บก็บอกว่าที่ไหนดี?
ถ้านัดสำเร็จ เจอกันแล้ว ก็ถือว่าเป็นการเริ่มเจรจาธุรกิจกันทันทีเมื่อไปแล้ว
เมื่ออยู่ในสถานที่แบบนั้น มีผู้หญิง มีเหล้า
ทุกอย่างก็เจรจากันง่ายขึ้น
เราก็จะบอกตรงไปตรงมาเลยว่าเราต้องการอะไร และเขาต้องการอะไร
เพราะโดยพื้นฐานเขาจะรู้อยู่แล้วว่าเรามีเรื่องอะไรให้เขาช่วยเหลือ
เพราะถ้าไม่บอกตรงๆ เขาก็ไม่รู้ว่าเราต้องการอะไรชัดเจน
มิสเตอร์เอ็มถามว่าเคยได้ยินกันหรือเปล่าว่า
"งานคุยกันสนามกอล์ฟ ที่ประชุมคุยกันเรื่องกอล์ฟ"
การเจรจา และการจ่ายใต้โต๊ะนั้นเป็นสิ่งที่ล็อบบี้ยิสต์ต้องระวัง
เพราะหากมีการจ่ายครั้งแรกก็ต้องจ่ายตลอดไป
เหมือนอย่างหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่ง
จะมีเอกชนรายเดียวหรือกลุ่มก๊วนเดียวกันได้งานตลอด
เพราะวิ่งเต้นด้วยเงินตลอดเช่นกัน
ตั้งแต่โครงการแรก จนโครงการล่าสุด
สังเกตได้ชัดเจนว่าผู้บริหารหลายคนมีรถหรูใช้งาน ใช้ชีวิตอย่างอู้ฟู่
บางคนอยู่ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างใส่ทองทั้งแขน ทั้งคอเป็นสิบบาท
เล่นกีฬา เทนนิส และแบดมินตัน อันหนึ่งหลายพัน เป็นหมื่น
มีบ้านหลายๆ หลัง มีรถหรูยุโรปขับราคาแพง
ผู้บริหารบางคนอาจไม่ได้รับเป็นเงิน
แต่จะเป็นลักษณะของขวัญรูปแบบต่างๆ เช่น
แจ้งเราว่าจะมีงานไปจัดสัมมนา จัดงานวันเกิด
เลี้ยงลูกน้อง ช่วยจัดงานวันเกิดเจ้านาย
อย่างนี้ ก็ให้ครั้งละประมาณ 5,000-10,000 บาท แล้วแต่ระดับงาน
มิสเตอร์เอ็มในฐานะมือใหม่ ยังเล่าถึงตำนานที่บอกเล่ามาจากล็อบบี้ยิสต์มือเก๋าว่า
อย่างสมัยก่อนจ่ายเงินใต้โต๊ะนักการเมืองกันนั้น
โดยเฉพาะยุคบุฟเฟ่ต์ ที่โครงการอะไรๆ ก็ผ่านอย่างสะดวกโยธิน
มีการขนเงินไปให้ รมต.คนหนึ่งด้วยแบงก์ 500 บาทล้วนๆ
ให้เก็บไว้ลิ้นชักใต้โต๊ะยังไม่พอใส่ล้นมาถึงบนโต๊ะอีกตั้งเยอะ
จ่ายกันไปแล้ว ทั้งข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำ
ไม่ค่อยมีใครเบี้ยวไม่ทำงาน ทุกอย่างต้องเชื่อใจกัน
เพราะที่จ่ายไปให้แล้วนั้นไม่มีใบเสร็จ
ไม่มีใบเสร็จแม้ว่าหิ้วเงินสดใส่กระเป๋ามาให้หลายสิบล้านบาท
บางรายได้ถึงเกือบ 60 ล้านบาทส่งให้มือต่อมือในที่รโหฐาน ผู้คนพลุกพล่าน
ระดับข้าราชการมีสีบางคนอาจชอบที่จะได้เป็นเงินดอลลาร์มากกว่า
แต่ทุกอย่างย้ำว่าต้องเป็นเงินสดเท่านั้น
ใช่ทุกคนจะรับตามที่ล็อบบี้ยิสต์เสนอซะทั้งหมด
ด้านข้าราชการระดับสูงที่เคยถูกเสนอรายหนึ่งบอกว่า
ก็เข้าใจล็อบบี้ยิสต์ว่าเป็นอาชีพของเขา ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในงานต่างๆ
"มีคนมาติดต่อผม แต่ผมก็พูดกับเขาดีๆ และปฏิเสธตั้งแต่แรกๆ ที่เสนอ
ส่วนใหญ่เริ่มแรกจะมาเชิญชวนไปกินข้าวเย็น
ยังไม่เคยมีใครพูดว่าจะให้เงิน อย่างซัพพลายเออร์
ตัวแทนจำหน่ายในประเทศ เอานามบัตรมาให้ แสดงความรู้จัก แนะนำตัวเอง
อยากเชิญไปทานข้าวเย็น ผมก็จะบอกว่าขอโทษด้วยไม่ทานข้าวเย็น
มีอะไรให้มาคุยที่ออฟฟิศ
ถ้าไม่ยอมอีก มีบางคนเปลี่ยนเป็นกินข้าวกลางวัน
ก็บอกไปว่าไกลไม่อยากออกไปข้างนอก
ถามว่ามีการบีบมาจากระดับนโยบายหรือไม่
บอกตรงๆ ว่ามี แต่ก็พยายามร่วมมือเท่าที่ทำได้
ถ้าเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้จริงๆ ก็ต้องบอกว่าเรื่องนี้ไม่ได้จริงๆ
ส่วนวิธีการของนักการเมืองที่บีบลงมานั้นส่วนใหญ่ก็ปลดจากตำแหน่ง
หรือสนองให้ได้ก็เสนอตำแหน่งหน้าที่ให้ จากรองอธิบดีเป็นอธิบดี
ผู้อำนวยการฝ่ายเป็นรองอธิบดี
สำหรับข้าราชการคนนี้แล้วดูเหมือนเข้าใจล็อบบี้ยิสต์อย่างถ่องแท้
อย่างที่ว่า "ถ้าผมเป็นเขา ผมก็หาต้องพยายามหาทางรู้จัก
เราไปรังเกียจเขาไม่ได้เพราะถือเป็นอาชีพอาชีพหนึ่ง
เพียงแต่ข้าราชการ นักการเมืองจะไปสวาปามจนประเทศเสียหายไม่ได้"
ล็อบบี้ยิสต์ (Lobbyist) คืออะไร
ในความรู้สึกของคนทั่วไป คำว่า ล็อบบี้ น่าจะมีความหมายในทางลบ เพราะส่วนใหญ่มักตีความว่าหมายถึงการ “วิ่งเต้น” เพื่อให้ได้รับในสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง แต่ในทางธุรกิจแล้ว “LOBBYIST” คล้ายกับกับอาชีพ “นายหน้า-ทนายหน้าหอ” ทำหน้าที่นอกจาก “เจรจาต่อรอง” แล้ว หน้าที่หลักสำคัญคือ “ประสานประโยชน์” ให้กับทั้งสองฝ่าย ด้วย “คอนเนคชั่น (CONNECTION)” ที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด หรือแปลได้อีกความหมายหนึงให้เข้าใจง่ายๆเช่นเป็น “คนกลาง” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “MIDDLE MAN” เป็นตัวเชื่อม ตัวอย่างเช่น นาย ก. กับ นาย ข. อาจไม่กล้าเจรจาต่อรองกันเอง หรืออาจจะไม่รู้จักกัน หรือเขินอายที่ต้องเจรจาต่อกัน จึงจำเป็นต้องมี “คนกลาง” คอยทำหน้าที่ “เชื่อม” และ “ต่อรอง” เพื่อหาจุดที่ลงตัวที่สุด ในการเจรจาแต่ละโครงการ
ข้อดีของ ล็อบบี้ยิสต์ (Lobbyist)
- ช่วยในการเจรจาประนีประนอม ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ
- ช่วยประสานงานการค้าต่างๆ เช่นการนำเข้าส่งออก
- ช่วย ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย งานเดินราบเรียบ
- คอย สกัดกั้นและยุติปัญหา ไม่สามารถ “กล่าวหา-กล่าวโทษ” กันโดยตรงได้
- โฆษณาประชาสัมพันธ์ สร้างแบรนด์ ส่วนบุคคล Presolnal Branding
- ประสานประโยชน์ ทุกคอนเนคชั่น ทุกเครือข่าย ให้เกิด Win-Win Solution
- เป็นตัวกลาง “MIDDLE MAN” ในแต่ละฝ่าย ที่ไม่กล้าเจรจาต่อรองกันเอง หรืออาจจะไม่รู้จักกัน หรือเขินอายที่ต้องเจรจาต่อกัน
- “เดินงาน” ได้ทุกวงการ ประสานงานได้ กับทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักธุรกิจเอกชน นักการเมือง นักกีฬา นักแสดง
ล็๊อบบี้ยิสต์ (Lobbyist) เหมาะกับธุรกิจใดบ้าง - เจรจาประณีประนอม ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ด้าน มรดก ที่ดิน ธุรกิจ - ด้านวงการบันเทิง เช่น นักแสดงย้ายสังกัด การกล่าวโจมตีให้ร้ายต่างๆ - บุคคลที่ต้องการประชาสัมพันธ์สร้างแบรนด์ ส่วนบุคคล Presolnal Branding - ด้านการเปลี่ยนย้ายงานในระดับบริหารของบริษัท เช่น บริษัทประกัน บริษัทขายตรง - ด้านวงการ เช่นการซื้อตัวนักกีฬา หรือย้ายสังกัด - การรับมือ พบปะ และสร้างสายสัมพันธ์กับนักการเมือง - ประสานผลประโยชน์ ผ่านนโยบายการค้าแบบทวิภาคี - เป็นตัวกลางช่วย เจรจา ผ่อนผัน ประนอมหนี้ ให้กับนักธุรกิจ ขั้นตอนการขอใช้บริการ ล็อบบี้ยิสต์ (Lobbyist) - นัดหมาย - เตรียมข้อมูลของานที่ต้องการประสานประโยชน์ - วัตถูประสงค์ / เป้าหมาย ของการ ประสานประโยชน์ - ตกลงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น มัดจำในส่วนแรก - นัดหมาย ส่งมอบงาน ชำระส่วนที่เหลือตามตกลง ข้อยกเว้นในการให้บริการ ล็อบบี้ยิสต์ (Lobbyist) เป็นธุรกิจผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ยาเสพติด ค้ามนุษย์ มีผลต่อความมั่นคงของชาติ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น