แต่กายและใจที่แข็งแกร่งนั้น ต้องอาศัยการออกกำลังและฝึกฝนเป็นประจำ ดังนั้น เมื่อฝึกกายบริหารแล้ว อย่าละเลยที่จะฝึกจิตใจให้เข็มแข็ง ด้วย 8 วิธีง่ายๆต่อไปนี้
1. ทำสมาธิ
จิตที่ต้องเผชิญกับเรื่องราวต่างๆในชีวิตประจำวัน ทั้งดีและไม่ดี จำต้องมีเวลาหยุดพัก เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาด ผ่องใส เช่นเดียวกับการชำระล้างร่างกาย เตรียมรับวันใหม่
การทำสมาธิเป็นการฝึกจิตที่ดีที่สุด ช่วยให้จิตมีพลังเข้มแข็ง ด้วยวิธีการง่ายๆ เช่น นั่งในท่าที่สบาย หลับตา หายใจเข้าช้าๆ กลั้นไว้ชั่วครู่ แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ จะช่วยให้จิตผ่อนคลายขึ้น นิ่งขึ้น และสงบขึ้น
นอกจากการทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีพลังแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงด้วย เพราเมื่อจิตสงบ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินออกมา ช่วยลดอาการเจ็บปวด เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดความตึงเครียด ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่น ช่วยให้การไหลเวียนเลือดเป็นปกติ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
2. มองโลกในแง่ดี
การมองโลกในแง่ร้ายจะทำให้จิตใจเต็มไปด้วยความกังวล ท้อถอย หวั่นไหว และเป็นทุกข์ และสภาพจิตใจเช่นนี้จะนำพาคุณไปสู่ความล้มเหลว ไม่ว่าจะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม
ขณะที่การมองโลกในแง่ดี ให้ผลตรงกันข้าม ลองหลับตาและจินตนาการถึงงานที่คุณทำอยู่นั้นดำเนินไปด้วยดี ความสำเร็จกำลังรออยู่เบื้องหน้า และเมื่อลืมตาขึ้น คุณจะพบว่าตัวเองพร้อมจะทำสิ่งที่มุ่งหวังให้สำเร็จด้วยใจที่แข็งแกร่งเกินร้อย
3. เข้าใจเรื่องความไม่เที่ยง
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาของโลก พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ทุกสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีอะไรคงที่เที่ยงแท้แน่นอน คนที่ไม่เข้าใจเรื่องนี้จะไม่สามารถทำใจรับกับการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นได้เลย ผลที่ตามมาคือความเสียใจ เศร้าใจ และทุกข์ทรมานใจ
ส่วนคนที่เข้าใจคำสอนนี้ดี เหมือนได้รีบวัคซีนที่ทำให้จิตใจเข้มแข็ง พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยอารมณ์และจิตใจที่เบิกบาน
4. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวัน
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น จิตของเรามักคิดอยู่แต่ในกรอบเดิมๆมากยิ่งขึ้น เราจะรู้สึกว่าชีวิตในแต่ละวันเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเบื่อหน่าย พาให้ใจเศร้าหมองไปเรื่อยๆ
แต่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นการสร้างเครือข่ายโยงใยเส้นประสาทให้เกิดขึ้นใหม่ ยิ่งเรียนรู้ทักษะหรือสิ่งใหม่ๆมากเท่าไร ก็ส่งผลให้จิตใจกลับมาคึกคักสดใส เช่น ลองเดินทางในเส้นทางใหม่ที่ไม่เคยไป รับประทานอาหารที่แปลกไปจากเดิมๆ จากที่เคยรับประทานแต่เนื้อสัตว์ ก็เปลี่ยนเป็นผัก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดีขึ้นด้วย
5. มีเป้าหมายชัดเจน
การวางเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต ทำให้รู้ว่า เราต้องการสิ่งใด และวางแผนเพื่อไปสู่จุดหมายให้สำเร็จ แต่ระหว่างการเดินทาง อาจเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม ที่ส่งผลต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกผิดหวัง ท้อแท้ สับสน จนอาจล้มเลิกที่จะเดินตามฝัน
คนที่มีจุดหมายชัดเจนแน่วแน่จะมีกำลังใจที่เข้มแข็ง มองอุปสรรคว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาจทำให้ท้อใจบ้าง แต่ไม่ได้ทำให้ท้อถอย และมุ่งมั่นเดินหน้าทำต่อไปจนประสบความสำเร็จ
6. อย่าหลงอยู่กับอดีตที่เลวร้าย
มีคำกล่าวว่า “อดีตก็คืออดีต มีประโยชน์อันใดที่จะเก็บมาครุ่นคิดคำนึง เพราะมิอาจย้อนเวลาไปแก้ไขได้” ดังนั้น การปล่อยให้ใจหลงวนเวียนคิดติดอยู่กับอดีตที่เลวร้าย ย่อมไม่ใช่เรื่องฉลาด เพราะมีแต่ทำให้ใจอ่อนแอลงไปทุกวันๆ
จิตที่ต้องเผชิญกับเรื่องราวต่างๆในชีวิตประจำวัน ทั้งดีและไม่ดี จำต้องมีเวลาหยุดพัก เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาด ผ่องใส เช่นเดียวกับการชำระล้างร่างกาย เตรียมรับวันใหม่
การทำสมาธิเป็นการฝึกจิตที่ดีที่สุด ช่วยให้จิตมีพลังเข้มแข็ง ด้วยวิธีการง่ายๆ เช่น นั่งในท่าที่สบาย หลับตา หายใจเข้าช้าๆ กลั้นไว้ชั่วครู่ แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ จะช่วยให้จิตผ่อนคลายขึ้น นิ่งขึ้น และสงบขึ้น
นอกจากการทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีพลังแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงด้วย เพราเมื่อจิตสงบ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินออกมา ช่วยลดอาการเจ็บปวด เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดความตึงเครียด ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่น ช่วยให้การไหลเวียนเลือดเป็นปกติ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
2. มองโลกในแง่ดี
การมองโลกในแง่ร้ายจะทำให้จิตใจเต็มไปด้วยความกังวล ท้อถอย หวั่นไหว และเป็นทุกข์ และสภาพจิตใจเช่นนี้จะนำพาคุณไปสู่ความล้มเหลว ไม่ว่าจะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม
ขณะที่การมองโลกในแง่ดี ให้ผลตรงกันข้าม ลองหลับตาและจินตนาการถึงงานที่คุณทำอยู่นั้นดำเนินไปด้วยดี ความสำเร็จกำลังรออยู่เบื้องหน้า และเมื่อลืมตาขึ้น คุณจะพบว่าตัวเองพร้อมจะทำสิ่งที่มุ่งหวังให้สำเร็จด้วยใจที่แข็งแกร่งเกินร้อย
3. เข้าใจเรื่องความไม่เที่ยง
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาของโลก พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ทุกสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีอะไรคงที่เที่ยงแท้แน่นอน คนที่ไม่เข้าใจเรื่องนี้จะไม่สามารถทำใจรับกับการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นได้เลย ผลที่ตามมาคือความเสียใจ เศร้าใจ และทุกข์ทรมานใจ
ส่วนคนที่เข้าใจคำสอนนี้ดี เหมือนได้รีบวัคซีนที่ทำให้จิตใจเข้มแข็ง พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยอารมณ์และจิตใจที่เบิกบาน
4. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวัน
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น จิตของเรามักคิดอยู่แต่ในกรอบเดิมๆมากยิ่งขึ้น เราจะรู้สึกว่าชีวิตในแต่ละวันเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเบื่อหน่าย พาให้ใจเศร้าหมองไปเรื่อยๆ
แต่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นการสร้างเครือข่ายโยงใยเส้นประสาทให้เกิดขึ้นใหม่ ยิ่งเรียนรู้ทักษะหรือสิ่งใหม่ๆมากเท่าไร ก็ส่งผลให้จิตใจกลับมาคึกคักสดใส เช่น ลองเดินทางในเส้นทางใหม่ที่ไม่เคยไป รับประทานอาหารที่แปลกไปจากเดิมๆ จากที่เคยรับประทานแต่เนื้อสัตว์ ก็เปลี่ยนเป็นผัก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดีขึ้นด้วย
5. มีเป้าหมายชัดเจน
การวางเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต ทำให้รู้ว่า เราต้องการสิ่งใด และวางแผนเพื่อไปสู่จุดหมายให้สำเร็จ แต่ระหว่างการเดินทาง อาจเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม ที่ส่งผลต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกผิดหวัง ท้อแท้ สับสน จนอาจล้มเลิกที่จะเดินตามฝัน
คนที่มีจุดหมายชัดเจนแน่วแน่จะมีกำลังใจที่เข้มแข็ง มองอุปสรรคว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาจทำให้ท้อใจบ้าง แต่ไม่ได้ทำให้ท้อถอย และมุ่งมั่นเดินหน้าทำต่อไปจนประสบความสำเร็จ
6. อย่าหลงอยู่กับอดีตที่เลวร้าย
มีคำกล่าวว่า “อดีตก็คืออดีต มีประโยชน์อันใดที่จะเก็บมาครุ่นคิดคำนึง เพราะมิอาจย้อนเวลาไปแก้ไขได้” ดังนั้น การปล่อยให้ใจหลงวนเวียนคิดติดอยู่กับอดีตที่เลวร้าย ย่อมไม่ใช่เรื่องฉลาด เพราะมีแต่ทำให้ใจอ่อนแอลงไปทุกวันๆ
ทางที่ควรทำเพื่อให้ใจเข้มแข็งขึ้นคือ ปล่อยเรื่องราวเลวร้ายที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ให้มันอยู่ในอดีตนั่นแหละ และเดินหน้าทำทุกอย่างให้ดียิ่งขึ้นในปัจจุบัน เมื่อปัจจุบันดีแล้ว อนาคตก็จะดีไปด้วย นั่นย่อมหมายถึง จิตใจก็แข็งแกร่งขึ้นด้วย
7. อยู่กับปัจจุบันขณะ
สำหรับคนที่จิตใจมักล่องลอย คิดฟุ้งซ่าน วิธีที่จะช่วยดึงสมาธิกลับมาจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ในขณะที่ใจเริ่มหันเหจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ก็คือ พูดกับตัวเองว่า “หยุด.. อยู่ตรงนี้”
บางคนอาจใช้คำเฉพาะ เช่น ถ้ากำลังทำความสะอาดบ้าน และใจเริ่มวอกแวก จงพูดซ้ำๆว่า “เช็ดถู” เพื่อดึงตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ทำงานตรงหน้าได้สำเร็จแล้ว ยังช่วยให้ใจสงบ มีสมาธิและสติที่แน่วแน่
8. ปลดปล่อยความทุกข์ใจ
สุดท้ายแล้ว ยามที่รู้สึกว่าจิตใจเริ่มอ่อนล้ากับปัญหารอบข้างที่รุมเร้าอยู่ จงพูดคุยกับเพื่อนสนิทที่รู้ใจสักคน ซึ่งคอยให้กำลังใจยามท้อแท้ ก็จะช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเข้มแข็ง
หรือหากไม่รู้จะระบายความทุกข์อัดอั้นใจกับใคร ก็ลองพูดต่อหน้าพระพุทธรูป เสร็จแล้วไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ ก็จะทำให้จิตใจสงบ และมีพลังใจในการต่อสู้กับปัญหาต่อไป
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 177 กันยายน 2558 โดย ประกายรุ้ง)
7. อยู่กับปัจจุบันขณะ
สำหรับคนที่จิตใจมักล่องลอย คิดฟุ้งซ่าน วิธีที่จะช่วยดึงสมาธิกลับมาจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ในขณะที่ใจเริ่มหันเหจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ก็คือ พูดกับตัวเองว่า “หยุด.. อยู่ตรงนี้”
บางคนอาจใช้คำเฉพาะ เช่น ถ้ากำลังทำความสะอาดบ้าน และใจเริ่มวอกแวก จงพูดซ้ำๆว่า “เช็ดถู” เพื่อดึงตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ทำงานตรงหน้าได้สำเร็จแล้ว ยังช่วยให้ใจสงบ มีสมาธิและสติที่แน่วแน่
8. ปลดปล่อยความทุกข์ใจ
สุดท้ายแล้ว ยามที่รู้สึกว่าจิตใจเริ่มอ่อนล้ากับปัญหารอบข้างที่รุมเร้าอยู่ จงพูดคุยกับเพื่อนสนิทที่รู้ใจสักคน ซึ่งคอยให้กำลังใจยามท้อแท้ ก็จะช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเข้มแข็ง
หรือหากไม่รู้จะระบายความทุกข์อัดอั้นใจกับใคร ก็ลองพูดต่อหน้าพระพุทธรูป เสร็จแล้วไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ ก็จะทำให้จิตใจสงบ และมีพลังใจในการต่อสู้กับปัญหาต่อไป
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 177 กันยายน 2558 โดย ประกายรุ้ง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น