ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Theory) เป็นแนวคิดที่พัฒนาโดยนักเขียนชาวอเมริกัน เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเขียนวรรณกรรมและการสื่อสาร โดยมีแนวคิดหลักว่า ส่วนสำคัญหรือเนื้อหาที่แท้จริงของเรื่องนั้นมักจะซ่อนอยู่ใต้พื้นผิว ซึ่งหมายถึงว่าสิ่งที่เห็นหรือใช้ในการสื่อสารเพียงแค่ส่วนเล็กน้อย เช่น บทสนทนา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะมีความหมายและความลึกซึ้งที่มากกว่าที่ปรากฏ
ส่วนประกอบของทฤษฎี
- ส่วนที่มองเห็นได้ (ส่วนเหนือผิวน้ำ): นี้คือส่วนที่เป็นคำพูด บทสนทนา หรือการกระทำที่ชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอให้ผู้อ่านเข้าใจ
- ส่วนที่ไม่มองเห็นได้ (ส่วนใต้ผิวน้ำ): นี่คือความรู้สึก ความคิด หรือประสบการณ์ที่อาจไม่ได้ถูกกล่าวถึงโดยตรง แต่มีผลต่อการกระทำและความหมายของตัวละคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้อ่านต้องใช้วิเคราะห์และตีความ
ความหมายและการใช้งาน
- การสื่อสารที่มีความหมายลึกซึ้ง: ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งช่วยให้การสื่อสารมีมิติและความลึกกว่าเดิม เมื่อลงไปในรายละเอียด ผู้คนสามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำพูดหรือการกระทำที่แอบซ่อนอยู่
- การเขียนวรรณกรรม: นักเขียนสามารถใช้ทฤษฎีนี้ในการสร้างผลงานวรรณกรรมที่มีการซ่อนความหมายไว้ เพื่อให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการค้นหาความหมายและตีความเรื่องราว
- การวิเคราะห์: ผู้ที่ศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรมสามารถใช้ทฤษฎีนี้ในการค้นคว้าความเข้าใจของตัวละครและเหตุการณ์ เพื่อเข้าใจแรงจูงใจและความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
สรุป
ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งทำให้เราเห็นว่าการสื่อสารไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจน แต่ยังมีชั้นลึกของความหมายที่รอการค้นพบและตีความ ซึ่งสามารถทำให้การอ่านหรือการสื่อสารเป็นประสบการณ์ที่มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น.
ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง (iceberg theory) เป็นทฤษฎีที่ Dr. David Mc Clenlland เป็นผู้คิดค้น ซึ่งเป็นการนำเอาแนวคิดเปรียบเทียบบุคลิกของคนในการทำงานกับการเห็นภูเขาน้ำแข็งในทะเล ใช้ในการวิเคราะห์สมรรถนะของบุคคลแต่ละคนในการทำงานในองค์กร โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่เหนือน้ำจะเป็นส่วนที่มองเห็นสังเกตและวัดได้ง่าย และส่วนที่อยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นส่วนที่มองไม่เห็น แต่จะมีปริมาณที่มากกว่าส่วนที่เห็นทำการสังเกตและวัดประเมินค่าได้ยากกว่า ซึ่งทั้งสองส่วนถือเป็นสิ่งจำเป็นจะต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการทำงาน สมรรถนะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนที่มองเห็นหรือเทียบภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่เหนือน้ำ เป็นส่วนที่มองเห็นและพัฒนาได้ง่าย ประกอบด้วย
1.1 ทักษะ (Skills) คือ ความสามารถในการทำงานทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เช่น ทักษะการพูด ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการวางแผน เป็นต้น
1.2 องค์ความรู้ (Knowledge) คือ ความรู้เฉพาะด้าน เช่น ความรู้คณิตศาสตร์ ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. ส่วนที่มองไม่เห็น หรือ เทียบกับก้อนภูเขาน้ำแข็งส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นส่วนที่มองไม่เห็น สังเกตได้ยาก การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือพัฒนาก็ทำได้ยาก ในส่วนนี้จะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงานของแต่ละคนที่มีการแสดงออกให้เห็น ประกอบด้วย
2.1 บทบาททางสังคม (Social Role) คือ บทบาท หน้าที่ หรือความรับผิดชอบ ที่ได้รับอิทธิพลค่านิยมที่แต่ละคนต้องการให้สังคมรับรู้ตัวตนของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร เช่น อยากให้คนอื่นมองว่าตนเองเป็นคนเก่ง เป็นคนที่มีความเป็นผู้นำ บางคนชอบที่จะได้รับบทบาทหัวหน้า เป็นต้น
2.2 ภาพลักษณ์ภายใน (Self-image) คือ ทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง หรือสิ่งที่แต่ละคนเชื่อว่าตนเองเป็น เช่น การเป็นคนมีทัศนคติที่ดีหรือร้าย การเป็นคนที่มีความเชื่อในตนเอง การเป็นคนมีความมั่นใจสูง เป็นต้น
2.3 อุปนิสัย (Trait) คือ บุคลิกลักษณะประจำตัวที่อธิบายถึงแต่ละคน เป็นสิ่งที่ใช้ตอบสนองต่อสถานการณ์ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดจนเกิดความเคยชิน เช่น ลักษณะที่เป็นคนง่าย ๆ มีความยืดหยุ่น การเป็นคนเจ้าระเบียบ เป็นต้น
2.4 แรงจูงใจ (Motive) คือ แรงจูงใจหรือแรงขับภายในที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมายของแต่ละคน เช่น การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย การกำหนดรางวัลโบนัส หรือการพยายามทำให้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นต้น
ประโยชน์ของทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาบุคคลากรในองค์กร โดย
1. ช่วยให้เข้าใจในพฤติกรรมของมนูษย์ที่มีให้ทราบและนำมาจัดกลุ่มในการวางแผนพัฒนาในแต่ละด้าน
2. ช่วยให้สามารถวางแผนเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มี ลักษณะดี มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และตลอดจนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับงานได้เป็ยระบบและทำได้ง่ายขึ้น
3. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงระดับความสามารถของตัวเอง ว่าอยู่ในระดับใดและจะต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง
4. ช่วยสนับสนุนให้ตัวชี้วัดหลักของผลงานให้สามารถบรรลุเป้าหมาย
5. ป้องกันไม่ให้ผลงานเกิดจากโชคชะตาเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าหากมีการวัดสมรรถนะแล้ว จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ปฏิบัติงานคนใดจะสามารถประสบความสำเร็จเพราะโชคช่วยหรือด้วยความสามารถของเขาเอง
6. ช่วยให้เกิดการหล่อหลอมไปสู่สมรรถนะขององค์กรที่ดีขึ้น
7. ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาฝึกอบรมแก่พนักงานในองค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น