Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การประชาสัมพันธ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การประชาสัมพันธ์ แสดงบทความทั้งหมด

ลักษณะและการดำเนินงานของการประชาสัมพันธ์


     การประชาสัมพันธ์

เป็นการดำเนินการเพื่อสร้างทัศนคติและความสัมพันธ์ของ หน่วยงานกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง งานประชาสัมพันธ์จึงมีลักษณะและการดำเนินงาน ดังนี้
     ๑. เป็นการสื่อสารสองทาง เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน และประเภทของการดำเนินงาน จากหน่วยงานไปสู่ประชาชน และรับฟังความคิดเห็นหรือประชามติจากประชาชนที่สะท้อนกลับมา เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความพอใจทั้งหน่วยงานและประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
     ๒. เป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ โดยตั้งอยู่บนหลักของความจริง เพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
     ๓. เป็นการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หวังผลในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธา และให้ความไว้วางใจแก่หน่วยงานตลอดไป ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปด้วยดี
     ๔. เป็นกิจกรรมที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนก่อนการดำเนินงาน และประเมินผลหลังการดำเนินงานเสร็จสิ้น เพื่อให้กิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
     ๕. เป็นการสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยกระตุ้นให้สมาชิกในหน่วยงานเกิดความภาคภูมิใจในกิจการ และสร้างความจงรักภักดี ให้เกิดขึ้นกับสมาชิก
     ๖. เป็นการสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยการ ดำเนินงานที่ซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติปฏิบัติดี ไม่มีเลศนัย และแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม


การแบ่งการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ประกอบไปด้วยงานหลัก 3 ด้านคือ
งานเผยแพร่ ดำเนิน การจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ประจำปีเพื่อกำหนดเป้าหมายแนวทางและวิธีดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละปี ดำเนินการผลิตเอกสาร เช่น หนังสือวันเกิดกรมชลประทาน วารสารข่าวชลประทาน แผ่นพับ หนังสือเล่มเล็กผลิตโปสเตอร์ จัดนิทรรศการและทำงานส่งเสริมกิจกรรมภายในของกรมชลประทานโดยแบ่งการดำเนิน งานใน 3 รูปแบบ คือ
1. การจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ ในแต่ละปีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่จะ จัดทำแผนประชาสัมพันธ์กรมชลประทานขึ้นให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของกรมชล ประทาน โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ งานจัดทำแผนประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานในเชิงรุกมากกว่าอดีตที่ผ่านมา ทำให้ภารกิจของกรมชลประทานได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เกษตรกร ประชาชนทั่วไป ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ได้รับฟังข่าวสารงานด้านชลประทานต่าง ๆ อย่างทั่วถึงทุกระดับ
2. เอกสารเผยแพร่ แบ่ง เป็น


- เอกสารเผยแพร่ตามวาระ ได้แก่ หนังสือวันเกิดกรมชลประทาน ที่ผลิตออกเผยแพร่เป็นประจำ ทุกวันที่ 13 มิถุนายน ของทุกปี และวารสารข่าวชลประทาน ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ได้จัดจ้างบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อความรวดเร็วและลดภาระด้านการจัดส่งเอกสาร จำนวน 3,000 เล่มทุกเดือน โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯกำกับดูแลประเด็น การนำเสนอ
 

- เอกสารเผยแพร่ทั่วไป ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ มีงานผลิตเอกสารเผยแพร่ในแต่ละปีหลายรายการ ทั้งเอกสารที่ผลิตขึ้นโดยงบประมาณของฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ เช่น แผ่นพับแนะนำโครงการชลประทานต่างๆ เอกสารเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านงานพัฒนาแหล่งน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เป็นต้น และเอกสารที่ กอง สำนัก คณะทำงานโครงการต่าง ๆ ขอความร่วมมือให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ช่วยหรือมีส่วนร่วมในการผลิตให้ โดยใช้งบประมาณของเจ้าของงาน ซึ่งมีทั้งเอกสารเป็นเล่ม แผ่นพับ โปสเตอร์ แผ่นปลิว รายงานประจำปี ไดอารี่ แฟ้ม บันทึก เป็นต้น

3. นิทรรศการ ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ฯ รับผิดชอบการจัดนิทรรศการ ซึ่งแบ่งกิจกรรมที่ดำเนินการได้ 2 ลักษณะ ดังนี้


- แบบจัดเอง เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปจัดนิทรรศการเอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่น นิทรรศการวันข้าราชการพลเรือน นิทรรศการวันเกษตรแห่งชาติ เป็นต้น
- แบบให้ยืมอุปกรณ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ได้จัดทำนิทรรศการเกี่ยวกับงานชลประทานไว้สำหรับให้บริการแก่หน่วยงานทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร ที่มาขอยืมไปจัดแสดง ซึ่งในทุกปีมีผู้มาขอใช้บริการจำนวนมาก เป็นเหตุให้ชุดนิทรรศการดังกล่าวรวมทั้งเอกสารเผยแพร่มีไม่เพียงพอที่จะสนอง ความต้องการได้อย่างทั่วถึง
งานประชาสัมพันธ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของกรมชลประทาน โดยการเผยแพร่นโยบาย ผลงานกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในภาวะวิกฤตและภาวะปกติ โดยแบ่งการดำเนินงาน ใน 3 รูปแบบ คือ

1. การประชาสัมพันธ์ปกตเป็นการจัดทำข่าว ภาพข่าวต่าง ๆ ส่งให้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เผยแพร่ การจัดทำเว็บไซต์ข่าวประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นภารกิจประจำที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ดำเนินการอยู่สม่ำเสมอ หรืออาจจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น แล้วเชิญสื่อมวลชนมาร่วมงานแถลงข่าว จัดสื่อมวลชนสัญจร จัดกิจกรรมต่าง ๆ ประสานสื่อมวลชนสัมภาษณ์ผู้บริหารในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น การสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารจัดการน้ำของ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น นอกจากนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ยังมีรายการวิทยุอีก 2 รายการ ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ เป็นผู้ดำเนินรายการเอง
 
2. การประชาสัมพันธ์โดยวิธีจัดจ้าง ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงให้ความ ร่วมมือสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสรรงบประมาณให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯดำเนินการจัด จ้างบริษัทเอกชนมืออาชีพผลิตและเผยแพร่ภารกิจของกรมชลประทานผ่านสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ จัดสื่อมวลชนสัญจร จัดกิจกรรมเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น จัดกิจกรรมปลูกป่า จัดครอบครัว Walk Rally สัมผัสชีวิตชาวเขื่อน เป็นต้น ซึ่งการจัดจ้างบริษัทเอกชนช่วยให้การบริหารข้อมูลข่าวสารเป็นไปด้วยความรวด เร็ว อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนในภาวะ วิกฤติได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

3. งานประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นงานประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับสำนักชลประทาน และโครงการชลประทานในส่วนภูมิภาค เป็นการเผยแพร่งานให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกพื้นที่ได้รับรู้ ภารกิจของแต่ละสำนัก โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์จะเข้าไปร่วมวางแผนและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ตาม ความต้องการ เช่น สารคดีและเอกสารแนะนำโครงการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้งานประชาสัมพันธ์ของทุกโครงการมีมาตรฐานในระดับเดียวกัน
งานผลิตสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ แบ่งภารกิจออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. งานภาพนิ่งและวิดีโอ ในการดำเนินงานตามภารกิจต่างๆ ของกรมชลประทาน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ จะส่งช่างภาพไปบันทึกเหตุการณ์เป็นภาพนิ่งและถ่ายวิดิโอเหตุการณ์นั้น ๆ ไว้ เพื่อประกอบการจัดทำข่าว ส่งสื่อมวลชน ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ จัดทำเอกสาร จัดนิทรรศการ เป็นต้น โดยจะจัดเก็บเป็นสต็อคภาพไว้ในงานห้องสมุดภาพต่อไป

2. งานห้องสมุดภาพ ในการจัดเก็บภาพนิ่งที่ถ่ายแล้วจะจัดทำเป็นปรู๊ฟฟิมพ์ขาวดำ แล้วทำบัญชีภาพแบ่งต่างสำนักชลประทานต่าง ๆ และส่วนกลาง สำหรับให้บริการบุคคลภายในและภายนอกเพื่อนำไปใช้งานได้ โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอัดขยายภาพส่วนห้องสมุดวิดีโอ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนจัดเก็บสต๊อคภาพวิดีโอที่ถ่ายมาไม่ผ่านการตัดต่อ และส่วนจัดเก็บวิดีทัศน์สารคดีต่าง ๆที่สามารถเผยแพร่ได้ โดยผู้สนใจจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรมชลประทาน สามารถขอยืมหรือทำสำเนาไปใช้งานได้

หน้าที่รับผิดชอบของงานประชาสัมพันธ์

      1. เผยแพร่ประชา สัมพันธ์ข่าวสาร กิจการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไปยังกลุ่มเป้าหมายภายนอกและประชาชนทั่วไป และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายนอกองค์กรที่เป็นประโยชน์แก่บุคลากรและนักศึกษาใน มหาวิทยาลัย
      2.    เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับบุคลากรและนักศึกษาและ มหาวิทยาลัย
กับกลุ่มเป้าหมายภาย นอก  ตลอดจนองค์กรและประชาชนทั่วไป
      3. สร้างภาพพจน์ที่ดีของมหาวิทยาลัยให้กลุ่มเป้าหมายองค์กร ประชาชนภายนอกมีทัศนคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัย เกิดความศรัทธาและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการรวมทั้งการป้องกันและรักษาชื่อเสียง ของมหาวิทยาลัย
   4.   สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ของรัฐและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย



ภาระงานในงานประชาสัมพันธ์
ด้านการผลิต และการใช้ สื่อในการประชา สัมพันธ์

                  สื่อ บุคคล  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสื่อหนึ่ง  ในขณะเดียวกันก็อาจจะกลายเป็นสื่อที่สามารถส่งผลในทางลบได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะสื่อดังกล่าวผูกมัดกับตัวบุคคลเป็นหลัก ดังนั้นการพิจารณา ใช้สื่อบุคคลย่อมมีความยุ่งยากพอสมควร สำหรับการใช้ สื่อบุคคลของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  นับว่าใช้ได้ครบทุกรูปแบบ ได้แก่
            การสนทนา  ซึ่งใช้ทั้งการสนทนาอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งส่วนมากการสนทนาอย่างเป็นทางการใช้สำหรับการประชา สัมพันธ์ภายใน  อาทิ    การสั่งการ การรายงาน การปรึกษา หารือ ส่วนการสนทนา อย่างไม่เป็นทางการ จะใช้ทั้งภายในและภายนอก เช่น การใช้ สื่อบุคคลผ่านโทรศัพท์ การจัด เจ้าหน้าที่ให้บริการติดต่อสอบถาม
            การอภิปราย   ยังไม่สามารถใช้ได้เต็มที่ เนื่องจากการจัดการ อภิปรายมีการเตรียมการที่ ความยุ่งยาก
            การบรรยาย ทุกหน่วยงานมีการจัด อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการบริการวิชาการ รวมทั้งการเรียนการสอน นักศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการบรรยายจากวิทยากรเพื่อเพิ่มพูนความรู้
            การประชุม  ใช้ทั้งหน่วยงานภายใน และภายนอก  เนื่องจากเป็นหน่วยงานระดับกรม จึงต้องมีการร่วม มือในการดำเนินกิจการ ต่างๆ กับหน่วยงานภาย นอก
            การสัมมนา และฝึกอบรม เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่เป็นแหล่งวิชาการ และต้องให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ดังนั้นจะใช้ทั้งภายในหน่วยงาน และการประชุม ร่วมกับหน่วยงานภายนอก
สื่อมวลชน
                  หนังสือ พิมพ์   ข่าวสารของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ระดับคุณภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวรับสมัครงาน และผลงานวิจัย สำหรับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้รับความร่วมมือในการเผยแพร่ข่าวสารเป็นประจำ
            นิตยสาร  ได้รับการเผย แพร่ข่าวสารจากนิตยสาร 2 ประเภท คือ นิตยสารสมัครงาน และนิตยสารการศึกษา
            วิทยุ กระจายเสียง มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจ้างเหมาหน่วยงานเอกชน เพื่อประชา สัมพันธ์ ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง
            วิทยุ โทรทัศน์ โดยส่วนใหญ่เผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)   ซึ่งดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ จัดทำรายการข่าวโทรทัศน์เองแล้วส่งให้สถานีเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และทางสถานีจัดส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการทำข่าว  สำหรับการเผย แพร่ข่าวทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 5 7 9 ไทยทีบีเอส และเคเบิลทีวีจังหวัดอุบลราชธานี  ส่วนใหญ่ข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่จะเป็นข่าวพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ข่าวผลงานวิจัย และกิจกรรมบริการวิชาการและกิจกรรมที่มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก  โดยผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดมาทำข่าวเอง

สื่อ เอกสารและสิ่งพิมพ์ วารสาร

            วารสาร ภายใน ได้แก่ ข่าว ม.อุบลฯ ผลิตข่าวความเคลื่อนไหว สาระความรู้ต่างๆ เป็นประจำทุก 10 วัน
            วารสาร ภายนอก  ได้แก่ วารสารประชาสัมพันธ์ สาร มอบ. เดิมจัดทำเป็นประจำทุก 10 วัน แต่เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องบางประการ จึงได้เปลี่ยนเป็นจัดทำทุกเดือน โดยบรรจุเนื้อหาสาระที่เป็นกิจกรรม ข่าวสารประชา สัมพันธ์ การบริการวิชาการ และผลงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นวารสารขนาดกระดาษ เอ 4 ความหนา 20 หน้า  รวมปก
            จดหมาย จะเป็นจดหมายเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และแนบประกาศ โปสเตอร์ หรือแผ่นปลิวต่างๆ
            แผ่น พับ เป็นเอกสารที่ทุกหน่วยงานมีการจัดทำ เพื่อประชา สัมพันธ์หน่วยงานสำหรับแจกให้กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง
            หนังสือ แต่ละหน่วยงานมีการจัดทำปีละ 1 ครั้ง อาทิ สูจิบัตร ผลการดำเนินงานประจำปี  คู่มือนักศึกษา  คู่มือการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น
            โปสเตอร์ จัดทำเพื่อการโฆษณา เชิญชวนการรับ สมัครนักศึกษา การแข่ง ขัน และการประกวด เป็นต้น
    สื่อโสต ทัศน์ 
            การจัดทำ เว็บไซต์งานประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ “ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” การบันทึก ภาพข่าวกิจกรรมและจัดเก็บสถิติ   เขียนบทและควบคุมการผลิตวีดิทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัยรวมทั้งการให้บริการและจัดเก็บ โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ
           
สื่อโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
                       -   การจัด ทำป้ายโฆษณาติดตั้งในมหาวิทยาลัยและตามแหล่งชุมชนในจังหวัดอุบล
ราชธานี   รวมทั้งในโอกาสที่เดินทางออกไปให้บริการแก่สังคม
         -   การสนับ สนุนสื่อมวลชน ในโอกาสวันสื่อมวลชนและวันสำคัญต่างๆ
          -   การจัด ทำของที่ระลึก
            ธุรการ และเผยแพร่ 
                  -   หนังสือโต้ตอบภายใน
            -   หนังสือโต้ตอบภายนอก
            -   หนังสือเวียน
            -   รับ-ส่งและจัดเก็บเอกสาร
            -   จัดส่งสื่อประชา สัมพันธ์
            -   การจัดการ ข้อมูลและบริการข้อมูล
            -   การเบิก จ่ายเงินหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
            -   การจัด ซื้อจัดจ้างพัสดุ
            -   การเบิกจ่ายพัสดุ
            -   ดูแลงานธุรการ ภายในหน่วยงาน งานการ เงิน และพัสดุ ตามที่ได้รับมอบหมาย
            -   เป็นพนักงานโทรศัพท์ในการให้บริการข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้มาติดต่อราชการ
                          ทั้งภายในและภายนอก
            -   ทำหน้าที่ช่วยงานนักประชา สัมพันธ์ตามที่ได้รับมอบหมาย



10 เทคนิค การประชาสัมพันธ์ร้านค้าออนไลน์


เปิดร้านค้าออนไลน์ แต่ไม่มีคนซื้อ ขายของไม่ได้ แล้วจะเปิดไปทำไม? เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเคยเกิดคำถามนี้ขึ้นในใจ วันนี้ lnwShop มี 10 เทคนิคดีๆ เพื่อช่วยให้ร้านค้าของคุณมีลูกค้ามาฝากกันค่ะ
2011 03 07 111834 10 เทคนิค การประชาสัมพันธ์ร้านค้าออนไลน์
1.ลงทะเบียนเว็บไซต์กับ search engines
บางที search engines (เช่นsanook,google,msm)อาจจะพบเว็บไซต์ของคุณจากการซุ่มหาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นๆ แต่ทางที่ดีคุณควรจะส่งชื่อเว็บไซต์ไปยัง search enginesด้วยตัวเอง เพราะส่วนมากแล้วผู้ที่เข้าดูเว็บไซต์จะเข้าจากลิ้งค์ในsearch engines
2. ใช้ Signature(sig)file
โดยทั่วไปแล้ว sigfile จะประกอบไปด้วย ชื่อคนชื่อบริษัท ที่อยู่สำหรับติดต่อ และ/หรือสโลแกนของบริษัทรวมทั้งลิ้งค์ตรงไปยังเว็บไซต์ของคุณ sigfile นี้ควรจะอยู่บริเวณท้ายอี-เมล์ทุกฉบับที่คุณส่งออกและอย่าลืมใส่ไว้เวลาเข้าไปตอบหรือโพสต์ในเว็บบอร์ดอื่น ๆ ด้วย
3. โพสต์ในforums(ห้องเสวนา)
เข้าไปพูดคุยในฟอรั่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณบ้างแต่เวลาเข้าไปไม่ใช่แค่ไปโฆษณาธุรกิจของคุณเท่านั้นให้ตอบคำถามในเรื่องที่คุณมีความรู้ แล้วก็ใส่ sigfile ไว้ท้ายข้อความคนอ่านจะรู้สึกดีขึ้นเยอะเลย
4 .แจกของฟรีบนเว็บ
เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบของฟรีคุณจะได้จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนถ้าบนเว็บของคุณมีของฟรีแจกเช่น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บทความที่น่าสนใจ วอลล์เปเปอร์สวย ๆ มีเกมให้เล่นชิงรางวัลหรืออะไรก็ได้ที่จะดุงดูดกลุ่มเป้าหมาย
5. อัพเดทเว็บไซต์ให้ทันสมัย
การส่งชื่อเว็บไซต์ให้searchenginesเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการโปรโมตเว็บแต่จะต้องอัพเดทเว็บด้วย เพราะ search engines จะจัดลำดับผลการค้นด้วยคีย์เวิร์ด และ metatags (ข้อมูลที่บอกว่าเว็บนี้เกี่ยวกับอะไรแต่อยู่ในโค้ดที่ผู้ใช้จะมองไม่เห็น ทำไว้สำหรับให้ search enginesค้น)
6.ส่งข่าวสารผ่านอี-เมล์
อี-เมล์เป็นการส่งข่าวสารใหม่ ๆของบริษัท หรือโปรโมชั่นพิเศษให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายคุณควรมีข้อมูลอี-เมล์ของลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ ดังนั้นบนเว็บไซต์ควรมีที่ให้ผู้เข้าชมเว็บกรอกข้อมูลหรืออี-เมล์ไว้เพื่อรับข่าวสารต่าง ๆ
7. แลกเปลี่ยนลิ้งกับเว็บอื่นๆ
ในเว็บไซต์ของคุณควนจะมีลิ้งค์ไปเว็บไซต์ดี ๆ ที่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องการแลกเปลี่ยนกันเช่นนี้ช่วยเพิ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดีเพราะบางทีเราอาจจะมีสินค้าหรือบริการที่ที่อื่นไม่มี
8.เปิดอีกเว็บไซต์
บางทีเว็บไซต์ที่ดูเป็นธุรกิจเกินไปอาจไม่น่าสนใจทำไมไม่ลองเปิดอีกสักเว็บไซต์ที่มีเรื่องน่าสนใจแต่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณตัวอย่างเช่นบริษัทกฎหมายเล็ก ๆ อาจจะเปิดเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ บทความแบบฟอร์มต่าง ๆ หรือลิ้งค์ไปยังคดีต่าง ๆแล้วใช้ชื่อบริษัทเป็นสปอนเซอร์ให้กับเว็บไซต์โดยใช้แบนเนอร์โฆษณาหรือทำลิ้งไปยังเว็บไซน์ของบริษัทเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตามไปที่เว็บไซต์บริษัท
9. ซื้อโฆษณาบนเว็บดัง ๆ
ถึงตอนนี้ถ้าเว็บไซต์ของคุณยังมีผู้เข้าชมไม่มากพอละก็แนะนำให้ซื้อโฆษณาบนเว็บอื่น มี 2 ที่ที่ควรลงโฆษณานั่นก็คือที่search enginesและเนื้อที่โฆษณาบนเว็บดังที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณ
10.ใช้แผนโปรโมชั่นบนกระดาษ
การโฆษณาบนเว็บแต่เพียงอย่างเดียวยังไม่พอ คุณสามารถใช้วิธีการโฆษณาแบบง่ายๆ นั่นก็คือ การใช้กระดาษ หัวจดหมาย ซองจดหมายหรือนามบัตรที่พิมพ์โลโก้และที่อยู่ของบริษัท ท้ายสุดอย่าลืมใส่URL(ที่อยู่ของเว็บไซต์ด้วย)
ขอบคุณที่มา : smethailand.com

การโฆษณา

การโฆษณา หมายถึงรูปแบบการให้ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า บริการหรือความคิด โดยไม่ใช้บุคคลและต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อจูงใจโดยหวังผลทางด้านยอดขาย และสามารถระบุผู้เป็นเจ้าของชิ้นงานโฆษณานั้นได้

ประเภทของการโฆษณา
1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
 1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
 1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
 2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
 2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
 2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
 2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium) 3.1 ทางโทรทัศน์
 3.2 ทางวิทยุ
 3.3 ทางนิตยสาร
 3.4 โดยใช้จดหมายตรง
 3.5 นอกสถานที่
4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose) 4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน
 (Product Versus Institutional Advertising)
 4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า
 (Commercial Versus Noncommercial Advertising)
 4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้
 (Action Versus Awareness Advertising)

การตัดสินใจที่สำคัญในกระบวนการโฆษณา
  1. การตัดสินใจเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย หรือผู้ฟัง (Market) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ฟัง ผู้ชม
  2. การตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
     2.1 เพื่อแจ้งข่าวสาร (To Inform)
     2.2 เพื่อจูงใจ (To Persuade)
     2.3 เพื่อเตือนความจำ (To Remind)
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณการโฆษณา
  4. การตัดสินใจสร้างสรรงานโฆษณา
  5. การตัดสินใจเลือกสื่อโฆษณา ได้แก่ สื่อโฆษณา โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายตรง สื่อโฆษณานอกสถานที่
  6. การตัดสินใจการวิจัยและวัดผลการโฆษณา

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
 1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
 1.2 การลดราคา (Price Off)
 1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
 1.4 การคืนเงิน (Rabates)
 1.5 การให้ของแถม (Premiums)
 1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
 1.7 การเสนอขายโดยรวมผลิตภัณฑ์ (Combination Offers)
 1.8 การแข่งขัน (Contest) และการชิงรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค (Sweeptakes)
 1.9 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
 1.10 แสตมป์การค้าและแผนการต่อเนื่อง (Trading Stamp and Continuity Plan)
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion) 2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
 2.2 ส่วนลด (Discount)
 2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
 2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
 2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
 2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion) 3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
 3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
 3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
 3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
 3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

การประชาสัมพันธ์
หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้
  1. การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
  2. การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
  3. การให้ข่าว (News)
  4. การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches)
  5. การให้บริการชุมชนและสังคม (Public and Social Services Activities)
  6. การใช้สื่อเฉพาะ (Identify Media)

ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/admin/admin09/UntitledFrameset-total.htm

วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์

เหตุผลที่ทำให้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดอยู่ในกระแสนิยมในปัจจุบันนั้น มีสาเหตุสำคัญพื้นฐานดังต่อไปนี้

1. ค่าสื่อโฆษณามีราคาสูงขึ้น (Media rates increasing ahead of inflation) ทำให้นักการตลาดแสวงหาเครื่องมือ ที่ประหยัดงบประมาณ ซึ่งเอ็มพีอาร์ช่วยในเรื่องนี้ด้วย
2. ทั้งตลาดและสื่อต่างก็แยกย่อยมากขึ้น (Markets and media becoming increasingly fragmented) จะเห็นได้ว่ามีสื่อใหม่เกิดขึ้นมากมายอย่างนิตยสาร ได้แก่ คนรักบ้าน รถยนต์ เดินทางและท่องเที่ยว เป็นต้น
3. นักการตลาดพยายามใช้เครื่องมือการสื่อสารอย่างผสมผสานมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่สมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ
4. ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Changing consumer attitudes)
5. เพื่อให้บรรลุผลทั้งความน่าเชื่อถือและการใช้เงินอย่างคุ้มค่า (Credibility and cost effectiveness) อันเป็นผลนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีและเกิดการขายสินค้านั่นเอง
การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุก (Proactive MPR) เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาด มากกว่าคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ
2. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรับ (Reactive MPR) เป็นการมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้า หรือบริษัทที่ทำลายต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัท โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขและควบคุมการเกิดข่าวลือ (Rumor Control) การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) เป็นต้น
สำหรับประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดนั้น มีดังนี้
-ทำให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อถือ และศรัทธาในตราสินค้าและองค์กรมากขึ้น
-ช่วยสร้างทัศนคติในเชิงบวกอันเป็นผลประโยชน์ต่อการขายสินค้า
-ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและขจัดความรู้สึกเชิงลบให้กับสินค้าและองค์กร
-ช่วยให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ลดการสูญเปล่าและความสับสน (Waste and lutter) จากการโฆษณา
-สามารถสร้างการรับรู้และมีอิทธิพลเหนือความคิดของกลุ่มเป้าหมาย และผู้นำทางความคิดโดยอาศัยจุดยืน และบุคลิกภาพ ของตราสินค้าเป็นหลักในการสื่อสารเนื้อหาไปยังกลุ่มเป้าหมาย
-สินค้าบางประเภทไม่สามารถทำโฆษณาได้ ก็สามารถใช้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแทน ซึ่งให้ผลกระทบต่อสินค้าและองค์กรได้ไม่แตกต่างกัน
จะเห็นว่าแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่พยายามนำทั้งกลยุทธ์การตลาด และประชาสัมพันธ์มาใช้ร่วมกันอย่างลงตัว (Pulling together) เพื่อให้กลยุทธ์นั้นสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือที่เรียกว่า " One Look-One Voice " นั่นเอง


การประชาสัมพันธ์มีความหมายได้ 4ประเด็น คือ
1. มีการวางแผน: การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่เป็นการกระทำที่จะทำเมื่อมีงานเกิดขึ้นแล้วจึงต้องทำ หรือจะกระทำการประชาสัมพันธ์เมื่อมีความต้องการจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำแต่ที่ถูกนั้นการประชาสัมพันธ์เป็นการทำงานที่มีแผน เตรียมไว้อย่างรอบคอบตรงตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้อย่างชัดเจน มีลำดับขั้นตอนในการทำงาน โดยประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ประสานและสอดคล้องกันเพื่อบรรลุจดมุ่งหมายนั้น
2. เป็นการทำงานที่ต่อเนื่องและหวังผลระยะยาว: การประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องไม่มีวันจบสิ้น ทั้งนี้เพราะประชาชนจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องอยู่อย่างสม่ำเสมอและ ต่อเนื่อง การขาดการรับรู้เกี่ยวกับข่าวสารและกิจกรรมนาน ๆ จะเป็นสาเหตุของการเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและจะเป็นบ่อเกิดของความ รู้สึกที่ไม่ดี ซึ่งยังผลต่อปฏิกิริยาในทิศทางที่เป็นผลเสียต่อหน่วยงานได้ นอกจากนี้แล้วการประชาสัมพันธ์จะให้ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมได้ จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการประชาสัมพันธ์และกลวิธี ในการ
ประชาสัมพันธ์ด้วย
3. มีอิทธิพลต่อความคิดและทัศนคติ: จุดมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์ คือ การโน้มน้าวจิตใจของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน กิจกรรมและการบริการหรือสินค้าของหน่วยงาน การที่จะมีทัศนคติที่ดีนั้นหมายถึงการมีความรู้การเข้าใจที่ถูกต้องที่จะส่ง ผลให้มีความรู้สึกที่ดี และมีพฤติกรรมที่เป็นการสนับสนุนหรือร่วมมือ
4. มีความสัมพันธ์กับประชาชน: ถ้าหากไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับประชาชนแล้ว ก็จะไม่มีการประชาสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ ความสัมพันธ์นี้จะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องและมีคุณค่าแก่ประชาชน และขณะเดียวกันหน่วยงานก็ยินดีที่จะรับฟังความคิดเห็น และให้ความสำคัญต่อปฏิกิริยาโต้ตอบของประชาชนด้วย
 

การประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          ในยุคศตวรรษที่ 21 อันเป็นยุคแห่งโลกไร้พรมแดน สื่ออินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาทัดเทียมกับสื่อมวลชน องค์กรขนาดใหญ่ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มให้ความสนใจทำประชาสัมพันธ์ และโฆษณาผ่านช่องทางสื่อสารสมัยใหม่ในรูปแบบของอินเตอร์เน็ตมากขึ้น โดยใช้เป็นสื่อเสริมจากสื่ออื่นๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย สากลทั่วโลก (อดิศักดิ์ อนันนับ. 2540) ตลอดจนเพื่อการสร้างภาพลักษณ์และการ ประชาสัมพันธ์องค์กร (ศิริวรรณ ศรีวิชชุพงษ์. 2542)
          การที่นักประชาสัมพันธ์จะนำสื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้เป็น สื่อสมัยใหม่ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้อง กับกระแส ของโลกในศตวรรษใหม่ และสอดคล้อง เหมาะสมกับลักษณะ สำคัญหรือ ธรรมชาติของสื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้ใช้สื่อ อินเตอร์เน็ตในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นักประชาสัมพันธ์ ควรพิจารณา ประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

ลักษณะของผู้รับสารในอินเตอร์เน็ต
กลุ่มผู้รับสาร เป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ผ่านอินเตอร์เน็ตจะมีลักษณะเฉพาะดังนี้คือ

1. มีการศึกษาค่อนข้างดี มีทักษะด้านภาษาอังกฤษสูง มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการใช้สื่อ อินเตอร์เน็ต และเป็นกลุ่มคนสมัยใหม่ (ศิริวรรณ ศรีวิชชุพงษ์. 2542) จัดได้ว่าเป็นกลุ่มผู้รับสารที่มีสถานภาพทางสังคมในระดับสูง
2.เป็น ผู้รับสารที่กระตือรือร้น (active recievers) ในการเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร เพราะต้องใช้ความกระตือรือร้นในการต่อเชื่อมเข้าอินเตอร์เน็ต
3.ค่อน ข้างมีเวลาว่างพอประมาณเพราะการจะเข้าไปแสวงหาข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ต ย่อมต้องเป็นผู้ที่มีเวลาว่างจากภาระการงานประจำ และชีวิตครอบครัว
4. ส่วนใหญ่กลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมักเป็นนักเรียน นักศึกษา (อดิศักดิ์ อนันนับ. 2540)
5. ผู้รับสารจะเป็นผู้กำหนดเองว่าจะเลือกเข้าไปดูข้อมูลหรือยกเลิกการดูข้อมูล (ศิริวรรณ ศรีวิชชุพงษ์. 2542)
6. ผู้รับสารส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านและที่ทำงาน และใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการส่งรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาเป็นการ ใช้เพื่อการค้นหาข้อมูล ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของหน่วยงานต่าง ๆ และเพื่อความเพลิดเพลิน (รัชนี อุดมเพชร และคณะ.2545)
รูปแบบการทำประชา สัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ต

1. การทำประชาสัมพันธ์ภายใน
สื่อ อินเตอร์เน็ตสามารถใช้ดำเนินงานเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายใน เพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ใน ประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ เพื่อการแจ้งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ภายในองค์การ เช่น ผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่ ซึ่งช่วยประหยัดกระดาษ เวลาที่ใช้ในการผลิตและจัดจำแนกแจกจ่าย และยังสามารถจัดส่งข้อมูลข่าวสารเพื่อการ ประชาสัมพันธ์ภายในไปยังกลุ่มเป้าหมายภายในองค์การได้อย่างรวดเร็ว และถึงในเวลาพร้อม ๆ กัน โดยสามารถ แพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ได้พร้อม ๆ กันทั่วประเทศและทั่วโลก

2. การทำประชาสัมพันธ์ภายนอก
นอกจาก ประสิทธิภาพในการใช้ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ภายในแล้ว สื่ออินเตอร์เน็ตยังสามารถใช้ดำเนินงานเพื่อการ ประชาสัมพันธ์ภายนอก กลุ่มเป้าหมายภายนอก เช่น ลูกค้า ผู้ใช้บริการ สื่อมวลชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สนใจ ซึ่งการจัดเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต จะช่วยให้องค์การเผยแพร่ทำประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับองค์การใน ด้านต่างๆ เช่น ประวัติความเป็นมาขององค์การ ลักษณะองค์การ การดำเนินงานขององค์การ ภาระหน้าที่ขององค์การ การบริหารงานองค์การ การจัดแบ่งสายงาน ผู้บริหารองค์การ สินค้า การบริการ การพัฒนาปรับปรุงองค์การ
ข่าวประชาสัมพันธ์องค์การ กิจกรรม ความเคลื่อนไหวขององค์การ
ประโยชน์ของการทำประชา สัมพันธ์ผ่านอินเตอร์เน็ต
          การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีประโยชน์ต่อองค์การในด้าน ประหยัดเวลาและค่า ใช้จ่ายในการให้การบริการข้อมูลกว่าการใช้บุคลากรฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งสามารถให้การบริการข้อมูลได้เพียง ครั้งละคนหรือกลุ่มเล็กๆเท่านั้น แต่การให้บริการข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต สามารถ ให้ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายกลุ่มเป้าหมาย เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย จำนวนมาก ได้ในเวลาพร้อมๆกัน สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วประเทศและโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นการสื่อสาร มวลชนหรือการสื่อสารไปยังคนจำนวนมากๆภายในเวลาพร้อมๆกันด้วยความสะดวกรวด เร็ว แต่ทว่าไม่ต้องเสียค่าเวลา สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ ไม่ต้องจ่ายค่าเนื้อที่ในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ซึ่งเมื่อเทียบค่าใช้จ่ายกับสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพยนตร์แล้ว มีอัตราค่อนข้างจะถูกกว่า
           นอกจากนี้ยังสามารถบรรจุข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ได้ปริมาณมาก และมีประสิทธิภาพในการส่งปฏิกิริยาป้อนกลับ(feedback) (ศิริวรรณ ศรีวิชชุพงษ์. 2542) 
การประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ข้อควรกระทำใน การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต

- ควรระมัดระวังในเรื่องการสะกดการันต์ตัวหนังสือและข้อมูลตัวเลขให้ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ เกิดขึ้นกับองค์กร
- ถ้าต้องการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วโลก ก็ควรจะจัดทำข้อมูลใน website ให้มีภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ นอกเหนือจากภาษาไทย
- ควรมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารใน web อย่างรวดเร็วสม่ำเสมอ ซึ่งจะสะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ถึงแม้ว่าองค์กรจะมี website ของตน แต่ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ ก็อาจจะนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่องค์กรได้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กรจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งหลักฐานการวิจัยได้พบว่า กลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ต้องการข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และมีรูปแบบสีสันแปลกใหม่ (รัชนี อุดมเพชร และคณะ. 2445) องค์กรจึงควรจัดการปรับข้อมูลข่าวสาร พัฒนารูปแบบ สีสันของหน้าตา website การให้บริการใหม่ๆ และหลากหลาย เช่น ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เกม wallpaper การ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
- มีการเชื่อมโยงไปยัง website อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นพันธมิตรกัน จะช่วยสร้างความสะดวกแก่ผู้เข้าชม
- ควรจัดให้มีส่วนของการส่งข้อมูลความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ป้อนย้อนกลับมายังหน่วยงานได้โดยสะดวก ซึ่งจะช่วยให้ได้ปฏิกิริยาย้อนกลับ (feedback) ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร อาจใช้ประโยชน์ในการวิจัยหาข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กร วิจัยประเมินผลในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายองค์กร ตลอดจนเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มเป้าหมาย องค์กรได้อีกด้วย
- นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตส่งรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (รัชนี อุดมเพชร และคณะ. 2545) ดังนั้นถ้าจัดให้มีบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ใน website ด้วย ก็จะช่วยดึงดูดใจให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมและใช้บริการมากขึ้น
- สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ การทำโปรแกรมให้ website สามารถนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม website ซึ่งจะทำให้สามารถประเมินความนิยม website ขององค์กรได้

การประชา สัมพันธ์ website

          ปัจจุบันมีองค์กรจำนวนมากที่มี website เป็นของตนเอง นักประชาสัมพันธ์จึงต้องทำหน้าที่ใน การประชาสัมพันธ์ที่อยู่ website ของหน่วยงานให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายด้วย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักและเข้าเยี่ยมชม เช่น การใส่ที่อยู่ website ในสื่อเดิมทุกชนิด ขององค์การ เช่น ในโปสเตอร์ แผ่นพับ หัวกระดาษจดหมาย ด้านข้างรถขององค์กร สติกเกอร์ ฯลฯ รวมทั้งสอดแทรกที่อยู่ website ไว้ในโฆษณาตามสื่อต่างๆ การพิมพ์ที่อยู่ website และ e-mail ไว้ในนามบัตรพนักงาน และจะต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ ภายในให้พนักงานทุกคนทราบและจดจำที่อยู่ website ขององค์กรตน
          นอกจากนี้ยังควรประชาสัมพันธ์ website ผ่านทาง search engine ที่มีชื่อเสียงในอินเตอร์เน็ต เช่น yahoo โดยการลงทะเบียน กับผู้ให้บริการเหล่านี้ เพื่อสร้าง index หรือดัชนีให้ผู้ใช้ search engine สามารถค้นหา website ได้ ตลอดจนการสร้างลิงก์หรือจุดเชื่อมโยงจาก website อื่นๆมายัง website องค์กร เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกดู website องค์กรได้อย่างสะดวก (พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. 2542)
          การประชาสัมพันธ์ website อีกแนวทางหนึ่ง คือ การจัดส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับที่อยู่และกิจกรรมใน website เผยแพร่ในคอลัมน์ไอที ในสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และควรจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมการเข้าเยี่ยมชม เช่น การจัดให้ดารา คนดัง มา chat กับผู้เข้าเยี่ยมชมการชิงโชค ทายปัญหาชิงรางวัล ฯลฯ
          ด้วยกระแสแห่งความนิยมในรูปแบบการสื่อสารสมัยใหม่ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดแนวโน้มว่านักประชาสัมพันธ์ยุคศตวรรษที่ 21 จึงต้องพัฒนาปรับปรุงความรู้ความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำสื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บรรณานุกรม
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. เริ่มต้นธุรกิจกับอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) , 2542.
รัชนี อุดมเพชร และคณะ. พฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยวิชาระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,
2545.
ศิริวรรณ ศรีวิชชุพงษ์. แนวโน้มสื่อโฆษณาบนอินเตอร์เน็ทไทยในทศวรรษหน้า(พ.ศ. 2542-2551). วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต(สื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
อดิศักดิ์ อนันนับ. ธุรกิจการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
......................................................
เกี่ยว กับผู้เขียน : ผศ.ดร.ประทุม ฤกษ์กลาง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
อดีตหัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์ และผู้ช่วยคณบดี คณะนิเทศศาสคร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
 
  การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด
คอลัมน์ คลื่นความคิด ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ มติชนรายวัน วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10363
การทำประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันนั้น มุ่งให้ความสำคัญมากกับการตลาด สินค้าและตราสินค้า ซึ่งแตกต่างจากการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเดิม ที่มุ่งความสำคัญไปที่ภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นสำคัญ ทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างเครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด หรือเอ็มพีอาร์ขึ้น สำหรับคำ ๆ นี้นั้นหมายถึงขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติงานและการประเมินผล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อและความพึงพอใจ โดยอาศัยการให้ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือผ่านรูปแบบการนำเสนอเกี่ยวกับ สินค้าและองค์กร เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและต้องการซื้อสินค้าในที่สุด
เหตุผลที่ทำให้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดอยู่ ในกระแสนิยมในปัจจุบันนั้น มีสาเหตุสำคัญพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. ค่าสื่อโฆษณามีราคาสูงขึ้น (Media rates increasing ahead of inflation) ทำให้นักการตลาดแสวงหาเครื่องมือ ที่ประหยัดงบประมาณ ซึ่งเอ็มพีอาร์ช่วยในเรื่องนี้ด้วย
2. ทั้งตลาดและสื่อต่างก็แยกย่อยมากขึ้น (Markets and media becoming increasingly fragmented) จะเห็นได้ว่ามีสื่อใหม่เกิดขึ้นมากมายอย่างนิตยสาร ได้แก่ คนรักบ้าน รถยนต์ เดินทางและท่องเที่ยว เป็นต้น
3. นักการตลาดพยายามใช้เครื่องมือการสื่อสารอย่างผสมผสานมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่สมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ
4. ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Changing consumer attitudes)
5. เพื่อให้บรรลุผลทั้งความน่าเชื่อถือและการใช้เงินอย่างคุ้มค่า (Credibility and cost effectiveness) อันเป็นผลนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีและเกิดการขายสินค้านั่นเอง
การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุก (Proactive MPR) เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาด มากกว่าคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ
2. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรับ (Reactive MPR) เป็นการมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้า หรือบริษัทที่ทำลายต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัท โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขและควบคุมการเกิดข่าวลือ (Rumor Control) การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) เป็นต้น
สำหรับประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด นั้น มีดังนี้
-ทำให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อถือ และศรัทธาในตราสินค้าและองค์กรมากขึ้น
-ช่วยสร้างทัศนคติในเชิงบวกอันเป็นผลประโยชน์ ต่อการขายสินค้า
-ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและขจัดความ รู้สึกเชิงลบให้กับสินค้าและองค์กร
-ช่วยให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ลดการสูญเปล่าและความสับสน (Waste and lutter) จากการโฆษณา
-สามารถสร้างการรับรู้และมีอิทธิพลเหนือความคิด ของกลุ่มเป้าหมาย และผู้นำทางความคิดโดยอาศัยจุดยืน และบุคลิกภาพ ของตราสินค้าเป็นหลักในการสื่อสารเนื้อหาไปยังกลุ่มเป้าหมาย
-สินค้าบางประเภทไม่สามารถทำโฆษณาได้ ก็สามารถใช้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแทน ซึ่งให้ผลกระทบต่อสินค้าและองค์กรได้ไม่แตกต่างกัน
จะเห็นว่าแนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่พยายามนำทั้ง กลยุทธ์การตลาด และประชาสัมพันธ์มาใช้ร่วมกันอย่างลงตัว (Pulling together) เพื่อให้กลยุทธ์นั้นสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือที่เรียกว่า " One Look-One Voice " นั่นเอง