Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บริหาร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บริหาร แสดงบทความทั้งหมด

โอกาส การบริหารฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก


ตลาดธุรกิจกีฬาแนวใหม่ ( การบริหารธุรกิจกีฬา )
 โดย อ.พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์


โลกธุรกิจวิ่งตามกระแสโลกาภิวัตน์และสังยุคใหม่ ค่านิยมของคนเปลี่ยนไป เป็นสังคมวัตถุนิยม (Materialism) และบริโภคนิยม (Consumerism)

ในเรื่อง การตลาด ก็รุนแรงตามไปด้วย ธุรกิจที่สามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแส พร้อมกลยุทธ์ที่โดนใจ ย่อมนำพาธุรกิจให้อยู่รอดในวงการอย่างแน่นอน
วิวัฒนาการในการเกิดขึ้นของ “ตลาด” พอลำดับได้ดังนี้
• เดิมคนเรา ต้องการ “ปัจจัย 4” ตามธรรมชาติ
• เริ่มเป็นการผลิตแบบง่ายๆ (เริ่มมีการแบ่งงานกันทำ)
• เป็นแบบ Barter System ( เป็นการนำสินค้า กับสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน )
• เกิดเป็น Money System ( คือการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า )
• เกิดเป็น “ตลาด” ( Market ) 
ตลาด เกิดจากส่วนประกอบของ
1. ความจำเป็น (Needs)
2. ความต้องการ ( Wants)
3. ความปรารถนา (Wish) ที่จะซื้อ มีเงินซื้อ และมีอำนาจที่จะซื้อ

ทั้ง 3 องค์ประกอบ ก่อให้เกิด อุปสงค์ ( Demands ) : ความต้องการ
ความต้องการสินค้า อยู่บนหลักบนพื้นฐานของความจำเป็น (Need) และความต้องการ(Wants) แต่ในปัจจุบันการต้องการสินค้าของคนเรา ถูกโน้มนาวด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด
เดิมกีฬาหมายถึง การเล่นเพื่อความแข็งแรงของร่างกายหรือเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ในปัจุบันเราเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เพราะเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างแท้จริง เช่น ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี แพทย์มักแนะนำให้ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้แพทย์ก็แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการวิ่งเหยาะๆ (Jogging) แต่ไม่ให้ถึงกับหักโหม หลังจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการพบว่าผู้ป่วยหรือผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง กลับมีสุขภาพดีขึ้น

ในทุกวันนี้การได้ออกกำลังกาย หลายคนถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น การได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 30 – 60 นาที ทำให้คนเราห่างไกลจากการเป็นหวัด หรือโรคทางระบบหายใจได้ เพราะร่างกายที่แข็งแรง เราจึงมีภูมิต้านทานโรค การได้ออกกำลังกายช่วยให้ระบบหายใจของคนเราดีขึ้น

ธุรกิจกีฬายุคใหม่ได้ดึงหลักการตลาด ที่ว่าด้วย ความจำเป็น (Needs) เข้ามาช่วยในการทำตลาดอย่างเห็นได้ชัด หลายคนมองเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย สถานที่สำหรับการออกกำลังกาย กลายเป็นธุรกิจอย่างเติมรูปแบบ Fitness เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ที่สะดวกและหลายคนเลือกเป็นอันดับต้นๆ พร้อมหรือมีเวลาเมื่อใดก็เข้าไปใช้บริการได้เลย ความสะดวกและทันสมัยของอุปกรณ์การออกกำลังกายก็มีอย่างมากมาย ,มีเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้คำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง คอยแนะนำการใช้อุปกรณ์การออกกำลังกายที่ถูกต้อง

ธุรกิจการเช่าสนามฟุตบอล ประเภท ฟุตซอล (FUTSAL) มีให้เห็นอย่างมากมาย การทำธุรกิจกีฬาประเภทศูนย์สุขภาพและศูนย์กีฬา (Health Club &Sport Club) ประเภทครบวงจร พบเห็นได้ในแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ในหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโดมิเนียม ฯลฯ

เมื่อมี ความต้องการ (Wants) ปริมาณสินค้า (สถานที่ออกกำลังกาย ที่ทำเป็นเชิงธุรกิจ ) ก็จะมีมากตามไปด้วย กีฬาไม่ได้เป็นเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อพลานามัยแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ตัวของมันเองแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้า กระบวนการ ก็แปรเปลี่ยนให้กีฬาเป็นสินค้าด้วยตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์

แล้วในเรื่องของ ความปรารถนา (Wish) ที่จะซื้อ มีเงินซื้อ และมีอำนาจที่จะซื้อ ล่ะ
โลกสังยุคใหม่ ค่านิยมของคนเปลี่ยนไป เป็นสังคมวัตถุนิยม (Materialism) และบริโภคนิยม (Consumerism) การเล่นกีฬากลายเป็นแฟชั่น เป็นกระแสนิยม การเล่นกีฬาแล้วได้แต่งตัวสวยๆเป็นความภูมิใจ เช่น การแต่งกายด้วยชุดกีฬาสวย ๆ เพื่อออกไปเต้นแอร์โรบิค พบเห็นได้ในยามเย็นในแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ หรือการเล่นเทกวนโด่ตามกระแสของนักกีฬาฮีโร่ที่ประสบความสำเร็จในกีฬาโอลิปปิก แต่ความปรารถนา ในข้อนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย ที่เรียกว่า "เงิน" ที่เป็นอำนาจซื้อ ที่เป็นตัวสนับสนุนของแต่ละบุคคลด้วย

ธุรกิจกีฬาในประเทศไทย
(Sport Business in Thailand)
• อุปกรณ์กีฬา (Sport equipment)
• Sport คลับ (Sport clubs, Polo clubs,SPA)
• สนามไดร์วกอล์ฟ (Driving length)
• ศูนย์เรียนรู้ด้านกีฬา (Sport Academies)
• Fitness Club
• Sport Event
• สนามเช่า (Facilities Leasing)
• การท่องเที่ยวกีฬา (Sport tourism)
• กีฬาต่างๆที่เริ่มเป็นกีฬาอาชีพ เช่น ฟุตบอล ,เท็นนิส ฯลฯ
• โฆษณากับการกีฬา (Sport Promotion)
- หนังสือกีฬา,หนังสือพิมพ์ต่างๆ
- วิทยุ , TV
- สื่อต่างๆ
• Internet Website and Mobile Phone
• ฯลฯ



นักบริหารกับความสำเร็จ



ผู้บริหารจะต้อง จะต้องนำความสำเร็จ 3 สิ่งนี้มาสู่องค์กร คือ.
1. นำคนได้
2. นำการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรได้
3. สยบปัญหาได้
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การบริหาร เป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร

โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว

หลักการมีส่วนร่วม ความหมาย หลักการมีส่วนร่วม หรือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ

หลักการสร้างทีมงาน ทีมงาน หมายถึง กลุ่มคนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อาจกล่าวโดยสรุป ทีม คือ กลุ่มของบุคคลทีมีการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอน

การสร้างทีมงานในหน่วยงาน หมายถึง การปรับความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ความสำเร็จของผู้บริหาร
ผู้บริหารที่ดีต้องพยายามเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และต้องสนใจปรับปรุงพัฒนาทักษะในการจัดการเกี่ยวกับบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

ความสำเร็จของผู้บริหาร ก็คือ ความสามารถทำให้ผู้ร่วมงานได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการและมีความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติหากผู้บริหารเข้าถึงจิตใจและมีเทคนิคการตอบสนองในแต่ละสถานการณ์ แต่ละกลุ่มและแต่ละบุคคล ก็จะเป็นการประสานจิตประสานใจให้บุคลากรภักดี และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศการบริหารให้เกิดแรงจูงใจให้บุคลากรเข้ามาร่วมทำงานโดยมีความพึงพอใจในผลงานที่ปฏิบัติจะทำให้งานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ บรรลุสัมฤทธิผลตามที่พึงปรารถนาได้การสร้างบรรยากาศการบริหาร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำงาน มีความรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ในที่ทำงาน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก บรรยากาศการบริหารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบโครงสร้างการบริหาร กระบวนการบริหาร การใช้เทคนิควิธี การจัดสภาพแวดล้อม การมีมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามสถานการณ์ที่เหมาะสม การมอบหมายงาน การกำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผล ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างมากต่อผลงานที่ปรากฏ เพราะงานใดก็ตามถ้าผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจในงานที่กระทำอยู่ก็จะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ทั้งจะก่อให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสามอย่าง ได้แก่ ความสามารถ สภาพแวดล้อม และแรงจูงใจ ถ้าบุคคลมีความสามารถที่จำเป็นได้รับการสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมขององค์การและจูงใจอย่างเพียงพอแล้ว พวกเขาย่อมมีโอกาสดีที่สุดที่จะบรรลุเป้าหมายได้

ดังนั้นจะเห็นว่าการสร้างบรรยากาศการบริหารที่ดีและการสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรทุกฝ่ายทุกคนในโรงเรียน จึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานอันจะส่งผลให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา ที่จะช่วยนำโรงเรียนไปสู่ความเป็นเลิศได้

บทบาทและสมรรถภาพของ ผู้บริหารมืออาชีพ 
1. เป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร (Direction Setter ) เช่น รู้เทคนิคต่าง ๆ ของการบริหาร PPBS, MBO , QCC ,MIS , SWOT ,PERT ,QCC เป็นต้น
2. มีความสามารถกระตุ้นคน (Leader Catalyst)
3. ต้องเป็นนักวางแผน (Planner)
4. ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decision Maker)
5. ต้องมีความสามารถในการจัดองค์การ (Oraganizer)
6. ต้องเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Change Manager)
7. ต้องเป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Coordinator)
8. ต้องเป็นผู้ติดต่อสื่อสารที่ดี(Communicatior)
9. ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาขัดแย้งในองค์การได้ (Conflict Manager)
10. ต้องสามารถบริหารปัญหาต่าง ๆ ได้(Preblem Manager)
11. ต้องรู้จักวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System Manager)
12. ต้องมีความสามารถในด้านวิชาการทั้งการเรียนและการสอน (Instructional Manager)
13. ต้องมีความสามรถในการบริหารบุคคล (Personnel Managr)
14. ต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากร (Resource Manager)
15. ต้องมีความสามารถในการประเมินผลงาน (Appraiser)
16. ต้องมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ (Public Relator)
17. ต้องสามารถเป็นผู้นำในสังคมได้ (Ceremonial Head)