Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พ่อรวยสอนลูก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พ่อรวยสอนลูก แสดงบทความทั้งหมด

เก็บเงินให้รวย

เก็บเงินให้รวย - ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร "หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ "

1. การเพิ่มรายได้ ควรหลีกเลี่ยงการเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะเป็นผู้ประกอบการจะรวยเร็วกว่า และเชื่อว่าคนที่ทำงานเก่งสำคัญกว่าคนที่เรียนเก่ง แต่ไม่ได้สนับสนุนให้ทิ้งการเรียน ควรมีการ เรียนรู้ต่อเนื่อง

2. สอนลูกให้เป็นผู้ประกอบการ โดยสอนให้มีพื้นฐานและประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่เด็กๆ และหากเป็นไปได้ก็ควรสนับสนุนในส่วนของทุนที่จะใช้ในการประกอบการด้วย

3. เคล็ดลับการออมเงิน
- หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่า ที่หาได้
- ควบคุมรายจ่ายถ้าอยากเก็บเงิน เมื่อได้เงินมาให้รีบแบ่งเก็บในธนาคารเพราะถ้ารอใช้ก่อนจะไม่เหลือเก็บ
- ไม่ต้องทำตามผู้อื่น ต้องมีเอกเทศของตัวเอง เราอยู่ในสังคมต้องเป็นไปตามสังคม แต่เราไม่จำเป็นต้องทำตามคนอื่นเสมอไป
- การเล่าเรียนของบุตร ควรวางแผนด้านการเรียนของบุตรโดยเน้นการศึกษาเล่าเรียนในประเทศ เพราะการศึกษาในประเทศไทยก็จัดอยู่ในระดับมาตรฐานและค่าใช้จ่ายในการเรียน ไม่สูงมาก
- ต้องระวังรักษาสุขภาพของตนให้แข็งแรง และไม่ควรทำประกันภัยหรือประกันชีวิตจนเกินสมควร
- ระวังเรื่องค้ำประกัน และการให้กู้ยืม เพราะ "การให้เพื่อนยืมเงิน ท่านจะเสียเงิน เสียเพื่อนและในที่สุดก็เสียใจ"

4. บริหารเงินออมของครอบครัวและวางแผนภาษี
- การสร้างฐานะของครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นควรยึดหลักการ "ผัวเดียวเมียเดียว" และสามีภรรยาต้องช่วยกันออมทรัพย์
- การบริหารเงินของครอบครัว จะต้องรู้ว่าคุณมีทรัพย์สมบัติอะไรบ้างที่เป็นสินเดิม หรือเป็นสินสมรสเพื่อจะได้จัดการให้เกิดประโยชน์งอกเงย และใช้จ่ายร่วมกันได้
- การบริหารเงินออมจะต้องดูแลการหมุนเวียนของเงินสดให้มีสภาพคล่อง ไม่ทำประกันชีวิตมากเกินไป และลงทุนอย่างชาญฉลาดโดยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มดอกผล จากเงินออม

5. การประหยัดภาษี ควรพิจารณาว่าจะสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ปลอดภาษี เช่นหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลดผลกระทบจากการเสียภาษีได้หรือไม่

6. มาลดภาษีกับกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
การ ลงทุนใน RMF สำหรับคนกินเงินเดือนนับเป็นช่องทางที่ช่วยลดภาษีได้มากที่สุด โดยควรเลือกกองทุน RMF แบบที่เหมาะกับเงินลงทุนและช่วงอายุในการลงทุนของคุณ นอกจากนี้ ยังควรวางแผนเรื่องภาษีเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

7. รวบรวมทรัพย์สิน โดยจัดแยกสินสมรสและสินส่วนตัว จัดสมบัติให้ดูแลง่าย จัดการเรื่องทายาท มรดก และพินัยกรรม ที่สำคัญคือควรให้เมียรู้ทรัพย์สินทั้งหมด แต่อย่าตามใจเมียทุกเรื่อง

8. สอนลูกให้รวยน้ำใจ ด้วยการใกล้ชิดและให้ความอบอุ่นแก่ลูก พร้อมทั้งชี้แนะและในเวลาเดียวกันก็ควบคุมดูแลให้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง

9. ภาษีการเงินสำหรับ "วัยรุ่น" - การวางแผนด้านภาษี เด็กๆ อาจให้ประโยชน์ทางภาษีแก่คุณได้เพราะเขาส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ทำให้อยู่ในกลุ่มผู้เสียภาษีต่ำที่สุด ดังนั้น หากคุณย้ายรายได้ส่วนหนึ่งไปให้กับตัวเด็ก คุณจะประหยัดภาษีเงินได้ลงได้
- ความรับผิดชอบต่อภาษี สำหรับวัยรุ่นที่มีรายได้ก้อนโต จะต้องหาที่ปรึกษาในการวางแผนภาษี การลงทุนและการออมทรัพย์ เพื่อเป็นการไม่ประมาท
- คำแนะนำทางการเงิน บทเรียนที่ดีสำหรับ วัยรุ่นคือแสดงให้พวกเขาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการตัดสินใจทางการเงินของ ตัวเอง ข้อสำคัญคืออย่าปรนเปรอเด็กด้วยเงินและอย่าให้บัตรเครดิต

10. ข้อสรุปการสอนลูก
- สิ่งที่ห้ามลูกทำ คือ การยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการพนัน
- สิ่งที่ลูกต้องทำ คือ รอบรู้วิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันขันแข็ง และความโอบอ้อมอารี
- สิ่งที่ลูกควรรู้ ควรทำ คือ ต้องช่วยเหลือตัวเองและสามารถทำงานเป็นทีม รู้จักเก็บออมเงินและมีเมตตาสงสาร และที่สำคัญคือการมีระเบียบวินัย

11. จัดการมรดกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้ทำพินัยกรรมด้วยตนเอง และควรต้องตรวจสอบดูแลเป็นระยะๆ (อาจจะทุก 5 ปี)

12. แม่บ้าน- มีเมียดีเป็นศรีแก่เรือน
- คุณสมบัติและรูปสมบัติของภรรยาที่พึงมี ได้แก่ การเป็นคนมีจิตใจงาม มีการศึกษาพอสมควร เป็นเพื่อนคู่คิด รู้จักดูแลสุขภาพ ร่างกายของตนเองให้แข็งแรงและกระฉับ-กระเฉงอยู่เสมอ และมีความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สมบัติ
- แม่มักจะเป็นผู้สอนลูกเพราะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่า

13. การหารายได้- รู้จักประมาณตน คือประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่ได้รับ
- ระวังหนี้สินและการค้ำประกัน
- ให้ลูกเมียร่วมตัดสินใจในเรื่องเงินทองของครอบครัว

14. ค่าใช้จ่าย- หนี้สินและบัตรเครดิต (การบริหารเงินกู้) ควรมีความรู้เรื่องการบริหารหนี้เพื่อลดภาระ ต่อไปจะได้เป็นไทแก่ตัว
- ประกันภัย-ประกันชีวิต ควรพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ ก่อนตัดสินใจ
- ควรทำงบการเงินของครอบครัวเพื่อจะได้รู้สถานะทางการเงินของครอบครัวได้ชัดเจน

15. ช่วยกันออมและลงทุน
- ชายหญิง ใครใช้เงินเก่งกว่ากันและใครออมเงินเก่งกว่ากัน หากใครเก็บเงินหรือคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่ากันก็ให้เป็นผู้นำในการดูแลเงิน
- เริ่มต้นออมก่อนก็จะรวยกว่า
- ผัวเมียแยกกันลงทุนดีไหม ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นกับความเหมาะสม
- ทรัพย์สินที่น่าลงทุนต้องดูตามแต่สถานการณ์
- ต้องช่วยกันเตือนสติ เข้าตำรา "สองหัวดีกว่า หัวเดียว"

16. ลงทุนให้ได้ดอกผลงาม
- บ้านและที่อยู่อาศัยถือเป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด
- เงินทองเป็นของมีค่าและซื้อเพชรให้ภรรยา เพราะเพชรและทองเป็นทรัพย์สินที่คล้ายกับบ้านคือได้ใช้ประโยชน์ ได้สวมใส่ ดูแล้วอิ่มอกอิ่มใจ และถือเป็นเงินออมประเภทหนึ่ง
- หุ้นกับเงินฝากธนาคารควรดูแลและปรับเปลี่ยนการลงทุนตามสภาวการณ์ตลาด
- ซื้อทรัพย์สินอื่น เช่น การสะสมของมีค่าต่างๆ แต่ควรเป็นของที่มีตลาดซื้อขายที่กว้าง และไม่ใช่ของผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม
- มีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง
- อย่าลืมสร้างบุญกุศล เพราะคนเราจะเจริญมาได้ ก็ต้องเป็นคนดี ช่วยเหลือผู้อื่น

17. จัดรูปแบบภาษีของครอบครัว
- เรื่องภาษีจะต้องรู้ เพราะเมื่อกฎหมายทุกฉบับพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าคนไทยทุกคนต้องรู้ จะแก้ตัวว่าไม่รู้เลยไม่เสียภาษีไม่ได้
- เมียก็ช่วยลดภาษีได้ในกรณีที่มีรายได้ของตนเอง และขอแยกเสียภาษี
- ควรตั้งบริษัทเพื่อลดภาษีหรือไม่นั้น ขึ้นกับความเหมาะสมและประเภทธุรกิจ

18. แผนการเงินของคนโสด
- หาเองใช้เองประหยัดกว่าก็น่าจะจริง แต่ในบางกรณีการมีคนช่วยหารายได้ให้เป็นทวีคูณก็น่าจะเป็นการดี
- เพื่อนคู่คิดสำหรับคนโสด อาจเป็นเพื่อนสนิท หรือญาติพี่น้อง
- การคำนวณว่าต้องมีเงินออมเท่าใดจึงพอเพียง ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของคุณ
- แก่ลงใครจะดูแล ขึ้นกับว่า "เราทำอย่างไร กับผู้อื่น เขาก็ทำกับเราอย่างนั้น" หากเราทำดีกับใคร เขาย่อมตอบแทน

19. บั้นปลายของชีวิต
- หากต้องการให้แก่แล้วมีกิน จะต้องเก็บออมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี รู้จักควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า รายได้
- วิเคราะห์ความมั่งมีเพื่อความไม่ประมาท
- บุญกุศลช่วยท่านได้

พ่อรวยสอนลูก II

- ความกลัวและความอยาก ทำให้ติดกับดัก
- การใช้ชีวิตอยู่กับความกลัว เป็นสิ่งเลวร้ายมาก เราควรมีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง ความฝัน และความสุข
- โรงเรียนสอนให้นักเรียนทำงานเพื่อเงิน แต่ไม่เคยสอนวิธีควบคุมอำนาจเงิน
- ต้องนำความกลัว ความโลภ ความต้องการ มาใช้ในการคิดเรียนที่จะควบคุมอารมณ์เหล่านี้
- ความกลัว และความโลภของเรานั้นเองคือตัวอุปสรรค
- ทำงานไม่ใช่ทำเงิน
- คนรวยรู้ว่าเงินนั้น คือภาพลวงตา แต่ความกลัวทำให้เราคิดว่าเงินเป็นของจริง
- การมีเงินมากๆนั้น ไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักวิธีการเก็บมันไว้ให้อยู่กับเราตลอดไป
- อยากรวย ต้องมีความรู้เรื่องการเงิน
- คนรวยเพิ่มทรัพย์สิน คนจนและชนชั้นกลางเพิ่มหนี้สิน โดยคิดว่ามันคือทรัพย์สิน
- ทรัพย์สิน คือเอาเงินใส่กระเปำ หนี้สิน คือเงินออกจากกระเป๋า
- ถ้าคุณอยากยุให้เขาทำอะไร จงพูดว่า “ผมว่าคุณทำไม่ได้”
- คนฉลาดต้องรู้จักจ้างคนฉลาดกว่ามาเป็นลูกจ้าง
- ความลับของคนรวย “ทำธุรกิจของตนเอง”
- กฎข้อที่ 1 คุณต้องรู้ว่า “ทรัพย์สิน” และ “หนี้สิน” ต่างกันอย่างไร
- รากฐานของคนชั้นกลางหรือคนจน ก็คือ กลัว ไม่กล้าเสี่ยง ทำให้ยึดติดอยู่กับเงินเดือน และงานที่ทำอย่างเหนียวแน่นเพราะที่นั้นเขารู้สึกว่า “ปลอดภัย”
- ขอแตกต่างของคนรวยกับคนจนคือ คนรวยซื้อความสบายที่หลัง แต่ชนชั้นกลางกับคนจน มักซื้อความสบายก่อนสิ่งอื่นใด เช่น รถ, บ้านหลังใหญ่
- ถ้าคุณทำงานเพื่อเงิน อำนาจอยู่ในมือนายจ้าง ถ้าคุณใช้เงินทำงาน อำนายอยู่ในมือคุณ
- หลักสำคัญของไหวพริบทางการเงิน

1. ความรู้ทางบัญชี

2. ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
3. ความเข้าใจตลาด
4.ความรู้เรื่องกฎหมาย


- คนรวยที่มีบริษัท 1. รายได้ 2. รายจ่าย 3. เสียภาษี

- ลูกจ้างบริษัท 1. รายได้ 2. เสียภาษี 3. รายจ่าย
- คนรวยส่วนใหญ่ จะเป็นคนที่มีแนวความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะในการคำนวณความเสี่ยง
- วิกฤติเศรษฐกิจ คือโอกาสของนักลงทุน
- จงสนุกกับมัน เพราะนี้คือเกมเกมหนึ่ง บางเกมคุณชนะ บางเกมคุณแพ้ หลายคนไม่เคยชนะเพราะกลัวที่จะแพ้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมไม่เห็นด้วยกับหลักสูตรของโรงเรียนสอนว่าการทำผิดเป็น สิ่งไม่ดีนักเรียนจะถูกทำโทษเมื่อกระทำความผิด แต่คุณลองคิดดูซิว่ามนุษย์เรียนจากการกระทำผิดมาโดยตลอด กว่าเราจะเดินได้ต้องล้มไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ถ้าเราไม่เคยล้ม เราจะไม่รู้วิธีเดินเลยด้วยซ้ำ น่าเสียดายที่หลายคนไม่มีโอกาสร่ำรวยเพียงเพราะเขากลัวที่จะล้มเหลว อย่าลืมความพ่ายแพ้
และการล้มเหลว เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ถ้าคุณหลีกเลี่ยงการล้มเหลว คุณก็หลีกเลี่ยงความสำเร็จด้วย
- มีนักลงทุนอยู่สองประเภท

1. เป็นประเภทที่พบเป็นส่วนใหญ่ คือพวกที่ลงทุนในตลาดที่มีอยู่ได้แก่ พวกขาย อสังหาริมทรัพย์ สิ่งที่ซื้อก็เช่นกันกองทุนรวม หุ้น เป็นการลงทันตรงไปตรงมา คล้ายกับคนที่ไปเดินซื้อ คอมฯ ที่ตั้งโชว์ตามห้าง

2. เป็นพวกชอบสร้างสรรค์ นิยมซื้อส่วนต่างๆมาประกอบเป็น คอมฯ แทนที่จะซื้อเครื่องที่ประกอบแล้ว แต่ผมรู้ว่าอะไรชนอะไรทำให้เกิดโอกาสดีๆประเภทที่สองนี้แหละที่ผมยากให้เป็น นักลงทุนมืออาชีพ อาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะประกอบได้สำเร็จ หรืออาจจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย พ่อรวยพยายามสอนให้ผมเป็นนักลงทุนประเภทที่สอง เพราะชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ย่อมมาจากความรู้และการฝึกฝนจนชำนาญ มิฉะนั้นคุณอาจพ่ายแพ้ได้เช่นกัน


- ถ้าคุณต้องการเป็นนักลงทุนประเภทสอง คุณต้องมี 3 สิ่ง


1. ทำอย่างไรจึงจะเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น

2. ทำอย่างไรจึงจะได้เงินมาทำทุน
3. ทำอย่างไรจึงจะได้คนฉลาดมาเป็นลูกจ้าง

- สิ่งที่ต้องเรียนรู้มีมากมาย หากคุณไม่ชอบหรือไม่สนใจ ผมขอแนะนำ นักลงทุนประเภทแรกเหมาะกับคุณมากกว่า ความรู้เป็นสมบัติ ความไม่รู้เป็นความเสี่ยง ความเสี่ยงมีอยู่ทั่วไป เรียนรู้ที่จะจัดการกับความเสี่ยงดีกว่าที่จะหลีกเลี่ยงอยู่ร่ำไป

- พ่อรวยของผมแนะนำว่าต้องรู้หลายๆเรื่อง ไม่ต้องละเอียด แต่ต้องหลายเรื่อง
- ความมั่นคงทางการงานสำคัญมากสำหรับพ่อนักวิชาการ แต่สำหรับพ่อรวยความรู้และประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
- พ่อรวยบอกว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการบริหารบริษัทคือ การบริหารคน
- “ลูกจ้างทำงานพอที่จะไม่ให้ถูกไล่ออก และนายจ้างก็จ่ายค่าจ้างพอที่จะไม่ให้ลูกจ้างลาออก” เป็นทฤษฎี ผลลัพธ์ก็คือลูกจ้างไม่เคยก้าวไปทางไหนได้ไกล พวกเขาจะติดอยู่กับ “ความมั่นคงของงาน” เงินเดือนและผลตอบแทนซึ่งเป็นเพียงรางวัลระยะสั้น แต่อาจจะเป็นปัญหาระยะยาว ผมอยากแนะนำให้คุณทำงาน เพื่อประสบการณ์ และการเรียนรู้ที่คุณจะได้รับมากกว่าเพื่อผลตอบแทนที่จะได้รับ มองไปข้างหน้าว่าคุณต้องการประสบการณ์เรียนรู้ทักษะด้านไหน อะไรที่จะช่วยให้คุณหลุดออกจากสนามแข่งหนู
- คนจำนวนมากเก่งแต่จน เพราะคนเหล่านี้มุ่งแต่จะฝึกฝนทักษะในการทำแฮมเบอร์เกอร์ โดยไม่สนใจวิธีการขาย และส่งแฮมเบอเกอร์แมคโดนัลอาจไม่ใช่คนทำแฮมเบอร์เกอร์อร่อยที่สุด แต่เขาเป็นคนขายแฮมเบอร์เกอร์รสชาติธรรมดาๆที่เก่งที่สุด
- ทักษะสำคัญสำหรับการบริหารธุระกิจ

1. การบริหารกระแสเงินสด

2. การจัดการระบบ (รวมทั้งการจัดการตัวเองและ เวลาให้ครอบครัว)
3. การบริหารบุคลากร


- ทักษะเฉพาะด้านที่สำคัญในการทำธุรกิจ คือ การขายและความเข้าใจเรื่องการตลาด ความสามารถ ในการขาย นั้นคือ การสื่อสารกับมนุษย์ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง นายจ้าง สามีภรรยา บุตรหลาน ทักษะพื้นฐาน ที่ต้องฝึกให้ชำนาญคือ การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูด เขียน ต่อรอง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ผมพยายามเล่าเรียนและฝึกฝนอยู่เสมอ

- พ่อแนะนำให้เราทำงานกับคนที่ฉลาดกว่า หาคนฉลาดมาร่วมทีมอย่างที่เรียกว่า การประสานทรัพยากรเพื่อประโยชน์รวมกัน
- จงให้แล้วคุณจะได้รับตอบแทน
- อุปสรรคที่ทำให้ไม่ประสพผลสำเร็จ

1. ต้องเอาชนะความกลัวว่าจะต้องเสียเงิน

ผมไม่เคยเจอใครที่ชอบเสียเงิน และผมก็ไม่เคยเจอคนรวยที่ไม่เคยเสียเงิน แต่ผมเคยเจอคนจนที่ไม่ยอมเสียเงินในการลงทุนแม้แต่สตางค์เดียว
ทุกคนรวมทั้งคนรวยก็มีความกลัวว่าจะเสียเงินกันทั้งนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความกลัว แต่ประเด็นคือเราจะจัดการกับความกลัวนี้อย่างไรต่างหากคุณจะจัดการอย่างไร ถ้าต้องเสียเงิน ถ้าต้องล้มเหลว อุกอย่างในชีวิตนั้นแหละครับ ทั้งหมดขึ้นอยู่ว่าคุณจะมีวิธีจัดการอย่างไร คนจนกับคนรวยต่างกันตรงวิธีการจัดการกับความกลัวนี้เอง “ชนะคือการไม่กลัวที่จะแพ้“ “ความพ่ายแพ้มักจะตามมาด้วยชัยชนะ” ผมไม่เคยเจอนักกอล์ฟที่ไม่เคยเสียลูกกอล์ฟ หรือคนมีความรักที่ไม่เคยอกหัก และไม่เคยเจอคนรวยที่ไม่เคยเสียเงิน เพราะฉะนั้นสำหรับหลายๆคนที่ไม่รวยอาจเป็นเพราะความเจ็บปวดจากการสูญเสีย เงินที่เขาได้รับมีมากกว่าความสุขจากความร่ำรวย “ทุกคนอยากไปสวรรค์แต่ไม่มีใครอยากตาย” คนส่วนมากฝันถึงเงินล้าน แต่กลัวที่จะสูญเสียเงิน เขาเหล่านั้นจึงไม่โอกาสไปถึงสวรรค์
2. ขจัดความคิดด้านลบ
คนจำนวนมากพกแต่ความคิดด้านลบ แท้จริงแล้วทุกคนมี “ความคิดด้านลบ” อยู่ในตัวกันคนละนิดละหน่อย โดยเฉพาะในยามที่เรากลัวหรือไม่มีความมั่นใจ
ประเด็นที่ต้องการชี้ให้เห็นก็คือ ความไม่แน่ใจหรือความคิดด้านลบนั้นแหละที่ทำให้หลายคนไม่มีโอกาสรวย ก็อย่างที่ผมบอกไว้ การออกจากสนามแข่งหนูนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ความกลัวต่างหากที่ฉุดรั้งคุณไว้
3. ความขี้เกียจ
เอาชนะได้ด้วย “ หัดโลภเข้าไว้ – ความต้องการ ”
4. อุปนิสัย
ความกดดันจะกลายเป็นแรงจูงใจ
5. ความหยิ่งทะนงตน

- เริ่มต้นอย่างไรดีที่จะช่วยให้คุณมีพลัง


การทำงานเพื่อเงินไม่ใช่เรื่องยาก แต่ใช้เงินทำงานแทนเรานั้นยาก

1. พลังใจ ( เพื่อเอาชนะความจริงที่ขวางหน้า )
ผมไม่อยากทำงานไปตลอดชีวิต ผมไม่ชอบเป็นลูกจ้าง ผมอยากมีอิสระ มีเวลา มีชีวิตเป็นของตนเอง ผมอยากให้เงินทำงานรับใช้ผม
ทั้งหมดนี้คือพลังคือ ความต้องการอันแรงกล้าของผม ถ้าพลังของคุณยังไม่แรงกล้า หนทางแห่งความเป็นจริงข้างหน้าของคุณยังอีกยาวไกล ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนทำไม่ได้ แต่ถ้าขาดพลังใจ อะไรๆในชีวิตก็กลายเป็นเรื่องยากไปหมด
2. เสรีภาพในการเลือก
คุณต้องจำกัดความฉลาด ความเชื่อในตัวคุณออกเสียก่อนเพื่อเปิดใจให้กว้าง และฟังความคิดของเขา คนที่คิดว่าตนเองฉลาดแล้วเก่งแล้วอีกมุมหนึ่งก็คือคนไม่กล้าเสี่ยง กลัวความผิดพลาด แต่อย่าลืมว่าเมื่อคุณเรียนสิ่งใหม่ คุณต้องกล้าที่จะทำผิด เพราะความผิดพลาด ทำให้คุณเรียนรู้ ได้ดีที่สุด ถ้าคุณอ่านมาจนถึงหน้านี้ แสดงว่าคุณไม่ใช่คนประเภทที่คิดว่าข้าแน่ มีคนจำนวนมากที่คิดว่าตนเองฉลาดก็เลยทำหยิ่งผยองว่าข้านี้ยอดเยี่ยม ผลออกมากลายเป็นความล้มเหลวเอาตัวไม่รอด คนฉลาดที่แท้จริงมักจะชอบฟังความคิดเห็นคนอื่นด้วยใจเปิดกว้าง พร้อมที่จะนำความคิดจากหลายๆด้านมาวิเคราะห์ประกอบเป็นความคิดใหม่ การฟังเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าพูด
3. เลือกคบเพื่อนด้วยความระมัดระวัง ( ประโยชน์จากเครือข่าย )
คนมีเงินมักคุยแต่เรื่องเงินๆทองๆเรื่องการลงทุน เศรษฐกิจ
คำเตือน อย่าสนใจคำพูดของเพื่อนที่ไม่มีเงิน และเพื่อนที่ชอบคิดด้านลบแม้เขาจะเป็นเพื่อนที่ดีมากแค่ไหนก็ตาม คนพวกนี้จะบอกคุณเสมอว่า “เป็นไปไม่ได้”
4. สร้างสูตรและเรียนสูตรใหม่ๆ ( ประโยชน์จากเครือข่าย )
สูตรเดียวที่โรงเรียนสอนเรื่องเงิน คือ “ทำงานเพื่อเงิน”
5. ชำระหนี้ให้ตัวเองเป็นอันดับแรก ( ประโยชน์จากการเรียนให้เร็วที่สุด )
หากคุณไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ คุณไม่มีโอกาสรวย
ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ แม้มีเงินคุณก็จ่ายหมด ใน 10 ข้อ ข้อนี้ทำยากที่สุด แต่เป็นข้อที่แยก คนจนกับคนรวยออกอย่างชัดเจน ถ้าคุณไม่มีความอดทน ไม่รู้จักควบคุมตัวเอง คุณไม่มีทางรวยได้ เหมือนพ่อรวยเคยสอนผมว่า “ โลกจะผลักเธอไปมาหากเธอไม่มั่นคงพอ ”

- 3 ทักษะสำคัญสำหรับการเริ่มทำธุรกิจของตนเอง

1. การบริหารกระแสเงินสด
2. การบริหารบุคลากร
3. การบริหารเวลา

- คนที่จ่ายให้คนอื่นอันดับแรก ( ลงท้ายมักไม่เหลืออะไร ) แม้ผมจะจ่ายตัวเองก่อน ผมก็จะพยายามๆไม่มีหนี้มาก โดยเฉพาะหนี้จากการบริโภค

กฎข้อที่ 1 ของการชำระหนี้ให้ตัวเองอันดับแรกก็คือ อย่าก่อหนี้ ผมจ่ายหนี้คนอื่นที่หลัง แต่ผมพยายามมีหนี้ให้น้อยที่สุด เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
กฎข้อที่ 2 แม้ผมจะขาดเงิน ผมก็ยังชำระให้ตัวเองก่อน ปล่อยให้เจ้าหนี้โวยวายไป เพราะพวกเขาจะชวยให้ผมขยันขึ้น ขวนขวายมากขึ้น เพื่อที่จะหาเงินมาชำระหนี้ให้ได้ ผมจ่ายให้ตัวเอง ลงทุน และปล่อยเจ้าหนี้โวยวายผมไม่เคยผิดนัด เครดิตเราดีตลอดมา เพียงแต่ผมไม่ยอมให้ใครมากกดดันให้ผมต้องขายหุ้น หรือเอาเงินลงทุนมาชำระหนี้พวกเขาก่อนซึ่งไม่ใช่วิธีที่ฉลาดเลย
คำตอบก็คือ
1. อย่าก่อหนี้จำนวนมากเกินไป จำกัดรายจ่ายให้น้อยลง ขยายช่องทรัพย์สิน จากนั้นค่อยซื้อรถ – ซื้อบ้าน ติดอยู่ในสนามแข่งหนูไม่ใช่เรื่องฉลาดสักนิด
2. ถ้าเงินขาดมือ อ้าแขนรับความกดที่เกิดขึ้น แต่อย่าถอนเงินสดหรือขายหุ้น ใช้ความกดดันนั้นให้เป็นประโยชน์ ช่วยให้เกิดความคิดในการทำเงินเพื่อมาชำระหนี้ สร้างความคิด ความสามารถใหม่ๆ และเพิ่มไหวพริบทางการเงินให้แก่ตัวเอง
เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ผมเดือดร้อนทางการเงิน ผมก็ยังคงยืนหยัดและปกป้องช่องทรัพย์สินเท่าชีวิต นิสัยไม่ดีที่คนไม่รวยส่วนมากชอบทำคือ การแคะกระปุกแล้วเอาเงินออมมาชำระหนี้ คนรวยเท่านั้นที่รู้ว่าเงินออมมีไว้เพื่อขยายช่องทรัพย์สินไม่ใช่จ่ายหนี้ หาสูตรสำเร็จที่เหมาะกับสถานการณ์ของคุณ อย่างแรกคือ พยายามลดรายจ่าย ฝากธนาคาร

6. เลี้ยงนายหน้าของคุณให้ดี ( ประโยชน์จากคำแนะนำที่ดี )

พ่อรวยสอนให้ผมดูแลนายหน้าเป็นอย่างดี ผมจ้างทนาย นักบัญชี นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ผมชอบให้นายหน้าของผม มีรายได้มากๆ เพราะนั้นหมายความว่าผมก็ได้เงินมากด้วย นายหน้าทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้คุณ เชื่อหรือไม่ว่าคนจำนวนมากให้ทิปพนักงาน 15-20 % ทั้งที่บริการไม่ประทับใจมากนัก แต่คนเหล่านี้กลับลังเลที่จะจ่ายค่านายหน้าเพียงร้อยละ 3-7 ทำไมคนเหล่านี้กลับลังที่จะจ่ายมากกว่าให้รางวัลคนในช่องทรัพย์สิน “ นี้เรียกว่าไม่มีไหวพริบทางการเงิน ”
นายหน้าไม่เหมือนกันทุกคน อย่าลืมคำกล่าวที่ว่า “ ถ้าต้องการซึ้อสารานุกรมไว้ใช้ จงอย่าถามหาจากพนักงานขายสารานุกรม ” ทุกครั้งที่ผมสัมภาษณ์นักวิชาชีพที่ผมคิดจะจ้าง ผมจะถามก่อนเลยว่าเขาเป็นเจ้าของทรัพย์สินอะไรบ้าง พยายามหานายหน้าที่ คำนึงประโยชน์ของคุณพร้อมที่จะให้คำแนะนำและความรู้ เขาจะเป็นทรัพย์สินที่มีค่าสำหรับคุณ จงให้ความยุติธรรมแล้ว เขาจะให้คุณกลับเช่นเดียวกัน ถ้าคุณคิดแต่จะลดค่านายหน้า คงไม่มีใครอยากอยู่กับคุณนานๆ
การบริหารคน ผู้บริหารบางคน ชอบบริหารคนที่ต่ำกว่าหรือฉลาดน้อยกว่า ผู้บริหารระดับกลางหลายคนไม่เคยได้เลื่อนตำแหน่งเพราะไม่รู้จักวิธีทำงานกับ คนที่สูงกว่า การบริหารคนที่ดีคือ รู้จักรักษาคนฉลาดหรือเก่งกว่าในบางเรื่องไว้ให้ได้
7. จงเป็นผู้ให้ ( ประโยชน์จากการได้เปล่า )
การทำตนเป็นผู้ให้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างช่องทรัพย์สิน นักลงทุนที่ฉลาดควรมองหาอะไรที่มากกว่าผลตอบแทนจากการลงทุน นั้นคือทรัพย์สินที่ได้หลังจากได้หลังจากได้เงินลงทุนคืนครบถ้วนแล้ว เช่น แมคโดนัลได้กำไรจากเบอร์เกอร์แล้ว ยังได้จากการขายแฟรนไชส์อีกด้วย คล้ายยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว
8. ทรัพย์สินซื้อความฟุ่มเฟือย
ถ้าต้องล้มเหลวผมอยากให้เขาล้มตั้งแต่อายุยังน้อย หากคุณไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ คุณจะไม่มีโอกาสรวย สิ่งที่ทำยากที่สุดในการขยายช่องทรัพย์สินก็คือ การควบคุมตัวเอง เพราะภายนอกมีแต่สิ่งเย้ายวนต่างๆมากมาย
ผมเองก็ชอบฟุ่มเฟือยเหมือนคนอื่นๆ จริงๆแล้ววิธีง่ายๆก็คือ โทรหานายแบงค์เพื่อขอกู้ แต่แทนที่จะคิดถึงการสร้างหนี้สินผมคิดถึงช่องทรัพย์สินอย่างเคย ผมใช้ความต้องการเป็นแรงกระตุ้นให้คิดวิธีหาเงินหรือลงทุนเพื่อให้ได้เงิน มากขึ้น
ทุกวันนี้เรามักจะคิดถึงการกู้เงินมากกว่าการทำเงิน เพราะเป็นวิธีที่ง่ายกว่าในระยะสั้น แต่ยากกว่าในระยะยาว เป็นนิสัยไม่ดีที่ติดง่ายที่สุด อย่าลืมว่า ถนนที่วิ่งง่ายมักจะกลายเป็นยาก แต่ถนนที่วิ่งยากมักจะกลายเป็นง่ายในเวลาต่อมา
ถ้าขาดไหวพริบทางการเงิน เงินจะฉลาดกว่าคุณเพราะมันจะทำให้คุณต้องทำงานเพื่อเงินไปตลอดชีวิต
หากต้องการเป็นนาย เป็นผู้ควบคุมเงิน คุณต้องฉลาดกว่าเงิน หากคุณปล่อยให้เงินฉลาดกว่า คุณจะตกเป็นทาสของเงินไปตลอดชีวิต
9. ความจำเป็นต้องมีพระเอกในดวงใจ (ประโยชน์ของจินตนาการ)
การเลียนแบบฮีโร่หรือคนที่เราชื่นชมบูชาให้พลังพิเศษแก่เรา เหมือนแรงดลใจที่ทำให้รู้สึกว่าไม่มีอะไรยากเกินไปสำหรับเรา ในเมื่อเขาทำได้เราก็ต้องทำได้
10. สอนผู้อื่นแล้วคุณจะได้รับตอบแทน ( อานิสงส์แห่งการให้ )
พ่อรวยสอนวิธีการดำเนินชีวิต และประโยชน์ของการให้การทำประโยชน์เพื่อสังคม พ่อนักวิชาการให้ทั้งความรู้ และเวลาแก่ผม แต่ไม่เคยให้เงินใคร
พ่อรวยให้ทั้งเงิน และความรู้ พ่อบอกว่าถ้าอยากได้รับต้องเริ่มที่การให้ แม้พ่อจะขาดเงิน แต่พ่อไม่เคยขาดการให้ พ่อให้เงิน วัด โบสถ์ องค์กรต่างๆเป็นการกุศลอยู่เสมอ ให้แม้คุณจะขาดเงินในมือ ให้ความรัก ความเป็นมิตรให้รอยยิ้ม ในบางขณะอาจทำยาก แต่เชื่อเถอะครับว่าได้ผลเสมอ เพราะผมเชื่อทฤษฎีของการให้และรับ ผมให้เพราะผมต้องการรับ เมื่อผมต้องการเงินผมเริ่มจากการให้ แล้วผมก็ได้รับกลับมาในจำนวนที่มากกว่า ผมต้องการขาย ผมเริ่มจากช่วยเพื่อนขาย และผมก็ได้รับตอบแทนมา ผมต้องการมีเครือข่าย ผมแนะนำให้คนโน้นรู้จักคนนี้ ในที่สุดผมก็มีเครือข่ายกับคนจำนวนมาก พ่อรวยบอกว่า “คนจนมักจะเห็นแก่ตัวกว่าคนรวย” เพราะคนรวยให้ในสิ่งที่คนอื่นต้องการ ตลอดชีวิตผมเมื่อขาดเงินหรือต้องความช่วยเหลือ ผมจะถามตัวเองว่าผมต้องการอะไรมากที่สุด และผมจะให้สิ่งนั้น ซึ่งในที่สุดผมก็จะได้มันกลับคืนมา ไม่ว่าจะเป็นเงิน ลูกค้า ความรัก ความสุข ธุรกิจ คุณต้องเริ่มด้วยการให้ ถ้าไม่มีใครยิ้มให้ผมผมจะยิ้มให้เขาก่อน ลองดูสิครับ รับรองว่าเขาจะยิ้มตอบคุณทันที
“ สอนผู้อื่นแล้วคุณจะได้รับกลับคืน ” ทุกครั้งที่ผมสอน ผมได้เรียนอะไรใหม่ๆเสมอ หากคุณต้องการรู้เรื่องเงิน สอนคนอื่นแล้วคุณจะรู้มากขึ้น
หลายครั้งที่ผมให้แล้วไม่ได้รับสิ่งที่ผมต้องการตอบแทน เมื่อผมวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งจะได้พบว่า นั้นเป็นการให้เพื่อหวังผล ไม่ใช่เพื่อให้อย่างแท้จริง
พ่อนักวิชาการเป็นครูสอนครู พ่อจึงได้เป็นครูใหญ่ พ่อรวยชอบสอนวิธีทำธุรกิจให้คนอื่น ทั้งคู่จึงได้สิ่งนั้นตอบแทน ในสัดส่วนที่มากขึ้นและดีขึ้นและดีขึ้นเรื่อยๆ มีพลังแอบแฝงอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก คุณอาจต้องการต่อสู้แค่เพียงลำพังโดยไม่พึ่งใคร แต่มันไม่ง่ายกว่าหรือถ้าคุณรู้จักเอาพลังแอบแฝงนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพียงแค่รู้จักให้แล้วคุณก็จะได้รับจากพลังนั้นมากกว่าที่ให้ไปหลายเท่า

- ข้อควรทำ

1. หยุดทุกอย่าง วางมือจากสิ่งที่คุณทำสักพัก แล้วใคร่ครวญดูสิว่า อะไรที่ทำแล้วได้ผล และอะไรที่ทำแต่ไม่เคยได้ผล
2. มองหาความคิดใหม่ เช่นอาจเป็นตามหนังสือ
3. หาคนมีประสบการณ์หรือเคยลงทุนแบบที่คุณกำลังสนใจ เลี้ยงข้าวเขาสักมื้อ คุณจะได้ความรู้อีกมากมาย
4. สมัครเข้าสัมนาอบรมหรือเรียนพิเศษ
5. เสนาราคา คนขายส่วนมากตั้งราคาสูงกว่ามูลค่าจริงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นข้อควรจำก็คือ เสนราคา ถ้าไม่ใช่นักลงทุน คุณไม่รู้หรอกว่าคนที่พยายามจะขายอะไรสักอย่างนั้นรู้สึกอย่างไร ให้มีคนสนใจเถอะ เรื่องราคาค่อยว่ากัน ต่อรองกันได้ เพราะนี้คือเกมอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นเสนอราคาเข้าไปเลยคุณอาจโชคดี
6. ผมมองหาคนต้องการซื้อก่อน
7. เรียนจากประวัติศาสตร์ บริษัทใหญ่ๆในตลาดล้วนเริ่มจากบริษัทเล็กๆ
8. ลงมือทำ



- ปัจจุบันทุกคนดำเนินชีวิตโดยใช้สูตรเดียวกัน

“ ทำงานหนัก เก็บออม กู้ยืม และจ่ายภาษีจำนวนมาก ”
เราต้องหาสูตรที่ดีกว่านี้ อย่าลืมว่าเงินก็คือความคิด ถ้าต้องการเงินมากขึ้นก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิด หลายคนที่ประสบความสำเร็จก็เริ่มจากความคิดเล็กๆ ที่กลายเป็นใหญ่ในเวลาต่อมา การลงทุนก็เช่นกัน เริ่มจากเงินจำนวนเล็กน้อยเติบโตเป็นก้อนใหญ่ขึ้น ผมเคยพบคนจำนวนมาก ที่ใช้เงินก้อนโตเพื่อหวังจะโชคดี คิดว่าที่เดียวเอาให้รวยไปเลย เหล่านี้ผมไม่ถือว่าเป็นนักลงทุนที่ดี การศึกษาและความรู้เรื่องเงินเป็นสิ่งสำคัญ เริ่มแต่เนินๆหาซื้อหนังสือมาอ่าน เข้าสัมนา ฝึกฝน เริ่มจากเงินจำนวนน้อยๆ
- เงินก็คือความคิดอันหนึ่ง มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เขาตั้งชื่อไว้ว่า
“ คิดแล้วรวย “ ไม่ใช่ “ ทำงานหนักแล้วรวย “
พระเจ้าประทานของขวัญสองอย่างให้เรา คือ สมองและเวลา ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้สองสิ่งนี้อย่างไร เงินแต่ละบาทแต่ละสตางค์ที่คุณใช้ไป จะกำหนดชีวิตคุณ ใช้อย่างโง่เขลาแปลว่าคุณเลือกที่จะยากจน ใช้ซื้อหนี้สินแปลว่าคุณเลือกเป็นคนชั้นกลางคือไม่รวย แต่ถ้าใช้ซื้อวิชาเพิ่มความรู้ในการขยายช่องทรัพย์สิน คุณเลือกที่จะมีอนาคตอันมั่นคง ทุกวันที่คุณจ่ายคือการตัดสินใจว่าจะจนหรือจะมี เตรียมความพร้อมให้ลูกหลานด้วยการให้ ความรู้เรื่องการเงินแก่พวกเขา ชีวิตของคุณและลูกๆขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณเลือกในวันนี้ไม่ใช่พรุ่งนี้

พ่อรวยสอนลูก

ตอนที่หนึ่งพ่อรวย พ่อจน
พ่อทั้งสองของผู้เขียนต่างก็เป็นคนดี  มีผู้เคารพนับถือมาก  แต่มีคำสอนเรื่องการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันสุดขั้ว  ผู้เขียนได้รับฟังคำสอนที่แตกต่างกันทั้ง 2 ด้านตั้งแต่อายุ 9 ขวบ   ทำให้ผู้เขียนต้องรู้จักวิเคราะห์พิจารณาในคำสอนตั้งแต่เด็ก

พ่อจน

พ่อรวย

ความรักเงิน  เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วร้าย

การขาดเงิน  เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วร้าย

คนรวยควรเสียภาษีมากๆ เพื่อช่วยคนจน

ภาษีทำโทษคนขยัน  ให้รางวัลคนขี้เกียจ

เรียนมากๆ  จะได้ทำงานกับบริษัทที่มั่นคง

เรียนมากๆ จะได้ซื้อบริษัทที่มั่นคง

พ่อไม่รวย  เพราะพ่อมีลูก

พ่อต้องรวย  เพราะพ่อมีลูก

ห้ามพูดเรื่องเงินตอนทานข้าว

ชอบคุยเรื่องเงินตอนทานข้าว

เรื่องเงินทองต้องปลอดภัยไว้ก่อน

ต้องรู้จักวิธีจัดการกับความเสี่ยง

บ้าน
  เป็นการลงทุนและทรัพย์สินที่ใหญ่ที่สุด

บ้าน  เป็นหนี้สินที่ใหญ่ที่สุดและไม่ใช่การลงทุน

ชำระหนี้เป็นอันดับแรก

ชำระหนี้เป็นอันดับสุดท้าย

ประหยัดทุกบาททุกสตางค์เพื่อสะสมเงิน

ใช้ทุกบาททุกสตางค์เพื่อการลงทุน

สอนวิธีเขียนประวัติส่วนตัวอย่างไร  จึงจะได้งานทำ

สอนวิธีเขียนแผนธุรกิจอย่างไร  จึงจะสร้างงาน

ชาตินี้  ไม่มีวันรวยแน่

คนรวย  เขาไม่ทำกันอย่างนั้นหรอก

เงิน  ไม่ใช่สิ่งสำคัญ

เงิน  คืออำนาจ

เรียน  เพื่อทำงานให้ได้เงินเดือนสูงๆ

เรียน  เพื่อรู้วิธีใช้เงินทำงานให้เรา

พ่อ  ไม่ทำงานเพื่อเงิน

เงิน  ทำงานให้พ่อ
ตอนที่สอง   บทเรียนที่ 1 : คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน
ผู้เขียนได้รู้จักกับพ่อของไมค์ และขอร้องให้สอนวิธีหาเงิน
ถ้าเธออยากทำงานเพื่อเงิน เธอไปเรียนเอาที่โรงเรียน  แต่ถ้าอยากเรียนวิธีใช้เงินทำงานให้เรา  ฉันจะสอน"
การเรียนรู้วิธีใช้เงินทำงาน เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันชั่วชีวิต
การขาดเงินนั้น แย่พอๆ กับการผูกติดกับเงินนั่นแหละ
อย่าให้อารมณ์เป็นตัวกำหนดการกระทำ รับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้  แต่ต้องใช้สมองกำหนดการกระทำ

ตัวอย่างการพูดจากอารมณ์
ต้องหางานทำให้ได้
ฉันจะสอนให้เธอเป็นนาย ไม่ใช่เป็นทาสของเงิน
ที่สุดแล้วเราทุกคนเป็นลูกจ้าง แต่ในระดับที่แตกต่างกัน
ฉันอยากให้เธอหลีกเลี่ยงกับดัก ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความกลัวและความโลภ
ถ้าเราควบคุมความต้องการได้ เราจะมีเวลาคิดไตร่ตรองมากขึ้น
หลายคนตั้งตารอวันเงินเดือนออก รอวันเงินเดือนขึ้น  เพราะความกลัวและความต้องการ
เราควรมีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง ความฝันและความสุข  ไม่ใช่นอนก่ายหน้าผากกังวลว่าจะมีเงินให้ใช้ครบเดือนหรือไม่
ความเขลาไม่ใส่ใจเรื่องเงิน ทำให้เกิดความกลัวและความโลภ
จำ ไว้ว่าการได้งานทำคือการแก้ปัญหาระยะสั้น ทุกคนคิดแค่วันเงินเดือนออก ปล่อยให้เงินมีอำนาจเหนือชีวิตพวกเขาจึงมีลักษณะคล้ายกันคือตื่นแต่เช้าไปทำ งาน ไม่เคยหยุดคิดเลยว่า  มีวิธีอื่นที่ดีกว่ามั้ย 
 
ความคิดที่มาจากอารมณ์ที่ได้ยินบ่อยๆ
               ทุกคนต้องทำงาน
                คนรวยขี้โกง
                ผมควรจะได้ขึ้นเงินเดือนมิฉะนั้นจะลาออก
                ฉันชอบงานนี้เพราะมั่นคง
 
ความคิดที่ใช้สมอง
                ฉันมองข้ามอะไรไปหรือเปล่า
ตอนที่สาม    บทเรียนที่สอง: ทำไมต้องรู้เรื่องเงินๆ ทองๆ
การมีเงินมากๆ นั้น ไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักวิธีรักษาเงินให้อยู่กับเราตลอดไป
พ่อจนจะเน้นให้อ่านมากๆ พ่อรวยจะบอกให้เรียนเรื่องเงิน
            กฏข้อที่-1           ต้องรู้ว่าอะไรคือทรัพย์สิน อะไรคือหนี้สิน
                คนรวยเพิ่มทรัพย์สิน คนชั้นกลางเพิ่มหนี้สินโดยเข้าใจว่าเป็นทรัพย์สิน
                ถ้าอยากรวย ต้องอ่านให้เข้าใจตัวเลขและคำอธิบายเบื้องหลังนั้น
                ทรัพย์สินคือเงินใส่กระเป๋า หนี้สินคือเงินออกจากกระเป๋า
             
   รูปที่-3     การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนจน

งาน

รายได้

เงินเดือน

รายจ่าย

ภาษี , อาหาร , ค่าเช่า , เสื้อผ้า , สันทนาการ , เดินทาง


ทรัพย์สิน

หนี้สิน



 รูปที่-4     การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนชั้นกลาง
           งาน 

รายได้

เงินเดือน

รายจ่าย

ภาษี , อาหาร , ค่าเช่า , เสื้อผ้า , สันทนาการ , เดินทาง


ทรัพย์สิน

หนี้สิน


เงินกู้บ้าน , สินเชื่อผู้บริโภค , บัตรเครดิต

                รูปที่-6     การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนรวย

รายได้

เงินปันผล , ดอกเบี้ย , ค่าเช่า , ค่าลิขสิทธิ์

รายจ่าย




ทรัพย์สิน

หนี้สิน

หุ้น , พันธบัตร , ตั๋วสัญญาใช้เงิน , อสังหาริมทรัพย์ , ทรัพ์สินทางปัญญา

=== พ่อของไมค์ไม่ใช่นักวิชาการ แต่ความรู้เรื่องการเงินทำให้เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ  ===
คนที่ฉลาด ต้องรู้จักจ้างคนที่ฉลาดกว่ามาเป็นลูกจ้าง
=== โรงเรียนมีไว้ผลิตลูกจ้างที่ดี ไม่ได้มีไว้ผลิตนายจ้าง  ===
=== พ่อจนมองว่าบ้านเป็นทรัพย์สิน พ่อรวยมองว่าบ้านเป็นหนี้สิน  ===
=== เครื่องวัดฐานะทางการเงินคือ ถ้าเราหยุดทำงานวันนี้ เราจะมีเงินประทังชีวิตต่อไปอีกนานเท่าใด  ===
=== เป้าหมายชีวิตของผมคือ การมีอิสระจากภาระทางการเงินทั้งปวง  ===
=== สมมติว่าผมมีทรัพย์สินที่ทำเงินได้เดือนละ 2000 เหรียญ และมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 2000 เหรียญ ผมสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินเดือนถึง 30 วัน  ===
=== ขั้นต่อไปคือ  การนำรายได้จากทรัพย์สินกลับไปลงทุนในช่องหนี้สิน  เพื่อขยายขนาดช่องทรัพย์สินให้โตขึ้น  ===

ตอนที่สี่   บทเรียนที่-3:  เพิ่มทรัพย์สิน ทำธุรกิจของตนเอง
เรย์ คร๊อก   ผู้ก่อตั้งร้านแมคโดนัลเล่าให้นักศึกษาปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยออสติน ว่าตามแผนธุรกิจแล้วเขาขายเฟรนไชด์ของแมคโดนัล  แต่มีเงื่อนไขที่ระบุถึงทำเลที่เหมาะสมด้วย  ดังนั้นคนที่ซื้อเฟรนไชด์ไปจะต้องซื้อทำเลทองด้วย  นั่นคือเรย์ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง
=== อุปสรรค์ทางการเงินส่วนหนึ่ง  มาจากการที่เรายอมทำงานเพื่อคนอื่นตลอดชีวิต  ===
=== ถ้าไม่เอารายได้มาซื้อทรัพย์สิน  คุณก็จะยังคงไม่มีความมั่นคงทางการเงินอยู่ต่อไป  ===
=== รากฐานของคนชั้นกลางคือไม่กล้าเสี่ยง  ทำให้ยึดติดอยู่กับเงินเดือนและงานที่ทำอย่างเหนียวแน่น  เพราะที่นั่นเขารู้สึกว่า ปลอดภัย  ===
=== หลายคนไม่เคยคิดถึงข้อแตกต่างระหว่าง อาชีพ  & ‘ธุรกิจ  ===
=== คำถาม  คุณทำธุรกิจอะไร  คุณทำอาชีพอะไร  ===

ทรัพย์สินที่ผมแนะนำให้คุณสนใจไขว่คว้า & สอนลูกหลานให้รู้จัก ดังนี้
1.       ธุรกิจที่ผมไม่ต้องนั่งเฝ้า  เป็นเจ้าของแต่มีคนมาจัดการให้ดำเนินกิจการไปได้
2.       หุ้น
3.       พันธบัตร
4.       กองทุนรวม
5.       อสังหาริมทรัพย์
6.       ตั๋วเงิน
7.       ค่าลิขสิทธิ์จากเพลง  จากงานแต่งหนังสือ  จากงานแปล  จากสิทธิบัตรต่างๆ
8.       สิ่งอื่นที่มีมูลค่า  สามารถสร้างรายได้หรือเพิ่มมูลค่าด้วยตัวมันเอง
=== ผมแนะนำให้คุณทำงานประจำไป แล้วค่อยๆ สร้างธุรกิจด้วยการลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างรายได้  ทุกบาททุกสตางค์ที่ใส่ลงในช่องทรัพย์สินจงอย่าให้ไหลออกมา ให้เงินนั้นทำงานให้คุณ  ===
=== จงมุ่งมั่นทำงานประจำให้เต็มที่  พร้อมๆ กับสร้างช่องทรัพย์สินของคุณให้ใหญ่โตขึ้น  ===
=== คนรวยซื้อความสบายทีหลัง  แต่คนชั้นกลางมักซื้อความสบายก่อน  ===
=== คนรวยจะสร้างช่องทรัพย์สินให้ใหญ่โตพอที่จะสร้างรายได้กลับคืนมา  แล้วจึงนำรายได้นั้นไปซื้อความสะดวกสบายอีกที  ===
ตอนที่ห้า   บทเรียนที่-4:  ภาษี & ประโยชน์ของนิติบุคคล
=== บริษัทเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบุคคลธรรมดา  แล้วรายจ่ายบางอย่างได้รับการยกเว้นภาษีด้วย  ===
ทุกครั้งที่ผมจัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้ จะกล่าวถึงหลักสำคัญของไหวพริบทางการเงิน 4 อย่าง  ดังนี้
1.       ความรู้ทางบัญชี  -  อ่านงบการเงินให้เป็น
2.       ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน  -  ศิลปะของการใช้เงินทำงาน
3.       ความเข้าใจตลาด  -  อุปสงค์และอุปทานในตลาด
4.       ความรู้เรื่องกฎหมาย