Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิธีเอาชนะความขี้เกลียด แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิธีเอาชนะความขี้เกลียด แสดงบทความทั้งหมด

วิธีเอาชนะ ความขี้เกลียด

" ความขี้เกียจ " ร้ายกาจกว่าที่คุณคิด เพราะมันคอยซุ่มโจมตีให้คนล่าฝันอย่างเราๆ ไปไม่ถึงดวงดาวมานักต่อนัก จึงขอส่งเทียบเชิญคุณผู้อ่านมาร่วมกันหักด่านความขี้เกียจไปด้วยกัน 

" ความขี้เกียจ " สัญชาตญาณหลงยุคของมนุษย์ 

" ความขี้เกียจไม่ใช่อะไรเลย นอกจากนิสัยที่ชอบหยุดพักก่อนที่จะรู้สึกเหนื่อย " จูลส์ เรอนาร์ด ( Jules Renard ) กวีชาวฝรั่งเศส 

บางทีเหตุผลหนึ่งที่เราเอาชนะความขี้เกียจไม่ค่อยได้ เป็นเพราะเราไม่รู้จักมันดีพอนั่นเอง ทั้งๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเรื่องความขี้เกียจมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น จากนิทานอีสปเรื่องมดขยันกับตั๊กแตน ขี้เกียจ หรือจากคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่า ความขี้เกียจ ( Sloth ) คือหนึ่งในบาปเจ็ดประการของมนุษย์ 

เป็นที่รู้กันดีว่า ความขี้เกียจก่อให้เกิดผลร้ายมหาศาล แต่เรามักจะอภัยให้ " ความขี้เกียจ " อย่างง่ายดายและรวดเร็วเกินไป สงสัยไหมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ 

ดร. นานโด เปลูซี ( Nando Pelusi ) นักจิตวิทยาผู้เขียนบทความเรื่อง "The Lure of Laziness" ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Psychology Today ฉบับกรกฎาคม - สิงหาคม 2007 อธิบายว่า บรรพบุรุษของมนุษย์มีสัญชาตญาณที่จะสงวนพลังงานในร่างกายไว้ให้มากที่สุด เพราะในยุคโบราณ อาหารเป็นสิ่งที่หาได้ยาก อีกทั้งยังมีอันตรายมากมายรออยู่ภายนอก เช่น สัตว์ร้าย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ สัญชาตญาณนี้จึงตกทอดอยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะไม่ยอมทำอะไรที่ต้องใช้ความทุ่มเทหรือพลังงานสูงๆ ตราบใดที่ไม่รู้ว่าผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่าหรือไม่ พูดอีกอย่างก็คือ เมื่อปัจจัยที่แวดล้อมอยู่รอบตัวไม่ได้สร้างความมั่นใจเพียงพอ เราก็จะเกิดความรู้สึกอยากประวิงเวลาที่จะต้องลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้นานออกไป 

เมื่อเทียบกับมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ พวกเขาต้องใช้ชีวิตแบบไม่มีเวลาหยุดคิด เช่น หิวต้องล่าสัตว์ กลัวต้องวิ่งหนี พายุมาต้องหลบทันที ฯลฯ ผิดกับมนุษย์ยุคนี้ที่ต้องเผชิญกับปัจจัยทางสังคมและจิตใจที่ซับซ้อนกว่า และต้องใช้เวลานานกว่าที่จะเห็นผลลัพธ์ของการกระทำ และนี่จึงเป็นคำอธิบายว่า ทำไมบางคนต้องรอให้ถึงเส้นตายก่อนเท่านั้น เขาจึงจะทำงานเสร็จหรือทำได้ดี