Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

Google PageRank คืออะไร ?

Google PageRank คืออะไร ?
1. Google PageRank คืออะไร ?
Google PageRank คือวิธีการวัดความสำคัญของเว็บเพจนับล้านๆเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ท โดยมีตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง PageRank ก็ยิ่งสูง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่มี PageRank ต่ำกว่า

โดยเราสามารถทราบค่า PR ของเว็บไซต์เราได้ โดย download และ install google toolbar (http://toolbar.google.com) หลังจากนั้นคุณจะสามารถดูคะแนน PR ของคุณที่จัดโดย google ได้ดังรูป
ถ้าไม่ต้องการ install google toolbar สามารถ check ค่า PageRank ได้ที่เว็บไซต์ www.pagerank.net

** หัวใจ ของ Page Rank คือ แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ ให้มาก และถ้าเป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บเรา และ เป็นเว็บที่มีค่า PR สูง ยิ่งทำให้เว็บไซต์เรามีค่า PR สูงขึ้นด้วย
2. ค่า PR นั่นแสดงค่าทุกๆหน้าของเว็บไซต์เราใช่หรือไม่ ?
ค่า PR ของแต่ละเว็บเพจ ในเว็บไซต์หนึ่งๆ นั้นจะมีค่าแตกต่างกันไป ทั้งนี้ โดยมากโฮมเพจ มักมีค่า PR สูงกว่าหน้าอื่นๆ แต่ก็ไม่เสมอไป

ความกลัว ความวิตกกังวล

ความวิตกกังวล เกิดจากการคิดสมมุติ ยกตัวอย่างเช่น คิดสมมุติว่า ถ้าเกิดธุรกิจการงานเราผิดพลาดล้มเหลวทรัพย์สินเงินทองของเราหมดไป ก็จะเกิดความวิตกกังวลว่า ชีวิตจะต้องลำบาก ลูกเต้าจะทำอย่างไร หรือคิดสมมุติว่า ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นชีวิตจะเป็นอย่างไร ถ้าโจรมาปล้นจะทำอย่างไร ถ้าสุขภาพไม่ดีเกิดป่วยเป็นมะเร็งจะทำอย่างไร ฯลฯ การคิดสมมุติไปในทางร้าย ก็จะเกิดเป็นความวิตกกังวล

วิธีเอาชนะ ความขี้เกลียด

" ความขี้เกียจ " ร้ายกาจกว่าที่คุณคิด เพราะมันคอยซุ่มโจมตีให้คนล่าฝันอย่างเราๆ ไปไม่ถึงดวงดาวมานักต่อนัก จึงขอส่งเทียบเชิญคุณผู้อ่านมาร่วมกันหักด่านความขี้เกียจไปด้วยกัน 

" ความขี้เกียจ " สัญชาตญาณหลงยุคของมนุษย์ 

" ความขี้เกียจไม่ใช่อะไรเลย นอกจากนิสัยที่ชอบหยุดพักก่อนที่จะรู้สึกเหนื่อย " จูลส์ เรอนาร์ด ( Jules Renard ) กวีชาวฝรั่งเศส 

บางทีเหตุผลหนึ่งที่เราเอาชนะความขี้เกียจไม่ค่อยได้ เป็นเพราะเราไม่รู้จักมันดีพอนั่นเอง ทั้งๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเรื่องความขี้เกียจมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น จากนิทานอีสปเรื่องมดขยันกับตั๊กแตน ขี้เกียจ หรือจากคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่า ความขี้เกียจ ( Sloth ) คือหนึ่งในบาปเจ็ดประการของมนุษย์ 

เป็นที่รู้กันดีว่า ความขี้เกียจก่อให้เกิดผลร้ายมหาศาล แต่เรามักจะอภัยให้ " ความขี้เกียจ " อย่างง่ายดายและรวดเร็วเกินไป สงสัยไหมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ 

ดร. นานโด เปลูซี ( Nando Pelusi ) นักจิตวิทยาผู้เขียนบทความเรื่อง "The Lure of Laziness" ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Psychology Today ฉบับกรกฎาคม - สิงหาคม 2007 อธิบายว่า บรรพบุรุษของมนุษย์มีสัญชาตญาณที่จะสงวนพลังงานในร่างกายไว้ให้มากที่สุด เพราะในยุคโบราณ อาหารเป็นสิ่งที่หาได้ยาก อีกทั้งยังมีอันตรายมากมายรออยู่ภายนอก เช่น สัตว์ร้าย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ สัญชาตญาณนี้จึงตกทอดอยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะไม่ยอมทำอะไรที่ต้องใช้ความทุ่มเทหรือพลังงานสูงๆ ตราบใดที่ไม่รู้ว่าผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่าหรือไม่ พูดอีกอย่างก็คือ เมื่อปัจจัยที่แวดล้อมอยู่รอบตัวไม่ได้สร้างความมั่นใจเพียงพอ เราก็จะเกิดความรู้สึกอยากประวิงเวลาที่จะต้องลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้นานออกไป 

เมื่อเทียบกับมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ พวกเขาต้องใช้ชีวิตแบบไม่มีเวลาหยุดคิด เช่น หิวต้องล่าสัตว์ กลัวต้องวิ่งหนี พายุมาต้องหลบทันที ฯลฯ ผิดกับมนุษย์ยุคนี้ที่ต้องเผชิญกับปัจจัยทางสังคมและจิตใจที่ซับซ้อนกว่า และต้องใช้เวลานานกว่าที่จะเห็นผลลัพธ์ของการกระทำ และนี่จึงเป็นคำอธิบายว่า ทำไมบางคนต้องรอให้ถึงเส้นตายก่อนเท่านั้น เขาจึงจะทำงานเสร็จหรือทำได้ดี 

การตลาดทางตรงผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต (internet direct marketing)

การตลาดทางตรงผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต (internet direct marketing)

          การตลาดทางตรงมีหลายรูปแบบ เช่น การขายสินค้าทางไปรษณีย์ การขายทางโทรศัพท์ ทางอินเตอร์เน็ต เป็นการสื่อสารที่เจาะเข้าถึงลูกค้าเป็นรายตัว สามารถจัดหาสินค้าบริการที่เหมาะสมสอดคล้องกับลูกค้าแต่ละราย และสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้ขายได้ 

          การตลาดทางตรง (direct marketing) เป็นการสื่อสารการตลาด โดยให้พนักงานขายติดต่อไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยตรง แบบตัวต่อตัว เพื่อการนำเสนอรายละเอียดของสินค้าและบริการ พร้อมทั้งตอบคำถามเกี่ยวกับข้อสงสัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เป็นการสื่อสารการตลาดที่ไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานขาย และมีรูปแบบวิธีการสื่อสารหลายรูปแบบทั้งทางโทรศัพท์ การเข้าพบทางอีเมล์ ฯลฯ (สุนันทา  เสถียรมาศ, 2551 : ออนไลน์)

การทำ Keyword Search Engine

Keyword เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้บล็อกหรือเว็บไซต์ของเราถูกค้นพบได้โดยง่าย เพราะในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนโลก Internet ผู้คนส่วนใหญ่มักจะใช้ keyword ในการค้นหา เช่นถ้าคุณสนใจเรื่องการทำ Blogger คุณก็อาจจะใช้คำค้นว่าBlogger  ,สอนทำ Blogger หรือวิธีสร้าง Blogger เป็นต้น

Algorithm ของ Search Engine เองก็ให้ความสำคัญกับ keyword เช่นกัน โดยจะเก็บสถิติการค้นของคำต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาซึ่งข้อมูลที่เก็บไว้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำ SEO ทั่วไป หรือสำหรับผู้ที่ทำ Internet Marketing เช่น PPC (Pay Per Click) Amazon Affilate ก็หยิบจับสถิติเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน 

นอกจากนี้ Search Engine เองก็จะตีความเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์หรือบล็อกเองได้ยากถ้าในเนื้อหาหรือในหน้าของเว็บไซต์หรือบล็อกนั้น ๆ ไม่มีความ Density (ความหนาแน่น) ของ Keyword เพียงพอ และจะส่งผลสืบเนื่องต่ออันดับการค้นหาที่ไม่ดีไปด้วย 

วิธีทำ Keyword Research SEO วิธีส้รางบล็อก blogger blogspot 

แบบไหนจึงจะเรียกว่า Keyword?