Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

seo น่ารู้

SEO check lists-และการให้แต้ม/ตัดแต้ม ลองอ่านดูกันนะครับเพราะบางคนเข้าใจกันผิกอยู่ ถึงการทำเอสอีโอ ลองอ่านแล้วนำไปทำตาม เพื่อผลที่ดีขึ้นของเว็บท่าน.....
1 Keywords ใน <title> tag
 จุดสำคัญที่สุดจุดหนึ่งที่จะใส่ Keywords ของเราคือ Keywords ใน <title> tag เพราะ Keyword จะถูกโชว์ใน search results ในฐานะ page title ตัว title tag ควรจะสั้นๆ (6 or 7 คำสูงสุด) และ Keyword ควรจะอยู่ใกล้จุดเริ่มต้นประโยค +3

2 Keywords ใน URL
 Keywords ใน URLs ช่วยได้ เช่น. - http://domainname.com/seo-services.html, จะเห็น ว่า “SEO services” เป็น keyword phrase ที่เราพยายามจะเน้น แต่ถ้าในเอกสารของคุณไม่มี Keyword คำนี้อยู่ การใส่ Keywords ใน URL ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก
 +3

3 ความหนาแน่นของ Keyword  ในเว็บ
 ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดที่ดีควรจะ check ให้อยู่ราวๆ 3-7 % สำหรับ Keyword หลัก, 1-2% สำหรับคีย์อวิร์ดรอง. แต่ถ้าความหนาแน่น ของ Keyword นั้นมากกว่า 10% จะดูเยอะเกินและเหมือนกับยัดคีย์เวิร์ดซึ่งจะส่งผลไม่ดี
 +3

4 Keywords ใน anchor text
 นี่ก็เป็นสิ่งสำคัญมาก the anchor text of inbound links, เพราะว่าถ้าคุณมี keyword เป็นคำ anchor text ที่ลิงค์เข้ามาจากเว็บอื่นๆ ก็จะเปรียบเทียบได้กับการได้รับการ vote จาก site นั้นๆไม่ใช่แต่เฉพาะทั้งเว็บตามปกติ, แต่จะเกี่ยวกับ keyword ด้วย
 +3

5 Keywords in headings (<H1>, <H2>, etc. tags)
 อีกจุดหนึ่งที่ให้น้ำหนัก Keyword ด้วยอย่างมาก. แต่ก็ให้แน่ใจด้วยว่าในหน้าเว็บนั้นๆของคุณก็มี text ที่เป็น Keyword นี้ด้วยเช่นกัน
 +3

6 Keywords ในจุดเริ่มต้นของ เอกสาร
 ถึงแม้คะแนนจะไม่มากเท่า anchor text, title tag หรือ headings. อย่างไรก็ตามให้นึกไว้เสมอว่า จุดเริ่มต้นของเนื้อความใน document ไม่จำเป็นต้องหมายถึง ย่อหน้าแรกเสมอไปนะครับ – เช่นถ้าเราใช้ tables, ข้อความหลักน่าจะอยู่ที่ column ที่สอง row สองมากกว่า.
 +2

7 Keywords ภายใน <alt> tags
 Spiders จะไม่รู้จักรูป images แต่มันสามารถอ่าน textual descriptions ใน <alt> tag ได้, เพราะฉนั้นถ้าคุณมีรูป, ให้ใส่ keyword บางตัวใน <alt> tag ด้วย
 +2

8 Keywords ใน metatags
 ่ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ความสำคัญในส่วนของ meta ได้ลดลงมาบ้าง (แต่ก็ยังต้องใส่อยู่), เพราะว่า Google. Yahoo! และ MSN ก็ยังพิจารณาส่วนนี้อยู่, โดยเฉพาะ Yahoo! กับ MSN, การใส่ keyword ใน meta ก็ยังดีกว่าไม่ใส่เลยนะครับ
 +1

9 Keyword proximity
 Keyword proximity เป็นตัววัดความใกล้กันของตัว text ใน keywords  ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดถ้า keyword  ตัวนึงอยู่ต่อกับอีกตัวนึงพอดี (เช่น “dog food”), ที่ไม่มีคำอื่นใดไปแทรกกลางระหว่างมัน. ตัวอย่างเช่นถ้าเรามีคำว่า “dog” ในย่อหน้าแรกและ “food” ในย่อหน้าที่สาม , Google ก็จะนับ keyword ให้เหมือนกันแต่ก็จะไม่ได้ให้น้ำหนักมากเท่า“dog food” ที่ไม่มีอะไรแทรกกลางเลย. Keyword proximityจะเหมาะกับ keyword ที่มีคำมากกว่าสองคำอยู่ด้วยกันครับ
 +1

10 Keyword phrases
 ในบาง Keyword เราสามารถที่จะ optimize ตัว keywordที่ประกอบด้วยคำหลายคำได้ เช่น “SEO services” จะเป็น keyword phrases ที่น่าจะเป็นที่นิยมในการค้นหา เพราะผู้เซิร์ทหลายคนน่าจะพิมพ์ทั้งสองคำนี้ลงไปตรงๆ แต่ในบางโอกาส การแยก keyword เป็น 2หรือ 3 คำ เช่น “SEO” และ “services” ก็อาจจะทำให้เจอได้ในบางครั้งเช่นกัน เพียงแต่จะมีน้ำหนักที่น้อยกว่าบ้าง +1

11 Secondary keywords
  การ Optimizing สำหรับ keywords ที่รองลงไป (บางทีเป็น sub categories ของ keyword หลัก) ก็เป็นความคิดที่ดี เพราะแน่นอนว่าทุกๆคนพยายามที่จะ optimizing  keywords ที่ดังๆ และค่อนข้าง General ทำให้ keyword ที่รองลงมาอาจไม่ค่อยได้ถูกโฟกัส นั่นหมายความว่าถ้ามีคน search ก็กลับจะดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น “boutique hotel pattaya” นั้นมีคนเซิร์ทน้อยกว่า “boutique hotel” เป็น พันๆเท่าแน่นอน แต่ถ้าคุณทำธุรกิจนี้ในพัทยา ถึงแม้คุณจะมีคนเซิร์ทเจอน้อยกว่าแต่คนที่เจอก็เป็น targeted traffic แน่นอน
 +1

12 Keyword stemming
  สำหรับภาษาอังกฤษ การใส่คำที่มีความหมายในทางเดียวกัน เช่น dog, dogs, doggy,และอื่นๆ จะถูกคิดว่ามีความสำพันธ์กันถ้าคุณมีคำว่า “dog”อยู่ใน pageของคูณ, เว็บอาจจะถูเซิร์ทเจอเพราะคำว่า “dogs” หรือ “doggy”ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตามสำหรับภาษาไทยนั้นการใส่ keyword ที่คล้ายๆกันไปด้วยก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพราะ search engine ยังไม่รู้จักรากของคำดีพอ (ถึงแม้ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา google สามารถที่จะตัดแยกคำไทยที่เขียนติดกันได้แล้วก็ตาม)
 +1

13 Synonyms
  สำหรับภาษาอังกฤษ การ Optimizing คำที่มีความหมายเดียวกัน (synonyms)ของ target keywords, ก็จะให้ผลดีด้วยเพราะ search engine นั้นมีความฉลาดพอที่จะรู้เรื่องนี้แล้ว แต่สำหรับภาษาไทยนั้น search engine ยังไม่รู้จักคำเหมือนนะครับ
 +1

14 Keyword Mistypes
 การสะกดผิดเป็นเรื่องที่เป็นกันบ่อย หรือแม้แต่การตั้งใจเขียนให้มีความหมายคล้ายกันแต่เขียนให้ส้นลง เช่น Christmas กับ Xmas ซึ่งเราก็อยากจะ optimize ทั้งคู่ซึ่งแน่นอนว่าเราก็จะได้ Traffic ที่เพิ่มขึ้น แต่การแกล้งพิมพ์ผิดหรือพิมพ์เพี้ยนในเว็บไซต์นั้นอาจจะทำให้เว็บไม่ค่อยน่า ประทับใจ ทางที่ดีใส่แค่ใน meta ดีกว่า
 0

15 Keyword dilution
 ถ้าคุณพยายามที่จะ optimizing  keywords หลายคำเกินไป, โดยเฉพาะอย่างยิ่งคีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย จะทำให้ performance ของ keywords รวมทั้งตัวหลักๆนั้นเจอจางลงไปเช่นเดียวกับการมี text อยู่เท่านั้น
 -2

16 Keyword stuffing
 การตั้งใจใส่ keywords ที่เยอะเกินไปจนผิดธรรมชาติ (มากกว่า 10% ของคำทั้งหมดใน page)เรียกว่า stuffing และจะทำให้เว็บของคุณเสี่ยงต่อการถูกแบนโดย search engine
 -3


 Links – internal, inbound, outbound
17 Anchor text of inbound links
 การถูกลิงก์จากเว็บไซต์อื่นเข้ามา โดยมี text ของลิงก์ตรงกับkeyword เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของประสิทธิภาพ keywords(  แต่ถึงจะไม่มี anchor text ตรงๆกับ keyword ก็ยัง OK นะครับ)
 +3

18 Origin of inbound links
 เช่นเดียวกับanchor text, คุณภาพ (reputable)ของเว็บที่ลิงก์เข้ามานั้นก็สำคัญมากเช่นกัน โดยปกติเว็บที่มี Google PR ที่ดีก็มักจะมี reputable ดีด้วยเช่นกัน
+3

19 Links from similar sites
 ลิงก์จากเว็บที่คล้ายๆกันก็มีประโยชน์อย่างมากเช่นกัน เพราะมันแสดงถึงว่าคู่แข่งของคุณกำลังโหวตให้คุณ และคุณกำลัง popular ใน community นั้นๆ
 +3

20 Links from .edu and .gov sites
 ลิงก์เหล่านี้มีมูลค่ามากทีเดียว เพราะว่าเว็บประเภท .edu และ .gov นั้นจะมี reputable สูงกว่า .com .biz .info หรืออื่นๆ และอีกอย่างก็คือ ลิงก์ออกจากเว็บเหล่านี้ก็มีไม่เยอะซะด้วย
 +3

21 Number of backlinks
 แน่นอนว่ายิ่งมีคนลิงก์เข้ามาเยอะก็ยิ่งดี ถึงแม้ว่า คุณภาพของเว็บที่ลิงก์จะมีความสำคัญมากกว่าจำนวนก็ตาม
 +3

22 Anchor text of internal links
 การใส่ anchor text  สำหรับลิงก์ภายในเว็บของเราเองก็ให้ผลดีและเป็นสิ่งสำคัญที่ทำได้ไม่ยาก
 +2

23 Around-the-anchor text
 text ที่อยู่ก่อนและหลังของ anchor text ก็มีความสำคัญเช่นกัน เรามันจะเป็นตัวบอกความตั้งใจในการใส่ลิงก์ของคุณ  ว่าใส่อย่างผิดธรรมชาติหรือ flow อยู่ข้างในกลุ่ม text หรือไม่
 +2

24 Age of inbound links
 อายุของ ลิงก์ เข้ามาจากเว็บอื่นยิ่งมากยิ่งดี เพราะว่าการได้ลิงก์จำนวนมากเข้ามาในระยะเวลาไม่นานนั้นแสดงให้เห็นว่าคุณ น่าจะซื้อมันมากกว่า
 +2

25 Links from directories
 การใด้ลิงก์จากเว็บ Directory ก็สำคัญเช่นกันและขึ้นอยู่กับคุณภาพของ Directory นั้นๆด้วย เช่นการให้ลิงก์จาก DMOZ ,Yahoo นั้นจะให้ผลที่ดีมากๆ แต่การมีลิงค์จำนวนมหาศาลจาก Directory ที่มี PR-0  นั้นกลับไร้ประโยชน์ และยังอาจเสี่ยงต่อการถูกคิดว่าเป็น spam links อีกด้วยถ้าคุณมีเป็นร้อยเป็นพันลิงก์
 +2

26 Number of outgoing links on the page that links to you
 เว็บที่ลิงก์เข้ามาให้คุณนั้น  ถ้ามีลิงก์ออกไปที่อื่นยิ่งน้อยยิ่งดีเพราะว่ามันแสดงถึงความสำคัญของเว็บ คุณต่อเค้านั่นเอง อันนี้เป็นหลักการของการให้ pagerank โดยปกติ
 +1

27 Named anchors
 Named anchors บริเวณเป้าหมาย ลิงก์ภายในไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับ navigation ภายใน แต่ยังสำคัญกับ SEO ด้วยเพราะเป็นการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของ ย่อหน้าหรือ text นั้นๆ สำหรับ code, named anchors เช่น: <A href= “#dogs”>Read about dogs</A> และ “#dogs”ก็คือ named anchor.
 +1

28 IP address of inbound link
 Google denies Google นั้นจะไม่ให้ความสำคัญและไม่ให้น้ำหนักจากลิงก์ที่มาจาก IP address เดียวกัน แต่ MSN และ  Yahoo นั้นอาจจะไม่รับ ลิงก์ที่มาจาก IP address เดียวกัน ด้วยซ้ำ ดังนั้นเป็นการดีที่จะได้ลิงก์เข้ามาจาก  IPs ที่ต่างกัน
 +1

29 Inbound links from link farms and other suspicious sites
 การได้รับลิงก์มากจากเว็บรวมลิงก์ (links farm) นั้นจะไม่ส่งผลอะไรต่อเว็บของคุณเลย และก็ไม่ถูกทำโทษด้วยเพราะว่ามันไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่ยังไงก็ตาม อยุ่ห่างๆจากเว็บพวกนี้ก็ดีครับ
 0

30 Many outgoing links
 Google จะไม่ชอบเว็บ page ที่มีลิงก์ออกเป็นจำนวนมาก  เพราะฉนั้นคุณต้องพยายามไม่ให้ลิงก์ออกจากเว็บเกิน 100  ต่อหนึ่งหน้า มิเช่นนั้นจะส่งผลเสียต่อเว็บของคุณ
 -1

31 Excessive linking, link spamming
 ถ้าเว็บคุณมีลิงก์หลายอันไปที่เว็บๆเดียว  หรือได้ลิงก์เข้ามาหลายๆอันจากเว็บๆเดียว (แม้ว่าเว็[นั้นจะไม่ใช่เว็บที่คุณภาพต่ำก็ตาม) อันนี้ก็ส่งผลเสียเช่นกันเพราะจะดูเหมือนกับการซื้อลิงก์หรือ spamming
 -1

32 Outbound links to link farms and other suspicious sites
 ถ้าคุณมีลิงก์ออก (outbound) ไปที่เว็บที่ถูกทำโทษไปแล้วหรือไปที่ link farm จะทำให้ถูกตัดแต้มอย่างมาก ดังนั้นต้องหมั่นเช็คลิงก์ขาออก จากเว็บของคุณเสมอเพราะบางทีเว็บที่ดีก็มีการเปลี่ยนไปเป็นเว็บที่แย่ได้ เหมือนกัน (bad neighbors )
 -3

33 Cross-linking
 ตัวอย่างของ Cross linking เช่นเว็บ A ลิงก์ออกไปที่เว็บ B และเว็บ B ลิงก์ออกไปที่เว็บ C และ เว็บ C ลิงก์กลับมาที่เว็บ A การกระทำอย่างนี้ก็เหมือนเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนลิงก์จำนวนมากเช่นกัน แม้และจะโดนตัดแต้มอย่างมาก (กรณีที่ซับซ้อนกว่านี้ google ก็ยังสามารถเช็คได้ดังนั้นทำอะไรให้เป็นธรรมชาติด้วยจำนวนลิงก์ที่เหมาะสม เช่นเพื่อนแนะนำเพื่อนในกลุ่มเดียวกันก็ไม่เป็นไร)
 -3

34 Single pixel links
 ถ้าพยายามทำลิงก์ที่มีขนาดแค่ pixel เดียวหรือมีขนาดที่คนทั่วไปไม่สามารถมองเห็นเพื่อหวังผลว่าจะหลอก search engine ก็จะถูกตัดแต้มด้วยเช่นกัน
 -3


 Metatags
35 <Description> metatag
 Metatags เริ่มมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อยๆแต่ก็ยังมีผลอยู่เช่นกัน ซึ่งจะมีทั้ง <description> และ <keywords>  ถ้าเราต้องการอธิบายเว็บของเราให้ใส่ <description> ( yahoo และ msn ยังคงให้ความสำคัญมากอยู่) และบางครั้ง description ก็จะขึ้นใน search results เช่นกัน
 +1

36 <Keywords> metatag
 <keyword> metatag นั้นยังมีผลต่อ google เวลาใส่ metatag ให้ใส่ด้วยความยาวที่เหมาะสมคือประมาณ 10-20  keywords และอย่ายัด keyword ที่ไม่มีในหน้า page ของคุณลงไปเพราะจะส่งผลเสียแทน
 +1

37 <Language> metatag
 ถ้าเว็บไซต์ของเราต้องการ specific ภาษา ก็อย่าให้ tag ภาษาว่างเปล่า  ถึงแม้ว่า search engine จะมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนกว่าในการวิเคราะห์ภาษาแต่ก็ยังต้องคำนึงถึง <language>metatag
 +1

38 <Refresh> metatag
 <refresh>metatag เป็นทางเดียวที่จะ redirect จากเว็บของคุณไปที่อื่น   ให้ทำในกรณีที่คุณเพิ่งย้ายเว็บไซต์ไปยังชื่อ domain ใหม่เท่านั้นและควรทำเป็นการชั่วคราว เพราะถ้า redirect เป็นเวลานานจะทำให้แต้มตก ในกรณีนี้การ redirect ไปที่ 301 นั้นจะดีกว่า
 -1


 Content

39 Unique content
 ยิ่งเว็บเรามีเนื่อหามากเท่าไหร่ และเนื้อหามีความแตกต่างจากเว็บอื่นๆทั้ในแง่ของ wording และ Topics จะยิ่งทำให้ ranking ดีขึ้นเท่านั้น
 +3

40 Frequency of content change
 การปรับเปลี่ยนเนื้อหาอยุ่เป็นประจำนั้นยอดเยี่ยมเช่นกัน และดีที่สุดถ้าเว็บมีเนื้อหาใหม่ๆตลอดเวลา (ดีกว่าการปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่มีอยู่แล้วนิดหน่อยๆ)
 +3

41 Keywords font size
 เมื่อเนื้อความที่เป็น keywords ในเว็บของคุณมีขนาดตัวอักษรที่ใหญ่เมื่อเทียบกับตัวอักษรตัวอื่นๆในเว็บ ซึ่งจะทำให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายขึ้นและแสดงถึงความสำคัญก็จะช่วยให้ keyword นั้นๆได้แต้มด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับการใส่ <h1>,<h2> ที่ heading
 +2

42 Keywords formatting
 เช่นเดียวกันกับด้านบน ถ้าเราเน้นตัวอักษรที่เป็น keyword ด้วยวิธีอื่นๆเช่นตัวเอียง ตัวหนา ก็จะได้แต้มด้วยเช่นกัน แต่ก็อย่าใช้มากเกินไป
 +2

43 Age of document
 เอกสารที่ออกใหม่ๆ หรือเอกสารที่อัพเดทบ่อย ก็จะได้รับความสำคัญมากกว่าเช่นกัน
 +2

44 File size
 ปกติ page ที่มีข้อความยาวมากๆเกินไปนั้นก็ไม่ได้ให้ผลที่ดีมากนัก เพราะถ้าเรามี หน้าสั้นๆ 3 หน้าก็ยังดีกว่า หนึ่งหน้ายาวๆใน Topic เดียวกัน เพราะฉนั้นให้แยกบทความยาวๆเป็น บทความสั้นๆหลายๆหน้าจะดีกว่า
 +1

45 Content separation
 ถ้าเป็นมุมมองทางการตลาก การแยกประเภทของเนื้อหาตามกลุ่มต่างๆภายใต้ IP หรือ ชนิดของ Browser หรืออื่นๆ นั้นน่าจะดีเพราะตรงกลุ่มเป้าหมาย แต่กลับส่งผลเสียต่อ SEO แทนเนื่องจากเมื่อคุณมีแค่ URL เดียวแต่กลับมี เนื้อหาที่ต่างกันจะทำให้ search engine งงว่าอันไหนเป็นเนื้อหาที่แท้จริง
 -2

46 Poor coding and design
 Search engine เป็นคนบอกเองว่า พวกมันไม่ต้องการเว็บไซต์ที่มีการดีไซน์ที่แย่และมีการเขียน code ที่ไม่ดี ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมี เว็บที่ถูกแบนเนื่องจากกรณีดังกล่าว  (messy code และ รูปที่น่าเกลียด) แต่เว็บที่ดีไซน์ไม่ดีและ code ไม่ดีก็จะไม่ถูก index เลยทำให้ส่งผลเสียแน่นอน
 -2

47 Illegal Content
 การใส่เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนอกจากจะผิดกฎหมาย แล้วคุณก็ยังจะถูก search engine เขี่ยออกไปอีกด้วย
 -3

48 Invisible text
 นี่เป็นกรณีของ black hat SEO (สายดำ) ถ้า spiders ตรวจจับได้ว่าคุณใส่ text ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาก็อย่าแปลกใจที่จะโดยทำโทษ
 -3

49 Cloaking
 Cloaking เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถโดนตัดแต้มได้ เพราะเป็นการแยกส่วน content หลอกให้ spider เห็น page ที่ทำ optimize หวังผล ในขณะที่ผู้เข้าชมปกติกลับเห็นอีกเวอร์ชั่นของ page นั้นๆ
 -3

50 Doorway pages
 การสร้าง page โดยตั้งใจที่จะหลอก spiders ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นเป็นเว็บที่สำคัญดี (highly-relevant)  ทั้งๆที่ไม่ใช่ ก็เป็นอีกทางที่ search engine จะเขี่ยคุณออก
 -3

51 Duplicate content
 เมื่อคุณมีเนื้อหาที่เหมือนกันในหลายๆหน้าบนเว็บ แทนที่จะทำให้เว็บดูใหญ่ก็กลับทำให้ถูกลงโทษในฐานะ duplicate content แทน  การวิเคราะห์การทำซ้ำนั้นก็มีหลายดีกรี แต่ก็ไม่ใช่ทุกอันที่จะถูกแบน เช่น บทความจาก mirror sites นั้นไม่เป็นไร
 -3


 Visual Extras and SEO
52 JavaScript
 ให้ใช้ java อย่างฉลาดเพียงเพื่อดึงดูดความน่าสนใจเท่าที่จำเป็น แต่ถ้าเนื้อหาหลักของเว็บถุกแสดงผ่าน Javascript ทั้งหมด จะทำให้ spiders ติดตามได้ยาก และอาจติดตามไม่ได้เลยถ้า code Javascript นั้นเขียนมาแย่ แน่นอนว่า rating จะตกได้
 0

53 Images in text
 เว็บที่มีแต่ตัวอักษรก็ดูน่าเบื่อแต่ถ้ามีรูปเยอะไปก็ไม่ดีกับ SEO เช่นกัน อย่างไรก็ตามให้ใส่ <alt>tag ด้วยคำที่เป็นความหมายที่เหมาะสมกับรูป แต่ก็อย่ายัด keyword จำนวนมากใส่รูปโดยไม่เกี่ยวข้องกันเช่นกัน
 0

54 Podcasts and videos
 Podcast และวีดีโอกำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆทุกวัน แต่ก็ทำให้ ไม่ค่อยมี text ในเว็บและ search engine  ก็เจอยาก เพราะฉนั้นถ้าเป็นไปได้ จะถอดเทปและเขียนเป็น text กำกับไว้ในหน้านั้นๆก็ได้ครับ
 0

55 Images instead of text links
 การใช้รูปเป็นตัวลิงก์แทนตัวอักษรนั้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่  จะยิ่งแย่เมื่อไม่ได้ใส่อะไรใน <alt>tag เลย แต่แม้ว่าคุณจะใส่ <alt>tag แล้วก็ยังให้ผลได้ไม่ดีเท่ากับการลิงก์ด้วยตัวอักษรที่เป็นตัวหนา ,ขีดเส้นใต้ หรือมีขนาด ใหญ่ เพราะฉนั้นคุณควรจะใช้ รูปในการทำ navigation ที่ขึ้นกับ graphic lay-out ของเว็บคุณเท่านั้น
 -1

56 Frames
 Frames เป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อ SEO มาก ให้หลีกเลี่ยงยกเว้นจำเป็นจริงๆ
 -2

57 Flash
 Spiders จะไม่ index เนื้อหาที่เป็น Flash (ภาพเคลื่อนไหว) ถ้าจำเป็นต้องมีก็ควรใส่  alternate textual description ด้วย
 -2

58 A Flash home page
 การทำ flash homepage โดยไม่มี html เลยส่งผลไม่ดีต่อ SEO อย่างมากแน่นอน
 -3


 Domains, URLs, Web Mastery

59 Keyword-rich URLs and filenames
 การที่มี keywords หรือชื่อของไฟล์ อยู่ใน URLs ก็เป็นสิ่งสำคัญมาสำหรับ SEO โดยเฉพาะอย่างยิ่งกบ Yahoo! และ MSN
 +3

60 Site Accessibility
 การเข้าเว็บไซต์ได้ทั้งเว็บตลอดเวลาก็เป็นสิ่งสำคัญ ปกติเว็บจะถือว่า unaccessible เมื่อ ลิงก์ตาย,404 errors, บริเวณในเว็บที่ต้องใส่ password และจะทำให้เว็บไม่ถูก index
 +3

61 Sitemap
 การมี  sitemap,เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว คุณควรมี site map ที่สมบูรณ์และ update เสมอ(ไม่ว่าจะเป็นแบบ HTML ธรรมดาหรือ Google site map formatt  เพราะว่า spiders จะชอบ
 +2

62 Site size
 โดยปกติเว็บยิ่งใหญ่ก็จะยิ่งดี เพราะSpiders นั้นชอบเว็บไซต์ใหญ่ๆ  อย่างไรก็ตามเว็บที่ใหญ่ก็จะมีปัญหาใช้งานยากขึ้นและมี navigation ที่แย่ลงทำให้บางทีต้องแยกเป็นเว็บที่เล็กลง  แต่ในทางปฎิบัติ ยังไม่ค่อยมีเว็บไหนที่ถูกลงโทษเพราะมีหน้าเกินหมื่นหน้า เพราะฉนั้นอย่าแยกเว็บไซต์เพียงเพราะว่ามันใหญ่ขึ้นทุกวัน
 +2

63 Site age
 older sites are respected more.เว็บไซต์ยิ่งมีอายุมากแล้วยิ่งได้รับความเชื่อถือมากขึ้น เพราะแสดงว่าไม่ใช่เว็บ pop-up ใหม่ๆแล้วหายไป
 +2

64 Site theme
 site theme ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน และสำคัญมากต่อ ranking ถ้าเราทำ site ให้เข้ากับ theme หนึ่งๆแล้ว ถ้ามี page อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ theme นี้จะช่วย boost เว็บไซต์ทั้งหมด
 +2

65 File Location on Site
 ตำแหน่งของ file ในเว็บไซต์ ( ชื่อไฟล์ด้านหลังเช่น www.ipattt.com / xxx) ถ้าอยู่ใกล้กับ root directory จะมีแนวโน้มที่มี rank ดีกว่าไฟล์ที่อยู่ลึกเข้าไปห้าระดับ (เช่น www.ipattt.com/nnn/nnn/nnn/nnn/xxx )
 +1

66 Domains versus subdomains, separate domains
 การมี domain ต่างหากน้นดีกว่า เช่นแทนที่จะมี ipattt.blogspot.com ก็ควร register เป็น ipattt.com
 +1

67 Top-level domains (TLDs)
 TLDs ( .xxx) นั้นมีความแตกต่างกันอยู่ โดย .com นั้นดีกว่า .ws, .biz, .info อยู่มากแต่ก็ไม่มีอะไรสู้ .edu กับ .org ที่จดทะเบียนมานานแล้วได้
 +1

68 Hyphens in URLs
 เครื่องหมาย ( – ) ระหว่าง URLs นั้นช่วยให้อ่านง่ายขึ้นและมีผลต่ ranking สามารถใช้ได้กับทั้ง domain name และ ที่เหลือ ใน URLs
 +1

69 URL length
 ปกติ URLs ที่ยาวมากๆจะเริ่มดูเหมือน spam เพราะฉนั้นควรหลักเลี่ยงการมี URLs ยาวเกิน 10 คำ ( 3 ถึง 4 คำสำหรับ domain name และ 6 คำสำหรับที่เหลือนั้นยังพอรับได้)
 0

70 IP address
 IP address จะมีผลไม่ค่อยดีต่อเมื่อมีการ shared hosting หรือเมื่อเว็บไซต์นั้น host กับ free hosting provider  อีกกรณีคือ  IP หรือ C-class ของ IP address ทั้งหมดติดแบล็คลิสต์เนื่องมาจากการถูกลงโทษด้าน spamming หรือ ด้าน กฏหมาย
 0

71 Adsense will boost your ranking
 Adsense นั้นอาจจะช่วยให้คุณมีรายได้แต่ไม่ได้มีผลอะไรกับ SEO ranking  Google ไม่ได้ให้ ranking bonus เพราะว่า hosting adsense ads
 0

72 Adwords will boost your ranking
 เหมือน Adsense , ตัว Adwords นั้นช่วยให้คนเข้ามาดูเว็บของคุณได้ง่ายขึ้นแต่ก็ไม่ได้มีผลอะไรกับ SEO ranking เช่นกัน
 0

73 Hosting downtime
 Hosting downtime มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ accessibility  เพราะว่าถ้าเว็บ down บ่อยๆจะไม่สามารถทำ indexed ได้ factor นี้จะเห็นผลเสียก็ต่อเมื่อ hosting provider ไม่ค่อยน่าเชื่อถือและมี uptime ต่ำกว่า 97-98%
 -1

74 Dynamic URLs
 Spiders นั้นชอบ static URLs  แม้ว่าคุณจะเคยเห็น dynamics pagesจำนวนมาก    การมี URLs ยาวๆ(เช่นเกิน 100ตัวอักษร)จะส่งผลเสียต่อทั้งคนท่องเว็บและ SEO และเราควรจะใช้เครื่องมือบางตัวช่วยเช่น rewrite dynamic URLs
 -1

75 Session IDs
 ยิ่งแย่กว่า Dynamics URLs  การใช้ session IDs นั้นจะไม่ทำให้ spiders ทำ indexed
 -2

76 Bans in robots.txt
 ถ้าเว็บไซต์ของเรามีบางส่วนที่ถูกแบน  มันก็มักจะส่งผลถึงส่วนอื่นๆที่ไม่โดนแบนทั้งหมดด้วยเนื่องจาก spiders จะวิ่งเข้ามาน้อยถ้าเป็น “noindex” site
 -2

77 Redirects (301 and 302)
 redirects จะส่งผลเสียมากถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้อง บางทีหน้าที่ต้องการนั้นก็ไม่สามารถเปิดได้ หรือแย่ยิ่งกว่านั้นคือ บางครั้ง redirect อาจถือว่าเป็นการทำ SEO แบบ black hat คือเมื่อผู้เยี่ยมชมเข้ามากลับถูกโยนไปที่อื่นแทน
 -3

ลักษณะ ของผู้นำคุณภาพ

ลักษณะของผู้นำคุณภาพ
         
         
           อลิสโตเติล กล่าวว่า "Quality is not an action ,it is a habit"
           คุณภาพไม่ใช่สิ่งที่เป็นเพียงการ ปฏิบัติในครั้งหนึ่งครั้งใดเท่านั้น แต่ต้องทำจนเป็นนิสัยต่อเนื่องในการปฏิรูปการศึกษาของไทย  จะ สังเกตุเห็นว่าปัจจุบันทุกคนตื่นตัวกันมาก ทั้งผู้บริหาร ครู อาจารย์   ผู้ปกครอง  ตลอดจนประชาชนและสังคมโดยมาก จะมุ่งเน้นในเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างทางการบริหาร  การ ปฏิรูปหลักสูตร  การปฏิรูปครู และลงไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ของนักเรียน   เพื่อ ไปสู่เป้าหมายด้านคุณภาพการศึกษา   รวมทั้งยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับสากล     แต่ในส่วนที่เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาและนับว่า สำคัญ ซึ่งได้แก่ คุณภาพของผู้นำ ยังมิได้นำมาพิจารณากันสักเท่าใดนัก ส่วนใหญ่มุ่งเน้นในการจัดการอบรมและหาวิธีการคัดเลือก  เพื่อ จัดบุคลากรรองรับตำแหน่งบริหารในโครงสร้างใหม่     ผู้ บริหารบางคนก็กังวลใจเกี่ยวกับการถูกยุบโอนไปในตำแหน่งที่ตนไม่ถนัด   โดยมิได้ใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพของตน เอง   เพื่อให้เป็นเพชรที่ส่องประกายแวววาวเพื่อให้ คนนำไปใช้อย่างทรงคุณค่า  ซึ่งในการปฏิรูปการศึกษานั้นผู้นำนับว่ามีความสำคัญที่นำพาองค์กรไปสู่เป้า หมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพการศึกษา   ผู้นำยุคใหม่ที่เน้นการปฏิรูปจึงต้องเป็นผู้นำคุณภาพเพราะผู้นำที่ไม่มีความ รู้ความสามารถ   ขาดความเข้าใจในด้านคุณภาพแล้วอาจ จะนำองค์กรสู่ความล้มเหลวและหลงทางได้    ซึ่งลักษณะ ของผู้นำคุณภาพมีดังต่อไปนี้
Ø                  เป็นผู้นำวิสัยทัศน์ (visionary Leadership) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคลต่าง ๆ ได้

                  
ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าว ว่า " Without vision the people perished" โดยให้ความสำคัญของวิสัยทัศน์ว่า " ถ้าผู้นำขาดวิสัยทัศน์ ประชาชนก็สาบสูญ " ซึ่งนับว่าวิสัยทัศน์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหาร  ผู้ นำที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องมีความรู้และประการณ์ในการบริหารเป็นอย่างดี  ต้องรู้จักสะสมความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ  มั่นศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ   รวมทั้งต้องมองการณ์ไกล  สามารถวางแผน ระยะยาว  ( Long term plan ning )  สามารถแก้ปัญหา ได้อย่างชาญฉลาด   เปลี่ยนวิกฤติสู่โอกาสได้อย่าง เหมาะสม และที่สำคัญ  สามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อปรับ ปรุงองค์การให้เจริญก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย สามารถต้านทานต่อวิกฤติการณ์ที่มากระทบได้อย่างมั่นคง  ผู้นำ วิสัยทัศน์จึงมีลักษณะดังนี้


          1. ผู้นำต้องกำหนดวิสัยทัศน์ได้อย่างชัดเจน  และสามารถ กระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคลากรอื่นเพื่อให้เกิดการยอมรับ
          2. ผู้นำสามารถกำหนดเป้าหมายร่วมกับบุคคลากรได้อย่างชัดเจน

          3. ผู้นำร่วมกับบุคคลากรกำหนดพันธกิจร่วมกัน  เพื่อ เป็นทิศทางในการดำเนินงาน
          4. ผู้นำร่วมกับบุคคลากร กำหนดยุทธศาสตร์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
Ø                  ใช้หลักการกระจายอำนาจ ( Empowerment ) และ การมีส่วนร่วม
(
Participation )

          
ผู้นำ คุณภาพ  คงมิใช่ผู้นำแบบอัศวินที่มีลักษณะเก่งคน เดียว  ทำงานคนเดียว  ผู้นำ จึงถือคติที่ว่า " Two   heads  are  better  than  one." รู้จักทำงานเป็นทีม   ซึ่งที่จริงแล้วการ ทำงานเป็นทีมเป็นจุดแข็งของคนไทยทีเดียว  เพราะได้ รับการสั่งสมจากวัฒนธรรมประเพณีแต่ดั้งเดิม   สังเกต การทำงานจะช่วยเหลือกันอุปถัมภ์ค้ำจุนกัน   รวม ทั้งประเพณีไทยต่าง ๆ เน้นความสามัคคี  และทำงาน เป็นกลุ่มทั้งสิ้น   แต่เมื่อ เรารับอารยธรรมตะวันตกมามาก    ทำให้คนไทย เป็นปัจเจกชนมากขึ้น  ทำงานแบบตัวใครตัวมัน  ผู้นำ จึงสมควรส่งเสริมให้บุคคลากรทำงานเป็นทีม   โดย เฉพาะผู้นำคุณภาพจะต้องเป็นผู้จุดประกายในด้านนี้  ใน ขณะเดียวกันผู้นำต้องหยั่งรู้ลักษณะบุคคลากรว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ความคิด   ความเชื่อ   ความสามารถในด้านใด     เพื่อมอบหมายงานให้ตรงกับความถนัดของ แต่ละคนได้อย่างเหมาะสม   สามารถกระจายงาน   กระจายอำนาจให้ทั่วถึงและเป็นธรรมรวม   ทั้งมีหลักเกณฑ์การพิจารณา    เพื่อให้ ทุกคนยอมรับและที่สำคัญการเปิดโอกาศให้บุคคลากรมีส่วนร่วมในการทำงาน   ก็นับว่าเป็นการผูกมัดใจให้ทุกคนทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อ พัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย   โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้บทบาทของ นักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนนั้น    ถือว่าเป็นลูกค้าที่สำคัญ  ผู้นำ คุณภาพจึงต้องให้ความสำคัญของลูกค้าเป็นพิเศษ (Customer Focus) ทั้งในด้านการฟังเสียง  การฟังความคิด เห็น  รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ พัฒนาโรงเรียน แต่ขณะเดียวกันผู้นำพึงตระหนักในงานและควรจัดลำดับความสำคัญไว้ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ    หรือในเรื่องคอขาดบาด ตายก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำ  ในการตัดสินใจชี้ขาด และคงไม่โยนภาระหน้าที่ไปให้บุคคลากรทุกเรื่อง

Ø                  เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร

          
การ สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อหน่วยงานเป็นผลทางด้านจิตวิทยา   ทำให้ทุกคนเกิดการยอมรับ ศรัทธา   การ สร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรในโรงเรียน ทั้งครูและนักเรียน  ทำให้ทราบถึงความรู้สึก  ความคิด  ความเชื่อ  ของแต่ละคน  ช่วยลดช่องว่างและความขัดแย้งในการ บริหารการจัดการ    การใช้เทคนิคแบบ MBWA (Managing by Wandering Around)  นับว่าสามารถนำไป ใช้ได้เป็นอย่างดี    ซึ่งผู้บริหารจะต้องไม่ยึดติด กับห้องแอร์   ต้องหมั่นเดินดูการปฏิบัติงานของ บุคลากร    รวมทั้งคอยให้คำชี้แนะและให้กำลังใจอย่าง ใกล้ชิด    ซึ่งเป็นการเดินอย่างมีจุดหมาย เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า โดยมิได้มุ่งจับผิดแต่ประการใด
           นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ช่วยทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนดีขึ้น เพราะสามารถวางแผนส่งเสริมและแก้ปัญหานักเรียนได้เป็นอย่างดี   ขณะเดียวกัน ถ้าผู้บริหารสามารถสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชุมชน  ก็ จะช่วยระดมทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร  สื่ออุปกรณ์  งบประมาณ ฯลฯ  มาสร้างสรรค์พัฒนา โรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ  และทัดเทียมกับโรงเรียน อื่นๆ โดยไม่ต้องรองบประมาณจากต้นสังกัด

Ø                  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

           
ขงจื้อ กล่าวว่า " แม่ทัพที่มีความสามารถอาจถูกแย่งไปด้วยกำลัง แต่ความมุ่งมั่นไม่สามารถแย่งชิงไปได้ "   ผู้นำคุณภาพ จึงต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงาน   ขณะเดียวกันต้อง ตั้งความหวังไว้สูง (High   Expectation) เพื่อ ให้เกิดผลงานที่ดีที่สุด   นอกจากนี้การทำงานต้อง เน้นที่ผลงานเป็นหลัก (Result Oriented)  สังเกต จากผู้นำที่ประสบความสำเร็จ   จะ ต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย    ความ มุ่งมั่นจะประกอบด้วยความวิริยะ  อุตสาหะ  เพราะในการทำงานย่อมมีอุปสรรคและปัญหาคอยทำลายความตั้งใจ และ สมาธิ  ขนาดพระพุทธองค์ยังมีมารมาผจญ   นับประสาอะไรกับปุถุชน   ย่อมมีอุปสรรค อย่างแน่นอน    โดยเฉพาะสังคมไทยที่ได้รับ การปลูกฝังจากนวนิยายหรือละครน้ำเน่าที่มีแต่ความอิจฉาริษยา  เพลิงแค้น  หรือใครได้ดีเป็นไม่ได้ต้องคอย จ้องทำลายกันอยู่ตลอด    แต่ผู้นำคงไม่ย่อท้อต่อขวาก หนามที่มาขวางกั้น   พึงระลึกถึงคำกล่าวของหลวง วิจิตรวาทการที่ว่า " ชีวิตคือการต่อสู้  ศัตรู คือยากำลัง  อุปสรรค  และ ปัญหาคือหนทางแห่งความสำเร็จ "  ซึ่งต้อง เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรเราต้องมองว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรานั้น เป็นไม้บรรทัดวัดความอดทนและความมุ่งมั่นในการทำงานของเรา นอกจากนี้ลองสังเกตง่ายๆ ว่า ถ้าว่าวจะขึ้นได้ต้องมีลมต้าน ปลา เป็นย่อมว่ายทวนน้ำ    มีแต่ปลาตายเท่านั้น ที่ลอยตามน้ำ    ถ้าผู้นำใช้ความมุ่งมั่นและทุ่มเท โดยดำเนินงานไปสู่เป้าหมายได้ก็นับว่าเป็นผู้นำคุณภาพอย่างภาคภูมิใจ
        
Ø                  ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติในการวิเคราะห์และตัดสินใจ

           
ซึ่งมี ลักษณะเป็นผู้นำนวัตกรรม (Innovation leader ship) มีความสามารถในการจัดการกับความรู้  (Knowedge Mangement) และใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ   รวมทั้งใช้ข้อมูลทางสถิติและงานวิจัยมาประกอบในการ ตัดสินใจ    ผู้นำต้องใช้การบริหารที่ยึดความจริงเป็น หลัก   โดยไม่ใช้ความรู้สึก  (Leading by fact, not leading by feeling) ต้องกล้าพูดความจริง เกี่ยวกับปัญหาไม่ปิดปัญหาการบริหาร   แบบ ปัดฝุ่นไว้ใต้พรมต้องหมดไป   ผู้นำต้องนำปัญหามาวาง แผนแก้ไขโดยใช้งานวิจัยเป็นตัวตั้ง   การแก้ไขแบบ สร้างวิมานในอากาศคงจะช่วยอะไรไม่ได้มาก   การใช้คำขวัญและคติพจน์  สุภาษิต  เป็นเพียงแรงเสริมกระตุ้นให้เกิด   ความรู้สึก และกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สามารถบ่งบอกทิศทางในการบริหารได้อย่างแม่นยำ  แต่สิ่งที่นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการ จัดการ คือ  การเก็บข้อมูลอย่างครบถ้วนตามระยะเวลา ที่เหมาะสม  และนำมาวิเคราะห์อย่างชาญฉลาดด้วย เครื่องมือที่น่าเชื่อถือและเที่ยงตรง   เพื่อใช้ เป็นข้อมูลในการพยากรณ์   ด้วย อาศัยหลักแห่งความน่าจะเป็น นับว่ามีประโยชน์ต่อการบริหารอย่างแท้จริง และเพียงระลึกเสมอว่า "คุณภาพมิใช่เรื่องบังเอิญ   แต่คุณภาพเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ "

Ø                  ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง

          
ลักษณะ ของผู้นำคุณภาพที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ  ต้องสนับ สนุนและช่วยเหลือลูกน้องทั้งในด้านส่วนตัวและส่วนรวม    ในด้านส่วนตัวผู้นำต้องให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ ลูกน้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ    ผู้นำต้องหาความ ช่วยเหลืออย่างทันที   ในกรณีที่ไม่สามารถช่วยเหลือ ด้วยตนเอง   ก็ควรแนะนำและชี้ทางให้ ไม่ควรปฏิเสธอย่างขาดเยื่อใย    เพราะการที่คนเราจะขอความช่วยเหลือจากใคร มิใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะนิสัยของคนไทยเป็นคนที่เกรงใจผู้อื่นการที่เขาขอ ความช่วยเหลือจากเรา   แสดง ว่าผู้นำได้รับความไว้วางใจจากลูกน้องเป็นอย่างดี    นอกจากนี้ในด้านหน้าที่การงานผู้นำต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องทำงาน และสนับสนุนให้ความก้าวหน้าเป็นลำดับ  และต้องตัดสิน ด้วยความยุติธรรม   โดยวางมาตรฐานเปรียบเทียบไว้ อย่างชัดเจน (Benchmarking) เพื่อให้ทุกคนไป สู่มาตรฐานนั้น   ถ้าใครไปถึงก็สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าตามลำดับ    ซึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคน    โดยไม่ให้อภิสิทธิ์ เฉพาะกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งและที่สำคัญ   มาตรฐานการเปรียบเทียบนั้นต้องได้รับการยอมรับอย่างทั่วถึง   มิใช่เป็นการสร้างเกณฑ์เพื่อกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ 

มีความสามารถในการสื่อสาร

           
ผู้นำจะต้องสามารถสื่อสารกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ  การทำงานต้องอาศัยหลักการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สำนวนที่ว่า " ตีฆ้องร้องป่าว" นับว่าเป็นสิ่งที่ดี   เพราะนอกจากจะเป็นการประชา สัมพันธ์งานแล้ว   ยังแสดงถึงความโปร่งใส (Transparency) ของการทำงานที่มิได้งุบงิบกันทำ    นอก จากนี้ยังช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและหน่วยงาน   เพื่อ ให้ทุกคนยอมรับศรัทธาหน่วยงาน   และพร้อมที่จะทำงานด้วยความสุขและปราศจากความกลัว   การสื่อสารที่ดีที่สุด คือ การพูดคุยเจรจาแบบปากต่อปากเพื่อให้เห็นถึงบุคลิกภาพ  ความ รู้สึกที่จริงใจต่อกัน    การใช้หนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษรในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น   การใช้อวัจนภาษานับว่าเป็นประโยชน์ต่อการ สื่อสารเป็นอย่างดี   ผู้นำจึงต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีการพูดจาที่น่าเชื่อถือ   มีวาทศิลป์สามารถพูดจูง ใจได้ขณะเดียวกัน   ควรมีลักษณะอ่อนน้อมอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ   ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่ดีต่อการบริหาร และการจัดการ   ซึ่งผู้นำที่เข้มแข็งมิได้หมายถึงผู้ นำที่แข็งกระด้าง

Ø                  มีความสามารถในการใช้แรงจูงใจ

           การใช้แรงจูงใจในการทำงานนับว่ามีความสำคัญต่อการบริหารและการ จัดการเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย    ซึ่ง แรงจูงใจนั้นมีทั้งแรงจูงใจภายในและภายนอก   แรงจูง ใจภายในจะเกี่ยวกับเรื่องของ    จิตวิญญาณ ของแต่ละคน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด   ซึ่งไม่สามารถ หยั่งรู้ได้อย่างชัดเจน  แต่แรงจูงใจภายนอก    พอจะสามารถแยกแยะได้ว่า บุคคลใดมีความสนใจในเรื่องใด   ซึ่งผู้นำจะต้องศึกษาครูอาจารย์ในฐานะที่เป็นผู้ใต้ บังคับบัญชา   ว่าเขามีความต้องการสิ่งใดและตอบสนอง ความต้องการในเรื่องนั้น   เพราะการที่คนจะทำงานเต็ม ศักยภาพนั้นต้องมีแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ทำ    บาง คนต้องมีสิ่งของรางวัลมายั่วยุจึงจะเกิด   บางคนต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่ง   บาง คนต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ แต่บางคนต้องการลาภ ยศสรรเสริญ และได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไป  
ผู้นำจึงต้องวิเคราะห์แยกแยะบุคลากร  และใช้ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ  เพื่อ ผลักดันให้บุคคลทำงานอย่างเต็มกำลังสามารถ           
Ø                  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Chang Leadership )

           ผู้นำคุณภาพจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  โดย เฉพาะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่ความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่   ความคิดที่ออกนอกกรอบหรือกฏเกณฑ์เดิม   เพื่อ ประยุกต์งานให้เกิดความก้าวหน้า  อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  กล่าวว่า
" การแก้ปัญหาในเรื่องเดิม จะต้องใช้วิธีการใหมเท่านั้นจึงจะประสบผลสำเร็จ " ถ้าเรายังมัวย่ำอยู่กับปัญหาเดิม ๆ   โดยไม่เปลี่ยน แปลงวิธีการมีแต่จะสะสมปัญหาไปเรื่อย ๆ เหมือนดินพอกหางหมู   และในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง     การเปลี่ยนแปลงจึงต้องอาศัยผู้นำที่มีความ กล้าหาญและอาศัยความเสี่ยง   เพราะ ครูอาจารย์และคนที่อยู่รอบข้าง    ย่อมเกิดความกลัวในเรื่องการเปลี่ยนแปลง   บางคนกลัวเสียผลประโยชน์บางคนกลัวว่าจะทำให้การปฏิบัติงานเกิด ความยุ่งยากขึ้น บางคนกลัวผลกระทบกับหน้าที่การงานซึ่งผู้นำจะ ต้องวางแผนระยะยาว   เพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ลงไป    เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
          สุภาษิตจีนกล่าวว่า "เข้าถ้ำเสือ    จึงจะได้ลูกเสือ"  ผู้ นำจึงต้องอาศัยความเสี่ยงในการตัดสินใจต่อความเสี่ยงนั้นจะทำให้งานเกิดความ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น   เพราะการทำงานนอกเหนือจากหน้าที่ แล้วได้ผลดี    ถือว่าเป็นงานชิ้นโบแดงที่ควรแก่ ความภูมิใจ     ดูตัวอย่างพระเจ้าตากสินที่ ให้แม่ทัพนายกองทุบหม้อข้าวแล้วปลุกใจให้ไพล่พลฮึกเหิมเพื่อตีเมืองจันทบุรี เพื่อจะไปกินข้าวในเมืองเป็นต้น    ซึ่งเป็นการใช้ หลักของการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เกิดชัยชนะเป็นต้น   ดังนั้นในปัจจุบันนี้การบริหารที่รอนโยบายหรือ " การทำงานแบบขุนพลอยพยักหรือนายว่าขี้ข้าพลอย "ควรหมดสมัยได้แล้ว   ผู้นำคุณภาพ (Quality Leadership) ควรมี ลักษณะเป็นผู้นำวิสัยทัศน์ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี    การบริหารยึดถือความจริงมากกว่าความ รู้สึก  มีความสามารถในการสื่อสารใช้แรงจูงใจในการบ ริหาร   รวมทั้งเป็นผู้นำใน การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนา   และที่สำคัญ ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นในการบริหาร    โดยเน้นผลงานเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปฏิรูปการศึกษา   ผู้นำคุณภาพจำเป็นต้องยึดลูกค้าเป็นสำคัญ    เพื่อ ตอบสนองความต้องการ  ความจำเป็น    ตลอด จนสร้างความประทับใจเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ    โดย เฉพาะผู้เรียนเป็นลูกค้าคนสำคัญ   ผู้นำคุณภาพจึงต้องมีเป้าหมายในการพัฒนา  โดย ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (Learner centred) โดยมีการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง    โดยใช้หลักการทางสถิติและข้อมูลในการดำเนินงานเพื่อให้เกิด คุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง    และสามารถทัดเทียมกับสากลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติฉบับปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารความขัดแย้ง(Conflict Management)

การบริหารความขัดแย้ง(Conflict Management) article
 
      เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้อง สร้างการถกเถียงหรือความขัดแย้งในลักษณะที่เป็นบวก (Functional Conflict) หากมีความรู้สึกว่ามีความคล้อยตามหรือด่วนสรุปเร็วเกินไป ก็ขอให้ความขัดแย้งนั้นสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น และได้รับความเห็นชอบจากทุกคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
 
     ในอดีตตั้งแต่มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก็เริ่มมีความขัดแย้งกันขึ้นในสังคม มีผู้กล่าวว่าความขัดแย้งเริ่มมีขึ้นเมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันตั้งแต่สองคน ขึ้นไป ระดับความซับซ้อนของความขัดแย้งมีตั้งแต่น้อยจนถึงซับซ้อนมาก ความขัดแย้งในสัตว์ก็มีแต่เป็นลักษณะที่ไม่ซับซ้อน(simple or instinct conflict) เช่น การแย่งอาหาร การแย่งตัวเมียเป็นต้น แต่ในมนุษย์ซึ่งมีความคิด มีอารมณ์ มีการวางแผนซับซ้อน ความขัดแย้งในสังคมยิ่งทวีความซับซ้อนยุ่งมากขึ้นเท่านั้น            
         ความ ขัดแย้งในสังคมมีตั้งแต่หน่วยเล็กคือครอบครัว หน่วยงาน ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับระหว่างประเทศ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อบรรเทาความขัดแย้งให้เบาบางลงจนถึงหมดไปได้          
         ความขัดแย้งในสังคมหรือองค์กรนั้นเป็น สิ่งที่ต้องมีในสังคมและองค์กรที่บริหารงานในระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งในด้านความคิดก่อให้เกิดความเจริญกับองค์กรและประเทศชาติอย่าง มาก ความขัดแย้งเมื่อถึงจุดสรุปก็จะนำไปสู่ความสร้างสรรค์ให้กับองค์กรได้อย่าง เหลือเชื่อ          
        ผู้นำ องค์กรที่มี Competency ที่เรียกว่า Team Leadership จะสามารถกระตุ้นการระดมสมองและบริหารความขัดแย้ง ในการสร้างการทำงานเป็นทีม โดยสมาชิกของทีมทุกคนจะต้องมีความรู้สึกว่าได้รับแรงจูงใจและโอกาสที่จะ แสดงออกมาซึ่งความคิดริเริ่ม และสามารถถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมา เพื่อการหาข้อสรุปหรือข้อยุติ โดยการคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ
         ผู้ นำดังกล่าวต้องมีวิธีที่จะดึงทุกคนออกมาจาก Comfort Zone เพื่อ ให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางและทุกแง่ทุกมุม ก่อนที่จะร่วมกันตัดสินใจ เพื่อให้เป็นฉันทามติของทีม และหลังจากได้ร่วมกันตัดสินใจแล้ว ผู้นำจะต้องให้ทุกคนยึดกฎแห่งการประชุมอันหนึ่งที่เรียกกันว่า Cabinet Rule ที่จะต้องยอมรับและปฏิบัติตามมติของทีมอย่างเคร่งครัด และไม่นำไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เห็นด้วยหลังการประชุม
          ผู้ นำจะต้องเข้าใจด้วยว่า "การตัดสินใจที่ยากที่สุดใน กระบวนการตัดสินใจแต่ละครั้งของสมาชิกของทีมแต่ละคน ก็คือการตัดสินใจในการเข้าร่วมทำการตัดสินใจนั่นเอง" ซึ่งทำให้คนโดยทั่วไปแล้ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเรา) มักจะดำรงสถานะของตนอยู่ใน Comfort Zone แทนที่จะเข้าร่วมใน การถกเถียง ทำให้ต้องมีภาระในการชักแม่น้ำทั้งห้าเพื่อจูงใจให้คนอื่นคล้อยตาม
          สำหรับบางคน แล้วอาจไม่สนุกกับการที่จะต้องพร่ำอธิบายในประเด็นที่ตนเองเห็นว่าไม่น่าที่ จะต้องอธิบายอะไรกันมากนัก
          ดัง นั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องสร้างการถกเถียงหรือความขัด แย้งในลักษณะที่เป็นบวก (Functional Conflict) หากมีความ รู้สึกว่ามีความคล้อยตามหรือด่วนสรุปเร็วเกินไป ก็ขอให้ความขัดแย้งนั้นสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น และได้รับความเห็นชอบจากทุกคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
          แต่ใน อีกกรณีหนึ่งที่ความขัดแย้งได้เกินขอบเขตของประเด็นเชิงธุรกิจและเข้าสู่ ความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัว หรือการชิงดีชิงเด่นกันในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน เกิดเป็นความขัดแย้งในเชิงลบ (Dysfunctional Conflict) แล้ว อาจจะทำความเสียหายให้กับองค์กรมากกว่าผลดี ซึ่งในกรณีนี้ผู้นำจะต้องหาหนทางที่จะขจัดความขัดแย้งดังกล่าวให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะมีการเล่นเกมการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตนเองต่อไป
            ใน การบริหารความขัดแย้งให้เกิดสมดุลนั้น สิ่งแรกที่ผู้นำจะต้องต้องดำเนินการก็คือ การสร้างค่านิยมร่วม (Core Values) ให้แก่ทีมในเรื่องของ ความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันของสมาชิกทุกคนในทีม (Respect for Individuals) ต้องสร้างให้เป็นมาตรฐานของพฤติกรรม (Norms) ที่ทุกคนใช้ในการทำงานประจำวัน
          ผู้นำจะ ต้องสามารถวิเคราะห์ Motives ของสมาชิกของทีมแต่ละคนโดยการ หมั่นสังเกตและโน้มน้าวให้ยอมรับและประพฤติตาม Norms ที่ได้ กำหนดร่วมกันไว้ นั่นหมายความว่า Competency ตัวสำคัญต่อมาที่ ผู้นำจะต้องมีก็คือ Impact and Influence
          จะ เห็นได้ว่าภาวะผู้นำเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดหรือ ขจัดความขัดแย้งใดๆในองค์กร โดยจะต้องสามารถวิเคราะห์ให้ได้ว่ามีความขัดแย้งในองค์กรเพียงพอแล้วหรือยัง และความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นกำลังนำผลดีหรือผลเสียมาสู่องค์กร ซึ่งระดับของความขัดแย้งนี้เอง ที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของตัวผู้นำคนนั้นว่าจะสามารถทำการบริหารงานต่อไปได้ หรือไม่?
           ประเด็น ที่สำคัญที่ผู้เขียนอยากเน้นในที่นี้คือ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และเป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดที่จะหลีกเลี่ยงเลย แต่จะต้องทำการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้องค์กร

10 กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ

10 กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ articleหลายต่อหลายคน ที่ต้องการและแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ
หลายคนที่ล้ม หลายคนที่พลาด
คนที่แข็งแรงคือคนที่สามารถยืนอยู่และแข่งขันในเกมได้ต่อ ไป
แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ล้มจะเป็นผู้แพ้ตลอดไป ยังสามารถที่จะกลับเข้ามาเป็นผู้ชนะได้ 10กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ คือคำตอบของผู้ชนะ


กฎข้อที่1 จงเชื่อมั่นในธุรกิจของตัวเอง และเชื่อให้มากกว่าใครทั้งหมด
ว่ามันต้อง สำเร็จ อุปสรรค์ทุกอย่างสามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยความมุ่งมั่น
และพยายาม ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้


กฎข้อที่2 แบ่งผลกำไรให้กับผู้มีส่วนร่วมในบริษัทฯของคุณทุกคน
แล้วทั้ง 2 ฝ่ายจะกลายเป็นพันธมิตรกันโดยสัญชาติญาณรักษา
ความเป็นองค์กรไว้ และรู้จักใช้อำนาจให้เป็น


กฎข้อที่3 วิธีจูงใจพนักงาน คิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ ที่น่าสนใจในทุกๆวัน
เพื่อท้าทาย พนักงาน ตั้งเป้าหมายของบริษัทฯให้สูงเข้าไว้
จูงใจให้เกิดการแข่งขัน แล้วรักษาระดับนั้นไว้ให้ได้
จากนั้นก็ต้องให้รางวัลตอนแทนที่สมน้ำสม เนื้อด้วย


กฎข้อที่4 สื่อสารทุกอย่างให้พนักงานรู้เท่าที่จะทำได้
เพราะยิ่งพวกเขารู้มากเท่า ไหร่ ก็ยิ่งจะเข้าใจและห่วงใยองค์กรมากขึ้น
และเป็นการสร้างความเคารพใน ตัวของเขาว่าคุณให้ความไว้วางใจ


กฎข้อที่5 ตอบแทนพนักงานเมื่อเขาทำดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่
เขาทำให้องค์กร การให้รางวัลเป็นตัวเงินหรือเป็นส่วนแบ่งจากบริษัทฯนั้น
ช่วยเสริมให้ เกิดความจงรักภักดีได้อย่างหนึ่ง
แต่เราทุกคนล้วนต้องการได้รับคำชมจาก สิ่งที่เราได้ทำลงไป
บางครั้งการได้รับคำยกย่องชมเชยจากเจ้านายที่ถูก เวลานั้นคุ้มค่ากว่า
เงินทองเสียอีก


กฎข้อที่6 ชื่นชมความสำเร็จของตนเอง มองความผิดพลาดให้เป็นเรื่องตลก
อย่าให้ตัว เองเครียดจนเกินไป ให้ปล่อยวางแล้วทุกคนรอบข้างจะปล่อยวาง
เช่นเดียวกับ เรา ทำชีวิตให้สนุกและกระตือรือร้นอยู่เสมอ


กฎข้อที่7 รับฟังความคิดเห็นของทุกคน และหาวิธีให้ลูกน้องเปิดใจพูดในสิ่งที่คิด
ยิ่ง พนักงานที่ต้องพบปะรับมือกับลูกค้าเป็นกลุ่มที่รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น
พยายาม ให้เขาเล่าส่งที่เกิดขึ้น เมื่อฟังแล้วต้องสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบ
ต่อ องค์กรมากขึ้น และผลักดันให้เกิดความคิดดีๆเพิ่มขึ้นด้วย


กฎ ข้อที่8 จงทำให้เกินความคาดหวังของลูกค้า ถ้าทำได้
พวกเขา จะกลับมาหาเราเรื่อยๆ แสดงให้ลูกค้ารู้ว่าใส่ใจเขาอยู่เสมอ
เมื่อเกิดข้อ ผิดพลาดจงอย่าแก้ตัว แต่ขอโทษและยอมรับในสิ่งที่ทำทุกอย่าง


กฎ ข้อที่9 ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีกว่าคู่แข่ง แต่ไม่ใช่ประหยัดในสิ่งที่
จำเป็นต้องใช้ในองค์กร


กฎ ข้อที่10 จงว่ายทวนน้ำ เดินทวนกระแส ยึดกับสิ่งที่เป็นรูปแบบเดิมๆ
เป็นโอกาสที่ดีของคุณที่จะหาตลาดเฉพาะของ ตัวเอง โดยมุ่งไปใน
ทางตรงกันข้ามกับคนอื่นอย่างสิ้นเชิง แต่ต้องเตรียมรับมือกับกับ
กระแสที่เข้ามาขวางให้ไขว่เขว

องค์กรจะรักษาคนดีคนเก่ง ให้อยู่นานๆ ได้อย่างไร

องค์กรจะรักษาคนดีคนเก่ง ให้อยู่นานๆ ได้อย่างไร article
เอ่อ ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจกับการเป็นหัวหน้าคนครับ เพื่อในอนาคตต่อไปในภายภาคหน้ากับ Career path ที่ใครบางคนบอกผมไว้ ผมก็เก็บกลับมาคิดหละครับ ว่าการเป็นหัวหน้าคนเนี่ยต้องทำยังไง บังเอิญวันที่ post ข้อมูลนี่อ่านเจอใน หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจครับ เลยขออนุญาตแปะไว้ใน blog ก็แล้วกัน เผื่อใครอยากจะอ่านก็อ่านได้ครับ

เริ่ม เลยละกัน

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3975 (3175) องค์กรจะรักษาคนดีคนเก่ง ให้อยู่นานๆ ได้อย่างไร (1) คอลัมน์ ถามมา-ตอบไปสไตล์คอสซัลต์ โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา apiwut@riverorchid.com

คนเก่งคนดี (talents) หามาพัฒนาแล้วไม่นานก็จากไปทำอย่างไรจึงจะรักษาคนเหล่านี้ไว้ได้ ? คำถามประเภทนี้เป็นคำถามยอดฮิต หรือเรียกได้ว่าเป็นคำถามอมตะ ซึ่งหมายถึงว่า ไม่ว่าผมจะไปพูดที่เวทีไหน หรือทำงานให้องค์กรใดก็แล้วแต่ จะต้องมีคนถามคำถามทำนองนี้เป็นประจำ

ทุกวันนี้คนพูดถึง คนเก่งคนดี (talents) กันเยอะ หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง talent management เรียกได้ว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งสงครามแย่งชิงคนเก่งคนดี (War of Talents) หลายองค์กรหมดเงินหมดทองไปมากมายในการสรรหา และพัฒนาคนเก่งคนดีขององค์กรแต่แล้วก็ไม่สามารถเก็บพวกเขาไว้ได้ ประมาณว่า ใช้ยังไม่ทันคุ้มก็ไปซะแล้ว

ก่อนที่เราจะพูดถึงวิธีการรักษาคนเหล่า นี้ไว้ ลองมาดูกันก่อนว่าแล้วอะไรล่ะ เป็นปัจจัยที่ทำให้คนเหล่านี้หนีหายไปจากองค์กร

ปัจจัยสำคัญที่หลายๆ องค์กรมองข้าม คือเรื่องของหัวหน้างาน ผมขออนุญาตอ้างถึงคำพูดของ Jack Welch อดีต CEO ของ General Electric ที่เคยพูดไว้ว่า...ไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่า การเอาพนักงานดีๆ ไปไว้กับหัวหน้างานที่ไม่ได้เรื่อง (deadwood) เพราะผลที่องค์กรจะได้รับ ไม่ใช่พัฒนาการที่ดีขึ้นของหัวหน้างานที่ไม่ได้เรื่อง แต่กลับเป็นการจากไปของพนักงานดีๆ ต่างหาก ยิ่งในปัจจุบัน คนทำงานยุคใหม่หันมาให้ความสนใจกับผลการทำงานของตนเองมากขึ้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผลการทำงานของเขาออกมาดีได้นั้น คือการได้รับการพัฒนา และการได้รับข้อมูลป้อนกลับจากหัวหน้า

ไม่ว่า จะเป็นคำติ หรือคำชม แต่คนส่วนมาก (โดยเฉพาะคนไทย) ชมไม่ค่อยเป็น เป็นแต่ติ (แถมติแบบรุนแรงด้วย) ทั้งนี้เพราะการยึดติดอยู่กับความคิดที่ว่าชมมากแล้วเหลิง และติเพื่อก่อ ซึ่งจริงๆ แล้ว คนส่วนมากแปลความหมายผิด คำว่าชมมากแล้วเหลิง ไม่ได้แปลว่าไม่ให้ชมเลย แต่หมายถึงการไม่ชมพร่ำเพรื่อ ส่วนติเพื่อก่อ แปลว่าการติอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แบบหักหาญน้ำใจกัน

จากการวิจัยของ 3 องค์กรดัง อย่าง Hay Group ในปี 2005 McKinsey & Co. ในปี 2006 และ Towers Perrin ในปี 2007 ถึงสาเหตุที่ทำให้พนักงานจากองค์กรไป ได้ข้อสรุปตรงกันดังนี้ คือ

1. การได้รับข้อมูลป้อนกลับ และการโค้ชที่ไม่เพียงพอ
2. ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง
3. การให้รางวัล ผลตอบแทน รวมถึงการชมเชยในการทำงานที่น้อยเกินไป
4. ความรู้สึกว่าองค์กรเห็นความสำคัญในตัวเขา ที่แทบจะหาไม่ได้


ซึ่ง จะเห็นได้ว่าสาเหตุทั้ง 4 ประการ มีผลมาจากทักษะ และความสามารถในการบริหารจัดการของหัวหน้างานทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กรจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ และความสามารถของหัวหน้างานให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้รักษาพนักงานที่เก่งๆ ดีๆ ให้อยู่กับองค์กรต่อไปนานๆ

เพราะ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ผมขอยืนยัน นั่งยัน และนอนยัน ในคำพูดที่มักได้ยินกันคุ้นหูว่าคนเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่จากไปเพราะหัวหน้างาน (People join organization but leave their boss)

ทักษะ ที่หัวหน้างานในยุคปัจจุบันควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม แบบเรียกว่าเป็นไฟลต์บังคับ ได้แก่

1.ภาวะผู้นำ (leadership)
เมื่อ พูดถึงภาวะผู้นำ เรามักพบว่าต่างคนต่างให้คำจำกัดความกันไปหลากหลาย สำหรับผม ผมชอบคำจำกัดความที่สั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความของนักคิดตะวันตกอย่าง Steven Covey ซึ่งบอกไว้ว่าผู้นำมีหน้าที่อย่างน้อย 4 อย่างคือ คอยชี้ทาง (pathfinding) จัดสรรแบ่งงาน (aligning) มอบหมายให้อำนาจ (empowering) และสุดท้าย ซึ่งผมคิดว่าสำคัญที่สุดและทำยากที่สุด คือ เป็นตัวอย่างที่ดี (modeling) เพราะสามอย่างแรกนั้นพอสอนกันได้ แต่เรื่องสุดท้ายต้องอาศัยจิตสำนึกของแต่ละคน

2.การสื่อสาร (communication)

การสื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอันหนึ่งที่ หัวหน้างานที่ดีควรมี แต่ปัญหาคือในสภาพความเป็นจริง การสื่อสารมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามไป ถ้าลองมองเข้าไปดูในทุกๆ องค์กรจะพบว่าหลักสูตรการอบรมส่วนใหญ่ที่สอนเกี่ยวกับการสื่อสาร จะสอนแต่พนักงานเด็กๆ เรามักไม่ค่อยเห็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับการสื่อสารที่จัดให้กับหัวหน้างาน หรือผู้บริหารมากนัก

แต่ผมสังเกตว่าปัญหาในเรื่องการสื่อสารส่วน ใหญ่ในองค์กร มักไม่ได้มาจากเด็ก ส่วนมากมาจากผู้ใหญ่ เวลาผมไปทำงานโครงการที่ปรึกษาในหลาย ๆ องค์กร สิ่งแรกๆ ที่มักจะทำคือการเก็บข้อมูลจากพนักงาน และสิ่งที่ไม่ค่อยพลาด มักได้ยินเสียงบ่นด่าจากพนักงานเสมอๆ เรื่องหนึ่งคือการสื่อสารของหัวหน้างาน หรือผู้บริหาร ตั้งแต่ พูดมากไป พูดเยอะไป พูดวกวน พูดไม่รู้เรื่อง พูดแรง พูดเสียดสี พูดให้หมดกำลังใจ ฯลฯ

นอกจากการพูด ทักษะในการสื่อสารอีกเรื่องที่ควรอย่างมากที่จะต้องพัฒนาให้กับหัวหน้างาน และผู้บริหารเพิ่มเติมคือทักษะในการฟัง เพราะหัวหน้าส่วนใหญ่ฟังไม่ค่อยเป็น จึงไม่ค่อยได้ฟัง

3.ทักษะในเรื่องคน (people competency)

คุณ ทราบหรือไม่ว่า 70% ของบุคลากรที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นเพราะความรู้ความสามารถในงาน และผลงานในอดีต ซึ่งเป็นทักษะเรื่องงาน (task) และ 80% ของบุคลากรที่ถูกให้ออกจากงาน หรือถูกปรับลดตำแหน่ง เป็นเพราะขาดความสามารถในการบริหารจัดการคน ซึ่งเป็นทักษะเรื่องคน (People) (บทวิจัยของ James M. Kouzes & Barry Z. Posner, The Leadership Challenge, 3rd Edition, August 7, 2002)

ดังนั้นจึงขอสรุปง่ายๆ ได้ว่าคนส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพราะเก่งงาน แต่ล้มเหลว และต้องลงจากตำแหน่งเพราะไม่เก่งคน

องค์กรจำนวนมาก พัฒนาหัวหน้างานหลังจากที่เขา หรือเธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่บุญกุศลของแต่ละคนว่าจะช้า หรือเร็วแค่ไหน บางคนรอไม่กี่วัน หลังจากโปรโมตก็ได้รับการพัฒนา แต่บางคนต้องรอชั่วชีวิต ส่วนบางองค์กรถึงแม้จะเป็นส่วนน้อย (แต่ก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองไทย) เลือกที่จะพัฒนา (ว่าที่) หัวหน้างานก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่ง แต่ก็ยังมีองค์กรอีกหลายหลายๆ องค์กรไม่เคยแม้แต่คิดว่าต้องพัฒนาหัวหน้างาน (never) ใครที่เผอิญไปอยู่ในองค์กรประเภทนี้ก็ซวยไป

4.การติดตาม งาน (monitoring ability)

ทักษะหนึ่งที่หัวหน้าคนไทยขาดหายไปคือ ทักษะในการติดตามงาน หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการมอบหมายงาน (บางคนอาจมีปัญหามอบหมายงานมากเกินไปด้วยซ้ำ คือ มอบอย่างเดียว ไม่เคยทำเองเลย แบบนี้บางทีเราเรียกว่าโบ้ย) แต่งานส่วนใหญ่ที่มอบหมายไป มักมีปัญหาไม่ค่อยกลับมา หรือกลับมาไม่ทันเวลาที่กำหนด เข้าข่ายมอบหาย ไม่ใช่มอบหมาย

ซึ่งต้นตอของปัญหาอยู่ที่หัวหน้าไม่ได้ติดตามอย่าง ใกล้ชิด การพัฒนา และฝึกอบรมส่วนใหญ่ที่พูดเรื่องการมอบหมายงาน (delegation) ล้วนพูดถึงวิธีการมอบหมายงานที่ดี แต่ไม่เห็นมีหลักสูตรไหนเลยสอนเรื่องการติดตามงานที่ดี

ในภาษา อังกฤษมีคำพูดสอนใจที่มักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า งานอะไรก็ตามที่ถูกติดตามสอบถาม งานนั้นจะเสร็จก่อน (What gets monitored gets done) ดังนั้น จึงมีคำพูดต่อมาทีเล่นทีจริงว่า ดังนั้น ความสามารถของหัวหน้าคือความสามารถในการติดตามงาน (Ability of Manager is Ability to Monitor)

5 นำ และบริหารการเปลี่ยนแปลง (Leading & Managing Change)

ผมมั่นใจว่าทุกๆ ท่านต้องเคยได้ยินคำพูดที่ว่าสิ่งที่แน่นอน คือความไม่แน่นอน อันมีความหมายเป็นนัยว่า การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และทุกเวลา ไม่มีอะไรแน่นอน ดังนั้นทักษะในเรื่องการบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นทักษะที่หัวหน้างานทุกวันนี้ต้องมี ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไหน หรือวงการใด

ล่าสุดพูดไปท่านผู้อ่านอาจไม่เชื่อว่า เมื่อหลายเดือนก่อนผมได้รับการติดต่อจากวัดชื่อดังแห่งหนึ่ง ให้ไปถวายความรู้ใหัก้บพระผู้ใหญ่ในวัดเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management) ตอนแรกคิดว่าฟังผิด แต่พอได้เข้าไปคุยพระอาจารย์จึงทราบว่า วัดก็เปลี่ยนไปเยอะ พระ ปรับตัวไม่ทันเลยต้องเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลง

ก่อนไปถวายความรู้ ก็ต้องไปทำการบ้าน จึงไปค้นคว้าอ่านตำรับตำราที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลายเล่ม และพบว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสสั่งสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลงไว้ตั้งแต่สมัยพระ พุทธกาลแล้วเช่นกันว่าสัพเพ สังขารา อนิจจา แปลว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

ดังนั้น ถ้าหากจะตอบคำถามที่จั่วหัวไว้ข้างต้นว่า จะรักษาคนดีคนเก่งอย่างไรให้อยู่กับองค์กรนานๆ ผมขอลองมองต่างมุมว่า บางทีอาจไม่ใช่เงิน ไม่ใช่ตำแหน่งหรอก ที่จะล่อหรือไล่ให้พนักงานเหล่านี้อยู่หรือไป อาจเป็นหัวหน้างานต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญ

ดังนั้น ถ้าเราจะรักษาคนเก่งคนดี ลองพัฒนาหัวหน้าของเขาให้เก่งขึ้นดีขึ้นสักหน่อยจะดีไหม เผื่อจะได้เกาให้ถูกที่คัน

ภาวะผู้นำความเป็นเถ้าแก่

คุณมีลักษณะบ่งบอกความเป็นเถ้าแก่ 7 อย่างในตัวคุณหรือไม่? article 
ถ้าคุณมี ลักษณะเหล่านี้ในตัวคุณ มันจะคอยเป็นแรงผลักดันให้คุณเริ่มทำธุรกิจและจะนำคุณไปสู่ความสำเร็จ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณครอบครองสัญชาติญาณนักธุรกิจ เพราะมันไม่มีทางจะรู้ได้อย่างแน่ชัด แต่อย่างน้อยผมพบปัจจัยพื้นฐานหลายสิ่งหลายอย่างในความเป็นปัจเจกบุคคลและ จากพื้นฐานครอบครัวของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจที่ส่งผลให้เกิด ลักษณะทั้ง 7 ประการ

อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องมีลักษณะผู้ประกอบการครบทั้ง 7 ข้อ เพื่อการจะทำธุรกิจให้สำเร็จ แต่ถ้าคุณมีลักษณะที่ว่านั้นมากเท่าไหร่คุณก็จะใกล้เคียงความเป็นผู้ประกอบ การที่ประสบผลสำเร็จมากเท่านั้น

1. บรรพบุรุษของคุณมีธุรกิจเป็นของตัวเอง บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจมีแนวโน้มที่บรรพบุรุษหรือคนใกล้ ตัวของเขาจะทำอาชีพส่วนตัว เป็นที่ยอมรับกันดีว่า การหางานทำโดยการเป็นพนักงานบริษัทนั้นง่ายกว่าการริเริ่มทำธุรกิจด้วยตัว เอง แต่สำหรับผู้ที่เลือกจะทำธุรกิจส่วนตัว บ่อยครั้งที่เขาเหล่านั้นเห็นตัวอย่างมาจากคนในครอบครัว

2. คุณไม่ใช่พนักงานที่ดีนัก ขออภัยที่ไม่มีคำพูดหวานๆ คนที่ทำธุรกิจส่วนตัวมักจะเคยถูกให้ออกจากงานหรือเคยทำงานมามากกว่าหนึ่งที่ ผมไม่ได้หมายถึงกรณีที่คุณถูกไล่ออกเนื่องจากทำงานไม่มีประสิทธิภาพหรือ เปลี่ยนงานเพราะต้องการค่าจ้างที่สูงขึ้น แต่เป็นเพราะว่าคุณต้องการ
อิสระ และคุณตัดสินใจที่จะลาออกด้วยตัวของคุณเอง เพราะในใจของคุณคิดว่า ไม่มีใครสามารถปกครองและควบคุมให้คุณทำงานได้ดีกว่าตัวของคุณเอง

3. คุณเข้าความหมายของคำว่า "ความมั่นคงในหน้าที่การงาน" ผมรู้สึกอิจฉาคนบางกลุ่มที่ทำงานให้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นเวลากว่า 25 ถึง30 ปี ดูแล้วช่างมีความสุขเสียจริงๆ แต่คุณรู้จักกับคนแบบนั้นสักกี่คนล่ะ คนผู้ซึ่งทำงานให้กับบริษัทเดิมได้นานๆ ในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยน
แปลงอย่าง รวดเร็วอย่างในปัจจุบัน คำว่า "ความมั่นคงในหน้าที่การงาน" ดูเหมือนความฝันที่พร้อมจะสลายไปทุกเมื่อ

ผู้ประกอบการรายหนึ่งพูด ให้ผมฟังว่า "ถ้าผมทำงานให้ลูกค้าแล้วหัวหน้าของผมรู้สึกไม่พอใจ หรือหัวหน้าคิดว่าลูกค้าไม่ชอบผม, หรือผมเป็นตัวการทำให้ธุรกิจที่เขาดูแลอยู่ขาดทุน หรือด้วยเหตุผลใดๆก็แล้วแต่ ผมก็จะลาออก ถ้าความมั่นคงในอาชีพของผมขึ้นอยู่กับคนๆหนึ่ง บริษัทใด
บริษัทหนึ่ง แต่ถ้าลูกค้าสักคนหนึ่งไม่ชอบผม หรือไม่ทำการค้าด้วย หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมก็ยังคงรู้สึกมั่นคง เพราะผมยังมีลูกค้าคนอื่น หรือถ้าจะยืมคำพูดของนักสังเกตการณ์ธุรกิจ(ผมคิดว่าเขาชื่อ Dilbert) "มีลูกค้ามากเรื่องสักร้อยคน ยังดีเสียกว่ามีเจ้านายงี่เง่าเพียงคนเดียว"

4. คุณจะให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้หรือเปล่า หรือ คุณยังอยู่เฉยๆ บางครั้งการจะลงทุนอะไรสักอย่างเป็นผลมาจากความรู้สึกที่คุณคิดว่าคุณประสบ ความสำเร็จแล้ว คุณมาถึงยอดเขา คุณมองไปรอบๆ และเริ่มคิดว่า "ฉันจะทำอะไรต่อไป?" ผมไม่เถียงว่าการประสบความสำเร็จตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นสิ่งที่ วิเศษ แต่นั่นอาจทำให้คนประเภทนั้นคลั่งได้ถ้ารู้ว่าไม่มีอะไรที่ท้าทายความสามารถ อีกต่อไปแล้ว ขณะที่ร่างกายและความคิดยังมีพลังอีกเหลือเฟือ

ในทาง ตรงกันข้ามแรงขับให้ทำสิ่งใหม่ๆ อาจจะมาจากความคิดที่ว่า คุณอยู่ท่ามกลางคนธรรมดาๆทั่วไปแทนที่จะได้ยืนอยู่แถวหน้า เพราะความหวาดกลัวการอยู่เฉยๆ จะเป็นแรงผลักดันที่มหาศาล โดยเฉพาะถ้าคุณคิดว่าคุณมีแนวคิดที่จะทำอะไรสักอย่างที่คุณคิดว่ามันช่างน่า สนใจ
และมีศักยภาพที่จะทำกำไรได้

5. คุณเข้าใจความเป็นไปของตลาด อย่าพูดถึงไอเดียธุรกิจที่คิดว่าเยี่ยมยอดของคุณ ถ้าคุณยังไม่เคยศึกษาตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการที่คุณคิดจะผลิตออกมาถ้าลอง ไปถามผู้อยู่เบื้องหลังธุรกิจดอตคอมช่วงสักสองสามปีก่อนหน้านี้ คำว่า "เยี่ยม" ของเขา อาจไม่ได้หมายถึง "กำไร" ก็ได้เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งคิดทำธุรกิจเลย ถ้าคุณยังมองตลาดไม่ออก

6. คุณมีสมาชิกในครอบครัวให้การสนับสนุน การเริ่มต้นธุรกิจเป็นอะไรที่ตึงเครียด แม้คุณจะอยู่ท่ามกลางคนที่คอยให้กำลังใจก็ตาม ดังนั้นการเริ่มต้นโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากคู่ครองของคุณ, สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนฝูง เป็นอะไรที่ชวนให้อึดอัดมาก

7. คุณรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองดี คุณอาจประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการเก่ง คุณอาจบริหารเงินเก่ง คุณอาจจะมีความคิดสร้างสรรค์อย่างหาตัวจับยาก หรือ คุณมีความรู้เชิงเทคนิคที่ก้าวล้ำกว่าใคร

คุณมีความสามารถที่กล่าวมา บ้างหรือเปล่า คงเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะทำอะไรได้ดีเลิศไปเสียทุกๆอย่าง หรือในทุกเรื่องที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจ ลืม

เสียเถอะคำว่า "กระบี่เดียวดาย" ไม่ว่าปรัชญาการทำงานแบบ "ข้ามาคนเดียว" ของคุณจะหมายถึงอะไรก็แล้วแต่ จงจำไว้ว่าในที่สุดแล้วคุณจำเป็นต้องหาคนมาช่วยงานของคุณ

การมีคนคอย ช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน, พันธมิตรหรือที่ปรึกษา ผู้ซึ่งคอยช่วยเหลือคุณทำสิ่งที่คุณไม่ถนัด ความช่วยเหลือเหล่านี้เป็นสิ่งชี้

วัดความสำเร็จในธุรกิจของคุณ Ernesto Sirolli เขียนไว้ใน "Ripples From The Zamberi" ว่า "ไม่มีเจ้าของกิจการคนไหนประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของตัวเองล้วนๆ คนที่รู้จักบริหารคนอื่นให้ช่วยทำงานให้ต่างหากจึงจะเป็นผู้ชนะ"

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ( Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation )

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ( Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation )



Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลใน การค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เป็นความจริงที่จะกล่าวว่ากระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพ ของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจใน สิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ

Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้ จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ

ลำดับขั้น ความต้องการของมนุษย์ ( The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation ) Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็น ลำดับดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )
4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )
ลำดับ ขั้นความต้องการของมาสโล มีการเรียงลำดับขั้นความต้องการที่อยู่ในขั้นต่ำสุด

จะต้องได้รับ ความพึงพอใจเสียก่อนบุคคลจึงจะสามารถผ่านพ้นไปสู่ความต้องการที่อยู่ในขั้น สูงขึ้นตามลำดับดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้

1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs ) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน


ที่ มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดที่สุด จากความต้องการทั้งหมดเป็นความต้องการที่ช่วยการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ออกซิเจน การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ ความต้องการความอบอุ่น ตลอดจนความต้องการที่จะถูกกระตุ้นอวัยวะรับสัมผัส แรงขับของร่างกายเหล่านี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความอยู่รอดของร่างกายและของ อินทรีย์ ความพึงพอใจที่ได้รับ ในขั้นนี้จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการในขั้นที่สูงกว่าและถ้าบุคคลใดประสบ ความล้มเหลวที่จะสนองความต้องการพื้นฐานนี้ก็จะไม่ได้รับการกระตุ้น ให้เกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ถ้าความต้องการอย่างหนึ่งยังไม่ได้รับความพึงพอใจ บุคคลก็จะอยู่ภายใต้ความต้องการนั้นตลอดไป ซึ่งทำให้ความต้องการอื่นๆ ไม่ปรากฏหรือกลายเป็นความต้องการระดับรองลงไป เช่น คนที่อดอยากหิวโหยเป็นเวลานานจะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลก ได้ บุคคลเช่นนี้จะหมกมุ่นอยู่กับการจัดหาบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้มีอาหารไว้รับ ประทาน Maslowอธิบายต่อไปว่าบุคคลเหล่านี้จะมีความรู้สึกเป็นสุขอย่างเต็มที่เมื่อ มีอาหารเพียงพอสำหรับเขาและจะไม่ต้องการสิ่งอื่นใดอีก ชีวิติของเขากล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการรับประทาน สิ่งอื่นๆ นอกจากนี้จะไม่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพ ความรัก ความรู้สึกต่อชุมชน การได้รับการยอมรับ และปรัชญาชีวิต บุคคลเช่นนี้มีชีวิตอยู่เพื่อที่จะรับประทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง การขาดแคลนอาหารมีผลต่อพฤติกรรม ได้มีการทดลองและการศึกษาชีวประวัติเพื่อแสดงว่า ความต้องการทางด้านร่างกายเป็นเรื่องสำคัญที่จะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และได้พบผลว่าเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงของพฤติกรรมซึ่งมีสาเหตุจากการขาด อาหารหรือน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างคือ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในค่าย Nazi ซึ่งเป็นที่กักขังเชลย เชลยเหล่านั้นจะละทิ้งมาตรฐานทางศีลธรรมและค่านิยมต่างๆ ที่เขาเคยยึดถือภายใต้สภาพการณ์ปกติ เช่น ขโมยอาหารของคนอื่น หรือใช้วิธีการต่างๆ ที่จะได้รับอาหารเพิ่มขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งในปี ค.ศ. 1970 เครื่องบินของสายการบิน Peruvian ตกลงที่ฝั่งอ่าวอเมริกาใต้ผู้ที่รอดตายรวมทั้งพระนิกาย Catholic อาศัยการมีชีวิตอยู่รอดโดยการกินซากศพของผู้ที่ตายจากเครื่องบินตก จากปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์เกิดความหิวขึ้น จะมีอิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามนุษย์มีความต้องการทางด้านร่างกายเหนือความต้องการ อื่นๆ และแรงผลักดันของความต้องการนี้ได้เกิดขึ้นกับบุคคลก่อนความต้องการอื่นๆ

2. ความต้องการความปลอดภัย(Safety needs)


เมื่อความต้องการทางด้าน ร่างกายได้รับความพึงพอใจแล้วบุคคลก็จะพัฒนาการไปสู่ขั้นใหม่ต่อไป ซึ่งขั้นนี้เรียกว่าความต้องการความปลอดภัยหรือความรู้สึกมั่นคง (safety or security) Maslow กล่าวว่าความต้องการความปลอดภัยนี้จะสังเกตได้ง่ายในทารกและในเด็กเล็กๆ เนื่องจากทารกและเด็กเล็กๆ ต้องการความช่วยเหลือและต้องพึ่งพออาศัยผู้อื่น ตัวอย่าง ทารกจะรู้สึกกลัวเมื่อถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือเมื่อเขาได้ยินเสียงดังๆ หรือเห็นแสงสว่างมาก ๆ แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้จะทำให้ความรู้สึกกลัวหมดไป ดังคำพูดที่ว่า “ฉันไม่กลัวเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบอีกต่อไปแล้ว เพราะฉันรู้ธรรมชาติในการเกิดของมัน” พลังความต้องการความปลอดภัยจะเห็นได้ชัดเจนเช่นกันเมื่อเด็กเกิดความเจ็บ ป่วย ตัวอย่างเด็กที่ประสบอุบัติเหตุขาหักก็ตะรู้สึกกลัวและอาจแสดงออกด้วยอาการ ฝันร้ายและความต้องการที่จะได้รับความปกป้องคุ้มครองและการให้กำลังใจ

Maslow กล่าวเพิ่มเติมว่าพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างไม่กวดขันและตามใจมากจนเกินไปจะ ไม่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าได้รับความพึงพอใจจากความต้องการความปลอดภัย การให้นอนหรือให้กินไม่เป็นเวลาไม่เพียง แต่ทำให้เด็กสับสนเท่านั้นแต่ยังทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา สัมพันธภาพของพ่อแม่ที่ไม่ดีต่อกัน เช่น ทะเลาะกันทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่า ตายจากไป สภาพการณ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อความรู้ที่ดีของเด็ก ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่มั่นคง ไม่สามารถคาดการณ์ได้และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ปลอดภัย

ความต้องการ ความปลอดภัยจะยังมีอิทธิพลต่อบุคคลแม้ว่าจะผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว แม้ในบุคคลที่ทำงานในฐานะเป็นผู้คุ้มครอง เช่น ผู้รักษาเงิน นักบัญชี หรือทำงานเกี่ยวกับการประกันต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หาความปลอดภัยด้วยกันทั้งสิ้น ศาสนาและปรัชญาที่มนุษย์ยึดถือทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง เพราะทำให้บุคคลได้จัดระบบของตัวเองให้มีเหตุผลและวิถีทางที่ทำให้บุคคล รู้สึก “ปลอดภัย” ความต้องการความปลอดภัยในเรื่องอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สงคราม อาชญากรรม น้ำท่วม แผ่นดินไหว การจลาจล ความสับสนไม่เป็นระเบียบของสังคม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับสภาพเหล่านี้

Maslow ได้ให้ความคิดต่อไปว่าอาการโรคประสาทในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคประสาทชนิดย้ำคิด-ย้ำทำ (obsessive-compulsive neurotic) เป็นลักษณะเด่นชัดของการค้นหาความรู้สึกปลอดภัย ผู้ป่วยโรคประสาทจะแสดงพฤติกรรมว่าเขากำลังประสบเหตุการณ์ทที่ร้ายกาจและ กำลังมีอันตรายต่างๆ เขาจึงต้องการมีใครสักคนที่ปกป้องคุ้มครองเขาและเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งเขาสามารถจะพึ่งพาอาศัยได้

3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs)


ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของเป็นความต้องการขั้นที่ 3 ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ อื่น เช่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือกับผู้อื่น สมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับบุคคล กล่าวคือ บุคคลจะรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อถูกทอดทิ้งไม่มีใครยอมรับ หรือถูกตัดออกจากสังคม ไม่มีเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนเพื่อนๆ ญาติพี่น้อง สามีหรือภรรยาหรือลูกๆ ได้ลดน้อยลงไป นักเรียนที่เข้าโรงเรียนที่ห่างไกลบ้านจะเกิดความต้องการเป็นเจ้าของอย่าง ยิ่ง และจะแสวงหาอย่างมากที่จะได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน

Maslow คัดค้านกลุ่ม Freud ที่ว่าความรักเป็นผลมาจากการทดเทิดสัญชาตญาณทางเพศ (sublimation) สำหรับ Maslow ความรักไม่ใช่สัญลักษณ์ของเรื่องเพศ (sex) เขาอธิบายว่า ความรักที่แท้จริงจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่ดี ความสัมพันธ์ของความรักระหว่างคน 2 คน จะรวมถึงความรู้สึกนับถือซึ่งกันและกัน การยกย่องและความไว้วางใจแก่กัน นอกจากนี้ Maslow ยังย้ำว่าความต้องการความรักของคนจะเป็นความรักที่เป็นไปในลักษณะทั้งการ รู้จักให้ความรักต่อผู้อื่นและรู้จักที่จะรับความรักจากผู้อื่น การได้รับความรักและได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิด ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า บุคคลที่ขาดความรักก็จะรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่ามีความรู้สึกอ้างว้างและเคียด แค้น กล่าวโดยสรุป Maslow มีความเห็นว่าบุคคลต้องการความรักและความรู้สึกเป็นเจ้าของ และการขาดสิ่งนี้มักจะเป็นสาเหตุให้เกิดความข้องคับใจและทำให้เกิดปัญหาการ ปรับตัวไม่ได้ และความยินดีในพฤติกรรมหรือความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจในลักษณะต่างๆ

สิ่ง ที่ควรสังเกตประการหนึ่ง ก็คือมีบุคคลจำนวนมากที่มีความลำบากใจที่จะเปิดเผยตัวเองเมื่อมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศตรงข้ามเนื่องจากกลัวว่าจะถูกปฏิเสธความรู้สึก เช่นนี้ Maslow กล่าวว่าสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การได้รับความรักหรือการขาดความรักในวัยเด็ก ย่อมมีผลกับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการมีทัศนคติในเรื่องของ ความรัก Maslow เปรียบเทียบว่าความต้องการความรักก็เป็นเช่นเดียวกับรถยนต์ที่สร้างขึ้นมา โดยต้องการก๊าซหรือน้ำมันนั่นเอง (Maslow 1970 p. 170)

4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)


เมื่อความต้องการได้รับความรักและการให้ความรักแก่ผู้อื่นเป็นไปอย่างมี เหตุผลและทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจแล้ว พลังผลักดันในขั้นที่ 3 ก็จะลดลงและมีความต้องการในขั้นต่อไปมาแทนที่ กล่าวคือมนุษย์ต้องการที่จะได้รับความนับถือยกย่องออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) ส่วนลักษณะที่ 2 เป็นความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others)

4.1 ความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และมีความเป็นอิสระ ทุกคนต้องการที่จะรู้สึกว่าเขามีคุณค่าและมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จ ในงานภาระกิจต่างๆ และมีชีวิตที่เด่นดัง

4.2 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความต้องการมีเกียรติยศ การได้รับยกย่อง ได้รับการยอมรับ ได้รับความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน และเป็นที่ชื่นชมยินดี มีความต้องการที่จะได้รับความยกย่องชมเชยในสิ่งที่เขากระทำซึ่งทำให้รู้สึก ว่าตนเองมีคุณค่าว่าความสามารถของเขาได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

ความ ต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมชาติของลำดับชั้นในเรื่องความต้องการด้านแรงจูงใจตาม ทัศนะของ Maslow ในเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตนั่นคือ บุคคลจะแสวงหาความต้องการได้รับการยกย่องก็เมื่อภายหลังจาก ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของได้รับการตอบสนองความพึงพอใจของเขา แล้ว และ Maslow กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่บุคคลจะย้อนกลับจากระดับขั้นความต้องการ ในขั้นที่ 4 กลับไปสู่ระดับขั้นที่ 3 อีกถ้าความต้องการระดับขั้นที่ 3 ซึ่งบุคคลได้รับไว้แล้วนั้นถูกกระทบกระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดังตัวอย่างที่ Maslow นำมาอ้างคือหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเธอคิดว่าการตอบสนองความต้องการความรักของเธอ ได้ดำเนินไปด้วยดี แล้วเธอจึงทุ่มเทและเอาใจใส่ในธุรกิจของเธอ และได้ประสบความสำเร็จเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและอย่างไม่คาดฝันสามีได้ ผละจากเธอไป ในเหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏว่าเธอวางมือจากธุรกิจต่างๆ ในการที่จะส่งเสริมให้เธอได้รับความยกย่องนับถือ และหันมาใช้ความพยายามที่จะเรียกร้องสามีให้กลับคืนมา ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของเธอเป็นตัวอย่างของความต้องการความรักซึ่งครั้งหนึ่ง เธอได้รับแล้ว และถ้าเธอได้รับความพึงพอในความรักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับไปเกี่ยว ข้องในโลกธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง

ความพึงพอใจของความต้องการได้รับการ ยกย่องโดยทั่วๆ ไป เป็นความรู้สึกและทัศนคติของความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การมีพละกำลัง การมีความสามารถ และความรู้สึกว่ามีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์และเป็นบุคคลที่มีความจำเป็นต่อ โลก ในทางตรงกันข้ามการขาดความรู้สึกต่างๆ ดังกล่าวนี้ย่อมนำไปสู่ความรู้สึกและทัศนคติของปมด้อยและความรู้สึกไม่พอ เพียง เกิดความรู้สึกอ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการรับรู้ตนเองในทางนิเสธ (negative) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกขลาดกลัวและรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์และสิ้น หวังในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของชีวิต และประเมินตนเองต่ำกว่าชีวิตความเป็นอยู่กับการได้รับการยกย่อง และยอมรับจากผู้อื่นอย่างจริงใจมากกว่าการมีชื่อเสียงจากสถานภาพหรือการได้ รับการประจบประแจง การได้รับความนับถือยกย่องเป็นผลมาจากความเพียรพยายามของบุคคล และความต้องการนี้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าบุคคลนั้นต้องการคำชมเชยจากผู้ อื่นมากกว่าการยอมรับความจริงและเป็นที่ยอมรับกันว่าการได้รับความนับถือ ยกย่อง มีพื้นฐานจากการกระทำของบุคคลมากกว่าการควบคุมจากภายนอก

5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)


ถึง ลำดับขั้นสุดท้าย ถ้าความต้องการลำดับขั้นก่อนๆ ได้ทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น Maslow อธิบายความต้องการเข้าใจตนองอย่างแท้จริง ว่าเป็นความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสม บุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ท้าทาย ความสามารถและศักยภาพของเขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับของเขาจะกระทำพฤติกรรมตรงกับความสามารถของตน กล่าวโดยสรุปการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเป็นความต้องการอย่างหนึ่งของบุคคล ที่จะบรรลุถึงวจุดสูงสุดของศักยภาพ เช่น “นักดนตรีก็ต้องใช้ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้องวาดรูป กวีจะต้องเขียนโคลงกลอน ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ก็เชื่อได้ว่าเขาเหล่านั้น เป็นคนที่รู้จักตนเองอย่างแท้จริง” Maslow ( 1970 : 46)

ความต้องการ ที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะดำเนินไปอย่างง่ายหรือเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยความเป็นจริงแล้ว Maslow เชื่อว่าคนเรามักจะกลัวตัวเองในสิ่งเหล่านี้ “ด้านที่ดีที่สุดของเรา ความสามารถพิเศษของเรา สิ่งที่ดีงามที่สุดของเรา พลังความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์” Maslow (1962 : 58)

ความต้องการ เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมิได้มีแต่เฉพาะในศิลปินเท่านั้น คนทั่วๆ ไป เช่น นักกีฬา นักเรียน หรือแม้แต่กรรมกรก็สามารถจะมีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงได้ถ้าทุกคนสามารถ ทำในสิ่งที่ตนต้องการให้ดีที่สุด รูปแบบเฉพาะของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะมีความแตกต่างอย่างกว้างขวางจาก คนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง กล่าวได้ว่ามันคือระดับความต้องการที่แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างยิ่ง ใหญ่ที่สุด

Maslow ได้ยกตัวอย่างของความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ในกรณีของนักศึกษาชื่อ Mark ซึ่งเขาได้ศึกษาวิชาบุคลิกภาพเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อเตรียมตัวเป็นนัก จิตวิทยาคลีนิค นักทฤษฎีคนอื่นๆ อาจจะอธิบายว่าทำไมเขาจึงเลือกอาชีพนี้ ตัวอย่าง เช่น Freud อาจกล่าวว่ามันสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับสิ่งที่เขาเก็บกด ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ขณะที่ Adler อาจมองว่ามันเป็นความพยายามเพื่อชดเชยความรู้สึกด้อยบางอย่างในวัยเด็ก Skinner อาจมองว่าเป็นผลจากการถูกวางเงื่อนไขของชีวิตในอดีต ขณะที่ Bandura สัมพันธ์เรื่องนี้กับตัวแปรต่างๆ ทางการเรียนรู้ทางสังคม และ Kelly อาจพิจารณาว่า Mark กำลังจะพุ่งตรงไปเพื่อที่จะเป็นบุคคลที่เขาต้องการจะเป็นตัวอย่างที่แสดงถึง การมุ่งตรงไปสู่เป้าประสงค์ในอาชีพโดยความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้ จริงและถ้าจะพิจารณากรณีของ Mark ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ถ้า Mark ได้ผ่านกาเรียนวิชาจิตวิทยาจนครบหลักสูตรและได้เขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญา เอกและในที่สุดก็ได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลีนิค สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ Mark ต่อไปก็คือ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาดังกล่าวแล้วถ้ามีบุคคลหนึ่งได้เสนองานให้เขาใน ตำแหน่งตำรวจสืบสวน ซึ่งงานในหน้าที่นีจะได้รับค่าตอบแทนอย่างสูงและได้รับผลประโยชน์พิเศษหลายๆ อย่างตลอดจนรับประกันการว่าจ้างและความมั่นคงสำหรับชีวิต เมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ Mark จะทำอย่างไร ถ้าคำตอบของเขาคือ “ตกลง” เขาก็จะย้อนกลับมาสู่ความต้องการระดับที่ 2 คือความต้องการความปลอดภัย สำหรับการวิเคราะห์ความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง Maslow กล่าวว่า “อะไรที่มนุษย์สามารถจะเป็นได้เขาจะต้องเป็นในสิ่งนั้น” เรื่องของ Mark เป็นตัวอย่างง่ายๆ ว่า ถ้าเขาตกลงเป็นตำรวจสืบสวน เขาก็จะไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

ทำไมทุกๆ คนจึงไม่สัมฤทธิผลในการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Why Can’t All People Achieve Self-Actualization) ตามความคิดของ Maslow ส่วนมากมนุษย์แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดที่ต้องการแสวงหาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ภายในตน จากงานวิจัยของเขาทำให้ Maslow สรุปว่าการรู้ถึงศักยภาพของตนนั้นมาจากพลังตามธรรมชาติและจากความจำเป็น บังคับ ส่วนบุคคลที่มีพรสวรรค์มีจำนวนน้อยมากเพียง 1% ของประชากรที่ Maslow ประมาณ Maslow เชื่อว่าการนำศักยภาพของตนออกมาใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก บุคคลมักไม่รู้ว่า ตนเองมีความสามารถและไม่ทราบว่าศักยภาพนั้นจะได้รับการส่งเสริมได้อย่างไร มนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงไม่มั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจในความสามารถของตนจึงทำ ให้หมดโอกาสเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง และยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มาบดบังพัฒนาการทางด้านความต้องการของบุคคล ดังนี้

อิทธิพลของวัฒนธรรม ตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของสังคมมีต่อการเข้าใจตนเอง คือแบบพิมพ์ของวัฒนธรรม (cultural stereotype) ซึ่งกำหนดว่าลักษณะเช่นไรที่แสดงความเป็นชาย (masculine) และลักษณะใดที่ไม่ใช่ความเป็นชาย เช่นจัดพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความเมตตากรุณา ความสุภาพและความอ่อนโยน สิ่งเหล่านี้วัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะพิจารณาว่า “ไม่ใช่ลักษณะของความเป็นชาย” (unmasculine) หรือความเชื่อถือของวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่มีคุณค่า เช่น ยึดถือว่าบทบาทของผู้หญิงขึ้นอยู่กับจิตวิทยาพัฒนาการของผู้หญิง เป็นต้น การพิจารณาจากเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวนี้เป็นเพียงการเข้าใจ “สภาพการณ์ที่ดี” มากกว่าเป็นเกณฑ์ของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

ประการ สุดท้าย Maslow ได้สรุปว่าการไม่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเกิดจากความพยายามที่ไม่ถูกต้องของ การแสวงหาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การที่บุคคลสร้างความรู้สึกให้ผู้อื่นเกิดความพึงพอใจตนโดยพยายามหลีกเลี่ยง หรือขจัดข้อผิดพลาดต่างๆ ของตน บุคคลเช่นนี้จึงมีแนวโน้มที่จะพิทักษ์ความมั่นคงปลอดภัยของตน โดยแสดงพฤติกรรมในอดีตที่เคยประสบผลสำเร็จ แสวงหาความอบอุ่น และสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมขัดขวางวิถีทางที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง