Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

แผนธุรกิจควรมีอะไร ข้อผิดพลาดการเขียนแผน

แนะวิธีเขียนแผนธุรกิจแบบมืออาชีพ

แผนธุรกิจเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะ ก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็น ผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการ ออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ เปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทางที่จะช่วยชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ทีละขั้นตอนใน กระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งในเรื่องการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์การดำเนิน ธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควร ระวังหากไม่มีแผนธุรกิจแล้วก็ไม่ต่างจากการเดินเรือโดยไม่มีเข็มทิศ อีกทั้งแผนธุรกิจถือเป็นหัวใจของการทำ เรื่องเพื่อขอกู้เงิน จากสถาบันการเงิน ซึ่งหากไม่มีแผนธุรกิจก็คงไม่ได้เงินกู้เป็นแน่ และอย่าคิดว่าคุณเขียนแผน ธุรกิจไม่เป็น เพราะถ้าหากคุณต้องการทำธุรกิจ SMEs คุณเท่านั้นที่จะรู้เรื่องมากกว่าใครๆ

 แผนธุรกิจควรมีอะไรบ้าง

แผนธุรกิจที่ดีย่อมช่วยในการวัดถึงความเป็นไปได้ของกิจการที่จะลงทุน ตัวแผนจึงควรประกอบด้วย การวิเคราะห์อย่างละเอียดในตัวแปรหรือปัจจัยดังต่อไปนี้

1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย
2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง
3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทำ
4. นโยบายการตลาด
5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องใช้
6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุนจำนวนเงินลงทุนที่ Iต้องการ และกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้มาหรือใช้ไป

แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้

1. การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง
2. ธุรกิจนี้น่าลงทุนหรือไม่
3. ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน
4. ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด
5. สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด
6. สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
7. วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้าตัวนั้น มีทางเลือกอื่นๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่
8. หน้าที่ต่างๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดี และ เหมาะสมเพียงใด
9. จำนวนคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่



ข้อผิดพลาดหมายเลข 1 : ไม่มีบท หรือ ส่วนวิเคราะห์คู่แข่งในแผนธุรกิจ
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มักจะต้องการแสดงให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน เห็นว่า ธุรกิจของตนเองนั้นมีความโดดเด่น และ ละเลยที่จะไม่นำคู่แข่งที่ประสบผลสำเร็จแสดงไว้ในแผนธุรกิจ การไม่มีคู่แข่งในสายตาของผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน หมายถึง ตลาดของสินค้าหรือบริการ นั้นๆ ไม่มีความน่าสนใจ หรือ มีขนาดเล็กมาก จนไม่มีใครสนใจที่จะกระโดดลงมาแข่งขันในตลาดนั้นๆ ดังนั้นในแผนธุรกิจจำเป็นจะต้องกำหนดตำแหน่งทางการตลาด (Market Position) ที่แสดงให้เห็นว่าใครคือคู่แข่ง
ข้อผิดพลาดหมายเลข 2 : เล็งผลระยะยาวมากเกินไป แต่ไม่สนใจผลการดำเนินการในอดีต
ตามปกติแล้ว ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน จะให้ความสำคัญกับการคาดการณ์การเติบโตในอนาคตของธุรกิจที่จะร่วมทุนลง ทุน หรือ สนับสนุนทางการเงิน อย่างไรก็ตามแต่ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่บ่งชี้ ความสำเร็จในอนาคตก็คือ ความสำเร็จในอดีตของ ธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงความสำเร็จในอดีตของธุรกิจ นั้นไว้ในแผนธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงินเกิดความมั่นใจในการคาดการณ์ถึงความสำเร็จในอนาคต
ข้อผิดพลาดหมายเลข 3 : ไม่ใส่ประวัติของผู้บริหาร และบุคลากรหลักๆ
ในแผนธุรกิจ ในส่วนที่กล่าวถึงผู้บริหารและบุคลากรหลัก จำเป็นจะต้องมีประวัติที่บ่งบอกรายละเอียดของผู้บริหาร และบุคลากร รวมไปถึงการระบุอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้บริหาร และบุคลากร แผนธุรกิจที่ดีจะต้องสามารถตอบคำถามได้ว่า มีใคร บ้าง และแต่ละคนรับผิดชอบอะไร ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ค้ำประกันถึงความสำเร็จของแผนธุรกิจได้ในระดับ หนึ่ง และ ยังเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน
ข้อผิดพลาดหมายเลข 4 : ขอให้ผู้ร่วมทุน ลงนามในสัญญาไม่เปิดเผยรายละเอียดในแผนธุรกิจ
นักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่ยอมเซ็นสัญญาดังกล่าว สาเหตุเนื่องมาจาก กลยุทธ์ และ/หรือ แนวคิด ต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นความลับ แต่สิ่งอาจจะพิจารณาให้เป็นเรื่องความลับ เช่น หุ้นส่วนหลักๆ เป็นต้น แต่ในส่วนอื่นๆ เช่น ถ้าหากผู้ประกอบการยืนกรานว่า แนวคิด หรือ กลยุทธ์ ในแผนธุรกิจเป็นความลับ อาจจะทำให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน ประเมินว่า แนวคิด หรือ กลยุทธ์ นี้ ไม่มีความ โดดเด่น และง่ายต่อการเข้ามาของคู่แข่งรายอื่นๆ
ข้อผิดพลาดหมายเลข 5 : เน้นเรื่องเป็นผู้เข้าสู่ตลาดเป็นรายแรกมากเกินไป
แผนธุรกิจบางแผน เน้นเรื่องการได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรกมากเกินไป (First Mover) แต่ไม่เน้น กลยุทธ์ใน การเติบโตในระยะยาว เมื่อมีคู่แข่งรายใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาด เมื่อดำเนินธุรกิจไปได้ในระยะหนึ่ง กลยุทธ์ที่จำเป็นจะต้องระบุลงไปใน แผนธุรกิจที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมทุน หรือ สถาบันการเงิน ได้แก่ การบริหารความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer Relation anagement), การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเป็นต้น

ข้อผิดพลาดหมายเลข 6: เน้นเรื่องความโดดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีที่บริษัท หรือ ธุรกิจมีอยู่มากเกินไป
ถ้าหากจะต้องลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องระบุให้ได้ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถตอบสนอง ความต้องการกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างไร กล่าวคือ การลงทุนทุกๆ อย่างจะต้องตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามทางตรง หรือ ทางอ้อม ให้ได้ว่า ผู้ร่วมทุน จะได้อะไรจากการลงทุนในสิ่งนั้นๆ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ เนื่อง จากขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในเรื่องความต้องการ (Need) ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ดังนั้นการตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างแจ่มชัด
ผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างชัดเจน
ข้อผิดพลาดหมายเลข 7: เล็งผลเรื่องทางด้านการเงินมากเกินไป
ผู้ร่วมทุนบางราย จะพิจารณาแผนการเงินเป็นอันดับแรก โดยจะเริ่มต้นพิจารณาจากสมมุติฐานของยอดขาย และต้นทุนก่อน ว่า มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ดังนั้นแผนการเงินในแผนธุรกิจฉบับหนึ่งๆ ถ้าหากตั้งสมมุติฐานทางด้านการเงินอย่างไม่สมเหตุสม ผลนั้น สามารถบ่งชี้ให้เห็นได้ถึงความอ่อนประสบการณ์ในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบริหาร เรื่องการตลาด และเรื่องอื่นๆ ใน ทางตรงกันข้ามถ้าหาก ผู้ประกอบการกำหนดสมมุติฐานทางด้านการเงินที่สมเหตุสมผล...ก็จะทำให้ผู้ร่วม ทุนเกิดความมั่นใจ
ข้อผิดพลาดหมายเลข 8 : ระบุขอบเขตของตลาดกว้างมากเกินไป
การระบุขอบเขตของตลาดกว้างเกินไป มักจะทำให้ผู้ร่วมทุนไม่สนใจในตลาดนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คือ ธุรกิจ SMEs ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว คำว่า "ธุรกิจ SME" นั้นมีขอบเขตที่กว้างมาก และยากที่จะระบุได้ว่า มีขนาดใหญ่แค่ไหน และ ยากที่จะวางแผนในการเข้าไปยึดครองตลาด
ในทางตรงกันข้าง ถ้าหากระบุว่า "ธุรกิจ SMEs ที่เป็นธุรกิจบริการ มียอดขายไม่เกิน 10 ล้านบาท และมีทำเลทางธุรกิจอยู่ใน พื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล" การระบุที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้ร่วมทุน หรือ สถาบ้นการเงิน เห็นภาพที่ชัดเจน และคาดการณ์ ถึงความเป็นไปได้ได้ง่ายกว่า การระบุที่กว้างมากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น