“การเขียนโน้มน้าวใจ” และ "การพูดโน้มน้าวใจ"
การโน้มน้าวใจ คือ การพยายามทำให้บุคคลอื่นเปลี่ยนการกระทำ หรือทัศนคติ
ความเชื่อ ค่านิยมต่างๆ โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้เกิดการยอมรับและเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งรวมถึงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และการกระทำ
การเขียนโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนที่ต้องการให้ผู้อ่านเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ หรือพฤติกรรม ให้คล้อยตามความคิดของผู้เขียน เช่น การเขียนให้คนบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล การเขียนเพื่อให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เป็นต้น
การเขียนโน้มน้าวใจอาจปรากฏในรูปแบบต่างๆ เช่น ในรูปแบบของการโฆษณา การหาเสียงเลือกตั้ง และการเชิญชวน เป็นต้น
๒. ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์กับการโน้มน้าวใจ
ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์สร้างทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยม รวมทั้งมีพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของตน ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามทฤษฎีของมาสโลว์มี ๕ ระดับ คือ
. ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องการ. ความปลอดภัย เมื่อมนุษย์มีปัจจัยสี่แล้ว ทุกคนก็อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป จึงต้องการความมั่นคงปลอดภัยจากรายได้ในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต. ความเป็นเจ้าของ เมื่อมนุษย์มีฐานะและความเป็นอยู่ดีสมควร มนุษย์ก็จะเริ่มมองหาเพื่อน ญาติมิตร และมีครอบครัว เพื่อมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและเพื่อสร้างฐานะ สร้างครอบครัว วงศ์ตระกูล. ความยอมรับในสังคม เป็นความต้องการให้คนอื่นยอมรับและนับหน้าถือตา บางคนต้องการมีบารมี ต้องการมีอิทธิพลในสังคม. ความสำเร็จ เป็นความต้องการขั้นสุดยอดของมนุษย์ กล่าวคือมนุษย์ต้องการทำทุกอย่างให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆก็ตาม
ดังนั้นหลักสำคัญที่สุดในการโน้มน้าวใจก็คือ ต้องทำให้มนุษย์ประจักษ์ชัดแก่ใจตนเองว่า ถ้าเชื่อและเห็นคุณค่าหรือกระทำตามที่ผู้โน้มน้าวชี้แจงหรือชักนำแล้ว ก็จะได้รับผลตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตนนั่นเอง
๓. กลวิธีการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจทำได้หลายวิธี ที่สำคัญ ได้แก่. แสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของผู้โน้มน้าวใจ
บุคคลที่จะได้รับความเชื่อถือจากบุคคลอื่นจะต้องมีความรู้จริง มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น การโน้มน้าวใจจึงต้องทำให้ผู้รับสารเห็นคุณลักษณะที่ดีเหล่านี้ของผู้โน้มน้าวใจ เพื่อจะได้เกิดความเชื่อถือ และยินดีปฏิบัติตามด้วยตนเอง
แนวทางการปฏิบัติให้มีลักษณะดังกล่าว อาจทำได้โดย
ขั้นที่ ๑ ทำตนให้มีคุณสมบัติดังกล่าวจริง
ขั้นที่ ๒ หาวิธีที่จะทำให้บุคคลที่ต้องการโน้มน้าวใจประจักษ์ในคุณลักษณะดังกล่าว
คือ
๑.๑ การแสดงว่ามีความรู้จริง อาจทำได้โดยอธิบายเรื่องราวได้ละเอียดลออ ถูกต้อง แม่นยำ แสดงความรู้ได้ลุ่มลึกชัดเจน
๑.๒ การแสดงว่ามีคุณธรรม อาจทำได้โดยการเล่าประสบการณ์จริงที่แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมต่างๆ
๑.๓ การแสดงความปรารถนาดีต่อผู้อื่น อาจทำได้โดยการให้คำมั่นสัญญาที่อยู่ในวิสัยที่ปฏิบัติได้ ซึ่งแสดงความปรารถนาดีของตนหรือชี้ให้เห็นความห่วงใย ชี้ให้เห็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ
. แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่รู้จักใช้เหตุผล บุคคลยิ่งมีปัญญาสูงยิ่งคล้อยตามคำโน้มน้าวใจอันขาดเหตุผลของบุคคลอื่นได้ ยาก เพราะฉะนั้นเพื่อให้การโน้มน้าวประสบความสำเร็จ ผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้ประจักษ์ว่า เรื่องที่ตนกำลังโน้มน้าวอยู่นั้น มีเหตุผลหนักแน่น และมีค่าควรแก่การยอมรับอย่างแท้จริง. แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน บุคคลที่มีความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกันย่อมคล้อยตามกันได้ง่ายกว่าบุคคลที่ มีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ตัวอย่างของความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน เช่น มีความนิยมเชื่อถือในสิ่งเดียวกัน มีความเคารพรักต่อบุคคลหรือสถาบันเดียวกัน มีความรังเกียจในสิ่งเดียวกัน เป็นต้น. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย การโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นเกิดความคิดนึกเชื่อถือปฏิบัติตามที่ผู้โน้มน้าวใจ ต้องการนั้น ตามธรรมดาที่จะต้องมีทางเลือกหลายทาง ในการนี้หากผู้โน้มน้าวใจแสดงแต่เฉพาะด้านดีของแนวทางที่ตนต้องการ อาจสัมฤทธิ์ผลได้ยาก ถ้าชี้ให้เห็นด้านไม่ดีด้วย เพื่อให้ผู้ถูกโน้มน้าวใจมีโอกาสใช้วิจารณญาณของตนเองเปรียบเทียบจนประจักษ์ ว่าทางที่ชี้แนะนั้นด้านดีมีมากกว่า เช่นนี้แล้วก็จะทำให้การโน้มน้าวใจสัมฤทธิผลได้
. สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร การโน้มน้าวใจในเรื่องบางเรื่องหากเอาจริงเอาจังเกิน
ไป แล้ว การโน้มน้าวใจจะไม่ได้ผล แต่ถ้าใช้วิธีการแบบทีเล่นทีจริงหรือใช้อารมณ์ขันบ้างอาจได้ผลดีเพราะ เปลี่ยนบรรยากาศที่เคร่งเครียดให้เป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพอารมณ์จากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลางๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น วิตกกังวล หวาดกลัว หรือพะว้าพะวัง อารมณ์เหล่านี้มักทำให้มนุษย์ไม่ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน ขาดความพินิจพิจารณาถึงความถูกต้อง ความเหมาะ ความควร ขาดสติหลงลืมตัวไปชั่วคราว เป็นเหตุให้คล้อยตามผู้โน้มน้าวใจได้ง่าย
๔. ภาษาที่โน้มน้าวใจ
ภาษาที่โน้มน้าวใจต้องไม่เป็นการบังคับ ควรเป็นไปในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง เร้าใจ รู้จักใช้คำสื่อความหมายได้ตรงตามความต้องการ ควรมีจังหวะและความนุ่มนวล อาจใช้ถ้อยคำสั้นๆ กระชับ ชัดเจน อาจมีคำคล้องจองกัน เช่น คำขวัญ
ตัวอย่างคำขวัญ
- มีหนังสือเหมือนมีมิตร ช่วยชูจิตให้ผ่องใส
- หนังสือคือประทีปส่องทาง ให้ความสว่างสร้างปัญญา
- มีป่าบำรุงดี เหมือนมีกัลปพฤกษ์สี่มุมเมือง
- อากาศปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
- รถราจะไม่ติดขัด ถ้าเราปฏิบัติตามกฎจราจร
- น้ำมันแพงนัก ช่วยกันพร้อมพรัก ประหยัดเชื้อเพลิง
- บ้านเมืองสะอาด เพราะชนในชาติช่วยกันรักษา
- บ้านเมืองสะอาด เป็นเครื่องประกาศว่าคนเจริญ
- ใส่ใจลูกสักนิด ลูกจะไม่ติดยา
- ยาเสพย์ติดเป็นพิษแก่ตน กลายเป็นคนสิ้นคิด ชีวิตต้องอับปาง
๕. การพิจารณาสารโน้มน้าวใจในลักษณะต่างๆ
ในการพิจารณาวิเคราะห์สารโน้มน้าวใจ สิ่งแรกที่ควรพิจารณา คือ การจับเจตนาของผู้ส่งสารว่ามีจุดมุ่งหมายจะให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ตนโน้มน้าว หรือเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมว่ามีหรือไม่
ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ
สารโน้มน้าวใจที่พบเสมอมี ๓ ชนิด ดังนี้
. คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิด
ประโยชน์ แก่ส่วนรวม โดยจะปรากฏต่อสาธารณชนในรูปแบบของใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรืออาจจะเป็นการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางเครื่องขยายเสียงทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ผู้ส่งสารจะบ่งบอกจุดประสงค์อย่างชัดเจน และชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธีปฏิบัติด้วย โดยใช้กลวิธีชี้ให้ผู้ถูกโน้มน้าวใจเกิดความภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญ ชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเป็นที่ยอมรับอย่างมีเกียรติในสังคม. โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการ เป็นการส่งสารโน้มน้าวใจต่อสาธารณชนเพื่อ
ประโยชน์ในการขายสินค้าหรือบริการต่างๆ แก่สาธารณชนเหล่านั้น มีลักษณะดังนี้
๒.๑ ใช้ถ้อยคำแปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา สะดุดใจ ผู้รับสารเป็นสำคัญ อาจเป็นคำ สัมผัสอักษร คำเลียนเสียงธรรมชาติ หรือคำที่สร้างขึ้นโดยไม่สมเหตุสมผลมุ่งเพียงความแปลกใหม่
๒.๒ ใช้ประโยคหรือวลีสั้นๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับสารได้อย่างฉับพลัน แต่ฉาบฉวย
๒.๓ เนื้อหาจะชี้ให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ มักใช้คำเกินความเป็นจริง
๒.๔ ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการที่นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่สนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
๒.๕ เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นและรัดกุม ขาดความถูกต้องในทางวิชาการ
๒.๖ การนำเสนอสารใช้วิธีการโฆษณาทางสื่อชนิดต่างๆ ซ้ำๆ กันหลายครั้งหลายวันเป็น
ระยะเวลาพอสมควรก็จะดัดแปลงสารนั้นใหม่เพื่อเรียกร้องความสนใจ
การโฆษณาสินค้าและบริการมีทั้งประโยชน์และโทษต่อสังคม ดังนี้
ประโยชน์ของการโฆษณา คือ
. ทำให้สาธารณชนได้รู้จักสินค้าหรือบริการหลายอย่างหลายประเภท
. ทำให้ผู้ซื้อเลือกสินค้าสนองความต้องการของตนได้
. ทำให้สินค้ามีราคาถูก หากสินค้านั้นเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
. การโฆษณาสินค้า และบริการผ่านสื่อมวลชน จะต้องซื้อเนื้อที่และเวลาจากสื่อมวลชน
ทำให้สื่อมวลชนมีรายได้ และสามารถนำเสนอรายการบันเทิงและสาระความรู้ต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน
โทษของการโฆษณา คือ
. ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดหรือหลงผิด ตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการที่ไม่เหมาะแก่ความจำเป็นของตน
. การแข่งขันของบริษัทต่างๆ ทำให้ราคาต้นทุนการผลิตสูงเป็นผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้นตามไปด้วย
. การใช้ภาษาโฆษณาที่มุ่งแต่ความแปลกใหม่ จนไม่ระวังความถูกต้องอาจทำให้ภาษาวิบัติเสียคุณค่าทางเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมบางอย่างที่สำคัญของชาติ
๓. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพยายามโดยจงใจมีเจตนาที่จะเปลี่ยนความเชื่อและการกระทำของบุคคลจำนวนมาก ให้เป็นไปตามความต้องการของตน ด้วยกลวิธีต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องและข้อเท็จจริง
การโฆษณาชวนเชื่อมี ๒ ชนิด คือ
๓.๑ โฆษณาชวนเชื่อเชิงการค้า
๓.๒ โฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง
การโน้มน้าวใจจะถูกเรียกเป็นการโฆษณาชวนเชื่อก็ต่อเมื่อผู้โน้มน้าวใจเจตนาที่จะลวง กลบเกลื่อน หรือปิดบังไม่ให้ผู้รับสารได้รับรู้ความจริงและเหตุผลที่จำเป็นต้องรู้ ดังนั้นผู้รับสารจึงควรใช้วิจารณญาณ ของตนพิจารณาสารต่างๆ ด้วยความรอบคอบ โดยใช้หลักเกณฑ์ที่เรียนมาให้เหมาะควรแก่กรณี
๖. หลักการเขียนโน้มน้าวใจ
หลักการเขียนโน้มน้าวใจควรคำนึงถึงหลักต่างๆ ดังนี้
๑ การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วยให้ผู้เขียนสามารถกำหนดเนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
๒ การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่านว่าน่าจะเป็นไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป
๓ การให้เหตุผล ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน เหตุผลที่นำมาอ้างนั้นควรน่าเชื่อถือ มีน้ำหนักเพียงพอ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือและยอมรับ ตลอดจนมีปฏิกิริยาตอบสนองความต้องการของผู้เขียน
๔ การใช้ภาษา ภาษาทีใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจควรเป็นภาษาที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีศิลปะในการใช้ภาษา คือ รู้จักเลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ก่อให้เกิดภาพ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน
ความหมายของการพูดโน้มน้าวใจ
การ พูดโน้มน้าวใจ เป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่ง คือ การใช้ความพยายามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลทั้งโดยใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษา จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์ หลักการสำคัญของการพูดโน้มน้าวใจ ได้แก่ การทำให้มนุษย์ประจักษ์ว่า ถ้าเชื่อและเห็นคุณค่า หรือทำตามที่ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำแล้ว ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตนนั่นเอง แต่ตราบใดที่ความประจักษ์ชัดยังไม่เกิดขึ้น ก็ยังถือว่าการโน้มน้าวใจยังไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นผู้โน้มน้าวใจควรได้ตระหนักถึงประเด็นของการนำเสนอเหตุผลเพื่อให้ผู้ รับสารเข้าใจ เห็นความสำคัญและยอมรับการโน้มน้าวใจ
๒. ประเภทของสารโน้มน้าวใจ
สาร โน้มน้าวใจ ได้แก่ คำเชิญชวน โฆษณาสินค้า หรือการบริการ และการโฆษณาชวนเชื่อ สารประเภทคำเชิญชวนมักจะระบุวัตถุประสงค์และบอกถึงประโยชน์ที่จะเกิดจากการ ปฏิบัติในลักษณะที่เป็นส่วนรวม ผู้รับสารต้องระมัดระวังใช้วิจารณญาณในการพิจารณา เพราะสารเชิญชวนที่แอบแฝงเพื่อหลอกลวงก็ใช้แนวทางเสนอสารให้น่าเชื่อถือเช่น กัน
๒.๑ สารประเภทโฆษณาสินค้าและการให้บริการ
สารโน้มน้าวใจประเภทสินค้าหรือการให้บริการต่างๆ มีกลวิธีการโฆษณา ดังนี้
. ส่วนนำบทโฆษณามักใช้คำสะดุดหู สะดุดตา เพื่อให้ผู้ฟังสะดุดใจใช้บริการสินค้า
. ตัวสารไม่ยืดยาว ละเอียดลออ ใช้ข้อความกะทัดรัดชัดเจน
. แสดงสรรพคุณที่เป็นคุณวิเศษของสินค้าหรือบริการซึ่งมักกล่าวเกินจริง
. เนื้อหาของสารมักขาดความถูกต้องทางวิชาการ เพราะจำกัดด้วยเนื้อที่และเวลา
. การนำเสนอสารมักใช้ลักษณะการเสนอซ้ำหรือบ่อยๆ เพื่อให้ผู้ฟังคุ้นเคยในลักษณะการกรอกหู ผู้พูดโน้มน้าวใจในลักษณะของการ โฆษณาควรคำนึงถึงการใช้วัจนภาษารูปแบบต่างๆ ที่มีความถูกต้องตามแบบแผน ไม่ทำให้มหาชน หรือเยาวชนหลงเข้าใจผิด ควรให้ตระหนักถึงคุณค่าทางเอกลักษณ์และวัฒนธรรมเป็นสำคัญเพื่อเรียกร้องความ สนใจในการใช้บริการรถนอนชั้นสองปรับอากาศของการรถไฟ และใช้ข้อความที่ว่า “หลับสบายได้เต็มตื่น เย็นสดชื่นตลอดทาง” เป็นการเร้าความสนใจความต้องการพื้นฐานของบุคคลที่ต้องการเดินทางที่สะดวก สบาย มีบรรยากาศน่ารื่นรมย์ ในขณะเดียวกันก็ให้ข้อมูลถึงการเดินทางและอัตราค่าโดยสารในราคาที่ไม่แพง เกินไป และให้ข้อมูลถึงแหล่งสอบถามการใช้บริการอย่างชัดเจนในตอนท้ายของการโฆษณา เช่น สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
๒.๒ สารประเภทโฆษณาชวนเชื่อ
การ โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพยายามโดยเจตนาที่จะเปลี่ยนความเชื่อ และเปลี่ยนการกระทำของบุคลจำนวนมากให้เป็นไปในทางที่ฝ่ายตนต้องการด้วย กลวิธีต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องตามเหตุผลและข้อเท็จจริง อาจได้แก่ การชวนเชื่อทางด้านการค้าและการเมือง ผู้โน้มน้าวใจลักษณะนี้มีเจตนาหลอกลวงไปในทางหายนะมากกว่าทางด้านวัฒนะ นั่นคือ ไม่ประสงค์ดี มักใช้กลวิธี ดังนี้
. ตราชื่อ คือ การใช้กลวิธีการเบนความสนใจของผู้รับสารไปจากเหตุผลและข้อเท็จจริง
เพื่อให้ผู้คนทั่วไปหมดความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือสถาบันฝ่ายตรงข้าม มักใช้การหาคำพูดมาเรียกชื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดมโนภาพว่าบุคคลเหล่านั้นมีลักษณะไม่พึงประสงค์. ใช้คำหรูหราเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา โดยไม่ได้ใช้ความคิดไตร่ตรองตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม. อ้างบุคคลหรือสถาบัน เพื่อให้ผู้ฟังเกิดทัศนะที่ดี เกิดความนิยมชมชอบ นโยบาย หลักการ หรืออุดมการณ์ของตน ผู้ฟังที่ไม่ยั้งคิดย่อมตกหลุมพรางของผู้ชวนเชื่อได้. ทำเหมือนชาวบ้านธรรมดา เพื่อนำความคิดของตนไปโยงกับชาวบ้านให้เกิดความกลมกลืน ทำให้ผู้ฟังเชื่อใจคล้อยตาม. อ้างแต่ประโยชน์ส่วนตนและอ้างคนส่วนใหญ่ เพื่อให้ผู้ฟังคิดว่าหากตนไม่เชื่อตามจะกลายเป็นคนประหลาดเพราะคนส่วนใหญ่นั้นมีความคิดดังกล่าว
การ โน้มน้าวใจจะถูกเรียกว่า โฆษณาชวนเชื่อ หากการโน้มน้าวใจนั้นมีเจตนาลวงกลบเกลื่อน หรือปิดบังไม่ให้ผู้รับสารได้รับความรู้ ความจริง และเหตุผลที่จำเป็นต้องรู้ จนอาจไม่ใช้สมรรถภาพในการคิดและการพิจารณาเหตุผลของตนจนสามารถเข้าใจได้ อย่างถูกต้องในเรื่องต่างๆ ผู้รับสารควรมีวิจารณญาณในการฟังและผู้พูดควรมีเจตนาที่ดีในการโน้มน้าวใจ เพื่อให้เกิดผลดี สารโฆษณาชวนเชื่อทางการค้าที่พบ เช่น โฆษณาขายยาที่อ้างสรรพคุณมากมายซึ่งไม่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่ได้ มาตรฐาน การโฆษณารักษาโรคแบบชาวบ้านที่ไม่น่าเชื่อถือ สำหรับการชวนเชื่อทางการเมือง เช่น การเผยแพร่ลัทธิของผู้ก่อการร้ายหรือก่อวินาศกรรมซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แก่บุคคลและสังคมเป็นสำคัญ
ภาษาที่ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ
๑. ใช้ภาษาที่ไพเราะเลิศหรู แอบอ้างคนส่วนใหญ่ เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามโดยขาดเหตุผล เช่น
ดาราชั้นนำของเมืองไทยต่างใช้ครีมลอกฝ้าชนิดนี้ เพื่อความเนียนนุ่มของผิวหน้าดุจดังผิว
ดีค่ะ
ตอบลบ