| สีดำ
สีดำ (Black) เป็นสีแห่งความตาย ความมืด ความน่ากลัว ความผิด พลังแห่งปีศาจ สิ่งเร้นลับอำนาจ....ความข้ม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่คุณสามารถเห็นงานออกแบบที่ใช้สีดำในโปสเตอร์หนังมักจะออกแบบให้ ดูลึกลับ น่ากลัว หรือชวนให้เข้าไปค้นหาความจริง |
| สีทอง
สีทอง หรือ สีเหลือง (Gold) เป็นสีที่แสดงถึงความมั่งคั่ง มั่งมี อบอุ่น เป็นมิตร สร้างสรรค์ หรือนักคิดค้น ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ อิสระ ความเมตตา การมองโลกในแง่ดี เป็นต้น แต่ในบางครั้งอาจใช้ใน
ความหมายทางด้านลบ เช่น ความหึงหวง ขี้อิจฉา ความพิรุธ ความขี้สงสัย หรือ การหลอกลวง ก็ได้ในวงการวารสาร สีเหลืองยังหมายถึง ความไม่รับผิดชอบ อีกด้วย
|
| สีแดง
สีแดง (Red) เป็นสีที่แสดงถึง ความร้อนแรง อันตราย เรื่องเร่งด่วน ฉุกเฉิน ความตื่นเต้นความรัก โรแมนติก ความเจ็บปวด ความเผ็ดร้อน ความทรงจำ ความกล้าหาญ ความเป็นเจ้าของความทะเยอทะยาน พลังแห่ง Sex... ในหลายประเทศจะใช้สีแดงในความหมายต่างกัน เช่น กรีกสีแดงจะหมายถึง การต่อสู้รบราฆ่าฟัน แต่ประเทศแอฟริกาใต้ จะหมายถึง ความเศร้าโศก.. |
| สีเทา
สีเทา (Gray) เป็นสีที่แสดงถึง ความมั่นคง ปลอดภัย สม่ำเสมอ ผู้ที่มีอำนาจ บุคลิกที่แข็งแกร่งความคลาสสิค ความตกต่ำ ความรู้สึกหดหู่ มัวหมอง |
| สีขาว
สีขาว (White) เป็นสีที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ความหวัง ความถูกต้อง ความจริงการไว้ทุกข์ ความช่วยเหลือ ความเรียบง่าย ความเรียบร้อย |
| สีน้ำเงิน
สีน้ำเงิน (Blue) เป็นสีที่แสดงถึง ความมั่นคง ความสม่ำเสมอ เสถียรภาพ ความแน่นอน ความแข็งแรง ความเป็นผู้นำ น้ำ ความเย็น ความสะอาดสะอ้าน ความสบาย ความไว้วางใจ คลาสสิค...
ความรู้สึกอ่อนไหว ห้วงอารมณ์ ในประเทศจีน สีน้ำเงิน หมายถึง เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ในขณะที่ในอิหร่าน จะหมายถึง การไว้ทุกข์ |
| สีม่วง
สีม่วง (Purple) เป็นสีที่แสดงถึง ความเป็นเจ้านาย กษัตรย์ การฑูต แฟชั่น เกย์ ในสหรัฐจะใช้สีม่วงสำหรับทหารที่ถูกฆ่า ในขณะที่ลีโอนาโด นาวินซี จิตกรชื่อดัง กล่าวว่าสีม่วงอ่อนจะทำให้เขามีพลังทางความคิดมากขึ้น และหากนำสีม่วงเป็นสีห้องสำหรับเด็ก จะทำให้เด็กเกิดจินตนการ |
| สีน้ำตาล
สีน้ำตาล (Rust) เป็นสีที่แสดงถึง ความสมบุกสมบัน ดิน สนิม ความแห้งแล้ง ความเป็นมิตรความซื่อสัตย์ การไว้ใจ น่ารำคาญ ทรมาน เห็นแก่ตัว แข็งแกร่ง... |
| สีเขียว
สีเขียว (Green) เป็นสีที่แสดงถึงความสดชื่น ต้นไม้ การเจริญเติบโต เงิน ความหนุ่มสาวสิ่งแวดล้อม การผ่อนคลาย ความเป็นธรรมชาติ และสีเขียวยังเป็นสีประจำชาติของประเทศไอร์แลนด์ อีกด้วย |
| สีชมพู
สีชมพู (Pink) เป็นสีที่แสดงถึง ความเป็นผู้หญิง อ่อนไหว ความรัก ความนุ่มนวล น่ารัก วัยหวานสุภาพอ่อนโยน ทะนุถนอม ขี้อาย |
| สีส้ม
สีส้ม (orange) เป็นสีที่แสดงถึง แรงบันดาลใจเต็มเปี่ยม พลัง ความสำคัญ ความอบอุ่น ความกรุณา หยิ่งยโส จองหอง มีทิฐิ...
ความหมายและความสำคัญของสี
เราเรียนรู้เรื่องศิลปะมาจน สามารถบอกได้แล้วว่า ศิลปะคืออะไร ศิลปะแตกต่างจากธรรมชาติอย่างไร คราวนี้เรา ลองหลับตานึกภาพดูซิว่าถ้าโลกเราไม่มีสีเลย ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรามีแต่สีขาวกับสีดำ ไฟจราจรมีแต่ขาวกับดำ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีขาวกับดำ ต้นไม้ ดอกไม้มีแต่สีขาวกับดำ จะเป็นอย่างไร เราคง อึดอัด หดหู่ดูไม่มีชีวิตชีวา ฉะนั้น "สี" จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของเรา เพราะสีช่วยให้ชีวิตของเราดูสดใส ร่าเริง หรือเศร้าหมองก็ได้ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้น เราจึงจำเป็นต้องรู้จักกับ "สี" ก่อน เพราะในชีวิตของเราหรือในงานศิลปะ สี ช่วยให้เกิดความงาม ความรู้สึก เพราะสีมีความหมายเฉพาะตัวของแต่ละสีอยู่ แต่ก่อนที่เราจะศึกษาบทเรียนเรื่อง “ ศิลปะการใช้สี ” เรามาทำความเข้าใจรู้จักความหมายและความสำคัญ ของสีที่มีต่อวิถีชีวิตของเราอย่างไรก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น
ความหมายของสี
สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเราทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่นสะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบก็จะดูดทุกสีสะท้อนแต่สีแดงทำให้เรามองเห็นเป็นสีแดง
เรารับรู้สีได้เพราะเมื่อสาม ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบ ว่าแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์เมื่อหักเหผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ้งเรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง (ศักดา ศิริพันธุ์. 2527 : 5 อ้างถึงใน http://rbu.qru.ac.th/~somsak/design/ lesson5/ lesson_5.html ) และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นและพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้วโดยเกิดจากการหักเห ของแสงอาทิตย์หรือแสงสว่างเมื่อผ่านละอองน้ำในอากาศ
ซึ่งลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็น เป็นสีมีผลถึงจิตวิทยาคือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความ รู้สึกได้การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร่าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์เราเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย
ความสำคัญของสีที่มีต่อวิถีชีวิตของเรา
สี เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของเราอย่างมาก นับแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน เราได้นำสีมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดความ หมายอย่างใดอย่างหนึ่ง สีจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์กับวิถีชีวิตของเราเพราะสรรพสิ่ง ทั้งหลายที่แวดล้อมตัวเราประกอบไปด้วยสีทั้งสิ้นในงานศิลปะสีเป็นองค์ประกอบ สำคัญอย่างหนึ่งและในวิถีชีวิตของเราสีเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อ ความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
1 . ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
2 . ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย การจัดตกแต่งบ้าน
3 . ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี เครื่องแบบต่าง ๆ
4 . ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
5 . ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ สมจริงและน่าสนใจ
6 . เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของ มนุษย์
สีที่อยู่รอบตัวเรานั้นมีที่มา 3 ทาง คือ
1 . สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรงหรือด้วยการสกัด ดัดแปลงบ้างจากพืช สัตว์ ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ
2 . สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมีเป็นสารเคมีที่ ผลิตขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้สะดวกมากขึ้นซึ่งเป็นสีที่เราใช้อยู่ทั่ว ไปในปัจจุบัน
3 . แสง เป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สีโดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสงอยู่ในช่วงที่สายตามองเห็นได้
ปัจจุบันมนุษย์เรามีวิวัฒนาการ มากขึ้นเกิดคตินิยมในการรับรู้และชื่นชมในความงามทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) สีจึงได้รับการพัฒนาเพื่อนำมาใช้อย่างกว้างขวางและวิจิตรพิสดาร จากเดิมที่เคยใช้สีเพียงไม่กี่สี ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติได้นำมาประดิษฐ์ คิดค้น และผลิต สีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัดโดยมีการ พัฒนามาเป็นระยะ ๆ อย่าง
แม่สี
ในวิถีชีวิตของเราทุกคนรู้จัก เคยเห็น เคยใช้สี และสามารถบอกได้ว่าสิ่งใดเป็น สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีม่วง สีขาว และสีอื่น ๆ แต่เป็นเพียงรู้จัก และเรียกชื่อสีได้ถูกต้องเท่านั้น จะมีพวกเรากี่คนที่จะรู้จักสีได้ลึกซึ้ง เพราะเรายังขาดสื่อการเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นั่นเอง ปัจจุบันนี้เรายังมองข้ามหลักวิชาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของเรา อยู่ถ้าเรารู้จักหลักการเบื้องต้นของสีจะทำให้เราสามารถเขียน ระบาย หรือเลือกประยุกต์ใช้สี เพื่อสร้างความสุขในการดำเนินวิถีชีวิตของเราได้ดีขึ้น นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสีจนเกิดเป็นทฤษฎีสีตามหลักการของนักวิชาการสาขานั้นๆ ดังนี้
แม่สีของนักฟิสิกส์ (แม่สีของแสง) (spectrum primaries)
คือสีที่เกิดจากการผสมกันของคลื่นแสง มีแม่สี 3 สี คือ
1. สีแดง (Red)
2. สีเขียว (Green)
3. สีน้ำเงิน (Blue)
เมื่อนำแม่สีของแสงมาผสมกันจะเกิดเป็นสีต่างๆ ดังนี้
1. สีม่วงแดง (Magenta) เกิดจากสีแดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
2. สีฟ้า (Cyan)เกิดจากสีเขียว (Green) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
3. สีเหลือง (Yellow)เกิดจากสีเขียว (Green) ผสมกับสี แดง (Red)
และเมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกัน จะได้สีขาว
แม่สีของนักจิตวิทยา (psychology primaries)คือสีที่มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ในด้านจิตใจซึ่งจะกล่าวในเรื่อง "ความรู้สึกของสี" นักจิตวิทยาแบ่งแม่สี เป็น 4 สี คือ
1. สีแดง (Red)
2. สีเหลือง (Yellow)
3. สีเขียว (Green)
4. สีน้ำเงิน (Blue)
เมื่อนำแม่สี 2 สีที่อยู่ใกล้กันในวงจรสีมาผสมกันจะเกิดเป็นสีอีก 4 สี ดังนี้
1. สีส้ม (orange) เกิดจากสี แดง (Red) ผสมกับสีเหลือง (Yellow)
2. สีเขียวเหลือง (yellow-green) เกิดจากสีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)
3. สีเขียวน้ำเงิน (blue green) เกิดจากสีเขียว (Green) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
4. สีม่วง (purple) เกิดจากสีแดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
แม่สีของนักเคมี (pigmentary primaries) คือสีที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและวงการศิลปะ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีวัตถุธาตุ ที่เรากำลังศึกษาอยู่ใน ขณะนี้ โดยใช้ในการเขียนภาพเกี่ยวกับพาณิชยศิลป์ ภาพโฆษณา ภาพประกอบเรื่อง ซึ่งในหลักการเดียวกันทั้งสิ้น ประกอบด้วย
สีขั้นที่ 1 (Primary Color) คือ สีพื้นฐาน มีแม่สี 3 สี ได้แก่
1. สีเหลือง (Yellow)
2. สีแดง (Red)
3. สีน้ำเงิน (Blue)
สีขั้นที่ 2 (Secondary color)
คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากันจะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
1. สีส้ม (Orange) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีเหลือง (Yellow)
2. สีม่วง (Violet) เกิดจาก สีแดง (Red)ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
3. สีเขียว (Green)เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีน้ำเงิน(Blue)
สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color)
คือสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างสีของแม่สีกับสีขั้นที่ 2 จะเกิดสีขึ้นอีก 6 สี ได้แก่
1. สีน้ำเงินม่วง ( Violet-blue) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีม่วง (Violet)
2. สีเขียวน้ำเงิน ( Blue-green) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีเขียว (Green)
3. สีเหลืองเขียว ( Green-yellow) เกิดจาก สีเหลือง(Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)
4. สีส้มเหลือง ( Yellow-orange) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีส้ม (Orange)
5. สีแดงส้ม ( Orange-red) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีส้ม (Orange)
6. สีม่วงแดง ( Red-violet)เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีม่วง (Violet)
เราสามารถผสมสีเกิดขึ้นใหม่ได้ อีกมากมายหลายร้อยสีด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ตามคุณลักษณะของสีที่จะกล่าวต่อไปจะเห็นได้ว่าทฤษฎีสีดังกล่าวมีผลให้เรา สามารถนำมาใช้เป็นหลักในการเลือกสรรสีสำหรับงานสร้างสรรค์ ของเราได้ซึ่งงานออกแบบมิได้ถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดของทฤษฎีตามหลักวิชาการ เท่านั้นแต่เราสามารถคิดออกนอกกรอบแห่งทฤษฎีนั้นๆ ได้ เท่าที่มันสมองของเราจะเค้นความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้
คุณลักษณะของสีคุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ
1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue )หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี
สีที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลือง วนไปถึงสีม่วง คือ
1. สีร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง
2. สีเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย
สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง
เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือเป็นสีกลาง เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น
2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง สีที่ถูกผสมด้วย สีดำจนหม่นลง ความจัด หรือความบริสุทธิ์จะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดที่สุดไปจนหม่นที่สุดได้หลายลำดับด้วยการ ค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่ สุด คือเกือบเป็นสีดำ
3. น้ำหนักของสี (Values) หมาย ถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ(Darkness)ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่งสีนั้นจะสว่าวขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลงถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ เราจะได้น้ำหนักของสีที่เรียงลำดับจากแก่สุด ไปจนถึงอ่อนสุดน้ำหนักอ่อนแก่ของสีก็ได้เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดำ น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint) ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึกที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม ลึกลับ น้ำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบ น้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว – ดำ เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนเมื่อนำภาพสีที่ เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายค่าทั้งอ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว-ดำ เมื่อนำมาดูจะพบว่าสีแดงจะมีน้ำหนักอ่อน แก่ ตั้งแต่ขาว เทา ถึงดำ นั่นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกันนั่นเอง
เหลือง
|
ม่วง
|
เหลืองส้ม
|
ม่วงน้ำเงิน
|
ส้ม
|
น้ำเงิน
|
แดงส้ม
|
น้ำเงินเขียว
|
แดง
|
เขียว
|
ม่วงแดง
|
เขียวเหลือง
|
สี12 สีในวงจรสี
สีลดน้ำหนักลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint)
สีเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone)
สีเพิ่มน้ำหนักขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade)
เหลือง
|
ม่วง
|
เหลืองส้ม
|
ม่วงน้ำเงิน
|
ส้ม
|
น้ำเงิน
|
แดงส้ม
|
น้ำเงินเขียว
|
แดง
|
เขียว
|
ม่วงแดง
|
เขียวเหลือง
|
วรรณะสีร้อน วรรณะสีเย็น
ความรู้สึกของสี
สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตา จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเรา ทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใชสี้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตราย
สีแดงชาด จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง
สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี
สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม สดชื่น สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
สีเขียวแก่ จะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าใจความแก่ชรา
สี น้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
สีคราม จะทำให้เกิดความรู้สึกสงบ
สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน
สีชมพู ให้ความรู้สึก อบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่ วัยรุ่น หนุ่มสาว ความน่ารัก ความสดใส
สีไพล จะทำให้เกิดความรู้สึกกระชุ่มกระชวย ความเป็นหนุ่มสาว
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน
สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า สิ่งสำคัญ ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย การแผ่กระจาย
จากความรู้สึกดังกล่าว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไในชีวิตประจำวันได้ในทุกเรื่อง และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สีเพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความ หมาย และจะช่วยลดปัญหาในการ ตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้ เช่น
1. ใช้ในการนแสดงเวลาของบรรยากาศในภาพเขียน เพราะสีบรรยากาศในภาพเขียนนั้นๆ จะแสดงให้รู้ว่าเป็นภาพตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนบ่าย เป็นต้น
2. ในด้านการค้าคือ ทำให้สินค้าสวยงามน่าซื้อหา นอกจากนี้ยังใช้กับงานโฆษณา เช่น โปสเตอร์ต่างๆ ช่วยให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
3. ในด้านประสิทธิภาพของการทำงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ถ้าทาสีสถานที่ทำงานให้ถูกหลักจิตวิทยาจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศ ให้น่าทำงาน คนงานจะทำงานมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
4. ในด้านการตกแต่งสีของห้องและสีของเฟอร์นิเจอร์ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสว่าง ของห้องรวมทั้งความสุขในการใช้ห้อง ถ้าเป็นโรงเรียนเด็กจะเรียนได้ผลดีขึ้น ถ้าเป็นโรงพยาบาลคนไข้จะหายเร็วขึ้น
สีกับการออกแบบ
ผู้สร้างสรรค์งานออกแบบจะเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีโดยตรง มัณฑนากรจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อใช้ในงานตกแต่ง คนออกแบบฉากเวทีการแสดงจะคิดค้นสีเกี่ยวกับแสง จิตรกรก็จะคิดค้นสีขึ้นมาระบายให้เหมาะสมกับ ความคิดและจินตนาการของตน แล้วตัวเราจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อความงาม ความสุขสำหรับเรามิได้หรือสีที่ใช้สำหรับการออกแบบนั้น ถ้าเราจะใช้ให้เกิดความสวยงามตรงตามความต้องการของเรา มีหลักในการใช้กว้างๆ อยู่ 2 ประการ คือ การใช้สีกลมกลืนกันและการใช้สีตัดกัน
1. การใช้สีกลมกลืนกัน
การ ใช้สีให้กลมกลืนกันเป็นการใช้สีหรือน้ำหนักของสีให้ใกล้เคียงกันหรือคล้าย คลึงกันเช่น การใช้สีแบบเอกรงค์เป็นการใช้สีสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับการใช้ สีข้างเคียงเป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2 – 3 สี ในวงสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง การใช้สีใกล้เคียงเป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน 5 สี ตลอดจนการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ( warm tone colors and cool tone colors) ดังได้กล่าวมาแล้ว
2. การใช้สีตัดกัน
สี ตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี การใช้สีให้ตัดกันมีความจำเป็นมากในงานออกแบบ เพราะช่วยให้เกิดความน่าสนใจในทันทีที่พบเห็น สีตัดกันอย่างแท้จริงมีอยู่ด้วยกัน 6 คู่สี คือ
1. สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
2. สีส้ม ตรงข้ามกับ สีน้ำเงิน
3. สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
4. สีเหลืองส้ม ตรงขามกับ สีม่วงน้ำเงิน
5. สีส้มแดง ตรงข้ามกับ น้ำเงินเขียว
6. สีม่วงแดง ตรงข้ามกับ สีเหลืองเขียว
การ ใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% หรือ ใช้เนื้อสีผสมในกันและกันหรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกันด้วยปริมาณ เล็กน้อยรวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก ๆ สลับกัน ในผลงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจจะใช้พร้อม กันทั้ง 2 อย่าง ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการและความคิดสร้างสรรค์ของเราไม่มีหลักการหรือรูป แบบที่ตายตัว
ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพหากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น เราจะสามารถควบคุมและสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้นเพราะสีมีอิทธิพลต่อ มวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิด จุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้ เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายในงานของเราเพราะสีมีผลต่อการออก แบบ คือ
1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และภูมิหลังของแต่ละคนสีบางสีสามารถรักษาบำบัด โรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายในหรือภายนอกอาคารจะมีผลต่อการสัมผัสและสร้างบรรยากาศได้
2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบจะช่วยสร้างความประทับใจและความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พเห็น
3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรืออันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น
4. สีช่วยให้เกิดการรรับรู้ และจดจำ งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำในรูปแบบ และผลงาน หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตาและมีเอกภาพ
|
บทความดีมากเลยค้าาาา การเลือกสีผลิตภัณฑ์ นี่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการสร้างแบรนด์เลยเนอะ ใครทำงานวงการออกแบบคงรู้ดีว่าสำคัญแค่ไหน เราทำบริษัทออกแบบเหมือนกันจ้า ขอบคุณสำหรับข้อมูล และ ความรู้นะคะ
ตอบลบ