Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

การพัฒนาบุคลิกภาพ

   บุคลิกภาพ  คือ  ลักษณะท่าทางซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  และความรู้สึกนึกคิด  ที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจ  ฉะนั้น  การที่บุคคลจะได้รับการยอมรับนับถือ  การสนับสนุน  ความไว้วางใจ  และความประทับใจจากผู้อื่นนั้น  ก็ควรที่จะแสดงบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมให้ผู้อื่นเห็น  เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง



1.  ความหมายและความสำคัญของบุคลิกภาพ
    คำว่า "บุคลิกภาพ"  หมายถึง  คุณลักษณะทางกาย  ทางจิตใจ  และความรู้สึกนึกคิดที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจมากน้อยเพียงใด
    มีความสำคัญคือ  บุคลิกภาพนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง  จึงส่งผลต่อการยอมรับนับถือ  การให้ความร่วมมือ  การสนับสนุน  และความไว้วางใจจากผู้อื่น
2.  ประเภทของบุคลิกภาพ
    2.1  บุคลิกภาพภายนอก  คือ  สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคน  สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน  แบ่งได้เป็น 4 หมวด คือ
            1.  รูปร่างหน้าตา
            2.  การแต่งกาย
            3.  กิริยาท่าทาง
            4.  การพูด
    2.2  บุคลิกภาพภายใน  คือ  สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ  หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้  แก้ไขได้ยาก  เช่น
            1.  ความเชื่อมั่นในตนเอง
            2.  ความซื่อสัตย์สุจริต
            3.  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
            4.  ความรับผิดชอบ
3.  หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ
    การยืน เดิน นั่ง  เป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล  งามอิริยาบถ  คือ  การเดิน  ยืน  นั่ง  เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ  อย่างถูกต้องสวยงาม
    การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล  สถานที่ และเวลา  อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี  เช่น  การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี  และถูกกาลเทศะ  การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ  การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่าง ๆ การไปเยี่ยมคนป่วย  การมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส  เป็นต้น
    บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น  เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม  คือ ไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ  สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี
4.  แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
    4.1  การรักษาสุขภาพอนามัย
            -  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
            -  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
            -  ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มหรือลดผิดปกติ
            -  ละเว้นการสูบบุหรี่หรือยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
            -  ไม่ดื่มสิ่งของที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
            -  พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชม.
            -  รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ

    4.2  การดูแลร่างกาย
            -  รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน
            -  ดูแลรักษาเส้นผมและทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง
            -  โกนหนวดเคราให้เกลี้ยงเกลา ตัดและขริบให้เรียบร้อย
            -  รักษาผิวพรรณให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอ อย่าให้ผิวแห้งกร้าน
            -  รักษากลิ่นตัว 
            -  รู้จักการแต่งหน้าแต่พองาม
            -  ดูแลเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
            -  ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่สวมใส่ทุกวัน
            -  ควรมีการเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี
            -  เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์

    4.3  การแต่งกาย
            -  สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบ
            -  สีสันไม่ฉูดฉาด  ควรเลือกสีให้เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง
            -  กระเป๋าถือและรองเท้า ควรใช้หนังที่มีคุณภาพดี  สีเรียบ  สำรวจส้นรองเท้าจัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
            -  แต่งหน้าให้แนบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ เลือกใช้เครื่องสำอางค์ที่มีคุณภาพดี
            -  เล็บและการทาเล็บ ไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป ควรเลือกสีกลาง ๆ อย่าปล่อยให้สีถลอกจะไม่น่าดู
            -  ผม หมั่นสระให้สะอาด  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง  แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า
            -  เครื่องประดับ  ควรใช้เพื่อเสริมการแต่งกายให้ดูดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เครื่องประดับมากจนเกินไปจนดูสะดุดตารกรุงรังไปหมด
            -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
            -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

    4.4 อารมณ์
        รู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง  คนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้  ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์กันอยู่เสมอ
        ฉะนั้น  บุคคลใดที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้น  จะต้องเป็นคนรู้จักอดทนใจเย็นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น

    4.5  ความเชื่อมั่นในตนเอง
            -  ยอมรับในความสามารถของตนเอง
            -  อย่าเล็งผลเลิศในการทำงานจนเกินไป
            -  อย่าถือคติว่าการทำงานสิ่งใดเมื่อทำแล้วต้องดีที่สุด
            -  อย่านำความเก่งของผู้อื่นมาทับถมตนเอง
            -  หมั่นฝึกจิตใจตนเองให้ชนะความกลัวให้ได้
5.  การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
   
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน  ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี  ไม่มองคนในแง่ร้าย  จิตใจก็เป็นสุข  ไม่มีความกังวล  ดังนั้น  เลขานุการจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
    1.  มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
    2.  มีความซื่อสัตย์  กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
    3.  มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
    4.  มีความกระตือรือร้น  ที่อยากจะทำ  เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
    5.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
    6.  มีความรับผิดชอบ  ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา
    7.  มีความรอบรู้
    8.  ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
    9.  มีความจำแม่น
    10. วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ
6.  การพัฒนาบุคลิกภาพด้านกายบริหารทรวดทรง
    องค์ประกอบของทรวดทรง  ขึ้นอยู่กับกลไกของการเคลื่อนไหวของร่างกายและโครงสร้างของร่างกายไม่ว่าหญิงหรือชายก็ชอบที่จะมีรูปร่างงามทั้งนั้น  ผู้ชายก็ต้องการมีรูปร่างสมาร์ท  ผู้หญิงก็ต้องการมีเอวบาง ร่างน้อย มีสุขภาพดี การมีรูปร่างงาม สุขภาพดี เกิดจากการพัฒนาตัวเราเอง เราเป็นผู้วางแผนในชีวิตของเราเอง
    ทรวดทรงอาจไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต  แต่ส่วนสัดและท่าทาง  ทำให้คนทุกคนดูแตกต่างกันไป  บุคลิกที่ไม่ดีแสดงว่าเจ้าของเรือนร่างขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ถ้าได้เรียนรู้วิธีเสริมสร้างเสน่ห์ให้กับบุคลิกภาพของตนเองแล้ว จะไม่เพียงทำให้มีรูปร่างสง่างามเท่านั้น  ยังสามารถทำให้การปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่น  งานก็มีประสิทธิภาพอีกด้วย  ดังนั้นเลขานุการจึงควรใช้เวลาในการบริหารทรวดทรงของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ  เพราะสุขภาพที่ดี และทรวดทรงที่งดงามอีกด้วย

มนุษยสัมพันธ์  คือ  ความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยการมีไมตรีจิตที่ดี มีเมตตาต่อกัน  เพื่อให้ได้มาซึ่งความยอมรับนับถือ  ความไว้วางใจ  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ที่จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นย่อมไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น  และนำไปใช้ให้เหมาะสมและถูกกาลเทศะกับสภาพแวดล้อมในสังคมด้วย
1.  ความหมายและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
    มนุษยสัมพันธ์  คือ  กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์  เพื่อให้ได้มาซึ่งความยอมรับนับถือ ความไว้วางใจ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
    มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญคือ
    -  เพื่อให้มีความเข้าใจอันดีต่อมนุษย์ด้วยกัน
    -  เพื่อให้เกิดความเชื่อถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน
    -  เพื่อให้เกิดความพอใจยินดีให้ความร่วมมือในการทำงาน
    -  เพื่อให้การคบหาสมาคมเป็นไปอย่างราบรื่น
    -  เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน
    ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องมนุษยสัมพันธ์สำหรับเลขานุการ มีดังนี้
    1.  ก่อให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคม  หรือเกิดการโต้แย้งให้น้อยที่สุด
    2.  ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ผู้ร่วมงานมีความยินดีที่จะทำงานให้ ซึ่งบางครั้งในการทำงานอาจจะไม่ได้รับค่าตอบแทน  แต่ก็พอใจที่จะทำให้
    3.  นำความสำเร็จมาสู่หมู่คณะในเรื่องของงาน และก่อให้เกิดความเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น
2.  หลักการมีมนุษยสัมพันธ์
    1.  สุภาพอ่อนโยน มีกิริยาที่สุภาพ  พูดจาไพเราะ ไม่โอ้อวด
    2.  มีน้ำใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
    3.  ยิ้มแย้มแจ่มใส
    4.  รับผิดชอบ
    5.  ร่วมมือ รู้จักทำงานเป็นทีม
    6.  ไม่ทำตัวมีปัญหา
    7.  คิดก่อนพูด
    8.  ตรงต่อเวลา
    9.  ไม่นินทา
    10. อย่าโอ้อวด
    11. จริงใจ
    12. รู้จักอาวุโส
    13. ไม่อิจฉา
    14. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    15. ไม่โกรธง่าย อดทน ควบคุมอารมณ์ได้
3.  การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบุคคล
    3.1  ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติ  เช่น อารมณ์  ความถนัด พฤติกรรม  ทัศนคติ  ความสามารถ  รสนิยม  สังคม  นิสัย  สุขภาพ รูปร่างและท่าทาง
    3.2  ความแตกต่างของบุคคล  เช่น  เพศ  วัย  การศึกษา  ฐานะทางเศรษฐกิจ  ถิ่นกำเนิด  สิ่งแวดล้อม  เชื้อชาติ  ศาสนา  ภาษา  และอิทธิพลของกลุ่ม
4.  ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Needs)
    4.1  ความต้องการทางกาย (Physical Needs)  เป็นความต้องการเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของชีวิตและการสืบพันธุ์  ซึ่งได้แก่
            -  อาหาร
            -  เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรค
            -  การพักผ่อน
            -  เพศ
    4.2  ความต้องการทางจิตใจ (Mental Needs) ได้แก่
            -  ความมั่นคงปลอดภัย (Security)
            -  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  การยกย่อง  (Recognition)
            -  การยอมรับในสังคม  (Belonging)
            -  ความสำเร็จและสมหวังในชีวิต  (Success)
5.  การปรับตัวเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
        5.1  ทักทายปราศรัยผู้อื่นก่อน
        5.2  ไม่เห็นแก่ตัว  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
        5.3  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ
        5.4  ไม่ถือชั้นวรรณะ  ฐานะ  ไม่ดูถูกผู้ที่ด้อยกว่า
        5.5  ด้านร่างกาย  ควรปรับปรุงในเรื่องของการแต่งกาย  ความสะอาดของร่างกาย  การพูดจาและน้ำเสียงแจ่มใส
        5.6  ด้านสติปัญญา  เชาวน์ปัญญา  หมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในทุก ๆ เรื่อง
        5.7  ด้านทัศนคติ  ควรปรับให้เป็นไปในทางบวก
6.  เลขานุการควรสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลระดับต่าง ๆ ดังนี้
        6.1  มนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
        6.2  มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
        6.3  มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
        6.4  มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลภายนอกที่มาติดต่อกับสำนักงาน
7.  ลักษณะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
    -  ทำตนให้มีชีวิตชีวา  ยิ้มแย้มแจ่มใส
    -  รู้จักควบคุมอารมณ์ของตน
    -  มีบุคลิกภาพที่ดี
    -  มีสัมมาคารวะ
    -  เป็นนักฟังที่ดี
    -  รู้จักใช้คำพูดหรือภาษาพูดให้เหมาะสม
    -  ไม่เป็นผู้เย่อหยิ่งถือตัว
    -  มีไมตรีจิตและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    -  แสดงความชื่นชมบุคคลอื่นด้วยความจริงใจ
    -  พยายามจดจำลักษณะเด่น ๆ รวมทั้งชื่อ นามสกุล ของบุคคลให้ได้มากที่สุด
    -  แสวงหาความสนใจร่วมกัน คุยกันเรื่องที่สนใจหรือชอบเหมือน ๆ กัน
    -  ช่างซักถาม แต่อย่าให้มากจนเกินไป
    -  สนใจบุคคลอื่น ศึกษาความต้องการและความแตกต่างของบุคคลอื่น
    -  รู้จักทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น
    -  ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น
    -  ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุขและอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    -  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
    -  ให้ความเคารพนับถือและให้ความร่วมมือที่ดี
    -  สร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกับบุคคลรอบข้าง
    -  เป็นคนมีศีลธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น