Pr realestates | Management| Marketing |Advertising| Communication | Public Relations| Strategies | Economy
โครงเรื่อง การสอน การพาดหัวข่าว และการเขียนข่าว
โครงเรื่อง การสอน การพาดหัวข่าว และการเขียนข่าว
1.การแนะนำ/เกริ่นนำเรื่อง “พาดหัวข่าว”
- คำจำกัดความ
- รูปแบบ
พาดหัวข่าวเต็มหน้า
หัวรอง
พาดหัวเริ่มเรื่อง หรือ “KICKER”
หัวข่าวต่อ
หัวข่าวแบบวางเสมอซ้ายแล้วทิ้ง (FLUSH LEFT)
พาดหัวข่าวแบบวางฐานเจดีย์
พาดหัวหลายเด็ด (หลายบรรทัด)
หัวตอน
- หน้าที่
ดึงดูดความสนใจ
จัดลำดับความสำคัญของข่าว
ให้เท็จจริง หรือ แจ้งข่าว
ขายเรื่อง
ช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์
บอกตำแหน่งข่าวในหน้าต่อ
2. การพาดหัวข่าว / มุมมอง / วิธีการ / แนวคิด ในการทำงานจริง
พาดหัวข่าวเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนข่าว
การพาดหัวข่าวเริ่มจากการวางแผนข่าว
ตัวอย่าง / คำอธิบายของ การพาดหัวข่าวที่เป็นขั้นตอนสุดท้าย และการวางแผนข่าว / ใคร คือ ผู้ที่พาดหัวข่าว / ทำไมต้องเป็นคนนี้ (มีรายละเอียดแนบมาด้วย)
การพาดหัวข่าวในชีวิตประจำวัน / ใน บทสนทนา ( ชี้ให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วการพาดหัวข่าวซึ่งก็ คือ การนำประเด็นหรือ เรื่อง หรือข้อความที่สำคัญที่สุดมากล่าวมา หรือพูดถึงในอันดับแรกเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่านั่น คือ หลักการเดียวกับการพาดหัวข่าว)
ตัวอย่างและให้ น.ศ.ที่ร่วมในการสอนมีส่วนร่วมในหัวข้อ“การพาดหัวข่าวในชีวิตประจำวัน” โดยยกตัวอย่างในเรื่องใกล้ ๆ ตัว
วิธีการฝึกพาดหัวข่าวโดยไม่จำเป็นต้องทำข่าว เขียนข่าว หรือใช้อุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
เวิร์กอป เรื่องการประชุมข่าว วางแผนข่าว กำหนดประเด็นข่าว เพื่อจะนำไปสู่การพาดหัวข่าวที่ดี
บันไดก่อน 3 ขั้นก่อนที่จะไปถึงการพาดหัวข่าว (แจกเนื้อหาข่าว (1) ให้ น.ศ. สรุปประเด็นให้ได้แล้วนำมาเขียนโปรย (2) คัดเลือกประเด็นจากโปรยมาพาดหัวข่าว (3)
3. การพาดหัวข่าว
ต้องรู้ว่ามีเนื้อที่เท่าไร (DUMMY)
ใช้ตัวอักษรกี่ตัว
สรุปประเด็นเขียนให้เป็นประโยค
ดัดแปลงจากประโยคให้เป็นภาษาพาดหัวโดยใช้จำนวนตัวอักษรตามเนื้อที่กำหนด
ต้องใช้ทักษะการใช้ภาษาไทยอย่างสูง เช่น ละประธาน / ละกรรรม / ใช้คำที่มีความหมาย / รุนแรง /มีสีสัน / มีอารมณ์ขัน
ประเด็นที่หยิบมาพาดหัวต้องมีอยู่ในข่าว และมีรายละเอียดเพียงพอ
ต้องระวังเรื่องหมิ่นประมาท หรือ หมิ่นเหม่ต่อจรรยาบรรณ และจริยธรรมของสื่อ
ห้ามใช้คำไม่สุภาพ
ไม่ใส่ความเห็นแต่ตีความได้โดยอยู่พื้นฐานของข้อเท็จจริง และจริยธรรม
ทั้งนี้ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
หลีกเลี่ยงการใช้คำพาดหัวข่าวที่ซ้ำกับข่าวอื่น ในหน้าเดียวกัน
ต้องมีคำกริยา หรือคำอื่นที่แสดงการกระทำอยู่ด้วยเสมอ
พาดหัวข่าวแบบ “ตะโกน”
4. คุณสมบัติของผู้ที่จะพาดหัวข่าวได้ดี
ละเอียดอ่อน
จับประเด็นข่าวได้ดี
รอบรู้
เป็น “นาย” ของภาษา
มีอารมณ์ขัน
มีวิจารณญาณ และวุฒิภาวะ
ละเอียดถี่ถ้วน
5. ฝึกการพาดหัวข่าว จากเนื้อข่าวจริง / ดัมมี่จริง / ใช้ตัวอักษรตามที่กำหนด โดยให้ น.ศ. ทุกคนที่ร่วมฟังหารือ และแลกเปลี่ยนความเห็นกันเอง (มีเนื้อข่าวให้ 3 – 4 ข่าว ให้
น.ศ. ประชุมคัดเลือกว่า ข่าวไหนจะเป็นข่าวใหญ่ที่สุด และข่าวที่มีความสำคัญรองลงมา เสร็จแล้วให้อ่านข่าวแล้ว ใช้หลักการ และความรู้ตั้งแต่ต้น มาพาดหัวข่าว ให้ได้ประเด็นสำคัญ ดึงดูดความสนใจและใช้ตัวอักษรตามที่กำหนด
6. สรุปปัญหา / จุดอ่อน ที่ต้องแก้ไขในการพาดหัวข่าว จากการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมทั้งแนะนำการแก้ไข
การผลิตชุดการเรียนการสอน ในหัวข้อการพาดหัวข่าว และการเขียนข่าว จะเน้นในเรื่องการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในทุกหัวข้อ ทุกขั้นตอนโดยประยุกต์มาจากหลักวิชาการอีกทั้ง จะใช้การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ไม่ยึดติดหรือไม่มีหลักวิชาการมาเกี่ยวข้อง แต่ชี้ให้เห็นว่า วิธีการแบบนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังจะเป็นไปตามหลักวิชาการ
ในการผลิตจำเป็นต้องใช้นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจากอาจารย์ผู้สอนแล้วว่าเป็นนักศึกษาที่กล้าแสดงออก มีความสนใจในวิชาชีพ สื่อสารมวลชนด้านข่าวเพียงพอ มีบุคลิกภาพที่ดี มีมุมมองและกล้าแสดงความคิดเห็น จำนวนราว 20 – 30 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ นักศึกษาที่ได้เรียนรู้จากการสื่อสารชุดนี้จะเข้าใจ และมีความรู้ในการทำข่าวทั้งกระบวนการตั้งแต่การทำข่าว การคิดประเด็นข่าว การเขียนข่าวไปจนถึง การพาดหัวข่าว ซึ่งทั้งหมดนั้นเกี่ยวเนื่องกันอย่างยิ่งยากที่จะแยกเฉพาะส่วนใด ส่วนหนึ่งออกจากกัน จนอาจกล่าวได้ว่า ใครก็ตามที่วางแผนข่าว เขียนข่าว สรุปประเด็นข่าวได้ดี ก็ย่อมจะพาดหัวข่าวได้ดีด้วย เนื่องเพราะในการทำงานจริง การพาดหัวข่าวไม่ใช่แค่การอ่านข่าวแล้ว สรุปประเด็นนำมาพาดหัวข่าวเท่านั้น แต่ต้องประกอบไปด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว เพียงแต่ว่าผู้ปฏิบัติงานจริงทำเช่นนั้น เป็นประจำจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ จึงไม่ได้แยกแยะออกมาว่าก่อนจะพาดหัวข่าวต้องทำอะไรบ้าง
หากมีใครไปถาม บ.ก. ข่าวหน้า 1 จากหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ว่าการพาดหัวข่าว คือ อะไร ต้องทำอย่างไรบ้าง ก็คงไม่พ้นที่จะได้รับคำตอบว่า “สรุปประเด็นข่าวที่สำคัญที่สุดให้เป็นข้อความและตัวอักษรที่มีขนาด และจำนวนตามที่กำหนด” ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้นหากแต่ไม่ทุกข่าวที่ทำเช่นนั้น และวิธีการดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการพาดหัวข่าวที่ดีที่สุด ถือเป็นเพียง การพาดหัวข่าวแบบตามกระแส ตามปกติเท่านั้น
การพาดหัวข่าว ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของบรรณาธิการข่าว และเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำหนังสือในส่วนของเนื้อหา ก่อนที่จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไมการพาดหัวข่าว ถึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเขียนข่าว ในเมื่อหลักการเขียนข่าว ใช้หลักการลำดับความสำคัญ เป็นส่วนใหญ่ และนักข่าวจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะเขียน “ความนำ” หรือ “โปรย” หรือ “ลีด” ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อไปในส่วนของ “ส่วนเชื่อม” หรือ“เน็ค” ตามมาด้วย เนื้อเรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้ทำไม ไม่เขียนพาดหัวข่าว ก่อนแล้วจึงเขียนตามมา
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การทำงานในกองบรรณาธิการซึ่งประกอบไปด้วย ผู้สื่อข่าวจำนวนมาก ข่าวบางข่าวที่มาจากนักข่าวเพียงคนเดียวจะไม่สมบูรณ์ ถ้ามีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับข่าวสายอื่น ๆ จำเป็นต้องมรการหาข้อมูลจากนักข่าวจากสายข่าวอื่น ๆ เช่น ข่าวที่นายกรัฐมนตรีสั่งให้ศึกษาตามความเหมาะสม ในการเปิดบ่อนการพนันโดยถูก กฎหมาย ข่าวชิ้นนี้จะมาจากนักข่าวการเมืองสายทำเนียบรัฐบาล รายละเอียดของข่าวจะมีมากพอสมควร แต่เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานานในสังคมไทย จึงต้องมีความเห็นจากส่วนต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น จากนักวิชาการ นักการเมืองที่ไม่เห็นด้วย มาเพิ่มเติม
จากตัวอย่างข้างต้น การพาดหัวข่าวเริ่มต้นที่การเขียนข่าว ข่าวที่นักข่าวสายทำเนียบรัฐบาล จะต้องพาดหัวว่า “นายกฯ สั่งเคลียร์บ่อนเสรี” หรือ“บ่อนเสรีใกล้งวด ทักษิณทำโพลล์”
แต่ถ้าหากมีข่าวจาก นักข่าวสายสังคม ที่สอบถามความเห็นนักวิชาการ นักสังคมวิทยา หรือองค์กรเอกชน มีประเด็นว่า บุคคลเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับ แนวความคิดของนายกฯ ประเด็นที่หยิบยกมาพาดหัวข่าว ก็อาจจะเป็น “รุมค้านบ่อนเสรี นักวิชาการเดือด”
อย่างไรก็ตามที่สุดแล้ว ข่าวนี้ก็อาจจะพาดหัวข่าวในประเด็นของนายกฯ ก็ได้ หากไม่มีประเด็นข่าวอื่น ๆ สำคัญกว่า และในข้อเท็จจริงก็เป็นเช่นนั้น เนื่องจากว่าเป้นครั้งแรกที่ข้อถกเถียงเรื่องบ่อนกำลังจะได้ข้อยุติ และนายกรัฐมนตรีคนนี้ก็เป็นนายกฯ คนแรกที่ตัดสินใจหาวิธียุติปัญหาที่เรื้อรังมานาน
จากตัวอย่างที่ยกมา คงจะเห็นแล้วว่า ทำไมการพาดหัวข่าว คือ ผู้ที่ไปทำข่าวมา แล้วก็เป็นคนเขียนข่าวด้วย อาจจะผ่านการ “เขียนใหม่” หรือที่เรียกกันว่า “รีไรท์” บ้าง แต่ส่วนใหญ่เนื้อหาก็ไม่ได้เปลี่ยนไปสักเท่าไร
ที่เป็นเช่นนั้นก็เป็นเพราะว่า การพาดหัวข่าว คือ การดึงประเด็นที่สำคัญที่สุดของข่าวออกมา แน่ละประเด็นที่ดึงออกมา ต้องสำคัญที่สุดจริง ๆ ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องเป็นประเด็นที่ต้อง
ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น การพาดหัวข่าวจึงต้องใช้ทั้งทักษะการใช้ภาษา
ประสบการณ์ในการทำข่าว จินตนาการ การตีความ ทั้งหมดนั้นยังต้องพิจารณา อย่างถี่ถ้วนในแง่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ทั้งการที่หนังสือพิมพ์จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ การถูกฟ้องร้องหากเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาท
อย่าลืมว่า “หัวข่าว” เป็นส่วนที่มีพลังมากที่สุด มากพอที่จะส่งผลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ตามมามากมาย จนบางครั้งผู้ที่พาดหัวเองอาจคาดไม่ถึง
เมื่อเป็นเช่นนี้ การพาดหัวข่าวจึงจำเป็นที่จะต้องทำโดย บรรณาธิการข่าว หรือ หัวหน้าข่าว ซึ่งตามปกติจะเป็นบรรณาธิการข่าวหน้า 1 หรือ หัวหน้าข่าวหน้า 1
ทีนี้เรามาดูกันว่า หัวหน้าข่าวหน้า 1 หรือ บรรณาธิการข่าวหน้า 1 เขาทำงานกันอย่างไร
ขั้นตอนแรกของการพาดหัวข่าว ก็คือการ “ วางแผนข่าว ” ซึ่งกอง บ.ก. จะประชุมร่วมกันระหว่างโต๊ะข่าวต่าง ๆ เพื่อกำหนดทิศทางในการทำข่าวแต่ละวัน ซึ่งจะประชุมกันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้า และช่วงหัวค่ำซึ่งเป็นช่วงที่ข่าวจากแหล่งต่าง ๆ จะหลั่งไหลเข้ามา
การประชุมในช่วงเช้าจะกำหนดคร่าว ๆ ว่าในวันนั้น ๆ จะมีข่าวอะไรบ้าง และจะแจกจ่ายงานให้นักข่าวสายไหนตามในประเด็นไหน
เช่น ณ วันนั้นเป็นวันตัดสินคดีที่ นพ.วิสุทธิ์ ถูกกล่าวหาว่า ฆ่าหั่นศพ ภรรยาตัวเอง หัวหน้าข่าวหน้า 1 ก็จะมีแผนอยู่ในใจแล้วว่า จะต้องมีข่าวนี้อยู่ในหน้า 1 แน่นอน และคิดต่อไปว่าจะพาดหัวข่าวนี้ในประเด็นไหน ด้วยถ้อยคำอย่างไร ถึงแม้ว่าในขณะนั้น ผลการตัดสินยังไม่ปรากฏ
หลังจากนั้นในการประชุมข่าวช่วงหัวค่ำ หรือ อาจมีในช่วงบ่ายจะเป็นการพิจารณาคัดเลือกว่าจะมีข่าวหน้า 1 และจะเป็นข่าวอะไรบ้างข่าวไหนจะเป็นข่าวใหญ่ที่สุด ที่เรียกกันว่า”ข่าวลีด” หรือ “ข่าวนำ” ข่าวไหนจะสำคัญรองลงมา รวมทั้งคัดเลือกภาพที่จะอยู่ในหน้า 1 ด้วย
ขั้นตอนนี้อาจจะทำให้มีคำถามว่า การพาดหัวข่าวที่บอกว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนข่าว แล้วทำไมถึงบอกว่ามีการพาดหัวข่าวในการประชุมข่าว
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการพาดหัวข่าวนั้นต้องมีการวางแผนตระเตรียมข้อมูล และประเด็นที่จะดึงออกมาจากข่าว ไม่ใช่แค่รอรับข้อมูลจากนักขาวที่นักข่าวทำมาอย่างเดียว การทำแบบนี้จะทำให้ได้ประเด็นข่าวที่ดี น่าสนใจ ซึ่งจะส่งผลต่อการพาดหัวข่าวได้ดี และน่าสนใจตามมาด้วย
สรุปก็คือ การพาดหัวข่าวยังคงทำในขั้นตอนสุดท้ายอยู่ดีเพราะต้องพิจารณาว่าประเด็นข่าวที่ได้มานั้นเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่
มาถึงตอนนี้อาจจะงง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มาดูตัวอย่างการทำงาน ทำนองนี้กันดีกว่า
ในวันที่ศาลพิพากษาคดี น.พ.วิสุทธิ์ ฆ่าหั่นศพ พ.ญ.ผัสพร บ.ก.ข่าวหน้า 1คิดคำพาดหัวข่าวเอาไว้ในใจแล้วว่า หากศาลตัดสินลงโทษไม่ว่าจะหนักหรือเบา หรือ ยกฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่จะหยิบยกมาพาดหัวข่าวได้ทั้งสิ้น แต่นั่นยังไม่เพียงพอ บ.ก.ข่าวหน้า 1 จะต้องคิดประเด็นที่จะเพิ่มเติม เพื่อให้พาดหัวข่าวของตัวเองโดดเด่นกว่าของหนังสือพิมพ์อื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องสั่งให้นักข่าวติตาม พ่อของ พ.ญ.ผัสพร ที่ต่อสู้คดีนี้ว่าจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อผลการตัดสินซึ่งต้องระวังในการนำเสนอ เพราะอาจเข้าข่ายวิจารณ์คำตัดสินของศาลซึ่งถือว่า เป็นการหมิ่นศาล มีโทษถึงขั้นจำคุก
ในที่สุดศาลตัดสินประหารชีวิต น.พ.วิสุทธิ์ และพ่อของ พ.ญ.ผัสพร ก็ให้สัมภาษณ์ว่า พอใจในคำตัดสินของศาล บ.ก.ข่าวหน้า 1 ก็ได้ประเด็นที่จะมาพาดหัวข่าวอย่างที่คิดเอาไว้
เรื่องนี้อาจจะไม่ซับซ้อนเท่าใด เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่อยู่ในความสนใจจะฉีกประเด็นออกไปอย่างไร ก็ยังน่าสนใจสู่ประเด็นหลักซึ่งก็คือ“ศาลตัดสินประหารชีวิต น.พ.วิสุทธิ์” ไปได้ กระนั้นก็ตาม บ.ก.ข่าวหน้า 1 ก็ยังต้องพยายามหาประเดนข่าวที่จะมาอยู่ในพาดหัวข่าวมากขึ้น
แต่เรื่องนี้ซับซ้อนมากกว่า
2 ปีก่อน มีข่าวงูเผือกให้หวยแม่นอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เนื้อหาที่เป็นข่าวมาตลอดก็คือ มีชาวบ้านไปกราบไหว้งูเผือก และเจ้าของจะคอยบอกกับผู้ที่ไปกราบไหว้ว่าเจ้าแม่งูเผือก มาเข้าฝันบอกบอกหวยเลขอะไร เมื่อคืนที่ผ่านมา คนก็แห่ไปซื้อหวยแล้วก็ร่ำลือกันว่า แม่นนักแม่นหนา หนังสือพิมพ์หลายฉบับนำเสนอในประเด็นนี้ มีผู้อ่านส่วนหนึ่งสนใจ แต่อีกไม่น้อยที่มองว่าเป็นเรื่องงมงาย
บ.ก. ข่าวของ น.ส.พ.ฉบับหนึ่งมาคิดว่า ข่าวนี้เป็นที่สนใจของผู้อ่านไม่น้อย และมีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนอยู่ กล่าวคือ มีแต่ข่าวว่าเจ้าแม่งูเผือกให้หวย มีชาวบ้านแห่ไปกราบไหว้ หากจะนำเสนอก็จะไม่มีประเด็นไหนไปพาดข่าวที่น่าสนใจ นอกจากประเด็นนี้ พาดหัวข่าวที่ได้ก็คงจะหนีไม่พ้น “ชาวบ้านแห่ขอหวย เจ้าแม่งูเผือก”
หรือ ถ้าจะให้งมงายน้อยลงหน่อย ก็อาจจะมีประเด็นความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลาน มาอธิบายว่า งูเผือกเป็นปรากฏการณ์ปกติของสัตว์ประเภทนี้ เพราะนั้น การนำข่าวนี้มานำเสนอ พาดหัวข่าวถือว่าไม่ดึงดูด ความสนใจเท่าไร ที่สำคัญข่าวนี้ก็นำเสนอไปแล้วเกือบ 2 เดือน
ในเมื่อยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจน หน้าที่ของหนังสือพิมพ์ก็ต้องทำให้ชัดเจน และประเด็นที่ชัดเจนนี่แหละ จะนำพาไปสู่พาดหัวข่าวที่ดี น่าสนใจ โดดเด่น
จงตระหนักว่า พากหัวข่าวจะดีไม่ได้ถ้าข่าวไม่มีประเด็นที่ดี และการทำข่าวแบบตั้งรับรอดึงประเด็นสำคัญมาพาดหัวข่าวเดียว จะไม่สามารถพาดหัวข่าวได้ดีเท่าการทำข่าวเชิงรุก วางแผนข่าว กำหนดประเด็นที่เฉียบคม
การติดตามเพื่อสร้างความชัดเจนในข่าวนี้จึงเริ่มขึ้นด้วยการส่งนักข่าว ไปที่บ้านของเจ้าของงูเผือก ในช่วงวันก่อนหวยออกซึ่งจะมีชาวบ้านหลายคนไป กราบไหว้เพื่อขอหวย นักข่าวคนนี้ทำทีเป็นคนบ้าหวย ไปกราบไหว้ขอหวย พร้อมทั้งสอบถามกับชาวบ้านที่นั่นว่า งวดที่แล้วมาขอหวยที่นี่หรือไม่ ได้เลขอะไร และถูกบ้างหรือเปล่า คำตอบที่ได้ก็คือ มีชาบ้าน 20 คน บอกว่ามาขอหวยเมื่องวดที่แล้ว ได้เลขต่าง ๆกันไปแล้วแต่ ภรรยาของเจ้าของจะบอกในวันไหน แถมน้องชายของภรรยาเจ้าของก็มาบอกอีกคน ทำให้เลขที่ได้หลากหลาย
และในจำนวน 20 คนนี้ ถูกหวยแค่ 2 คน ยิ่งไปกว่านั้นน้องชายภรรยาเจ้าของงูเผือกยังบอกว่า ตนเองไปซื้อเลขที่อ้างว่า เจ้าแม่งูเผือกมาเข้าฝันเหมือนกันแต่ไม่ถูก
ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีก กล่าวคือ ผู้สื่อข่าวที่ไปทำข่าวนี้ในคราบของคนบ้าหวยยัง พบว่า เจ้าของงูเผือกกำลังเดินทางไปรับร่างทรงรายใหม่ มาแทนร่างทรงเก่า เพราะว่า ร่างทรงเก่าผลงานไม่ดี ให้หวยไม่ถูก
เมื่อข่าวเป็นอย่างนี้ พาดหัวข่าวนี้จึงออกมาว่า “งูเผือกชักมั่ว ให้หวยผิดอื้อ”
ทำไมถึงต้องวางแผน ติดตามประเด็นข่าว อย่างเจาะลึกถี่ถ้วน ก่อนที่จะพาดหัวข่าว
คำตอบ ก็คือ เพราะการพาดหัวข่าวจะต้องใช้ประเด็นข่าว ที่มีอยู่ในข่าวเท่านั้น ใครก็ตามย่อมไม่สามารถพาดหัวข่าวตามใจตัวเอง โดยที่ไม่มีเนื้อหานั้น ๆ ในข่าวได้ เพราะหากฝืนกระทำเช่นนั้น จะเป็นการทำลาย ความน่าเชื่อถือของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นอย่างรุนแรง
อย่าว่าแต่เอาประเด็นที่ไม่มีในข่าวพาดหัวเลย แค่ประเด็นที่ดึงดูดความสนใจได้อย่างดี แต่มีอยู่ในข่าวแค่นิดเดียว ก็ถือว่าเสียหายมากแล้ว เราเพราะจะถูกมองว่ามุ่งแต่จะขายข่าว เอาเรื่องเล็กน้อยมาพาดหัว
มาถึงขั้นนี้แล้วเป็นอันชัดเจนว่า การพาดหัวข่าวที่ดีต้องมาจากข่าวที่ดี และข่าวที่ดีก็ต้องมาจากการวางแผนข่าวที่ดี
แต่แค่นี้ยังไม่พอหรอกสำหรับการพาดหัวข่าว
ใคร ๆ ก็รู้ว่า “พาดหัวข่าว” คือ การดึงเอาประเด็นสำคัญที่สุดในข่าวนั้นออกมาใส่ไว้ในตำแหน่งที่เป็นจุดเด่นเห็นได้ชัด ปัญหามีอยู่ว่าตรงไหน ประเด็นไหนที่สำคัญ และดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ดีที่สุด
ประเด็นที่สำคัญที่สุดของ บ.ก.ข่าวหน้า 1 แต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน แม้จะถูกดึงมาจากข่าวเช่นเดียวกัน แน่ละข่าวที่ว่านี้หมายถึง ข่าวที่ผ่านการวางแผน คิดค้นประเด็นก็ได้
ข่าวงูเผือกเป็นตัวอย่างที่ดีของประเด็นข่าวที่สามารถคัดเลือกมาพาดหัวข่าวได้หลายประเด็น
ให้หวยไม่แม่น 20 คนถูกแค่ 2 คน
ขนาดคนใกล้ชิดที่มาเข้าฝันยังถูกกิน
ร่างทรงเดิมไม่เวิร์คต้องเปลี่ยน
อีกข่างหนึ่งที่เป็นตัวอย่าง (โพลล์ดูเร็กซ์)
หลักการ หรือวิธีการพาดหัวข่าวในตำราด้านวารสารศาสตร์นั้น ระบุไว้หลายประเด็นในที่นี้จะสรุป จากการทำงานจริงว่า ทำอย่างไรหรือต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง จึงพาดหัวข่าวได้ดี
นอกเหนือจากจะต้อง สรุปประเด็นสำคัญให้ได้ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของคนที่จะมาเป็น บ.ก.ข่าวหน้า 1 แล้ว คนที่จะพาดหัวข่าวได้ดีจะต้องเป็นผู้ที่ใช้ภาษาไทยได้ดี เนื่องจากการพาดหัวข่าวจะต้องใช้ถ้อยคำที่กระชับอย่างยิ่ง และไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ว่าคำที่ใช้จะมีความยาวเท่าไร ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ที่ กำหนดไว้ในการวางหน้า (ดัมมี่) เพราะฉะนั้น ภาษาที่ใช้จึงอาจต้องมีการละประธาน ละกรรม
การพาดหัวข่าวที่ดีนั้น ในแต่ละบรรทัดไม่ว่าจะสั้นหรือยาวแค่ไหน ควรจะเป็นประโยค ไม่ใช่วลี และในบรรทัดนั้นจะต้องเป็นประโยคที่จบในตัว ไม่ใช่พาดหัวข่าว 2 หรือ 3 บรรทัด มาต่อกันเป็น 1 ประโยค ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าเป็นการเขียนประโยคขึ้นมาประโยคหนึ่ง แล้วตัดประโยคนั้นให้มีความยาวเท่ากับเนื้อหาที่ที่มีอยู่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น