การตลาดแนวใหม่ (Modern Marketing )
การสื่อสารการตลาดแนวใหม่ (Modern Marketing) IMC-ไอเอ็มซี เป็นการวางแผนภายใต้แนวความคิดเดียวกันโดยใช้เครื่องมือการสื่อสาร(Tools) ที่หลากหลาย
ปัจจุบันกลยุทธ์ไอเอ็มซี เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงและคุณค่าตลอดจนบุคลิกภาพของตราสินค้าผ่านเครื่อง มือสื่อสารการตลาด เพื่อใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเครื่องมือเหล่านี้จะต้องพูดในเนื้อหาเดียวกัน (Speak with one voice) เพื่อสนับสนุนและตอกย้ำตราสินค้า เครื่องมือไอเอ็มซีมีหลากหลายประเภทด้วยกัน(IMC in Action,ผศ.ธีรพันธ์โล่ทองคำ.2545:29)
วิธีไม่ว่าจะเป็นการพูดถึง ตราสินค้า
(word-of-mouth) คำพูดและคำวิจารณ์ต่างๆไม่ว่าจะมาจากเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ลูกค้าหรือแม้กระทั่งคู่แข่งเองก็ตามย่อมส่งผลกระทบกับตราสินค้าทั้งสิ้น ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีประสบการณ์ที่ดีกับตราสินค้า ย่อมแสดงข้อคิดเห็นหรือพูดถึงตราสินค้าในทางที่ดี อาทิ
“ใช้มาแล้วหลายอย่าง สู้อันนี้ไม่ได้เลย ขอบอก”
“เสียดายจัง! หมดเงินไปเยอะกว่าจะมาเจอของดีอย่างนี้” เป็นต้น
แต่ตรงกันข้าม ถ้าเขาเหล่านั้นเคยได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีก็จะพูดถึงตราสินค้านั้นไปในทาง เสียๆ หายๆและในขณะเดียวกันพนักงานบริษัทเจ้าของตราสินค้านั้นก็ต้องพูดถึงตราสินค้าไปในทางบวกเช่นกันเพราะบุคคลภายนอกที่รายล้อมธุรกิจจะเชื่อถือคำพูดของ บุคคลเหล่านี้มากที่สุด เพราะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับตราสินค้ามากที่สุด
มารยาทและจริยธรรมของ พนักงานในบริษัท
(Employee morale) พนักงานจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์หรือวิจารณ์ตราสินค้า ไม่ว่าจะเป็นกิริยามารยาท การแต่งกาย ทัสนคติที่มีต่อตราสินค้า และความรู้ความสามารถสิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงภาพลักษณ์โดยรวมของบริษัทผู้ ผลิตสินค้า การฝึกอบรมพนักงานให้มีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานดี ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐาน ล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อพนักงานและผู้เข้ามาติดต่อใน บริษัท และจะส่งผลดีต่อตราสินค้าในที่สุด
การพัฒนาสินค้า
(Product development) เนื่องจากเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ชึ่งจะต้องยึดจุดยืนของตราสินค้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการพัฒนา สินค้าด้วย นอกเหนือจากวัตถุดิบอื่นๆเพราะการออกสินค้าใหม่จะได้ไม่ขัดกับบุคลิกภาพและจุดยืนของสินค้าที่กำหนด ไว้ และการพัฒนาสินค้าจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ที่คาดว่า จะเป็นผู้บริโภค
ลักษณะทางกายภาพของสถานที่
(Physical premises)
จะต้องมีลักษณะโครงสร้งเหมือนกันเพื่อเป็นการตอกย้ำความทรงจำในบุคลิกภาพของ ตราสินค้า โดยอาศัยหลักไอเอ็มซีในเรื่องความคงที่สมด่ำเสมอ (Consistency) จะเห็นได้จากธนาคารหลายแห่ง ทุกสาขามักจะมีโครงสร้าง สีสัน รูปแบบ และภาพลักษณ์ที่ทราบทันทีเลยว่าเป็นธนาคารอะไร เป้นต้น
หีบห่อสินค้า
(Packaging) เปรียบเสมือนเครื่องแต่งกายสินค้า ถือว่าหีบห่อเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคมองเห็นก่อนตัวสินค้าด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าใช้หีบห่อที่ดีและเหมาะสมก็จะช่วยส่งเสริมการขายให้กับสินค้าได้ และการออกแบบหีบห่อนั้นก็ต้องออกแบบไปในตามแนวสินค้าแต่ละชนิด เป็นไปตามตำแหน่งที่กำหนดด้วยและที่สำคัญต้องมีลักษณะที่โดดเด่น และแตกต่างจากตราสินค้าอื่นในกลุ่มเดียวกัน
การประชาสัมพันธ์
(Public Relations) เครื่องมือสื่อสารการตลาดหนึ่งที่มุ่งเน้นการสร้าง รักษา และแก้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า และเป็นเครื่องมือที่นิยมในยุคปัจจุบันที่มีเศรษฐกิจตกต่ำ เนื่องจากจะช่วยประหยัดงบประมาณในการสื่อสาร ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับการทำโฆษณาที่ต้องใช้งบประมาณสูง แต่อย่างไรก็ ตาม ทั้งโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ก็จำเป็นสำหรับการสร้างตราสินค้า เพราะทำหน้าที่และหวังผลในระยะเวลาที่แตกต่าง
การโฆษณา
(Advertising) เน้นการสื่อสารที่มุ่งให้เกิดการขายสินค้ามากกว่าภาพลักษณ์ของตราสินค้า ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องเขียนขอบข่ายของแผนงานโฆษณาอย่างรัดกุม ชัดเจน และที่สำคัญจะต้องปฎิบัติตามแผนงานที่กำหนด ย่อมส่งผลให้การสร้างตราสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมเชิงการตลาด
(Event Marketing) ปัจจุบันกิจกรรมเชิงการตลาดเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่ม มากขึ้น ซึ่งการจัดกิจกรรมเชิงการตลาดก็มีทั้งในลักษณะที่เน้นตัวสินค้า องค์กรและชุมชน (Product, corporate and community) ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม ก็จะสื่อสารด้วนตราสินค้าทั้งสิ้น
การจัดงานแสดงสินค้า
(Trade shows) เป็นการสื่อสารการที่มุ่งแสดง สาธิต รับสั่งจองและขายสินค้า เป็นการนำผู้ขายและผู้ซื้อมาพบกัน โดยผ่านช่องทางที่ใช้ต้นทุนต่ำในการนำเสนอและสาธิตสินค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือนี้สามารถกำหนดสินค้าและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เช่น
- สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ ม จะเหมาะกับงานแสดงสินค้า “Food Fair”
- สินค้ากลุ่มอุปกรณ์ภายในบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งเหมาะกับงานแสดงสินค้า “Home Fair” เป็นต้น
การส่งเสริมการขาย
(Sales Promotion) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มุ่งเสนอ คุณค่า ข้อเสนอหรือสิ่งจูงใจพิเศษ (Extra Value) แก่กลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค พนักงานขายหรือแม้กระทั่งผู้จำหน่ายสินค้าอย่างร้านค้าเองก็ตาม เพื่อเร่งให้เกิดการซื้อสินค้าให้เร็วขึ้น และก่อให้เกิดอัตราการซื้อให้มากขึ้นด้วย นักสื่อสารการตลาดจะรู้จักกลยุทธ์การส่งเสริมการขายในรูปแบบของการแจกสินค้า ตัวอย่าง การให้คูปองส่วนลดราคา การแถมสินค้า ตลอดจนการชิงโชค และการแข่งนขัน เป็นต้น
การเป็นผู้อุปถัมภ์และ กิจกรรมทางการตลาด
(Sponsorship and Event Marketing) การสนับสนุนทางการตลาด (Sponsorship Marketing) เป็นเครื่องมือที่เจ้าของสินค้าลงทุนเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นผู้สนับ สนุนทางการตลาดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเห็นตราสินค้ามากขึ้น โดยหวังผลทางธุรกิจมากกว่าภาพลักษณ์ของบริษัท แต่( Event Marketing) เน้นความสนใจในกิจกรรม ซึ่งมักจะนำสินค้าไปผูกกับเหตุการณ์พิเศษนั้น โดยหวังผลในด้านภาพลักษณ์มากกว่าธุรกิจ
การสื่อสาร ณ จุดซื้อ
(Point-of-Purchase Communications) เป็นเครื่องมือไอเอ็มซีที่ทำหน้าที่ให้ กลุ่มเป้าหมายเกิดรับรู้ จดจำในตราสินค้า และเกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า ณ จุดซื้อสินค้าเร็วขึ้น ซึ่งเครื่องมือนี้อาจใช้โปสเตอร์ สัญลักษณ์ ป้ายโฆษณา ป้ายติดชั้นวางของ (Shelf-Talker) หรือแม้กระทั่งบัตรวางที่เคาน์เตอร์ (Counter Cards)
โปรแกรมการสร้างความผูกพันและความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
(Affiliation and Relationship Program) เครื่องมือนี้จะเน้นและให้ความสำคัญกับการจัดโปรแกรม เพื่อสร้างความผูกพัน และความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เช่น บริษัทรถยนต์หลายแห่งมีการส่งข่าวสารและจดหมายถึงผู้ซื้อรถและใช้รถของ บริษัทของเขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ตลอดจนชักชวนให้ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั้นๆ อีกด้วย
ปัจจุบันกลยุทธ์ไอเอ็มซี เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงและคุณค่าตลอดจนบุคลิกภาพของตราสินค้าผ่านเครื่อง มือสื่อสารการตลาด เพื่อใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเครื่องมือเหล่านี้จะต้องพูดในเนื้อหาเดียวกัน (Speak with one voice) เพื่อสนับสนุนและตอกย้ำตราสินค้า เครื่องมือไอเอ็มซีมีหลากหลายประเภทด้วยกัน(IMC in Action,ผศ.ธีรพันธ์โล่ทองคำ.2545:29)
วิธีไม่ว่าจะเป็นการพูดถึง ตราสินค้า
(word-of-mouth) คำพูดและคำวิจารณ์ต่างๆไม่ว่าจะมาจากเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ลูกค้าหรือแม้กระทั่งคู่แข่งเองก็ตามย่อมส่งผลกระทบกับตราสินค้าทั้งสิ้น ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีประสบการณ์ที่ดีกับตราสินค้า ย่อมแสดงข้อคิดเห็นหรือพูดถึงตราสินค้าในทางที่ดี อาทิ
“ใช้มาแล้วหลายอย่าง สู้อันนี้ไม่ได้เลย ขอบอก”
“เสียดายจัง! หมดเงินไปเยอะกว่าจะมาเจอของดีอย่างนี้” เป็นต้น
แต่ตรงกันข้าม ถ้าเขาเหล่านั้นเคยได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีก็จะพูดถึงตราสินค้านั้นไปในทาง เสียๆ หายๆและในขณะเดียวกันพนักงานบริษัทเจ้าของตราสินค้านั้นก็ต้องพูดถึงตราสินค้าไปในทางบวกเช่นกันเพราะบุคคลภายนอกที่รายล้อมธุรกิจจะเชื่อถือคำพูดของ บุคคลเหล่านี้มากที่สุด เพราะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับตราสินค้ามากที่สุด
มารยาทและจริยธรรมของ พนักงานในบริษัท
(Employee morale) พนักงานจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์หรือวิจารณ์ตราสินค้า ไม่ว่าจะเป็นกิริยามารยาท การแต่งกาย ทัสนคติที่มีต่อตราสินค้า และความรู้ความสามารถสิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงภาพลักษณ์โดยรวมของบริษัทผู้ ผลิตสินค้า การฝึกอบรมพนักงานให้มีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานดี ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐาน ล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อพนักงานและผู้เข้ามาติดต่อใน บริษัท และจะส่งผลดีต่อตราสินค้าในที่สุด
การพัฒนาสินค้า
(Product development) เนื่องจากเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ชึ่งจะต้องยึดจุดยืนของตราสินค้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการพัฒนา สินค้าด้วย นอกเหนือจากวัตถุดิบอื่นๆเพราะการออกสินค้าใหม่จะได้ไม่ขัดกับบุคลิกภาพและจุดยืนของสินค้าที่กำหนด ไว้ และการพัฒนาสินค้าจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ที่คาดว่า จะเป็นผู้บริโภค
ลักษณะทางกายภาพของสถานที่
(Physical premises)
จะต้องมีลักษณะโครงสร้งเหมือนกันเพื่อเป็นการตอกย้ำความทรงจำในบุคลิกภาพของ ตราสินค้า โดยอาศัยหลักไอเอ็มซีในเรื่องความคงที่สมด่ำเสมอ (Consistency) จะเห็นได้จากธนาคารหลายแห่ง ทุกสาขามักจะมีโครงสร้าง สีสัน รูปแบบ และภาพลักษณ์ที่ทราบทันทีเลยว่าเป็นธนาคารอะไร เป้นต้น
หีบห่อสินค้า
(Packaging) เปรียบเสมือนเครื่องแต่งกายสินค้า ถือว่าหีบห่อเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคมองเห็นก่อนตัวสินค้าด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าใช้หีบห่อที่ดีและเหมาะสมก็จะช่วยส่งเสริมการขายให้กับสินค้าได้ และการออกแบบหีบห่อนั้นก็ต้องออกแบบไปในตามแนวสินค้าแต่ละชนิด เป็นไปตามตำแหน่งที่กำหนดด้วยและที่สำคัญต้องมีลักษณะที่โดดเด่น และแตกต่างจากตราสินค้าอื่นในกลุ่มเดียวกัน
การประชาสัมพันธ์
(Public Relations) เครื่องมือสื่อสารการตลาดหนึ่งที่มุ่งเน้นการสร้าง รักษา และแก้ภาพลักษณ์ของตราสินค้า และเป็นเครื่องมือที่นิยมในยุคปัจจุบันที่มีเศรษฐกิจตกต่ำ เนื่องจากจะช่วยประหยัดงบประมาณในการสื่อสาร ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับการทำโฆษณาที่ต้องใช้งบประมาณสูง แต่อย่างไรก็ ตาม ทั้งโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ก็จำเป็นสำหรับการสร้างตราสินค้า เพราะทำหน้าที่และหวังผลในระยะเวลาที่แตกต่าง
การโฆษณา
(Advertising) เน้นการสื่อสารที่มุ่งให้เกิดการขายสินค้ามากกว่าภาพลักษณ์ของตราสินค้า ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องเขียนขอบข่ายของแผนงานโฆษณาอย่างรัดกุม ชัดเจน และที่สำคัญจะต้องปฎิบัติตามแผนงานที่กำหนด ย่อมส่งผลให้การสร้างตราสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมเชิงการตลาด
(Event Marketing) ปัจจุบันกิจกรรมเชิงการตลาดเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่ม มากขึ้น ซึ่งการจัดกิจกรรมเชิงการตลาดก็มีทั้งในลักษณะที่เน้นตัวสินค้า องค์กรและชุมชน (Product, corporate and community) ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม ก็จะสื่อสารด้วนตราสินค้าทั้งสิ้น
การจัดงานแสดงสินค้า
(Trade shows) เป็นการสื่อสารการที่มุ่งแสดง สาธิต รับสั่งจองและขายสินค้า เป็นการนำผู้ขายและผู้ซื้อมาพบกัน โดยผ่านช่องทางที่ใช้ต้นทุนต่ำในการนำเสนอและสาธิตสินค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือนี้สามารถกำหนดสินค้าและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เช่น
- สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ ม จะเหมาะกับงานแสดงสินค้า “Food Fair”
- สินค้ากลุ่มอุปกรณ์ภายในบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งเหมาะกับงานแสดงสินค้า “Home Fair” เป็นต้น
การส่งเสริมการขาย
(Sales Promotion) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มุ่งเสนอ คุณค่า ข้อเสนอหรือสิ่งจูงใจพิเศษ (Extra Value) แก่กลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค พนักงานขายหรือแม้กระทั่งผู้จำหน่ายสินค้าอย่างร้านค้าเองก็ตาม เพื่อเร่งให้เกิดการซื้อสินค้าให้เร็วขึ้น และก่อให้เกิดอัตราการซื้อให้มากขึ้นด้วย นักสื่อสารการตลาดจะรู้จักกลยุทธ์การส่งเสริมการขายในรูปแบบของการแจกสินค้า ตัวอย่าง การให้คูปองส่วนลดราคา การแถมสินค้า ตลอดจนการชิงโชค และการแข่งนขัน เป็นต้น
การเป็นผู้อุปถัมภ์และ กิจกรรมทางการตลาด
(Sponsorship and Event Marketing) การสนับสนุนทางการตลาด (Sponsorship Marketing) เป็นเครื่องมือที่เจ้าของสินค้าลงทุนเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นผู้สนับ สนุนทางการตลาดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเห็นตราสินค้ามากขึ้น โดยหวังผลทางธุรกิจมากกว่าภาพลักษณ์ของบริษัท แต่( Event Marketing) เน้นความสนใจในกิจกรรม ซึ่งมักจะนำสินค้าไปผูกกับเหตุการณ์พิเศษนั้น โดยหวังผลในด้านภาพลักษณ์มากกว่าธุรกิจ
การสื่อสาร ณ จุดซื้อ
(Point-of-Purchase Communications) เป็นเครื่องมือไอเอ็มซีที่ทำหน้าที่ให้ กลุ่มเป้าหมายเกิดรับรู้ จดจำในตราสินค้า และเกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า ณ จุดซื้อสินค้าเร็วขึ้น ซึ่งเครื่องมือนี้อาจใช้โปสเตอร์ สัญลักษณ์ ป้ายโฆษณา ป้ายติดชั้นวางของ (Shelf-Talker) หรือแม้กระทั่งบัตรวางที่เคาน์เตอร์ (Counter Cards)
โปรแกรมการสร้างความผูกพันและความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
(Affiliation and Relationship Program) เครื่องมือนี้จะเน้นและให้ความสำคัญกับการจัดโปรแกรม เพื่อสร้างความผูกพัน และความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เช่น บริษัทรถยนต์หลายแห่งมีการส่งข่าวสารและจดหมายถึงผู้ซื้อรถและใช้รถของ บริษัทของเขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ตลอดจนชักชวนให้ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั้นๆ อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น