โดย อ.พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์
โลกธุรกิจวิ่งตามกระแสโลกาภิวัตน์และสังยุคใหม่ ค่านิยมของคนเปลี่ยนไป เป็นสังคมวัตถุนิยม (Materialism) และบริโภคนิยม (Consumerism)
ในเรื่อง การตลาด ก็รุนแรงตามไปด้วย ธุรกิจที่สามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแส พร้อมกลยุทธ์ที่โดนใจ ย่อมนำพาธุรกิจให้อยู่รอดในวงการอย่างแน่นอน
ในเรื่อง การตลาด ก็รุนแรงตามไปด้วย ธุรกิจที่สามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแส พร้อมกลยุทธ์ที่โดนใจ ย่อมนำพาธุรกิจให้อยู่รอดในวงการอย่างแน่นอน
วิวัฒนาการในการเกิดขึ้นของ “ตลาด” พอลำดับได้ดังนี้
• เดิมคนเรา ต้องการ “ปัจจัย 4” ตามธรรมชาติ
• เริ่มเป็นการผลิตแบบง่ายๆ (เริ่มมีการแบ่งงานกันทำ)
• เป็นแบบ Barter System ( เป็นการนำสินค้า กับสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน )
• เกิดเป็น Money System ( คือการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า )
• เกิดเป็น “ตลาด” ( Market )
• เดิมคนเรา ต้องการ “ปัจจัย 4” ตามธรรมชาติ
• เริ่มเป็นการผลิตแบบง่ายๆ (เริ่มมีการแบ่งงานกันทำ)
• เป็นแบบ Barter System ( เป็นการนำสินค้า กับสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน )
• เกิดเป็น Money System ( คือการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า )
• เกิดเป็น “ตลาด” ( Market )
ตลาด เกิดจากส่วนประกอบของ
1. ความจำเป็น (Needs)
2. ความต้องการ ( Wants)
3. ความปรารถนา (Wish) ที่จะซื้อ มีเงินซื้อ และมีอำนาจที่จะซื้อ
ทั้ง 3 องค์ประกอบ ก่อให้เกิด อุปสงค์ ( Demands ) : ความต้องการ
ความต้องการสินค้า อยู่บนหลักบนพื้นฐานของความจำเป็น (Need) และความต้องการ(Wants) แต่ในปัจจุบันการต้องการสินค้าของคนเรา ถูกโน้มนาวด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด
เดิมกีฬาหมายถึง การเล่นเพื่อความแข็งแรงของร่างกายหรือเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ในปัจุบันเราเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เพราะเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างแท้จริง เช่น ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี แพทย์มักแนะนำให้ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้แพทย์ก็แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการวิ่งเหยาะๆ (Jogging) แต่ไม่ให้ถึงกับหักโหม หลังจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการพบว่าผู้ป่วยหรือผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง กลับมีสุขภาพดีขึ้น
ในทุกวันนี้การได้ออกกำลังกาย หลายคนถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น การได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 30 – 60 นาที ทำให้คนเราห่างไกลจากการเป็นหวัด หรือโรคทางระบบหายใจได้ เพราะร่างกายที่แข็งแรง เราจึงมีภูมิต้านทานโรค การได้ออกกำลังกายช่วยให้ระบบหายใจของคนเราดีขึ้น
ธุรกิจกีฬายุคใหม่ได้ดึงหลักการตลาด ที่ว่าด้วย ความจำเป็น (Needs) เข้ามาช่วยในการทำตลาดอย่างเห็นได้ชัด หลายคนมองเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย สถานที่สำหรับการออกกำลังกาย กลายเป็นธุรกิจอย่างเติมรูปแบบ Fitness เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ที่สะดวกและหลายคนเลือกเป็นอันดับต้นๆ พร้อมหรือมีเวลาเมื่อใดก็เข้าไปใช้บริการได้เลย ความสะดวกและทันสมัยของอุปกรณ์การออกกำลังกายก็มีอย่างมากมาย ,มีเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้คำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง คอยแนะนำการใช้อุปกรณ์การออกกำลังกายที่ถูกต้อง
ธุรกิจการเช่าสนามฟุตบอล ประเภท ฟุตซอล (FUTSAL) มีให้เห็นอย่างมากมาย การทำธุรกิจกีฬาประเภทศูนย์สุขภาพและศูนย์กีฬา (Health Club &Sport Club) ประเภทครบวงจร พบเห็นได้ในแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ในหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโดมิเนียม ฯลฯ
เมื่อมี ความต้องการ (Wants) ปริมาณสินค้า (สถานที่ออกกำลังกาย ที่ทำเป็นเชิงธุรกิจ ) ก็จะมีมากตามไปด้วย กีฬาไม่ได้เป็นเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อพลานามัยแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ตัวของมันเองแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้า กระบวนการ ก็แปรเปลี่ยนให้กีฬาเป็นสินค้าด้วยตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์
แล้วในเรื่องของ ความปรารถนา (Wish) ที่จะซื้อ มีเงินซื้อ และมีอำนาจที่จะซื้อ ล่ะ
โลกสังยุคใหม่ ค่านิยมของคนเปลี่ยนไป เป็นสังคมวัตถุนิยม (Materialism) และบริโภคนิยม (Consumerism) การเล่นกีฬากลายเป็นแฟชั่น เป็นกระแสนิยม การเล่นกีฬาแล้วได้แต่งตัวสวยๆเป็นความภูมิใจ เช่น การแต่งกายด้วยชุดกีฬาสวย ๆ เพื่อออกไปเต้นแอร์โรบิค พบเห็นได้ในยามเย็นในแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ หรือการเล่นเทกวนโด่ตามกระแสของนักกีฬาฮีโร่ที่ประสบความสำเร็จในกีฬาโอลิปปิก แต่ความปรารถนา ในข้อนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย ที่เรียกว่า "เงิน" ที่เป็นอำนาจซื้อ ที่เป็นตัวสนับสนุนของแต่ละบุคคลด้วย
ธุรกิจกีฬาในประเทศไทย
(Sport Business in Thailand)
• อุปกรณ์กีฬา (Sport equipment)
• Sport คลับ (Sport clubs, Polo clubs,SPA)
• สนามไดร์วกอล์ฟ (Driving length)
• ศูนย์เรียนรู้ด้านกีฬา (Sport Academies)
• Fitness Club
• Sport Event
• สนามเช่า (Facilities Leasing)
• การท่องเที่ยวกีฬา (Sport tourism)
• กีฬาต่างๆที่เริ่มเป็นกีฬาอาชีพ เช่น ฟุตบอล ,เท็นนิส ฯลฯ
• โฆษณากับการกีฬา (Sport Promotion)
- หนังสือกีฬา,หนังสือพิมพ์ต่างๆ
- วิทยุ , TV
- สื่อต่างๆ
• Internet Website and Mobile Phone
• ฯลฯ
1. ความจำเป็น (Needs)
2. ความต้องการ ( Wants)
3. ความปรารถนา (Wish) ที่จะซื้อ มีเงินซื้อ และมีอำนาจที่จะซื้อ
ทั้ง 3 องค์ประกอบ ก่อให้เกิด อุปสงค์ ( Demands ) : ความต้องการ
ความต้องการสินค้า อยู่บนหลักบนพื้นฐานของความจำเป็น (Need) และความต้องการ(Wants) แต่ในปัจจุบันการต้องการสินค้าของคนเรา ถูกโน้มนาวด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด
เดิมกีฬาหมายถึง การเล่นเพื่อความแข็งแรงของร่างกายหรือเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ในปัจุบันเราเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เพราะเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างแท้จริง เช่น ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี แพทย์มักแนะนำให้ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้แพทย์ก็แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการวิ่งเหยาะๆ (Jogging) แต่ไม่ให้ถึงกับหักโหม หลังจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการพบว่าผู้ป่วยหรือผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง กลับมีสุขภาพดีขึ้น
ในทุกวันนี้การได้ออกกำลังกาย หลายคนถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น การได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 30 – 60 นาที ทำให้คนเราห่างไกลจากการเป็นหวัด หรือโรคทางระบบหายใจได้ เพราะร่างกายที่แข็งแรง เราจึงมีภูมิต้านทานโรค การได้ออกกำลังกายช่วยให้ระบบหายใจของคนเราดีขึ้น
ธุรกิจกีฬายุคใหม่ได้ดึงหลักการตลาด ที่ว่าด้วย ความจำเป็น (Needs) เข้ามาช่วยในการทำตลาดอย่างเห็นได้ชัด หลายคนมองเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย สถานที่สำหรับการออกกำลังกาย กลายเป็นธุรกิจอย่างเติมรูปแบบ Fitness เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ที่สะดวกและหลายคนเลือกเป็นอันดับต้นๆ พร้อมหรือมีเวลาเมื่อใดก็เข้าไปใช้บริการได้เลย ความสะดวกและทันสมัยของอุปกรณ์การออกกำลังกายก็มีอย่างมากมาย ,มีเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้คำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง คอยแนะนำการใช้อุปกรณ์การออกกำลังกายที่ถูกต้อง
ธุรกิจการเช่าสนามฟุตบอล ประเภท ฟุตซอล (FUTSAL) มีให้เห็นอย่างมากมาย การทำธุรกิจกีฬาประเภทศูนย์สุขภาพและศูนย์กีฬา (Health Club &Sport Club) ประเภทครบวงจร พบเห็นได้ในแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ในหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโดมิเนียม ฯลฯ
เมื่อมี ความต้องการ (Wants) ปริมาณสินค้า (สถานที่ออกกำลังกาย ที่ทำเป็นเชิงธุรกิจ ) ก็จะมีมากตามไปด้วย กีฬาไม่ได้เป็นเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อพลานามัยแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ตัวของมันเองแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้า กระบวนการ ก็แปรเปลี่ยนให้กีฬาเป็นสินค้าด้วยตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์
แล้วในเรื่องของ ความปรารถนา (Wish) ที่จะซื้อ มีเงินซื้อ และมีอำนาจที่จะซื้อ ล่ะ
โลกสังยุคใหม่ ค่านิยมของคนเปลี่ยนไป เป็นสังคมวัตถุนิยม (Materialism) และบริโภคนิยม (Consumerism) การเล่นกีฬากลายเป็นแฟชั่น เป็นกระแสนิยม การเล่นกีฬาแล้วได้แต่งตัวสวยๆเป็นความภูมิใจ เช่น การแต่งกายด้วยชุดกีฬาสวย ๆ เพื่อออกไปเต้นแอร์โรบิค พบเห็นได้ในยามเย็นในแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ หรือการเล่นเทกวนโด่ตามกระแสของนักกีฬาฮีโร่ที่ประสบความสำเร็จในกีฬาโอลิปปิก แต่ความปรารถนา ในข้อนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย ที่เรียกว่า "เงิน" ที่เป็นอำนาจซื้อ ที่เป็นตัวสนับสนุนของแต่ละบุคคลด้วย
ธุรกิจกีฬาในประเทศไทย
(Sport Business in Thailand)
• อุปกรณ์กีฬา (Sport equipment)
• Sport คลับ (Sport clubs, Polo clubs,SPA)
• สนามไดร์วกอล์ฟ (Driving length)
• ศูนย์เรียนรู้ด้านกีฬา (Sport Academies)
• Fitness Club
• Sport Event
• สนามเช่า (Facilities Leasing)
• การท่องเที่ยวกีฬา (Sport tourism)
• กีฬาต่างๆที่เริ่มเป็นกีฬาอาชีพ เช่น ฟุตบอล ,เท็นนิส ฯลฯ
• โฆษณากับการกีฬา (Sport Promotion)
- หนังสือกีฬา,หนังสือพิมพ์ต่างๆ
- วิทยุ , TV
- สื่อต่างๆ
• Internet Website and Mobile Phone
• ฯลฯ
การบริหารธุรกิจกีฬา กฎเกณฑ์มาตรฐานด้านต่างๆที่ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เข้าตรวจสอบลีกไทย รวบรวมและวิเคราะห์โดย.อ.พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์
ไม่ต้องช็อก... หากลีกไทยไม่มีมาตรฐาน , ระบบการบริหารและการจัดการยังต่ำ... อย่าร้อง
ข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2553 รายงานว่า
ช็อกไทยลีกไม่ผ่านเกณฑ์เอเอฟซี
ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เผยลีกไทยไม่ผ่านการประเมินของ สหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ “เอเอฟซี”
ส่งผลให้แชมป์ลีกชวดโควตาเข้ารอบแบ่งกลุ่มแชมเปียนส์ลีก
เอเอฟซี ว่า ไทยพรีเมียร์ลีกไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ สโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ยังไม่พร้อมได้โควตาในรอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ เพราะจำนวนผู้เข้าชมในแต่ละสนามต่ำกว่า 3,000 คน รวมถึงความไม่พร้อมของสนาม อาทิ ตัวอัฒจันทร์ ทางเข้าออกของกองเชียร์แต่ละฝั่ง ไฟส่องสว่างที่ต่ำกว่า 1,200 ลักซ์ และธุรกิจของแต่ละสโมสรเล็กเกินไป”
ถ้าผมคาดไม่ผิดสิ่งที่เรา ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน น่าจะมาจาก 3 เรื่องใหญ่ อย่างแน่นอน แล้วท่านรู้หรือไม่ว่ามาตรฐานต่างๆ ที่ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ได้ตรวจสอบมีอะไรบ้าง
ข่าว ผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2553 รายงานว่า
ช็อกไทยลีกไม่ผ่านเกณฑ์เอเอฟซี
ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เผยลีกไทยไม่ผ่านการประเมินของ สหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ “เอเอฟซี”
ส่งผลให้แชมป์ลีกชวดโควตาเข้ารอบแบ่งกลุ่มแชมเปียนส์ลีก
เอเอฟซี ว่า ไทยพรีเมียร์ลีกไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ สโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ยังไม่พร้อมได้โควตาในรอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ เพราะจำนวนผู้เข้าชมในแต่ละสนามต่ำกว่า 3,000 คน รวมถึงความไม่พร้อมของสนาม อาทิ ตัวอัฒจันทร์ ทางเข้าออกของกองเชียร์แต่ละฝั่ง ไฟส่องสว่างที่ต่ำกว่า 1,200 ลักซ์ และธุรกิจของแต่ละสโมสรเล็กเกินไป”
ถ้าผมคาดไม่ผิดสิ่งที่เรา ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน น่าจะมาจาก 3 เรื่องใหญ่ อย่างแน่นอน แล้วท่านรู้หรือไม่ว่ามาตรฐานต่างๆ ที่ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ได้ตรวจสอบมีอะไรบ้าง
อันดับแรกเรื่อง ฟุตบอลในบ้านเราต้องเป็นฟุตบอลลีกอาชีพอย่างแท้จริง
แล้ว ฟุตบอลลีกอาชีพ คืออะไร ?
ฟุตบอลลีกอาชีพต้อง มี
1. จัดการแข่งขันแบบระบบลีกให้ทั่วถึงทั้งประเทศ และประกอบด้วยจำนวนทีมที่แน่นอน
2. มีระบบการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน และจำนวนนัดต่อทีมเพียงพอ
3. โดยระยะการแข่งขันของลีกต้องยาวนานเพียงพอ
4. มีการเก็บค่าเข้าชม และมีจำนวนผู้ชมที่เพียงพอ
5. มีกิจกรรมทางการตลาดอันเป็นที่เข้าใจกันระหว่างลีกและสโมสร
6. การแข่งขันในลีก ควรมีขึ้นในสนามที่มีคุณภาพสูง
7. ฝ่ายบริหารลีก ต้องจัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมายและมีระบบจัดการที่ดี
8. สโมสรที่เข้าเกณฑ์ในระบบฟุตบอลอาชีพเท่านั้นที่มีสิทธิ์ร่วมแข่งขันในลีก
9. การแข่งขันในลีกเปิดกว้างต่อโทรทัศน์,วิทยุ,หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ หรือสื่อต่างๆ
อันดับที่สองเรื่อง สโมสรของฟุตบอลไทยต้องเป็นสโมสรอาชีพอย่างเต็มตัว
สโมสรอาชีพคืออะไร ?
สโมสรอาชีพต้อง มี
1. มีผู้เล่นส่วนใหญ่ของทีมเป็นนักฟุตบอลอาชีพ
2. การแข่งขันมีการเก็บค่าเข้าชม และรายรับ คือรายได้หลักของสโมสร
3. สโมสรทุกสโมสรต้องทำการตลาดภายใต้กฎหมายของประเทศนั้นๆเช่นเดียวกับการเตรียมงบดุลทางการเงินประจำปี
4. สโมสรต้องมีฝ่ายบริหารที่ดี และห้ามไม่ให้มีการเป็นเจ้าของสโมสรทับซ้อน
5. สโมสรต้องมีการลงทุนในการพัฒนาผู้เล่นระดับเยาวชน
6. สโมสรต้องมีการจ้างโค้ชและทีมงานฝ่ายบริหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
7. สโมสรต้องมีหรือสามารถรับรองการใช้งานได้ทั้งสนามแข่งขันและสนามฝึกซ้อมที่ได้มาตราฐาน
8. สโมสรควรได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายปกครองท้องถิ่นและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
อันดับที่สาม เรื่องข้อกำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานด้านต่างๆที่ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เข้าตรวจสอบอย่างเข้มข้นมีอะไรบ้าง ?
1. องค์กร
2. มาตรฐานด้านเทคนิค
3. ยอดผู้ชม
4. ระบบจัดการ
5. การตลาด-ส่งเสริมการขาย
6. ขนาดของธุรกิจ
7. การจัดการแข่งขัน
8. สื่อมวลชน
9. สนามแข่งขัน
10. สโมสร
คราวนี้เราลองมาดูรายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานที่ทาง สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เข้ามาตรวจสอบมีอะไรบ้าง ? อันนี้เป็นรายละเอียดที่เขาคงดูสาระที่สำคัญๆดังต่อไปนี้ครับ
1. องค์กร
-จำนวนทีมลีกสูงสุดของไทยเรามีมากเพียงพอหรือไม่
-จำนวนเกมในลีกสูงสุดมีเพียงพอหรือไม่
-ระยะเวลาต่อหนึ่งฤดูกาลของลีกอยู่ในเกณฑ์หรือไม่
-ระบบการแข่งขันในลีก เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่? (เหย้า/เยือน)
-มีผู้ตัดสินระดับนานาชาติ หรือไม่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-มีผู้ช่วยผู้ตัดสินระดับนานาชาติ หรือไม่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-มีโปรแกมฝึกสอนผู้ตัดสิน หรือไม่
-มีผู้ควบคุมการตัดสินในทุกแมตช์ หรือไม่ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-มีกฎเกณฑ์ กติกาของลีกหรือไม่
-มีกฎที่ว่าด้วยสถานะและการโอนย้ายผู้เล่นหรือไม่
-มีบทลงโทษของลีก หรือไม่
-มีระบบขึ้นชั้น ตกชั้น หรือไม่
2. มาตรฐานด้านเทคนิค
-มีการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ หรือไม่ ?เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
3. ยอดผู้ชม
-ราคา ค่าบัตรเข้าชมเฉลี่ย เหมาะสม หรือไม่
-จำนวนผู้ชม มากน้อยเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่
-มีการจดบันทึก และรายงานจำนวนผู้ชมหรือไม่ เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่
4. ระบบจัดการ
-มีการแทรกแซงของรัฐต่อลีกหรือสโมสรหรือไม่
-มีการกำหนดผลแข่งขัน
-เอกลักษณ์ของลีกภายในการควบคุมของสมาคมฟุตบอล
-ต้องมีการดูแลการจัดการ,การแข่งขัน,การตลาด,สื่อ,การเงิน
-ต้องมีคณะกรรมการการตัดสินใจขั้นสูงสุด
-ต้องมีประธานกรรมการบริหาร
-ต้องมีระบบการตรวจสอบบัญชี และบัญชีงบดุล (จากภายนอก)
-ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีของลีก
5. การตลาด-การส่งเสริมการขาย
-มีศูนย์กลางการตลาด (ตัวอย่างเช่น. สื่อ.สปอนเซอร์,การขายสินค้า)
-มีการทำแผนส่งเสิมการขายและการตลาดของลีก
-ควรมีสื่อสิ่งพิมพ์ (ตัวอย่างเช่น. หนังสือแนะนำโปรแกม,เว็บไซต์)
6. ขนาดของธุรกิจ (ในที่นี้หมายถึง รายได้หลักของลีกมีระบบการจัดการที่ดีหรือไม่ )
-ด้านสื่อและลิขสิทธิ์โทรทัศน์
-ด้านสปอนเซอร์
-ด้านการขายสินค้า
7. การจัดการแข่งขัน
-ต้องมีผู้ควรคุมการแข่งขันในทุกๆแมตช์
-ต้องมีส่วนแยกระว่างผู้ชม,ผู้เล่น,สื่อ,เจ้าหน้าที่,และแขกวีไอพี
-ต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในทุกๆแมตช์
-ต้องมีขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยเป็นลายลักษณ์อักษร
-มีส่วนของการรับรองแขกวีไอพีและสปอนเซอร์ หรือไม่
-มีการบริการแฟนบอลในทุกๆแมตช์ อย่างดี และพอเพียงหรือไม่
8. สื่อมวลชน
-มีระบบลงทะเบียนสื่อมวลในแมตช์การแข่งขัน หรือไม่
-มีแผนกดูแลสื่อมวลชน
-แต่ละสโมสรต้องมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อ
-แต่ละสโมสรต้องมีที่นั่งสำหรับสื่อ
-ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับการถ่ายทอดทีวีและผู้พากย์
-ต้องมีที่แถลงข่าวก่อนและหลังแมตช์แข่งขัน
-จัดให้มีจุดสัมภาษณ์ในสนาม หรือไม่
-มีรายงานผลการแข่งขันแจกแก่สื่อมวลชน
-ลีกต้องเปิดเผยข้อมูลการแข่งขันต่อแฟนบอล
-จำนวนนัดที่ถ่ายทอดสดต่อหนึ่งรอบการแข่งขัน มีหรือไม่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-ต้องมีการรายงานในหนังสือพิมพ์ (รายสัปดาห์) และนิตยสาร (รายเดือน)
9. สนามแข่งขัน
-ต้องมีสนามการแข่งขันสำหรับการแข่งขันเอเชียนแชมเปี้ยนส์ ลีก พร้อมที่นั่งอย่างต่ำ 5,000 ที่นั่ง
-ต้องมีสนามที่มีคุณภาพ ขนาดได้มาตรฐานฟีฟ่า
-ต้องมีไฟสนาม 1,200 ลักซ์ พร้อมไฟสำรอง
-มีหลังคาปกคลุมที่นั่งของผู้ชม หรือไม่
-มีห้องแต่งตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้เล่นและผู้ตัดสิน หรือไม่
-มีห้องพยาบาล และห้องตรวจโด๊ปที่แยกออกจากกัน หรือไม่
-มีห้องหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือไม่
-มีที่นั่งแยกสำหรับแขกวีไอพี และห้องรับรอง หรือไม่
-มีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทีวีและวิทยุ พร้อมสายสัญญาณสำหรับการออกอากาศ หรือไม่
-มีพื้นที่ขายสินค้า รวมทั้งห้องรับรองพิเศษ หรือไม่
-มีการให้บริการและรับรองแฟนบอลเป็นอย่างดี หรือไม่
-สนามแข่งขัน ต้องมีที่ตั้งอยู่ในระยะเดินทาง 30 นาทีจากใจกลางเมืองของทีมเหย้าหรือเมืองหลัก และ 100 กม. จากสนามบินนานาชาติ
10. สโมสร
-ผู้เล่นต้องมีสัญญาอาชีพ
-ในเรื่องของรายได้ของสโมสรต้องมีระบบการบริหารและจัดการเกี่ยวกับ
• ค่าผ่านประตู
• สื่อและลิขสิทธิ์ทีวี
• สปอนเซอร์
• สินค้าของทางสโมสร
• การซื้อขายผู้เล่น
• ส่วนแบ่งจากลีก
• การโฆษณาที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศ
• สโมสรมีหนี้สินค้างชำระหรือไม่
• ทางสโมสรมีการส่งรายงาน กำไร-ขาดทุน และงบดุล หรือไม่
• การเป็นเจ้าของสโมสรทับซ้อนหรือไม่
• ผู้อำนวยการและพนักงานของสโมสรต้องไม่เป็นลูกจ้างรวมทั้งมีหุ้นส่วนในสโมสรอื่น
-ต้องมีโครงการการพัฒนาผู้เล่นเยาวชน
-มีโค้ชระดับ เอ ของเอเอฟซีหรือเทียบเท่า หรือไม่
-มีทีมงานบริหารที่มีประสิทธิภาพในงานหลักๆ เช่น ฝ่ายจัดการแข่งขัน,
ฝ่ายการตลาด,ฝ่ายการเงิน,ฝ่ายสื่อ ฯลฯ อย่างมืออาชีพหรือไม่
-ต้องมีสนามเหย้าที่มีความจุผู้ชมได้ 3,000 คน
-ต้องมีสนามซ้อมที่แน่นอน
-ต้องมีส่วนร่วมในงานบริการสังคม
-ต้องมีการปรับปรุงการเข้าถึงสนามสำหรับผู้ชมอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ
ครับแฟนๆของสโมสรใดก็ลองตรวจสอบกันดูนะครับว่าสโมสรที่เรารัก มีมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ที่ทางสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เข้าตรวจสอบหรือไม่ คนอื่นบ้านเมืองอื่นเป็นคนตรวจ...เค้าไม่ให้ผ่าน...เพราะเราไม่มีระบบการจัดการที่ดี.... ไม่ต้องช็อก
หากลีกไทยไม่มีมาตรฐาน , ระบบการบริหารและการจัดการยังต่ำ ...ไม่ต้องร้อง ปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงซะ (MIR ก็ได้)...อย่าถูๆ ไถๆ แบบไทยๆเลยครับพี่น้อง
แล้ว ฟุตบอลลีกอาชีพ คืออะไร ?
ฟุตบอลลีกอาชีพต้อง มี
1. จัดการแข่งขันแบบระบบลีกให้ทั่วถึงทั้งประเทศ และประกอบด้วยจำนวนทีมที่แน่นอน
2. มีระบบการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน และจำนวนนัดต่อทีมเพียงพอ
3. โดยระยะการแข่งขันของลีกต้องยาวนานเพียงพอ
4. มีการเก็บค่าเข้าชม และมีจำนวนผู้ชมที่เพียงพอ
5. มีกิจกรรมทางการตลาดอันเป็นที่เข้าใจกันระหว่างลีกและสโมสร
6. การแข่งขันในลีก ควรมีขึ้นในสนามที่มีคุณภาพสูง
7. ฝ่ายบริหารลีก ต้องจัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมายและมีระบบจัดการที่ดี
8. สโมสรที่เข้าเกณฑ์ในระบบฟุตบอลอาชีพเท่านั้นที่มีสิทธิ์ร่วมแข่งขันในลีก
9. การแข่งขันในลีกเปิดกว้างต่อโทรทัศน์,วิทยุ,หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ หรือสื่อต่างๆ
อันดับที่สองเรื่อง สโมสรของฟุตบอลไทยต้องเป็นสโมสรอาชีพอย่างเต็มตัว
สโมสรอาชีพคืออะไร ?
สโมสรอาชีพต้อง มี
1. มีผู้เล่นส่วนใหญ่ของทีมเป็นนักฟุตบอลอาชีพ
2. การแข่งขันมีการเก็บค่าเข้าชม และรายรับ คือรายได้หลักของสโมสร
3. สโมสรทุกสโมสรต้องทำการตลาดภายใต้กฎหมายของประเทศนั้นๆเช่นเดียวกับการเตรียมงบดุลทางการเงินประจำปี
4. สโมสรต้องมีฝ่ายบริหารที่ดี และห้ามไม่ให้มีการเป็นเจ้าของสโมสรทับซ้อน
5. สโมสรต้องมีการลงทุนในการพัฒนาผู้เล่นระดับเยาวชน
6. สโมสรต้องมีการจ้างโค้ชและทีมงานฝ่ายบริหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
7. สโมสรต้องมีหรือสามารถรับรองการใช้งานได้ทั้งสนามแข่งขันและสนามฝึกซ้อมที่ได้มาตราฐาน
8. สโมสรควรได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายปกครองท้องถิ่นและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
อันดับที่สาม เรื่องข้อกำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานด้านต่างๆที่ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เข้าตรวจสอบอย่างเข้มข้นมีอะไรบ้าง ?
1. องค์กร
2. มาตรฐานด้านเทคนิค
3. ยอดผู้ชม
4. ระบบจัดการ
5. การตลาด-ส่งเสริมการขาย
6. ขนาดของธุรกิจ
7. การจัดการแข่งขัน
8. สื่อมวลชน
9. สนามแข่งขัน
10. สโมสร
คราวนี้เราลองมาดูรายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานที่ทาง สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เข้ามาตรวจสอบมีอะไรบ้าง ? อันนี้เป็นรายละเอียดที่เขาคงดูสาระที่สำคัญๆดังต่อไปนี้ครับ
1. องค์กร
-จำนวนทีมลีกสูงสุดของไทยเรามีมากเพียงพอหรือไม่
-จำนวนเกมในลีกสูงสุดมีเพียงพอหรือไม่
-ระยะเวลาต่อหนึ่งฤดูกาลของลีกอยู่ในเกณฑ์หรือไม่
-ระบบการแข่งขันในลีก เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่? (เหย้า/เยือน)
-มีผู้ตัดสินระดับนานาชาติ หรือไม่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-มีผู้ช่วยผู้ตัดสินระดับนานาชาติ หรือไม่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-มีโปรแกมฝึกสอนผู้ตัดสิน หรือไม่
-มีผู้ควบคุมการตัดสินในทุกแมตช์ หรือไม่ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-มีกฎเกณฑ์ กติกาของลีกหรือไม่
-มีกฎที่ว่าด้วยสถานะและการโอนย้ายผู้เล่นหรือไม่
-มีบทลงโทษของลีก หรือไม่
-มีระบบขึ้นชั้น ตกชั้น หรือไม่
2. มาตรฐานด้านเทคนิค
-มีการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ หรือไม่ ?เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
3. ยอดผู้ชม
-ราคา ค่าบัตรเข้าชมเฉลี่ย เหมาะสม หรือไม่
-จำนวนผู้ชม มากน้อยเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่
-มีการจดบันทึก และรายงานจำนวนผู้ชมหรือไม่ เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่
4. ระบบจัดการ
-มีการแทรกแซงของรัฐต่อลีกหรือสโมสรหรือไม่
-มีการกำหนดผลแข่งขัน
-เอกลักษณ์ของลีกภายในการควบคุมของสมาคมฟุตบอล
-ต้องมีการดูแลการจัดการ,การแข่งขัน,การตลาด,สื่อ,การเงิน
-ต้องมีคณะกรรมการการตัดสินใจขั้นสูงสุด
-ต้องมีประธานกรรมการบริหาร
-ต้องมีระบบการตรวจสอบบัญชี และบัญชีงบดุล (จากภายนอก)
-ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีของลีก
5. การตลาด-การส่งเสริมการขาย
-มีศูนย์กลางการตลาด (ตัวอย่างเช่น. สื่อ.สปอนเซอร์,การขายสินค้า)
-มีการทำแผนส่งเสิมการขายและการตลาดของลีก
-ควรมีสื่อสิ่งพิมพ์ (ตัวอย่างเช่น. หนังสือแนะนำโปรแกม,เว็บไซต์)
6. ขนาดของธุรกิจ (ในที่นี้หมายถึง รายได้หลักของลีกมีระบบการจัดการที่ดีหรือไม่ )
-ด้านสื่อและลิขสิทธิ์โทรทัศน์
-ด้านสปอนเซอร์
-ด้านการขายสินค้า
7. การจัดการแข่งขัน
-ต้องมีผู้ควรคุมการแข่งขันในทุกๆแมตช์
-ต้องมีส่วนแยกระว่างผู้ชม,ผู้เล่น,สื่อ,เจ้าหน้าที่,และแขกวีไอพี
-ต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในทุกๆแมตช์
-ต้องมีขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยเป็นลายลักษณ์อักษร
-มีส่วนของการรับรองแขกวีไอพีและสปอนเซอร์ หรือไม่
-มีการบริการแฟนบอลในทุกๆแมตช์ อย่างดี และพอเพียงหรือไม่
8. สื่อมวลชน
-มีระบบลงทะเบียนสื่อมวลในแมตช์การแข่งขัน หรือไม่
-มีแผนกดูแลสื่อมวลชน
-แต่ละสโมสรต้องมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อ
-แต่ละสโมสรต้องมีที่นั่งสำหรับสื่อ
-ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับการถ่ายทอดทีวีและผู้พากย์
-ต้องมีที่แถลงข่าวก่อนและหลังแมตช์แข่งขัน
-จัดให้มีจุดสัมภาษณ์ในสนาม หรือไม่
-มีรายงานผลการแข่งขันแจกแก่สื่อมวลชน
-ลีกต้องเปิดเผยข้อมูลการแข่งขันต่อแฟนบอล
-จำนวนนัดที่ถ่ายทอดสดต่อหนึ่งรอบการแข่งขัน มีหรือไม่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
-ต้องมีการรายงานในหนังสือพิมพ์ (รายสัปดาห์) และนิตยสาร (รายเดือน)
9. สนามแข่งขัน
-ต้องมีสนามการแข่งขันสำหรับการแข่งขันเอเชียนแชมเปี้ยนส์ ลีก พร้อมที่นั่งอย่างต่ำ 5,000 ที่นั่ง
-ต้องมีสนามที่มีคุณภาพ ขนาดได้มาตรฐานฟีฟ่า
-ต้องมีไฟสนาม 1,200 ลักซ์ พร้อมไฟสำรอง
-มีหลังคาปกคลุมที่นั่งของผู้ชม หรือไม่
-มีห้องแต่งตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้เล่นและผู้ตัดสิน หรือไม่
-มีห้องพยาบาล และห้องตรวจโด๊ปที่แยกออกจากกัน หรือไม่
-มีห้องหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือไม่
-มีที่นั่งแยกสำหรับแขกวีไอพี และห้องรับรอง หรือไม่
-มีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทีวีและวิทยุ พร้อมสายสัญญาณสำหรับการออกอากาศ หรือไม่
-มีพื้นที่ขายสินค้า รวมทั้งห้องรับรองพิเศษ หรือไม่
-มีการให้บริการและรับรองแฟนบอลเป็นอย่างดี หรือไม่
-สนามแข่งขัน ต้องมีที่ตั้งอยู่ในระยะเดินทาง 30 นาทีจากใจกลางเมืองของทีมเหย้าหรือเมืองหลัก และ 100 กม. จากสนามบินนานาชาติ
10. สโมสร
-ผู้เล่นต้องมีสัญญาอาชีพ
-ในเรื่องของรายได้ของสโมสรต้องมีระบบการบริหารและจัดการเกี่ยวกับ
• ค่าผ่านประตู
• สื่อและลิขสิทธิ์ทีวี
• สปอนเซอร์
• สินค้าของทางสโมสร
• การซื้อขายผู้เล่น
• ส่วนแบ่งจากลีก
• การโฆษณาที่อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศ
• สโมสรมีหนี้สินค้างชำระหรือไม่
• ทางสโมสรมีการส่งรายงาน กำไร-ขาดทุน และงบดุล หรือไม่
• การเป็นเจ้าของสโมสรทับซ้อนหรือไม่
• ผู้อำนวยการและพนักงานของสโมสรต้องไม่เป็นลูกจ้างรวมทั้งมีหุ้นส่วนในสโมสรอื่น
-ต้องมีโครงการการพัฒนาผู้เล่นเยาวชน
-มีโค้ชระดับ เอ ของเอเอฟซีหรือเทียบเท่า หรือไม่
-มีทีมงานบริหารที่มีประสิทธิภาพในงานหลักๆ เช่น ฝ่ายจัดการแข่งขัน,
ฝ่ายการตลาด,ฝ่ายการเงิน,ฝ่ายสื่อ ฯลฯ อย่างมืออาชีพหรือไม่
-ต้องมีสนามเหย้าที่มีความจุผู้ชมได้ 3,000 คน
-ต้องมีสนามซ้อมที่แน่นอน
-ต้องมีส่วนร่วมในงานบริการสังคม
-ต้องมีการปรับปรุงการเข้าถึงสนามสำหรับผู้ชมอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ
ครับแฟนๆของสโมสรใดก็ลองตรวจสอบกันดูนะครับว่าสโมสรที่เรารัก มีมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ที่ทางสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เข้าตรวจสอบหรือไม่ คนอื่นบ้านเมืองอื่นเป็นคนตรวจ...เค้าไม่ให้ผ่าน...เพราะเราไม่มีระบบการจัดการที่ดี.... ไม่ต้องช็อก
หากลีกไทยไม่มีมาตรฐาน , ระบบการบริหารและการจัดการยังต่ำ ...ไม่ต้องร้อง ปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงซะ (MIR ก็ได้)...อย่าถูๆ ไถๆ แบบไทยๆเลยครับพี่น้อง
==================================
ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก 2009 กับ CSR ( Corporate Social Responsibility ) : การทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (การบริหารธุรกิจกีฬา) โดย.อ.พีรศักด์ วิลัยรัตน์
วันนี้ 15 ตุลาคม 2552 เมื่อ 2-3 วันก่อน ข่าวการครองแชมป์ของสโมสร "กิเลนผยอง" เมืองทอง ยูไนเต็ด เป็นกระแสสุดฮิตของวงการลูกหนังไทยทีเดียว (แม้จะยังไม่สิ้นสุดฤดูกาลของ พรีเมียร์ลีก 2009)
•การบริหารจัดการในสโมรสร (มีการจัดการอย่างมืออาชีพ)
•มีการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ผ่านสัญลักษณ์ของสโมสร (Brand) ได้อย่างถูกใจแฟนคลับ
•มีการใช้หลักการ การโฆษณา เข้าช่วยในการทำธุกิจกีฬาอย่างเฉียบคม ฯลฯ
เมื่อหลายปีก่อน วงการฟุตบอลไทยและผู้หลักผู้ใหญ่หลายๆ ท่านได้เดินทางไปดูงาน ฟุตบอลเจลีก ที่ประเทศญีปุ่น ว่าทำไมเจลีกถึงประสบความสำเร็จ อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ได้รับรู้กลับมาก็คือ เราต้องใช้หลักการจัดการสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยอย่างมืออาชีพ สโมสรฟุตบอลในประเทศไทยจึงจะเกิด (ทุกสโมสรต้องเป็นไปในรูปของนิติบุคคล คือมีการจดทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีที่มาที่ไปของรายรับรายจ่าย มีการจัดทำบัญชีถูกต้องตามกฎหมาย ฯลฯ )
การบริหารอย่างมืออาชีพ คืออะไร คือการทำทีมสโมสรแต่ละสโมสรต้องมีการบริหารจัดการเหมือนการบริหารธุรกิจ ซึ่งสโมสร(ธุรกิจ)ฟุตบอลที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีการบริหารจัดการ ปัจจัยการผลิต (การผลิตสโมสรที่ดี)ที่มีประสิทธิภาพ
ปัจจัยที่จะต้องมีการจัดการเบื้องต้น แล้วจะทำให้สโมสรประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้างที่ต้องจัดการ ( 4 M’s) ( Money – เงิน , Man – บุคลากร , Method – วิธีการ , Material/Machine - วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ ) ว่ากันพื้น ๆเลยครับ ในที่นี้จะพูดถึง M ที่เป็นเรื่อง “เงิน” ตัวเดียวก่อน
•M = Money = เงิน ทุกสโมสรต้องมีเงินทุน สมัยก่อนเงินทุนของหลาย ๆ สโมรสรได้มาจากการบริจากจากเจ้าของสโมสรเท่านั้น (เงินทุนต้องบอกที่มาที่ไปได้ตามระบบบัญชี มีการทำบัญชีอย่างโปร่งใส ตามแบบอย่างระบบบัญชีทางธุรกิจ)
การบริหารอย่างมืออาชีพ ณ.ปัจจุบัน แหล่งเงินทุนของหลาย ๆสโมสรได้มาจากหลายช่องทาง เช่น.
1.จากเจ้าของสโมสรหลัก 2.ผู้สนับสนุนร่วม 3.สปอร์นเซอร์ 4.การขายสินค้าซึ่งเป็นตราสัญญาลักษณ์ 5.เงินสนับสนุนจากภาครัฐหรือเจ้าของพรีเมียร์ลีกไทย 6.รายได้จากการซื้อขายตัวนักกีฬา 7.ฟรีเซนเตอร์สินค้า 8. หรือในรูปของ Stake holder ฯลฯ
มีเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง ในเรื่องของเงินสนับสนุน ครั้งหนึ่งผมได้ไปดูงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับมหาวิทยาลัย ABAC ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ทางตลาดหลักทรัพย์ได้จัดเลี้ยงข้าวกลางวัน และผมได้มีโอกาสนั่งทานข้าวและสนทนากับ คุณชนิตร ชาญชัยณรงค์ ซึ่งเป็น President ของตลาด mai ในขณะนั้น เราได้คุยกันถึงการลงทุนในเรื่องของธุรกิจกีฬา คุณชนิตรได้ให้ความสนใจในเรื่องของการลงทุนในธุรกิจด้านนี้อย่างมาก พร้อมกับเล่าให้ฟังว่าทางตลาดหลักทรัพย์กับทางรัฐบาลกำลัง มีนโยบายในเรื่อง CSR ( Corporate Social Responsibility) การทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างน่าสนใจ คือ ทางตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดให้บริษัท ที่จดทะเบียนเป็นมหาชน (บมจ) หรือพูดอีกที่ก็คือบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทุกบริษัทต้องมีการทำ CSR สู่สังคม (กำไรคืนสู่สังคมบ้าง,ทำประโยชน์ให้กับสังคมบ้าง) ซึ่งหมายถึงทางตลาดหลักทรัพย์ จะกำหนดให้บริษัททุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องกันเงินจำนวนหนึ่ง จากกำไร เช่น.อาจจะเป็น 5 % หรือ 10% เพื่อบริจากสู่สังคม หรือทำ CSR สู่สังคมนั้นเอง
มีลูกศิษย์หลายคนอยากให้อธิบาย เกี่ยวกับ Marketing 3.0 แบบฉบับของ Philip Kotler ให้ฟัง ก็ไม่ค่อยมีเวลา พอได้โอกาสเลยต้องจัดให้
จริงๆ แล้วเด็กๆ สนใจตรงที่ เขาขึ้นชื่อ ว่าการตลาด ปลิดวิญญาณ : Marketing 3.0 มากกว่า มันปลิดวิญญาณ อย่างไร ที่จริงแล้วมัน ก็คือการตลาด ที่ตอบสนองต่อจิตวิญญาณมากกว่า
คราวนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่า
เดิมที Kotler บอกว่า การตลาด คือ ศิลปะของการค้นหา พัฒนา และแสวงหากำไร จากโอกาสที่เปิดรออยู่ และ Kotler เคยแนะนำให้หาหนทางเพื่อเข้าถึงโอกาส และชี้ให้เห็นแนวทาง ปฎิบัติด้านการตลาด ที่จะทำให้ประสบชัยชนะในทางธุรกิจ (หนทางสู่ชัยชนะ) ดังนี้
1. ชนะด้วยการมีคุณภาพที่เหนือกว่า
2. ชนะด้วยบริการที่เหนือกว่า
3. ชนะด้วยราคาที่ตำกว่า
4. ชนะด้วยการปรับตัวให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
5. ชนะด้วยการรู้จักปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่อง
6. ชนะด้วยการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
7. ชนะด้วยการตอบสนองเกินความคาดหวังของลูกค้า
8. ชนะด้วยการเข้าสู่ตลาด ที่มีอัตราการเติบโตที่สูง
ที่นี้เรามาพูดถึง การตลาด ยุคแรก กันก่อน หรือที่เรียกกันว่า การตลาด 1.0 คืออะไร ... มันคือการตลาด ที่เน้นไปทางการพัฒนาที่ผลิตภัณฑ์ :Product เป็นสำคัญ เพื่อจะตอบสนองตลาด โดยการอาศัย หลัก 4 P’s เป็นพื้นฐาน (Product , Price , Place , Promotion)
ต่อมาก็เป็น การตลาด ยุคที่สอง หรือที่เรียกกันว่า การตลาด 2.0 การตลาด 2.0 คืออะไร ... มันคือการตลาด ที่มีแนวทางเน้นไปในทาง การใช้หลัก STP
• S : Segmentation คือ การศึกษาถึงตลาดและการแบ่งส่วนตลาด
• T : Targeting คือ การศึกษาถึงตลาดเป้าหมาย
• P : Positioning คือ การศึกษาถึง การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์เพื่อครองใจลูกค้า โดยหาจุดเด่นๆเพื่อจูงใจลูกค้า
แล้วก็มาถึง CEM Customer Experience Management สร้างเครือข่ายเครือข่ายลูกค้า โดยใช้ social media เข้ามาเพื่อ สร้างความเชื่อใจ ในเรื่องของ Brand : แบรนด์
ต่อมาก็มาถึง CSR CSR Corporate Social Responsibility การทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม
สรุป Marketing 3.0 นี้ Philip Kotler บอกว่า บริษัทผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสังคม อย่าง จริงจัง ยั่งยืน ตอบสนองต่อจิตวิญญานลูกค้า
1. Sustainable Marketing ต้องเป็นการตลาดที่สร้างสรรค์ สร้างสมดุลให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน เคียงคู่สังคม และสิ่งแวดล้อม
2. Sustainable marketing การตลาดยั่งยืน คือ การคำนึงถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (Stakeholder) ไม่ว่าจะเป็นตัวองค์กร พนักงาน ลูกค้า ซัพพลายเออร์ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ที่ต้องเติบโตไปพร้อมกัน
การตลาด 3.0 จะยั่งยืนนั้นต้องรวมไปถึงการพัฒนาคุณค่าในทุกด้านทั้งประโยชน์ใช้สอย (Functional) ประโยชน์ทางด้านอารมณ์ (Emotional) รวมไปถึงขั้นวิญญาณ (Spiritual) หมายความว่าองค์กรต้องสามารถผันตัวเองให้มีบทบาททางสังคมและเป็นองค์กรที่มีคุณค่าทางสังคม (Social Value) ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่าแบรนด์นี้ทำให้คุณภาพชีวิตของลูกค้าดีขึ้นและต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าถ้าไม่มีองค์กรเหล่านี้ประเทศจะอยู่ได้อย่างไรด้วยซ้ำไป
ธุรกิจกีฬา กับแนวทางสปอร์ต มาร์เก็ตติง (1)
เอสซีจี ซิเมนต์ บริษัทยักษ์ใหญ่วงการวัสดุก่อสร้างทุ่มทุน 600 ล้านบาท เซ็นสัญญา 5 ปี เป็นพันธมิตรลูกหนังกับ เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด สโมสรชั้นนำในไทยพรีเมียร์ลีก ด้าน พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์ ประธาน "กิเลนผยอง" ลั่นกวาดทุกแชมป์ที่ลงฟาดแข้ง
เมื่อเวลา 11.30 น.ของวันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ที่โรงแรมสวิสโซเทล นายเลิศ ปาร์ค มีการแถลงข่าว เอสซีจี (SCG) ลงนามเป็นพันธมิตรกับ "กิเลนผยอง" เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด โดยการทำสัญญามูลค่า 600 ล้านบาท เอสซีจี เข้ามาร่วมถือหุ้นของสโมสร 30 เปอร์เซ็นต์ พร้อมได้สิทธิใช้ชื่อทีมเป็น เอสซีจี เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด ทั้งยังเป็นสปอนเซอร์คาดหน้าอกเสื้อแข่ง และเปลี่ยนชื่อสนามเหย้าเป็น เอสซีจี สเตเดียม เพื่อสู้ศึกไทยพรีเมียร์ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2012 ไปจนครบสัญญา 5 ปี
นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ซีเมนต์ เผยกับทีมข่าว MGR Sport ว่า "เรามีวิสัยทัศน์ว่าในปีพ.ศ.2558 บริษัทต้องการขยายแบรนด์ เป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำในย่านอาเซียน ดังนั้นการเข้ามาสนับสนุนสโมสรเมืองทองฯ ถือเป็นการนำแบรนด์เอสซีจี ให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น ตามแนวทางสปอร์ต มาร์เก็ตติง ส่วนเหตุผลที่เลือก เมืองทองฯ เพราะเป็นทีมที่มีศักยภาพสูงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโค้ช ผู้เล่น การบริหารจัดการ สนามฟุตบอล ฐานกองเชียร์ที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงมีระบบอะคาเดมี่ ที่ดี มีพันธมิตรทั้งในเอเชียและยุโรป การเข้ามาครั้งนี้เราหวังช่วยหนุนให้ เมืองทองฯ ยกระดับเป็นทีมระดับสากลมากขึ้น ซึ่งสโมสรก็สามารถช่วยเผยแพร่ให้แบรนด์เอสซีจี แพร่หลายทั้งในและต่างประเทศมากขึ้นด้วย"
ด้าน พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์ ประธาน "กิเลนผยอง" กล่าวเช่นกันว่า "การเข้ามาร่วมทุนของเอสซีจี ถือเป็นปรากฎการณ์ในด้านการบริหารทีมฟุตบอล เราขอขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและเห็นคุณค่าของสโมสร ส่วนเป้าหมายในปีนี้ของเมืองทองฯ คือลุ้นแชมป์ทุกรายการที่เข้าร่วม นอกจากนั้นเรายังมีเป้าหมายยกระดับตัวเองให้เป็นทีมชั้นนำของทวีปเอเชียภายในระยะเวลา 5 ปี สำหรับในส่วนของการเสริมทัพจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ ก่อนตลาดปิดช่วงกลางเดือนมีนาคม เรายังเล็งแข้งต่างชาติไว้ 2 ตำแหน่ง รวมทั้งนักเตะไทย"
ขอขอบคุณข้อมูลเบื้องต้น จาก, ผู้จัดการออนไลน์ ทุ่ม 600 ล้าน SCG ควบรวมกิเลนผยอง 16 ก.พ. 2555
ปัจจัยที่จะต้องมีการจัดการเบื้องต้น แล้วจะทำให้สโมสรประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้างที่ต้องจัดการ ( 4 M’s) ( Money – เงิน , Man – บุคลากร , Method – วิธีการ , Material/Machine - วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ ) ว่ากันพื้น ๆเลยครับ ในที่นี้จะพูดถึง M ที่เป็นเรื่อง “เงิน” ตัวเดียวก่อน
•M = Money = เงิน ทุกสโมสรต้องมีเงินทุน สมัยก่อนเงินทุนของหลาย ๆ สโมรสรได้มาจากการบริจากจากเจ้าของสโมสรเท่านั้น (เงินทุนต้องบอกที่มาที่ไปได้ตามระบบบัญชี มีการทำบัญชีอย่างโปร่งใส ตามแบบอย่างระบบบัญชีทางธุรกิจ)
การบริหารอย่างมืออาชีพ ณ.ปัจจุบัน แหล่งเงินทุนของหลาย ๆสโมสรได้มาจากหลายช่องทาง เช่น.
1.จากเจ้าของสโมสรหลัก 2.ผู้สนับสนุนร่วม 3.สปอร์นเซอร์ 4.การขายสินค้าซึ่งเป็นตราสัญญาลักษณ์ 5.เงินสนับสนุนจากภาครัฐหรือเจ้าของพรีเมียร์ลีกไทย 6.รายได้จากการซื้อขายตัวนักกีฬา 7.ฟรีเซนเตอร์สินค้า 8. หรือในรูปของ Stake holder ฯลฯ
มีเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง ในเรื่องของเงินสนับสนุน ครั้งหนึ่งผมได้ไปดูงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับมหาวิทยาลัย ABAC ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ทางตลาดหลักทรัพย์ได้จัดเลี้ยงข้าวกลางวัน และผมได้มีโอกาสนั่งทานข้าวและสนทนากับ คุณชนิตร ชาญชัยณรงค์ ซึ่งเป็น President ของตลาด mai ในขณะนั้น เราได้คุยกันถึงการลงทุนในเรื่องของธุรกิจกีฬา คุณชนิตรได้ให้ความสนใจในเรื่องของการลงทุนในธุรกิจด้านนี้อย่างมาก พร้อมกับเล่าให้ฟังว่าทางตลาดหลักทรัพย์กับทางรัฐบาลกำลัง มีนโยบายในเรื่อง CSR ( Corporate Social Responsibility) การทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างน่าสนใจ คือ ทางตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดให้บริษัท ที่จดทะเบียนเป็นมหาชน (บมจ) หรือพูดอีกที่ก็คือบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทุกบริษัทต้องมีการทำ CSR สู่สังคม (กำไรคืนสู่สังคมบ้าง,ทำประโยชน์ให้กับสังคมบ้าง) ซึ่งหมายถึงทางตลาดหลักทรัพย์ จะกำหนดให้บริษัททุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องกันเงินจำนวนหนึ่ง จากกำไร เช่น.อาจจะเป็น 5 % หรือ 10% เพื่อบริจากสู่สังคม หรือทำ CSR สู่สังคมนั้นเอง
มีลูกศิษย์หลายคนอยากให้อธิบาย เกี่ยวกับ Marketing 3.0 แบบฉบับของ Philip Kotler ให้ฟัง ก็ไม่ค่อยมีเวลา พอได้โอกาสเลยต้องจัดให้
จริงๆ แล้วเด็กๆ สนใจตรงที่ เขาขึ้นชื่อ ว่าการตลาด ปลิดวิญญาณ : Marketing 3.0 มากกว่า มันปลิดวิญญาณ อย่างไร ที่จริงแล้วมัน ก็คือการตลาด ที่ตอบสนองต่อจิตวิญญาณมากกว่า
คราวนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่า
เดิมที Kotler บอกว่า การตลาด คือ ศิลปะของการค้นหา พัฒนา และแสวงหากำไร จากโอกาสที่เปิดรออยู่ และ Kotler เคยแนะนำให้หาหนทางเพื่อเข้าถึงโอกาส และชี้ให้เห็นแนวทาง ปฎิบัติด้านการตลาด ที่จะทำให้ประสบชัยชนะในทางธุรกิจ (หนทางสู่ชัยชนะ) ดังนี้
1. ชนะด้วยการมีคุณภาพที่เหนือกว่า
2. ชนะด้วยบริการที่เหนือกว่า
3. ชนะด้วยราคาที่ตำกว่า
4. ชนะด้วยการปรับตัวให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
5. ชนะด้วยการรู้จักปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่อง
6. ชนะด้วยการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
7. ชนะด้วยการตอบสนองเกินความคาดหวังของลูกค้า
8. ชนะด้วยการเข้าสู่ตลาด ที่มีอัตราการเติบโตที่สูง
ที่นี้เรามาพูดถึง การตลาด ยุคแรก กันก่อน หรือที่เรียกกันว่า การตลาด 1.0 คืออะไร ... มันคือการตลาด ที่เน้นไปทางการพัฒนาที่ผลิตภัณฑ์ :Product เป็นสำคัญ เพื่อจะตอบสนองตลาด โดยการอาศัย หลัก 4 P’s เป็นพื้นฐาน (Product , Price , Place , Promotion)
ต่อมาก็เป็น การตลาด ยุคที่สอง หรือที่เรียกกันว่า การตลาด 2.0 การตลาด 2.0 คืออะไร ... มันคือการตลาด ที่มีแนวทางเน้นไปในทาง การใช้หลัก STP
• S : Segmentation คือ การศึกษาถึงตลาดและการแบ่งส่วนตลาด
• T : Targeting คือ การศึกษาถึงตลาดเป้าหมาย
• P : Positioning คือ การศึกษาถึง การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์เพื่อครองใจลูกค้า โดยหาจุดเด่นๆเพื่อจูงใจลูกค้า
แล้วก็มาถึง CEM Customer Experience Management สร้างเครือข่ายเครือข่ายลูกค้า โดยใช้ social media เข้ามาเพื่อ สร้างความเชื่อใจ ในเรื่องของ Brand : แบรนด์
ต่อมาก็มาถึง CSR CSR Corporate Social Responsibility การทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม
สรุป Marketing 3.0 นี้ Philip Kotler บอกว่า บริษัทผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสังคม อย่าง จริงจัง ยั่งยืน ตอบสนองต่อจิตวิญญานลูกค้า
1. Sustainable Marketing ต้องเป็นการตลาดที่สร้างสรรค์ สร้างสมดุลให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน เคียงคู่สังคม และสิ่งแวดล้อม
2. Sustainable marketing การตลาดยั่งยืน คือ การคำนึงถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (Stakeholder) ไม่ว่าจะเป็นตัวองค์กร พนักงาน ลูกค้า ซัพพลายเออร์ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ที่ต้องเติบโตไปพร้อมกัน
การตลาด 3.0 จะยั่งยืนนั้นต้องรวมไปถึงการพัฒนาคุณค่าในทุกด้านทั้งประโยชน์ใช้สอย (Functional) ประโยชน์ทางด้านอารมณ์ (Emotional) รวมไปถึงขั้นวิญญาณ (Spiritual) หมายความว่าองค์กรต้องสามารถผันตัวเองให้มีบทบาททางสังคมและเป็นองค์กรที่มีคุณค่าทางสังคม (Social Value) ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่าแบรนด์นี้ทำให้คุณภาพชีวิตของลูกค้าดีขึ้นและต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าถ้าไม่มีองค์กรเหล่านี้ประเทศจะอยู่ได้อย่างไรด้วยซ้ำไป
ธุรกิจกีฬา กับแนวทางสปอร์ต มาร์เก็ตติง (1)
เอสซีจี ซิเมนต์ บริษัทยักษ์ใหญ่วงการวัสดุก่อสร้างทุ่มทุน 600 ล้านบาท เซ็นสัญญา 5 ปี เป็นพันธมิตรลูกหนังกับ เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด สโมสรชั้นนำในไทยพรีเมียร์ลีก ด้าน พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์ ประธาน "กิเลนผยอง" ลั่นกวาดทุกแชมป์ที่ลงฟาดแข้ง
เมื่อเวลา 11.30 น.ของวันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ที่โรงแรมสวิสโซเทล นายเลิศ ปาร์ค มีการแถลงข่าว เอสซีจี (SCG) ลงนามเป็นพันธมิตรกับ "กิเลนผยอง" เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด โดยการทำสัญญามูลค่า 600 ล้านบาท เอสซีจี เข้ามาร่วมถือหุ้นของสโมสร 30 เปอร์เซ็นต์ พร้อมได้สิทธิใช้ชื่อทีมเป็น เอสซีจี เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด ทั้งยังเป็นสปอนเซอร์คาดหน้าอกเสื้อแข่ง และเปลี่ยนชื่อสนามเหย้าเป็น เอสซีจี สเตเดียม เพื่อสู้ศึกไทยพรีเมียร์ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2012 ไปจนครบสัญญา 5 ปี
นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ซีเมนต์ เผยกับทีมข่าว MGR Sport ว่า "เรามีวิสัยทัศน์ว่าในปีพ.ศ.2558 บริษัทต้องการขยายแบรนด์ เป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำในย่านอาเซียน ดังนั้นการเข้ามาสนับสนุนสโมสรเมืองทองฯ ถือเป็นการนำแบรนด์เอสซีจี ให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น ตามแนวทางสปอร์ต มาร์เก็ตติง ส่วนเหตุผลที่เลือก เมืองทองฯ เพราะเป็นทีมที่มีศักยภาพสูงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโค้ช ผู้เล่น การบริหารจัดการ สนามฟุตบอล ฐานกองเชียร์ที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงมีระบบอะคาเดมี่ ที่ดี มีพันธมิตรทั้งในเอเชียและยุโรป การเข้ามาครั้งนี้เราหวังช่วยหนุนให้ เมืองทองฯ ยกระดับเป็นทีมระดับสากลมากขึ้น ซึ่งสโมสรก็สามารถช่วยเผยแพร่ให้แบรนด์เอสซีจี แพร่หลายทั้งในและต่างประเทศมากขึ้นด้วย"
ด้าน พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์ ประธาน "กิเลนผยอง" กล่าวเช่นกันว่า "การเข้ามาร่วมทุนของเอสซีจี ถือเป็นปรากฎการณ์ในด้านการบริหารทีมฟุตบอล เราขอขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและเห็นคุณค่าของสโมสร ส่วนเป้าหมายในปีนี้ของเมืองทองฯ คือลุ้นแชมป์ทุกรายการที่เข้าร่วม นอกจากนั้นเรายังมีเป้าหมายยกระดับตัวเองให้เป็นทีมชั้นนำของทวีปเอเชียภายในระยะเวลา 5 ปี สำหรับในส่วนของการเสริมทัพจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ ก่อนตลาดปิดช่วงกลางเดือนมีนาคม เรายังเล็งแข้งต่างชาติไว้ 2 ตำแหน่ง รวมทั้งนักเตะไทย"
ขอขอบคุณข้อมูลเบื้องต้น จาก, ผู้จัดการออนไลน์ ทุ่ม 600 ล้าน SCG ควบรวมกิเลนผยอง 16 ก.พ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น