| |||||
คนเกิดวันจันทร์ : ไม้มงคลควรเป็นไม้ที่มีดอกสีขาวหรือเหลืองจะถูกโฉลกมาก คนเกิดวันจันทร์จะมีต้นไม้มงคลให้เลือกปลูก ดังนี้ วาสนา โกสน (ชื่อพ้องกับคำว่า กุศล) ราตรี มะลิ มะม่วง กวนอิม โป๊ยเซียน แก้ว จำปี พลูด่าง กระถิน มะยม ชะพลู คนเกิดวันอังคาร : สีไม้มงคลของคนวันอังคารคือ สีแดง หรือชมพู ดังนั้นไม้ดอกที่ปลูก ควรเป็นสีใดสีหนึ่งในนี้ ซึ่งก็ได้แก่ กุหลาบ(แดงหรือชมพู) อัญชัน โกสน โป๊ยเซียน เข็ม ชบา พญายอ คนเกิดวันพุธ : ไม้มงคลสำหรับมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเกิดพุธกลางวันหรือกลางคืนจะมีไม้มงคลอย่างเดียวกัน คือไม้ที่มีดอกสีเหลืองเพราะเป็นสีต้องโฉลก โดยไม้มงคลที่เด่นๆก็มี กวนอิม วาสนา พลูด่าง โป๊ยเซียน กล้วย ราชพฤกษ์หรือคูน กุหลาบ โกสน ชบา |
Pr realestates | Management| Marketing |Advertising| Communication | Public Relations| Strategies | Economy
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วันอาทิตย์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วันอาทิตย์ แสดงบทความทั้งหมด
ไม้มงคลประจำวันเกิด
พระประจำวันเกิด วันอาทิตย์
เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก dhammathai.org
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ประชากรร้อยละ 95 ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้ นอกจากพระประธานที่พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้บูชาแล้ว ในแต่ละวัดยังจัดพระพุทธรูปประจำวันเกิด ให้ผู้คนได้ไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเองอีกด้วย ส่วนที่ไปที่มาของการกำหนดพระพุทธรูปแต่ละปางนั้น ไม่มีปรากฎสมัยที่แน่ชัด กล่าวกันว่าการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดแต่ละวันนั้น เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนที่จะหาที่พึ่งทางใจ และถือว่าการบูชาพระประจำวันเกิดเป็นมงคลอันสูงยิ่งอีกประการหนึ่ง
สำหรับพระพุทธรูปประจำวันเกิดจะมีทั้งหมด 7 ปาง ตามวันในสัปดาห์ คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และเสาร์ และเพิ่มปางวันพุธกลางคืน ที่เรียกว่าวันราหูเข้าไปด้วย ซึ่งพุทธศาสนิกชนคนไทยคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า "พระประจำวันเกิด" ของตนเองคือพระพุทธรูปปางอะไร แต่เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่รู้จักที่ไปที่มา หรือบทสวดบูชาต่างๆ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงรวบรวมเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ "พระประจำวันเกิด" มาฝากกันค่ะ...
1. ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์
พระประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
ความเป็นมา
เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้ได้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)