น้ำส้มสายชู เป็นสารประกอบของกรดน้ำส้มกับน้ำ ได้จากการหมักน้ำผลไม้จนเกิดแอลกอฮอล์ ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ หมักแล้วถ้าอยากได้น้ำส้มใช้เร็วๆ ก็หมั่นคนบ่อยๆ ให้ออกซิเจนลงไปทำการเปลี่ยนแปลงทางเคมีไม่ขาดตอน
ประโยชน์ของน้ำส้มสายชู ส่วนใหญ่เน้นเรื่องการดูแล ป้องกันรักษาสุขภาพและโรคภัย เช่น ใช้น้ำส้มสายชูผสมต้นโทงเทงสด หรือผักคราดหัวแหวนสดๆ คั้นเอกน้ำชุบสำลีอมไว้ข้างแก้มค่อยๆ กลืนทีละนิด แก้ฝีในคอ หรือต่อมทอนซิลอักเสบได้ดี
ยามไปเที่ยวทะเล ขอให้พกพาน้ำส้มสายชูไปด้วยทุกครั้ง หากเคราะห์หามยามร้าย เจอแมงกะพรุนไฟเข้าก็อย่าตกใจ ราดน้ำส้มตรงบริเวณถูกแมงกะพรุนทันที จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้ทันใจผิวที่เจอแดดจัดๆ จนเป็นรอยเกรียม ลูบด้วยน้ำส้มสายชู ผิวที่ไหม้จะไม่พองให้คุณปวดแสบทรมานได้
ด้านการถนอมอาหาร สมัยก่อนมีการดองเปรี้ยวผักต่างๆ ด้วยน้ำส้มไว้บริโภคนานๆ เช่น ต้นหอม ผักเสี้ยน กระเทียม ขิง
ในแง่ของการขจัดรอยเปื้อน น้ำส้มสายชูก็เป็นมือโปรสำหรับแม่บ้านได้ยอดเยี่ยม เลือกใช้ได้ตามอาการต่อไปนี้
1.รองเท้าหนัง รองเท้ายาง หรือสารสังเคราะห์ใดๆ ก็ตาม หากเปื้อนน้ำมันให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูแล้วจะหมดรอย
2.กระจกบานเกล็ดสกปรก ล้างด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำสะอาดรับรองเงางาม สะอาดใส
3.หม้ออะลูมิเนียมเป็นคราบดำ น้ำส้มสายชุละลายขี้เถ้าใต้เตาถ่าน ขัดถูก็สะอาดเอี่ยมในพริบตา
4.ภาชนะทองแดง ทองเหลือง ขัดด้วยน้ำส้มผสมเกลือในอัตราส่วนเท่ากัน ผ้านุ่มๆ จุ่มพอหมาดเช็ดถูแล้วจะแวววาวขึ้น
5.ของใช้พลาสติก ตลอดจนภาชนะอื่นๆ ในครัวเปื้อนไขมันมากจนเป็นรอยดำ ให้แช่ในน้ำอุ่นผสมน้ำส้มสายชู รอยเปื้อนจะหายไปพร้อมกับกลิ่นอาหาร
6.ปัญหาของเตาอบ ถาดอบเครื่องครัวสแตนเลส และพื้อนครัวเป็นคราบสกปรกล้างยาก ใช้น้ำส้มเช็ดถู คราบฝังแน่นกับเศษอาหารตามพื้นจะหลุดง่าย ไม่เปลืองแรงขัด
7.เฟอร์นิเจอร์ ฝาผนังบ้านต่างดำ มีคราบนิ้วมือของสมาชิกตัวเล็กผ้านุ่มๆ ชุบน้ำส้มสายชูร้อนๆ เช็ดปุ๊บหายปั๊บ
8.อ่างล้างมือ อ่างอาบน้ำ ราวโครเมียมสกปรก เป็นสนิม น้ำส้มสายชูกับน้ำสบู่ เช็ดถู ทุกอย่างเงางามสะอาดตา
9.เสื้อผ้าบริเวณรักแร้เป็นคราบเหลืองนั้น น้ำส้มสายชูทาตรงรอยเปื้อนให้ชุ่ม หากได้แช่เสื้อผ้าในน้ำส้มสายชุสักครู่ก่อนซักตามปกติ กลิ่นเปรี้ยวและเหม็นอับจากเหงื่อจะหายพร้อมรอยเปื้อน
น้ำส้มสายชูยังมีคุณสมบัติ ขจัดกลิ่น ได้ไร้เทียมทาน กลิ่นอาหาร กลิ่นผลไม้แรงๆ อย่างทุเรียนที่ติดตามภาชนะพลาสติกนั้น ให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูตามด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
1.ท่อระบายน้ำภายในอาคารบ้านเรือนที่มักสกปรกเร็ว ตามด้วยกลิ่นเหม็นรุนแรง รบกวนความสุข ให้เทผงฟูลงท่อน้ำร่องไปก่อน 1 กำมือ สักครู่ตามด้วยน้ำส้มสายชูอีก 1 ถ้วย ทิ้งไว้สักพัก ลองเปิดน้ำระบายดุอีกที
2.เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อวัว เนื้อควาย ถ้าแช่น้ำเกลือผสมน้ำส้มสายชูก่อนเก็บเข้าตู้เย็น กลิ่นคาวจะไม่ออกมารบกวนอาหารอื่นๆ ด้วย
การแก้ปัญหาภายในบ้าน
1.ฝักบัวในห้องน้ำเกิดอุดตันใช้ไม่สะดวก น้ำที่ไหลกะปริบกะปรอย ลองถอดชิ้นส่วนออกมาแช่น้ำส้มสายชูปัดเศษฝุ่นด้วยแปรง แทงตามรูด้วยเข็มหมุด ล้างให้สะอาด ประกอบเข้าที่เดิม คราวนี้ฝักบัวไหลฉลุยแน่นอน
2.ขวด แจกัน คนโทที่ปากแคบคอดเล็ก ทำความสะอาดยาก กรอกน้ำส้มสายชุ ผสมเปลือกไข่ทุบพอละเอียด แช่ไว้ แล้วเขย่าๆ เศษคราวสกปรกจะหลุดโดยง่าย
3.หม้อและกาต้มน้ำชา กาแฟทั้งหลาย ใช้ไปนานๆมักมีตะกรัรนหินปูนจับหนา น้ำส้มสายชูผสมน้ำอย่างละถ้วย เทลงในภาชนะ ต้มให้เดือด แล้วทิ้งให้เย็นค้างไว้ 1 คืน ตะกอนทั้งหลายจะหลุดเป็นกระบิทีเดียว
4.ท่านสุภาพสตรีที่มีปัญหาม้วนผม หรือเซ็ทผมแล้วไม่อยู่ตัว หรือหยิกไม่ทนนาน โกรกผมด้วยน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง เมื่อสระและเซ็ทตามปกติ ผมจะหยิกเป็นลอยสลวย ทนนานสะใจหลายวัน
5.ไข่สดและใหม่มากเกินไป เวลาทำไข่ต้มมักมีปัญหาปอกเปลือกยาก ไข่เป็นรอยขรุขระไม่น่ารับประทาน ลองเติมน้ำส้มสายชูครึ่งช้อนชาลงในน้ำต้มไข่ ไข่ขาวจะไม่ติดเปลือก ปอกง่ายขึ้นกว่าเดิม
6.ต้มแปรงสีฟันขนแข็งๆ ในน้ำส้มสายชู ขนจะนุ่มไม่ทิ่มเหงือกให้เจ็บปากอีก
7.ปัญหาหินปูนจับตามเครื่องซักผ้า เครื่องล้างชาม แก้ด้วยน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย เทใส่เครื่องพร้อมน้ำ ปิดฝา เปิดเครื่องให้ทำงานตามปกติจะเห็นเครื่องสะอาดทันตา
น้ำส้มสายชูกับเคล็ดลับบางประการ
1.อยากรับประทานผัดไทย หอยทอด ขนมจีน กับถั่วงอกอวบอ้วน ขาวกรอบละก็ แช่น้ำผสมน้ำส้มสายชูไว้สักครู่
2.ดอกกุหลาบช่อใหญ่ อยากให้สดอยู่นานๆ น้ำส้มสายชู 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 5 กรัม ผสมน้ำสะอาด 5 ถ้วย ด้วยสูตรนี้รดกุหลาบทั้งช่อ
3.หม้อหุงข้าวไฟฟ้าใช้ไปนานๆ เกิดอาการน่าเป็นห่วง ก้นหม้อเปลี่ยนจากขาวเป็นดำ ผสมคราบไคลน้ำข้าวจับหนาเตอะ อย่าใช้ฝอยขัดหม้อหรือใยเหล็กไปขัดเข้านะ เดี๋ยวหม้อเป็นรอยขีดข่วน หมดสวย ซ้ำพาเอาคุณภาพเสื่อม สารเคลือบผิวออกไปด้วย สูตรเด็ดเคล็ดไม่ลับ ก็น้ำส้มสายชูเจ้าเดิมครึ่งส่วน ผสมน้ำ 1 ส่วน เติมลงหม้อ เสียบปลั๊ก รอจนเดือดปุดๆ จึงถอดปลั๊ก เทน้ำทิ้ง แล้วล้างตามปกติคุณจะได้หม้อที่สะอาดเหมือนเดิม
4.หยดน้ำส้มสายชูลงบนแว่นตาเช็ดด้วยผ้านุ่ม รอยขีดข่วนจะหายไป พร้อมคราบเหงื่อไคล
5.เสื้อผ้าสีขาวสะอาด มักกลายเป็นสีขาวขุ่นเข้าทุกที เมื่อใช้ไปนานๆ เพียงผสมน้ำส้มสายชูลงขณะซัก วิธีนี้ผ้าจะขาวสะอาดยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้น้ำยาซักผ้าขาวให้ผ่าเปื่อยก่อนเวลา
6.ลองใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำสะอาดชำระล้างผมในน้ำครั้งสุดท้าย ดูสักครั้งจะพบว่า ความเปรี้ยวของน้ำส้มสายชู ช่วยล้างแชมพูออกได้สะอาดหมดจดเส้นผมเป็นเงางาม มีน้ำหนัก ปราศจากรังแคด้วย
"น้ำส้มสายชูราคาย่อมเยาเพียงขวดเดียว ที่มีอยู่ในครัว สามารถทำประโยชน์สารพัดอย่าง สุดแต่เราจะสร้างสรรค์ให้ถูกวัตถุประสงค์ ตรงตามความต้องการได้ไม่ยากนัก ในภาวะเงินทองเป็นของหายากนี้ น้ำส้มสายชูคงช่วยคุณประหยัดแรงงาน และค่าใช้จ่ายได้ดีทีเดียว"
แช่ผักชีสักก้านในน้ำส้มสายชู ดูว่าใบไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เพื่อทดสอบว่าเป็นน้ำส้มสายชูแท้
Pr realestates | Management| Marketing |Advertising| Communication | Public Relations| Strategies | Economy
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
ความนำ
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องอาศัยชั้นเชิงในการบริหารที่เหนือกว่าคู่แข่ง หรืออาศัยความว่องไวในการปรับตัวให้ทันต่อภาวะการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักบริหารกำหนดทิศทางของธุรกิจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ ช่วยกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การ เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติ และควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์การได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะแต่องค์การภาครัฐหรือภาคเอกชนแต่อย่างใด
กลยุทธ์ขององค์การจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การได้ การทำความเข้าใจและการพยายามศึกษาองค์การที่ประสบผลสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เพื่อการจัดการ จะทำให้นักบริหารได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของกลยุทธ์ ที่จะช่วยสนับสนุนองค์การให้ประสบความสำเร็จ และจะต้องมีการพิจารณาเลือกกลยุทธ์และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การ
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์การเป็นส่วนประกอบ และอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน เนื่องจากการบริหารกลยุทธ์เป็นการบริหารองค์รวม ผู้นำที่มีความสามารถจะต้องอาศัยกลยุทธ์ในการจัดการองค์การที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับองค์การ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงไม่ล้มเหลว เนื่องจากกลยุทธ์ที่ดีแต่ล้มเหลวจะไม่สามารถนำความสำเร็จมาสู่องค์การได้ ดังนั้นทั้งกลยุทธ์และนักบริหารที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจึงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ลักษณะที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นเครื่องมือของนักบริหารในการบริหารงาน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น การบริหารเชิงกลยุทธ์จะเน้นและให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic decision making) ที่ไม่เหมือนกับการตัดสินใจในลักษณะอื่น ๆ เพราะการบริหารเชิงกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับอนาคตในระยะยาวขององค์การทั้งหมด ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ
• เป็นกระบวนการของการบริหารองค์การโดยรวม
• เป็นการบริหารที่เน้นการสร้างกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การในระยะยาว
• เป็นการตัดสินใจที่อาศัยชั้นเชิง ไม่มีวิธีการที่สำเร็จรูป
• ต้องอาศัยความร่วมมือ พันธะผูกพัน (Commitment) และทรัพยากรในองค์การ
• มีทิศทางที่ชัดเจนต่อทางเลือกต่าง ๆ และแสดงให้ทุกคนในองค์การเข้าใจตรงกัน
ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายคล้ายคลึงกัน ดังนี้
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นศาสตร์ที่มีมานานโดยคำว่า กลยุทธ์ หรือ Strategic มีที่มาจากคำว่าStrategia ในภาษากรีกซึ่งหมายความว่า Generalship โดยคำว่ายุทธศาสตร์มักจะถูกนำมาใช้ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร และได้เข้าสู่แวดวงการศึกษาในเวลาต่อมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ และต้องการให้เกิดการนำไปสู่การจัดทำนโยบายทางธุรกิจที่นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้ในอนาคต
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) โดยทั่วไป หมายถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจ อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
นอกจากนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส หรืออุปสรรคแก่องค์การได้ องค์การจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึง
1. ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ
2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต
3. สภาพแวดล้อม
4. การจัดสรรทรัพยากร
5. การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
แนวคิดที่สำคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์
แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือการกำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว
ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและบดบังโอกาสในการก้าวหน้าขององค์การได้
ฉะนั้นองค์การจึงต้องพิจารณาถึงจุดแข็งที่มีอยู่แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และพิจารณาถึงจุดอ่อนขององค์การเพื่อหาแนวทางขจัดจุดอ่อนเหล่านั้นเสีย
ในแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น จะมีความแตกต่างไปจากการจัดการโดยทั่วไป ซึ่งมักจะศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆและเน้นหนักไปที่การจัดการและการบริหารภายในองค์การ แต่การจัดการเชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์การ หรือสภาวะแวดล้อมภายนอกด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน คำนึงถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม
การจัดการกลยุทธ์ยังคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ(Stakeholders) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่าง ๆ ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องอาศัยชั้นเชิงในการบริหารที่เหนือกว่าคู่แข่ง หรืออาศัยความว่องไวในการปรับตัวให้ทันต่อภาวะการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักบริหารกำหนดทิศทางของธุรกิจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ ช่วยกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การ เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติ และควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์การได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะแต่องค์การภาครัฐหรือภาคเอกชนแต่อย่างใด
กลยุทธ์ขององค์การจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การได้ การทำความเข้าใจและการพยายามศึกษาองค์การที่ประสบผลสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เพื่อการจัดการ จะทำให้นักบริหารได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของกลยุทธ์ ที่จะช่วยสนับสนุนองค์การให้ประสบความสำเร็จ และจะต้องมีการพิจารณาเลือกกลยุทธ์และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การ
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์การเป็นส่วนประกอบ และอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน เนื่องจากการบริหารกลยุทธ์เป็นการบริหารองค์รวม ผู้นำที่มีความสามารถจะต้องอาศัยกลยุทธ์ในการจัดการองค์การที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับองค์การ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงไม่ล้มเหลว เนื่องจากกลยุทธ์ที่ดีแต่ล้มเหลวจะไม่สามารถนำความสำเร็จมาสู่องค์การได้ ดังนั้นทั้งกลยุทธ์และนักบริหารที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจึงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ลักษณะที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นเครื่องมือของนักบริหารในการบริหารงาน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น การบริหารเชิงกลยุทธ์จะเน้นและให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic decision making) ที่ไม่เหมือนกับการตัดสินใจในลักษณะอื่น ๆ เพราะการบริหารเชิงกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับอนาคตในระยะยาวขององค์การทั้งหมด ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ
• เป็นกระบวนการของการบริหารองค์การโดยรวม
• เป็นการบริหารที่เน้นการสร้างกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การในระยะยาว
• เป็นการตัดสินใจที่อาศัยชั้นเชิง ไม่มีวิธีการที่สำเร็จรูป
• ต้องอาศัยความร่วมมือ พันธะผูกพัน (Commitment) และทรัพยากรในองค์การ
• มีทิศทางที่ชัดเจนต่อทางเลือกต่าง ๆ และแสดงให้ทุกคนในองค์การเข้าใจตรงกัน
ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายคล้ายคลึงกัน ดังนี้
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นศาสตร์ที่มีมานานโดยคำว่า กลยุทธ์ หรือ Strategic มีที่มาจากคำว่าStrategia ในภาษากรีกซึ่งหมายความว่า Generalship โดยคำว่ายุทธศาสตร์มักจะถูกนำมาใช้ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร และได้เข้าสู่แวดวงการศึกษาในเวลาต่อมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ และต้องการให้เกิดการนำไปสู่การจัดทำนโยบายทางธุรกิจที่นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้ในอนาคต
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) โดยทั่วไป หมายถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจ อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
นอกจากนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส หรืออุปสรรคแก่องค์การได้ องค์การจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึง
1. ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ
2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต
3. สภาพแวดล้อม
4. การจัดสรรทรัพยากร
5. การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
แนวคิดที่สำคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์
แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือการกำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว
ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและบดบังโอกาสในการก้าวหน้าขององค์การได้
ฉะนั้นองค์การจึงต้องพิจารณาถึงจุดแข็งที่มีอยู่แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และพิจารณาถึงจุดอ่อนขององค์การเพื่อหาแนวทางขจัดจุดอ่อนเหล่านั้นเสีย
ในแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น จะมีความแตกต่างไปจากการจัดการโดยทั่วไป ซึ่งมักจะศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆและเน้นหนักไปที่การจัดการและการบริหารภายในองค์การ แต่การจัดการเชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์การ หรือสภาวะแวดล้อมภายนอกด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน คำนึงถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม
การจัดการกลยุทธ์ยังคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ(Stakeholders) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่าง ๆ ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน
หลักการสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้นมีหลักสำคัญดังนี้
1. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์การ และช่วยให้นักบริหารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้นักบริหารสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้
2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังนำไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว ทำให้องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้
3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำแนวทางในการดำเนินองค์การที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร
4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหาร เนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้ และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์การ การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว ดังนั้นความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหาร และความสามารถในการควบคุมให้การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้ จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี
5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรียมพร้อม เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การเข้าใจในภาพรวม โดยเฉพาะเป้าหมายในการดำเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้
6. การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้ และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่าง ๆ
การจัดการเชิงกลยุทธ์จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้นมีหลักสำคัญดังนี้
1. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์การ และช่วยให้นักบริหารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้นักบริหารสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้
2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังนำไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว ทำให้องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้
3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำแนวทางในการดำเนินองค์การที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร
4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหาร เนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้ และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์การ การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว ดังนั้นความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหาร และความสามารถในการควบคุมให้การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้ จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี
5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรียมพร้อม เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การเข้าใจในภาพรวม โดยเฉพาะเป้าหมายในการดำเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้
6. การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์ การประยุกต์ใช้ และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่าง ๆ
องค์ประกอบของการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยพื้นฐาน 5 ประการ คือ
1. การกำหนดทิศทาง (Direction Setting)
2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
4. การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation)
5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control)
1.กำหนดทิศทาง
ในการกำหนดทิศทางขององค์การจะประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision ) และการกำหนดภารกิจ ( Mission ) หรือ กรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์การสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว อีกทั้งยังแสดงถึงความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
ภารกิจ (Mission) ในกระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น ขั้นแรกองค์การจะต้องระบุภารกิจและเป้าหมายหลักที่สำคัญของบริษัท ซึ่งภารกิจ หมายถึง ประกาศหรือข้อความของบริษัทที่พยายามกำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน และกำลังจะทำอะไรในอนาคตและองค์การเป็นองค์การแบบใด และจะก้าวไปสู่การเป็นองค์การแบบใดทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือคู่แข่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วข้อความเรื่องภารกิจขององค์การจะประกอบไปด้วย ข้อความที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางปรัชญาสำคัญที่ผู้บริหารตัดสินใจกระทำ ซึ่งแสดงถึงพันธะของบริษัทที่มีต่อเป้าหมายและสอดคล้องกับคุณค่าของผู้บริหาร นอกจากนี้แล้วภารกิจยังจะสร้างสภาพแวดล้อมในการกำหนดกลยุทธ์อีกด้วย
เป้าหมาย (Gold) คือการบอกถึงสิ่งที่องค์การปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต และพยามบรรลุ โดยมีการกำหนดให้ชัดเจน กระชับ ตรงจุด และสามารรถวัดได้ ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นกว่าการกำหนดภารกิจว่าจะต้องทำสิ่งใด
2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)
2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)
การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)
• การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ ตำแหน่งทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทั่วไป และการพัฒนาองค์การ
• การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม (Value chain) เป็นการพยายามเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยขององค์การ โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยให้สนับสนุนกิจกรรมหลัก เพื่อจะสร้างคุณค่าที่สนองตอบกับค่านิยมของลูกค้า โดยสายงานหลักจะทำหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การนำเข้าวัตถุดิบ การผลิตสินค้าและบริการ การตลาด และการให้บริการลูกค้า ส่วนสายงานสนับสนุนจะทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การการจัดซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม จะทำให้องค์การได้รับรู้ถึงค่านิยมของลูกค้าได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้า เข้าสู่กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์การ
• การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) และระบบการดำเนินงาน เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยมีกระบวนการหลักขององค์การ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ
จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
2.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)
สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
• สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า สามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี
• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่
Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้
ความแตกต่างของสินค้า Differentiation หรือ ขนาดของทุน Capital Requirement เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงมากในด้านต่าง ๆ เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างของอุปสรรคสำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งนักบริหารจะต้องสร้างภาวะการตอบโต้ โดยอาศัยความได้เปรียบด้านอุปสรรคของผู้เข้ามาใหม่ในด้านต่าง ๆ
• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า ในเรื่องของปริมาณ คุณภาพ และราคา
• การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะมีความสำคัญเนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของผู้จัดส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารทั้งองค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน จะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับพลังการต่อรองนั้น
• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ราคา และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้
• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ
โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ
การจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยพื้นฐาน 5 ประการ คือ
1. การกำหนดทิศทาง (Direction Setting)
2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
4. การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation)
5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control)
1.กำหนดทิศทาง
ในการกำหนดทิศทางขององค์การจะประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision ) และการกำหนดภารกิจ ( Mission ) หรือ กรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์การสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว อีกทั้งยังแสดงถึงความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
ภารกิจ (Mission) ในกระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น ขั้นแรกองค์การจะต้องระบุภารกิจและเป้าหมายหลักที่สำคัญของบริษัท ซึ่งภารกิจ หมายถึง ประกาศหรือข้อความของบริษัทที่พยายามกำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน และกำลังจะทำอะไรในอนาคตและองค์การเป็นองค์การแบบใด และจะก้าวไปสู่การเป็นองค์การแบบใดทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือคู่แข่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วข้อความเรื่องภารกิจขององค์การจะประกอบไปด้วย ข้อความที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางปรัชญาสำคัญที่ผู้บริหารตัดสินใจกระทำ ซึ่งแสดงถึงพันธะของบริษัทที่มีต่อเป้าหมายและสอดคล้องกับคุณค่าของผู้บริหาร นอกจากนี้แล้วภารกิจยังจะสร้างสภาพแวดล้อมในการกำหนดกลยุทธ์อีกด้วย
เป้าหมาย (Gold) คือการบอกถึงสิ่งที่องค์การปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต และพยามบรรลุ โดยมีการกำหนดให้ชัดเจน กระชับ ตรงจุด และสามารรถวัดได้ ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นกว่าการกำหนดภารกิจว่าจะต้องทำสิ่งใด
2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)
2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)
การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)
• การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ ตำแหน่งทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทั่วไป และการพัฒนาองค์การ
• การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม (Value chain) เป็นการพยายามเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยขององค์การ โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยให้สนับสนุนกิจกรรมหลัก เพื่อจะสร้างคุณค่าที่สนองตอบกับค่านิยมของลูกค้า โดยสายงานหลักจะทำหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การนำเข้าวัตถุดิบ การผลิตสินค้าและบริการ การตลาด และการให้บริการลูกค้า ส่วนสายงานสนับสนุนจะทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การการจัดซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม จะทำให้องค์การได้รับรู้ถึงค่านิยมของลูกค้าได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้า เข้าสู่กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์การ
• การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) และระบบการดำเนินงาน เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยมีกระบวนการหลักขององค์การ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ
จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
2.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)
สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
• สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า สามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี
• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่
Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้
ความแตกต่างของสินค้า Differentiation หรือ ขนาดของทุน Capital Requirement เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงมากในด้านต่าง ๆ เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างของอุปสรรคสำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งนักบริหารจะต้องสร้างภาวะการตอบโต้ โดยอาศัยความได้เปรียบด้านอุปสรรคของผู้เข้ามาใหม่ในด้านต่าง ๆ
• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า ในเรื่องของปริมาณ คุณภาพ และราคา
• การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะมีความสำคัญเนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของผู้จัดส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารทั้งองค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน จะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับพลังการต่อรองนั้น
• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ราคา และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้
• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ
โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ
3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยองค์การจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์การที่สุด ผู้บริหารต้องพยายามตอบคำถามว่าทำอย่างไรองค์การจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ได้ โดยใช้ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การกำหนดเป็นกลยุทธ์ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ด้วย ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 ระดับ คือ
กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Strategy)
เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและบ่งบอกถึงกลยุทธ์โดยรวม และทิศทางในการแข่งขันขององค์การว่า องค์การจะมีการพัฒนาไปสู่ทิศทางใด จะดำเนินงานอย่างไร และจะจัดสรรทรัพยากรไปยังแต่ละหน่วยขององค์การอย่างไร เช่น การดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร การขยายตัวไปในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ในระดับองค์การ เช่น Boston Consulting Group Matrix, McKinsey 7 - S Framework เป็นต้น
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)
เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในระดับที่ย่อยลงไป จะมุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันขององค์การกับคู่แข่ง และระบุถึงวิธีการที่องค์การจะใช้ในการแข่งขัน มุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น โดยอาจรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันไว้ด้วยกัน ภายในหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Business Unit - SBU) เดียวกัน กลยุทธ์ระดับธุรกิจของ SBU นี้จะมุ่งการเพิ่มกำไร (Improving Profitability) และขยายการเติบโต (Growth) ให้มากขึ้น บางครั้งจึงเรียกกลยุทธ์ในระดับนี้ว่ากลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 กลยุทธ์ คือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ (Cost Leadership) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และ การจำกัดขอบเขตหรือการมุ่งเน้นหรือการรวมศูนย์ (Focus Strategy)
กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy)
เป็นการกำหนดกลยุทธ์ที่ครอบคลุมวิธีการในการแข่งขัน แก่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน (Function)ต่าง ๆ มุ่งเน้นให้แผนกงานตามหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ขึ้นมา โดยอยู่ภายใต้กรอบของกลยุทธ์ระดับองค์การและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ เช่น แผนการผลิต แผนการตลาด แผนการดำเนินงานทั่วไป แผนการด้านทรัพยากรบุคคล แผนการเงิน เป็นต้น
Michel Robert ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ไว้ในหนังสือ e-Strategy ที่อาจแตกต่างไปจากทั่ว ๆ ไปว่า ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์จะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด What you do best แต่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่คู่แข่งขันของเราทำอยู่ (Not what the others do) ซึ่งแนวคิดนี้ใช้ได้ดีทั้งธุรกิจการผลิตและธุรกิจการบริการ โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
1. ระบุแรงขับดัน (Driving Force) ขององค์การ ที่สามารถช่วยให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดแข็งที่องค์การมีอยู่ เช่น การที่องค์การมีเทคโนโลยีที่แตกต่าง องค์การสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำสำคัญในการดำเนินงานได้ เป็นต้น
2. สร้างกรอบแนวคิดทางธุรกิจ (Business Concept) อย่างสั้น ๆ เพื่อแสดงว่าจะใช้แรงขับดันนั้นอย่างไร เช่น จะใช้เทคโนโลยีนั้นผลิตสินค้าอะไร จะเจาะจงขายยังภูมิภาคใด
3. ระบุความเชี่ยวชาญขององค์การ (Area of Excellence) ที่เราต้องการ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนกลยุทธ์ เช่น อาจจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น หรือการสร้างความชำนาญในการขายและบริการแก่พนักงานขาย เป็นต้น
4. ระบุประเด็นสำคัญ (Critical Issues) หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญ ที่อาจจะต้องถูกปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เอื้อต่อการนำกลยุทธ์ไปดำเนินการ เช่น โครงสร้าง (Structure) กระบวนการหรือระบบ (Process/System) ทักษะและความสามารถ (Skills/Competencies) ระบบการให้ผลตอบแทน (Compensation) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีทฤษฎีที่ว่าด้วยกลยุทธ์ที่สามารถนำมาพิจารณาใช้ได้มากมาย แต่ย่อมไม่มีทฤษฎีหรือแนวทางจัดการใดใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์และสร้างกลยุทธ์ที่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ แต่อย่างน้อยในการกำหนด กลยุทธ์นั้นควรจะได้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วย เช่น
* เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
* เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
* เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ในระยะยาว
* เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
* เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้
การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยองค์การจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์การที่สุด ผู้บริหารต้องพยายามตอบคำถามว่าทำอย่างไรองค์การจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ได้ โดยใช้ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การกำหนดเป็นกลยุทธ์ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ด้วย ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 ระดับ คือ
กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Strategy)
เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและบ่งบอกถึงกลยุทธ์โดยรวม และทิศทางในการแข่งขันขององค์การว่า องค์การจะมีการพัฒนาไปสู่ทิศทางใด จะดำเนินงานอย่างไร และจะจัดสรรทรัพยากรไปยังแต่ละหน่วยขององค์การอย่างไร เช่น การดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร การขยายตัวไปในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ในระดับองค์การ เช่น Boston Consulting Group Matrix, McKinsey 7 - S Framework เป็นต้น
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)
เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในระดับที่ย่อยลงไป จะมุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันขององค์การกับคู่แข่ง และระบุถึงวิธีการที่องค์การจะใช้ในการแข่งขัน มุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น โดยอาจรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันไว้ด้วยกัน ภายในหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Business Unit - SBU) เดียวกัน กลยุทธ์ระดับธุรกิจของ SBU นี้จะมุ่งการเพิ่มกำไร (Improving Profitability) และขยายการเติบโต (Growth) ให้มากขึ้น บางครั้งจึงเรียกกลยุทธ์ในระดับนี้ว่ากลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 กลยุทธ์ คือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ (Cost Leadership) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และ การจำกัดขอบเขตหรือการมุ่งเน้นหรือการรวมศูนย์ (Focus Strategy)
กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy)
เป็นการกำหนดกลยุทธ์ที่ครอบคลุมวิธีการในการแข่งขัน แก่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน (Function)ต่าง ๆ มุ่งเน้นให้แผนกงานตามหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ขึ้นมา โดยอยู่ภายใต้กรอบของกลยุทธ์ระดับองค์การและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ เช่น แผนการผลิต แผนการตลาด แผนการดำเนินงานทั่วไป แผนการด้านทรัพยากรบุคคล แผนการเงิน เป็นต้น
Michel Robert ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ไว้ในหนังสือ e-Strategy ที่อาจแตกต่างไปจากทั่ว ๆ ไปว่า ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์จะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด What you do best แต่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่คู่แข่งขันของเราทำอยู่ (Not what the others do) ซึ่งแนวคิดนี้ใช้ได้ดีทั้งธุรกิจการผลิตและธุรกิจการบริการ โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
1. ระบุแรงขับดัน (Driving Force) ขององค์การ ที่สามารถช่วยให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดแข็งที่องค์การมีอยู่ เช่น การที่องค์การมีเทคโนโลยีที่แตกต่าง องค์การสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำสำคัญในการดำเนินงานได้ เป็นต้น
2. สร้างกรอบแนวคิดทางธุรกิจ (Business Concept) อย่างสั้น ๆ เพื่อแสดงว่าจะใช้แรงขับดันนั้นอย่างไร เช่น จะใช้เทคโนโลยีนั้นผลิตสินค้าอะไร จะเจาะจงขายยังภูมิภาคใด
3. ระบุความเชี่ยวชาญขององค์การ (Area of Excellence) ที่เราต้องการ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนกลยุทธ์ เช่น อาจจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น หรือการสร้างความชำนาญในการขายและบริการแก่พนักงานขาย เป็นต้น
4. ระบุประเด็นสำคัญ (Critical Issues) หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญ ที่อาจจะต้องถูกปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เอื้อต่อการนำกลยุทธ์ไปดำเนินการ เช่น โครงสร้าง (Structure) กระบวนการหรือระบบ (Process/System) ทักษะและความสามารถ (Skills/Competencies) ระบบการให้ผลตอบแทน (Compensation) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีทฤษฎีที่ว่าด้วยกลยุทธ์ที่สามารถนำมาพิจารณาใช้ได้มากมาย แต่ย่อมไม่มีทฤษฎีหรือแนวทางจัดการใดใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์และสร้างกลยุทธ์ที่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ แต่อย่างน้อยในการกำหนด กลยุทธ์นั้นควรจะได้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วย เช่น
* เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
* เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
* เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ในระยะยาว
* เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
* เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้
4. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)
การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือกระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์และนโยบาย ไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ หรือวิธีการดำเนินงาน ซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในด้านวัฒนธรรม โครงสร้าง หรือระบบการบริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
1. ขั้นตอนของการกำหนดแผนและการจัดสรรทรัพยากร (Resources Allocation)
2. ขั้นตอนของการปรับโครงสร้างองค์การ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์และการใช้ทรัพยากร เป็นต้น
3. ขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น เรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบบริหารบุคคล (การให้การศึกษา การให้การอบรม การกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ) เป็นต้น
4. การกระจายกลยุทธ์ (Strategic Deployment) หากองค์การมีการสร้างวิสัยทัศน์ สร้างพันธกิจขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการก็จะทำให้เกิดการสูญเปล่า (Waste) ได้ เพราะแม้ว่าแผนเหล่านั้นจะเป็นแผนงานที่ถูกจัดทำมาอย่างดี ผ่านการระดมความคิดมาอย่างเข้มข้นเพียงใดก็ตาม หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ย่อมไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้น
ดังนั้นเพื่อทำให้เกิดผลจึงจำเป็นต้องมีการกระจายแผนไปยังทุก ๆ ส่วนทั่วทั้งองค์การ โดยต้องสอดประสานกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ ซึ่งจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goals) อาจถูกแปลงเป็นเป้าหมายย่อย (Sub-goals) กำหนดเป็นเป้าหมายประจำปี (Annual goals) จากนั้นจะแตกไปเป็นเป้าหมายของแต่ละกลุ่ม แต่ละโครงการ
เพื่อให้ทราบว่า เป้าหมายของตนเองที่ชัดเจนนั้นคืออะไร และควรจะดำเนินการที่เรื่องใดก่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างสุดเข้าใจเป้าหมายที่ไม่คลาดเคลื่อนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อกระบวนการในการวัดผลที่เหมาะสมด้วย ทั้งยังช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมพอดี เพียงเพื่อให้บรรลุผลในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละโครงการ นั่นเอง
ความสำเร็จขององค์การนั้นเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการนำกลยุทธ์ไปประยุกต์ปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้บริหารควรมีการมอบหมาย และกำหนดแนวทางหรือวิธีการในการปฏิบัติงาน สิ่งที่สำคัญในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้
5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control)
การควบคุมกลยุทธ์ เป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการปรับปรุง เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้นจะก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ได้ตั้งไว้
การตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategic Control) จะมีการวัดผลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐาน โดยมาตรวัดการดำเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การ ซึ่งในแต่ละองค์การจะมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตนเอง ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อนผลการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
ในการติดตาม ควบคุม และประเมินผลนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลแผนกลยุทธ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบเต็มเวลาที่สามารถทุ่มเทให้กับการติดตามและประเมินผลได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานนี้ควรอยู่กับฝ่ายวางแผนที่มีผู้บริหารในฝ่ายอยู่ในระดับผู้บริหารชั้นสูง อย่างไรก็ตามในการดำเนินกลยุทธ์นั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่ายตลอดเวลา จึงอาจมีความจำเป็นในการตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์ ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับบริหารจากฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นร่วมด้วย
การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือกระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์และนโยบาย ไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ หรือวิธีการดำเนินงาน ซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในด้านวัฒนธรรม โครงสร้าง หรือระบบการบริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
1. ขั้นตอนของการกำหนดแผนและการจัดสรรทรัพยากร (Resources Allocation)
2. ขั้นตอนของการปรับโครงสร้างองค์การ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์และการใช้ทรัพยากร เป็นต้น
3. ขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น เรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบบริหารบุคคล (การให้การศึกษา การให้การอบรม การกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ) เป็นต้น
4. การกระจายกลยุทธ์ (Strategic Deployment) หากองค์การมีการสร้างวิสัยทัศน์ สร้างพันธกิจขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการก็จะทำให้เกิดการสูญเปล่า (Waste) ได้ เพราะแม้ว่าแผนเหล่านั้นจะเป็นแผนงานที่ถูกจัดทำมาอย่างดี ผ่านการระดมความคิดมาอย่างเข้มข้นเพียงใดก็ตาม หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ย่อมไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้น
ดังนั้นเพื่อทำให้เกิดผลจึงจำเป็นต้องมีการกระจายแผนไปยังทุก ๆ ส่วนทั่วทั้งองค์การ โดยต้องสอดประสานกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ ซึ่งจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goals) อาจถูกแปลงเป็นเป้าหมายย่อย (Sub-goals) กำหนดเป็นเป้าหมายประจำปี (Annual goals) จากนั้นจะแตกไปเป็นเป้าหมายของแต่ละกลุ่ม แต่ละโครงการ
เพื่อให้ทราบว่า เป้าหมายของตนเองที่ชัดเจนนั้นคืออะไร และควรจะดำเนินการที่เรื่องใดก่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างสุดเข้าใจเป้าหมายที่ไม่คลาดเคลื่อนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อกระบวนการในการวัดผลที่เหมาะสมด้วย ทั้งยังช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมพอดี เพียงเพื่อให้บรรลุผลในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละโครงการ นั่นเอง
ความสำเร็จขององค์การนั้นเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการนำกลยุทธ์ไปประยุกต์ปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้บริหารควรมีการมอบหมาย และกำหนดแนวทางหรือวิธีการในการปฏิบัติงาน สิ่งที่สำคัญในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้
5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control)
การควบคุมกลยุทธ์ เป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการปรับปรุง เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้นจะก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ได้ตั้งไว้
การตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategic Control) จะมีการวัดผลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐาน โดยมาตรวัดการดำเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การ ซึ่งในแต่ละองค์การจะมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตนเอง ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อนผลการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
ในการติดตาม ควบคุม และประเมินผลนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลแผนกลยุทธ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบเต็มเวลาที่สามารถทุ่มเทให้กับการติดตามและประเมินผลได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานนี้ควรอยู่กับฝ่ายวางแผนที่มีผู้บริหารในฝ่ายอยู่ในระดับผู้บริหารชั้นสูง อย่างไรก็ตามในการดำเนินกลยุทธ์นั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่ายตลอดเวลา จึงอาจมีความจำเป็นในการตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์ ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับบริหารจากฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นร่วมด้วย
คติธรรมนำชีวิต
• เรื่องภายในย่อมสำคัญกว่าเรื่องภายนอกตน
• คนที่รู้เพียงเปลือกนอก ย่อมสู้คนที่รู้ถึงแก่นไม่ได้
• คิดก่อนทำ อดทนไว้ พึงอภัย
• อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือภาพมายา อนาคตคือความไม่แน่นอน
• โกงคนอื่น เหมือนจุดไฟเผาตัวเอง
• ไม่มีอะไรเป็นของเรา แม้แต่ตัวของเราเอง
• เมตตาคนอื่น เหมือนสร้างบ้านให้ตัวเอง
• อย่าระแวงคนอื่น ยิ่งกว่าระวังตนเอง
• ชีวิตไม่พอกับตัณหา เวลาไม่พอกับความต้องการ
• ที่พักครั้งสุดท้ายคือ ป่าช้า
• ถ้าท่านทำงานแข่งกับสังคม ความพินาศล่มจมจะตามมา
• ถ้าท่านทำงานเห็นแก่หน้า ท่านจะพบปัญหาเรื่อยไป
• ถ้าท่านทำตัวเห็นแก่ได้ ท่านอย่าหวังน้ำใจจากเพื่อนฝูง
• ถ้าท่านกล้าเกินไป ท่านจะทำอะไรไม่สำเร็จ
• ถ้าท่านกล้าจนเกินงาม ท่านจะพบกับความทุกข์อย่างมหันต์
• ถ้าท่านขาดความยั้งคิด ชีวิตทั้งชีวิตจะหมดความหมาย
• ถ้าท่านทำใจให้สงบ ท่านจะพบกับความสุขที่เยือกเย็น
• ถ้าท่านมีความพอดี ท่านจะเป็นเศรษฐีในเรือนยาจก
• ถ้าท่านมีความงก ท่านจะเป็นยาจกในเรือนเศรษฐี
• ถ้าท่านมีเมตตาจิต ท่านจะมีญาติมิตรทั่วบ้าน
• ถ้าท่านเมตตาเกินประมาณ ท่านจะพบคนพาลทั่วเมือง
• ถ้าท่านคิดถึงความหลัง ท่านจะพบแต่ความเศร้า
• ถ้าท่านมีความมัวเมา ท่านจะพบความปวดร้าวภายหลัง
• ถ้าท่านทำดีเพื่อเด่น ท่านจะถูกเขม่น
• ถ้าท่านทำดีเพื่อน้ำจิต ท่านจะมีชีวิตอยู่อย่างสบาย
• ถ้าท่านหวังแต่พึ่งคนอื่น ท่านจะต้องกลืนน้ำตาตัวเอง
• ถ้าท่านรู้จักใช้เวลา ชีวิตจะมีค่ากว่านี้
• ถ้าไม่กินอยู่เท่าที่มี จะได้เป็นเศรษฐีเงินกู้
• ถ้ามั่วสุมกับอบายมุข จะพบความทุกข์ในบั้นปลาย
• ถ้าท่านทำหูเบาตามเขาว่า จะต้องน้ำตาตกใน
• ถ้าพูดโดยไม่คิด เท่ากับพ่นลมพิษใส่คนอื่น
• ถ้าจริงจังกับโลกเกินไป จะต้องตายเพราะความเศร้า
• ถ้าต้องการความอิสระ ให้พยายามชนะใจตัวเอง
• ถ้าไม่รู้จักความทุกข์ จะพบกับความสุขได้ที่ไหน
• ถ้าไม่ยอมปล่อยวาง จะพบกับความว่างได้อย่างไร
• ถ้าหาความสุขจากความมั่วเมา ท่านกำลังจับเงาในกระจก
• ถ้าอยากเป็นคนงาม อย่าวู่วามโกรธง่าย
• ถ้าอยากเป็นคนสบาย อย่าเบื่อหน่ายความเพียร
• ถ้าอยากเป็นคนมั่งมี อย่าเป็นคนดีแต่จ่าย
• ถ้าอยากเป็นคนนำสมัย อย่าทำลายวัฒนธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนมีเกียรติ อย่าเหยียดหยามคนอื่น
• ถ้าอยากเป็นคนมีความรู้ อย่าลบหลู่อาจารย์
• ถ้าอยากหาความสำราญ อย่าล้างผลาญสมบัติ
• ถ้าอยากเป็นคนมีอำนาจ อย่าขาดความยุติธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนดัง อย่าหวังความสงบ
• อย่าพยายามทำใจคนอื่นให้เหมือนเรา เพราะเราทำใจให้เหมือนคนอื่นไม่ได้
• อย่าทำตัวเด่น โยการสร้างหนี้ให้ตัวเอง
ที่มา: Spicy Magazine, Vol. 1, 20 March- 2 April 2004
ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
1. ระลึกเสมอว่าการได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยง
อันมหาศาลดุจกัน
2. เมื่อคุณแพ้ อย่าลืมเก็บไว้เป็นเป็นบทเรียน
3. จงปฏิบัติตาม 3Rs
3.1 เคารพตนเอง (Respect for self)
3.2 เคารพผู้อื่น (Respect for others)
3.3 รับผิดต่อการกระทำของตน (Responsibility for all your actions)
4. จงจำไว้ว่าการที่ไม่ทำตามใจปรารถนาของตนบางครั้งก็ให้โชคอย่างน่ามหัศจรรย์
5. จงเรียนรู้กฎ เพื่อจะทราบวิธีการฝ่าฝืนอย่างเหมาะสม
6. จงอย่าปล่อยให้การทะเลาะเบาะแว้งด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยมาทำลายมิตรภาพอันยิ่งใหญ่ของคุณ
7. เมื่อคุณรู้ว่าทำผิด จงอย่ารีรอช้าที่จะแก้ไข
8. จงใช้เวลาในการอยู่ลำพังผู้เดียวในแต่ละวัน
9. จงอ้าแขนรับการเปลี่ยนแปลงแต่อย่าปล่อยให้คุณค่าของคุณหลุดลอยจากไป
10. จงระลึกไว้ว่า บางครั้งความเงียบก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุด
11. จงดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อที่ว่าเมื่อคุณสูงวัยขึ้นและคิดหวยกลับมา คุณจะสามารถมีความสุขกับสิ่งที่ ได้ทำลงไปได้อีกครั้ง
12. บรรยากาศอันอบอุ่นในครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต
13. เมื่อเกิดขัดใจกับคนที่คุณรัก ให้หยุดไว้แค่เรื่องปัจจุบัน อย่าขุดคุ้ยเรื่องในอดีต
14. จงแบ่งปันความรู้ เพื่อเป็นหนทางก้าวสู่ความเป็นอมตะ
15. จงสุภาพกับโลกใบนี้
16. จงหาโอกาสท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆที่คุณไม่เคยไปอย่างน้อยปีละครั้ง
17. จำไว้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือ ความรัก มิใช่ความใคร่
18. จงตัดสินความสำเร็จของตนด้วยสิ่งที่ต้องเสียสละ
19. จงเข้าใกล้ความรักด้วยการปล่อยวาง
อ่านแล้วคิด ตีความหมายให้กระจ่าง แล้วคุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร
ที่ไหน คุณจะมีทางออกสำหรับปัญหาต่างๆและจะ HAPPY เสมอค่ะ
• เรื่องภายในย่อมสำคัญกว่าเรื่องภายนอกตน
• คนที่รู้เพียงเปลือกนอก ย่อมสู้คนที่รู้ถึงแก่นไม่ได้
• คิดก่อนทำ อดทนไว้ พึงอภัย
• อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือภาพมายา อนาคตคือความไม่แน่นอน
• โกงคนอื่น เหมือนจุดไฟเผาตัวเอง
• ไม่มีอะไรเป็นของเรา แม้แต่ตัวของเราเอง
• เมตตาคนอื่น เหมือนสร้างบ้านให้ตัวเอง
• อย่าระแวงคนอื่น ยิ่งกว่าระวังตนเอง
• ชีวิตไม่พอกับตัณหา เวลาไม่พอกับความต้องการ
• ที่พักครั้งสุดท้ายคือ ป่าช้า
• ถ้าท่านทำงานแข่งกับสังคม ความพินาศล่มจมจะตามมา
• ถ้าท่านทำงานเห็นแก่หน้า ท่านจะพบปัญหาเรื่อยไป
• ถ้าท่านทำตัวเห็นแก่ได้ ท่านอย่าหวังน้ำใจจากเพื่อนฝูง
• ถ้าท่านกล้าเกินไป ท่านจะทำอะไรไม่สำเร็จ
• ถ้าท่านกล้าจนเกินงาม ท่านจะพบกับความทุกข์อย่างมหันต์
• ถ้าท่านขาดความยั้งคิด ชีวิตทั้งชีวิตจะหมดความหมาย
• ถ้าท่านทำใจให้สงบ ท่านจะพบกับความสุขที่เยือกเย็น
• ถ้าท่านมีความพอดี ท่านจะเป็นเศรษฐีในเรือนยาจก
• ถ้าท่านมีความงก ท่านจะเป็นยาจกในเรือนเศรษฐี
• ถ้าท่านมีเมตตาจิต ท่านจะมีญาติมิตรทั่วบ้าน
• ถ้าท่านเมตตาเกินประมาณ ท่านจะพบคนพาลทั่วเมือง
• ถ้าท่านคิดถึงความหลัง ท่านจะพบแต่ความเศร้า
• ถ้าท่านมีความมัวเมา ท่านจะพบความปวดร้าวภายหลัง
• ถ้าท่านทำดีเพื่อเด่น ท่านจะถูกเขม่น
• ถ้าท่านทำดีเพื่อน้ำจิต ท่านจะมีชีวิตอยู่อย่างสบาย
• ถ้าท่านหวังแต่พึ่งคนอื่น ท่านจะต้องกลืนน้ำตาตัวเอง
• ถ้าท่านรู้จักใช้เวลา ชีวิตจะมีค่ากว่านี้
• ถ้าไม่กินอยู่เท่าที่มี จะได้เป็นเศรษฐีเงินกู้
• ถ้ามั่วสุมกับอบายมุข จะพบความทุกข์ในบั้นปลาย
• ถ้าท่านทำหูเบาตามเขาว่า จะต้องน้ำตาตกใน
• ถ้าพูดโดยไม่คิด เท่ากับพ่นลมพิษใส่คนอื่น
• ถ้าจริงจังกับโลกเกินไป จะต้องตายเพราะความเศร้า
• ถ้าต้องการความอิสระ ให้พยายามชนะใจตัวเอง
• ถ้าไม่รู้จักความทุกข์ จะพบกับความสุขได้ที่ไหน
• ถ้าไม่ยอมปล่อยวาง จะพบกับความว่างได้อย่างไร
• ถ้าหาความสุขจากความมั่วเมา ท่านกำลังจับเงาในกระจก
• ถ้าอยากเป็นคนงาม อย่าวู่วามโกรธง่าย
• ถ้าอยากเป็นคนสบาย อย่าเบื่อหน่ายความเพียร
• ถ้าอยากเป็นคนมั่งมี อย่าเป็นคนดีแต่จ่าย
• ถ้าอยากเป็นคนนำสมัย อย่าทำลายวัฒนธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนมีเกียรติ อย่าเหยียดหยามคนอื่น
• ถ้าอยากเป็นคนมีความรู้ อย่าลบหลู่อาจารย์
• ถ้าอยากหาความสำราญ อย่าล้างผลาญสมบัติ
• ถ้าอยากเป็นคนมีอำนาจ อย่าขาดความยุติธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนดัง อย่าหวังความสงบ
• อย่าพยายามทำใจคนอื่นให้เหมือนเรา เพราะเราทำใจให้เหมือนคนอื่นไม่ได้
• อย่าทำตัวเด่น โยการสร้างหนี้ให้ตัวเอง
ที่มา: Spicy Magazine, Vol. 1, 20 March- 2 April 2004
• คนที่รู้เพียงเปลือกนอก ย่อมสู้คนที่รู้ถึงแก่นไม่ได้
• คิดก่อนทำ อดทนไว้ พึงอภัย
• อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือภาพมายา อนาคตคือความไม่แน่นอน
• โกงคนอื่น เหมือนจุดไฟเผาตัวเอง
• ไม่มีอะไรเป็นของเรา แม้แต่ตัวของเราเอง
• เมตตาคนอื่น เหมือนสร้างบ้านให้ตัวเอง
• อย่าระแวงคนอื่น ยิ่งกว่าระวังตนเอง
• ชีวิตไม่พอกับตัณหา เวลาไม่พอกับความต้องการ
• ที่พักครั้งสุดท้ายคือ ป่าช้า
• ถ้าท่านทำงานแข่งกับสังคม ความพินาศล่มจมจะตามมา
• ถ้าท่านทำงานเห็นแก่หน้า ท่านจะพบปัญหาเรื่อยไป
• ถ้าท่านทำตัวเห็นแก่ได้ ท่านอย่าหวังน้ำใจจากเพื่อนฝูง
• ถ้าท่านกล้าเกินไป ท่านจะทำอะไรไม่สำเร็จ
• ถ้าท่านกล้าจนเกินงาม ท่านจะพบกับความทุกข์อย่างมหันต์
• ถ้าท่านขาดความยั้งคิด ชีวิตทั้งชีวิตจะหมดความหมาย
• ถ้าท่านทำใจให้สงบ ท่านจะพบกับความสุขที่เยือกเย็น
• ถ้าท่านมีความพอดี ท่านจะเป็นเศรษฐีในเรือนยาจก
• ถ้าท่านมีความงก ท่านจะเป็นยาจกในเรือนเศรษฐี
• ถ้าท่านมีเมตตาจิต ท่านจะมีญาติมิตรทั่วบ้าน
• ถ้าท่านเมตตาเกินประมาณ ท่านจะพบคนพาลทั่วเมือง
• ถ้าท่านคิดถึงความหลัง ท่านจะพบแต่ความเศร้า
• ถ้าท่านมีความมัวเมา ท่านจะพบความปวดร้าวภายหลัง
• ถ้าท่านทำดีเพื่อเด่น ท่านจะถูกเขม่น
• ถ้าท่านทำดีเพื่อน้ำจิต ท่านจะมีชีวิตอยู่อย่างสบาย
• ถ้าท่านหวังแต่พึ่งคนอื่น ท่านจะต้องกลืนน้ำตาตัวเอง
• ถ้าท่านรู้จักใช้เวลา ชีวิตจะมีค่ากว่านี้
• ถ้าไม่กินอยู่เท่าที่มี จะได้เป็นเศรษฐีเงินกู้
• ถ้ามั่วสุมกับอบายมุข จะพบความทุกข์ในบั้นปลาย
• ถ้าท่านทำหูเบาตามเขาว่า จะต้องน้ำตาตกใน
• ถ้าพูดโดยไม่คิด เท่ากับพ่นลมพิษใส่คนอื่น
• ถ้าจริงจังกับโลกเกินไป จะต้องตายเพราะความเศร้า
• ถ้าต้องการความอิสระ ให้พยายามชนะใจตัวเอง
• ถ้าไม่รู้จักความทุกข์ จะพบกับความสุขได้ที่ไหน
• ถ้าไม่ยอมปล่อยวาง จะพบกับความว่างได้อย่างไร
• ถ้าหาความสุขจากความมั่วเมา ท่านกำลังจับเงาในกระจก
• ถ้าอยากเป็นคนงาม อย่าวู่วามโกรธง่าย
• ถ้าอยากเป็นคนสบาย อย่าเบื่อหน่ายความเพียร
• ถ้าอยากเป็นคนมั่งมี อย่าเป็นคนดีแต่จ่าย
• ถ้าอยากเป็นคนนำสมัย อย่าทำลายวัฒนธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนมีเกียรติ อย่าเหยียดหยามคนอื่น
• ถ้าอยากเป็นคนมีความรู้ อย่าลบหลู่อาจารย์
• ถ้าอยากหาความสำราญ อย่าล้างผลาญสมบัติ
• ถ้าอยากเป็นคนมีอำนาจ อย่าขาดความยุติธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนดัง อย่าหวังความสงบ
• อย่าพยายามทำใจคนอื่นให้เหมือนเรา เพราะเราทำใจให้เหมือนคนอื่นไม่ได้
• อย่าทำตัวเด่น โยการสร้างหนี้ให้ตัวเอง
ที่มา: Spicy Magazine, Vol. 1, 20 March- 2 April 2004
ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
1. ระลึกเสมอว่าการได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยง
อันมหาศาลดุจกัน
2. เมื่อคุณแพ้ อย่าลืมเก็บไว้เป็นเป็นบทเรียน
3. จงปฏิบัติตาม 3Rs
3.1 เคารพตนเอง (Respect for self)
3.2 เคารพผู้อื่น (Respect for others)
3.3 รับผิดต่อการกระทำของตน (Responsibility for all your actions)
4. จงจำไว้ว่าการที่ไม่ทำตามใจปรารถนาของตนบางครั้งก็ให้โชคอย่างน่ามหัศจรรย์
5. จงเรียนรู้กฎ เพื่อจะทราบวิธีการฝ่าฝืนอย่างเหมาะสม
6. จงอย่าปล่อยให้การทะเลาะเบาะแว้งด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยมาทำลายมิตรภาพอันยิ่งใหญ่ของคุณ
7. เมื่อคุณรู้ว่าทำผิด จงอย่ารีรอช้าที่จะแก้ไข
8. จงใช้เวลาในการอยู่ลำพังผู้เดียวในแต่ละวัน
9. จงอ้าแขนรับการเปลี่ยนแปลงแต่อย่าปล่อยให้คุณค่าของคุณหลุดลอยจากไป
10. จงระลึกไว้ว่า บางครั้งความเงียบก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุด
11. จงดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อที่ว่าเมื่อคุณสูงวัยขึ้นและคิดหวยกลับมา คุณจะสามารถมีความสุขกับสิ่งที่ ได้ทำลงไปได้อีกครั้ง
12. บรรยากาศอันอบอุ่นในครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต
13. เมื่อเกิดขัดใจกับคนที่คุณรัก ให้หยุดไว้แค่เรื่องปัจจุบัน อย่าขุดคุ้ยเรื่องในอดีต
14. จงแบ่งปันความรู้ เพื่อเป็นหนทางก้าวสู่ความเป็นอมตะ
15. จงสุภาพกับโลกใบนี้
16. จงหาโอกาสท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆที่คุณไม่เคยไปอย่างน้อยปีละครั้ง
17. จำไว้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือ ความรัก มิใช่ความใคร่
18. จงตัดสินความสำเร็จของตนด้วยสิ่งที่ต้องเสียสละ
19. จงเข้าใกล้ความรักด้วยการปล่อยวาง
อ่านแล้วคิด ตีความหมายให้กระจ่าง แล้วคุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร
ที่ไหน คุณจะมีทางออกสำหรับปัญหาต่างๆและจะ HAPPY เสมอค่ะ
• เรื่องภายในย่อมสำคัญกว่าเรื่องภายนอกตน
• คนที่รู้เพียงเปลือกนอก ย่อมสู้คนที่รู้ถึงแก่นไม่ได้
• คิดก่อนทำ อดทนไว้ พึงอภัย
• อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือภาพมายา อนาคตคือความไม่แน่นอน
• โกงคนอื่น เหมือนจุดไฟเผาตัวเอง
• ไม่มีอะไรเป็นของเรา แม้แต่ตัวของเราเอง
• เมตตาคนอื่น เหมือนสร้างบ้านให้ตัวเอง
• อย่าระแวงคนอื่น ยิ่งกว่าระวังตนเอง
• ชีวิตไม่พอกับตัณหา เวลาไม่พอกับความต้องการ
• ที่พักครั้งสุดท้ายคือ ป่าช้า
• ถ้าท่านทำงานแข่งกับสังคม ความพินาศล่มจมจะตามมา
• ถ้าท่านทำงานเห็นแก่หน้า ท่านจะพบปัญหาเรื่อยไป
• ถ้าท่านทำตัวเห็นแก่ได้ ท่านอย่าหวังน้ำใจจากเพื่อนฝูง
• ถ้าท่านกล้าเกินไป ท่านจะทำอะไรไม่สำเร็จ
• ถ้าท่านกล้าจนเกินงาม ท่านจะพบกับความทุกข์อย่างมหันต์
• ถ้าท่านขาดความยั้งคิด ชีวิตทั้งชีวิตจะหมดความหมาย
• ถ้าท่านทำใจให้สงบ ท่านจะพบกับความสุขที่เยือกเย็น
• ถ้าท่านมีความพอดี ท่านจะเป็นเศรษฐีในเรือนยาจก
• ถ้าท่านมีความงก ท่านจะเป็นยาจกในเรือนเศรษฐี
• ถ้าท่านมีเมตตาจิต ท่านจะมีญาติมิตรทั่วบ้าน
• ถ้าท่านเมตตาเกินประมาณ ท่านจะพบคนพาลทั่วเมือง
• ถ้าท่านคิดถึงความหลัง ท่านจะพบแต่ความเศร้า
• ถ้าท่านมีความมัวเมา ท่านจะพบความปวดร้าวภายหลัง
• ถ้าท่านทำดีเพื่อเด่น ท่านจะถูกเขม่น
• ถ้าท่านทำดีเพื่อน้ำจิต ท่านจะมีชีวิตอยู่อย่างสบาย
• ถ้าท่านหวังแต่พึ่งคนอื่น ท่านจะต้องกลืนน้ำตาตัวเอง
• ถ้าท่านรู้จักใช้เวลา ชีวิตจะมีค่ากว่านี้
• ถ้าไม่กินอยู่เท่าที่มี จะได้เป็นเศรษฐีเงินกู้
• ถ้ามั่วสุมกับอบายมุข จะพบความทุกข์ในบั้นปลาย
• ถ้าท่านทำหูเบาตามเขาว่า จะต้องน้ำตาตกใน
• ถ้าพูดโดยไม่คิด เท่ากับพ่นลมพิษใส่คนอื่น
• ถ้าจริงจังกับโลกเกินไป จะต้องตายเพราะความเศร้า
• ถ้าต้องการความอิสระ ให้พยายามชนะใจตัวเอง
• ถ้าไม่รู้จักความทุกข์ จะพบกับความสุขได้ที่ไหน
• ถ้าไม่ยอมปล่อยวาง จะพบกับความว่างได้อย่างไร
• ถ้าหาความสุขจากความมั่วเมา ท่านกำลังจับเงาในกระจก
• ถ้าอยากเป็นคนงาม อย่าวู่วามโกรธง่าย
• ถ้าอยากเป็นคนสบาย อย่าเบื่อหน่ายความเพียร
• ถ้าอยากเป็นคนมั่งมี อย่าเป็นคนดีแต่จ่าย
• ถ้าอยากเป็นคนนำสมัย อย่าทำลายวัฒนธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนมีเกียรติ อย่าเหยียดหยามคนอื่น
• ถ้าอยากเป็นคนมีความรู้ อย่าลบหลู่อาจารย์
• ถ้าอยากหาความสำราญ อย่าล้างผลาญสมบัติ
• ถ้าอยากเป็นคนมีอำนาจ อย่าขาดความยุติธรรม
• ถ้าอยากเป็นคนดัง อย่าหวังความสงบ
• อย่าพยายามทำใจคนอื่นให้เหมือนเรา เพราะเราทำใจให้เหมือนคนอื่นไม่ได้
• อย่าทำตัวเด่น โยการสร้างหนี้ให้ตัวเอง
ที่มา: Spicy Magazine, Vol. 1, 20 March- 2 April 2004
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)