Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การจัดการ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การจัดการ แสดงบทความทั้งหมด

การจัดการการเงิน



การจัดการการเงิน

การจัดการการเงินของกิจการ คือ การทำให้มูลค่าของกิจการสูงสุด การทำให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยแสดงออกมาในรูปของราตลาดหุ้นสามัญสูงสุด

หน้าที่การจัดการการเงิน
1. การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม
1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงในการลงทุน
- องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์
2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น
2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า
- หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้
2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ

10 วิธีจัดการกับการปฏิเสธการขาย


10 วิธีจัดการกับการปฏิเสธการขาย
Ten Ways to Handle Sales Objections
ผู้เขียน : David Lynch
แปล/เรียบเรียง : สาระดีดี.คอม


          1.  ให้คาดคะเนอาการต่อต้านต่อการนำเสนอของคุณเสมอและนับจำนวนครั้งของการปฏิเสธก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีผู้ขายจำนวนมากที่รอจนอาการต่อต้านดำเนินไปยาวนานซึ่งทำให้การทำงานยากขึ้น 

          2.  อย่ารีบตอบโต้กับอาการต่อต้านจงหยุดและไตร่ตรอง แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณฟังเขาอยู่ ผู้ขายมักตอบสนองเร็วเกินไปในสถานการณ์เหล่านี้  บ่อยครั้งการสร้างความขัดแย้งกับลูกค้าเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

          3.  ถามกลับไปที่ลูกค้าเกี่ยวกับอาการต่อต้านของเขา ซึ่งจะช่วยเพิ่มเวลาและแสดงให้เห็นว่าคุณสนใจในสิ่งที่พวกเขาพูดเป็นความคิดที่น่าสนใจที่จะสนทนาเรื่องเดิมๆ แต่ให้เปลี่ยนรูปแบบของการพูดให้ต่างออกไป   ใช้น้ำเสียงให้ดูเป็นธรรมชาติและไม่กำกวม

          4. จดจำไว้ว่าการปฏิเสธบ่อยครั้งที่เป็น "สัญญาณการซื้อ"  เพราะลูกค้ามักตั้งคำถามเพื่อดูข้อเสนอของคุณ   หากพวกเขาไม่สนใจทำไมพวกเขาจึงยังคุยอยู่กับคุณให้มองหาการแสดงออกลักษณะโต้แย้งซึ่งจะนำมาซึ่งคำถามอื่นๆ   ยังมีสัญญาณอื่นๆ ที่ลูกค้าที่สนใจมักแสดงออก  อาทิ "น้ำเสียง"  ซึ่งบางครั้งเราไม่อาจสังเกตได้ชัดเจน

          5.  ถามลูกค้าถึงสิ่งที่พวกเขาความสนใจ หากคุณคิดว่าพวกเขาแสดงอาการต่อต้าน   ซึ่งนั่นเป็นเพียงอาการเพียงเล็กน้อย   อาการต่อต้านเล็กๆ นี้อาจจะทำให้ผู้ขายเสียเวลาและหากโชคร้ายแม้แต่มืออาชีพก็สามารถติดกับดักเหล่านี้ได้   ลูกค้าบางรายจะแสดงความรู้สึกมีอำนาจเหนือผู้ขายและพวกเขาหลบเลี่ยงที่จะแสดงออกว่า"แกล้งปฏิเสธ"  วิธีง่ายๆ ที่จะกำจัดปัญหาเหล่านี้ทำได้โดยเพิ่มการสังเกตและตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิเสธที่เกิดขึ้นนี้เป็นอาการปฏิเสธจริงๆ

          6.  โปรดทราบว่ามีสถิติเก็บไว้ว่ามักมีการแสดงการปฏิเสธ 3 ครั้งก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อมีผู้ขายจำนวนเท่าไรที่ยอมแพ้หลังจากการปฏิเสธครั้งที่1 และครั้งที่2 โดยไม่ทราบความจริงว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าหากพวกเขาอดทนต่ออีกเล็กน้อย   สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเมื่อผู้ขายมีประสบการณ์ที่ไม่ดีมาก่อน

          7.  การปฏิเสธเป็นด้านหนึ่งและส่วนหนึ่งของกระบวนการขาย  อย่าให้พวกเขาหยุดยั้งคุณจากการบรรลุจุดมุ่งหมาย   เป็นเรื่องจริงที่ว่าการปฏิเสธสามารถเกิดจากความไม่พอใจที่ถูกรบกวนแต่มืออาชีพอย่างแท้จริงๆ จะไม่ยอมให้สิ่งเหล่านี้มาทำให้หลุดจากเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมาย

          8.  ให้สังเกตอย่างระมัดระวังต่อการปฏิเสธ  บ่อยครั้งที่มีนัยสำคัญบางอย่างเกี่ยวกับผู้ซื้อว่ามีความต้องการ  อาการต่อต้านมักเปิดเผยข้อมูลที่อาจดูไม่มีคุณค่าเพราะว่าหากลูกค้าไม่ทำการซื้อในครั้งนี้  คุณก็จะยังได้รู้ว่าอะไรจะเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจเมื่อคุณสนทนากับพวกเขาในครั้งต่อไป

          9.  เป็นสิ่งที่ดีกว่าหากคุณอธิบายข้อเสนอ  สิ่งสำคัญคือข้อเสนอของคุณควรเข้าใจได้ง่ายซึ่งจะช่วยให้หลีกเลี่ยงการปฏิเสธที่เกิดขึ้นจากการไม่เข้าใจอย่างกระจ่างชัดว่าคุณกำลังพูดอะไร

          10.  การขายจะไม่น่าเบื่อหากผู้คนไม่ปฏิเสธ (จริงหรือ)?  อาจเกิดความไม่ชอบใจในตอนแรกแต่ในความเป็นจริงลูกค้าบางคนชอบใจที่จะต่อรองบ้างเล็กน้อยสำหรับการซื้อและผู้ขายควรจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ 

Source : http://www.articlesbase.com/marketing-tips-articles/ten-ways-to-handle-sales-objections-418346.html
แปล/เรียบเรียง : สาระดีดี.คอม http://www.sara-dd.com

การบริหารการตลาด

การบริหารการตลาด

          ในขั้นตอนของการบริหารการตลาดนั้นใช้หลักเกณฑ์เหมือนกับการบริหารทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนการตลาด (Marketing Planing) การปฏิบัติการทางการตลาด (Marketing Implementation) และการประเมินผลการดำเนินงานทางการตลาด (Performance Evaluation)

ขั้นตอนในการบริหารการตลาด


          ขั้นตอนการบริหารการตลาด จะเกี่ยวข้องกับคำ 2 คำ คือ การตลาด (Marketing) กับการจัดการหรือการบริหาร (Management หรือ Administration) การจัดการ หรือ การบริหาร ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
Management มีความหมายคล้ายกับคำว่า Administration ซึ่งหมายถึง "กระบวนการวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementing) และการประเมินผล (Controlling) ตามลำดับ ซึ่งขั้นตอนในการบริหารการตลาดสามารถอธิบายได้ดังนี้

          การวางแผน (Planning) ประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย (Goals) หรือวัตถุประสงค์ (Objectives) การเลือกกลยุทธ์ (Strategies) และยุทธ์วิธี (Tactics) เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

          • วัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมาย (Objectives and Goals) วัตถุประสงค์ (Objectives)(Goals) เป็นการกำหนดเป้าหมายการทำงานที่กระชับกว่าวัตถุประสงค์ หรืออาจกล่าวได้ว่าจุดมุ่งหมายเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์รองเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์หลัก แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองคำนี้มีความคล้ายคลึงกันกล่าวคือ "เป็นสิ่งที่ต้องการได้รับหรือคาดหมายเอาไว้ในอนาคต" และสองคำนี้สามารถใช้แทนกันได้

          • กลยุทธ์ (Strategies) หมายถึง "แผนการปฏิบัติงานที่องค์กรกำหนดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย" ถ้าวัตถุประสงค์กำหนดไว้ว่าปีหน้าต้องการยอดขายเพิ่มเป็น 10% จากปีที่ผ่านมา กลยุทธ์นี้อาจเป็นการเพิ่มความพยายามทางการตลาดโดยการส่งเสริมการตลาดในรูป โฆษณาและส่งเสริมการขาย

          • ยุทธวิธี (Tactics) "เป็นวิธีการนำเอารายละเอียดของกลยุทธ์มาปฏิบัติ" ยุทธวิธีจะแสดงรายละเอียดและมีลักษณะเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่ากลยุทธ์ และใช้ยุทธวิธีภายในช่วงเวลาสั้นกว่ากลยุทธ์

          • โปรแกรม (Program) หมายถึงแผนงานที่มีความสมบูรณ์ เป็นแผนที่รวมนโยบายกลยุทธ์ วิธีการปฏิบัติ มาตรฐาน งบประมาณและส่วนประกอบอื่น ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ในแต่ละวัตถุประสงค์จะต้องกำหนดว่า จะทำอะไร จะทำเมื่อใด จะทำโดยใคร จะทำอย่างไร และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเท่าใด

          • นโยบาย (Policy) หมายถึง "หลักการที่กำหนดขอบเขตอย่างกว้าง ๆ เพื่อเป็นแนวในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร" นโยบายจึงเสมือนเป็นแนวทางในการกระทำหรือการดำเนินงาน นโยบายจะเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกระดับในองค์กรหนึ่ง ตั้งแต่ประธานจนถึงพนักงาน นโยบายจะเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการผลิต การเงิน การตลาดและการบุคลากร ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ จะใช้เป็นแนวทางอย่างกว้าง ๆ ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายนี้

          การปฏิบัติการ (Implementing) ประกอบด้วยการกำหนดรูปแบบโครงสร้างองค์กร (Organizing) การจัดบุคคลเข้าทำงาน (Staffing) และการปฏิบัติการตามแผน (Operating)

          การประเมินผลการทำงาน (Performance Evaluation) เป็นขั้นตอนที่ประสานงานในกระบวนการบริหาร กล่าวคือ เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับจุดมุ่งหมาย การประเมินผลจึงเป็นตัวเชื่อมระหว่างการทำงานในอดีตและการวางแผนการทำงานใน อนาคต

          การบริหารการตลาด (Marketing Management) หมายถึงกระบวนการวางแผนการตลาด (Marketing Planning) การปฏิบัติการตามแผนการตลาด (Marketing Implementation) และการประเมินผลการทำงานทางการตลาด (Performance Evaluation) ให้บรรลุจุดมุ่งหมาย จะเห็นว่าความหมายของการบริหารการตลาดเป็นการนำกระบวนการบริหาร 3 ขั้นตอนมาใช้กับการตลาดนั่นเอง

          ขั้นตอนในการบริหารการตลาดก็จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับขั้นตอนในการบริหารทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย
          ขั้นที่ 1 การวางแผนการตลาด
          ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการทางการตลาด
          ขั้นที่ 3 การประเมินผลการทำงานทางการตลาด
คือความมุ่งหมายที่ได้จำแนกรายละเอียดในการปฏิบัติงานไว้ เช่นต้องการส่วนครองตลาด 25% จุดมุ่งหมาย
การวางแผนการตลาด

          กระบวนการวางแผนการตลาด (Marketing Planning Process) ประกอบด้วยขั้นตอน คือ
               (1) วิเคราะห์สถานการณ์
               (2) การพิจารณาวัตถุประสงค์ทางการตลาด
               (3) การเลือกตลาดเป้าหมายและวัดขนาดความต้องการซื้อของตลาด
               (4) การออกแบบส่วนประสมทางการตลาด
               (5) การจัดเตรียมแผนการตลาดสำหรับปี"

          การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis) หมายถึง การสำรวจโปรแกรมการตลาดในปัจจุบันของบริษัทเพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมการตลาดใน อนาคตควรจะเป็นอย่างไร รวมทั้งต้องวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายใน (ส่วนประสมทางการตลาด หรือปัจจัยทางการตลาด และสิ่งแวดล้อมภายในอื่นนอกเหนือจากปัจจัยทางการตลาด) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (สิ่งแวดล้อมจุลภาคและสิ่งแวดล้อมมหภาค) ที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด

          การพิจารณาวัตถุประสงค์ทางการตลาด (Determine the Marketing Objective)

          การเลือกตลาดเป้าหมายและวัดความต้องการซื้อของตลาด (Select and Measure Target Market) เป็นการวิเคราะห์ตลาดในปัจจุบัน เพื่อหาโอกาสในตลาดที่คาดหวัง (Potential Market) แล้วเลือกตลาดที่ธุรกิจมีความสามารถที่จะตอบสนองความพอใจในตลาดนั้นได้

          การออกแบบส่วนประสมทางการตลาดและยุทธวิธีการตลาด (Marketing Mix Strategies and Tactics Design) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมการตลาด (4'Ps) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือ สามารถสนองความต้องการของตลาดเป้าหมายให้พึงพอใจและสามารถบรรลุจุดมุ่งหมาย ของตลาด โดยมีจุดเริ่มต้นที่การกำหนดและวิเคราะห์ตลาดเป้าหมาย (Target Market) แล้วจึงพัฒนาโปรแกรมทางการตลาดและส่วนประสมการตลาดเพื่อสนองความต้องการของ ตลาดเป้าหมายนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ทางการตลาดคือความพึงพอใจของลูกค้า

          การวางแผนการตลาดสำหรับปี (Annual Marketing Plan) เป็นแผนรวมกิจกรรมการตลาดของทั้งปีสำหรับธุรกิจ หรือผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่าง ในแผนประกอบด้วย

               (1) การกำหนดวัตถุประสงค์
               (2) การกำหนดตลาดเป้าหมาย
               (3) กลยุทธ์และยุทธวิธีการตลาด
               (4) ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณที่ใช้สำหรับกิจกรรมการตลาด
เป็นการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดซึ่งต้องเป็นจริง มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและวัดได้ ตัวอย่างวัตถุประสงค์ทางการตลาดของบริษัทขายน้ำยาปรับผ้านุ่ม ประกอบด้วย ต้องการรายได้จากการขาย 9 ล้านบาท ยอดขายเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 10% ปริมาณการขาย 70,000 หน่วย คิดเป็นส่วนคลองตลาด 5% สามารถขยายการรับรู้ของผู้บริโภคในตรายี่ห้อจาก 15% เพิ่มเป็น 30% สามารถขยายจำนวนร้านค้าปลีกเป็น 10% ฯลฯ