Pr realestates | Management| Marketing |Advertising| Communication | Public Relations| Strategies | Economy
การแข่งขันสูง เล็งธุรกิจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม Niche Market
ฉีกหนีการแข่งขันที่สูง ด้วยการจับธุรกิจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market)
การดำเนินการธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างเราๆ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีปัญหาในเรื่องต้นทุนสินค้าและค่าแรง 300 บาท(นโยบายประชานิยมจากมันสมองรัตตะบานในพ.ศ.นี้) ที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมรับแล้ว การแข่งขันยังสูงขึ้นกว่าเดิมมากๆ ยังไม่รวมเรื่อง AEC ที่จะเกิดขึ้นอีก
นอกจากผลพวงจากค่าแรง อาจก่อให้เกิดการว่างงานแล้ว หลายๆ ท่านหันไปทำธุรกิจตัวเองกันมากขึ้นเพื่อให้มีรายได้ iTrendy360 เลยเขียนบทความเพื่อแนะนำสำหรับผู้ที่มองหาอาชีพใหม่ๆ
กลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือนิช มาร์เก็ต(Niche Market) ที่มีการแข่งขันน้อยกว่าตลาดทั่วไปที่มุ่งมวลชนจำนวนมากหรือ แมส มาร์เก็ต (Mass Market) ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่ครองตลาดอยู่แล้ว ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดเฉพาะกลุ่มหรือนิช มาร์เก็ต จะเป็นตลาดกลุ่มย่อยที่แยกออกมาจากตลาดใหญ่ แต่ลูกค้าในกลุ่มนี้ก็มีกำลังซื้อที่สูง จึงมีมูลค่าตลาดมากเพียงพอที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยมีรายได้และผลตอบแทนที่คุ้มค่าในการประกอบธุรกิจนั้น เราสามารถแยกตลาดตามกลุ่มลูกค้าได้คร่าวๆเป็น 2 ตลาด ดังนี้
หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
จัดและรวบรวมโดย.อาจารย์พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์
การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
•การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
•การนำสิ่งที่ได้(ข้อมูลที่รวบรวมได้) ไปใช้ในการวางทิศทางขององค์กร
•จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร (เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้)
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย
•ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ(สถานการณ์)ขององค์กร•การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
•การนำสิ่งที่ได้(ข้อมูลที่รวบรวมได้) ไปใช้ในการวางทิศทางขององค์กร
•จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร (เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้)
การวางแผนกลยุทธ์ ต้องตอบโจทย์คำถาม 3 ประการให้ได้
1.ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์2.ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3.จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร
ขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องให้ความสำคัญกับ
1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร2.จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พัธกิจ(ภารกิจ) และวัตถุประสงค์ขององกรค์อย่างชัดเจน
3.กำหนดกลยุทธ์โดยพิจารณาความเหมาะสม และการสามารถไปปฎิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4.ปฎิบัติตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5.ความคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฎิบัติงาน ประเมินผลกระบวนการและผระเมินผลสำเร็จขององค์กร
กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เมื่อเราต้องการ
1.เปลี่ยนทิศทางและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ2.สร้างกรอบการทำงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในองค์กร
3.กำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณและการประเมินผลการดำเนินงาน
4.ฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
5.เพิ่มความมั่นใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจ
เกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์ (การวางแผน)
1.เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก2.เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3.เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในะยะยาว
4.เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
5.เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้
หลักการ ที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนเชิงกลยุทธ์
1.ลักษณะธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ (What business you are in?)2.ลักษณะธุรกิจในอนาคต (Where do you want to go?)
3.สภาพแวดล้อม (Environment)
4.การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation)
5.การปฎิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ (Achievement)
กฎของการวางแผนเชิงยุทธ์
1.การแปลงกลยุทธ์ไปสู่ทีมปฎิบัติการต่าง ๆ โดยสร้างให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งทุกคนจะรู้เป้าหมายของตนเองอย่างชัดเจน ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้าง2.ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพราะแต่ละหน่วยงานย่อมมีบทบาทหน้าที่ มีองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การจะทำให้กลยุทธ์ได้รับการปฎิบัติและดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพื่อสร้างให้องค์กรมีเอกภาพและเข้มแข็ง
3.ทำให้กลยุทธ์เป็นเสมือนงานประจำวันของทุกคน ต้องทำให้ทุก ๆ คนเข้าใจกลยุทธ์ และสามารถทำงานประจำวันของตนไปในทิศทางที่สอดคล้อง สนับสนุนความสำเร็จของกลยุทธ์ ซึ่งไม่ใช่การสั่งการจากบนลงล่าง แต่เป็นการสื่อสารระหว่างทั้งสองระดับ
4.ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง
ปัญหามักเกิดขึ้นในการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ
1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ(ภารกิจ) ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์2.การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
3.สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
4.หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้
5.การพัฒนาความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
การวางแผนเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ
1.จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนทุกขั้นตอน สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และกระบวนการมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามวงจรPlan – Do – Check – Act (PDCA)
2.จัดทำแผนที่มีทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฎิบัติ การนำแผนไปปฎิบัติ และระบบปฎิบัติการ
3.กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสมดุลตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ค่านิยมด้านลูกค้า ค่านิยมด้านพนักงาน ค่านิยมด้านธุรกิจ ค่านิยมด้านชุมชน
คู่มือการแบ่งเวลาในการทำงาน
จุดเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรคำนึงถึงเพื่อให้คุณทำงานได้อย่างแฮปปี้ไม่มีคั่งค้าง
1. แบ่งลำดับความสำคัญ ให้เรียงลำดับโปรเจ็กต์ตามความสำคัญ และดูกำหนดเวลาว่างงานไหนที่ต้องส่งก่อน
การทำนามบัตรที่ดีเพื่อนักธุรกิจ
ลักษณะนามบัตรที่ดีเพื่อประกอบธุระกิจ |
นามบัตร ถือเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในระดับมืออาชีพที่เหล่าบรรดาผู้ประกอบการ นักบริหาร หรือแม้แต่กระทั่งพนักงานทุกคนที่ถือเป็นหน่วยปฏิบัติที่เล็กที่สุดของบริษัทจำเป็นต้องมีพกติดตัวเอาไว้ เนื่องจากในความเป็นจริงนามบัตรธุรกิจเป็นอะไรที่มีคุณค่ามากกว่าแค่กระดาษแผ่นเล็กๆแผ่นหนึ่ง เพราะนามบัตรธุรกิจเป็นการแสดงและแนะนำตัวตนของผู้ประกอบการ บริษัท หรือพนักงานผู้ถือบัตรให้บุคคลอื่นได้รู้จักเปรียบเสมือนเป็นบัตรประชาชนทางธุรกิจเลยก็เทียบได้ ซึ่งหลายวัฒนธรรมของการทำธุรกิจในการพบปะพูดคุยกันครั้งแรกๆของบริษัทผู้ค้ามักจะมีการแลกเปลี่ยนนามบัตรกันก่อนที่จะเริ่มลงมือพูดคุยเจรจาธุรกิจด้วยซ้ำไป นามบัตรจึงเป็นสิ่งสำคัญและกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆธุรกิจจะต้องมี ซึ่งโดยปกติแล้วนามบัตรไม่ได้มีรูปแบบตายตัวเหมือนสูตรทางคณิตศาสตร์แต่มันก็มีหลักการสากลที่ผู้ประกอบการควรจะต้องยึดเอาไว้เป็นหลักในการพิจารณาออกแบบอยู่บ้างพอสมควรเพื่อความเป็นมืออาชีพและได้รับการยอมรับจากภายนอกนามบัตรที่ดีควรมีลักษณะดัง องค์ประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังต่อไปนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)