การตัดสินใจในการลงทุนของคุณที่ผ่านมาอาจไม่ใช่เรื่องยาก
เพราะคุณอาจลงทุนตามวิถีทางเดิม ที่เป็นที่คุ้นเคยกันอย่างดี เช่น การฝากเงิน หรือ อาจเคยลงทุนกับหน่วยลงทุนตามคำชี้ชวนของบุคคลอื่น โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลการลงทุนที่แท้จริง เนื่องมาจากผู้ขายอาจไม่ได้อธิบายมากนักและทำให้คุณเข้าใจว่า การลงทุนในกองทุนที่เสนอขายไม่มีความเสี่ยงใดๆ ความไม่เข้าใจของคุณในฐานะผู้ลงทุนและของผู้ขาย เองในบางกรณี อาจทำให้คุณลงทุนในสิ่งที่ไม่เหมาะกับวัตถุประสงค์ ระยะเวลาในการลงทุน และ ระดับ ความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
แต่การลงทุนอาจเป็นเรื่องง่ายมากหากคุณมีโอกาสทำความเข้าใจในตัวคุณเองและสิ่งที่คุณต้องการ จะลงทุน โดยก่อนการลงทุนในแต่ละครั้งคุณควรถามตัวเองว่าคุณมีความเข้าใจในตราสารหรือหลักทรัพย์ ประเภทที่คุณสนใจลงทุนมากน้อยเพียงใด หลักทรัพย์นั้นๆให้ผลตอบแทนอย่างไร ในรูปแบบไหน มี ความเสี่ยงมากน้อยเพียงไร และคุณคิดว่าเหมาะสมกับคุณหรือไม่ หากยังไม่ทราบหรือยังไม่แน่ใจ คุณควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนประเภทนั้นๆ ก่อน
ในกรณีที่คุณสนใจลงทุนกับกองทุนรวม คุณควรอ่านหนังสือชี้ชวนก่อนการตัดสินใจ เพื่อทราบข้อมูล ของกองทุนว่า วัตถุประสงค์ของกองทุนคืออะไร มีนโยบายการลงทุนอย่างไร ผู้จัดการกองทุนนำเงินของ คุณไปลงทุนอะไรบ้าง ได้รับผลตอบแทนในลักษณะไหน วัตถุประสงค์ของกองทุนตรงกับวัตถุประสงค์ ของคุณหรือไม่ เป็นต้น
รู้จักตัวเอง
การกำหนดวัตถุประสงค์
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุน เป็นการช่วยให้คุณรู้จักตัวเองก่อนการตัดสินใจลงทุนว่า คุณมีความ ต้องการในการลงทุนอย่างไร ต้องการนำผลตอบแทนไปใช้จ่ายเพื่ออะไร หรือ เมื่อไร ซึ่งเมื่อทราบแล้ว จะ สามารถช่วยคุณกำหนดแนวทาง ว่าการลงทุนรูปแบบไหนเหมาะสมกับคุณที่สุด
เข้าใจตัวของคุณเอง
ก่อนอื่น คุณควรทราบวัตถุประสงค์การลงทุนระยะยาวของตนเองว่าเป็นการลงทุนเพื่ออะไรเช่น เพื่อเป็นทุนการศึกษา ของลูกหรือเพื่อเป็นเงินใช้จ่ายเมื่อเกษียณ
คุณรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน
คุณต้องการใช้เงินจำนวนเท่าไรในอนาคต และ จำนวนที่ต้องการนำมาลงทุน
ระยะเวลาของการลงทุน
สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณควรเลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณเอง เช่น หากคุณไม่สามารถรับความเสี่ยง จากการสูญเสียเงินต้น คุณควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้น หรือ กำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นให้เป็น ส่วนน้อยหรือเพียงบางส่วนของเงินลง ทุนทั้งหมด เป็นต้น
คุณเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง การออมกับการลงทุน หรือยัง การออม คือการเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำ หรือ ไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ซึ่งการออมส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของเงินฝากธนาคาร (ที่รัฐบาลค้ำประกัน) และ มักได้รับผลตอบแทนน้อย (ในบางช่วงเวลาอาจให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ) การลงทุน คือการนำเงินไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการนำเงินออมบางส่วนมาลงทุน เช่น ลงทุนในพันธบัตรหรือ หลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนโดยรวมให้สูงกว่าการออมเพียงอย่างเดียว ซึ่งหมายความถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น
สัดส่วนของการนำเงินออมมาลงทุนนั้น ขึ้นอยู่กับอัตราความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละบุคคล
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง การออมกับการลงทุน
การออม การลงทุน
วัตถุประสงค์ ความต้องการระยะสั้น หรือ เพื่อไว้
ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
ให้มีมูลค่าเพิ่มในระยะยาว
วิธี เงินฝากธนาคาร พันธบัตร หุ้น กองทุนรวม
ความเสี่ยง ไม่มีความเสี่ยง (ตราบใดที่รัฐบาลยัง
คงรับประกันเงินฝากทั้งเงินต้นและ
ดอกเบี้ยเต็มจำนวน)
แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและ
ลักษณะของหลักทรัพย์นั้นๆ
ที่มาของ
ผลตอบแทน ดอกเบี้ย ดอกเบี้ย เงินปันผล และ/หรือ ผล
กำไร-ขาด ทุนจากการลงทุน
จุดเด่น ปลอดภัย และ มีสภาพคล่องสูง ได้รับผลตอบแทนในระยะยาวสูงกว่า
เงินเฟ้อ
จุดด้อย ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ
มีโอกาสขาดทุน จากการลงทุนได้
ข้อควรทราบเกี่ยวกับการลงทุน คือ ผลตอบแทนสูงมักจะมาควบคู่กับความผันผวน ซึ่งศัพท์ทางการเงิน
เรียก ความผันผวน ในลักษณะนี้ว่า “ความเสี่ยง”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น