ตอนที่หนึ่งพ่อรวย – พ่อจน
พ่อทั้งสองของผู้เขียนต่างก็เป็นคนดี มีผู้เคารพนับถือมาก แต่มีคำสอนเรื่องการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันสุดขั้ว ผู้เขียนได้รับฟังคำสอนที่แตกต่างกันทั้ง 2 ด้านตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ทำให้ผู้เขียนต้องรู้จักวิเคราะห์พิจารณาในคำสอนตั้งแต่เด็ก
พ่อจน | พ่อรวย |
ความรักเงิน เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วร้าย | การขาดเงิน เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วร้าย |
คนรวยควรเสียภาษีมากๆ เพื่อช่วยคนจน | ภาษีทำโทษคนขยัน ให้รางวัลคนขี้เกียจ |
เรียนมากๆ จะได้ทำงานกับบริษัทที่มั่นคง | เรียนมากๆ จะได้ซื้อบริษัทที่มั่นคง |
พ่อไม่รวย เพราะพ่อมีลูก | พ่อต้องรวย เพราะพ่อมีลูก |
ห้ามพูดเรื่องเงินตอนทานข้าว | ชอบคุยเรื่องเงินตอนทานข้าว |
เรื่องเงินทองต้องปลอดภัยไว้ก่อน | ต้องรู้จักวิธีจัดการกับความเสี่ยง |
บ้าน เป็นการลงทุนและทรัพย์สินที่ใหญ่ที่สุด | บ้าน เป็นหนี้สินที่ใหญ่ที่สุดและไม่ใช่การลงทุน |
ชำระหนี้เป็นอันดับแรก | ชำระหนี้เป็นอันดับสุดท้าย |
ประหยัดทุกบาททุกสตางค์เพื่อสะสมเงิน | ใช้ทุกบาททุกสตางค์เพื่อการลงทุน |
สอนวิธีเขียนประวัติส่วนตัวอย่างไร จึงจะได้งานทำ | สอนวิธีเขียนแผนธุรกิจอย่างไร จึงจะสร้างงาน |
ชาตินี้ ไม่มีวันรวยแน่ | คนรวย เขาไม่ทำกันอย่างนั้นหรอก |
เงิน ไม่ใช่สิ่งสำคัญ | เงิน คืออำนาจ |
เรียน เพื่อทำงานให้ได้เงินเดือนสูงๆ | เรียน เพื่อรู้วิธีใช้เงินทำงานให้เรา |
พ่อ ไม่ทำงานเพื่อเงิน | เงิน ทำงานให้พ่อ |
ตอนที่สอง บทเรียนที่ 1 : คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน
ผู้เขียนได้รู้จักกับพ่อของไมค์ และขอร้องให้สอนวิธีหาเงิน
“ ถ้าเธออยากทำงานเพื่อเงิน เธอไปเรียนเอาที่โรงเรียน แต่ถ้าอยากเรียนวิธีใช้เงินทำงานให้เรา ฉันจะสอน"
“ การเรียนรู้วิธีใช้เงินทำงาน เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันชั่วชีวิต “
“ การขาดเงินนั้น แย่พอๆ กับการผูกติดกับเงินนั่นแหละ “
“ อย่าให้อารมณ์เป็นตัวกำหนดการกระทำ รับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องใช้สมองกำหนดการกระทำ “
ตัวอย่างการพูดจากอารมณ์
“ ต้องหางานทำให้ได้ ”
“ ฉันจะสอนให้เธอเป็นนาย ไม่ใช่เป็นทาสของเงิน ”
“ ที่สุดแล้วเราทุกคนเป็นลูกจ้าง แต่ในระดับที่แตกต่างกัน “
“ ฉันอยากให้เธอหลีกเลี่ยงกับดัก ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความกลัวและความโลภ “
“ ถ้าเราควบคุมความต้องการได้ เราจะมีเวลาคิดไตร่ตรองมากขึ้น “
“ หลายคนตั้งตารอวันเงินเดือนออก รอวันเงินเดือนขึ้น เพราะความกลัวและความต้องการ “
“ เราควรมีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง ความฝันและความสุข ไม่ใช่นอนก่ายหน้าผากกังวลว่าจะมีเงินให้ใช้ครบเดือนหรือไม่ “
“ ความเขลาไม่ใส่ใจเรื่องเงิน ทำให้เกิดความกลัวและความโลภ “
“ จำ ไว้ว่าการได้งานทำคือการแก้ปัญหาระยะสั้น ทุกคนคิดแค่วันเงินเดือนออก ปล่อยให้เงินมีอำนาจเหนือชีวิตพวกเขาจึงมีลักษณะคล้ายกันคือตื่นแต่เช้าไปทำ งาน ไม่เคยหยุดคิดเลยว่า ‘มีวิธีอื่นที่ดีกว่ามั้ย’ “
ความคิดที่มาจากอารมณ์ที่ได้ยินบ่อยๆ
“ ทุกคนต้องทำงาน “
“ คนรวยขี้โกง “
“ ผมควรจะได้ขึ้นเงินเดือนมิฉะนั้นจะลาออก “
“ ฉันชอบงานนี้เพราะมั่นคง “
ความคิดที่ใช้สมอง
“ ฉันมองข้ามอะไรไปหรือเปล่า “
ตอนที่สาม บทเรียนที่สอง: ทำไมต้องรู้เรื่องเงินๆ ทองๆ
“ การมีเงินมากๆ นั้น ไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักวิธีรักษาเงินให้อยู่กับเราตลอดไป “
“ พ่อจนจะเน้นให้อ่านมากๆ พ่อรวยจะบอกให้เรียนเรื่องเงิน “
กฏข้อที่-1 ต้องรู้ว่าอะไรคือทรัพย์สิน อะไรคือหนี้สิน
“ คนรวยเพิ่มทรัพย์สิน คนชั้นกลางเพิ่มหนี้สินโดยเข้าใจว่าเป็นทรัพย์สิน “
“ ถ้าอยากรวย ต้องอ่านให้เข้าใจตัวเลขและคำอธิบายเบื้องหลังนั้น “
“ ทรัพย์สินคือเงินใส่กระเป๋า หนี้สินคือเงินออกจากกระเป๋า “
รูปที่-3 การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนจน
งาน
รายได้ | เงินเดือน |
รายจ่าย | ภาษี , อาหาร , ค่าเช่า , เสื้อผ้า , สันทนาการ , เดินทาง |
ทรัพย์สิน | หนี้สิน |
รูปที่-4 การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนชั้นกลาง
งาน
รายได้ | เงินเดือน |
รายจ่าย | ภาษี , อาหาร , ค่าเช่า , เสื้อผ้า , สันทนาการ , เดินทาง |
ทรัพย์สิน | หนี้สิน |
| เงินกู้บ้าน , สินเชื่อผู้บริโภค , บัตรเครดิต |
รูปที่-6 การหมุนเวียนของกระแสเงินสดของคนรวย
รายได้ | เงินปันผล , ดอกเบี้ย , ค่าเช่า , ค่าลิขสิทธิ์ |
รายจ่าย | |
ทรัพย์สิน | หนี้สิน |
หุ้น , พันธบัตร , ตั๋วสัญญาใช้เงิน , อสังหาริมทรัพย์ , ทรัพ์สินทางปัญญา | |
=== พ่อของไมค์ไม่ใช่นักวิชาการ แต่ความรู้เรื่องการเงินทำให้เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ===
“ คนที่ฉลาด ต้องรู้จักจ้างคนที่ฉลาดกว่ามาเป็นลูกจ้าง “
=== โรงเรียนมีไว้ผลิตลูกจ้างที่ดี ไม่ได้มีไว้ผลิตนายจ้าง ===
=== พ่อจนมองว่าบ้านเป็นทรัพย์สิน พ่อรวยมองว่าบ้านเป็นหนี้สิน ===
=== เครื่องวัดฐานะทางการเงินคือ ถ้าเราหยุดทำงานวันนี้ เราจะมีเงินประทังชีวิตต่อไปอีกนานเท่าใด ===
=== เป้าหมายชีวิตของผมคือ การมีอิสระจากภาระทางการเงินทั้งปวง ===
=== สมมติว่าผมมีทรัพย์สินที่ทำเงินได้เดือนละ 2000 เหรียญ และมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 2000 เหรียญ ผมสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินเดือนถึง 30 วัน ===
=== ขั้นต่อไปคือ การนำรายได้จากทรัพย์สินกลับไปลงทุนในช่องหนี้สิน เพื่อขยายขนาดช่องทรัพย์สินให้โตขึ้น ===
ตอนที่สี่ บทเรียนที่-3: เพิ่มทรัพย์สิน – ทำธุรกิจของตนเอง
เรย์ คร๊อก ผู้ก่อตั้งร้านแมคโดนัลเล่าให้นักศึกษาปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยออสติน ว่าตามแผนธุรกิจแล้วเขาขายเฟรนไชด์ของแมคโดนัล แต่มีเงื่อนไขที่ระบุถึงทำเลที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นคนที่ซื้อเฟรนไชด์ไปจะต้องซื้อทำเลทองด้วย นั่นคือเรย์ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง
=== อุปสรรค์ทางการเงินส่วนหนึ่ง มาจากการที่เรายอมทำงานเพื่อคนอื่นตลอดชีวิต ===
=== ถ้าไม่เอารายได้มาซื้อทรัพย์สิน คุณก็จะยังคงไม่มีความมั่นคงทางการเงินอยู่ต่อไป ===
=== รากฐานของคนชั้นกลางคือไม่กล้าเสี่ยง ทำให้ยึดติดอยู่กับเงินเดือนและงานที่ทำอย่างเหนียวแน่น เพราะที่นั่นเขารู้สึกว่า ‘ปลอดภัย’ ===
=== หลายคนไม่เคยคิดถึงข้อแตกต่างระหว่าง ‘อาชีพ’ & ‘ธุรกิจ’ ===
=== คำถาม ‘คุณทำธุรกิจอะไร’ ‘คุณทำอาชีพอะไร’ ===
ทรัพย์สินที่ผมแนะนำให้คุณสนใจไขว่คว้า & สอนลูกหลานให้รู้จัก ดังนี้
1. ธุรกิจที่ผมไม่ต้องนั่งเฝ้า เป็นเจ้าของแต่มีคนมาจัดการให้ดำเนินกิจการไปได้
2. หุ้น
3. พันธบัตร
4. กองทุนรวม
5. อสังหาริมทรัพย์
6. ตั๋วเงิน
7. ค่าลิขสิทธิ์จากเพลง จากงานแต่งหนังสือ จากงานแปล จากสิทธิบัตรต่างๆ
8. สิ่งอื่นที่มีมูลค่า สามารถสร้างรายได้หรือเพิ่มมูลค่าด้วยตัวมันเอง
=== ผมแนะนำให้คุณทำงานประจำไป แล้วค่อยๆ สร้างธุรกิจด้วยการลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ทุกบาททุกสตางค์ที่ใส่ลงในช่องทรัพย์สินจงอย่าให้ไหลออกมา ให้เงินนั้นทำงานให้คุณ ===
=== จงมุ่งมั่นทำงานประจำให้เต็มที่ พร้อมๆ กับสร้างช่องทรัพย์สินของคุณให้ใหญ่โตขึ้น ===
=== คนรวยซื้อความสบายทีหลัง แต่คนชั้นกลางมักซื้อความสบายก่อน ===
=== คนรวยจะสร้างช่องทรัพย์สินให้ใหญ่โตพอที่จะสร้างรายได้กลับคืนมา แล้วจึงนำรายได้นั้นไปซื้อความสะดวกสบายอีกที ===
ตอนที่ห้า บทเรียนที่-4: ภาษี & ประโยชน์ของนิติบุคคล
=== บริษัทเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบุคคลธรรมดา แล้วรายจ่ายบางอย่างได้รับการยกเว้นภาษีด้วย ===
ทุกครั้งที่ผมจัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้ จะกล่าวถึงหลักสำคัญของไหวพริบทางการเงิน 4 อย่าง ดังนี้
1. ความรู้ทางบัญชี - อ่านงบการเงินให้เป็น
2. ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน - ศิลปะของการใช้เงินทำงาน
3. ความเข้าใจตลาด - อุปสงค์และอุปทานในตลาด
4. ความรู้เรื่องกฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น