Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

นักลงทุน

ความหมายการลงทุน
      คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น

      การลงทุนส่วนบุคคล

      ทำไมบุคคลจึงต้องลงทุน (Why Invest)

      โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่งเก็บออมไว้สำหรับใช้จ่ายในวันข้างหน้า

      การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของบุคคลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ ได้ แต่ถ้าสามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมีเงินออมเก็บไว้สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้มาก ขึ้น

      การที่คนเราเก็บออมก็เพราะได้เปรียบเทียบแล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้าจะให้ประโยชน์คุณค่าหรือความพอ ใจสูงสุดแก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้

      ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออมที่อุตส่าห์สะสมไว้เพิ่มพูนค่าและก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสำคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก “การลงทุน “ (Investments) การลงทุนเป็นการนำเอาทรัพย์สินที่บุคคลมีอยู่ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น

      การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

      การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เห็นประโยชน์การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment) การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า

      ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เราลงทุนเป็นเจ้าของไว้โดยตรงได้ อย่างเต็มที่ที่เรียกว่า Tangible investment ส่วนการลงทุนในหุ้นพันธบัตรตราสารการเงินอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ใน ตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible investments สำหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการลงทุนที่เป็น Intangible investments หรือที่จัดอยู่ในประเภทของการลงทุนทางการเงิน เป็นส่วนใหญ่ 
การลงทุนทางการเงิน (Financial investments)
     หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุนนั้น ซึ่งการลงทุนทางการเงินโดยทั่วไปมักจะทำผ่านกลไกของตลาดการเงิน

วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล Dividend) กำ ไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain) และสิทธิพิเศษอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งผลตอบแทนจากการใช้ทุนในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงิน (Monetary return) นั่นเอง

เงินเพื่อการลงทุนได้มาจากไหน (Money For investing)

      เงินสำหรับนำมาลงทุนได้มาจากแหล่งใด หรือมีทางที่จะได้มาอย่างไรถ้าบุคคลได้มีการวางแผนจัดการเรื่องการเงินของตน อย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะมีทางให้ได้เงินก้อนหนึ่งเพื่อการลงทุนได้เสมอ บุคคลมีโอกาสได้เงินมาจาก

1.การรู้จักทำงบประมาณ (Using budgets) เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินงบประมาณที่กำหนด ก็จะทำให้มีเงินออมเหลืออยู่จริงตามที่คาดคะเนไว้ ซึ่งเงินออมส่วนนี้สามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้

2.การออมโดยวิธีบังคับ (Forced saving) ตามหลักของการจ่ายเงินเดือนซึ่งธุรกิจได้มีการหักเงินสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เงินออมส่วนนี้เป็นของลูกจ้างพนักงาน แต่ยังถอนไม่ได้จนกว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ธุรกิจจะนำเงินสดดังกล่าวไปให้สถาบันการเงินหรือบุคคลที่สามเป็นผู้ดูแลหาผล ประโยชน์ให้งอกเงยตามที่กฎหมายกำหนด และจะจ่ายคืนแก่เจ้าของผู้มีสิทธิได้รับเมื่อถึงเวลา เงินออมโดยโดยวิธีบังคับจึงเป็นเงินลงทุนทางหนึ่งของบุคคลเพียงแต่เขาไม่ได้ เป็นผู้ลงทุนเองโดยตรงแต่สถาบันนายจ้างเป็นผู้ลงทุนแทนให้

3.การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็นเสียบ้าง (Skip an expenditure) เป็นธรรมชาติของบุคคลที่มีเงินแล้วจะใช้จ่ายไปตามวิสัยปกติที่เคยเป็นมา เช่นทุกวันอาทิตย์ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้าน ดูภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่ง เล่นกอล์ฟ หรือซื้อของตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นถ้าจะมีการยกเลิกบ้างก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีเงินเหลือนำมาลงทุนได้

4.การประหยัดรายได้พิเศษ (Save the nonroutine incomes) บางครั้งคนเราก็มักจะได้รับรายพิเศษเข้ามาบ้าง เช่น การไปทำงานพิเศษมีรายได้หรือขายของเก่า ที่ไม่ใช้แล้ว หรือญาติผู้ใหญ่ได้ให้เงินเป็นของขวัญรางวัล ซึ่งเงินเหล่านี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้จ่ายแต่ประการใด ดังนั้นถ้าสามารถเก็บออมไว้ก็จะนำไปหาผลประโยชน์ได้มาก

      ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing)

      การลงทุนมีความสัมพันธ์กับด้านผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks) การที่คนเราลงทุนก็เพราะเราคาดหวังจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุน มีหลายรูปแบบได้แก่

ก. รายได้ตามปกติ (Current income) รายได้ตามปกติได้แก่ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลในกรณีที่บุคคลซื้อพันธบัตรหรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งกำหนดเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้

ข. กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gains) ในกรณีของหุ้นสามัญที่บุคคลลงทุนซื้อไว้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อขายออกไปแล้วจะได้กำไร

ค. ค่าเช่า (Rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์ ที่อยู่อาศัย เมื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าก็จะมีรายได้ ค่าเช่าเป็นรายได้ที่คืนมาสู่เจ้าของ

ง. ผลตอบแทนอื่น ๆ (Others) เช่นการซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิ ในหารออกกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนด นโยบายของบริษัทได้ หรือสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น

      ในการคำนึงถึงผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรถามตัวเอง ผลตอบแทนที่ตนต้องการได้รับ สักกี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นในการพูดถึงเรื่องผลตอบแทนผู้ลงทุนควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return มากกว่า Nominal rate of return

      Real rate of return คือ ผลตอบแทนแท้จริงทีจะได้รับ โดยได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อส่วน Nominal rate of return เป็นผลตอบแทนที่เสนอให้หรือให้ตามที่บริษัทประกาศไว้ สมมติว่า การลงทุนครั้งนี้เสนอให้ผลตอบแทน (Nominal rate of return) 10 %ถ้ามีการคาดคะเนว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นปีละ 6 % ดังนั้นผลตอบแทนแท้จริงที่ได้รับ จะเป็นแค่ 4 % เท่านั้น

      นอกจากนี้ในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงในเรื่อง ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย (Interest on interest) ที่จะได้รับด้วย โดยคำนึงถึงดอกเบี้ยทบต้น ในการลงทุนการซื้อพันธบัตร ซึ่งให้ดอกเบี้ยประจำทุก ๆ งวด และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยได้รับไปใช้จ่าย ผลตอบแทนทีจะได้รับก็จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในพันธบัตรนั้น แต่ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดไปลงทุนต่อ ดอกเบี้ยดังกล่าวจะกลายเป็นเงินต้นของงวดถัดไปตามหลักของดอกเบี้ยทบต้นก่อ ให้เกิดดอกผลตามมา ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดเวลาก็จะได้รับเงินต้นคืนพร้อมผลตอบแทนได้อีกมากซึ่ง สรุปแล้วก็คือ อัตราผลตอบแทนได้รับจริงจะสูงกว่าที่ได้ประกาศไว้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าเราจะต้องนำดอกผลที่ได้รับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) อย่างส่ำเสมอเท่านั้น 
ฝากเงิน…มั่นคง
      การฝากเงินเป็นการลง ทุนอย่างหนึ่ง ที่คนเกือบทุกคนจะรู้ว่ามันคืออะไร ถ้าจะพูดในภาษาการเงิน จะบอกได้ว่า การฝากเงินเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมาก เพราะมีรัฐบาลคอยรับประกันเงินฝาก แต่หากรัฐบาลไม่รับประกันเงินฝาก ความเสี่ยงก็จะมากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าท่านฝากอยู่กับธนาคารใด

       การฝากเงินก็มีข้อดีอยู่หลาย ๆ ประการ

1. มีความเสี่ยงต่ำ และเข้าใจง่าย : คนหลาย ๆ คน พอใจกับการที่ในแต่ละปีเงินที่เขาเก็บจะไม่สูญหายไปไหน และได้ดอกผลบ้าง และด้วยความที่มันง่าย ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนอย่างการลงทุนอย่างอื่น คน ส่วนใหญ่จึงเลือกการฝากเงินเป็นการลงทุนอันดับแรก ดอกเบี้ยเท่าไร ก็คือผลตอบแทนเท่านั้น เงินฝากมีแต่เพิ่มไม่มีลด

2. มีสภาพคล่องสูง : การฝากเงินจะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และในทุก ๆ ประเภทจะสามารถถอนออกได้ทันที่ที่เราต้องการเงิน บางอย่างอาจจะมีการสูญเสียดอกเบี้ยไปบ้าง แต่ผู้ฝากก็รู้สึกว่า เงินฝากนั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัว ถอนเมื่อใดก็ได้ ไม่เหมือนการลงทุนอย่างอื่น ที่เราอาจจะรู้สึกว่าเงินของเรากำลังถูกนำไปหมุนอยู่ที่ใดสักแห่ง

3. มีความสะดวกในการฝาก - ถอน และดำเนินการต่าง ๆ : เพราะว่าสาขาของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ จะมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ จึงทำให้ผู้ลงทุนในรูปเงินฝากมีความสะดวกมากในการดำเนินรายการใด ๆ การฝากเงินนั้น มีอยู่หลายแบบซึ่งแต่ละธนาคารอาจจะคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ มีชื่อเรียกแปลก ๆ แต่ ถ้าแบ่งออกเป็นแบบกว้าง ๆ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การฝากออมทรัพย์ : การฝากแบบนี้เป็นที่รู้จักที่สุด นั่นคือการฝากที่เราสามารถถอนออกได้ ทุกวัน โดยไม่ต้องห่วงเรือง การสูญเสียดอกเบี้ย เพราะการฝากแบบนี้จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน
2. การฝากประจำ : คือการฝากที่ผู้ฝาก จะสามารถถอนได้ก็ต่อเมื่อครบอายุสัญญาแล้ว เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน หรือ 2 ปี หากผู้ฝากเงินมีการถอนเงินออกมาก่อนกำหนด ช่วงระยะเวลาที่ฝากเงินมาก่อนหน้านั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย
3. การฝากกระแสรายวัน : คือการฝากเงินเข้าบัญชี ที่จะมีการใช้ร่วมกับเช็ค ซึ่งเงินฝากประเภทนี้จะไม่ได้ดอกเบี้ย แต่จะมีข้อดีคือ จะสามารถถอนออกได้ ด้วยการสั่งจ่ายเช็ค ผู้ที่ฝากเงินประเภทนี้ มักจะมีจุดประสงค์เพื่อการค้า เพราะจะใช้เช็คในการจ่ายสินค้าได้สะดวก และปลอดภัยกว่าการจ่ายเป็นเงินสด 
ตราสารหนี้……เสี่ยงต่ำ
     หากพูดถึงคำว่า "ตราสารหนี้" หลาย ๆ ท่านอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า "พันธบัตร" หรือ "หุ้นกู้" บางท่านอาจเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า มันคืออะไร

      ตราสารหนี้คืออะไร

      ตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ออกตราสารหนี้จะเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ และ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ก็จะเป็นผู้ให้กู้ หรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีข้อผูกมัดทางกฎหมายว่าผู้กู้ (ผู้ออกตราสาร) จะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา และจ่ายเงินต้นตามสัญญาที่ระบุไว้ หากผู้กู้ไม่จ่ายเงินกู้คืน ผู้ลงทุนก็สามารถฟ้องร้องได้ ผู้ที่ออกตราสารหนี้แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1. รัฐบาล (โดยกระทรวงการคลัง) ซึ่งเราเรียกตราสารหนี้นี้ว่า "พันธบัตรรัฐบาล" จะมีตั้งแต่แบบ 1 ปี จนถึงแบบระยะยาว 20 ปี พันธบัตรรัฐบาล ที่จะให้ประชาชนซื้อได้โดยตรงเรียกว่า พันธบัตรออมทรัพย์
2. องค์กรภาครัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ตราสารหนี้ในกลุ่มนี้มักจะมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งมีความเสี่ยงต่ำมาก เช่นกัน
3. บริษัทเอกชน คือบริษัททั่ว ๆ ไป ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน มักเรียกว่า "หุ้นกู้" ซึ่งจะมีความเสี่ยงมากหรือ น้อยขึ้นกับความมั่นคงของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้

ประเภทของตราสารหนี้ มีวิธีแบ่งอยู่ 2 อย่าง

แบ่งตามสิทธิในการเรียกร้อง

1. ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องเงิน ต้นคืน น้อยกว่าเจ้าหนี้ทั่วไป ในกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารหนี้เกิดมีปัญหาหรือล้มละบาย แต่ก็จะได้รับการจัดสรรเงินคืน ก่อนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ 2. ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ ผู้ถือตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีสิทธิทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และมีสิทธิมากกว่า ผู้ถือตราสารหนี้ด้อยสิทธิ

แบ่งตามการค้ำประกัน

1. ตราสารหนี้มีประกัน หมายถึง ตราสารสหนี้ที่ผู้ออก นำสินทรัพย์ซึ่งอาจจะเป็นที่ดิน , อสังหาริมทรัพย์, หรือแม้แต่รายได้ในอนาคต เป็นหลักประกันการออม โดยผู้ถือตราสารหนี้จะมีบุริมสิทธิเหนือสินทรัพย์นั้น
2. ตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน ก็คือ ตราสารสารหนี้ที่ไม่ได้มีการนำสินทรัพย์ใด ๆ มาเป็นหลักประกัน ตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอาจจะเป็นตราสารหนี้ด้อยสิทธิหรือ ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ

สิ่งต้องรู้ก่อนลงทุนในตราสารหนี้
(1) มูลค่าที่ตราไว้ คือราคาต่อหน่วยที่ระบุเอาไว้ในตราสาร
(2) อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว คืออัตราดอกเบี้ยที่ ผู้ออกสัญญาว่าจะจ่ายให้ผู้ลงทุนซื้อตราสารนั้น โดยอัตราดอกเบี้ยที่ระบุอาจจะเป็น อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่
(3) งวดการจ่ายดอกเบี้ย คือการระบุว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุน จำนวนกี่ครั้งต่อปี
(4) วันครบกำหนดไถ่ถอน คือวันที่ตราสารหนี้นั้นจะหมดอายุ และผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน ความสำคัญของวันครบกำหนดไถ่ถอน อยู่ที่ว่ามันยาวนานเพียงใด
(5) องค์กรที่ออกตราสาร และอันดับเครดิต คือความมั่นคงขององค์กร ที่ออกตราสารหนี้จะบ่งบอกถึงความเสี่ยงของการลงทุนนั้น ซึ่งหากเป็น รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ หากเป็นบริษัทเอกชน ผู้ลงทุนอาจจะตส้องศึกษาในรายละเอียดขององค์กรนั้นบ้างว่ามั่นคงหรือไม่
(6) ประเภทของตราสารหนี้ เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าตราสารที่เราลงทุน มีความเสี่ยงอย่างไร หากบริษัทลูกหนี้เรามีปัญหา เพราะตราสารหนี้นั้นมีอยู่หลายประเภท
(7) ข้อสัญญา/เงื่อนไขต่าง ๆ เป็นการดูในรายละเอียดว่า ผู้ออกหุ้นกู้มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษที่จะทำ หรือไม่ทำบ้าง เช่น ผู้ออมอาจสัญญาว่าจะรักษาระดับหนี้สินต่อทุนไม่ให้เกินระดับที่กำหนด เป็นต้น
หุ้น........ผลตอบแทนสูง
     ตลาดหุ้นคืออะไร

      ลักษณะการหนึ่งของตลาดหุ้น คือ ตลาดหุ้นเป็นแหล่งของร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน บริษัท ๆ หลาย ๆ บริษัทมาอยู่รวมกัน เพื่อให้ท่านผู้มีเงินเก็บเหลือ ซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" มาร่วมลงทุนและนักลงทุนเหล่านั้นก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัท หรือเจ้าของกิจจการการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นทางเลือกเพื่อการออมเงิน ในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถหลีกเลี่ยง หรือป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตราเงินเฟ้อได้ เพราะการลงทุนในหลักทรัพย์จะช่วยรักษามูลค่าที่แท้จริงของเงินลงทุนและให้ผล ตอบแทนในรูปของเงินปันผล , กำไรส่วนทุน และสิทธิการจองซื้อหุ้นใหม่ในราคาต่ำแก่ผู้ลงทุนอีกด้วย และหาก ผู้ลงทุนมีความรอบรู้และชาญฉลาดพอ ก็จะสามารถเลือกขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในระดับราคาและจังหวะเวลาที่ให้ผลตอบแทนสูง

เมื่อบริษัทแห่งหนึ่งมีความต้องการเงินทุนในการขยายกิจการ หรือนำเงินมาใช้ในการดำเนินงาน บริษัทแห่งนี้อาจมีหนทางในการระดมเงินได้ 2 หนทาง คือ

1. การระดมเงินจากตลาดเงิน (Money Market) เช่น การกู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยมีพันธะผูกพันธ์ในการต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินนั้น ๆ

2. การระดมเงินจากตลาดหุ้น (Capital Market) ซึ่งตลาดทุนจะเป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาว (เกิน 1 ปี) โดยผู้ที่ต้องการระดมเงินทุนจะออกตราสารทางการเงิน หรือ หลักทรัพย์ในตลาดทุน ซึ่งประกอบด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หน่วยลงทุนของ กองทุนรวม ใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นต้น เพื่อขายให้กับบุคคลภายนอกหรือประชาชนสำทับไปในตลาดแรก (Primary Market)

ตลาดรอง (Secondary or Trading Market) ซึ่งจัดตั้งเพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางเสริมสภาพคล่องให้แก่หลักทรัพย์ที่ ผ่านการจองซื้อในตลาดแรกให้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของหลัก ทรัพย์ได้ ช่วยสร้างความมั่นคงแก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกว่าเขาสามารถขาย หลักทรัพย์นั้น เพื่อเปลี่ยนกลับคืนเป็นเงินสดได้เมื่อต้องการ

      หุ้นคืออะไร

      หุ้นคือสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ ที่เรียกโดยรวมว่า ตราสาร นั้นหมายถึง เอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ขอยกตัวอย่างดังนี้

1. หุ้นสามัญ (Common Stock)
หุ้นสามัญก็คือหุ้นที่นักลงทุน ส่วนใหญ่ในตลาดซื้อขายกันอยู่ และมีจำนวนมากกว่า 80 % ของหุ้นในตลาดทั้งหมด โดยหุ้นสามัญนี้เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้คุณได้เข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจนั้น ๆ โดยตรง ผลตอบแทนที่คุณจะได้โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจ กำไรจากการขายหุ้นถ้าราคาหุ้นปรับตัวขึ้น และสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน
2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)
เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงเวลาที่ระบุไว้ (ซึ่งราคาจองซื้อมักจะกำหนดไว้ต่ำกว่าราคาที่มีการซื้อขายปัจจุบัน ใบสำคัญแสดงสิทธิมักจะออกควบคู่กับการเพิ่มทุนเป็นเทคนิคการตลาดของบริษัท ผู้ออกหลักทรัพย์ในการจูงใจ ให้ผู้ลงทุนจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบลูชิพ และหุ้นเก็งกำไร ซึ่งหุ้นทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้



ประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์
     ประกันสังคม คืออะไร

      ระบบประกันสังคม เป็นสิ่งที่ต่างประเทศได้มีมานานแล้วแต่เมืองไทยเพิ่งเริ่มจะมี โดยชื่อ "ประกันสังคม" จะบ่งบอกความหมายได้พอสมควร คำแรก "ประกัน" จะมีความหมายในแนวว่า เราจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันว่าหากมีอะไรเกิดขึ้น เราจะได้รับความคุ้มครองคล้าย ๆ กับประกันรถยนต์ หรือประกันชีวิต ดังนั้นประกันสังคม จึงเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง (3% ของเงินเดือน) เพื่อเป็นหลักประกันว่า ชีวิตของเราจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นในสังคม เพราะเราจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต รวมทั้งจะได้เงินบำนาญใช้ในยามแก่ด้วย

      ข้อดีของประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเรา จะจ่ายเงินประกันนี้ (เรียกว่าเงินสมทบ) เพียง 1 ใน 3 ส่วน เพราะผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ 1. รัฐบาล 2. นายจ้าง 3. ลูกจ้าง ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 3 % ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

กองทุนประกันสังคมให้ความคุ้มครองผู้ประกันตน 6 กรณี ได้แก่
1. กรณีชราภาพ
2. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
3. กรณีคลอดบุตร
4. กรณีทุพพลภาพ
5. กรณีเสียชีวิต
6. กรณีสงเคราะห์บุตร

      ประกันชีวิต.....ป้องกันความผิดพลาด
     ประกันชีวิต คืออะไร

      หลักพื้นฐานของเรื่องประกันชีวิตก็มาจากความเป็นจริงในชีวิตที่ว่าการดำเนิน ชีวิตของคนในภาวะปัจจุบัน ต้องเผชิญกับอันตรายต่าง ๆ มากกว่าแต่ก่อน ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ, อุบัติเหตุ หรือการก่อการร้าย ซึ่งอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหนก็ได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น (โดยการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท) ไม่มีทางที่จะป้องกันได้หมด แต่เราสามารถวางแผนเผื่อ เพื่อทดแทนการสูญเสียนั้นได้

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต
1. ให้ความคุ้มครองต่อครอบครัว เมื่อเราคิดที่จะมีครอบครัวแล้ว เราก็หวังว่าครอบครัวเราจะต้องมีความมั่นคงและปลอดภัยพอสมควร แต่หากหัวหน้าครอบครัวหรือ ผู้ที่หาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวเป็นอะไรไป สมาชิกภายในครอบครัวที่เหลือย่อมประสบความลำบากในการดำรงชีวิตได้ การประกันชีวิตจะป้องกันปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นความรู้สึกอุ่นใจและมั่นคงตลอดไปของสมาชิกในครอบครัว ก็เป็นผลประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน ที่ผู้ประกันชีวิตจะได้รับ
2. รักษาเป้าหมายการออมเงิน การทำประกันชีวิตจะมีประโยชน์ในการออมทั้งทางตรง และทางออ้มนั่นคือ หากเราสามารถกำจัดความเสี่ยงในการสูญเสียเงินออมอย่างไม่คาดคิด เราย่อมสามารถรักษาเป้าหมาย ของเงินออมเอาไว้ได้ อะไรที่อยู่ในแผนการจะสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าสิ่งที่ไม่อยู่ในแผนการเรา
3. สิทธิลดหย่อนทางภาษี เงินเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปในแต่ละปี สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเป็นค่าใช้จ่ายได้ถึง 50,000.00 บาท หากท่าเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวนมาก (โดยดูได้จากใบ Slipเงินเดือนซึ่งจะระบุว่าท่านถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าใดในแต่ละเดือน) ทางเลือกแรกของการหาค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีคือ การลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และอีกทางเลือกหนึ่งก็คือการทำประกันชีวิตนั่นเอง เพราะการจ่ายเบี้ยประกันจะทำให้เราประหยัดภาษีในแต่ละปีได้ 10 % - 20% ของเงินเบี้ยประกัน นั่นคือกำไรพิเศษที่เราได้นั่นเอง

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการทำประกัน
ประการที่ 1 ต้องเข้าใจว่า "ประกันชีวิตคืออะไร" ประกันชีวิต = (ความคุ้มครอง+การเก็บออม+การลงทุน)
ประการที่ 2 ต้องเข้าใจ ตัวเองก่อนตกลงใจ ท่านจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ท่านทำเพื่ออะไร เพราะเหตุใด และจะทำอย่างไร จะทำให้ท่านเข้าใจและตัดสินใจได้มากขึ้น
ประการที่ 3 ต้องเข้าใจ ประเภทของกรมธรรม์
ประการที่ 4 ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการชำระเบี้ยประกันภัย
ประการที่ 5 ทำความเข้าใจกับสิทธิอื่นที่จะได้ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น