Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเงิน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเงิน แสดงบทความทั้งหมด

เศรษฐีใหม่มาแรง “จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ปั้น "บิทคับ" ยูนิคอร์น ตัวใหม่ของไทย

 


“กลุ่มเอสซีบี เอกซ์” ประกาศเข้าลงทุนใน บิทคับ ออนไลน์” ด้วยการเข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วน 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด  (SCBSที่สำคัญ ดีลนี้ยังส่งผลให้ Bitkub ก้าวขึ้นสู่สถานะ “ยูนิคอร์น” เบอร์สองของไทยอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ การเข้าทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีเงื่อนไขว่าผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องเป็นที่น่าพอใจ และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2565

สำหรับดีลนี้ ในวงการลงทุนได้ประเมินมูลค่าทั้ง “Bitkub” ที่เขาถือหุ้น 23.87% ใน“บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์”  หมายความว่า “จิรายุส” จะมีมูลค่าหุ้นที่ถือในบริษัทราว 8,354 ล้านบาท จากบริษัทที่สูงถึง 35,000 ล้านบาท และเมื่อ SCBS ประกาศซื้อหุ้น 51% ของบริษัท นั่นหมายความว่า เขาจะได้เงินสดจาก SCBS ทันที 4,260 ล้านบาท  ซึ่งแน่นอนว่าสัดส่วนหุ้นที่เหลือที่ยังไม่ได้ขายก็น่าจะทำให้เขายังมีบทบาทในบริษัทต่อไป และเป็น “คนสำคัญ” ที่ยังคงพัฒนาสิ่งใหม่ในโลกคริปโตเคอเรนซี่ ที่จะเป็น “สะพานเชื่อมโยงโลกเก่าสู่โลกอนาคต” ให้สำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ให้คนไทยภาคภูมิใจ

ขณะที่  “อรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์”  ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO แห่ง "Bitkub Online” กล่าวว่า โครงสร้างการถือหุ้นใน “บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” โดยส่วนตัวถือไว้สัดส่วนราว 5% แต่หลังจากการเข้ามาซื้อหุ้นของSCBS ครั้งนี้ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเหลือราว 2.5% ซึ่งในส่วนของ “จิรายุส”ที่ถือในสัดส่วนราว 20% กว่าลดลงเหลือ 10% กว่า ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นสัดส่วนลงตามการเข้ามาถือหุ้นของ SCBS

ส่วนทางด้าน "โครงสร้างผู้บริหารของ Bitkub Online" ยังไม่มีการเปลี่ยน รวมถึงโร้ดแมพของบริษัทยังดำเนินงานตามแผนและเป้าหมายเดิมที่วางไว้ก่อนหน้านี้  แต่แน่นอนว่า เรายังมีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้านต่างๆผ่านโมเดลทางธุรกิจรูปแบบใหม่ร่วมกับทาง SCBS  ซึ่งหลังจากนี้บริษัทยังต้องหารือกับทาง SCBS ก่อน และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการทำดีลดิจิเจนท์ จึงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ 

“ดีลนี้เราได้มีการพูดคุยกันมาในปีนี้มาระยะหนึ่งในแล้ว การที่เราตัดสินใจเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในครั้งนี้ เนื่องจาก SCBX เป็นเพียงรายเดียวที่โดดลงมาทำเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลอย่งจริงจังในปีนี้ อีกทั้งยังเป็นบริษัทคนไทยและมีเป้าหมาย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาวและวางรากฐานในการเข้าสู่โลกการเงินแห่งอนาคตต่อไป”

เส้นทางของ "จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา”  Group CEO ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด  มาถึงวันนี้ได้ผลักดัน “Bitkub" มาถึงจุดที่เราได้กลายเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า Digital Economy และเพื่อที่จะนำ Bitkub ให้ก้าวไปสู่ระดับโลก

 “พวกเราต้องการพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งมาเป็นกำลังเสริมให้ไปถึงได้เร็วขึ้นอย่างยั่งยืน นั่นเป็นเหตุผลที่เราจับมือร่วมกับ SCBS” 

ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา  "จิรายุส"  มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มองเห็นโลกอนาคตจะเปลี่ยนไปทางด้านไหน ในขณะที่  “Bitkub”   มีความสามารถ มีทรัพยากรต่างๆ มีหลายปัจจัยที่พร้อมกว่าคนอื่น 

"จิรายุส" มองว่า ในช่วงลมเปลี่ยนทิศเร็วมากในเวลานี้นับว่า เป็นจังหวะเวลาที่ดีอย่างมากของ “Bitkub” ซึ่งเป็นธุรกิจยุคใหม่  ขอเป็นตัวแทนเชื่อมโยงโลกเก่าไปสู่โลกใหม่  และยังคงยืนหยัดเป็นบริษัทคนไทย100% ในระยะ 10ปีข้างหน้าปกป้องวงการนี้ไม่ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ ภายใต้ดีลความร่วมมือกับ SCBS  นั่นเอง

จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา (เกิด 8 ก.พ. 2533)  อายุ 31 ปี เกิดที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ชื่อเล่นชื่อ "ท็อป" เป็นนักธุรกิจผู้ก่อตั้งบริษัทบิทคับ ศูนย์แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี 

จิรายุสก่อตั้ง บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในปี  2561 เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่อาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนในการทำธุรกิจที่ได้รับรองโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และและเป็นอนุกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

ในปี  2562 เขาได้ร่วมเป็นกรรมการสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ได้มีบทบาทในการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลในประเทศไทย รวมถึงการจัดงานประชุมในด้านสกุลเงินดิจิทัลและบล็อกเชน ทั้งกับทางภาคเอกชน และภาครัฐร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เครือข่ายยูโรเปียนบล็อกเชนฮับ และองค์กรนานาชาติที่ไม่แสวงผลกำไรโดยเขาได้รับรางวัล 1 ใน 100 คนของโลกที่สร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ร่วมกับ ปรมินทร์ อินโสม ผู้พัฒนา ZCoin

ตลอด 4 ปีที่ผ่านมานี้ "Bitkub"  บริษัทมีรายได้โตเกิน 1,000 % ต่อปี คาดว่าภายในสิ้นปี 2564 มีรายได้แตะ 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2561มีรายได้เพียง 3 ล้านบาทและจะมีกำไรเติบโตก้าวกระโดดภายในสิ้นปีนี้คาดกำไรจะอยู่ที่2,000 ล้านบาท จากปีก่อนมี กำไร 100 ล้านบาทเท่านั้น ปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ของลูกค้าดูแลทั้งสิ้น 50,000ล้านบาท

ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ย.2564) "Bitkub"  มีมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่รายงานต่อ ก.ล.ต. รวมประมาณ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 92% โดย Bitkub มีรายได้รวม 3,279 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,533 ล้านบาท (อ้างอิงจากงบการเงินยังไม่สอบทาน)

ทั้งนี้ "จิรายุส " มองเห็นอนาคต ในระยะ 3 -5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโลกของ “ไฟแนนซ์เชียลแฟลตฟอร์ม” บริษัทตั้งเป้าหมายจะเป็นธุรกิจที่ติดอันดับ 1 ใน10 ของธุรกิจรายใหญ่ของประเทศไทย ทั้งในแง่มูลค่าธุรกิจและมูลค่าที่สร้างต่อเศรษฐกิจของประเทศ  

financial money

 

บริหารจัดการเงิน

บริหารจัดการเงิน



7 วิธีที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการเงินได้ดีขึ้น

  1. ใช้บริการ Online Banking
คุณสามารถหักเงินจากบัญชีหนึ่ง ไปเข้าบัญชีเงินฝากได้อย่างสะดวก ด้วยบริการธุรกิจการเงินผ่าน Online Banking ครับ อย่างเช่นถ้าคุณมีรายรับเป็นประจำทุกเดือนในวันที่ 26 คุณก็สามารถแจ้งให้ธนาคารตัดเงินเพื่อนำไปเก็บเป็นเงินออมในวันที่ 29 ได้เลยครับ โดยที่ระบบจะทำเรื่องตัดเงินโอนเงินให้คุณโดยอัตโนมัติ

  • ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือแยกให้ออกระหว่างรายจ่ายที่จำเป็นกับรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยครับ จากนั้นก็ให้พยายามจำกัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยให้ได้ซึ่งคุณจะต้องเอาชนะใจตัวเองให้ได้ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะมีเหตุผลสนับสนุนในสิ่งที่อยากได้ทำให้เข้าผิดคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นเสมอ

  • คิดก่อนใช้จ่าย
เมื่อเห็นสิ่งที่เรารู้สึกอยากได้อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อในทันที แต่ให้ยับยั้งใจเอาไปคิดทบทวนให้ดี ๆ ก่อนว่ามันมีความจำเป็นกับเราหรือไม่

  • มีเป้าหมายในการออมเงิน
การมีเป้าหมายในการเก็บออมเงินจะช่วยสร้างวินัยในการเก็บออมให้เรามากขึ้น เช่นเราอาจตั้งเป้าหมายว่าเราจะต้องมีเงินเก็บเงินให้ได้ 1 ล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปีเป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้เราพยายามบังคับตัวเองให้พยายามเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งการเก็บเงินโดยไม่มีเป้าหมายนั้นมีโอกาสสูงที่เราจะนำเงินส่วนนั้นมาใช้จ่ายกับเรื่องที่ไม่จำเป็น
  • แบ่งส่วนรายได้ไว้เป็นเงินออม
ทำบัญชีการใช้จ่ายในแต่ละเดือน เมื่อหักเงินในส่วนที่แยกไว้สำหรับการใช้จ่ายจากรายรับออกแล้ว เงินที่เหลือจะเก็บไว้เป็นเงินออม โดยคุณอาจเปิดบัญชีเงินฝากแบบประจำเพื่อการเก็บไว้เป็นเงินออมโดยเฉพาะก็ได้
  • เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
การมีเงินก้อนหนึ่งเก็บไว้เป็นเงินทุนสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่เราจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายหรือใช้เป็นทุนเมื่อมีเหตุที่เราไม่คาดฝันมาก่อนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องออกจากงานอย่างกะทันหันหรือเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ
  • สร้างวินัยการออม
การบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะขาดวินัยไม้ได้เลยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้จ่ายหรือการออมเงินก็ตาม โดยเราอาจจะฝึกสร้างวินัยในการใช้จ่ายให้มากขึ้น โดยการกำหนดงบประมาณในการใช้จ่ายในแต่ละวันขึ้นมา แล้วพยายามควบคุมตนเองที่จะใช้จ่ายให้ได้ตามนั้น เท่านี้ก็เป็นการสร้างวินัยในการบริหารเงินอย่างหนึ่งแล้วครับ

เงิน เงิน เงิน

เงินหนอเงินเงินตราอย่าประมาท
ควรฉลาดหาเพิ่มเติมกระเป๋า
สิ่งจำเป็นซื้อหามาบรรเทา
ถ้ามัวเมาจ่ายมากจะยากจน

เงินหนอเงินเงินทองของบาดจิต
เงินสัมฤทธิ์เบิกบานประทานผล
อยากมีเงินทำงานหาญอดทน
เงินจะหล่นมาให้ในไม่ช้า

เงินหนอเงินเงินหรือคือพระเจ้า
คนโศกเศร้าขาดเงินดุ่มเดินหา
ถ้างานมีเงินงอกไม่หลอกตา
งานไม่มาเงินไม่มีพี่ไม่มอง

เงินหนอเงินหายากลำบากนัก
เงินอยู่หลักแหล่งไหนใครเจ้าของ
เป็นเศรษฐีมีเงินเทินก่ายกอง
ชัยฉลองยิ้มย่องดูผ่องผุด.

เงินหนอเงินเงินตราอย่าประมาท
เงินไม่ขาดยินดีเป็นที่สุด
เงินไม่มีหมองหม่นระทนทรุด
เดินตัวมุดมองเศร้าอับเฉาใจ

เงินหนอเงินเงินนี้มีค่านัก
พึงตระหนักคุณค่าอย่าหลงไหล
หามาด้วยลำแข้งอย่าแย่งใคร
เงินดลให้ชายหลงอนงค์รอ

เงินหนอเงินเงินหรือคือพระเจ้า
เงินของเขาอย่าเข้าไปเฝ้าขอ
เงินของเราเรามียินดีพอ
ไม่ต้องล่อเงินใครเดินไปเลย

เงินหนอเงินพอมีพี่รู้จัก
ใครหลงรักชอบเงินเชิญเขนย
ใครเห็นเงินตาโตโถไม่เคย
ใครเฉยเฉยมองเป็นจึงเห็นดี

เงินหนอเงินแลกเปลี่ยนเงินเวียนหมุน
เงินลงทุนค้าขายได้ทุกที่
เงินไปเที่ยวเดี๋ยวหามาอีกที
เงินเดี๋ยวหนีเดี๋ยวอยู่ไม่รู้นิ่ง

เงินหนอเงินเงินตราอย่าประมาท
คนวินาศเงินพนันพันสุงสิง
ควรรู้ค่าหายากลำบากจริง
เงินคือสิ่ง บรรดาล สำราญเอย.

นักลงทุน

ความหมายการลงทุน
      คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น

      การลงทุนส่วนบุคคล

      ทำไมบุคคลจึงต้องลงทุน (Why Invest)

      โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่งเก็บออมไว้สำหรับใช้จ่ายในวันข้างหน้า

      การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของบุคคลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ ได้ แต่ถ้าสามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมีเงินออมเก็บไว้สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้มาก ขึ้น

      การที่คนเราเก็บออมก็เพราะได้เปรียบเทียบแล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้าจะให้ประโยชน์คุณค่าหรือความพอ ใจสูงสุดแก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้

      ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออมที่อุตส่าห์สะสมไว้เพิ่มพูนค่าและก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสำคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก “การลงทุน “ (Investments) การลงทุนเป็นการนำเอาทรัพย์สินที่บุคคลมีอยู่ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น

      การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

      การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เห็นประโยชน์การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment) การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า

      ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เราลงทุนเป็นเจ้าของไว้โดยตรงได้ อย่างเต็มที่ที่เรียกว่า Tangible investment ส่วนการลงทุนในหุ้นพันธบัตรตราสารการเงินอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ใน ตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible investments สำหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการลงทุนที่เป็น Intangible investments หรือที่จัดอยู่ในประเภทของการลงทุนทางการเงิน เป็นส่วนใหญ่ 
การลงทุนทางการเงิน (Financial investments)
     หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุนนั้น ซึ่งการลงทุนทางการเงินโดยทั่วไปมักจะทำผ่านกลไกของตลาดการเงิน

วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล Dividend) กำ ไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain) และสิทธิพิเศษอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งผลตอบแทนจากการใช้ทุนในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงิน (Monetary return) นั่นเอง

เงินเพื่อการลงทุนได้มาจากไหน (Money For investing)

      เงินสำหรับนำมาลงทุนได้มาจากแหล่งใด หรือมีทางที่จะได้มาอย่างไรถ้าบุคคลได้มีการวางแผนจัดการเรื่องการเงินของตน อย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะมีทางให้ได้เงินก้อนหนึ่งเพื่อการลงทุนได้เสมอ บุคคลมีโอกาสได้เงินมาจาก

1.การรู้จักทำงบประมาณ (Using budgets) เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินงบประมาณที่กำหนด ก็จะทำให้มีเงินออมเหลืออยู่จริงตามที่คาดคะเนไว้ ซึ่งเงินออมส่วนนี้สามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้

2.การออมโดยวิธีบังคับ (Forced saving) ตามหลักของการจ่ายเงินเดือนซึ่งธุรกิจได้มีการหักเงินสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เงินออมส่วนนี้เป็นของลูกจ้างพนักงาน แต่ยังถอนไม่ได้จนกว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ธุรกิจจะนำเงินสดดังกล่าวไปให้สถาบันการเงินหรือบุคคลที่สามเป็นผู้ดูแลหาผล ประโยชน์ให้งอกเงยตามที่กฎหมายกำหนด และจะจ่ายคืนแก่เจ้าของผู้มีสิทธิได้รับเมื่อถึงเวลา เงินออมโดยโดยวิธีบังคับจึงเป็นเงินลงทุนทางหนึ่งของบุคคลเพียงแต่เขาไม่ได้ เป็นผู้ลงทุนเองโดยตรงแต่สถาบันนายจ้างเป็นผู้ลงทุนแทนให้

3.การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็นเสียบ้าง (Skip an expenditure) เป็นธรรมชาติของบุคคลที่มีเงินแล้วจะใช้จ่ายไปตามวิสัยปกติที่เคยเป็นมา เช่นทุกวันอาทิตย์ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้าน ดูภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่ง เล่นกอล์ฟ หรือซื้อของตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นถ้าจะมีการยกเลิกบ้างก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีเงินเหลือนำมาลงทุนได้

4.การประหยัดรายได้พิเศษ (Save the nonroutine incomes) บางครั้งคนเราก็มักจะได้รับรายพิเศษเข้ามาบ้าง เช่น การไปทำงานพิเศษมีรายได้หรือขายของเก่า ที่ไม่ใช้แล้ว หรือญาติผู้ใหญ่ได้ให้เงินเป็นของขวัญรางวัล ซึ่งเงินเหล่านี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้จ่ายแต่ประการใด ดังนั้นถ้าสามารถเก็บออมไว้ก็จะนำไปหาผลประโยชน์ได้มาก

      ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing)

      การลงทุนมีความสัมพันธ์กับด้านผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks) การที่คนเราลงทุนก็เพราะเราคาดหวังจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุน มีหลายรูปแบบได้แก่

ก. รายได้ตามปกติ (Current income) รายได้ตามปกติได้แก่ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลในกรณีที่บุคคลซื้อพันธบัตรหรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งกำหนดเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้

ข. กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gains) ในกรณีของหุ้นสามัญที่บุคคลลงทุนซื้อไว้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อขายออกไปแล้วจะได้กำไร

ค. ค่าเช่า (Rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์ ที่อยู่อาศัย เมื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าก็จะมีรายได้ ค่าเช่าเป็นรายได้ที่คืนมาสู่เจ้าของ

ง. ผลตอบแทนอื่น ๆ (Others) เช่นการซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิ ในหารออกกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนด นโยบายของบริษัทได้ หรือสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น

      ในการคำนึงถึงผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรถามตัวเอง ผลตอบแทนที่ตนต้องการได้รับ สักกี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นในการพูดถึงเรื่องผลตอบแทนผู้ลงทุนควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return มากกว่า Nominal rate of return

      Real rate of return คือ ผลตอบแทนแท้จริงทีจะได้รับ โดยได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อส่วน Nominal rate of return เป็นผลตอบแทนที่เสนอให้หรือให้ตามที่บริษัทประกาศไว้ สมมติว่า การลงทุนครั้งนี้เสนอให้ผลตอบแทน (Nominal rate of return) 10 %ถ้ามีการคาดคะเนว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นปีละ 6 % ดังนั้นผลตอบแทนแท้จริงที่ได้รับ จะเป็นแค่ 4 % เท่านั้น

      นอกจากนี้ในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงในเรื่อง ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย (Interest on interest) ที่จะได้รับด้วย โดยคำนึงถึงดอกเบี้ยทบต้น ในการลงทุนการซื้อพันธบัตร ซึ่งให้ดอกเบี้ยประจำทุก ๆ งวด และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยได้รับไปใช้จ่าย ผลตอบแทนทีจะได้รับก็จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในพันธบัตรนั้น แต่ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดไปลงทุนต่อ ดอกเบี้ยดังกล่าวจะกลายเป็นเงินต้นของงวดถัดไปตามหลักของดอกเบี้ยทบต้นก่อ ให้เกิดดอกผลตามมา ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดเวลาก็จะได้รับเงินต้นคืนพร้อมผลตอบแทนได้อีกมากซึ่ง สรุปแล้วก็คือ อัตราผลตอบแทนได้รับจริงจะสูงกว่าที่ได้ประกาศไว้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าเราจะต้องนำดอกผลที่ได้รับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) อย่างส่ำเสมอเท่านั้น 
ฝากเงิน…มั่นคง
      การฝากเงินเป็นการลง ทุนอย่างหนึ่ง ที่คนเกือบทุกคนจะรู้ว่ามันคืออะไร ถ้าจะพูดในภาษาการเงิน จะบอกได้ว่า การฝากเงินเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมาก เพราะมีรัฐบาลคอยรับประกันเงินฝาก แต่หากรัฐบาลไม่รับประกันเงินฝาก ความเสี่ยงก็จะมากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าท่านฝากอยู่กับธนาคารใด

       การฝากเงินก็มีข้อดีอยู่หลาย ๆ ประการ

1. มีความเสี่ยงต่ำ และเข้าใจง่าย : คนหลาย ๆ คน พอใจกับการที่ในแต่ละปีเงินที่เขาเก็บจะไม่สูญหายไปไหน และได้ดอกผลบ้าง และด้วยความที่มันง่าย ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนอย่างการลงทุนอย่างอื่น คน ส่วนใหญ่จึงเลือกการฝากเงินเป็นการลงทุนอันดับแรก ดอกเบี้ยเท่าไร ก็คือผลตอบแทนเท่านั้น เงินฝากมีแต่เพิ่มไม่มีลด

2. มีสภาพคล่องสูง : การฝากเงินจะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และในทุก ๆ ประเภทจะสามารถถอนออกได้ทันที่ที่เราต้องการเงิน บางอย่างอาจจะมีการสูญเสียดอกเบี้ยไปบ้าง แต่ผู้ฝากก็รู้สึกว่า เงินฝากนั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัว ถอนเมื่อใดก็ได้ ไม่เหมือนการลงทุนอย่างอื่น ที่เราอาจจะรู้สึกว่าเงินของเรากำลังถูกนำไปหมุนอยู่ที่ใดสักแห่ง

3. มีความสะดวกในการฝาก - ถอน และดำเนินการต่าง ๆ : เพราะว่าสาขาของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ จะมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ จึงทำให้ผู้ลงทุนในรูปเงินฝากมีความสะดวกมากในการดำเนินรายการใด ๆ การฝากเงินนั้น มีอยู่หลายแบบซึ่งแต่ละธนาคารอาจจะคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ มีชื่อเรียกแปลก ๆ แต่ ถ้าแบ่งออกเป็นแบบกว้าง ๆ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การฝากออมทรัพย์ : การฝากแบบนี้เป็นที่รู้จักที่สุด นั่นคือการฝากที่เราสามารถถอนออกได้ ทุกวัน โดยไม่ต้องห่วงเรือง การสูญเสียดอกเบี้ย เพราะการฝากแบบนี้จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน
2. การฝากประจำ : คือการฝากที่ผู้ฝาก จะสามารถถอนได้ก็ต่อเมื่อครบอายุสัญญาแล้ว เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน หรือ 2 ปี หากผู้ฝากเงินมีการถอนเงินออกมาก่อนกำหนด ช่วงระยะเวลาที่ฝากเงินมาก่อนหน้านั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย
3. การฝากกระแสรายวัน : คือการฝากเงินเข้าบัญชี ที่จะมีการใช้ร่วมกับเช็ค ซึ่งเงินฝากประเภทนี้จะไม่ได้ดอกเบี้ย แต่จะมีข้อดีคือ จะสามารถถอนออกได้ ด้วยการสั่งจ่ายเช็ค ผู้ที่ฝากเงินประเภทนี้ มักจะมีจุดประสงค์เพื่อการค้า เพราะจะใช้เช็คในการจ่ายสินค้าได้สะดวก และปลอดภัยกว่าการจ่ายเป็นเงินสด 
ตราสารหนี้……เสี่ยงต่ำ
     หากพูดถึงคำว่า "ตราสารหนี้" หลาย ๆ ท่านอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า "พันธบัตร" หรือ "หุ้นกู้" บางท่านอาจเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า มันคืออะไร

      ตราสารหนี้คืออะไร

      ตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ออกตราสารหนี้จะเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ และ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ก็จะเป็นผู้ให้กู้ หรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีข้อผูกมัดทางกฎหมายว่าผู้กู้ (ผู้ออกตราสาร) จะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา และจ่ายเงินต้นตามสัญญาที่ระบุไว้ หากผู้กู้ไม่จ่ายเงินกู้คืน ผู้ลงทุนก็สามารถฟ้องร้องได้ ผู้ที่ออกตราสารหนี้แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1. รัฐบาล (โดยกระทรวงการคลัง) ซึ่งเราเรียกตราสารหนี้นี้ว่า "พันธบัตรรัฐบาล" จะมีตั้งแต่แบบ 1 ปี จนถึงแบบระยะยาว 20 ปี พันธบัตรรัฐบาล ที่จะให้ประชาชนซื้อได้โดยตรงเรียกว่า พันธบัตรออมทรัพย์
2. องค์กรภาครัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ตราสารหนี้ในกลุ่มนี้มักจะมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งมีความเสี่ยงต่ำมาก เช่นกัน
3. บริษัทเอกชน คือบริษัททั่ว ๆ ไป ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน มักเรียกว่า "หุ้นกู้" ซึ่งจะมีความเสี่ยงมากหรือ น้อยขึ้นกับความมั่นคงของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้

ประเภทของตราสารหนี้ มีวิธีแบ่งอยู่ 2 อย่าง

แบ่งตามสิทธิในการเรียกร้อง

1. ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องเงิน ต้นคืน น้อยกว่าเจ้าหนี้ทั่วไป ในกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารหนี้เกิดมีปัญหาหรือล้มละบาย แต่ก็จะได้รับการจัดสรรเงินคืน ก่อนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ 2. ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ ผู้ถือตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีสิทธิทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และมีสิทธิมากกว่า ผู้ถือตราสารหนี้ด้อยสิทธิ

แบ่งตามการค้ำประกัน

1. ตราสารหนี้มีประกัน หมายถึง ตราสารสหนี้ที่ผู้ออก นำสินทรัพย์ซึ่งอาจจะเป็นที่ดิน , อสังหาริมทรัพย์, หรือแม้แต่รายได้ในอนาคต เป็นหลักประกันการออม โดยผู้ถือตราสารหนี้จะมีบุริมสิทธิเหนือสินทรัพย์นั้น
2. ตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน ก็คือ ตราสารสารหนี้ที่ไม่ได้มีการนำสินทรัพย์ใด ๆ มาเป็นหลักประกัน ตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอาจจะเป็นตราสารหนี้ด้อยสิทธิหรือ ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ

สิ่งต้องรู้ก่อนลงทุนในตราสารหนี้
(1) มูลค่าที่ตราไว้ คือราคาต่อหน่วยที่ระบุเอาไว้ในตราสาร
(2) อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว คืออัตราดอกเบี้ยที่ ผู้ออกสัญญาว่าจะจ่ายให้ผู้ลงทุนซื้อตราสารนั้น โดยอัตราดอกเบี้ยที่ระบุอาจจะเป็น อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่
(3) งวดการจ่ายดอกเบี้ย คือการระบุว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุน จำนวนกี่ครั้งต่อปี
(4) วันครบกำหนดไถ่ถอน คือวันที่ตราสารหนี้นั้นจะหมดอายุ และผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน ความสำคัญของวันครบกำหนดไถ่ถอน อยู่ที่ว่ามันยาวนานเพียงใด
(5) องค์กรที่ออกตราสาร และอันดับเครดิต คือความมั่นคงขององค์กร ที่ออกตราสารหนี้จะบ่งบอกถึงความเสี่ยงของการลงทุนนั้น ซึ่งหากเป็น รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ หากเป็นบริษัทเอกชน ผู้ลงทุนอาจจะตส้องศึกษาในรายละเอียดขององค์กรนั้นบ้างว่ามั่นคงหรือไม่
(6) ประเภทของตราสารหนี้ เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าตราสารที่เราลงทุน มีความเสี่ยงอย่างไร หากบริษัทลูกหนี้เรามีปัญหา เพราะตราสารหนี้นั้นมีอยู่หลายประเภท
(7) ข้อสัญญา/เงื่อนไขต่าง ๆ เป็นการดูในรายละเอียดว่า ผู้ออกหุ้นกู้มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษที่จะทำ หรือไม่ทำบ้าง เช่น ผู้ออมอาจสัญญาว่าจะรักษาระดับหนี้สินต่อทุนไม่ให้เกินระดับที่กำหนด เป็นต้น
หุ้น........ผลตอบแทนสูง
     ตลาดหุ้นคืออะไร

      ลักษณะการหนึ่งของตลาดหุ้น คือ ตลาดหุ้นเป็นแหล่งของร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน บริษัท ๆ หลาย ๆ บริษัทมาอยู่รวมกัน เพื่อให้ท่านผู้มีเงินเก็บเหลือ ซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" มาร่วมลงทุนและนักลงทุนเหล่านั้นก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัท หรือเจ้าของกิจจการการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นทางเลือกเพื่อการออมเงิน ในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถหลีกเลี่ยง หรือป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตราเงินเฟ้อได้ เพราะการลงทุนในหลักทรัพย์จะช่วยรักษามูลค่าที่แท้จริงของเงินลงทุนและให้ผล ตอบแทนในรูปของเงินปันผล , กำไรส่วนทุน และสิทธิการจองซื้อหุ้นใหม่ในราคาต่ำแก่ผู้ลงทุนอีกด้วย และหาก ผู้ลงทุนมีความรอบรู้และชาญฉลาดพอ ก็จะสามารถเลือกขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในระดับราคาและจังหวะเวลาที่ให้ผลตอบแทนสูง

เมื่อบริษัทแห่งหนึ่งมีความต้องการเงินทุนในการขยายกิจการ หรือนำเงินมาใช้ในการดำเนินงาน บริษัทแห่งนี้อาจมีหนทางในการระดมเงินได้ 2 หนทาง คือ

1. การระดมเงินจากตลาดเงิน (Money Market) เช่น การกู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยมีพันธะผูกพันธ์ในการต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินนั้น ๆ

2. การระดมเงินจากตลาดหุ้น (Capital Market) ซึ่งตลาดทุนจะเป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาว (เกิน 1 ปี) โดยผู้ที่ต้องการระดมเงินทุนจะออกตราสารทางการเงิน หรือ หลักทรัพย์ในตลาดทุน ซึ่งประกอบด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หน่วยลงทุนของ กองทุนรวม ใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นต้น เพื่อขายให้กับบุคคลภายนอกหรือประชาชนสำทับไปในตลาดแรก (Primary Market)

ตลาดรอง (Secondary or Trading Market) ซึ่งจัดตั้งเพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางเสริมสภาพคล่องให้แก่หลักทรัพย์ที่ ผ่านการจองซื้อในตลาดแรกให้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของหลัก ทรัพย์ได้ ช่วยสร้างความมั่นคงแก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกว่าเขาสามารถขาย หลักทรัพย์นั้น เพื่อเปลี่ยนกลับคืนเป็นเงินสดได้เมื่อต้องการ

      หุ้นคืออะไร

      หุ้นคือสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ ที่เรียกโดยรวมว่า ตราสาร นั้นหมายถึง เอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ขอยกตัวอย่างดังนี้

1. หุ้นสามัญ (Common Stock)
หุ้นสามัญก็คือหุ้นที่นักลงทุน ส่วนใหญ่ในตลาดซื้อขายกันอยู่ และมีจำนวนมากกว่า 80 % ของหุ้นในตลาดทั้งหมด โดยหุ้นสามัญนี้เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้คุณได้เข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจนั้น ๆ โดยตรง ผลตอบแทนที่คุณจะได้โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจ กำไรจากการขายหุ้นถ้าราคาหุ้นปรับตัวขึ้น และสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน
2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)
เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงเวลาที่ระบุไว้ (ซึ่งราคาจองซื้อมักจะกำหนดไว้ต่ำกว่าราคาที่มีการซื้อขายปัจจุบัน ใบสำคัญแสดงสิทธิมักจะออกควบคู่กับการเพิ่มทุนเป็นเทคนิคการตลาดของบริษัท ผู้ออกหลักทรัพย์ในการจูงใจ ให้ผู้ลงทุนจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบลูชิพ และหุ้นเก็งกำไร ซึ่งหุ้นทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้



ประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์
     ประกันสังคม คืออะไร

      ระบบประกันสังคม เป็นสิ่งที่ต่างประเทศได้มีมานานแล้วแต่เมืองไทยเพิ่งเริ่มจะมี โดยชื่อ "ประกันสังคม" จะบ่งบอกความหมายได้พอสมควร คำแรก "ประกัน" จะมีความหมายในแนวว่า เราจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันว่าหากมีอะไรเกิดขึ้น เราจะได้รับความคุ้มครองคล้าย ๆ กับประกันรถยนต์ หรือประกันชีวิต ดังนั้นประกันสังคม จึงเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง (3% ของเงินเดือน) เพื่อเป็นหลักประกันว่า ชีวิตของเราจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นในสังคม เพราะเราจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต รวมทั้งจะได้เงินบำนาญใช้ในยามแก่ด้วย

      ข้อดีของประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเรา จะจ่ายเงินประกันนี้ (เรียกว่าเงินสมทบ) เพียง 1 ใน 3 ส่วน เพราะผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ 1. รัฐบาล 2. นายจ้าง 3. ลูกจ้าง ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 3 % ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

กองทุนประกันสังคมให้ความคุ้มครองผู้ประกันตน 6 กรณี ได้แก่
1. กรณีชราภาพ
2. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
3. กรณีคลอดบุตร
4. กรณีทุพพลภาพ
5. กรณีเสียชีวิต
6. กรณีสงเคราะห์บุตร

      ประกันชีวิต.....ป้องกันความผิดพลาด
     ประกันชีวิต คืออะไร

      หลักพื้นฐานของเรื่องประกันชีวิตก็มาจากความเป็นจริงในชีวิตที่ว่าการดำเนิน ชีวิตของคนในภาวะปัจจุบัน ต้องเผชิญกับอันตรายต่าง ๆ มากกว่าแต่ก่อน ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ, อุบัติเหตุ หรือการก่อการร้าย ซึ่งอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหนก็ได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น (โดยการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท) ไม่มีทางที่จะป้องกันได้หมด แต่เราสามารถวางแผนเผื่อ เพื่อทดแทนการสูญเสียนั้นได้

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต
1. ให้ความคุ้มครองต่อครอบครัว เมื่อเราคิดที่จะมีครอบครัวแล้ว เราก็หวังว่าครอบครัวเราจะต้องมีความมั่นคงและปลอดภัยพอสมควร แต่หากหัวหน้าครอบครัวหรือ ผู้ที่หาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวเป็นอะไรไป สมาชิกภายในครอบครัวที่เหลือย่อมประสบความลำบากในการดำรงชีวิตได้ การประกันชีวิตจะป้องกันปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นความรู้สึกอุ่นใจและมั่นคงตลอดไปของสมาชิกในครอบครัว ก็เป็นผลประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน ที่ผู้ประกันชีวิตจะได้รับ
2. รักษาเป้าหมายการออมเงิน การทำประกันชีวิตจะมีประโยชน์ในการออมทั้งทางตรง และทางออ้มนั่นคือ หากเราสามารถกำจัดความเสี่ยงในการสูญเสียเงินออมอย่างไม่คาดคิด เราย่อมสามารถรักษาเป้าหมาย ของเงินออมเอาไว้ได้ อะไรที่อยู่ในแผนการจะสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าสิ่งที่ไม่อยู่ในแผนการเรา
3. สิทธิลดหย่อนทางภาษี เงินเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปในแต่ละปี สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเป็นค่าใช้จ่ายได้ถึง 50,000.00 บาท หากท่าเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวนมาก (โดยดูได้จากใบ Slipเงินเดือนซึ่งจะระบุว่าท่านถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าใดในแต่ละเดือน) ทางเลือกแรกของการหาค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีคือ การลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และอีกทางเลือกหนึ่งก็คือการทำประกันชีวิตนั่นเอง เพราะการจ่ายเบี้ยประกันจะทำให้เราประหยัดภาษีในแต่ละปีได้ 10 % - 20% ของเงินเบี้ยประกัน นั่นคือกำไรพิเศษที่เราได้นั่นเอง

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการทำประกัน
ประการที่ 1 ต้องเข้าใจว่า "ประกันชีวิตคืออะไร" ประกันชีวิต = (ความคุ้มครอง+การเก็บออม+การลงทุน)
ประการที่ 2 ต้องเข้าใจ ตัวเองก่อนตกลงใจ ท่านจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ท่านทำเพื่ออะไร เพราะเหตุใด และจะทำอย่างไร จะทำให้ท่านเข้าใจและตัดสินใจได้มากขึ้น
ประการที่ 3 ต้องเข้าใจ ประเภทของกรมธรรม์
ประการที่ 4 ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการชำระเบี้ยประกันภัย
ประการที่ 5 ทำความเข้าใจกับสิทธิอื่นที่จะได้ 




การวางแผนการเงิน

ถอดสูตร 'เร่ง' ความรวย..

การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่คน รุ่นใหม่คุ้นเคยกันแล้ว แต่หากจะ ”ก้าวไปอีกขั้น" เช่น กำหนดเป้าหมายความรวย เป็นเศรษฐีมีเงิน 1 ล้าน 5 ล้าน 10 ล้านบาท จะสร้างความรวยแบบติดสปีด หรือรวยแบบพอดี ไม่ปล่อยให้ความมั่งคั่งผ่านหน้าไปเฉยๆ ก็มีกลุยทธ์การออม วิธีลงทุน ซึ่งนักการเงินได้วางแผนให้แบบมืออาชีพ



หากลงมือทำและทำสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเกิดภาวะเช่นใด ตลาดหุ้นผันผวน อสังหาฯ ตกต่ำ หรือเศรษฐกิจชะลอตัว ก็ยังไปสู่เป้าหมายนั้นได้

อยาก จะ "รวย" เป็นเศรษฐีเงิน 10 ล้าน จึงไม่ได้เป็นเรื่อง “ไกลตัว” อีกต่อไป หากรู้จักการวางแผนการเงิน หาช่องทางลงทุน ตลอดจนจัดพอร์ตลงทุน ให้ถูกจังหวะ ถูกวิธี

สูตรสู่ความรวยมีหลากหลายวิธี สำหรับ "นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" เจ้าตำรับนักลงทุนหุ้นมูลค่า(Value Investor) คนแรกของเมืองไทย ได้สร้างสูตร "เร่ง" ความรวย ไว้ 3 สเต็ปด้วยกัน

สเต็ปแรก.."เซฟรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม" ด้วยการเก็บเงินที่ได้จาก "น้ำพักน้ำแรง" ให้เป็นเม็ดเงินมากที่สุด..

นั่นคือ ต้องหารายได้ให้มากที่สุด และจ่ายให้น้อยที่สุด

"ใน การหารายได้นั้น ถ้าหากเป็นคนเก่งควรจะต้องพยายามทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะได้รับการโปรโมทให้ได้ตำแหน่งที่สูงขึ้น และอาจจะทำให้มีโอกาสย้ายงานไปในที่ที่ให้เงินเดือนสูงขึ้น เพราะตำแหน่งที่สูงขึ้นและการย้ายงานจะเป็นหนทางทำให้รายได้เพิ่มขึ้นแบบ ก้าวกระโดด

ถ้าคุณมีศักยภาพที่จำกัด อาจใช้วิธีหารายได้เสริมนอกเหนือจากงานในหน้าที่ประจำ ก็จะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ ขณะที่ต้องควบคุมรายจ่ายไม่ให้เพิ่มเท่ากับรายได้ที่เพิ่มขึ้น

ถ้าทำได้แบบนี้จะทำให้กระแสเงินจากน้ำพักน้ำแรงเพิ่มขึ้นเร็วมาก"

ขณะ เดียวกัน นอกจากเก็บออมเงินด้วยการสมทบเงินเข้า "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" เดือนละ 3-5% ต่อเดือนแล้ว หากต้องการมีเป้าหมายเพื่อใช้ชีวิตที่สุขสบายเมื่อเกษียณ นิเวศน์บอกว่าแม้บริษัทจะสมทบให้อีกเท่าตัว แต่ควรจะเก็บเงินส่วนตัวเพิ่มอีก 10% ของเงินเดือน จะทำให้มีชีวิตในบั้นปลายอย่างพอใช้หรือระดับปานกลาง

แต่หากต้องการเร่งความรวยขึ้นไปอีก นิเวศน์บอกว่า ต้องวางแผนการใช้เงิน และใช้วิธีออมเงินแบบ "ตึง" หรือ "เร่งเต็มที่"

"แบบ ตึงคือ มีเป้าหมายในชีวิตที่จะเร่งความรวย อันนี้ต้องเก็บออมให้มากสุด บอกไม่ได้ว่าเท่าไร ขึ้นอยู่กับภาระของแต่ละคน แต่ความเห็นของผมคือ ถ้าจะเร่งความรวย ต้องตัดรายจ่ายใหญ่ๆ 3 รายการออกไปก่อน คือ ผ่อนบ้าน รถยนต์ และท่องเที่ยว หรือใช้จ่ายให้น้อยที่สุด หากตัดรายการพวกนี้ออกไปได้จะทำให้ไม่มีภาระใช้จ่าย

การใช้จ่ายอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน ก็ให้ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น แต่ต้องเก็บให้มากที่สุด"

ใน ทางกลับกัน หากไม่ได้เร่งหรือออมเงินแบบหย่อนยาน เช่น การแช่เงินไว้กับธนาคารเพียงอย่างเดียว จะทำให้มีเงินไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายในวัยเกษียณ

นี่คือ แนวทางสร้างความรวยในขั้นแรกที่ "ไม่มี" ความเสี่ยง แต่เขาบอกว่าหากไม่เร่ง หรือวางแผนการเงิน ก็จะได้ผลตอบแทนไม่เพียงพอใช้จ่ายในอนาคต

จึงมาสู่ "สเต็ปสอง"..การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Assets allocation) โดยนำเงินก้อนที่เก็บออมมาได้ ไปจัดสรร หรือจัดสำรับลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท

แนวทางนี้เป็นเส้นทางสร้างความรวย "สายกลาง" หรือแบบมาตรฐาน ตามแบบฉบับ "นักการเงิน" มืออาชีพ

"เส้น ทางสายกลางนี้จะเป็นการจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสม โดยให้ "คนอื่นลงทุน" ให้เรา เช่น ลงทุนในกองทุนรวมหุ้น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ อาจไม่ต้องเชี่ยวชาญด้านลงทุนส่วนตัว เพียงแต่รู้ว่า แต่ละกลุ่มสินทรัพย์มีความเสี่ยง และผลตอบแทนเป็นอย่างไร"

หลักคิด ง่ายๆ ในการจัดสรรเงิน นิเวศน์แนะนำให้กระจายไปยังตราสารหลักต่างๆ 3 ประเภท ไม่ว่าจะเป็นเงินสด พันธบัตรและตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และหุ้น

โดยอาจจะเป็นการลงทุนใน "กองทุนรวม" ประเภทต่างๆ ที่บริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ

นิเวศน์ บอกว่า การจัดสรรสินทรัพย์ให้เหมาะสมตามสูตรของนักการเงินจะจัดสัดส่วนเงินลงทุนใน "หุ้น" ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ

หลักการคือ ใช้วิธีพิจารณา "อายุ" ของผู้ลงทุนเป็นเกณฑ์ เนื่องจากผู้ลงทุนอายุยังน้อย หากขาดทุนก็ยังมีโอกาสแก้ตัวได้ใหม่ โดยแนวคิดทางการเงินทั่วไป จะเอา 100 ลบด้วยอายุผู้ลงทุน หรือ 80, 60 ลบอายุ จะได้สัดส่วนการลงทุนในหุ้น หรือวันที่เราตายต้องไม่มีหุ้นเหลืออยู่

เช่น ปัจจุบันอายุ 25 ปี นำ 100 มาลบก็จะได้สัดส่วนลงทุนในหุ้น เท่ากับ 75% หรือพออายุเพิ่มขึ้นเป็น 40 ปี เมื่อเอา 100 ไปลบ เท่ากับ 60% ที่จะลงทุนในหุ้น

หรือถ้านำ 80 ลบอายุ 30 ปีจะเท่ากับลงทุนในหุ้น 50%

"โดย หลักการอายุน้อยเสี่ยงได้มาก แต่อายุมากอย่าเสี่ยงมาก เพราะเมื่อหุ้นตกขาดทุน หรือเกิดวิกฤติ เราจะไม่มีรายได้เลี้ยงตัวเอง เพราะไม่มีโอกาสทำงานแล้ว"

เมื่อจัดสรรเงินลงทุนในหุ้นได้แล้ว..

ต่อมา..จัดสรรเงินลงทุนในพันธบัตรและถือเงินสด ซึ่งสัดส่วนลงทุนนี้จะมีความมั่นคงและปลอดภัยมากที่สุด

นิเวศน์ บอกว่า สัดส่วนเงินสดไม่ควรจะเกิน 20% เพื่อให้มีสภาพคล่อง หรือเก็บสำรองไว้เพื่อโอกาสลงทุนเพิ่ม ส่วนเงินที่เหลือจะเป็นเงินลงทุนในพันธบัตร หรือลงทุนในตราสารซิเคียวริไทเซชั่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้จากค่าเช่า ซึ่งจะมีความมั่นคง รายได้ผันผวนไม่มาก

เมื่อจัดสรรเงินลงทุนได้แล้ว จากนั้นก็พยายามรักษาสัดส่วนลงทุนนั้นไว้

"นี่คือ เส้นทางสายกลางในการจัดสรรเงิน มองโดยทั่วไปเป็นเส้นทางที่ใช้ได้ ไม่เร่งเกินไป ไม่หย่อนเกินไป เป็นสายมาตรฐาน

การ ลงทุนแบบทางสายกลางนี้จะมีความเสี่ยงไม่สูง ผลตอบแทนอยู่ในระดับ 6-7% ต่อปี เทียบกับทางสายหย่อนคือ การฝากเงินอย่างเดียว จะได้ผลตอบแทนราว ๆ 2-3% ต่อปี"

อย่างไรก็ตาม หากต้องการ "เร่ง" ความรวยสำหรับการลงทุนตามเส้นทางสายกลางก็สามารถทำได้

นิเวศน์ บอกว่า ผู้ลงทุนสามารถเร่งความรวย "เต็มพิกัด" ในเส้นทางสายกลางนี้ได้ โดยใช้วิธีใส่เงินลงทุนในกองทุน "หุ้น" ให้มีสัดส่วนมากสุดถึง 90% และถือเงินสด 10%

ถ้าลงทุนแบบนี้ จะทำให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาวเพิ่มเป็น 10% หรือผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นมาอีกราว 3-4% ขณะที่ทางสายกลางจะได้เพียง 6-7% ต่อปี

"ความเสี่ยงของทางสายเร่งนี้ คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเสี่ยงสูงมาก แต่ความจริงแล้วถ้าลงทุนในระยะยาว 20-30 ปี ทางสายเร่งนี้ก็ไม่เสี่ยง จากการติดตามการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก การลงทุนระยะยาวส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารอื่นทุกชนิด

หรือ อย่างกรณีตลาดหุ้นไทย 30 ปีที่ผ่านมา ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี ขณะที่ตลาดหุ้นอเมริกาเฉลี่ย 11% ต่อปี ส่วนตลาดอื่นๆ 6-7% ต่อปี เท่ากับว่าลงทุนในทางสายเร่งนี้ก็จะได้ผลตอบแทนประมาณนี้"

สเต็ปสาม.. ลงทุน "ด้วยตัวเอง" แบบโฟกัส และใช้แนวทางการลงทุนแบบ "เน้นมูลค่า" ( Value Investment )

นิเวศน์ บอกว่า ถ้าต้องการจะ "เร่งความรวย" อย่างเต็มพิกัดขึ้นไปอีก ก็ต้องใช้วิธีการลงทุนด้วยตัวเอง จะต้องเรียนรู้การลงทุนแบบ แวลู อินเวสเมนท์ หรือลงทุนแบบ "เน้นคุณค่า" ในตราสารทุกประเภท

"ไม่ว่า จะลงทุนในอะไรก็ตาม ต้องใช้หลักการลงทุนแบบ "แวลู อินเวสเตอร์" เช่น พันธบัตร ซิเคียวริไทเซชั่น อสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องเป็นแนวเน้นมูลค่า หมายความว่า ทุกครั้งที่เลือกลงทุนจะต้องศึกษาหามูลค่าที่แท้จริงของตราสาร ศึกษาถึงพื้นฐานของมันจริงๆ

คือ ตราสารที่ซื้อจะสร้างกระแสเงินสด จ่ายมาเป็นปันผล หรือผลตอบแทนให้แก่เรามากน้อยแค่ไหน เติบโตแค่ไหน และเราต้องพยายามซื้อตราสารที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง"

นิเวศน์ บอกว่า เมื่อต้องการเร่งความรวยอย่างเต็มที่ และรวยเร็วที่สุด จะต้องลงทุนใน "หุ้น" ด้วยตัวเอง เนื่องจากหุ้นเป็นตัวสำคัญที่จะเร่งความรวย และจะต้องเป็นพอร์ตการลงทุนหุ้น จะต้องเป็นแบบโฟกัส หมายถึง จะต้องถือหุ้นน้อยตัว อาจจะมีหุ้นหลักๆ เพียง 5-6 ตัว แต่ละตัวต้องใหญ่พอควรคิดเป็นเงินถึง 3 ใน 4 ของเงินทั้งหมดในพอร์ต

เช่น ถ้าพอร์ตลงทุน 1 ล้านบาท ควรลงทุนหุ้นแต่ละตัว ราว 1-2 แสนบาท ถ้าเป็นเบี้ยหัวแตกการลงทุนจะไม่เป็นผล

"ด้วย วิธีเร่งเต็มที่ หรือแบบซูเปอร์ไฮเวย์นี้ เราอาจจะสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากหุ้นขึ้นอีก 3-4% ต่อปี ซึ่งในระยะยาวแล้วจะทำให้เรารวยเร็วขึ้นมาก หรืออาจจะได้ผลตอบแทน 15% ต่อปี"

นิเวศน์บอกว่า เงินที่เราลงทุนทบต้นในทุกๆ 17 ปี จะงอกเงยเพิ่มเป็น 10 เท่า หากทบต้น 34 ปี ก็เป็น 100 เท่า

ฉะนั้น เงินทุกก้อนที่ใส่ไปจะทบขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่เอาออกมาใช้เลย ถ้าได้ผลตอบแทนปีละ 15% เมื่ออายุ 40-50 ปี เงินก็จะเพิ่มเป็น 40-50 ล้านบาทแล้ว เพียงพอใช้ยามเกษียณได้แล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าถ้ามีเงินลงทุนมากก็ร่ำรวยมาก

เจ้าตำรับนักลงทุนหุ้นมูลค่าบอกว่า หากเร่งรวยในสเต็ปที่ 3 จะประสบความสำเร็จ มีโอกาสมั่งคั่งและมีอิสรภาพการเงินเร็วที่สุด

"การ ตั้งเป้ามีเงิน 10 ล้านบาท นี่เป็นเรื่องธรรมดามาก เพราะเวลาเราลงทุน หลักการคือ เมื่อมีเงินก้อนจะเก็บไว้ใช้บั้นปลายชีวิตเท่านั้น เมื่อมีกำไรต้องเก็บเอาไว้ อย่าดึงเอาไปใช้จ่าย แต่ต้องทบต้นไปเรื่อยๆ ได้กำไรเท่าไรไม่เอาออก ทบต้นไปทุกปี

หลักการทบต้นนี้จะทำให้เงินงอกเงินรวดเร็ว จะทำให้อัตราเร่งรวยสูงมากเป็นทวีคูณ

แต่ ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่จะไม่ได้เร่งในทุกสเต็ป อาจตึงในสเต็ปที่ 2 และ ที่ 3 แต่การเริ่มต้นสเต็ปแรก เป็นเรื่องค่อนข้างยาก ถ้าคุณไม่ตัดสินใจการลงทุน จะเป็นทางสายหย่อนหมด เพราะเงินจะอยู่กับการฝากแบงก์ เพราะไม่กล้าเสี่ยง ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนต่ำสุด"

ขณะที่คนที่เลือกเดินทางสาย หย่อนทั้ง 3 สเต็ป โอกาสที่จะร่ำรวยหรือเกษียณอายุจะอยู่อย่างลำบาก หากเร่งเต็มที่ในสเต็ปแรก อาจจะเกษียณด้วยความสุขพอควร

แต่หากเดินสายกลาง อาจเกษียณอายุเร็วขึ้นและสบายกว่า

และถ้าใช้ทางสายตึงในสเต็ปสุดท้าย จะสบายที่สุด