Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การจัดการการเงิน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การจัดการการเงิน แสดงบทความทั้งหมด

financial money

 

บริหารจัดการเงิน

บริหารจัดการเงิน



7 วิธีที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการเงินได้ดีขึ้น

  1. ใช้บริการ Online Banking
คุณสามารถหักเงินจากบัญชีหนึ่ง ไปเข้าบัญชีเงินฝากได้อย่างสะดวก ด้วยบริการธุรกิจการเงินผ่าน Online Banking ครับ อย่างเช่นถ้าคุณมีรายรับเป็นประจำทุกเดือนในวันที่ 26 คุณก็สามารถแจ้งให้ธนาคารตัดเงินเพื่อนำไปเก็บเป็นเงินออมในวันที่ 29 ได้เลยครับ โดยที่ระบบจะทำเรื่องตัดเงินโอนเงินให้คุณโดยอัตโนมัติ

  • ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือแยกให้ออกระหว่างรายจ่ายที่จำเป็นกับรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยครับ จากนั้นก็ให้พยายามจำกัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยให้ได้ซึ่งคุณจะต้องเอาชนะใจตัวเองให้ได้ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะมีเหตุผลสนับสนุนในสิ่งที่อยากได้ทำให้เข้าผิดคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นเสมอ

  • คิดก่อนใช้จ่าย
เมื่อเห็นสิ่งที่เรารู้สึกอยากได้อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อในทันที แต่ให้ยับยั้งใจเอาไปคิดทบทวนให้ดี ๆ ก่อนว่ามันมีความจำเป็นกับเราหรือไม่

  • มีเป้าหมายในการออมเงิน
การมีเป้าหมายในการเก็บออมเงินจะช่วยสร้างวินัยในการเก็บออมให้เรามากขึ้น เช่นเราอาจตั้งเป้าหมายว่าเราจะต้องมีเงินเก็บเงินให้ได้ 1 ล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปีเป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้เราพยายามบังคับตัวเองให้พยายามเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งการเก็บเงินโดยไม่มีเป้าหมายนั้นมีโอกาสสูงที่เราจะนำเงินส่วนนั้นมาใช้จ่ายกับเรื่องที่ไม่จำเป็น
  • แบ่งส่วนรายได้ไว้เป็นเงินออม
ทำบัญชีการใช้จ่ายในแต่ละเดือน เมื่อหักเงินในส่วนที่แยกไว้สำหรับการใช้จ่ายจากรายรับออกแล้ว เงินที่เหลือจะเก็บไว้เป็นเงินออม โดยคุณอาจเปิดบัญชีเงินฝากแบบประจำเพื่อการเก็บไว้เป็นเงินออมโดยเฉพาะก็ได้
  • เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
การมีเงินก้อนหนึ่งเก็บไว้เป็นเงินทุนสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่เราจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายหรือใช้เป็นทุนเมื่อมีเหตุที่เราไม่คาดฝันมาก่อนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องออกจากงานอย่างกะทันหันหรือเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ
  • สร้างวินัยการออม
การบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะขาดวินัยไม้ได้เลยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้จ่ายหรือการออมเงินก็ตาม โดยเราอาจจะฝึกสร้างวินัยในการใช้จ่ายให้มากขึ้น โดยการกำหนดงบประมาณในการใช้จ่ายในแต่ละวันขึ้นมา แล้วพยายามควบคุมตนเองที่จะใช้จ่ายให้ได้ตามนั้น เท่านี้ก็เป็นการสร้างวินัยในการบริหารเงินอย่างหนึ่งแล้วครับ

การจัดการการเงิน



การจัดการการเงิน

การจัดการการเงินของกิจการ คือ การทำให้มูลค่าของกิจการสูงสุด การทำให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยแสดงออกมาในรูปของราตลาดหุ้นสามัญสูงสุด

หน้าที่การจัดการการเงิน
1. การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม
1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงในการลงทุน
- องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์
2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น
2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า
- หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้
2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ