ชื่อโดเมน หรือ โดเมน คือ ชื่อที่ใช้เรียกแทนตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย แทนการใช้หมายเลข IP Address ถ้าจะให้เปรียบเทียบแล้ว IP Address คือ บ้านเลขที่ แต่ชื่อโดเมน คือ ชื่อบ้าน หรือ ชื่ออาคาร และแน่นอนว่าถ้ากล่าวถึงชื่อโดเมนแล้ว สิ่งที่คู่กัน คือ นามสกุลโดเมนต้องถูกกล่าวถึงด้วยเช่นกัน นามสกุลของโดเมนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
• gTLD (Generic Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนทั่ว ๆ ไป เช่น .com .net .org .biz .info
• ccTLD (Country Code Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนของประเทศ หรือ ภูมิภาค เช่น .in.th .co.uk
เทคนิคกลยุทธ์การตั้งชื่อโดเมน
1. ตั้งชื่อโดเมนเนมให้สอดคล้องกับประเภทเนื้อหาของเว็บไซต์ ให้สอดคล้องชนิดที่ถอดคำแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยได้ยิ่งดี หรือ มีคำ คำ นั้นอยู่ในโดเมนเนมก็ได้ เช่น เราจะทำเว็บไซต์จัดหางาน เราจะเลือกโดเมนอย่างไร ให้คนรู้นั้นต้องคำนึงถึงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมายของเราคือประชากรประเทศไทย ก็ควรจดโดเมน ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า Thai หรือ Thailand หรือ Siam เป็นต้น ถ้าหากมีบริษัท ชื่อสินค้า หรือบริการก็ใช้ชื่อเหล่านั้นตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์
2. การตั้งชื่อเว็บไซต์มีลักษณะบ่งเฉพาะ ที่คนทั่วไปเห็นโดเมนชื่อนี้ จะทราบได้ทันทีว่าเนื้อหาเว็บไซต์นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร หากคำคำนั้นไม่มีความหมายอะไรเลยก็ยากที่คนทั่วไปจะเข้าถึงข้อมูลเว็บไซต์ ของท่านได้เอง และไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับการทำ (SEO) Search engine optimization เช่นเว็บให้บริการข้อมูลโรงแรมในประเทศไทย ตั้งชื่อ www HotelsThailand.com เป็นต้น
3. การตั้งชื่อเว็บไซต์ให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับเว็บที่ติดอันดับ ทำได้หรือไม่ หรือ ทำได้อย่างไร ซึ่งจากการศึกษาในเรื่องคดีความเกี่ยวกับโดเมนที่มีชื่อใกล้เคียงกันแล้วมี ปัญหาฟ้องร้องบังคับคดีในประเทศไทย น่าจะยังไม่ปรากฏ เพราะถือว่าเป็นเสรีภาพในการตั้งชื่อ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรเลี่ยงการตั้งชื่อที่เหมือนกันเกินไป เพราะไม่สงผลดีต่อการทำเว็บไซต์ของเราแน่นอน เพราะอย่างแรกก็คือเว็บไซต์ที่ดังอยู่แล้วคนก็จะใช้งานเป็นประจำ กว่าเราจะเบียดอันดับแซงมาอยู่ต้นๆ ก็คงจะเป็นไปได้ยากยิ่ง ด้วยเหตุและปัจจัยหลายๆประการ
4. ต้องสั้น จำง่าย พูดง่าย และสะกดง่าย เช่น เว็บดังๆ ของเมืองไทย สมัยแรกๆ นิยมใช้ชื่อไทยมาสะกดเป็นภาษาอังกฤษ เช่น sanook.com , hunsa.com หรือเว็บน้องใหม่มาแรงอย่าง kapook.com เพราะนอกจากคนจะจำได้แล้วยังบ่งบอกถึงความเป็นไทยและง่ายต่อการเรียกชื่อ ด้วย
5. หลีกเหลี่ยงการใช้?(ขีดกลางหรือHyphen) เพราะคนส่วนใหญ่เวลาพูดชื่อหรือเข้าเว็บไซต์จะไม่ค่อยใช้ (ขีดกลาง) ขั่นระหว่างคำตอนพิมพ์ชื่อโดเมนเนม เช่น www.one-2-call.com หากคนส่วนใหญ่หากพูดจะพูดกันแค่ www.one2call.com ไม่พูด ? (ขีดกลาง) กันซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้าไม่สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์นั้นได้
เทคนิคการตั้งชื่อโดเมนดังข้างต้นก็ลองเอาไปใช้กันดูนะคะ แต่ว่าก็ว่า ชื่อโดเมนดีๆ ปัจจุบันหาค่อนข้างยาก เพราะตั้งแต่สังคมโลกเริ่มมีระบบอินเตอร์เน็ต ชื่อโดเมนก็ถูกจับจอง จดทะเบียน ครอบครองกันไปทุกๆวัน วันละหลายๆ ชื่อ ซึ่งก็แปลกดีเหมือนกัน ชื่อโดเมนเนมไม่เหมือนกับชื่อบุคคล ที่พอจะซ้ำๆ กันได้ เช่น นายสมชาย ก็มีได้หลายสมชาย แต่โดเมนก็ได้แค่ชื่อเดียวเท่านั้นคร๋า…. แต่อาจจะมีหลายดอท อาทิ ดอทคอม ดอทเนท ดอทอินโฟ และอื่นๆอีกมากมาย
Cradit: http://siam4shop.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น