การคิดและกระบวนการคิด
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
“การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่างจะคิดให้วัฒนะคือคิดแล้วทำให้เจริญงอกงามก็ได้จะคิดให้หายนะคือคิดแล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้การคิดให้เจริญจึงต้องมีหลักอาศัยหมายความว่าเมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลางไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำให้มีแต่ความจริงใจตรงตามเหตุตามผลที่ถูกแท้และเป็นธรรม”
ความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ล้วนเกิดจากความคิด ของมนุษย์ที่ต้องการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อความต้องการที่ จะมีชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการพัฒนาทางด้านความคิดได้เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน เราจึงควรทราบเกี่ยวกับการคิดและกระบวนการคิด และหาวิธีการต่างๆ เพื่อฝึกตนเองให้เป็นคน ที่คิดเป็นระบบ คิดถูกต้อง เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม1.1 ความหมายของการคิดฮิลการ์ด (Hilgard ) กล่าวว่า การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมองอันเนื่องมาจากการใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ บรูโน (Bruno ) กล่าวว่า การคิดเป็นกระบวนการทางสมองที่ใช้สัญลักษณ์จินตภาพ ความคิดเห็น และความคิดรวบยอด แทนประสบการณ์ในอดีต ความเป็นไปได้ในอนาคต และความเป็นจริงที่ปรากฏ การคิดจึงทำให้คนเรามีกระบวนการทางสมองในระดับสูง กระบวนการเหล่านี้ได้แก่ ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา จินตนาการ ความใส่ใจ เชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆ มากาเรต ดับบลิว แมทลิน (Matlin ) กล่าวว่า การคิดเป็นกิจกรรมทางสมอง เป็นกระบวนการทางปัญญา ซึ่งประกอบด้วย การสัมผัส การรับรู้ การรวบรวม การจำ การรื้อฟื้นข้อมูลเก่าหรือประสบการณ์ โดยที่บุคคลนำข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เก็บไว้เป็นระบบ การคิดเป็นการจัด รูปแบบของข้อมูลข่าวสารใหม่กับข้อมูลเก่า ผลจากการจัดสามารถแสดงออกมาภายนอกให้ผู้อื่นรับรู้ได้อาจสรุปได้ว่าการคิดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองที่ใช้สัญลักษณ์หรือภาพแทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆโดยมีการจัดระบบความรู้ ข้อมูล ข่าวสารซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งเร้าใหม่ ที่ไปได้ ทั้งใน รูปแบบ ธรรมดาและสลับซับซ้อน ผลจากการจัดระบบสามารถ แสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น การให้เหตุผลการแก้ปัญหาต่าง ๆภาพที่ 1.1 แสดงสมองของมนุษย์
เนื่องจากการคิดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง เราจึงควรที่จะทราบเกี่ยวกับสมอง เช่นโครงสร้างทางสมอง และพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์กับการคิดในลักษณะใดบ้าง1.2 โครงสร้างทางสมองกับการคิดสมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่เป็นศูนย์รวมของระบบประสาท เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และจัดระเบียบ การทำงานทุกชนิดของร่างกาย สมองของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์ สมอง ประมาณ ร้อยล้านล้านเซลล์ ( พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์, 2542 :7) ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่แตกต่างกัน ระหว่าง ทารกแรกเกิดกับผู้ใหญ่ แต่ในผู้ใหญ่เซลล์สมอง จะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า และจะมีจำนวนเดนไดรท์ (dendrite) ของเซลล์สมองมากขึ้น ทำให้การเชื่อมโยงระหว่าง เซลล์สมองมากขึ้น โดยเซลล์สมองเซลล์หนึ่ง ๆ จะเชื่อมโยงไปยังเซลล์สมองเซลล์อื่น ๆ อีกสองหมื่นห้าพันเซลล์ เพื่อส่งข่าวสารกัน โดยกระแสประสาท จะเกิดปฏิกิริยาเรียกว่า synapse แล้วแต่ว่าจะเป็นด้านรับ- ส่งสัมผัสต่าง ๆ เช่น ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ความรู้สึก ความจำ อารมณ์ทั้งหลาย ฯลฯ จึงผสมผสานกันขึ้นกลายเป็นการเรียนรู้นำ ไปสู่การปรับตัว อย่างเฉลียวฉลาดของมนุษย์แต่ละคนรอเจอร์ สเพอร์รีและรอเบิร์ต ออร์นสไตน์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียได้รับรางวัลโนเบลในปี ค. ศ. 1972 จากการค้นพบว่าสมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือสมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) กับสมองซีกขวา (Right Hemisphere) และแต่ละซีกมีหน้าที่ที่แตกต่างกันดังนี้
- การคิดในทางเดียว ( คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)
- การคิดวิเคราะห์ ( แยกแยะ)
- การใช้ตรรกศาสตร์และการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
- การใช้ภาษา มีทั้งการอ่านและการเขียน
สรุปได้ว่าสมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นลักษณะ การทำงานในสายของวิชาทางวิทยาศาสตร์ ( Sciences ) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้สมองซีกซ้ายยังเป็น ตัวควบคุม การกระทำ การฟัง การเห็น และการสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกายทางซีกขวา
- การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking )
- การคิดแบบเส้นขนาน ( คิดหลายเรื่อง แต่ละเรื่องจะไม่เกี่ยวข้องกัน)
- การคิดสังเคราะห์ ( สร้างสิ่งใหม่)
- การเห็นเชิงมิติ ( กว้าง ยาว ลึก)
- การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรัก ความเมตตารวมถึงสัญชาติญาณและลางสังหรณ์ต่าง ๆ
สรุปได้ว่าสมองซีกขวาจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จริยธรรม อารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายของวิชาการทางศิลปศาสตร์ ( Arts ) เป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นตัวควบคุม การทำงานของร่างกายทางซีกซ้ายด้วย
การศึกษาในโรงเรียนในระบบเดิมให้ความสำคัญกับการใช้สมองซีกซ้าย ส่งเสริมให้เด็กผู้เรียน ได้รับการฝึกฝนความสามารถในการใช้เหตุผล การใช้ภาษาอย่างมาก อยากให้เด็ก ๆ มีอาชีพ เป็นแพทย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ ส่วนการส่งเสริมทางด้านความคิดสร้างสรรค์มีน้อย ดังเช่น “ ว่านอนสอนง่าย” “ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด” ต่อมาเห็นความสำคัญกับการใช้สมองซีกขวา เช่นการส่งเสริมการแสดงออกแบบต่าง ๆ การส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเรียนทางด้าน การออกแบบ การแสดง การประชาสัมพันธ์ จากการที่สมองทั้ง 2 ซีกทำหน้าที่ต่างกัน เราจึงสามารถสรุปเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลซึ่ง ใช้สมองด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้าน หนึ่งได้ ดังนี้ สำหรับคนที่ทำงานโดยใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย จะมีลักษณะเด่นที่แสดงออกคือ เป็นคนที่ทำอะไร ตามอารมณ์ตนเอง อาจมีอารมณ์อ่อนไหวได้ง่าย แต่จะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ สูงเหมาะสำหรับการเป็น นักออกแบบ เป็นศิลปิน
สำหรับคนที่ทำงานโดยใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา จะมีลักษณะเด่นที่แสดงออกมาดังนี้คือ ทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน เป็นเหตุเป็นผล ด้วยความคิดเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เหมาะสำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ การออกแบบระบบงานต่าง ๆ แต่อาจทำให้ไม่ได้คำนึง ถึงจิตใจของคนรอบข้างมากนักจากข้อสรุปดังกล่าว จะเห็นว่าถ้าเราใช้สมองด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง อาจจะทำให้เกิดผลเสียได้ ดังนั้นเราทุกคนควรใช้สมองทั้งสองซีก เมื่อเจอปัญหา การหาทางแก้ปัญหาเราใช้สมองซีกขวา ใช้จินตนาการ ในการหาหนทางแก้ปัญหา โดยคิดถึงผลที่ได้โดยรวมซึ่งคิดได้หลายวิธี แต่ในขณะเดียวกันเราก็ใช้สมอง ซีกซ้ายเพราะว่าเราจำเป็นต้องรู้ว่าอะไรคือความจริงเพื่อใช้ความสามารถในการวิเคราะห์และการจัดการเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขกิจกรรม 1.1 ในอาหารมื้อต่อไป ให้นักศึกษาลองพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
|
|
เป็นการใช้สมองซีกซ้าย
|
เป็นการใช้สมองซีกขวา
|
1.3 กระบวนการของการคิดการคิดเป็นกระบวนการของจิตใจหรือกระบวนการทางสมอง ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ การคิดไม่มีขอบเขตจำกัด กระบวนการคิดของมนุษย์เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนที่เริ่มจากสิ่งเร้ามา กระตุ้นทำให้จิตใส่ใจกับสิ่งเร้าและสมองนำข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาประมวล เพื่อให้ได้ผลของการคิดออกมาเหตุของการคิด ต้นเหตุของการคิดคือสิ่งเร้าที่เป็นปัญหา หรือสิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ หรือสิ่งเร้าที่ชวนสงสัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้1) สิ่งเร้าที่เป็นปัญหา เป็นสิ่งเร้าประเภทสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือสภาวะที่มากระทบแล้ว จำเป็นต้องคิด ( Have to think) เพื่อกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะทำให้ปัญหานั้นลดไปหรือหมดไป2) สิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ เป็นความต้องการสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมในแง่ต่าง ๆ เช่น ต้องการลดต้นทุนในการผลิตสินค้า ต้องการทำงานโดยใช้เวลาน้อยลง ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น จึงต้องการการคิด (Want to think ) มาเพื่อทำให้ความต้องการหมดไป3) สิ่งเร้าที่ชวนสงสัย เป็นสิ่งเร้าแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่มากระตุ้นให้สงสัย อยากรู้ ซึ่งในสภาพการณ์เดียวกัน สิ่งเร้าเดียวกัน บางคนอาจไม่อยากรู้ก็ไม่เกิดการคิด แต่บางคนก็อยากรู้ซึ่งอาจเกิดจากบุคลิกภาพประจำตัวที่เป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย ทำให้ต้องการคำตอบเพื่อตอบข้อสงสัย นั้น ๆ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาต่อ ๆ ไปผลของการคิด คือคำตอบหรือวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปแก้ปัญหาที่พบ หรือเพื่อให้ความต้องการ หรือความสงสัยลดลงหรือหมดไป ผลของการคิดได้แก่1) คำตอบของปัญหาที่พบ หรือคำตอบที่สนองต่อความต้องการของตน ซึ่งรวมไปถึงวิธีการในการแก้ปัญหา ขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้คำตอบนั้น ๆ2) แนวคิด ความรู้ ทางเลือก และสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ ๆภาพที่ 1.2 แสดงกระบวนการคิดของมนุษย์การคิดแบ่งออกได้หลายประเภท แล้วแต่ว่าจะยึดคุณลักษณะใดเป็นหลักในการแบ่ง ในที่นี้แบ่งตามลักษณะทั่ว ๆ ไป ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ1) การคิดประเภทสัมพันธ์ (Associative Thinking) เป็นการคิดที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย เกิดจากสิ่งเร้ามากระตุ้นให้เกิดสัญลักษณ์ในสมองแทนเหตุการณ์ หรือวัตถุต่าง ๆ เช่นก . การฝันกลางวัน (Day Dreaming) เป็นการคิดเพ้อฝันในขณะที่ยังตื่นอยู่ ฝันโดยรู้ตัว เช่น ขณะที่กำลังนั่งเรียนอยู่ นักศึกษาอาจคิดฝันไปว่าตนเองกำลังเดินเล่นตามชายหาดข . การฝันกลางคืน ( Night Dreaming) เป็นการฝันโดยไม่รู้ตัว มักเกิดในขณะหลับ เช่น ฝันถึงเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งบางเรื่องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่พบในเวลากลางวัน บางเรื่องเป็นเรื่องที่ติดค้างอยู่ในใจ เมื่อตื่นขึ้นบางทีอาจจำความฝันได้หรือบางทีก็จำไม่ได้ค . การคิดที่เป็นอิสระ (Free Association) เป็นการคิดที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ การคิดประเภทนี้ ซิกมันด์ ฟรอยด์ นำมาใช้โดยให้คนไข้โรคประสาทได้ระบายความปรารถนาหรือปัญหา ซึ่งอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก เพื่อจิตแพทย์จะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้ สำหรับวิธีการให้คนไข้คิดแบบอิสระนี้ จิตแพทย์จะให้คนไข้ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดเสียก่อน โดยให้นอนพักผ่อนบนเก้าอี้นอนแล้วจึงให้พูดเล่าเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนความฝันที่เกิดขึ้น จิตแพทย์จะพยายามค้นหาความปรารถนาหรือความต้องการ และปัญหาของคนไข้จากสิ่งที่เขาพูดให้ฟัง นั่นเอง2) การคิดโดยตรงที่ใช้ในการแก้ปัญหา ( Directed Thinking) เป็นการคิดหาเหตุผลและมีจุดมุ่งหมาย แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือก . การคิดเชิงวิจารณ์ (Critical Thinking) เป็นการคิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ว่าถูกหรือผิดโดยใช้เหตุผลประกอบซึ่งการให้เหตุผลนั้นมี 2 แบบคือ การคิดแบบอนุมาน(Deductive Thinking) เป็นการคิดหาเหตุผลในการหาคำตอบจากหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ และ การคิดแบบอุปมาน(InductiveThinking) เป็นการคิดหาเหตุผลในการสรุปหลักเกณฑ์จากข้อมูลที่สังเกตได้ข. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึงกระบวนการคิดการกระทำผลงานใหม่ๆ ที่มนุษย์คิดและประดิษฐ์ขึ้น โดยทั่วไปความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้สองลักษณะคือ เกิดจากความคิดริเริ่มประดิษฐ์อะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน และเกิดจากการคิดดัดแปลงสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์
เราทราบแล้วว่าการคิดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง ดังนั้นถ้าเราได้พัฒนาสมองย่อมส่งผล ต่อการพัฒนา การคิดด้วย ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาของสมองมีดังนี้1) พันธุกรรม มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่ ดังนั้นสมองจึงมีส่วนมาจากพันธุกรรมของพ่อและแม่ด้วย2) อาหาร การสร้างเซลล์ใหม่หรือขยายเซลล์ในร่ายกายจำเป็นต้องใช้สารอาหาร ถ้าขาด อาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยที่กำลังเติบโต อาจส่งผลให้สมองหยุดการเจริญเติบโตได้ เพราะในช่วงดังกล่าวเซลล์สมองกำลังยื่นกิ่งก้านสาขาออกไป และต้องการสารอาหารพวกโปรตีนไปเป็นโครงสร้าง เมื่อได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ กิ่งก้านของเซลล์สมองก็จะไม่สามารถแตกกิ่งยื่นออกไป เราสามารถเปรียบเทียบเซลล์สมองของเด็กที่ได้รับสารอาหารสมบูรณ์และได้รับการกระตุ้น กับเซลล์สมองของเด็กขาดสารอาหารและขาดการกระตุ้นได้ดังภาพที่ 1.3
ภาพที่ 1.3 (1) เซลล์สมองของเด็กที่สมบูรณ์ ภาพที่ 1.3(2) เซลสมองของเด็กที่ขาดสารอาหารภาพที่ 1.3 เปรียบเทียบเซลล์สมองของเด็กขาดสารอาหารและเด็กปกติ3) สิ่งแวดล้อม มีผลการวิจัยหลายชิ้นที่สรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทำให้สมองเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ มีผลต่อความเฉลียวฉลาด ประสิทธิภาพของพฤติกรรมและการสร้างเซลล์ประสาทในสมอง เช่นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประกอบด้วยมาร์ค โรเซนไวท์ (Mark Rosenweiz) มารีแอนไดมอนด์(Marian Diamond) และเอดเวริด เบนเนท (Edward Bennett) ได้นำหนูมาคอกหนึ่งแล้วแบ่งเป็น 3 กลุ่มเมื่อเลี้ยงหนูไปได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ก็นำหนูมาทดสอบความเฉลียวฉลาด โดยนำมาทดสอบทางวิ่งแล้วให้เลือก ทางวิ่งดูว่ามันแก้ปัญหาได้หรือไม่ โดยทำให้หนูรู้ว่าต้องวิ่งทางนี้ถึงได้รางวัล คืออาหาร วิ่งทางใดจะถูกทำโทษคือ ถูกช็อตด้วยไฟฟ้า ปรากฏว่าหนูที่มาจากกรงที่มีสิ่งเร้าอย่างกลุ่มที่สาม ฉลาดกว่าหนูกรงอื่นๆ ส่วนกรงที่สองมีอาการปกติ แต่ตัวที่ถูกขังเดี่ยวมีความว้าเหว่และการเรียนรู้ลดลงเหลือเพียง 30% - 40% เท่านั้นกลุ่มที่หนึ่ง เอามาขังกรงเดี่ยวในกรงเหล็กที่ขังสัตว์ธรรมดา มีกระบอกข้าว กระบอกน้ำ ให้มีอาหารกินแต่ไม่มีสิ่งกระตุ้นกลุ่มที่สอง ใส่หนูลงในกรง กรงละ 3-4 ตัว ให้อาหารและน้ำเช่นเดียวกับกลุ่มที่หนึ่ง แต่มีเพื่อนเล่นกลุ่มที่สาม ให้อาหารและน้ำเช่นเดียวกับกลุ่มที่หนึ่ง และใส่ของเล่นในกรงด้วย เช่น เศษกระดาษ ด้าย เชือก ลูกบอล
จากนั้นนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ ได้เอาสมองของหนูทั้งสามกรงมาชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่ามีน้ำหนักทางสมองแตกต่างกันไม่มากนัก แต่เมื่อนำเนื้อสมองของหนูทั้งสามกลุ่มไปตัดเป็นชิ้น ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูกิ่งก้านของสมอง ปรากฏว่าเซลล์และ ประสาทสมองของหนูทั้งสามกลุ่ม แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยหนูที่ถูกเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่มีการกระตุ้นอย่างดี เซลล์สมอง จะมีปลายประสาทยื่นออกไปไกลจนสามารถติดต่อกับปลายประสาทอื่นๆ และแตกกิ่งก้านสาขาออกไปได้อย่างสมบูรณ์
เราสามารถสรุปได้ว่า พันธุกรรม อาหาร และสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาของสมอง ในแง่ของพันธุกรรม อาจพิจารณาประกอบร่วมในการเลือกคู่ครอง แต่ในส่วนของการพัฒนาสมองตนเองคงไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ จึงเหลือ เพียงปัจจัยอีก 2 อย่างคือ อาหาร และสิ่งแวดล้อมที่เราสามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไข เพื่อประโยชน์ต่อการส่งเสริม การพัฒนาของสมองต่อไป
กิลฟอร์ด (Guilford, 967.)นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองโดยเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา จนได้แบบจำลองโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองดังภาพที่ 1.4ภาพที่ 1.4 รูปแบบโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองของกิลฟอร์ดรูปแบบโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองของกิลฟอร์ดเป็นระบบสามมิติประกอบด้วย1) มิติทางด้านเนื้อหาการคิด (contents) หมายถึงวัตถุหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่รับรู้ ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดการคิด เนื้อหาแบ่งเป็น 5 ชนิด คือ
- เนื้อหาที่เป็นภาพ (figural content) หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นรูปธรรมต่าง ๆ บุคคลสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
- เนื้อหาที่เป็นเสียง (auditory content) หมายถึงสิ่งที่อยู่ในรูปของเสียงที่มีความหมาย
- เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์(symbolic content) หมายถึงข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รวมทั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ
- เนื้อหาที่เป็นภาษา (semantic content) หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปถ้อยคำที่มีความหมายต่าง ๆ กัน สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้
- เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม (behavior content) หมายถึงข้อมูลที่เป็นการแสดงออกของมนุษย์ เจตคติ ความต้องการ รวมถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การกระทำที่สามารถสังเกตได้
2) มิติด้านวิธีการคิด (operations) หมายถึงกระบวนการคิดต่างๆ ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด ดังนี้
- การรู้และการเข้าใจ(cognition) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการรับรู้และทำความเข้าใจ
- การจำ(memory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการเก็บสะสมความรู้และข้อมูลต่าง ๆ และสามารถระลึกได้เมื่อต้องการใช้
- การคิดแบบอเนกนัย(divergent thinking) เป็นความสามารถในการคิดคล่องและคิดหลากหลาย นั่นคือสามารถที่จะคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ให้ได้ผลของการคิดจำนวนมาก รวดเร็ว ตรงประเด็น หรือหลายรูปแบบ และเป็นความสามารถในการคิดริเริ่ม ซึ่งเป็นการคิดที่มีลักษณะหรือมุมมองใหม่ ๆ
- การคิดแบบเอกนัย (convergent thinking) เป็นความสามารถในการสรุปคำตอบที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด จากข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่มีหลากหลาย
- การประเมินค่า(evaluation) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการตัดสินสิ่งที่รับรู้ จำได้ หรือกระบวนการคิดนั้นว่ามีคุณค่า ถูกต้อง เหมาะสม หรือไม่โดยอาศัยเกณฑ์ที่ดีที่สุด
3) มิติด้านผลของการคิด (products) หมายถึงความสามารถที่เกิดจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต เมื่อสมองรับรู้จากสิ่งเร้าทำให้เกิดการคิดในรูปแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งผลที่ได้แบ่งเป็น 6 ชนิดคือ
- หน่วย (unit) หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากสิ่งอื่นๆ เช่นโต๊ะ ตู้ เสือ เป็นต้น
- จำพวก(class) หมายถึง ประเภทหรือกลุ่มของหน่วยที่มีลักษณะร่วมกัน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ คน สุนัข แมว เป็นต้น
- ความสัมพันธ์(relation) หมายถึง ผลของการเชื่อมโยงความคิดของประเภทหรือหลายประเภทเข้าด้วยกัน เช่น สิงโตคู่กับป่า ปลาคู่กับน้ำ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับที่อยู่อาศัย
- ระบบ (system) หมายถึง การเชื่อมโยงกลุ่มของสิ่งเร้า โดยอาศัยกฎเกณฑ์หรือแบบแผนบางอย่าง เช่น 2 , 4, 6, 8 เป็นระบบเลขคู่
- การแปลงรูป (transformation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ตีความ ขยายความ ให้นิยามใหม่
- การประยุกต์ (implications) หมายถึง การคาดคะเน หรือทำนายจากข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่กำหนด
โครงสร้างทางสติปัญญาตามทฤษฎีของกิลฟอร์ดประกอบด้วยหน่วยจุลภาคจากทั้งสามมิติ เท่ากับ 5 x 5 x 6 คือ 150 หน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วย เนื้อหา– ปฏิบัติการ- ผลผลิต (contents – operations – products )
นอกจากนี้กิลฟอร์ดได้อธิบายเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking ) โดยเทียบกับโครงสร้างทางสติปัญญาที่กล่าวมาแล้ว และนำมาศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นกระบวนการคิด ด้านการคิดแบบอเนกนัย โดยใช้มิติด้านเนื้อหา และผลผลิต ทำให้ได้หน่วยจุลภาคที่แทนความสามารถ
ด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่ที่ 1 x 5 x 6 ดังภาพที่ 1.5ภาพที่ 1.5 แสดงสมรรถภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น