การแก้ปัญหาและการปิดการขาย |
องค์ประกอบแห่งความสำเร็จ ในระบบธุรกิจขายตรง(ตอนที่ 4)
เป็นเรื่องปกติที่พนักงานขายจะพบข้อโต้แย้งในระหว่างการเสนอขายเนื่องจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น ความไม่สนใจในสินค้าและบริการ พนักงานขายที่มีประสบการณ์ จะคาดหวังว่าเขาจะได้รับข้อมูลโต้แย้งจากลูกค้ามุ่งหวังอยู่เสมอ และเขาจะถือข้อโต้แย้งเหล่านี้เป็นการขอข้อมูล หรือขอให้พนักงานขายอธิบาย ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และชัดเจนยิ่งขึ้นพนักงานที่มีประสบการณ์จะไม่กลัวข้อโต้แย้งของลูกค้า
สิ่งที่เขากลัวที่สุดคือ การที่ลูกค้าไม่มีข้อโต้แย้งแต่กลับเห็นด้วยทุกอย่างที่พนักงานขายพูด เพราะจากประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าการที่ลูกค้าไม่มีข้อโต้แย้ง ส่วนใหญ่ไม่สนใจในผลิตภัณฑ์ การปิดการขายเป็นเทคนิคที่ช่วยให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าจากพนักงานขายซึ่งหลักการสำคัญของการปิดการขายควรให้ลูกค้า ตัดสินใจเอง โดยพนักงานขายเพียงช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในระหว่างการเสนอขายเท่านั้น
ความหมายของข้อโต้แย้งทางการขาย
พฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้คาดหวังได้แสดงออกมาในทางตรงข้ามความเห็นพ้องในการตัดสินใจที่จะซื้อ ดังนั้น ผู้คาดหวังอาจมีการตำหนิ ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นชอบในการที่จะซื้อสินค้า หรือบริการนั้นๆ ออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการโต้แย้งอย่างจริงใจ การโต้แย้งอย่างไม่จริงใจและอุปสรรคในการขายการขจัดข้อโต้แย้ง หมายถึง การกำจัดปัญหา หรือความคิดที่แตกต่างกันระหว่างพนักงานขายกับลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ที่กำลังเสนอขาย เช่น ด้านราคาด้าน คุณภาพ ด้านผลประโยชน์ด้านบริการหลังการขาย เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า
เพราะโดยธรรมชาติแล้ว พนักงานขายจะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันพนักงานขายต้องการขายสินค้าได้รวดเร็ว มีปัญหาการขายน้อยที่สุดส่วนลูกค้าต้องการซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีราคาถูก ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดข้อโต้แย้งระหว่าง 2 ฝ่ายเสมอ
ลักษณะของข้อโต้แย้งทางการขายในรูปแบบต่างๆ
1.การโต้แย้งแบบจริงใจ (SincereObjection) เนื่องจากมีข้อบกพร่องในการเสนอขายและตัวผลิตภัณฑ์เองในด้านคุณภาพ เมื่อเกิดข้อโต้แย้งในลักษณะนี้พนักงานขายจะต้องอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้เกิดผลที่ดีในการขาย
2.การโต้แย้งแบบไม่จริงใจ (Insincere Objection) ไม่ได้เกิดจากข้อบกพร่องในด้านต่างๆแต่เกิดจากตัวลูกค้าที่จะซื้อสินค้านั้น เมื่อพนักงานขายเห็นว่าเกิดจากสาเหตุดังนี้แล้วพนักงานขายจะต้องเป็นฝ่ายรุกและใช้ความพยายาม ในการชี้ชวนอย่างเต็มที่ การโต้แย้งประเภทนี้เกิดจากรูปแบบของสินค้า
3.อุปสรรคในการขาย (Obstacle toSales) ข้อขัดขวางในการที่เกิดขึ้นจริงๆทำให้ลูกค้าไม่สามารถซื้อสินค้านั้นๆได้จริง เมื่อพนักงานเห็นสถานการณ์เช่นนี้พนักงานต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดคือ การขายโดยเงิน ผ่อน หรือให้ทางลูกค้าพร้อมเสียก่อน
สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งทางการขาย
1.เกิดมาจากความต้องการ
2.เกิดปัญหาด้านราคา
3.เกิดจากตัวสินค้า
4.เกิดจากตัวพนักงานขาย
5.เกิดจากชื่อเสียงของบริษัท
6.เกิดจากการผัดผ่อนของลูกค้า
เป็นเรื่องปกติที่พนักงานขายจะพบข้อโต้แย้งในระหว่างการเสนอขายเนื่องจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น ความไม่สนใจในสินค้าและบริการ พนักงานขายที่มีประสบการณ์ จะคาดหวังว่าเขาจะได้รับข้อมูลโต้แย้งจากลูกค้ามุ่งหวังอยู่เสมอ และเขาจะถือข้อโต้แย้งเหล่านี้เป็นการขอข้อมูล หรือขอให้พนักงานขายอธิบาย ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และชัดเจนยิ่งขึ้นพนักงานที่มีประสบการณ์จะไม่กลัวข้อโต้แย้งของลูกค้า
สิ่งที่เขากลัวที่สุดคือ การที่ลูกค้าไม่มีข้อโต้แย้งแต่กลับเห็นด้วยทุกอย่างที่พนักงานขายพูด เพราะจากประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าการที่ลูกค้าไม่มีข้อโต้แย้ง ส่วนใหญ่ไม่สนใจในผลิตภัณฑ์ การปิดการขายเป็นเทคนิคที่ช่วยให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าจากพนักงานขายซึ่งหลักการสำคัญของการปิดการขายควรให้ลูกค้า ตัดสินใจเอง โดยพนักงานขายเพียงช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในระหว่างการเสนอขายเท่านั้น
ความหมายของข้อโต้แย้งทางการขาย
พฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้คาดหวังได้แสดงออกมาในทางตรงข้ามความเห็นพ้องในการตัดสินใจที่จะซื้อ ดังนั้น ผู้คาดหวังอาจมีการตำหนิ ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นชอบในการที่จะซื้อสินค้า หรือบริการนั้นๆ ออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการโต้แย้งอย่างจริงใจ การโต้แย้งอย่างไม่จริงใจและอุปสรรคในการขายการขจัดข้อโต้แย้ง หมายถึง การกำจัดปัญหา หรือความคิดที่แตกต่างกันระหว่างพนักงานขายกับลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ที่กำลังเสนอขาย เช่น ด้านราคาด้าน คุณภาพ ด้านผลประโยชน์ด้านบริการหลังการขาย เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า
เพราะโดยธรรมชาติแล้ว พนักงานขายจะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันพนักงานขายต้องการขายสินค้าได้รวดเร็ว มีปัญหาการขายน้อยที่สุดส่วนลูกค้าต้องการซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีราคาถูก ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดข้อโต้แย้งระหว่าง 2 ฝ่ายเสมอ
ลักษณะของข้อโต้แย้งทางการขายในรูปแบบต่างๆ
1.การโต้แย้งแบบจริงใจ (SincereObjection) เนื่องจากมีข้อบกพร่องในการเสนอขายและตัวผลิตภัณฑ์เองในด้านคุณภาพ เมื่อเกิดข้อโต้แย้งในลักษณะนี้พนักงานขายจะต้องอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้เกิดผลที่ดีในการขาย
2.การโต้แย้งแบบไม่จริงใจ (Insincere Objection) ไม่ได้เกิดจากข้อบกพร่องในด้านต่างๆแต่เกิดจากตัวลูกค้าที่จะซื้อสินค้านั้น เมื่อพนักงานขายเห็นว่าเกิดจากสาเหตุดังนี้แล้วพนักงานขายจะต้องเป็นฝ่ายรุกและใช้ความพยายาม ในการชี้ชวนอย่างเต็มที่ การโต้แย้งประเภทนี้เกิดจากรูปแบบของสินค้า
3.อุปสรรคในการขาย (Obstacle toSales) ข้อขัดขวางในการที่เกิดขึ้นจริงๆทำให้ลูกค้าไม่สามารถซื้อสินค้านั้นๆได้จริง เมื่อพนักงานเห็นสถานการณ์เช่นนี้พนักงานต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดคือ การขายโดยเงิน ผ่อน หรือให้ทางลูกค้าพร้อมเสียก่อน
สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งทางการขาย
1.เกิดมาจากความต้องการ
2.เกิดปัญหาด้านราคา
3.เกิดจากตัวสินค้า
4.เกิดจากตัวพนักงานขาย
5.เกิดจากชื่อเสียงของบริษัท
6.เกิดจากการผัดผ่อนของลูกค้า