Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

5W1H ก่อนเริ่มต้นธุรกิจเวบไซต์

6 คำถามง่ายๆ ก่อนเริ่มต้นธุรกิจเวบไซต์ (5W + 1H) 



ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ  www.pawoot.com




             หลายๆ คนที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจเวบไซต์ หรือ ทำอี-คอมเมิร์ซมักมาถามผมว่า จะเริ่มต้นทำธุรกิจเวบไซต์ต้องทำอย่างไร และต้องใช้อะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ผมก็มักจะถามเค้ากลับไปว่า คุณได้วิเคราะห์ธุรกิจที่คุณจะทำรึยังว่ามีความพร้อมแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะถามกลับมาว่า เค้าต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง? และจะต้องทำอย่างไร?





ช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่องทางการจัดจำหน่าย


การบริหารจัดการเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายมีอะไรบ้าง ?
กลยุทธ์การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (Place Strategy) 

ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1) ทางเลือกของช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution) ว่าเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้มีช่องทางใดบ้าง


2) ประเภทของร้านค้า (Outlets) ในปัจจุบันประเภทของร้านค้ามีให้เลือกมากมายหลายประเภท เช่น

2.1) ร้านค้าส่ง (Wholesale Store) ที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง
2.2) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store)
2.3) ห้างสรรพสินค้า (Department Store)
2.4) แหล่งช้อปปิ้งชุมชน (Community Mall)
2.5) MiniMart
2.6) ร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store)
2.7) ซุ้มขายของ (Kiosk) ครอบคลุมทั้งร้านที่เป็นซุ้มขายของและจัดเป็นบูธ
2.8) เครื่องขายอัตโนมัติ (Vending Machine)
2.9) การขายทางไปรษณีย์ (Mail Order) ซึ่งเป็นการขายโดยการส่งจดหมายไปยังลูกค้า หรือการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์/นิตยสาร และถ้าลูกค้าสนใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
2.10) การขายทางแคตตาล็อก (Catalog Sales)
2.11) การขายทางโทรทัศน์ (TV Sales)
2.12) การขายตรง (Direct Sales)
2.13) ร้านค้าสวัสดิการ
2.14) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นต้น

กลยุทธ์การตลาด 8P 4P

กลยุทธ์ด้านการตลาดหัวใจในการหาขุมทรัพย์ทองคำ


กลยุทธ์ การตลาด แบบ 8 P และ 4P

อธิบายกลยุทธ์แบบ 8 P

กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix) หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s   ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)  โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย
 เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้

SWOT 7-Eleven

ตัวอย่างการวิเคราะห์swot 

บริษัท ซี.พี. เซเวนอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)





ภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัท ซี.พี. เซเวนอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท ซี.พี. คอนวีเนียนสโตร์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้เป็นบริษัทของคนไทยที่ประกอบธุรกิจหลักด้านค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” โดยบริษัทได้รับสิทธิ์การใช้เครื่องหมายดังการจาก 7-Eleven,Inc . สหรัฐอเมริกา และได้เปิดสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ เมื่อปี 2532
ณ สิ้นปี 2549 บริษัทมีร้านสาขา 7-Eleven ทั่วประเทศรวม 3,784 สาขา ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีสาขา มากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจาก ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐไต้หวัน ทั้งนี้แบ่งเป็นร้านในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล 1,960 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 52) เป็นร้านในต่างจังหวัด 1,824 สาขา ( คิดเป็นร้อยละ 48) เมื่อแบ่งตามประเภทของร้านพบว่า มีร้านสาขาบริษัท 2,119 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 56 ) ส่วนที่เหลือเป็นร้านเฟรนไชส์ 1,449 สาขา ( คิดเป็นร้อยละ 38 ) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิรับช่วงอาณาเขต 216 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 6 ) ปัจจุบันมีลูกค้าเข้าร้าน 7-Eleven เฉลี่ยวันละ 4.0 ล้านคน

ทั้งนี้ในปี 2550 ทางบริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาร้าน 7-Eleven อย่างต่อเนื่องอีกประมาณ 400-450 สาขา ทั้งในรูปแบบของร้านในทำเลปกติ และร้านในสถานีบริการน้ำมันของ บริษัท ปตท.(มหาชน) เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด โดย ณ สิ้นปี 2549 บริษัทมีร้านในทำเลปกติ 3,279 สาขา ( คิดเป็นร้อยละ 87 ) และร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 505 สาขา (คิดเป็นร้อยละ 13 )

นอกจากนั้น บริษัทได้ขยายการลงทุนไปธุรกิจที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2537 เริ่มลงทุนในบริษัท เคาท์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ( CS ) เพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ในปี 2539 ลงทุนในบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ( CPRAM ) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี่ ในปี 2542 ลงทุนในบริษัท รีเทลลิ้งค์ ( ประเทศไทย ) จำกัด (RTL) เพื่อประกอบธุรกิจการจำหน่ายและซ่อมแซมอุปกรณ์ค้าปลีก

บริษัทยังได้มีการขยายการลงทุนในธุรกิจเสริมอื่น ๆ อีก เช่น ในปี 2544 ได้จัดจั้งบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (TSC) ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเติมเงินอิเล็คทรินิกส์ (Smart Purse) และในปี 25446 ได้จัดตั้ง บริษัท โกซอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (GOSOFT) เพื่อให้บริการออกแบบและพัฒนาด้านสารสนเทศ จัดตั้งบริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด (MAM) เพื่อให้บริการปรึกษาวางแผนกิจกรรมทางการตลาดและบริษัท ไดนามิค แมเนจเม้นท์ จำกัด (DM) เพื่อให้บริการบริหารงานกิจกรรมการขนส่งและกระจายสินค้า ในปี 2547 บริษัทได้จัดตั้ง บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด เพื่อให้บริการด้านการศึกษาโดยดำเนินโครงการสถาบันการศึกษาในชื่อว่า ปํญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาของภาครัฐ โดยเฉพาะส่วนของการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถผลิตบุคลากรได้ตรงกับความต้องการและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจค้าปลีก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศในอนาคต

ในปี 2548 บริษัทได้เปิดคำเนินการ โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ อย่างเป็นทางการ และได้เริ่มเปิดดำเนินการบริการโอนเงินผ่านบัตร “เชื่อมรัก” และการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ด้วยบัตร Smart Purse ซึ่งเป็นบัตรเงินสดดิจิตอล สำหรับปี 2549 บริษัทได้ดำเนินก่อตั้งบริษัท ปํญญธารา จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจการจัดการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาทางวิชาการ

นอกจากการขยายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่น ๆ โดยการจัดตั้งบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเพิ่มเติมแล้ว บริษัทยังมีการขยายช่องทางธุรกิจภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทเองอีก โดยในปี 2541 ได้เปิดตัวธุรกิจ 7 Catalog Order เพื่อเป็นการขยายช่องทางธุรกิจ เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น โดยพัฒนาจาก Mail Order จัดทำเป็นแผ่นพับไปสู่ “วารสารแคตตาล็อค” และในปี 2544 ได้เปิดตัวธุรกิจ Book Smile (เดิมชื่อ 7 Today) เพื่อเป็นช่องการขยายช่องทางธุรกิจด้านการจำหน่ายหนังสือและวารสาร


ปัจจุบันสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 283 อาคารสีบุญเรือง 1 ถนน สีลม เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2677-9000 โทรสาร 0-238-1767

ปรัชญาองค์กร (Philosophy)


“เรา ปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข”

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เรา คือผู้ให้บริการความสะดวกซื้อ กับลูกค้าทุกชุมชน”


พันธกิจ (Mission)
1. มุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งในการสรรหาและส่งมอบ สินค้า และบริการที่ลูกค้าสะดวกซื้อต้องการ
2. สรรหาทำเลร้านสาขาที่เข้าถึงลูกค้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
3. สร้างภาวะผู้นำทุกระดับและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่ดี
4. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับสังคมและชุมชน
5. สร้างองค์กรคุณภาพและมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
6. บริหารกิจการให้มีผลตอบแทนการลงทุนที่ดีและบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาล

ภาวะการตลาดและการแข่งขัน


ธุรกิจค้าปลีกในปี 2549 ชะลอตัวลงจากหลากหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบ กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทั้งราคาน้ำมัน สถานการณ์การเมือง ภาวะน้ำท่วม ไข้หวัดนก รวมถึงความไม่สงบทางภาคใต้ที่ยังไม่คลี่คลาย เป็นผลให้คาดว่าทั้งปี 2549 มูลค่าค้าปลีกในระบบภาษีในภาพรวมจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาวการณ์แข่งขันสูง โดยเฉพาะในส่วนของค้าปลีกสมัยใหม่ในลักษณะ Chain Store ทั้งในรูปแบบการขยายสาขาและการนำกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้เพื่อดึงดูดผู้บริโภคซึ่งในปัจจุบันจะยิ่งมีการไตร่ตรองในการซื้อและคำนึงถึงความคุ้มค่ามากขึ้น

จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อรูปแบบพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยส่วนหนึ่งมีการลดความถี่ในการซื้อลงและอาจจะมีการซื้อครั้งเดียว ในปริมาณที่มากขึ้น รวมไปถึงการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกใกล้บ้านหรือที่ทำงานมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับมาตรการควบคุมผังเมือง ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เริ่มมีการปรับรูปแบบไปสู่ร้านค้าปลีกขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น ร้านสะดวกซื้อจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจเข้ามาลงทุนทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิม และผู้ค้าปลีกในตลาดอื่น ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่ประกอบการเองและขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนความสำเร็จของ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) พอสรุปได้ ดังนี้
1.วิสัยทัศน์และการตัดสินใจของผู้บริหาร
การที่บริษัทสามารถขยายกิจการร้านสาขา 7-Eleven ได้อย่างรวดเร็วและสามารถบริหารร้านสาขาให้อยู่รอด และเจริญเติบโต เป็นผลมาจากความกล้าในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง และการเลือกทำเลในการเปิดร้านสาขาที่เหมาะสม การตัดสินใจที่แม่นยำและทันเวลานี้ เกิดจากการสร้างสมประสบการณ์ ของผู้บริหาร ทำให้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีความสามารถในการมองโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
2.ทีมงานที่มีคุณภาพ
การมีทีมงานที่มีพลังและมีคุณภาพ ช่วยสานต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารให้เกิดเป็นรูปธรรมและนำองค์กรสู่ความสำเร็จ นั้นเป็นผลมาจากการสรรหาบุคคลที่มีคุณภาพ แลความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการให้ความสำคัญในการพัฒนาพนักงานในรูปแบบต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการนำไปสู่ความสำเร็จ
3. การยอมรับและความพึงพอใจของลูกค้า
ร้านสาขาทุกแห่งของ 7-Eleven เป็นที่นิยมของลูกค้า เนื่องจากมีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและมีความสะดวก เนื่องจากมีสาขากระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งชุมชน ตลอดจนความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญในการคัดเลือกและตรวจสอบสินค้าที่มีคุณภาพที่จะนำมาวางขายในร้านสาขา

ปัจจัยความเสี่ยง


1.ความเสี่ยงจากการถูกยกเลิกเครื่องหมายการค้า 7-Eleven

บริษัทดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยภายสัญญาให้ใช้สิทธิ์ที่บริษัททำกับ 7-Eleven, Inc. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 โดยสัญญาให้ใช้สิทธิ์เป็นสัญญาที่ไมมีกำหนดอายุ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ที่จะเลิกสัญญา หากเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือในกรณีที่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญาตามสัญญาให้ความยินยอมซึ่งจะมี ผลเป็นการเลิกสัญญาให้ใช้สิทธิ์ด้วย ซึ่งจากความสัมพันธ์อันดีตลอดระยะเวลา 17 ปี บริษัทยังไม่เคยมีกรณีพิพาทใด ๆ ที่สำคัญกับ 7-Eleven, Inc. รวมทั้งได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาดังกล่าวมาโดยตลอด ทำให้บริษัทเชื่อว่า บริษัท และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับ 7-Eleven, Inc. และในขณะนี้ไม่มีเหตุอันใดที่จะส่งผลกระทบในทางลบกับความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ กับ 7-Eleven, Inc. ในกรณีสัญญาการใช้สิทธิ์ถูกยกเลิก บริษัทจะสูญเสียสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมาก

2.ความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือข้อขัดข้องของศูนย์กระจายสินค้า

สินค้าส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในร้าน 7-Eleven จะถูกส่งผ่านมาจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท ดังนั้น การดำเนินการของศูนย์กระจายสินค้ามีความสำคัญต่อธุรกิจของ 7-Eleven อย่างมาก 2.ความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือข้อขัดข้องของศูนย์กระจายสินค้า ๆ ซึ่งย่อมมีผลเสียต่อความสามารถในการจัดส่งสินค้าไปยังร้าน 7-Eleven ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบกับผลประกอบการได้

3. ความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือขัดข้องของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการบริหารการหมุนเวียนของสินค้า การจัดซื้อ การจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการพัฒนาความสามารถในการดำเนินการ ดังนั้นความผิดพลาดหรือขัดข้องของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศย่อมส่งผลเสียต่อความสามารถของบริษัทในการบริหารร้าน 7-Eleven ให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบกับผลประกอบการของบริษัทได้

4.ความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ

เนื่องจากบริษัทมีการลงทุนใน Shanghai Lotus Supermarket Chain Store Co.,Ltd. (SLS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) อันอาจจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางการเมือง กฎหมาย หรือภาวะเศรษฐกิจของ PRC ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีผลกระทบให้รายได้จากธุรกิจเหล่านั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
นอกจากนี้ ตามที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ลงนามในข้อตกลงการค้ากับ World Trade Organization (WTO) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกาขยายตัวของธุรกิจต่าง ๆ ภายในประเทศ สำหรับธุรกิจค้าปลีกนั้น นับตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป รัฐบาล PRC ได้อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์ได้เพิ่มขึ้น จากเดิมถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 48 เป็นผู้ถือหุ้นได้มากกว่าร้อยละ 50

5.ความเสี่ยงจากอิทธิพลการควบคุมของเครือเจริญโภคภัณฑ์

เครือเจริญโภคภัณฑ์มีอำนาจในการควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัท และในสัญญาให้ความยินยอม เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตกลงจะดำรงสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำ ตลอดจนอำนาจในการแต่งตั้งและอำนาจควบคุมจำนวนกรรมการข้างมากของบริษัท ดังนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงสามารถแต่งตั้งกรรมการบริษัทส่วนใหญ่ และสามารถมีอิทธิพลในการบริหารจัดการบริษัท รวมถึงพิจารณาหรือผลักดันเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นของบริษัท
ปัจจุบันนี้ไม่มีข้อจำกัดทางสัญญาใด ๆ ระหว่างบริษัทปละบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ห้ามบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ขยายธุรกิจหรือลงทุนในธุรกิจค้าปลีกอื่น ๆ จึงอาจมีความเสี่ยงว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์จะไม่พิจารณาจัดสรรโอกาสและทรัพยากรไปในทางที่เป็นประโยชน์สูงสุด กับบริษัท และผู้ถือหุ้น

เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ

บริษัทมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อในประเทศไทยที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเน้นจุดเด่นของการนำเสนอ “ความสะดวก” ให้กับลูกค้าสำหรับการซื้อสินค้าและใช้บริการต่าง ๆ ด้วยทำเลร้าน 7-Eleven ที่กระจายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางและส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะเปิดร้าน 7-Eleven ในปี 2550-2551 ปีละประมาณ 400-450 สาขาโดยบริษัทยังวางตำแหน่งร้าน 7-Eleven ให้เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มที่ครบวงจร โดยเน้นการขายสินค้าบริโภคมากกว่าสินค้าอุปโภค เนื่องจากสินค้าบริโภคโดยทั่วไปมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าสินค้าประเภทอุปโภค และเป็นการวางตำแหน่งร้าน 7-Eleven ให้แตกต่างจากร้านค้าปลีกประเภท ในขณะเดียวกันบริษัทจะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายร้าน 7-Eleven ในการให้บริการเสริมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ลูกค้า อาทิเช่น การเป็นตัวแทนชำระค่าสินค้าและบริการของ เคาน์เตอร์เซอร์วิส การสสั่งซื้อสินค้าทาง 7-Cattalog เป็นต้น
วิเคราะห์สถานะภาพของ บ. เซเว่นอีเลฟเว่น

เซเว่นอีเลฟเว่น เป็นร้านสะดวกซื้อที่มุ่งมั่นที่จะแสวงหาสินค้าและบริการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมุ่งเน้นที่จะให้ลูกค้ามาถึงร้าน แล้วสามารถได้ครบทุกอย่างไม่ว่าจะซื้อสินค้า หรือ โอนเงิน หรือชำระค่าสาธารณูปโภค ซึ่งย่อมจะได้เปรียบในเชิงการแข่งขันสูง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ด้วย The 5 Force’ s Model พบว่า

1.การแข่งขันในอุตสาหกรรม ( Existing & Competitor)

ปัจจุบันธุรกิจโดยทั่วไปของร้านสะดวกซื้อมีการแข่งขันกันสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกขนาดเดียวกัน เช่น โลตัส เอ็กซ์เพรส หรือ Jiffy Shop หรือ ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Big C, Tesco Lotus หรือ คาร์ฟูร์ ต่างแข่งขันช่วงชิงลูกค้าด้วยกลวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดรายการโปรโมชั่นต่าง ๆ เช่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือ ซื้อ 2 ชิ้นประหยัดกว่า หรือจัดรายการลดแลก แจกแถม ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ หากไม่มีกลยุทธ์ในการต่อสู้แย่งชิงลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการจัดรายการ หรือ สร้างบริการให้ลูกค้าประทับใจ หรือ ขายสินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย แตกต่างจากร้านค้าปลีกทั่วไป ซึ่งล้วนสามารถจูงใจให้ลูกค้าเลือกใช้บริการได้

2.คู่แข่งรายใหม่ ( New Entrants)

สำหรับคู่แข่งรายใหม่ของ 7-Eleven ขณะนี้มีเพิ่มจำนวนมาก สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย ไว้ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็ก เช่น 108 shop , โลตัส เอ็กซ์เพรส หรือ Jiffy ฯลฯ และยังมีร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่น Big C , Tesco Lotus ซึ่งแม้ว่าร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ จะเข้ามากระจายเปิดกิจการตามเขตชุมชนใหญ่ ๆ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะเป็น เคาท์เตอร์รับชำระค่าบริการต่าง ๆ มีโรงภาพยนตร์ คาราโอเกะ และมีธนาคารสาขาย่อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นร้านค้าปลีกที่เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดไปได้มากพอสมควร ซึ่งทาง 7–Eleven อาจจะได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นในแง่ที่ว่า เปิดบริการ 24 ชั่วโมง และมีสาขาที่เป็นทั้งร้านสาขาบริษัท ร้านค้าเฟรนไชส์ และผู้ประกอบการรับสิทธิช่วงในอาณาเขต ซึ่งเป็นร้านที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ในชุมชนทั่วประเทศ

3. อำนาจต่อรองของตัวแทนจำหน่าย ( Supplier Power)

ในแง่ Supplier นั้นไม่มีผลกระทบต่อ 7–Eleven เลย เนื่องจากว่า 7-Eleven เป็นบริษัทที่มีสาขาจำนวนมาก กว่า 3,700 สาขา และมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งทำให้มีอำนาจต่อรองกับ Supplier สูงมาก เพราะย่อมจะมี Supplier จำนวนมากรายที่อยากจะติดต่อขายสินค้าให้กับ 7–Eleven เพราะเมื่อสมารถขายสินค้าให้ กับ 7–Eleven ได้ ก็เท่ากับว่าสามารถกระจายสินค้าของตนไปได้ทั่วประเทศง่ายขึ้น อีกทั้งยังมี Supplier จำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าไปในเสนอขายสิค้าได้ใน ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ จึงทำให้ 7-Eleven มีอำนาจการต่อรองในเรื่องราคา และสามารถกำหนดกติกากับ Supplier ได้เช่น หากทาง Supplier ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ เพื่อชดเชยความเสียหายของ 7–Eleven ที่ไม่มีสินค้าไว้สำหรับให้บริการกับลูกค้าได้ อีกทั้งหากสินค้าที่นำมาขายในร้านสาขาใดไม่มีคุณภาพ ทาง 7-Eleven ก็จะคัดสินค้าออก ไม่ให้ขายในร้านสาขา

4.อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Buyer Power)

ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองกับ 7–Eleven น้อย ถึงแม้ว่าจะมีร้านค้าปลีกเกิดขึ้นมากมาย และมีกรจัดรายการที่น่าสนใจไว้ แต่ 7-Eleven ก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้า เพราะ 7–Eleven มีสาขากระจายอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่อยู่ใกล้บ้านมากกว่าร้านค้าปลีกอื่น ๆ จึงสามารถสนองตอบความต้องการได้ง่าย ประกอบกับในภาวะที่ค่าน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันนี้จึงทำให้ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ ไม่ว่าจะซื้อจากร้านค้าใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน ซึ่งการกระจายสาขาของ 7-Eleven นี้สามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ของลูกค้าได้มาก อีกทั้งการบริการอาหารและเครื่องดื่มมีพร้อม สะอาด สะดวก การเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ล้วนเป็นสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้

5.สิ่งทดแทน (Substitutes)

มีร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั้งที่เป็นร้านค้าปลีกตั้งเดิม และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางตรง ที่สามารถมาทดแทน สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้ เหมือน ๆ กัน ซึ่งในปัจจุบัน พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าได้เปลี่ยนไปตามสภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคลดความถี่ในการซื้อลง และมีการซื้อครั้งเดียวในปริมาณที่มากขึ้น รวมไปถึงการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกที่ใกล้บ้านหรือใกล้ที่ทำงาน มากขึ้น หรือตามร้านค้าปลีกที่สามารพตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการได้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการจับจ่าย และเป็นการประหยัดเวลาในการจับจ่ายด้วย จึงทำให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ แข่งขันหาจุดบริการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเลือกมาใช้บริการและจับจ่ายที่ร้านของตน
Scenario Analysis

การวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis) เป็นกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์ในภาพรวมซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ทิศทางที่จะดำเนินต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งสามารถวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวม และปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อองค์กรคือ

1.การเมือง

ในสภาวะการเมืองที่ไม่ชัดเจน แม้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการเลือกตั้งที่แน่นอน จะมีรัฐบาลใหม่ แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนเท่าใดนัก ต่างหยุดรอดูสถานการณ์หลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ เพื่อดูทิศทางที่แน่นอน จึงค่อยตัดสินใจลงทุน
อีกทั้งร่างกฎหมายค้าปลีกยังไม่ผ่านร่าง จึงทำให้ค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่อาศัยช่องว่างที่กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ขยายสาขาไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก่อนที่จะถูกควบคุม ซึ่งเหล่าร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านสะดวกซื้อต่างหวังว่ารัฐบาลใหม่ จะได้ข้อสรุปกฎหมายค้าปลีกให้มีผลบังคับใช้กับร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่

2.เศรษฐกิจ

ในสภาวะทีเศรษฐกิจทั่วประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว การลงทุนด้านต่าง ๆ ต่างเลื่อนการลงทุนออกไปก่อน อีกทั้งปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้กระทบต่อต้นทุนสินค้าจำนวนมาก ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยภาวะสองปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคระวังการใช้จ่าย มีการคิดถึงเรื่องความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปมากขึ้น และใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น และเน้นการซื้อของทีละมาก ๆ ไม่ออกไปซื้อบ่อย ๆ ซื้อจากร้านที่สามารถสนองความต้องการได้ครบถ้วน หรือ ไปที่เดียวได้ครบทุกอย่างที่ต้องการ

3.สังคมและวัฒนธรรม

ในสังคมปัจจุบันนี้ ในการประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตามล้วนต้องมีการกระทำใด ๆ เพื่อตอบแทนกลับสู่สังคมและชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับรู้ว่าธุรกิจนั้นไม่ได้หวังแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ซึ่งทาง 7-Eleven เองก็มีโครงการหลาย ๆ โครงการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อประโยชน์แก่สังคม ดังเช่น
1. ด้านภาษาไทย การอ่าน และการเขียน เช่น
- โครงการโรงเรียนรักการอ่านยอดเยี่ยม
- โครงการประกวดหนังสือดีเด่น รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด
- “กล้าวรรณกรรม” และ “นักเขียนการ์ตูนรุ่นเยาว์
2. ด้านพัฒนาทักษะทางปัญญา
- การเผยแพร่ “หมากล้อม” (เกมโกะ)
3. ด้านการศึกษาผ่านประสบการณ์ตรง
4. ด้านคุณธรรมจริยธรรม
- โครงการพัฒนาครูผู้สอนพระพุทธศาสนา วิถีพุทธกัลยาณมิตร
- โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ
5. การบริการสาธารณประโยชน์
- โครงการบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อมอบแก่ผู้ประสบภัย “สึนามิ” และผู้ประสบภัย “น้ำท่วม”
- โครงการขาดหลอดประหยัดไฟ
- โครงการบริการน้ำดื่มแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ

4. เทคโนโลยี

ปัจจุบันนี้เป็นโลกของข่าวสาร และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถหลบเลี่ยงไปได้ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีนั้นมีคุณอนันต์และโทษมหันต์ ขึ้นอยู่กับการรู้จักนำมาใช้ให้เป็น ซึ่ง ในบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น นั้นได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือใช้เพื่อตรวจสอบควบคุมคุณภาพของสินค้า ปริมาณสินค้าคงคลัง คิดค้นและพัฒนาคุณภาพสินค้า ซึ่งบริษัทนั้นมีเป้าหมายในการมุ่งไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และจุดเรียนรู้ในการทำงาน

การวิเคราะห์แนวโน้ม

แนวโน้มที่แน่นอน (Certainty Trends)
C1 ในปีนี้มีการเลือกตั้งที่แน่นอนและมีโอกาสที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่แน่นอน
C2 ลูกค้าเริ่มสนใจใส่ในเรื่องความคุ้มค่าของสินค้ากับปริมาณเงินที่จ่ายออกไป ในภาวะที่เศรศฐกิจของประเทศชะลอตัว
C3 คู่แข่งขัน เริ่มมีการทำตลาดและการจัดรายการที่ดึงดูดลูกค้า
C4 การแข่งขันเรื่องสินค้าและบริการเน้นที่คุณภาพของสินค้าและบริการเป็นสำคัญ

แนวโน้มที่ไม่แน่นอน (Uncertainty Trends)
U1 ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อต้นทุนของสินค้าในด้านการขนส่ง
U2 เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
U3 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
U4 ความไม่แน่นอนของกฎหมายค้าปลีกว่าจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด ซึ่งส่งผลให้ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ต่างเร่งขยายสาขาใหญ่บ้างเล็กบ้าง
U5 การแข็งค่าของค่าเงินบาท ส่งผลกระทบต่อรายได้ของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ได้ลงทุนในต่างประเทศ

SWOT Analysis การวิเคราะห์ภายในองค์กร

ในการวิเคราะห์ SWOT ของ 7-Eleven ในครั้งนี้ดัวย 5’Ms โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ

1. Man (คน)

จุดแข็ง (Strengths)

บริษัทประกอบด้วยพนักงานและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจาก 7-Eleven ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการขยายสาขา และรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ 7-Eleven ประสบความสำเร็จได้ สามารถมีสาขาร้านค้ามากมาย

จุดอ่อน (Weakness)

การที่พนักงานและบุคลากร ของ 7-Eleven มีความรู้ความสามารถ อาจเป็นช่องทางให้บริษัทคู่แข่งธุรกิจเดียวกันเข้ามาซื้อตัวพนักงาน โดยอาจเสนออัตราเงินเดือน และผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อดึงดูดพนักงานของ 7-Eleven ได้ เพราะปัจจุบันนี้การแข่งขันที่สูง หากมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาองค์กร จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว

โอกาส (Opportunity)

ผู้บริหารของบริษัทให้ความสำคัญต่อการสรรหาพนักงานมากพอ ๆ กับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกคนดีมากกว่าคนเก่ง ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ยังไม่มีความรู้ ความสามารถในระดับที่เรียกว่า “คนเก่ง” ก็สามารถพัฒนาภายหลังได้ แต่การสร้างคนให้เป็นคนดีต้องใช้เวลานาน วิธีการสรรหาของบริษัท ใช้วิธีการหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นการประกาศรับสมัครทางสื่อต่าง ๆ การคัดเลือกนักศึกษาที่จบใหม่จากมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมงานนัดพบแรงงาน และการรับสมัครใน Internet เป็นต้น ซึ่งทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีโอกาสที่จะคัดเลือกพนักงานได้มาก

อุปสรรค (Threat)

เนื่องจาก 7-Eleven มีคณะกรรมการที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เรื่องนโยบายต่าง ๆ หลายท่าน ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้มาจากการแต่งตั้งโดยใช้เสียงข้างมาก จากการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถถอดถอนได้โดยใช้มติที่ประชุม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนคณะกรรมการบ่อย จะทำให้การตัดสินใจล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ได้

2. Money (เงิน)

จุดแข็ง (Strengths)

ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 104,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 คิดเป็น ร้อยละ 6 ซึ่งเป็นรายได้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ สัดส่วนร้อยละ 64 รายได้จากธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในประเทศจีน สัดส่วนร้อยละ 30 และรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ ในประเทศ สัดส่วนร้อยละ 6
กลุ่มธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อมียอดขายสุทธิรวม 65,055 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 14,975 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 29 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายสุทธิมีสาเหตุมาจากการขยายสาขา และยอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเพิ่มขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 7-eleven มีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุนและมีศักยภาพในการขยายสาขา และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เป็นอย่างมาก

จุดอ่อน (Weakness)

บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ ซึ่งนโยบายนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการขยายสาขาเพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนทำให้กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการชายและบริหารที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้อาจทำให้การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้นได้

โอกาส (Opportunity)

7-Eleven เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หากมีความจำเป็นในการระดมทุนเพิ่ม ก็มีความสามารถในการระดมทุนได้ง่าย อีกทั้งการขยายเพิ่มของแฟรนไชส์ จะช่วยให้บริษัทไม่ต้องลงทุนในการเพิ่มสาขามากนัก แต่สามารถมีสาขาเพิ่มขึ้นได้

อุปสรรค (Threat)

ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าเช่าร้านสูงขึ้นมาก อีกทั้งแหล่งทำเลที่ตั้งร้านตามชุมชนต่าง ๆ มีราคาแพง ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของร้านโดยรวมสูงขึ้น และจะส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทลดน้อยลง

3. Materials (วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ)

จุดแข็ง (Strengths)

บริษัทมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก มีกระบวนการคัดสรรและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งบริษัทได้จัดกระบวนการพัฒนาสินค้า ร่วมกับผู้ผลิต โดยมีการตรวจสอบสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การจัดส่ง การเก็บรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ

จุดอ่อน (Weakness)

เนื่องจากบริษัท 7-Eleven มีสาขากระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ การติดต่อสื่อสารมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสำคัญ หากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหา ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารงาน

โอกาส (Opportunity)

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสินค้า การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และพัฒนาสินที่ที่มีคุณภาพ อีกทั้งมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า และตรงความต้องการของลูกค้า อีกทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการผลิต ควบคุม และการวางแผน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภค

อุปสรรค (Threat)

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการวางแผนด้านต่าง ๆ ต้องกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และสภาวะ การณ์ที่เปลี่ยนไป

4. Management (การจัดการ)

จุดแข็ง (Strengths)

โครงสร้างการจัดการของบริษัทประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้บริหาร มีการแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน ซึ่งคณะกรรมการบริษัทประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานจากหลากหลายสาขาที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดี และมีวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทคือการทำงานเป็นทีม โดยมีค่านิยม 7 Values เป็นค่านิยมพื้นฐานสำหรับพนักงานทุกคนในองค์กร และ 11 Leadership เป็นค่านิยมสำหรับผู้บริหารทุกคนยึดถือและนำไปปฏิบัติในการดูแลเอา ใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรม

จุดอ่อน (Weakness)

การที่บริษัทมีคณะกรรมการบริษัท มากถึง 13 คน อาจส่งผลให้การตัดสินใจในบางเรื่องล่าช้ากว่าที่ควร อำนาจการตัดสินใจมีน้อย ต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของผู้ถือหุ้น ซึ่งในการดำเนินงานปัจจุบันต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

โอกาส (Opportunity)

ตามโครงสร้างของคณะกรรมการ ล้วนเป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงานที่หลากหลาย และเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ย่อมสามารถนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันรายใหญ่ ๆ ได้

อุปสรรค (Threat)

ในภาวะตลาดปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศ หรือในตลาดต่างประเทศ ล้วนเป็นแรงผลักดันให้บริษัทต้องแสดงความสามารถในการบริหารจัดการ สร้างความแข่งแกร่ง และมีความพร้อมสำหรับการฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ได้

5.Marketing (การตลาด)

จุดแข็ง (Strengths)


บริษัทมีทำเลที่ตั้งที่ค่อนข้างได้เปรียบเนื่องจากได้เลือกทำเลที่ตั้งในแหล่งชุมชนมีผู้คนสัญจรผ่านไปมาตลอด จึงสามารถเข้าถึงผู้บริโภค ได้ง่าย อีกทั้ง มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าไว้อย่างชัดเจน และมีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีการสรรหาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายแตกต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอ โดยมีเป้าหมายหลักคือการตอบสนองตรงต่อความต้องการของลูกค้า

จุดอ่อน (Weakness)


ปัจจุบันร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่มีการแข่งขันทางการตลาดสูงมาก ต่างนำกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้เช่น การขายสินค้าราคาพิเศษ การมีของสมนาคุณพิเศษ การแจกคูปองเงินสดเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ซึ่งการแข่งขันเช่นนี้สามารถดึงดูดผู้ซื้อได้มาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ผู้ซื้อมักมองถึงความคุ้มค่า ประหยัด ซึ่งทางบริษัทเองต้องหาวิธีการจัดรายการโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดใจผู้ แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่มีผลกระทบต่อบริษัทในระยะยาว

โอกาส (Opportunity)


7-Eleven มีโอกาสที่เข้าถึงชุมชนได้มากกว่าร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ เนื่องจากการมีสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย อีกทั้งเป็นร้านสะดวกซื้อที่อยู่ในชุมชน และไม่ถูกต่อต้านจากชุมชนเนื่องจากว่าเป็นร้านค้าของคนไทยไม่ใช่ต่างชาติ ซึ่งจากข้อได้เปรียบนี้ทำให้ 7-Eleven สามารถขยายสาขาครอบคลุมได้มากขึ้น

อุปสรรค (Threat)


ในปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าค่อนข้างสูง การที่ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ได้ขยายสาขาไปตามเมืองใหญ่ และพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการขยายสาขาที่มีขนาดเล็กลง และเริ่มเข้าไปในชุมชน ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งทางการค้าของ 7-Eleven ได้

ข้อเสนอแนะ

1. การที่ทาง 7-Eleven มีการฝึกบุคลากร โดยเปิกการเรียนการสอนและเปิดให้มีการปฏิบัติงานจริง ทำให้บุคคลากรที่สำเร็จออกมามีความสามารถ และเป็นที่ต้องการของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เพราะการที่ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ย่อมช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ซึ่งทาง 7-Eleven ควรมีมาตรการรองรับปัญหาเรื่องสมองไหล เพื่อป้องกันการซื้อตัวบุคลากรจากบริษัทคู่แข่ง
2. 7-Eleven ต้องเร่งสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อไม่ต้องเหนื่อยในการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งนโยบายที่ทาง 7-Eleven เน้นด้านสินค้าบริโภค นั้นหากสามารถ มีอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เชื่อว่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกค้าได้เป็นอย่างดี
3. ควรเน้นพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
4. ควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของร้านสาขา เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว มีคนว่างงานจำนวนมาก และยาบ้าเริ่มระบาดมากขึ้น ในขณะที่ร้านเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง หากบริษัทมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดีแล้ว จะทำให้ลูกค้ากล้าที่จะมาใช้บริการในยามดึกดื่นเพิ่มขึ้น


การจัดทำกรณีศึกษาของ นศ. MBA ม.ธนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "งานวิเคราะห์ธุรกิจ "
เอกสารนี้เป็นเอกสารที่ใช้ในการประกอบการเรียน ซึงความเห็นหรือแนวทางในการวิเคราะห์เป็นแค่เพียงหลักการและการแสดงความคิดเห็นเพื่อใช้ในการประกอบการเรียนเท่านั้น
ที่มา :http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dnt&month=24-08-2008&group=40&gblog=38