Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การโฆษณา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การโฆษณา แสดงบทความทั้งหมด

ช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่องทางการจัดจำหน่าย


การบริหารจัดการเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายมีอะไรบ้าง ?
กลยุทธ์การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (Place Strategy) 

ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1) ทางเลือกของช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution) ว่าเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้มีช่องทางใดบ้าง


2) ประเภทของร้านค้า (Outlets) ในปัจจุบันประเภทของร้านค้ามีให้เลือกมากมายหลายประเภท เช่น

2.1) ร้านค้าส่ง (Wholesale Store) ที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง
2.2) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store)
2.3) ห้างสรรพสินค้า (Department Store)
2.4) แหล่งช้อปปิ้งชุมชน (Community Mall)
2.5) MiniMart
2.6) ร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store)
2.7) ซุ้มขายของ (Kiosk) ครอบคลุมทั้งร้านที่เป็นซุ้มขายของและจัดเป็นบูธ
2.8) เครื่องขายอัตโนมัติ (Vending Machine)
2.9) การขายทางไปรษณีย์ (Mail Order) ซึ่งเป็นการขายโดยการส่งจดหมายไปยังลูกค้า หรือการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์/นิตยสาร และถ้าลูกค้าสนใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
2.10) การขายทางแคตตาล็อก (Catalog Sales)
2.11) การขายทางโทรทัศน์ (TV Sales)
2.12) การขายตรง (Direct Sales)
2.13) ร้านค้าสวัสดิการ
2.14) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นต้น

การโฆษณา AIDA

AIDA 

เป็นทฤษฎีที่เน้นหนักด้านผู้ขายว่าต้อง ปฏิบัติการต่าง ๆ 
ตามลำดับขั้นให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เพื่อผลสำเร็จในการเสนอขาย


  • ความเอาใจใส่ (Attention)
    ขั้น แรกพนักงานขายต้องหาโอกาสที่จะทำให้ผู้คาด ว่าเป็นลูกค้าตื่นตัว พร้อมที่จะรับฟังการเสนอขาย เช่น การขอนัดพบล่วงหน้า หรือบอกเหตุผลในการมาหรือขออภัยที่รบกวนเวลาเขา การที่จะทำให้เขาเกิดความเอาใจใส่ที่จะรับฟังการเสนอขายอาจเป็นผลมาจาก บุคลิกท่าทาง การแต่งกายเรียบร้อย การยิ้ม การพูดจาสุภาพนิ่มนวล พนักงานขายจะต้องแน่ใจว่าสามารถทำได้สำเร็จ ซึ่งเท่ากับเป็นการเริ่มต้นการขายที่มีประสิทธิภาพ และทำให้ผ่านไปสู่ขั้นตอนอื่น ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น

  • ความสนใจ ( Interest )
    เมื่อ เห็นว่า ลูกค้าพร้อมที่จะรับฟังการเสนอขาย พนักงานขายก็ต้องเริ่มสร้างความสนใจ มีวิธีการให้ลูกค้าเกิดความสนใจ กล่าวถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ โดยอาจเสนอตัวอย่างสินค้า แค๊ทตาล๊อก รูปภาพ หรืออื่น ๆ มาช่วยเร่งเร้าความสนใจให้เกิดเร็วขึ้น หนักที่สำคัญก็คือ พนักงานขายต้องพยายามหาความต้องการของลูกค้า (ในด้านทัศนคติและความรู้สึก) โดยวิธีการตั้งคำถาม ทดสอบความสนใจเพื่อทราบถึงความรู้สึก ทัศนคติ หรือท่าทีซึ่งบางครั้งลูกค้าอาจจะบอกมาเองก็ได้

  • ความปรารถนา(Desire)
    เป็น ขั้นที่พนักงานขายต้องพยายามจูงใจให้ลูกค้าเกิดความรู้สึก อยากที่จะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายอยู่ ขั้นนี้เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการขายเพราะลูกค้ามักจะตั้งข้อตำหนิ ติเตียน สงสัย โต้แย้งต่าง ๆ ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคในการขาย พนักงานขายต้องเตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ พยายามควบคุมสติอารมณ์ ปรับตัวให้เข้ากับลักษณะลูกค้าแต่ละรายจนสามารถแก้ข้อสงสัยต่าง ๆ ไปได้ โดยทำให้ลูกค้าเข้าใจและยอมรับหรือพอใจในคำตอบ บางครั้งจะเป็นการประหยัดเวลาได้มากถ้านักงานขายจะกล่าวถึงคำถามที่เขามักจะ ได้รับเสียเอง โดยอาศัยประสพการณ์ที่ผ่านมาและก่อนที่จะดำเนินการต่อไปก็ควรสรุปสาระสำคัญ ๆ ที่ได้กล่าวแล้วเพื่อกระตุ้นเตือนความสนใจของลูกค้า การตกลงใจที่จะซื้อ (Action) หากการเสนอขายได้กระทำอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมทำให้ผู้คาดว่าจะเป็นลูกค้าพร้อมที่จะตกลงซื้อ อย่างไรก็ตามการตกลงซื้อไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจะต้องอาศัยการชี้ชวนของ พนักงานขายด้วย พนักงานขายที่ดีจะปิดการขายเมื่อเห็นแน่นอนว่าลูกค้าเกิดความอยากซื้ออย่าง แรงกล้า โดยทั่วไปไม่นิยมถามตรงๆ ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ แต่มักใช้คำถามเลี่ยงๆ เช่นว่าจะให้ส่งสินค้ามาเมื่อไหร่ จำนวนเท่าไหร่

  • ตกลงใจซื้อ (Action)
    เป็น ขั้นตอนที่ลูกค้าตกลงใจซื้อสินค้าที่เสนอขายแต่ผู้ซื้ออาจจะไม่สั่งซื้อ ทันที การปิดการขายจึงไม่ควรที่จะตั้งคำถามให้ลูกค้าตอบว่า "ซื้อ" หรือ "ไม่" แต่ควรจะเลี่ยงด้วยการถามว่า "ต้องการสีอะไร" "จะให้จัดส่งเมื่อใด" "ต้องการจ่ายเป็นเงินสดหรือใช้บัตรเครดิต" เป็นต้น

  • ความพอใจ (Satisfaction)
พนักงาน ขายต้องเสริมสร้างความพอใจให้กับลูกค้าโดยการแสดงความขอบคุณ และแสดงให้ลูกค้ารู้สึกว่า ได้ตัดสินใจถูกต้อง เหมาะสมที่สุดแล้ว ทั้งให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและพอใจที่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ขาย ขั้นนี้ควรทำให้เร็วที่สุดหลังการขาย พนักงานขายปลีก อาจจะเห็นว่าในขั้นนี้อาจจะเสนอขายสินค้าอื่นๆ เพิ่มได้อีกด้วย
องค์ประกอบที่ทำให้โฆษณาของคุณ ประสบความสำเร็จ เทคนิคนี้เรียกว่า AIDA ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสี่ประการคือ

A= Attention หรือ อาจจะใช้คำว่า (Awareness) แทนก็ได้ A หมายถึง การดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ให้มาฟังหรือชมในสิ่งที่เรานำเสนอให้ได้ สิ่งที่จะกระตุ้นความรู้สึก หรือดึงดูดความสนใจของคนได้นั้นต้องเป็นสิ่งที่กระตุ้นสัญชาตญาณภายในของ มนุษย์ คือเป็นสิ่งที่กระตุ้นกิเลสหรือความอยากได้ของคนเหล่านั้น เช่น รูป สี กลิ่น รสชาติ ความอยากในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อยากสวย อยากหล่อ อยากรวย อยากเป็นที่สนใจในวงสังคม นอกจากการกระตุ้นอารมณ์ และความต้องการแล้ว สิ่งที่ดึงดูดความสนใจคือ สิ่งที่แก้ไขปัญหาที่เขาเผชิญอยู่

สิ่งที่กระตุ้นความต้องการของนัก ธุรกิจเครือข่ายคือ ความอยากรวย, อยากมีคนเข้าร่วมธุรกิจเยอะๆ, วิธีการที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ หรือ วิธีการสปอนเซอร์คน

I = Interest หมาย ถึง ความสนใจในสินค้า หรือ บริการของกลุ่มเป้าหมายที่เรานำเสนอสินค้าหรือบริการออกไป สิ่งที่สร้างความสนใจในสินค้า หรือบริการของกลุ่มเป้าหมายคือ การทำให้เขาเห็นใน ข้อดี หรือผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากเรา ซึ่งจะสร้างความแตกต่างให้กับเขา มากกว่าที่เขาจะได้รับจากคู่แข่งของเรา ยกตัวอย่างเช่น ข้อดีสิบประการในการใช้สินค้าของเรา, การแสดงการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของสินค้า หรือบริการของคุณกับผู้อื่น


สิ่ง สำคัญที่เราต้องคำนึงถึงในการสร้างความสนใจในสินค้า หรือ บริการของกลุ่มเป้าหมาย คือทุกสิ่งที่นำเสนอต้องสร้างผลลัพธ์ได้จริงตามที่บอกไว้ ไม่ใช่สิ่งที่โอ้อวดเกินจริง เพราะเมื่อผู้บริโภคใช้สินค้าหรือบริการของเราแล้วทำไม่ได้จริง ก็จะเป็นการสร้างผลเสียให้กับสินค้าหรือบริการของคุณ

D = Desire หมายถึง ความปรารถนาในการบริโภคสินค้า หรือบริการที่นำเสนอ ก็คือ การทำให้เขาต้องการบริโภคสินค้า หรือ บริการของเรา แม้ว่าเขาไม่จำเป็นที่จะต้องมีก็ได้ สิ่งที่จะกระตุ้นความปรารถนา หรือควาต้องการใช้สินค้า ก็คือ สิ่งที่เติมเต็มความต้องการ ความปรารถนาของกลุ่มเป้าหมาย

ยก ตัวอย่างเช่น การซื้อชุดสวยราคาแพงจากดีไซเนอร์ระดับโลกที่ออกมาขาย แทนที่การซื้อเสื้อผ้าจากตลาดนัด หรือความต้องการมีรถสปอตร์คันหรูราคาแพง ทั้งๆ ที่มีรถใช่อยู่แล้ว อีกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ สินค้าของบริษัท แอปเปิล เช่น ไอฟ๊อท หรือไอโฟน รุ่นใหม่ ที่คนแย่งกันครอบครองเมื่อออกมาใหม่ เพราะความก้าวล้ำ นำสมัย

A = Action หมาย ถึง สิ่งที่มำให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการที่นำเสนอ เป็นขบวนการที่สำคัญมากชี้เป็นชี้ตายให้ กับโฆษณาที่คุณทำเลย สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำโฆษณา คือ ต้องมี call to action ซึ่งกระตุ้น ให้กลุ่มเป้าหมายต้องซื้อสินค้า หรือทำในสิ่งที่เราต้องการเช่น

- เข้าร่วมธุรกิจวันนี้ รับรองว่าเป็นต้นสาย 100%
- โปรโมชั่นพิเศษ ซื้อ 1 แถม 1
- รับประกัน สปอนเซอร์คน 10 -20 คนต่อเดือน แน่นอน

เมื่อใช้เทคนิค AIDA คือคุณต้องมั่นใจว่าหัวเรื่องหรือประโยคเด็ดของคุณต้องดึงดูดความสนใจของ กลุ่มเป้าหมาย หัวเรื่องต้องเป็นสิ่งที่ชัดเจน ตรงประเด็น และทำได้จริงอย่างที่ประกาศออกไป ยกตัวอย่างเช่น

- วิธีสร้างรายได้ 6 หลัก ในเวลา 6เดือน จากที่บ้าน
- ฟรี...วิธีสปอนเซอร์คน 100 คน ภายใน 60 วัน
- ไม่อยากล้มเหลวในการทำธุนรกิจเครือข่าย ต้องรู้เรื่องนี้

โฆษณาของคุณ จะไม่สำเร็จได้ถ้าขาดองค์ประกอบทั้ง 4 อย่างของ AIDA
เมื่อ การใช้งานสูตรนี้โดยไม่เป็นไปตามลำดับ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้โฆษณาของคุณไม่สมบูรณ์แบบ ขาดแรงดึงดูด ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้มีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อเติมเต็มให้ เทคนิค AIDA สมบูรณ์แบบ แล้วกลายเป็น AIDA(S)

S= Satisfaction หมายถึง ความพึงพอใจในสินค้า หรือบริการ ของผู้ที่ได้ชมโฆษณา ที่เรานำเสนอผ่านโฆษณาออกไป สิ่งที่สร้างความพึงพอใจของโฆษณาที่ทำออกไป ก็คือการที่กลุ่มเป้าหมายนำสิ่งที่ได้ในโฆษณาไปใช่ประโยชน์ได้ เมื่อใดที่ความพึงพอใจถึงขีดสุด การที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าไปใช้งาน หรือเกิดการซื้อ บริโภคซ้ำ ได้

ต่อไปนี้ปัญหาของการทำโฆษณาของคุณ จะไม่เป็นปัญหอีกต่อไป ขอเพียงใหคุณจำไว้ว่าทุกครั้งที่จะทำโฆษณาต้องไม่ลืม AIDA(S)

    10 เทคนิค การประชาสัมพันธ์ร้านค้าออนไลน์


    เปิดร้านค้าออนไลน์ แต่ไม่มีคนซื้อ ขายของไม่ได้ แล้วจะเปิดไปทำไม? เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเคยเกิดคำถามนี้ขึ้นในใจ วันนี้ lnwShop มี 10 เทคนิคดีๆ เพื่อช่วยให้ร้านค้าของคุณมีลูกค้ามาฝากกันค่ะ
    2011 03 07 111834 10 เทคนิค การประชาสัมพันธ์ร้านค้าออนไลน์
    1.ลงทะเบียนเว็บไซต์กับ search engines
    บางที search engines (เช่นsanook,google,msm)อาจจะพบเว็บไซต์ของคุณจากการซุ่มหาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นๆ แต่ทางที่ดีคุณควรจะส่งชื่อเว็บไซต์ไปยัง search enginesด้วยตัวเอง เพราะส่วนมากแล้วผู้ที่เข้าดูเว็บไซต์จะเข้าจากลิ้งค์ในsearch engines
    2. ใช้ Signature(sig)file
    โดยทั่วไปแล้ว sigfile จะประกอบไปด้วย ชื่อคนชื่อบริษัท ที่อยู่สำหรับติดต่อ และ/หรือสโลแกนของบริษัทรวมทั้งลิ้งค์ตรงไปยังเว็บไซต์ของคุณ sigfile นี้ควรจะอยู่บริเวณท้ายอี-เมล์ทุกฉบับที่คุณส่งออกและอย่าลืมใส่ไว้เวลาเข้าไปตอบหรือโพสต์ในเว็บบอร์ดอื่น ๆ ด้วย
    3. โพสต์ในforums(ห้องเสวนา)
    เข้าไปพูดคุยในฟอรั่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณบ้างแต่เวลาเข้าไปไม่ใช่แค่ไปโฆษณาธุรกิจของคุณเท่านั้นให้ตอบคำถามในเรื่องที่คุณมีความรู้ แล้วก็ใส่ sigfile ไว้ท้ายข้อความคนอ่านจะรู้สึกดีขึ้นเยอะเลย
    4 .แจกของฟรีบนเว็บ
    เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบของฟรีคุณจะได้จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนถ้าบนเว็บของคุณมีของฟรีแจกเช่น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บทความที่น่าสนใจ วอลล์เปเปอร์สวย ๆ มีเกมให้เล่นชิงรางวัลหรืออะไรก็ได้ที่จะดุงดูดกลุ่มเป้าหมาย
    5. อัพเดทเว็บไซต์ให้ทันสมัย
    การส่งชื่อเว็บไซต์ให้searchenginesเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการโปรโมตเว็บแต่จะต้องอัพเดทเว็บด้วย เพราะ search engines จะจัดลำดับผลการค้นด้วยคีย์เวิร์ด และ metatags (ข้อมูลที่บอกว่าเว็บนี้เกี่ยวกับอะไรแต่อยู่ในโค้ดที่ผู้ใช้จะมองไม่เห็น ทำไว้สำหรับให้ search enginesค้น)
    6.ส่งข่าวสารผ่านอี-เมล์
    อี-เมล์เป็นการส่งข่าวสารใหม่ ๆของบริษัท หรือโปรโมชั่นพิเศษให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายคุณควรมีข้อมูลอี-เมล์ของลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ ดังนั้นบนเว็บไซต์ควรมีที่ให้ผู้เข้าชมเว็บกรอกข้อมูลหรืออี-เมล์ไว้เพื่อรับข่าวสารต่าง ๆ
    7. แลกเปลี่ยนลิ้งกับเว็บอื่นๆ
    ในเว็บไซต์ของคุณควนจะมีลิ้งค์ไปเว็บไซต์ดี ๆ ที่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องการแลกเปลี่ยนกันเช่นนี้ช่วยเพิ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดีเพราะบางทีเราอาจจะมีสินค้าหรือบริการที่ที่อื่นไม่มี
    8.เปิดอีกเว็บไซต์
    บางทีเว็บไซต์ที่ดูเป็นธุรกิจเกินไปอาจไม่น่าสนใจทำไมไม่ลองเปิดอีกสักเว็บไซต์ที่มีเรื่องน่าสนใจแต่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณตัวอย่างเช่นบริษัทกฎหมายเล็ก ๆ อาจจะเปิดเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ บทความแบบฟอร์มต่าง ๆ หรือลิ้งค์ไปยังคดีต่าง ๆแล้วใช้ชื่อบริษัทเป็นสปอนเซอร์ให้กับเว็บไซต์โดยใช้แบนเนอร์โฆษณาหรือทำลิ้งไปยังเว็บไซน์ของบริษัทเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตามไปที่เว็บไซต์บริษัท
    9. ซื้อโฆษณาบนเว็บดัง ๆ
    ถึงตอนนี้ถ้าเว็บไซต์ของคุณยังมีผู้เข้าชมไม่มากพอละก็แนะนำให้ซื้อโฆษณาบนเว็บอื่น มี 2 ที่ที่ควรลงโฆษณานั่นก็คือที่search enginesและเนื้อที่โฆษณาบนเว็บดังที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณ
    10.ใช้แผนโปรโมชั่นบนกระดาษ
    การโฆษณาบนเว็บแต่เพียงอย่างเดียวยังไม่พอ คุณสามารถใช้วิธีการโฆษณาแบบง่ายๆ นั่นก็คือ การใช้กระดาษ หัวจดหมาย ซองจดหมายหรือนามบัตรที่พิมพ์โลโก้และที่อยู่ของบริษัท ท้ายสุดอย่าลืมใส่URL(ที่อยู่ของเว็บไซต์ด้วย)
    ขอบคุณที่มา : smethailand.com

    การวางแผนสื่อโฆษณา

    การวางแผนสื่อโฆษณา

    การวางแผนสื่อโฆษณา


                    ก่อนจะเลือกสื่อโฆษณา นักการตลาดต้องทำการบ้านด้วยการหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนครับ ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้มีอยู่ 4 ด้าน ดังนี้
                    1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ที่เราจะโฆษณา เช่น จุดขายสำคัญที่เรามีและต้องการนำเสนอต่อลูกค้าคืออะไร คุณสมบัติเด่นของสินค้าและจุดด้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งคืออะไรเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีจุดขายอยู่ที่ความน่ารับประทานของอาหารนั้นๆ ต้องเลือกสื่อที่แสดงภาพได้สวยงาม กระตุ้นให้ลูกค้าอยากรับประทานอย่างสื่อโทรทัศน์หรือนิตยสาร ขณะที่สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ที่ต้องการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ต่างๆ ของสินค้ามากๆ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงภาพที่สวยงาม การใช้สื่อประเภทหนังสือพิมพ์ก็จะดีกว่าโทรทัศน์ เป็นต้น



     
                      2. ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ตั้งแต่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสารด้วยเป็นใคร เขามีพฤติกรรมการรับสื่ออย่างไร ใครมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทที่เราขายบ้าง เขามีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างไรมี      ทัศนคติ ความเชื่อและค่านิยมในการใช้ชีวิตอย่างไร
      
     
                    3. ข้อมูลคู่แข่ง เช่น งบประมาณที่เขาใช้ สื่อโฆษณาที่เขาใช้ แนวทางการนำเสนอ เทคนิควิธีการนำเสนอ เพราะถ้าสื่อโฆษณาที่เราใช้เหมือนกับคู่แข่ง มีวิธีการนำเสนอคล้ายๆ กัน แต่เรามีงบประมาณต่ำกว่าคู่แข่งมาก โฆษณาของเราก็อาจจมลงไปจนลูกค้าแทบจำไม่ได้หรือนึกว่าโฆษณาของเราเป็นของคู่ แข่งที่มีงบมากกว่า ทำให้ไม่เกิดผลคุ้มค่า เราอาจต้องเปลี่ยนไปใช้สื่ออื่นที่คู่แข่งไม่ได้ใช้ เป็นต้น
        
     
                    ในอีกมุมหนึ่ง ถ้าเรามีงบประมาณที่พอจะแช่งกับคู่แข่งได้ เราอาจทำการวางแผนสื่อเพื่อสกัดคู่แข่งไว้ก่อนได้ เช่น หากรู้ว่าคู่แข่งจะลงโฆษณาในนิตยสารเล่มเดียวกับเรา เราอาจจองหน้าที่อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าคู่แข่งหรือจองป้ายโฆษณาตัดหน้าคู่ แข่งได้
                    4. เข้าใจความต้องการและข้อจำกัดของบริษัทตัวเอง ในการวางแผนสื่อ นักการตลาดต้องรู้งบประมาณที่ชัดเจน ระยะเวลาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ในการทำการโฆษณา รวมทั้งเข้าใจข้อจำกัดต่างๆ ภายในบริษัทตนเองและข้อจำกัดด้านกฎหมายด้วย
     
     



                    สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีข้อจำกัดในการห้ามโฆษณาทางโทรทัศน์ก่อน 4 ทุ่ม สินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลัง โฆษณาได้เฉพาะที่นำเสนอในลักษณะส่งเสริมสังคมหรือสร้างภาพลักษณ์องค์กร ห้ามโฆษณาตัวสินค้า ส่วนธนาคารใหญ่ๆ ที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ที่ดูน่าเชื่อถือ การเลือกหัวนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ที่จะลงก็อาจมีข้อจำกัดด้านนโยบายของ บริษัท เช่น จะไม่ลงโฆษณาในนิตยสารแนววาบหวิว เซ็กซี่ ทั้งๆ ที่ผลการวิจัยอาจแสดงให้เห็นว่าเป็นสื่อที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อ สารด้วย
                    หลังจากเตรียมข้อมูลทั้ง  4 ด้านตามที่อธิบายไว้แล้ว เราก็เริ่มต้นกำหนดกลยุทธ์ในการเลือกสื่อ โดยมีขั้นตอนดังนี้
                    1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาดในแคมเปญนั้นๆ หรือตามแผนงานของปีนั้นๆ เช่น ถ้าวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการสร้างรับรู้ในตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็จะนำไปสู่การเลือกสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ครั้งละมากๆ อย่าง โทรทัศน์หรือ หนังสือพิมพ์ ในรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายรับชมหรืออ่านอยู่จำนวนมาก
                    ถ้าวัตถุประสงค์อยู่ที่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตรายี่ห้อ ก็ต้องเลือกสื่อที่มีภาพลักษณ์ดี เช่น นิตยสารชั้นนำหรือรายการโทรทัศน์ที่มีภาพพจน์ดีมากกว่าการลงสื่อในรายการ ละครน้ำเน่า เป็นต้น
                    2. การกำหนดความต้องการหรือปัจจัยในการเลือกสื่อในเชิงกลยุทธ์ ได้แก่
             -การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทั้งหลักและรอง ที่ต้องการสื่อสารด้วย จะได้เลือกที่มีผู้อ่าน/ผู้ชม/ผู้ฟัง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ

             -การกำหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องการเผยแพร่ เช่น ต้องการสื่อออกไปด้วนภายใน 30 วัน อย่างนี้สื่อประเภทหนังสือพิมพ์ดูจะเป็นสื่อที่จะตอบสนองเงื่อนไขด้านเวลา ได้ แต่สื่อประเภทนิตยสารรายเดือนที่ปกติเราต้องส่ง Art Work โฆษณาให้เขาล่วงหน้า 30-45 วัน ก่อนตีพิมพ์หรือสื่อโทรทัศน์ที่มีขั้นตอนในการผลิตและส่งให้คณะกรรมการของ ทางสถานีตรวจสอบก่อนเผยแพร่ ย่อมไม่สามารถตอบสนองเงื่อนเวลาที่เร่งรัดตามที่นักการตลาดต้องการได้ สื่อเหล่านั้นก็ต้องตัดออกไป
             -การกำหนดข้อความที่ต้องการสื่อ รวมถึงภาพหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องการใช้ในการสื่อสารไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ถ้าสิ่งที่ต้องการสื่อมีเพียง 1-2 ประเด็นและไม่ซับซ้อน เช่น ต้องการบอกลูกค้าว่า ตอนนี้มาม่าออกรสใหม่แล้ว อย่างนี้ก็เหมาะที่จะโฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุ แต่ถ้าประเด็นที่จะนำเสนอมีความซับซ้อน เช่น “บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และต้องการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่ว ไปโดยขอรับใบของซื้อหุ้นได้ที่ธนาคารออมสิน เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ในวันที่ 4 -5 เม.ย.48” ข้อความที่ต้องการสื่อเหล่านี้คงไม่สามารถใส่ลงไปได้หมดในสื่อโทรทัศน์แล้ว ทำให้ผู้ชมจำได้ เว้นแต่จะมีงบโฆษณาจำนวนมาก การใช้สื่อหนังสือพิมพ์น่าจะเหมาะกว่า ถ้าจะใช้สื่อโทรทัศน์ก็อาจทำเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะขายหุ้นแล้วให้โทร เข้ามาสอบถามรายละเอียดที่บริษัท โดยใช้ร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน
             -กำหนดความถี่ที่ต้องการเผยแพร่ เช่น ถ้าต้องการให้ได้ความถี่ 100 ครั้งต่อเดือน การใช้สื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารไม่น่าจะเพียงพอ การจะได้ความถี่มากๆ ถ้ามีงบประมาณก็ใช้สื่อโทรทัศน์เป็นหลัก แต่ถ้างบประมาณน้อยก็ต้องหันมาใช้สื่อวิทยุและ Outdoor ซึ่งจะได้ความถี่สูงในงบประมาณต่ำ
                    3. การกำหนดวิธีในการใช้สื่อหรืออาจเรียกว่า Media Action Plan ที่มีการระบุสื่อโฆษณาที่เลือกจำนวนครั้งที่ลง ขนาดและตำแหน่งที่ลงโดยละเอียด เช่น กำหนดว่าจะลงโฆษณาในนิตยสารมาร์เก็ตเธียร์เต็มหน้าสี่สีปกหลัง จำนวน 6 ครั้งตั้งแต่เดือน เม.ย.- ก.ย.48 ร่วมกับลงโฆษณาในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางช่อง 3 วันจันทร์ – ศุกร์ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 4 สัปดาห์รวม 20 ครั้ง เป็น Spot 15 วินาที เป็นต้น
                    4. การดำเนินการจองสื่อและผลิตผลงานเพื่อส่งให้สื่อเผยแพร่มให้ทันตามกำหนด หลายครั้งที่การวางแผนสื่อโฆษณาทำมาอย่างดีแต่มามีปัญหาที่ของสื่อช้า ทำให้หน้าโฆษณาที่เราต้องการถูกจองล่วงหน้าไปโดยสินค้าอื่นไปแล้ว หรือเป็นปัญหาของฝ่ายผลิต Art Work / Production House ที่ไม่สามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้ทันกำหนด Death Line ที่ทางสื่อกำหนดให้ส่ง ทำให้แผนงานที่วางไว้ต้องเปลี่ยนแปลงไป
                    ทั้งหมดนี้คงพอจะทำให้นักการตลาดที่ต้องการวางแผนสื่อโฆษณาเองหรือกำลังคิด จะวางแผนสื่อเองเห็นขั้นตอนในการวางแผนได้ชัดเจนขึ้น




    เคล็ดลับการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ


    6 เคล็ดลับการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ
    6 Important Internet Advertising Tips That Can Bring Success To Any Business
    ผู้เขียน : Alex W1
    แปล/เรียบเรียง : สาระดีดี.คอม


              การโฆษณาได้รับการพิจารณาว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับให้แก่ธุรกิจต่างๆ   สามารถช่วยในการกระตุ้นผู้บริกโภคให้รับรู้ถึงสินค้าและบริการใหม่ๆ หรือสินค้าและบริการใหม่   ทุกวันนี้องค์กรต่างๆ เริ่มหันมาใช้การโฆษณาผ่านระบบออนไลน์เพื่อการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของตน  แต่โดยทั่วไปองค์กรมักใช้การโฆษณาออนไลน์โดยเน้นไปที่การโฆษณาชวนเชื่อ
              การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตใช้ search engines ในการมองหาผู้ซื้อที่กำลังค้นหาสินค้าที่ต้องการ  แต่สำหรับแนวคิดการตลาดแบบออนไลน์นี้   การโฆษณาจะได้ผลหรือไม่ได้ผลจะขึ้นอยู่กับ keyword ที่คุณเลือกเป็นสำคัญ   keyword จะทำให้โฆษณาของคุณได้พบกับผู้บริโภคที่มีศักยภาพ  ดังนั้นการเลือกใช้วลีและคำที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญต่อการทำโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรทำในการตัดสินใจนำแนวการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตมาใช้  มีดังนี้คือ
              1)  ถูกต้องและกระชับได้ใจความ
                   ความคิดที่คุณต้องการจะส่งถึงผู้บริโภคของคุณผ่านการโฆษณาจะต้องถูกต้องและตรงประเด็น  ควรเข้าใจง่ายและไม่ยาวเกินไป
              2) กำหนดหมายพื้นฐานของผู้เข้าชม
                  การโฆษณาของคุณควรจะเจาะจงกลุ่มเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ประชากรวัยรุ่น หรือประชากรผู้ที่เข้าใจอินเตอร์เน็ต  ค้นหาสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบและใกล้เคียงกับกระบวนการคิดของพวกเขา   เมื่อคุณเข้าใจความคิดของพวกเขาคุณจะสามารถดำเนินการรณรงค์โฆษณาได้อย่างสอดคล้อง    อย่างไรก็ตามลองสังเกตว่าคุณได้ลองที่จะค้นหาความแตกต่างอย่างชัดเจนของกลุ่มเรียบร้อยแล้ว
              3) แสดงภาพลักษณ์ที่ชัดเจนขององค์กรของคุณ
                  สร้างโลโก้  เครื่องหมาย   ตัวนำโชค หรือคำขวัญองค์กร  แนวความคิดทั้งหมดคือการสร้างแบรนด์ให้คนสามารถจดจำองค์กรของคุณได้ผ่านภาพลักษณ์
              4) จงระวังคู่แข่งของคุณ
                  ทำความรู้จักกับคู่แข่งที่กำลังไล่ตามหรือมีธุรกิจคล้ายกับคุณ   คุณสามารถตัดราคาคู่แข่งโดยการลดราคาสินค้าในโฆษณาของคุณ  คุณยังสามารถเปิดตลาดใหม่ๆ ที่คู่แข่งอาจจะไม่รู้จัก   นี่นับเป็นโอกาสสำหรับการวางโฆษณาให้ใกล้กับการพบเห็นของผู้เข้าชม
              5)  ทำการศึกษาวิจัยตนเอง
                   การวางแผนทำโฆษณาจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการค้นคว้าวิจัย  คุณจะประสบความสำเร็จและสามารถเสนอการแลกเปลี่ยนที่พิเศษกับลูกค้า  ถ้าการทำโฆษณาของคุณดำเนินการโดยอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัย    เนื่องจากการวิจัยของคุณจะทำให้สามารถระบุและทราบเป้าหมายของผู้เข้าชมได้ดียิ่งขึ้น     มีความจำเป็นที่จะต้องมั่นใจว่าข้อความที่คุณส่งออกไปผ่านการโฆษณาจะสื่อความหมายถึงผู้เข้าชมและไม่ใช่มีเพียงคุณคนเดียวที่จะเข้าใจ
              6) ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษา
                  หากคุณไม่สามารถวางแผนการโฆษณาด้วยตนเอง  กรณีนี้คุณจำเป็นต้องว่าจ้างมืออาชีพที่จะเข้ามาดูแลดำเนินการโฆษณาให้แก่คุณ  คุณจะเสียทั้งเวลาและเงินทองถ้าคุณพยายามดำเนินการโฆษณาด้วยตัวเองทั้งที่ยังขาดความรู้และทักษะที่เหมาะสมเกี่ยวกับการโฆษณา  ดังนั้นจึงควรที่จะยอมให้ผู้เชี่ยวชาญวิจัยและศึกษาตลาดในปัจจุบัน  พร้อมวางแผนการโฆษณาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
              ธุรกิจส่วนใหญ่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนต่ำมักกำหนดต้นทุนในการทำโฆษณาค่อนข้างน้อยในการดำเนินการส่งเสริมการตลาดให้กับธุรกิจของตน   การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  ทั้งนี้คุณจำเป็นต้องวางกลยุทธ์การดำเนินการโฆษณาเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีในการนำมาใช้กับธุรกิจ

    PR หัวใจการสร้างภาพลักษณ์

     ในยุคสมัยนี้ หลาย ๆ ธุรกิจ ต่างให้ความสนใจและทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ (Public Relation) หรือ PR กันมากขึ้น ถ้าไม่ทำและไม่รู้จัก PR ก็คงเป็นธุรกิจที่ไม่ทันสมัย แต่ยังมีอีกหลายธุรกิจ ที่ยังไม่ทราบว่างาน PR มีลักษณะและความสำคัญต่อองค์การธุรกิจอย่างไร ? 
              PR เป็นกิจกรรมหนึ่งของการส่งเสริมการตลาด หรือ Promotion ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ องค์การ หน่วยงาน หรือธุรกิจ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสื่อสารเชิงรุก ให้เกิดการรับรู้ รู้จัก จูงใจ เกี่ยวกับตัวสินค้า บริการ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ธุรกิจหรือหน่วยงาน อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อ สินค้า ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมหลักดังต่อไปนี้ คือ
             

    การโฆษณา

    การโฆษณา หมายถึงรูปแบบการให้ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า บริการหรือความคิด โดยไม่ใช้บุคคลและต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อจูงใจโดยหวังผลทางด้านยอดขาย และสามารถระบุผู้เป็นเจ้าของชิ้นงานโฆษณานั้นได้

    ประเภทของการโฆษณา
    1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
     1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
     1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
    2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
     2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
     2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
     2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
     2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
    3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium) 3.1 ทางโทรทัศน์
     3.2 ทางวิทยุ
     3.3 ทางนิตยสาร
     3.4 โดยใช้จดหมายตรง
     3.5 นอกสถานที่
    4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose) 4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน
     (Product Versus Institutional Advertising)
     4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า
     (Commercial Versus Noncommercial Advertising)
     4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้
     (Action Versus Awareness Advertising)

    การตัดสินใจที่สำคัญในกระบวนการโฆษณา
    1. การตัดสินใจเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย หรือผู้ฟัง (Market) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ฟัง ผู้ชม
    2. การตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
       2.1 เพื่อแจ้งข่าวสาร (To Inform)
       2.2 เพื่อจูงใจ (To Persuade)
       2.3 เพื่อเตือนความจำ (To Remind)
    3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณการโฆษณา
    4. การตัดสินใจสร้างสรรงานโฆษณา
    5. การตัดสินใจเลือกสื่อโฆษณา ได้แก่ สื่อโฆษณา โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายตรง สื่อโฆษณานอกสถานที่
    6. การตัดสินใจการวิจัยและวัดผลการโฆษณา

    การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
    หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
    1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
     1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
     1.2 การลดราคา (Price Off)
     1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
     1.4 การคืนเงิน (Rabates)
     1.5 การให้ของแถม (Premiums)
     1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
     1.7 การเสนอขายโดยรวมผลิตภัณฑ์ (Combination Offers)
     1.8 การแข่งขัน (Contest) และการชิงรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค (Sweeptakes)
     1.9 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
     1.10 แสตมป์การค้าและแผนการต่อเนื่อง (Trading Stamp and Continuity Plan)
    2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion) 2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
     2.2 ส่วนลด (Discount)
     2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
     2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
     2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
     2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
    3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion) 3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
     3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
     3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
     3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
     3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

    การประชาสัมพันธ์
    หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้
    1. การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
    2. การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
    3. การให้ข่าว (News)
    4. การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches)
    5. การให้บริการชุมชนและสังคม (Public and Social Services Activities)
    6. การใช้สื่อเฉพาะ (Identify Media)

    ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/admin/admin09/UntitledFrameset-total.htm